All Blog
ศาสนาอิสลาม
คำว่า "ดีนุน"
มีความหมายว่า "ศาสนา"

หมายถึงความเชื่อบางท่านให้ความหมายว่า
"ระบอบ" หมายถึงแบบอย่าง


แต่การจะให้ความหมาย "ดีนุน" ว่า ศาสนา
หรือระบอบ ก็เป็นเพียงการยืมคำมาใช้
เพื่อสื่อให้ผู้ฟังเข้าใจ

และเป็นเพียงความแตกต่างในทางภาษาเท่านั้น
คำว่า "ดีนุน" ถูกระบุอยู่ในอัลกุรอานหลายที่เช่น



"บรรดาผู้ที่แยกศาสนาของพวกเขา แล้วพวกขาก็กลายป็นลัทธินิกายต่างๆ
เจ้า (มูฮำหมัด) มิได้เกี่ยวข้องกับพวกเขาแต่อย่างใด"
(อัล-อันอาม:159)


"พระองค์คือผู้ส่งศาสนฑูตของพระองค์มาพร้อมทางนำและศาสนาแห่งความจริง
เพื่อจะได้เป็นที่ประจักษ์แก่ศาสนาทั้งมวล"
(อัต-เตาบะฮฺ:33)




ส่วนคำว่า "อัลอิสลาม" มีความหมายว่า
การยอมรับ หรือยอมจำนน

คำนี้ก็มีกล่าวอยู่ในอัลกุรอานหลายที่ด้วยเช่นกัน

"ฉะนั้น ผู้ใดที่อัลลอฮฺต้องการจะนำทางเขา พระองค์จะเปิดหัวอกเขาเพื่ออิสลาม" (อัล-อันอาม:125)


เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น "ดีนุ้ลอิสลาม" แปลว่า ศาสนาอิสลามหรือระบอบอิสลาม

ซึ่งหมายถึงทุกเรื่อง
ที่ท่านศาสนฑูต มูฮำหมัด ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม
นำเอามาสั่งสอนชี้แนะแก่มนุษยชาติ




คำทั้งสองนี้มักจะถูกกล่าวไว้คู่กันเสมอเช่น พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงกล่าวว่า

"แท้จริงศาสนา (ที่ยอมรับ) ณ ที่อัลลอฮฺคืออัลอิสลาม" (อาละอิมรอน:19)

"และผู้ใดที่แสวงหาอื่นจากอิสลามมาเป็นศาสนา ฉะนั้นมันจะไม่ถูกตอบรับจากเขา" (อาละอิมรอน:85)

"และข้าพอใจที่จะให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า" (อัล-มาอิดะฮฺ:3)


จากอัลกุรอานทั้ง 3 อายะฮฺข้างต้นนี้จะเห็นได้ว่า
เมื่อพูดถึง "อัลอิสลาม" พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงกำกับด้วยคำว่า "ดีนุน"



และเมื่อพูดถึงคำว่า "ดีนุน" พระองค์ก็ทรงยืนยันว่า
"ดีนุน" ที่พระองค์ยอมรับก็คือ "อัลอิสลาม"




ในบางครั้งพระองค์อัลลอฮฺได้เรียกศาสนาอิสลามว่า
"ดีนุ้ลลอฮฺ"

ซึ่งมี ความหมายว่า ศาสนาของอัลลอฮฺ
เช่นพระองค์ทรงกล่าวว่า

"และเจ้าจะได้เห็นผู้คนหลั่งไหลเข้าสู่ศาสนาของอัลลอฮฺเป็นหมู่ๆ"


//www.moradokislam.org/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=1



Create Date : 30 กันยายน 2549
Last Update : 1 ตุลาคม 2549 20:08:09 น.
Counter : 889 Pageviews.

2 comment
ที่มาของการถือศีลอด ทำเพื่ออะไร
ที่มาของการถือศีลอด ทำเพื่ออะไร





หากเราได้ศึกษา อัล-กุรอานแล้วจะพบว่า
คำสั่งใช้และคำสั่งห้ามในศาสนานั้น
เป็นคำสั่งที่ใช้ให้ผู้ศรัทธาปฏิบัติและห้ามผู้ศรัทธามิให้ปฏิบัติ ฉะนั้นเมื่อเราอ่านอัลกุรอานและพบคำว่า


يَأيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُوا



“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย”


คำสั่งถัดมา ไม่เป็นคำสั่งใช้ก็จะเป็นคำสั่งห้าม
เช่นเรื่องสั่งใช้ให้ผู้ศรัทธาถือศีลอด ดั่งอายะห์ต่อไปนี้


يَأيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلىَ الَّذِيْنَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُوْن



“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย การถือศีลอดได้ถูกบัญญัติแก่พวกเจ้า ดังที่เคยบัญญัติให้แก่ชนก่อนหน้าพวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง”

