ยินดีต้อนรับทุกคนที่ผ่านเข้ามาครับผม มีอะไรก็แนะนำกันได้ครับ ^_^
Group Blog
 
All Blogs
 
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Part 1


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย(อันนี้รู้มานานแล้ว)
2.เป็นมหาวิทยาลัยเดียวในประเทศ ที่ไม่ได้ขึ้นต้นด้วยคำว่ามหาวิทยาลัย
3. เป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่ไม่มีป้ายชื่อมหาวิทยาลัย มีแต่เพียงป้ายบอกอาณาเขต (อยู่ 2 ที่ ที่แรกคือตรงสาธิตฯ ปทุมวัน/ เตรียมฯ หรือคณะศิลปกรรมตึกที่เพิ่งสร้างใหม่ แต่เด็กเตรียมฯ ชอบใช้เรียกว่า Black Gate อีกที่หนึ่งอยู่ข้างหลังมาบุญครอง/สนามกีฬาแห่งชาติ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา)
4.เป็นมหาวิทยาลัยที่ สถาปนาโดย พระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาลงเสาเอกด้วยพระองค์เอง
5. เงินที่นำมาสร้างจุฬาฯ คือเงินบริจาคของประชาชนครับ เงินที่เหลือจากการบริจาคสร้างพระบรมรูปทรงม้า เรียกว่า "เงินหางม้า"
"หางม้าสีชมพู"
6. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินของพระคลังข้างที่ จำนวน ๑,๓๐๙ ไร่ ซึ่งอยู่ที่อำเภอปทุมวัน ให้เป็นสถานที่ตั้งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนและเป็นตึกบัญชาการ นอกจากนี้ได้พระราชทานเงินทุนจำนวน ๙๘๒,๖๗๒.๔๗ บาท เป็นทุนก่อสร้างโรงเรียน (ทุนที่ใช้ก่อตั้งจุฬาฯ ก็คือรัชกาลที่ 6 ได้พระราชทานมา + เงินหางม้า ด้วย)
7. พระบรมรูป 2 รัชกาลศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพสักการะ
8. ลานหน้าพระบรมรูป ไว้ถวายสัตย์และถวายบังคมลา บางทีก็ใช้เล่นบอล
9. จุฬาฯ ยึดธรรมเนียมปฏิบัติไว้ว่าก่อนที่จะเข้ามาศึกษาชั้นปีที่ 1 ก็ต้องมีพิธีการถวายสัตย์ และพอตอนเรียนจบปริญญาตรีก็ต้องมีพิธีการถวายบังคมลา และทุก ๆ วันที่ 23 ต.ค. ของทุกปี ชาวนิสิต-คณาจารย์-บุคลากรจุฬาฯ จะไปทำพิธีเคารพสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า (เหมือนอยู่ในรั้วในวังกลาย ๆ เลย ศักดิ์สิทธิ์มาก ๆ และทั้งสามพิธีการนี้ จะออกข่าวทางสื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ internet ทุกปี )
10. ในปีการศึกษา 2548 พิธีการถวายสัตย์นั้นพระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ให้เกียรติมาเป็นผู้นำถวายสัตย์ (แต่ในขณะที่มีพิธีถวายสัตย์ ท่านหญิงยังคงพระยศ ม.จ.สิริวัณวรี มหิดล)
11. นิสิตใหม่ปี 1 ที่ได้มาถวายสัตย์จะรู้สึกว่าเริ่มต้นชีวิตนิสิตใหม่อย่างสมบูรณ์แบบและภาคภูมิใจในจุฬาฯ และสถาบันกษัตริย์
12. เพียงท่านพลิกแบงค์ 100 บาท ท่านก็จะเห็นพระบรมรูป 2 รัชกาล คือ รัชกาลที่ 5 และ ที่ 6 ที่ประดิษฐานที่จุฬาฯ (เป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในไทยด้วยที่มีพระบรมรูปแบบเดียวกับในธนบัตร)
13. สัญลักษณ์ตราพระเกี้ยว เป็นสัญลักษณ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นตราประจำรัชกาลที่ 5และเป็นเครื่องหมายแห่งความภาคภูมิใจของนิสิตจุฬาฯทุกคน
14. สีประจำมหาวิทยาลัยคือสีชมพู เป็นสีแห่งความรัก สีแห่งรักรมณ์ละมุนอุ่นไอหวาน สีสถานศึกษาสง่าไฉน.... สีประจำจุฬาฯ และการเทิดทูนล้นเกล้าสองรัชกาล อัญเชิญมาใช้ครั้งตอนงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์
15. จุฬาฯ เป็นสถานที่ที่เกิดขึ้นจากความรักของ 2 พระองค์ที่มีแก่กัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระประสงค์อยากให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นอนุสรณ์ในพระราชบิดา ของพระองค์
คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็เป็นสถานที่ที่เป็นอนุสรณ์ บ่งบอกถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้อย่างถ่องแท้ นอกจากนี้พระองค์ยังมีพระประสงค์อยากให้สถานที่แห่งนี้เป็นประโยชน์ทั้งใน ปัจจุบัน(พ.ศ.2459)และในอนาคตกาล
