Musica Amante คนรักดนตรี
 
ชีวิตกับดนตรี ของโอม ชาตรี ตอนที่ 3 มืออาชีพ

ต่อครับต่อ
ใกล้จะจบบทสัมภาษณ์ แต่ก็ยังไม่ใช่ตอนนี้


มุมสงบในห้องซ้อม===================================

ตุ้ย ธีรภัทร : ช่วงนั้นการทำงานในห้องอัดเป็นอย่างไรครับ เป็นเทป 8 แทรค หรือไง

พี่โอม : เป็นเทป 24 เทรค แล้ว ห้องอัดศรีสยามนี่เป็นห้องอัดที่ทันสมัยที่สุดแล้วในตอนนั้น

ตุ้ย ธีรภัทร : อัดยังไงครับพี่ อัดรอบเดียวหรือยังไง

พี่โอม : ก็อัดไปทีละแทรคนี่แหละ อัดไปทีละชิ้น ก็จะมี Metronome เป็น Track guide เอาไว้ แต่ยังไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือพวก Sequencer พวกที่เดิ้นสุดก็พวก Metronome ที่นับจังหวะเฉยๆ

ตุ้ย ธีรภัทร : แต่ไม่ได้อัด Live พร้อมกัน ถูกมั๊ยฮะ

พี่โอม : ถ้าเป็นที่วงพี่นี่ เวลาเราทำงานเพลง เรา Arrange เพลงไปด้วย เวลาที่เราอัดเสียงเราก็จะเขียน โน้ตเพลงไป ทีละชิ้นๆ อย่างเช่นพอเราจะอัดเพลงมนต์ไทรโยค ใช่มั๊ย พี่ก็จะเขียนคอร์ดมาก่อน มีริที่มคอร์ดมาก่อน กี่บาร์แล้วก็จนจบแหละ แล้วพอมาทั้งวงก็มากำหนด เอ้า กลองตีก่อน แล้วตัวพี่ก็จะไปกำกับมือกลองว่าเอาอย่างนี้ ท่อนนี้ตียังงี้ ช่วงแรกๆพี่จะเป็นคนเล่นเบสเองด้วย เพราะเราขี้เกียจเขียนโน้ต โน้ตมันอยู่ในหัวแล้ว เราก็เล่นเองเลย ทุกอย่างมันจะเป็นการทำงานลักษณะนี้

ถ้าเป็นสมัยนี้ก็แบบวงนึง อาจจะเล่นกันไม่กี่คน เล่นไปทีละไลน์ๆ คือเราไม่สามารถอัดไปพร้อมกันทั้งวงได้ เพราะว่าเพลงเรามันยังอะเร้นจ์ไม่เสร็จ เป็นอย่างนี้ซะส่วนมากเลย เข้าห้องอัดก็จะยังมีโครงเพลงอยู่ในหัวแล้วก็จะเขียนคอร์ดชาร์ทขึ้นมาอันนึง

ช่วงแรกพี่จะทำงานกับคุณพีรสันติเยอะมากเลย พีรสันติเค้าจะเป็นมือคีย์บอร์ด เล่นคีย์บอร์ดได้ดี เล่นเปียโนได้ดี พี่ก็จะมานั่งบอกเค้าว่า ท่อนนี้อยากได้แบบนี้ เค้าก็เล่นให้ดู อย่างนี้ใช่มั๊ยพี่ พอจบปั๊บ เราก็จะเอาพวกไกด์แทร็กนี่ใส่ซาวด์อะเบาท์ แล้วก็ฟัง แล้วก็มานั่งนึกไลน์สตริงไปเรื่อยๆ ขั้นตอนจะเป็นอย่างนี้