ซูเราะห์อัลบะกอเราะห์ อายะห์ที่ 183




ในอายะห์อัลกุรอานข้างต้นนี้ได้บอกถึงเป้าหมายของการถือศีลอดด้วยว่า
การถือศีลอดนั้นเพื่อก่อเกิดการสำรวมตนต่ออัลลอฮ์
หรืออย่างเช่นฮะดีษที่ท่านนบีได้บอกว่า


فَاِنَّهُ لَهُ وِجَاء



“เพราะการถือศีลอดนั้นเป็นเกราะป้องกันในการถลำไปในความชั่ว”

ศอเฮียะห์บุคคอรี ฮะดีษเลขที่ 1772


เราจะเห็นได้ว่าบรรดาผู้ศรัทธานั้น
ไม่ว่าพระองค์อัลลอฮ์จะทรงบัญญัติให้เขากระทำสิ่งใดก็ตาม เขาจะกระวีกระหวาดมุ่งมั่นทำด้วยความตั้งใจ
ด้วยหัวใจที่จงรักภักดี ถึงแม้บางเรื่องเขาจะไม่ทราบว่า
สิ่งที่เขาทำนั้นจะมีผลดีแก่เขาในดุนยาเช่นไร
ดังแบบอย่างของบรรพชนของเราในอดีต




แต่แน่นอนว่า.....
สิ่งใดที่พระองค์อัลลอฮ์ได้สั่งแก่ผู้ศรัทธากระทำนั้นย่อมเกิดผลดีต่อผู้ศรัทธาเองทั้งดุนยา และอาคิเราะห์

ดังนั้นคนในยุคหลังๆ จึงจับประเด็นวิเคราะห์ถึงผลดีของการอดหารทั้งในด้านการแพทย์ และอื่นๆ ซึ่งในปัจจุบัน

มีการเข้าครอสอดอาหารเพื่อสุขภาพเป็นต้น แต่คนที่ไม่ศรัทธาเขาอดอาหารเพื่อสุขภาพ หรือเพื่อรักษาโรค

เขาได้รับประโยชน์ของการอดเพียงแค่นั้นจริงๆ ต่างจากผู้ศรัทธาที่อดตามคำสั่งของพระเจ้า
นอกจากเขาจะได้รับประโยชน์ของการอดในดุนยาแล้ว เขายังได้รับผลจากการอดของเขาในอาคิเราะห์อีกด้วย







ที่มา : //www.moradokislam.org/modules.php?name=FAQ&myfaq=yes&id_cat=3&categories=%CB%C5%D1%A1%BB%AF%D4%BA%D1%B5%D4#60


สรุปความว่า เป็นคำสั่งใช้ให้ทำการถือศีลอด เป็นวะฮีย์ นั่นคือกุรอาน
เพราะยุคก่อนนบีมูฮำหมัด ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็มีการถือศีลอดเช่นกัน








Create Date : 27 กันยายน 2549
Last Update : 20 สิงหาคม 2552 20:59:19 น.
Counter : 1135 Pageviews.

7 comment
ละหมาดตะรอเวี๊ยะฮฺ
ละหมาดตะรอเวี๊ยะฮฺ

ละหมาดตะรอเวี๊ยะฮฺถูกบัญญัติให้ละหมาดรวมกันเป็นญะมาอะฮฺ ดังฮะดีสของท่านหญิงอาอิชะฮฺ ที่แจ้งว่า

แท้จริงท่านร่อซูลุลลอฮฺ ได้ออกไปคืนหนึ่งในกลางดึกแล้วท่านได้ละหมาดในมัสยิด และได้มีผู้คนมาร่วมละหมาดกับท่านนบี ในวันรุ่งขึ้นผู้คนได้พูดถึงกันและได้รวมตัวกันมากขึ้น แล้วท่านได้ละหมาด (ในคืนที่สอง) ผู้คนก็ได้มาร่วมละหมาดกับท่าน ต่อมาในวันรุ่งขึ้นก็ได้มีการกล่าวถึงกันอีก ผู้คนได้มารวมตัวกันในมัสยิดมากยิ่งขึ้นในคืนที่สาม ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ก็ได้ออกมาทำการละหมาดเช่นเคย ต่อมาในคืนที่สี่มัสยิดเนืองแน่นไปด้วยผู้คน จนกระทั่งท่านนะบีได้ออกไปละหมาดศุบฮฺ

เมื่อท่านละหมาดเสร็จแล้วท่านได้หันหน้าไปยังผู้ที่มาร่วมละหมาดแล้วได้กล่าวสรรเสริญอัลลอฮฺ และกล่าวชะฮาดะฮฺ แล้วกล่าวว่า “พึงทราบเถิดสถานภาพของพวกท่านเป็นที่ประจักษ์แจ้งแก่ฉันแล้ว แต่ฉันกลัวว่าการละหมาดนี้จะถูกบัญญัติให้เป็นฟัรฎูแก่พวกท่าน แล้วพวกท่านก็ไม่สามารถจะกระทำได้ ต่อมาท่านร่อซูลุลลอฮฺได้ถึงอะญัลของอัลลอฮฺ การละหมาดตะรอเวี๊ยะฮฺก็คงสภาพอยู่เช่นนั้น”