16.เหตุที่ให้ ชื่อมหาวิทยาลัยว่า "จุฬาลงกรณ์" เพราะว่า มีการสืบต่อเนื่องมาจากโรงเรียนที่รัชกาลที่ ๕ ทรงก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ ชื่อแรกคือ " สำนักวิชาฝึกหัดข้าราชการฝ่ายพลเรือน " - - - - > "โรงเรียนมหาดเล็ก" - - - - >" โรงเรียนข้าราชการพลเรือน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว " - - - - > " จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย " รัชกาลที่ 6 ทรงเล็งเห็นว่าใช้ชื่อเกี่ยวกับพระราชบิดาของพระองค์มาโดยตลอด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความหมายว่า มหาวิทยาลัยของสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ หรือ University of Prince Chulalongkorn
17.จามจุรี เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย มีอยู่ 5 ต้นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯมาปลูกด้วยพระองค์เองโดยพระองค์ทรงนำต้นจามจุรีทั้ง 5 ต้นมาจากพระราชวังไกลกังวล หัวหินด้วยพระองค์เองโดยมิได้แจ้งทางมหาวิทยาลัยล่วงหน้า นำความปลาบปลื้มมาสู่ชาวจุฬาฯทุกคน
("นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้น พ้นต่อชาวจุฬาฯ ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี โดยที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน ในวันที่ 15 มกราคม 2505 พระบาทสมเด็จพระปร มินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้เสด็จพระราชดำเนิน ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระราชทานต้นจามจุรีแก่มหาวิทยาลัย จำนวน 5 ต้น ซึ่งพระองค์ทรงนำมาจากพระราชวังไกลกังวล หัวหิน และทรงปลูกด้วยพระองค์เอง บริเวณด้านหน้าหอประชุมจุฬาฯ ฝั่งด้านสนามฟุตบอล ทางด้านขวา จำนวน 3 ต้น ด้านซ้ายจำนวน 2 ต้น และยังได้พระราชทานพระราชดำรัสถึงความผูกพันระหว่างชาวจุฬาฯ กับจามจุรีว่ามีมานานตั้งแต่สร้างมหาวิทยาลัย ทรงเน้นว่าดอกสีชมพูเป็นสัญลักษณ์สูงสุดอย่างหนึ่งของจุฬาฯ พระองค์ทรงเห็นว่าจามจุรีที่นำมานั้นโตขึ้น สมควรจะเข้ามหาวิทยาลัยเสียที และสถานที่นี้เหมาะสมที่สุด "จึงขอฝากต้นไม้ไว้ห้าต้นให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล") และคำเรียกติดปากก็คือ ~จามจุรีสีชมพู-จามจุรี...ศรีจุฬาฯ~
18. เครื่องแบบการแต่งกายของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเครื่องแบบแห่งแรกและเพียงแห่งเดียวของประเทศไทยที่ได้รับพระราชทานมา จากองค์พระมหากษัตริย์ และเป็นแห่งแรกที่มีการสวมใส่เครื่องแบบนิสิต(เหมารวมถึงนักศึกษาในสถาบัน อุดมศึกษาของประเทศไทย)
และนอกจากนี้ เครื่องแบบนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเครื่องแบบของมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวของประเทศไทยที่ถูกตราไว้ในพระ ราชกฤษฎีกา พ.ศ.2498 ดังนั้นการใส่เสื้อที่มีสาบหลังและส่วนพับปลายแขนเสื้อ รวมทั้งเข็มขัดหนังกลับสีนํ้าตาลของนิสิตหญิง//ส่วนนิสิตชาย เสื้อเชิ้ตแขนยาวสีขาว
กางเกงขายาวสีขาว ถุงเท้าสีดำหรือนํ้าตาลเข้ม รองเท้าหุ้มส้นสีดำหรือสีนํ้าตาลเข้ม เข็มขัดหนังสีดำ มีหัวเข็มขัดตราพระเกี้ยวตามแบบของมหาวิทยาลัย เนคไทมีตราพระเกี้ยวตามแบบของมหาวิทยาลัย จึงเป็นเอกสิทธิ์ของนิสิตจุฬาฯ ตามข้อบัญญัติตามกฎหมาย
( เป็นเกียรติเป็นศรีเป็นศักดิ์ - - เป็นเอกลักษณ์งามสง่า - - สวมชุดนิสิตจุฬาฯ - - ประกาศค่าจุฬาลงกรณ์)
19. และจุฬาฯ แทบจะเป็นมหาวิทยาลัยเดียวในไทยที่บังคับให้นิสิตแต่งกายถูกต้องตามระเบียบ ทุกประการ เพราะถือว่าที่นี่เป็น Original เอามาก ๆ ทำกันมาตั้งแต่ก่อนปีพ.ศ.2459 จนถึงปัจจุบันนี้
พอน้อง ๆ ที่เข้ามาเป็นนิสิตใหม่ พวกรุ่นพี่ก็จะต้องอบรมสั่งสอนเรื่องการแต่งกายแบบเข้มงวดมาก ๆ
โดย เฉพาะน้องปี 1 หญิง-จะบังคับให้ใส่กระโปรงพลีตและรองเท้าหนังสีขาวล้วนเท่านั้น ชาย-ต้องผูกเน็คไทด์ (แต่พวกรุ่นพี่ก็ต้องผูกเน็คไทด์เวลาเข้าสอบ ไม่เช่นนั้นจะถือว่าผิดระเบียบ)
ส่วนพวกรุ่นพี่ก็ต้องคอยดูแล ควบคุมการแต่งกายของทั้งน้องปี 1(และของตัวเอง)