บันทึกโดย : อัลบุคอรีย์ และมุสลิม

หลังจากที่ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กลับไปสู่ความเมตตาของอัลลอฮฺแล้ว
และบัญญัติศาสนาก็อยู่ในสภาพมั่นคงและมีเสถียรภาพดีแล้ว
จนกระทั่งความกลัวที่จะเกิดการสับสนระหว่างอัลกุรอานและอัลอะฮาดีสได้สูญสิ้นไป บัญญัติการละหมาดตะรอเวี๊ยะฮฺเป็นญะมาอะฮฺก็ยังคงถือปฏิบัติกันอยู่
เพราะสาเหตุที่จะทำให้เกิดการสับสนหมดสิ้นไปแล้ว



ในสมัยค่อลีฟะฮฺ อุมัร อิบนุลค๊อฎฎ๊อบ ได้ฟื้นฟูซุนนะฮฺอันนี้ ดังที่อับดุรรอหฺมาน อิบนฺ อับดิน อัลกอรี้ยุ ได้บอกเล่าไว้ว่า “ฉันได้ออกเดินไปคืนหนึ่งในเดือนรอมฎอนกับอุมัรอิบนุลค๊อฎฎ๊อบ ยังมัสยิดอันนะบะวีย์ ก็เห็นมหาชนยืนละหมาดแยกกันเป็นกลุ่ม ๆ บ้างก็ยืนละหมาดคนเดียว บ้างก็ยืนละหมาดเป็นญะมาอะฮฺ อุมัรจึงกล่าวขึ้นว่า แท้จริงฉันเห็นว่าหากฉันจะรวมเขาเหล่านั้นให้ยืนละหมาดกับอิหม่ามคนเดียวก็จะเป็นการดียิ่ง แล้วอุมัรก็ได้ตัดสินใจรวมพวกเขาเหล่านั้นให้ยืนละหมาดตามอุบั๊ย อิบนฺกะอฺบ ต่อมาฉันได้ออกไปกับอุมัรในคืนต่อ ๆ มา และได้เห็นผู้คนยืนละหมาดตามอิหม่ามคนเดียว อุมัรได้กล่าวชื่นชมขึ้นว่านี่มันเป็นเหตุการใหม่ที่ดียิ่ง การละหมาดในเวลาดึกซึ่งเป็นเวลาพักผ่อนดีกว่าการละหมาดในเวลาหัวค่ำ”

บันทึกโดย : อัลบุคอรีย์




จำนวนร๊อกอะฮฺ


ผู้คนมีความเห็นแตกต่างกันในการกำหนดจำนวนร๊อกอะฮฺ ความเห็นที่สอดคล้องกับแนวทางของท่านนะบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม คือ 8 ร๊อกอะฮฺ โดยไม่รวมละหมาดวิตร ดังคำกล่าวของท่านหญิงอาอิชะฮฺ ที่ว่า “ท่านนะบีไม่เคยละหมาดมากกว่า 11 ร๊อกอะฮฺ ทั้งในเดือนรอมฎอนและในเวลาอื่น ๆ”

บันทึกโดย : อัลบุคอรีย์ และมุสลิม



ญาบิร อิบนฺอับดิลลาฮฺ เห็นคล้อยกับท่านหญิงอาอิชะฮฺ เขากล่าวว่า “แท้จริงเมื่อท่านนะบีได้นำละหมาดร่วมกับมหาชนคืนหนึ่งในเดือนรอมฎอน ท่านได้ละหมาด 8 ร๊อกอะฮฺ และได้ทำวิตร”

บันทึกโดย : อิบนฮิบบาน และอัฎฎอบรอนีย์ และอิบนนัศร



และเมื่ออุมัร อิบนุลค็อฎฎ๊อบ ได้ฟื้นฟูการปฏิบัติตามซุนนะฮฺเช่นนี้ ผู้คนได้รวมตัวกันทำการละหมาดตะรอเวี๊ยะฮฺจำนวน 11 ร๊อกอะฮฺ เพื่อให้ตรงกับซุนนะฮฺที่ถูกต้อง ดังที่มาลิก อิบนฺอะนัส ได้บันทึกไว้ในหนังสือของเขา (1/115) ด้วยสายสืบที่ถูกต้องที่สุดจากมุฮัมมัด อิบนยูซุฟ จากอัซซายิบ อิบนยะซีด กล่าวว่า “อุมัร อิบนุลค๊อฎฎ๊อบ ได้ใช้ให้อุบัย อิบนฺก๊ะอฺบ และตะมีม อัดดารีย์ เป็นอิหม่ามนำละหมาดตะรอเวี๊ยะฮฺแก่มหาชนจำนวน 11 ร๊อกอะฮฺ และกล่าวว่า ผู้นำละหมาดได้อ่านจำนวนหลายร้อยอายะฮฺ จนกระทั่งพวกเราใช้ไม้เท้ายัน เพราะต้องยืนเป็นเวลานาน และจะไม่เลิกจากการละหมาดจนกระทั่งก่อนจะถึงเวลาฟัจรเพียงเล็กน้อย"


ที่มา : //www.thaiislamic.com/islah/romdon20.htm





Create Date : 26 กันยายน 2549
Last Update : 27 กันยายน 2549 6:31:23 น.
Counter : 14702 Pageviews.