ให้ถูกต้องตามระเบียบอย่างเคร่งครัด (ยิ่งกว่าโรงเรียนมัธยมบางแห่งอีก)
ส่วน ผู้ที่แต่งกายผิดระเบียบ เช่น ผู้หญิงเอาเสื้อออกนอกกระโปรง ก็จะถูกสายตาจากบุคคลรอบ ๆ ลงโทษเอง แถมยังมีกฎออกมาอีกว่าถ้านิสิตจุฬาฯแต่งกายผิดระเบียบก็จะโดนตัดคะแนนความ ประพฤติ
ก่อนครั้งแรก - ตักเตือน
ครั้งแรก 20 คะแนน - พักการเรียน 1 ภาคการศึกษา
ครั้งที่สอง 40 คะแนน - พักการเรียน 2 ภาคการศึกษา
ครั้งที่สาม 60 คะแนน - พักการเรียน 3 ภาคการศึกษา
ครั้งที่สี่ 80 คะแนน - พักการเรียน 4 ภาคการศึกษา
ครั้งที่ห้า ครบ 100 คะแนน - พ้นสภาพนิสิต
* สำหรับน้องปี 1 จะมีการกล่าวตักเตือนก่อนในสองสัปดาห์แรกของเทอมหนึ่ง ถ้าพ้นจากนี้ไปก็จะเริ่มหักคะแนนความประพฤติทันที ถึงแม้ว่าจะกระทำผิดเป็นครั้งแรกและไม่เคยได้รับคำตักเตือนเลยก็ตาม
พวก เราชาวจุฬาฯ ควรจะภาคภูมิใจในเครื่องแบบนิสิตซึ่งพระมหากษัตริย์พระราชทานมาให้และรักษา กฎระเบียบเพื่อความเรียบร้อย สวยงามและได้รับคำชื่นชมจากคนรอบข้าง ว่าที่นี่นิสิตมีวินัย ให้เกียรติสถาบัน ดูงามตาน่ามอง (สมกับคำขวัญที่ว่า " แต่งกายสง่างาม สมพระนามจุฬาลงกรณ์ ")
20.พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกที่เกิดขึ้นในไทยก็เกิดขึ้นที่จุฬาฯ
โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์พระราชทานให้แก่นิสิตคณะแพทยศาสตร์เป็นที่แรก
21. สมเด็จพระเทพฯ ทรงสำเร็จการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
22. พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงเข้าศึกษาในคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในปีการศึกษา2548
23. มิถุนายน 2495-2501 สมเด็จพระพี่นางฯ ทรงเคยเป็นอาจารย์สอนนิสิตคณะอักษรศาสตร์ วิชาวรรณคดีฝรั่งเศสให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 4 และ phone'tiquie สำหรับนิสิตปี 3 และ conversation ให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 2 เมื่อท่านมีภารกิจเยอะขึ้น ท่านก็เลยต้องล้มเลิกการสอนไป (ถ้านิสิตคนไหนอยากดูพระฉายาลักษณ์ตอนที่ท่านเคยสอนนิสิตคณะอักษรศาสตร์ ลองไปดูที่หอประวัติจุฬาฯ ชั้นสองได้ มีรูปและคำบรรยายประกอบด้วย)
24. สมเด็จพระเทพฯ ได้รับการแต่งตั้งพระยศเป็นเจ้าฟ้า ในขณะที่ทรงศึกษาอยู่ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ชั้นปีที่ 2 (สำหรับเรื่องนี้ก็ไปดูที่หอประวัติชั้นสองได้เช่นกัน มีพระฉายาลักษณ์ของท่านที่ติดอยู่กับบัตรห้องสมุดและบัตรประจำตัวนิสิตด้วย มีคำบรรยายประกอบพร้อมสรรพ)
25. จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยแรกที่ใช้คำว่า " นิสิต-นิสิตา"
26.เทวาลัย หอประชุมใหญ่จุฬาฯ เป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานทั้งแบบตะวันออกและตะวันตก ผู้ออกแบบเป็นชาวต่างชาติ
27. ศาลาพระเกี้ยว เป็นอัครสถานที่มีความโดดเด่น เป็นแหล่งรวมกิจกรรมทุกอย่าง เป็นที่ตั้งของศูนย์หนังสือจุฬาฯ( ได้รับรางวัล ๑ ใน ๑๐ ร้านค้ายอดเยี่ยมในทศวรรษ...ด้วยนะ....) สหกรณ์ ตลอดจนที่รับประทานอาหาร
คุณสามารถทำกิจกรรมต่างๆนานาได้จากอัครสถานแห่งนี้
28.สระน้ำ จุฬาฯ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
29. สนามจุ๊บ (สนามกีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ จารุเสถียร) เป็นที่อยู่ของ CU Band CU Chorus และ ที่ซ้อม ของเชียร์ลีดเดอร์
30. เมื่อถึงวันงานประเพณีต้อนรับน้องใหม่ทุก ๆ ปี นิสิตรุ่นพี่จะนำใบหรือกิ่งจามจุรีเล็ก ๆ มาผูกริบบิ้นสีชมพูคล้องคอให้นิสิตใหม่เพื่อเป็นการต้อนรับเข้าสู่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาณาจักรแห่งจามจุรีสีชมพู
31.การรับน้องใหม่ของจุฬาฯที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในปลายเดือนพฤษภาคม
น้องใหม่ทั้งหลายจะได้รับการคัดสรรเข้าบ้าน
32.ชื่อบ้านรับน้อง ก็จะมีหลากหลาย แต่กว่าครึ่งจะแปลได้สองแง่สองง่าม...