31 comment
ดุอาอฺในเดือนรอมฎอน
ดุอาอฺในเดือนรอมฎอน





1. ดุอาอฺละศีลอด

ذَهَبَ الظَمَأُ وَابْتَلَّتِ العُرُوقُ وَثَبَتَ الأَجْرُ إِن شَاءَ اللهُ

คำอ่าน "ซะฮะบัซ เซาะมะอุ วับตัลละติลอุรูก วะษะบาตัลอัจญ์รุ อินชาอัลลอฮฺ"

ความหมาย "ความกระหายได้หมดไปแล้ว เส้นโลหิตก็เปียกชื้น ผลบุญก็ได้รับแล้ว ด้วยความประสงค์ของอัลลอฮฺ"



2. ดุอาอฺแก่ผู้เชิญ (ให้อาหาร) ละศีลอด

أَفْطَرَ عِنْدَكُمُ الصَّائِمُوْنَ وَأَكَلَ طَعَامَكُمُ الأَبْرَاْرَ وَصَلَّتْ عَلَيْكُمُ الْمَلاَئِكَةُ

คำอ่าน "อัฟเฏาะเราะ อินดากุมุสศออีมูน วะอะกะละ เฏาะอามะกุมุล อับร้อร วะศ็อลลัต อะลัยกุมมุล มะลาอิกะฮฺ"

ความหมาย "เหล่าผู้ถือบวชได้ละศีลอดกับท่าน เหล่าผู้ประเสริฐได้ทานอาหารของท่าน และบรรดามลาอิกะฮฺได้ขอพรให้ท่านแล้ว"


3. ดุอาอฺคืน ลัยละตุล ก็อดรฺ

اللَّهُمَّ إِنَّكَ عَفُوٌّ تُحِبُّ الْعَفْوَ فَاعْفُ عَنِّيْ

คำอ่าน "อัลลอฮุมมะ อินนะกะ อะฟุวฺว่น ตุฮิบบุลอัฟวะ ฟะอฺฟุอันนี"

ความหมาย "โอ้ผู้อภิบาลของเรา แท้จริงพระองค์ทรงเป็นผู้อภัยยิ่งและพระองค์ทรงรักการให้อภัย ดังนั้นขอได้โปรดประทานอภัยแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด"



4. ดุอาเมื่อมีคนมาด่าทอ

إِنِّي صَائِمٌ، إِنِّي صَائِمٌ

คำอ่าน “ อินนี ศออิมุ่น , อินนี ศออิมุ่น ”

ความหมาย “แท้จริง ฉันกำลังถือศีลอด, แท้จริง ฉันกำลังถือศีลอด ”


5. ดุอาที่ดีที่สุด (ซัยยิดุลอิสติฆฟารฺ)

اَللَّهُمَّ أَنْتَ رَبِّي، لاَ إِلَهَ إِلاَّ أَنْتَ، خَلَقْتَنِي وَأَنَا عَبْدُكَ، وَأَنَا عَلَى عَهْدِكَ وَوَعْدِكَ مَا اسْتَطَعْتُ ، أَعُوْذُ بِكَ مِنْ شَرِّ مَا صَنَعْتُ، أَبُوْءُ لَكَ بِنِعْمَتِكَ عَلَيَّ، وَأَبُوْءُ بِذَنْبِي فَاغْفِرْ لِي، فَإِنَّهُ لاَ يَغْفِرُ الذُّنُوْبَ إِلاَّ أَنْتَ

คำอ่าน “ อัลลอฮุม อันตะร็อบบี, ลาอิลาฮะอิลละอันตะ เคาะลักตะนี วะอะนาอับดุกะ, วะอะนาอะลาอะฮฺดิกะ วะวะอฺดิกะ มัสตะเฏาะอฺตุ อะอูซุบิกะ มินชัรริมาเศาะนะอฺตุ, อะบูอุละกะบินิอฺมะติกะอะลัยยะ วะอะบูอุ บิซัมบี ฟัฆฺฟิรฺลี ฟะอินนะฮู ลายัฆฺฟิรุซุนูบะ อิลลาอันตะ ”

ความหมาย “ โอ้อัลลอฮฺ พระองค์คือพระเจ้าของข้า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่แท้จริงนอกจากพระองค์เท่านั้น พระองค์ได้สร้างข้าขึ้นมา และข้าก็เป็นบ่าวของพระองค์แต่เพียงผู้เดียว และข้ายอมรับกับสัญญาของพระองค์ทั้งที่ดี(สวรรค์)และที่ชั่ว(นรก) ในสิ่งที่ข้าได้พยายามแล้ว ข้าขอให้พระองค์ได้โปรดขจัดสิ่งที่ไม่ดีจากการกระทำของข้า ข้าจะกลับไปหาพระองค์ด้วยความโปรดปรานของพระองค์ที่ได้ทรงประทานให้แก่ข้า และด้วยบาปของข้าที่ได้ก่อมันไว้ ดังนั้นขอให้พระองค์ทรงอภัยโทษให้แก่ข้าด้วยเถิด เพราะแท้ที่จริงแล้วไม่มีผู้ใดที่สามารถจะให้อภัยโทษได้ นอกจากพระองค์เท่านั้น ”


6. ดุอาอฺทั่วไป

اللَّهُمَّ إِنِّيْ أَسْأَلُكَ الْهُدَى وَالتُّقَى وَالْعَفَافَ وَالْغِنَى

คำอ่าน "อัลลอฮุมมะ อินนี อัซอะลุกัลฮูดา วัตตูกอว์ วัลอะฟาฟ วัลฆินา"

ความหมาย "โอ้องค์อภิบาลของเรา ข้าพระองค์ขอการชี้นำ การยำเกรง ความบริสุทธิ์จากตัณหา และความรู้สึกพอเพียง"

اللَّهُمَّ مَغْفِرَتُكَ أَوْسَعُ مِنْ ذُنُوْبِيْ وَرَحْمَتُكَ أَرْجَى عِنْدِيْ مِنْ عَمَلِيْ

คำอ่าน "อัลลอฮุมมะ มัฆฟิเราะตุกะ เอาสะอฺ มินซุนูบี วะเราะหฺมะตุกะ อัรญา อินดี มินอะมะลี"

ความหมาย "โอ้องค์อภิบาลของเรา การอภัยของพระองค์ยิ่งใหญ่กว่าบาปของข้าพระองค์นัก ความเมตตาของพระองค์ คือสิ่งที่ข้าพระองค์หวังมากกว่าการงานที่ข้าพระองค์ได้ทำเสียอีก"

اللَّهُمَّ آتِ نَفْسِيْ تَقْوَاهَا وَزَكِّهَا أَنْتَ خَيْرُ مَنْ زَكَّاهَا أَنْتَ وَلِيُّهَا وَمَوْلاَهَا

คำอ่าน "อัลลอฮุมมะ อาตินัฟซี ตักวาฮา วะซักกิฮา อันตะ ค็อยรุ มัน ซักกาฮา อันตะ วะลิยฺยุฮา วะเมาลาฮา"

ความหมาย "โอ้องค์อภิบาลของเรา ได้โปรดประทานความยำเกรงให้แก่จิตของข้า และขอพระองค์ทรงล้างมันให้บริสุทธิ์ เพราะพระองค์คือผู้ที่ดีที่สุดที่ชะล้างมันให้สะอาด พระองค์เป็นเจ้าและผู้อภิบาลมัน"












ที่มา : //www.iqraonline.org/thai/index.php?option=com_content&task=view&id=156&Itemid=146





Create Date : 24 กันยายน 2549
Last Update : 24 กันยายน 2549 22:45:41 น.
Counter : 2409 Pageviews.

6 comment
การถือศีลอดในทัศนะทางการแพทย์
การถือศีลอดในทัศนะทางการแพทย์


การถือศีลอดในช่วงเดือนรอมฎอน เป็นการปฏิบัติศาสนกิจของชาวมุสลิมที่หลายคนยังคงตั้งคำถามถึงเหตุผล ที่มาที่ไป และผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติ ซึ่งบทความชิ้นนี้มีคำตอบในทางการแพทย์ อันสะท้อนให้เห็นว่าหลักศาสนานั้นไม่เคยสวนทางกับหลักของธรรมชาติ...


การถือศีลอด เป็นศาสนบัญญัติหนึ่งในหลักการอิสลาม (รุกุ่นอิสลาม) ทั้ง 5 ประการ ได้ถูกบัญญัติลงมาในวันที่ 2 เดือนชะอฺบาน ปีที่ 2 แห่งฮิจเราะฮฺศักราช ดังคำตรัส ของอัลลอฮฺ ในบทที่ 2 (อัลบะเกาะเราะฮฺ) โองการที่ 183 มีใจความว่า

“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย การถือศีลอดได้บัญญัติแก่พวกเจ้า ดังเช่นได้ถูกบัญญัติแก่ประชาชาติก่อนหน้าพวกเจ้าเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง”