33.ถ้าเฟรชชี่คนไหนพลาดการรับน้องก้าวใหม่ มันยากจริงๆที่จะได้เจอเพื่อนต่างคณะ...
ในทางกลับกันถ้าเข้าร่วมกิจกรรมนี้ ก็จะรู้จักเพื่อนใหม่ต่างคณะเยอะแยะ ...
34.เรื่องรับน้องก้าวใหม่ยังไม่จบ...กิจกรรมที่ทำกันก็จะเน้นการเต้น กิน เต้น และก็เต้น...
เพลงฮิตในการสันทนาการที่เด็กจุฬาฯเต้นเป็นกันทุกคนคือ เพลง"หอยจี้ลี่"
35. จุฬาฯ 2 ฝั่งนะ....อิ อิ งงหละสิ ฝั่งแรกคือฝั่งอนุสาวรีย์สองรัชกาล หน้าหอประชุมใหญ่ เป็นที่รวมของหลายๆคณะ.....
อีกฝั่งคือ ฝั่ง หอกลาง เป็นที่ตั้งของคณะอีก 4 คณะ คือ นิเทศฯ นิติฯ ครุฯ และวิทย์ฯกีฬา
นอกจากนี้ยังมีคณะทันตะ,สัตวะ,เภสัช,สหเวชและจิตวิทยา ที่เป็นคณะหรูอยู่ติดสยามแสควร์
36.เป็นมหาวิทยาลัยเล็กๆ ที่รายล้อมไปด้วยย่านเศรษฐกิจและศูนย์การค้า
37. ผิดกับสมัยก่อนที่อยู่กลางทุ่งพญาไท ไกลมาก ๆ จนนิสิตต้องมาอยู่หอพักเพราะเดินทางไป-กลับไม่สะดวกและอาจไม่ปลอดภัย เป็นที่มาของคำว่า "นิสิต" แปลว่า ผู้อยู่หอ
38.การเดินจากฝั่งคณะวิทยาศาสตร์ไปนิเทศ ไปง่ายๆโดยไม่ต้องขึ้นสะพานลอย แต่จุฬาฯหรูกว่านั้น
มีอุโมงค์เชื่อมสองฟากถนนด้วย...
39. หอกลาง ไว้นอนหลับ อ่านหนังสือ เล่นเน็ท ดูหนัง ฟังเพลง MSN และจะกลายเป็นตลาดนัดในช่วง Midterm กับ Final
40.โรงอาหารที่ขึ้นชื่อในความอร่อยคงเป็น โรงอาหารคณะรัฐศาสตร์ ซึ่งถือว่ามีเมนูหลักจากร้านก๋วยเตี๋ยวอดทน
ด้านโรงอาหารคณะอักษรฯคงไม่แพ้กัน งัดเมนูเด็ดๆ..ทั้งนั้น คณะวิศวะ มีความหลากหลายในอาหาร หนุ่มๆหล่อเพียบ
โรงอาหารบัญชี&เศรษฐศาสตร์ อยู่ที่ตึกใหม่ สีขาว โปร่งโล่งสบาย ลมเย็นมาก ๆ ด้วย แต่พอฝนตกทีก็
โรงอาหารคณะทันตะ แหล่งรวมอาหารอร่อยๆ...มากมายเช่นกัน ฝั่งครุฯก็ไม่ยอมแพ้มีเครื่องดื่มขึ้นชื่อคือ โอเรโอ้ปั่นใส่วีฟครีม ...
( ข้าวเหนียวไก่ย่าง อักษรฯ น้ำปั่น ครุฯ ไอติม บัญชี )
41.กว่าร้อยละ 60 ของนิสิตจุฬาฯ ต้องเคยกินเวเฟอร์ ที่สหกรณ์จุฬาฯ ศาลาพระเกี้ยว...
เพราะกลิ่นที่ชวนไปลิ้มลองแน่ๆเลย...
42.หนุ่มที่สาวคณะต่างๆหมายปองมักจะอยู่ฝั่งในเมือง เช่น สถาปัตย์ วิดวะ หรือแม้กระทั่งหนุ่มๆสิงห์ดำ(รัฐศาสตร์)...
43.สาวๆก็ไม่แพ้กัน สาวสวยที่ขึ้นชื่อในจุฬาฯ ก็ต้องยกให้อักษรฯ รัดสาด บัญชี...ทั้ง สวย รวย เก่ง...อืม!
44. มีเรื่องเล่าขานว่า ถ้าผู้หญิงคนไหนเดินสะดุดลานเกียร์ จะได้แฟนเป็นเด็กวิศวะ (ต้องรีบไปซะแล้ว!!)
45.สถานที่ที่เหมาะแก่การไปนั่งสวีทกัน คือ หอกลาง(อาคารมหาธีรราชานุสรณ์:หอสมุดกลาง) ด้วยวิวที่ดูเป็นเมืองนอกมาก
มีวิว ตึกหอพักหญิงสีน้ำตาล ยิ่งดูยิ่งโรแมนติก...
46. หอพักนิสิตจุฬาฯ มี 5 หอ คือ จำปี พุดตาล พุดซ้อน เฟื่องฟ้า ชวนชม ++++ หอนอก หอพักพวงชมพู ยูเซ็นเตอร์ แอบไฮโซ
47.เด็ก self จัดในจุฬาฯ ต้องยกให้ นิเทศฯ ศิลปกรรมฯ(สินกำ)...แรงมากๆ...ขอบอก
สาวสวย - - อักษรฯ บัญชี
-
-
สาวหรู ไฮโซ - - รัดสาด
-
-
สาวเปรี้ยว - - นิเทศ
-
-
สาวแรง - - สินกำ
-
-
สาวห้าว - - วิดวะ
-
-
สาวดุ - - ครุ
-
-
สาวเคร่ง - - นิติ
48.คนภายนอกชอบมองว่าเด็กจุฬาฯเป็นพวกเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ แต่จริงๆควรมองเด็กจุฬาฯจากภายในและความสามารถมากกว่า
49.คู่รักคู่แค้นของเด็กจุฬาฯคือ เด็กธรรมศาสตร์ งานบอลแต่ละครั้ง ต้องประชันกันให้เหนือกว่ากัน ซึ่งค่าใช้จ่ายจากงานบอล
แต่ละครั้ง สามารถซื้อบ้านหรูๆได้มากกว่า 3 หลัง....
50.เพลง เดินจุฬาฯ เป็นเพลงปลุกใจให้ฮึกเหิม ในการต่อสู้ที่ดีที่สุด อ้าว....เดิน เดิน เถอะรา นิสิต มหาจุฬาลงกรณ์.....
51.บูม Baka เป็นบูมที่ไม่เคยมีใครให้เหตุผลได้ว่า ทำไมต้อง baka ทำไมต้อง bow bow....
52. โรงเรียนเตรียมอุดมฯ แต่ก่อนผู้ที่จะเข้าจุฬาฯต้องมาศึกษา ณ ที่นี่ แต่ก่อนชื่อว่า โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงเรียนเตรียมฯ ยังใช้ตราสัญลักษณ์พระเกี้ยว(น้อย)-ต้นจามจุรี- สีชมพู-การบูม Baka เป็นสัญลักษณ์ของสถาบันเหมือน ๆ กับชาวจุฬาฯ อีกด้วย
53. อุเทนถวาย อยู่กับเรามานานแล้ว หุหุ
54. สยาม สามย่าน มาบุญครอง สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ หุหุ
55. สถาบันภาษา ไว้สอบ FE หุหุ
56. เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 8 ในเอเชีย อันดับที่ 60 ของโลกในด้านการแพทย์
57. เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 46 ของโลกในด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (รัฐศาสตร์,นิติศาสตร์,เศรษฐศาสตร์,อักษรศาสตร์)
58. เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 50 ของโลกในสายมนุษยศาสตร์ (คณะอักษรศาสตร์และครุศาสตร์)
59.คะแนนในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย จุฬาฯมีคะแนนนำมาตลอดทุกคณะ/สาขาวิชา...และที่นี่เปรียบเสมือนที่รวมหัวกะทิของประเทศ
60.กว่าร้อยละ 70 ของเด็กมัธยม กำลังกวดวิชาเพื่อความหวังในการเข้าศึกษาในสถาบันแห่งนี้...
61.จุฬาฯเป็นแหล่งรวมความหวังของเด็กมัธยมทั่วประเทศ...
62.การเรียนในจุฬาฯ หนักยิ่งกว่าการเอ็นทรานซ์เท่าตัว
63. ในปีการศึกษา 2548ไม่เคยมีคะแนนตํ่าสุดที่สูงมากเป็นประวัติศาสตร์ขนาดนี้ คือ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เอกภาษาญี่ปุ่น มีคะแนนตํ่าสุดที่สูงที่สุดในประเทศในการสอบ 4 วิชาแบบสายศิลป์ (ไทย,eng,สังคม,ภาษาต่างประเทศที่สองหรือเลข 2) คือ 351คะแนน จาก 444.44 และรองลงมาคือ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ภาคIR คือ 330 คะแนน จาก 444.44 คะแนน
64. มหาจุฬาลงกรณ์ เพลงพระราชนิพนธ์ประจำมหาวิทยาลัย แต่ก่อนเคยใช้เป็นเพลงมหาฤกษ์
65. มีเพลงหนึ่งที่บอกเล่าการใช้ชีวิตในจุฬาฯ คือ เพลงจามจุรีศรีจุฬาฯ...ตอนช่วงสุดท้ายของเพลงถือเสมือนการเตือน เรื่องการเรียนที่ฟังแล้วซึ้งจริงๆ
66. สถานีรถไฟใต้ดินที่สามย่าน เขียนว่า
" สิ่งปลูกสร้างนี้ตั้งอยู่บนพิ้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย "
67. รถป๊อป 55++ จอดหน้าศาลาพระเกี้ยว
68. ที่จุฬาฯ สามารถใช้พาหนะได้หลายอย่างและสะดวก คือ BTS,MRT,รถป็อป,รถยนต์,เฮลิคอปเตอร์(สภากาชาด)< - - - แต่อันนี้คงไม่สะดวกมั้ง และเรือ (ที่สะพานหัวช้าง)
69. ว่างๆก็ไปบริจาคเลือดที่สภากาชาดนะ
70. ภาพยนตร์เรื่อง "มหา'ลัย เหมืองแร่" เกี่ยวข้องและเกิดขึ้นกับอดีตนิสิตวิศวะ จุฬาฯ โดยตรงในปีพ.ศ. 2492 พร้อมประโยคหนึ่งที่มาพร้อมกับเรื่องนี้ "เลือดสีชมพูไม่มีวันจาง แต่สีชมพูจะจางด้วยนํ้าลาย"/ "จุฬาฯ ไม่ต้องการผม "
71.++++ จีฉ่อย ++++ มีทุกสิ่งในโลก หุหุ อยากได้ไรมาร้านนี้ 555++
72. ที่ร้านสเต็กสามย่านที่ใช้โต๊ะเหล็ก เขียนตัวนูนบนโต๊ะว่า "จุฬาฯ"
73. รู้ไหมว่าในจุฬาฯ(ฝั่งในเมือง)มีถนนมีชื่อNickName อยู่สองสาย คือ Art Street = ตั้งแต่คณะสถาปัตย์มาศิลปกรรมจนถึงอักษรฯ (เกี่ยวกับศิลป์) ส่วนอีกถนนหนึ่งก็คือ Hi-So Street = ตั้งแต่รัฐศาสตร์ไปถึงเศรษฐศาสตร์ไปสุดที่คณะบัญชีไง ส่วนสามแยกปากห-ม-า ก็ต้องที่วิศวะเท่านั้น !!!!!