การถือศีลอดในภาษามลายูจะเรียกว่า “ปูวาซา” แต่คนพื้นเมืองใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะกล่าวเพี้ยนว่า “ปอซอ” ส่วนในภาษาอาหรับจะเรียกว่า “อัศศาม” หรือ “ อัศศิยาม” ซึ่งมีความหมายว่า การละเว้น การระงับ หรือการอดกลั้น

ส่วนความหมายทางด้านบัญญัติศาสนา คือการระงับหรือการละเว้นจากการกิน การดื่ม การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา และการพูดจาไร้สาระ ตลอดจนการกระทำที่ขัดต่อคุณธรรม ตั้งแต่รุ่งอรุณจนกระทั่งตะวันลับขอบฟ้า ด้วยเจตนาเพื่อพระองค์อัลลอฮฺ


เคล็ดลับ (ฮิกมะฮฺ) การถือศีลอด


เราได้อะไรจากการถือศีลอด เป็นคำถามที่ตอบยาก ขึ้นอยู่กับความศรัทธา ความรู้ความเข้าใจของแต่ละคนเกี่ยวกับการถือศีลอด โดยเฉพาะเข้าใจถึงหลักการปฏิบัติของท่านศาสดามุฮัมมัดที่ได้กระทำเป็นแบบอย่างให้เราได้ปฏิบัติตาม เป็นกระบวนการหนึ่งที่ประกอบทั้งศาสนกิจในภาคกลางวันและภาคกลางคืนเป็นเวลา 1 เดือน

ในแง่ของศาสนา หวังว่าผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม การทดสอบในเดือนรอมฎอนนี้ทุกคน จะเป็นผู้ที่มีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ

ส่วนในแง่ทางการแพทย์หรือสุขภาพ ท่านศาสดามุฮัมหมัด ได้กล่าวสั้นๆว่า “จงถือศีลอด เพื่อสูเจ้าจะได้มีสุขภาพที่ดี” รายงานโดย อิบนุซุนนี และอบูนาอีม

การที่เราไม่กินไม่ดื่มเป็นเวลาประมาณ 13 ชั่วโมงเศษ เราจะมีสุขภาพที่ดีได้อย่างไร อาจเป็นหลักสูตรใหม่ที่ตรงกันข้ามกับหลักสูตรที่เน้นการบริโภค วันละ 3 มื้อ แต่หลักสูตรนี้จะสอดคล้องกับสำนักการแพทย์ธรรมชาติบำบัด ที่จะเน้นการบำบัดรักษาโรคด้วยวิธีการอดอาหารเป็นหลัก


1. ระยะเวลาการถือศีลอด
การถือศีลอดรอมฎอนหรือถือศีลอดนัฟลู (คือ การถือศีลอดที่กระทำโดยสมัครใจ) ก็ดี จะใช้ระยะเวลาในการละเว้นจากสิ่งต้องห้าม โดยเฉลี่ยประมาณ 13 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งโดยปกติคนเราทุกคนมีการอดอาหารอยู่แล้วครั้งละ 10 -12 ชั่วโมง คือหลังอาหารเย็น (ค่ำ) จนถึงการเริ่มกินอาหารเช้าในวันใหม่และการตรวจวินิจฉัยโรคบางอย่าง เช่น การเจาะเลือดผู้ป่วย ก็ต้องอดอาหารเป็นระยะเวลา 10 -12 ชั่วโมงเช่นกัน

ดังนั้นจะเห็นว่าระยะเวลาของการถือศีลอด ไม่ขัดต่อหลักการตามธรรมชาติ (ซุนนะตุลลอฮ) หรือทางการแพทย์แต่อย่างใด แต่จะมีความแตกต่างกันอยู่ที่ช่วงเวลากลางวันหรือกลางคืน ซึ่งการถือศีลอดยึดเอาช่วงเวลากลางวันเป็นหลัก ก็เพราะมีจุดประสงค์ที่มากกว่าการอดอาหารทั่วไปนั่นเอง และได้กำชับบรรดาผู้ที่จะถือศีลอดทุกคนได้ลุกขึ้นมารับประทานอาหารดึก (สะฮูร) ในเวลาใกล้รุ่งหรือให้ล่าช้าก่อนแสงอรุณจะขึ้นเล็กน้อย แม้จะเป็นน้ำเพียงอึกเดียวก็ตาม

2.การเปลี่ยนแปลงในร่างกาย
การถือศีลอดจะทำให้ร่างกายต้องขาดพลังงานจากสารอาหาร และต้องสูญเสียน้ำจากการขับถ่ายออกจากร่างกาย การสูญเสียน้ำมากกว่า 2 % ของน้ำหนักตัวจะทำให้รู้สึกกระหายน้ำ และเมื่อระดับน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดและเซลล์ลดลง ก็จะทำให้รู้สึกหิว ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากอดไปแล้วประมาณ 6-12 ชั่วโมง เรียกระยะนี้ว่าระยะหิวโหย