74. ถ้าจะนับเวลาที่จุฬาฯ เกิดขึ้นจริง ๆ แล้ว โดยที่ไม่นับรวมว่าใช้ชื่อสถาบันว่าอะไรก็ตั้งแต่ปีพ.ศ.2442
ในขณะนั้นยังใช้ชื่อว่า "สำนักวิชาฝึกหัดข้าราชการฝ่ายพลเรือน" (ร้อยกว่าปีผ่านมา.....)
75. คณะก่อตั้งจุฬาฯ 4 คณะแรกคือ วิดวะ (เก่าแก่สุด) ,รัฐศาสตร์,อักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์,แพทย์
76.เหมารวมถึงคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อก่อน - โรงเรียนรัฏฐประศาสนศาสตร์ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อก่อน - โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ตั้งอยู่ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ.2435
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อก่อน - โรงเรียนราชแพทยาลัยตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช
คณะ นิติศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อก่อน - โรงเรียนเนติศึกษาตั้งอยู่ ณ อาคารห้างแบดแมนเดิม (ต่อมาเป็นกรมประชาสัมพันธ์)ที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา
คณะ วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อก่อน - โรงเรียนยันตรศึกษา อาคารที่ตั้งวังใหม่ หรือวังกลางทุ่งหรือวังวินด์เซอร์ (เคยเป็นวังของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสยามบรมราชกุมาร)
77. นอกจากนี้คณะรัฐศาสตร์มีเค้ากำเนิดมาตั้งแต่โรงเรียนฝึกหัดวิชาข้าราชการ ฝ่ายพลเรือนพ.ศ. 2442 (ร.ศ.118 )ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นโรงเรียนมหาดเล็กในสมัยรัชกาลที่ 5และได้ยกเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในสมัยรัชกาลที่ 6 จนกระทั่งเป็น 1 ใน 4 คณะแรกของจุฬาฯ โดยใช้ชื่อว่า "รัฏฐประศาสนศาสตร์" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ในปี พ.ศ.2476 ต่อมารัฐบาลได้ให้คณะดังกล่าวไปขึ้นต่อมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการ เมือง ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ (ก็คือว่า รัฐศาสตร์ จุฬาฯก็โดนยุบไปชั่วคราวครั้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2491 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง)และคณะเศรษฐศาสตร์ก็เคยเป็นแผนกหนึ่งในคณะรัฐศาสตร์ มาก่อนที่จะจัดตั้งเป็นคณะด้วย
78.คณะครุศาสตร์ มีเค้ากำเนิดมาจากโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ตั้งแต่ พ.ศ.2435 ต่อมาได้พัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนข้าราชการพลเรือน เป็นแผนกวิชาหนึ่งในคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ พร้อมกับการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
79. เมื่อก่อน ศิริราช คือ คณะแพทย์ของจุฬาฯ ต่อมาเมื่อมีการตั้งมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ คณะแพทย์ เภสัช ทันตะ ก็ไปสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จึงเป็นการสิ้นสุดคณะแพทย์ที่สังกัดจุฬา ต่อมา รัชกาลที่ 8 ทรงพระราชดำริสมควรมีคณะแพทย์แห่งใหม่ จึงเลือกตั้ง คณะแพทย์ ร.พ.จุฬาลงกรณ์ ดังนั้น คณะแพทย์ ที่สังกัดจุฬาจึงกำเนิดขึ้นอีกครั้ง(พ.ศ.2490)และนับเป็นรุ่นที่ 1(พ.ศ.2496) ตั้งแต่นั้นมา
80. จะเห็นได้ว่าชาวคณะรัฐศาสตร์กับนิติศาสตร์ จุฬาฯ มีความผูกพันกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แต่ชาวคณะแพทยศาสตร์/ทันตะ/เภสัช จุฬาฯ จะมีความผูกพันกับมหาวิทยาลัยมหิดล
81.คำว่า SOTUS มีมานานประมาณปี2462 โดยนิสิตจุฬาฯรุ่นนั้นสรรหาคำที่มีความหมายลึกซึ้ง มาประกอบกันเป็นคำว่า SOTUS
82. คณะรัฐศาสตร์หรือชาวสิงห์ดำของพวกเราเป็นคณะเดียวในจุฬาฯ ที่ไม่ใช้คำว่า"Boom" แต่พวกเขาใช้คำว่า "ประกาศนาม" แทน >>>>> นี่....นัก..รัฐศาสตร์
83. ในอินเตอร์เนต หลาย ๆ คนชอบใช้ ฬ เรียกสั้น ๆ แทนจุฬาฯ ...สั้น ๆ แต่ได้ใจความ
84. นิสิตจุฬาฯ มีบัตรประจำตัวนิสิตเป็น ATM กับธนาคารไทยพาณิชย์ แต่ถ้ามีปัญหาเช่นเครื่องกินบัตรเข้าไปก็ต้องไปติดต่อที่สาขาสภากาชาดไทย (ตรงข้ามคณะรัฐศาสตร์)
85. ของที่ขายในสหกรณ์ ศาลาพระเกี้ยว ราคาถูกมาก ๆ มากกว่าใน super market-seven eleven
หรือที่ขายตามท้องตลาดทั่วไป ยิ่งเป็นนิสิตเอง ยิ่งลดเข้าไปใหญ่
86. จุฬาฯ มีรายได้จากสามย่าน- Siam Square- มาบุญครอง-โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา-อุเทนถวาย คาดว่าสำนักงานทรัพย์สินแห่งจุฬาฯ คงดูแลอยู่ (ไม่แน่ใจว่ารวมถึงสาธิตฯ จุฬาฯ กับสาธิตฯ ปทุมวัน-สภากาชาดหรือเปล่า) (ทางรัฐบาลจึงไม่ค่อยให้งบ ฯ แก่จุฬาฯ เท่าไร ข้ออ้างคือ จุฬาฯ มีรายได้มากแล้ว แต่ก็ไม่มีกฎบัญญัติข้อไหนบอกว่าถ้ามีรายได้มากแต่จะได้งบฯน้อย และมาบัดนี้ทางจุฬาฯ ยืนกรานปฏิเสธแอดมิชชั่นในปี 2549 เข้าไปอีก เลยโดนขู่จะตัดงบฯ ท่านรองอธิการบดีท่านหนึ่งเลยกล่าวกลับไปว่า "ทางจุฬาฯ เองก็ไม่ค่อยได้รับงบเต็มเม็ดเต็มหน่วยมานานแล้ว ถ้ามาบัดนี้ จะไม่ได้เลย ก็ไม่ได้ทำให้จุฬาฯ เดือดร้อน ถ้าจุฬาฯคิดจะหาเงินทำนาบนหลังคน ขูดรีดผู้เช่าที่จริง ๆ ล่ะก็ หาได้มากกว่าที่พวกคุณหาเอาไปให้มหาวิทยาลัยทั่วประเทศรวมกันด้วยซํ้าไป") < - - - แสบไหมล่ะ คงฉุนจัดอ่ะ คงอึดอัดอยากพูดมานานแล้วไง ทั้งห้องประชุมสภาอธิการบดีจะได้รู้ ๆ กันไปเลย ทางดร.ภาวิชเองก็ว่าจุฬาฯ ว่าเรื่องมากอยู่ที่เดียว ที่อื่นไม่เห็นมีปัญหา จุฬาฯ ไม่รับผิดชอบต่อสังคม หาสปิริตพี่พระเกี้ยวไม่เจอ(เราอ่านจากmanager.co.th) แต่เราคิดว่าที่อื่น ๆ เขาก็คงไม่อยากได้แอดมิชชั่นหรอก แต่เขาไม่มีอำนาจต่อรองพอ ถ้าทำแบบจุฬาฯ มีหวังได้โดนตัดงบฯ หรือโดนกีดกันต่าง ๆ นานา
~*~ขออธิบาย ต่อนะ เพื่อกันความเข้าใจผิดกัน ผู้เช่าที่สยามสแควร์ที่ถูกเก็บเงิน ถูกเก็บจากผู้ที่เซ้งที่จากจุฬาฯ อีกทีหนึ่ง(หรืออาจจะเช่าช่วงเป็นสิบ ๆ ทอด) จุฬาฯ ไม่ใช่ผู้เก็บค่าเช่าโดยตรง
87. บัตรจอดรถสยามสแควร์มีตราองค์พระเกี้ยวอยู่บนบัตรด้วย แสดงถึงความเป็นเจ้าของที่ดิน
88. แทบจะไม่มีนิสิตจุฬาฯ คนใดที่จำเลขประจำตัวนิสิตไม่ได้และการลืมบัตรประจำตัวนิสิตในวันหนึ่ง ๆ เหมือนกับว่าเราแทบจะหมดสิทธิ์ทำอะไรหลาย ๆ อย่างไปเลย (แอบเห็นเด็กจุฬาฯ หลายคนแล้วนะที่พอจะเข้า BTS,MRT แต่สอดบัตรผิด ใช้บัตรนิสิตสอดเข้าไป ต่อไปคงต้องขอทางกรมขนส่งให้เด็กจุฬาฯ ใช้บัตรนิสิตแทนบัตรรถไฟฟ้าแล้วล่ะมั้ง !!!)