ระดับน้ำตาลกลูโคสและน้ำที่ลดต่ำลงจะไปกระตุ้นเซลล์ประสาท (นิวรอน) บริเวณไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมความหิว ศูนย์อิ่ม และศูนย์กระหายน้ำ เป็นต้น สำหรับคนที่มีร่างกายปกติ มีเจตนา อย่างแน่วแน่ และมีความเชื่อมั่นต่อบทบัญญัติของอัลลอฮฺ แน่นอนจะไม่ทำให้เขาถึงขั้นมีอาการหน้ามืดหรือหมดสติไป เพราะระบบต่างๆในร่างกายจะช่วยประสานงานกันโดยอัตโนมัติ เพื่อที่จะรักษาสมดุลให้เกิดขึ้นในร่างกาย

ในระยะแรกร่างกายจะมีการสลายพลังงานในรูปของไกลโคเจนที่เก็บสะสมไว้ในตับ และกล้ามเนื้อ โดยมีฮอร์โมนกลูกากอนจากตับอ่อนมาช่วย ในปฏิกิริยาเคมีนี้จะได้น้ำตาลกลูโคสเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานต่อไป

ส่วนต่อมหมวกไตในส่วนในก็จะถูกกระตุ้นให้หลั่งเอพิเนฟริน (Epinephrine) เพิ่มมากขึ้น เพื่อจะไปกระตุ้นเซลล์ตับให้สังเคราะห์ และปล่อยกลูโคสออกจากกระแสเลือดเพิ่มมากขึ้น และมีผลทำให้เซลล์อื่นๆ ใช้พลังงานลดน้อยลงด้วย

ถ้าพลังงานที่ได้รับจากการสลายไกลโคเจนไม่เพียงพอ ก็จะไปสลายพลังงานสำรองในรูปของไขมัน ซึ่งได้กรดไขมันอิสระออกมาสู่กระแสเลือด และจะถูกเปลี่ยนไปเป็นกลูโคสเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานต่อไป

ส่วนการรักษาสมดุลน้ำและเกลือแร่ก็เป็นหน้าที่ของ Hypothalamus เช่นกัน ที่จะกระตุ้นให้ต่อมใต้สมองได้หลั่งฮอร์โมน Vasopressine หรือ ADH จะมีผลทำให้ไตมีการดูดซึมน้ำกลับมาใช้เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้มีปัสสาวะน้อยลงและมีสีเข้มกว่าปกติ

ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าอัลลอฮฺ พระองค์ทรงรอบรู้ยิ่งเกี่ยวกับการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายของมนุษย์ และพระองค์ก็ได้กำชับให้เราได้ศึกษาเกี่ยวกับตัวของเราเอง ดังคำตรัสของอัลลอฮฺ ความว่า “และในตัวของพวกเจ้าเอง พวกเจ้าไม่เห็นดอกหรือ”
(อัซซารียาต อายะฮฺที่ 21 )


3.วิธีการละศีลอด
ท่านศาสดามุฮัมมัด ได้แนะนำการละศีลอดไว้อย่างไร?

เมื่อถึงเวลาละศีลอด อิสลามสอนให้เราละศีลอดก่อนที่จะดำรงการละหมาด และแนะนำให้
ละศีลอดด้วยลูกอินทผลัมหรือด้วยน้ำ มีรายงานจากอนัส อิบนิ มาลิก กล่าวว่า “ ปรากฏว่าท่านนบี ละศีลอดด้วยอินทผลัมเลือกที่สุกงอมก่อนที่จะไปละหมาด ถ้าหากไม่มีอินทผลัมที่สุกงอม ก็จะแก้ด้วยอินทผลัมแห้ง ถ้าหากไม่มีอินทผลัมที่แห้ง ก็จะจิบน้ำหลายจิบ” (บันทึกโดย อะหฺมัด อบูดาวูด อิบนุคุไซมะฮฺ และ อัตติรมีซีย์)


ในลูกอินทผลัมมีอะไรหรือ? จากการวิจัยทางด้านโภชนาการ ทำให้เราได้ทราบว่า ในลูกผลอินทผลัมที่สุกงอมนั้นประกอบด้วย น้ำตาลฟรุกโตส กลูโคส น้ำ วิตามิน และแร่ธาตุ โดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโตสจัดเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกายชนิดหนึ่ง มีการดูดซึมบริเวณลำไส้เล็ก โดยวิธี Facili-tate Difusion ซึ่งไม่ต้องใช้พลังงาน ส่วนน้ำตาลกลูโคส และกาแลกโตสนั้นจะดูดซึมแบบ Secondary Active Difusion ซึ่งต้องอาศัยทั้งตัวพาและพลังงาน

ดังนั้นในสภาวะที่ร่างกายอ่อนเพลีย จากการขาดพลังงานและน้ำ ลูกอินทผลัมน่าจะเป็นผลไม้ที่ดีชนิดหนึ่ง สำหรับผู้ที่จะละศีลอด ส่วนผลไม้ชนิดอื่นๆ ที่มีรสหวานก็สามารถทานได้ (แต่ไม่ใช่แบบอย่างของท่านศาสดา)

ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราละศีลอดด้วยน้ำเย็น ทานอาหารหนัก และอิ่มมากจนเกินไปก่อนจะไปละหมาด แทนที่เราจะได้พลังงานกลับคืนมาอย่างรวดเร็ว เรากลับต้องเสียพลังงานไป เนื่องจากเลือดต้องถูกส่งไปยังกระเพาะอาหาร และลำไส้เพิ่มมากขึ้น ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลง (สมองต้องการน้ำตาลกลูโคส ประมาณ 40 % จากทั้งหมด) จึงทำให้เกิดอาการมึนงง เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย แน่นหน้าอก และง่วงซึมได้

ดังนั้นในขณะที่แก้ศีลอด ท่านนบี ได้กล่าวว่า “ความกระหายน้ำ ได้สูญสิ้นไป เส้นโลหิตได้ชุ่มชื่น และจะได้รับการตอบแทนอย่างแน่นอน อินซาอัลลอฮฺ ” (อบูดาวูด อัลบัยฮะกีย์ และอัลฮากิม)

4.บทสรุป
จากคำอธิบายย่อๆ ข้างต้น พอที่จะสรุปได้ว่า แท้จริงการถือศีลอดนั้น ไม่ขัดต่อหลักการ
วิชาการแพทย์แต่อย่างใด เพราะคุณสมบัติบางประการของผู้ที่ถือศีลอดนั้น ต้องเป็นมุอฺมิน(ผู้ศรัทธา)ที่มีสุขภาพดีและไม่ใช่ผู้ที่มีอุปสรรค ส่วนบุคคลที่มีอุปสรรคจริงๆ จะได้รับการผ่อนผัน หรือยกเว้นจากการถือศีลอดโดยบุคคลกลุ่มหนึ่งจะต้องถือศีลอดใช้ และอีกกลุ่มหนึ่ง ต้องจ่ายฟิดยะฮ (การให้อาหารแก่คนยากจนหรือขัดสน 1 คนต่อการละศีลอด 1 วัน) แทน


ทั้งหมดนั้นเป็นเพราะความเมตตาและทรงรอบรู้อัลลอฮฺ เกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมี กลไกการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายมนุษย์นั่นเอง แน่นอนมิใช่ความประสงค์ของอัลลอฮฺ หากว่าอิบาดะฮ (การเคารพภักดี) นั้นจะนำไปสู่ความเสียหาย (ทำให้เกิดโรค) แก่บ่าวของพระองค์

นักวิชาการชาวอเมริกันคนหนึ่งชื่อ นายแพทย์ Allan Cott เขาได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า “Why Fast ?” (ทำไมต้องถือศีลอด) ซึ่งเป็นผลจากการวิจัยของเขาจากหลายๆประเทศ เขาได้สรุปถึงเคล็ดลับของการถือศีลอดไว้ 10 ข้อ ดังนี้

1.ทำให้รู้สึกว่าสุขภาพกายและจิตใจที่ดีขึ้น

2.ทำให้มองเห็นและรู้สึกอ่อนเยาว์ขึ้น

3.ทำให้ร่างกายสะอาดสะอ้าน

4.ช่วยลดความดันโลหิตสูงและระดับคอเลสเตอรอลในเลือด

5.ช่วยลดความรู้สึกอารมณ์ใคร่

6.ให้โอกาสแก่ร่างกายได้มันบำบัดตัวมันเอง

7.ช่วยลดความตึงเครียด

8.ทำให้สติปัญญาเฉียบแหลม

9.ทำให้สามารถควบคุมตนเองได้

10.ช่วยชะลอความชรา



นอกจากฮิกมะฮฺ ดังกล่าวแล้ว ท่านนบีมุฮัมมัดยังได้กล่าวไว้ มีใจความว่า
“ผู้ที่ถือศีลอดนั้น เขาจะได้รับความสุข 2 ประการ คือ ความสุข เมื่อถึงยามละศีลอด และจะมีความสุขเมื่อได้พบกับพระผู้อภิบาลของเขา (ในวันกิยามะฮฺ ) ” พร้อมกับรางวัลที่สูงที่สุดคือสวนสวรรค์ ซึ่งเขาจะเดินเข้าทางประตูอัรร็อยยาน ที่ได้สร้างไว้เฉพาะแก่บรรดาผู้ที่ถือศีลอดด้วยความสุจริตใจต่ออัลลอฮฺเท่านั้นเอง





Create Date : 22 กันยายน 2549
Last Update : 22 กันยายน 2549 9:28:21 น.
Counter : 2186 Pageviews.

8 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  

นะ(รก)
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 26 คน [?]



เพราะเราไม่รู้ว่า ลมหายใจจะหมดลงเมื่อใด
The Doomsday Book
Date Conversion
Gregorian to Hijri Hijri to Gregorian
Day: Month: Year
Website Counter
New Comments