89. BTS สถานีสยาม-สนามกีฬาฯ เป็นสถานีที่ชาวจุฬาฯ ใช้ขึ้นและลงบ่อยที่สุด แต่สถานีศาลาแดงเป็นสถานีที่ชาวคณะแพทย์ใช้บ่อยที่สุด ส่วน MRT ก็คงหนีไม่พ้นสถานีสามย่านกับสถานีสีลม
90. วงเวียนชีวิตของชาวจุฬาฯ ช่วงเช้าคือลง BTS (ส่วนมาก)ที่สยามและลงมาขึ้นรถป๊อปตรงหน้าร้าน Dunkin' Donuts ตอนช่วงเย็นก็สลับกันขึ้นรถป๊อปก่อนแล้วค่อยมาขึ้น BTS
91. จุฬาฯ มีทุนเล่าเรียนฟรีแบบไม่ต้องใช้ทุนคืนด้วยนะ เพราะจุฬาฯ พยายามที่จะไม่ให้นิสิตไม่ได้เล่าเรียนเนื่องจากปัญหาทางทุนทรัพย์ ....แบบนี้ล่ะ สมกับเป็นสถาบันชั้นนำร่วมรับผิดชอบต่อสังคม
92. และนอกจากทุนเล่าเรียนฟรีแล้ว ยังมีอาหารกลางวันฟรีให้นิสิตทุกคนได้ทานฟรี ๆ ด้วย
93. ทางจุฬาฯ ยังมีสถานีวิทยุของจุฬาฯ เองอีกด้วย คลื่น 101.5 FM
94. บุตร-ธิดา ของท่านนายกฯทักษิณ ชินวัตร นายกฯคนปัจจุบัน เคยเรียนที่จุฬาฯ (รู้สึกจะเป็นคณะหนุ่มหล่อ วิศวะนั่นเอง) คือ พานทองแท้ ส่วนที่กำลังศึกษาอยู่ก็คือ แพทองธาร เรียนอยู่คณะรัฐศาสตร์ ภาคสังคมฯ
95. จุฬาฯ ทำดินสอไม้ยี่ห้อ จุฬาฯ เองแล้วนะ นอกจากนี้ยังมีกระเป๋าหลายรูปแบบหลายสี สมุด เสื้อ หมวก ร่ม ผ้าขนหนู กรอบรูป แฟ้ม นํ้าดื่ม ที่ทับกระดาษ ฯลฯ ที่เป็นตราจุฬาฯ
96. จุฬาฯ มีศูนย์พิมพ์หนังสือเป็นของตัวเองอีกด้วย
97. ศูนย์หนังสือ จุฬาฯ ยังได้มีการร่วมกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จัดตั้งศูนย์หนังสือขึ้นมาร่วมกันด้วยทั้งในต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ
98. ถ้านิสิตคนไหนรู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้ ผิดหวังในเรื่องต่าง ๆ ทั้งการเรียนและความรักปัญหารอบตัว สามารถโทรไปปรึกษาได้ที่สำนักงานนิสิตสัมพันธ์ หรือไปพบที่อาคารจุลจักรพงษ์ชั้น 2 จันทร์-ศุกร์ตั้งแต่ 8 โมงถึง4 โมงเย็นได้โดยอาจารย์ทางด้านจิตวิทยาและจิตแพทย์
99. รู้ไหมว่า post-it ของ 3M อดีตนิสิตวิศวะ จุฬาฯ ภาคเคมี เขาได้เข้าทำงานอยู่ที่ 3M เขาเป็นคนคิดค้นpost-itได้โดยบังเอิญในขณะคิดค้นกาวชนิดหนึ่งอยู่ เขาเลยรวยเละไปเลย (แต่ที่รวยกว่าคือ 3M 5555++)
100. Life is local and global. คำนี้คุ้น ๆ ไหม ? อยู่ตรงที่บัญชีกำลังดำเนินการสร้าง ทั้งกว้างทั้งสูงใหญ่มาก ๆ เสร็จออกมาคงสวยน่าดู (นี่ล่ะ...มีเงินมีทุน ทำอะไรก็ดีไปหม๊ดดดดดด)



Create Date : 21 มีนาคม 2552
Last Update : 21 มีนาคม 2552 18:04:57 น. 1 comments
Counter : 1653 Pageviews.

 
... จุฬาฯ จุฬาฯ ๆๆๆๆๆ ....

อยู่ที่นี่มาตั้งแต่เกิด รพ.จุฬาฯ - เรียนประถม - มัธยม - มหาวิทยาลัย

ไม่ได้เข้ามานานและ คิดถึง ๆ

นานๆเข้าที เปลี่ยนไปเยอะมาก ๆๆๆ ...


โดย: ก้อยน้อย กลอยใจ (Mr. Poomkrai ) วันที่: 22 มีนาคม 2552 เวลา:8:08:07 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

nahc_CM
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ก็ก่อนอื่นขอสวัสดีใครก้ตามที่หลงเข้ามาอ่านนะครับ ไม่รู้จะพิมพ์ไรเหมือนกันอ่ะ ก็ขอให้โชคดีมีความสุขมาก ๆ นะครับทุกคนนนนนนน จะพยายามเข้ามาอัพเดตเรื่อย ๆ ถ้าว่างนะครับผม
Friends' blogs
[Add nahc_CM's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.