เพราะฉะนั้นไอ้การอัดพร้อมกันทั้งวงเป็นอย่างไร เราก็เลยไม่รู้จัก เพลงมันจะเสร็จเป็นวง ต่อเมื่อ Mix เสร็จแล้วเสมอเลย แต่วงสมัยก่อน รุ่นใหญ่ๆที่เค้าอัดพร้อมกันก็เยอะนะครับ อย่างวงบัตเตอร์ฟลาย ในสมัยนั้นฝีมือสุดยอดมาก เค้าก็จะเป็นวงที่เล่น Live ได้ดี ก็เรียกว่าวงบรมครู คือความรู้โอ้โห แน่นมาก ฉะนั้นในการเข้าห้องอัดเค้าก็จะมีวิธีการที่จะคอนโทรลระบบอัดเสียงให้มีควอลิตี้ที่แม่นยำได้มากกว่าเรา

ตุ้ย ธีรภัทร : จากจุดนั้น แล้วยังไงต่อพี่

พี่โอม : จากจุดนั้น ก็เรียนถูกเรียนผิดมาเรื่อย อินโนเซ็นท์ ก็มีอัลบั้มต่อมา ชุดต่อมาก็ชื่อชุดเพียงกระซิบ ที่มีเพลงเพียงกระซิบนี่แหละ ออกอัลบั้มกันมาเรื่อย ก็ขึ้นๆลงๆไปตามเรื่อง มันก็ดังมากดังน้อยอ๊ะนะ แต่ถามว่าดังมั๊ย มันก็ค่อนข้างมีชื่อเสียงเพราะว่าวงอินโนเซ้นท์ ตอนนั้นอยู่ค่ายนิธิทัศน์ที่เค้ามีสื่อเป็นของตัวเอง พอออกอัลบั้มนึง ก็เปิดออกทีวี เปิดออกวิทยุ อะไรอย่างนี้ คนก็รู้จัก ถึงชุดที่ไม่ได้รับความนิยมมาก แต่ก็ยังเป็นที่รู้จัก ยังได้ยิน อัลบั้มหนึ่ง มันก็จะมีเพลงที่เค้าเรียกว่าเพลงฮิต มาเรื่อยๆ ชุดนึง เพลงสองเพลง อะไรอย่างเนียะ ก็จะเป็นครรลองแบบนี้ จนมาถึงชุด 10 นาฬิกา ซึ่งเป็นชุดสุดท้าย


คร่ำเคร่งกับการฝึกซ้อม (อิอิ)

ตุ้ย ธีรภัทร : ก่อนที่ผมจะถามจากชุด 10 นาฬิกา แล้วไงต่อ ผมอยากรู้ว่า ในแต่ละอัลบั้มที่ทำเนี่ย พี่โอมชอบจะเติมสีสันที่แตกต่างกันไป ในแต่ละชุดนี่ พี่หาแรงบันดาลใจอย่างไรครับ

พี่โอม : คือต้องบอกก่อนว่า วงอินโนเซ้นท์เนี่ย เป็นวงที่สำหรับพี่ มันเป็นงานในยุคที่เรายังลองผิดลองถูก ถามว่าสิ่งที่เราใช้ในการทำงานทั้งหมดนี่ เรารู้มาก่อนมั๊ย พี่ไม่รู้มาก่อนเลย คือเป็นวงที่เราเข้าห้องอัดเราไม่มีความรู้ในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ใดๆในห้องอัดทั้งสิ้น ดนตรีหลายๆอย่างที่เราเอามาเล่น ก็จะเป็นดนตรีที่เราเพิ่งเรียนรู้

ตุ้ย ธีรภัทร : เช่นอะไรบ้างครับ

พี่โอม : อย่างเช่น อย่างพี่เองจะเป็นมือกีตาร์เล่นเพลงRockมาเยอะก็ตาม แต่ว่าในยุคสมัยนั้น ดนตรีมันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ พอการที่เราเป็นวงเล่นต่างจังหวัด เป็นวงแกะเพลงฝรั่งเล่นเนี่ย มันไม่ใช่เป็นการผลิตงานของตัวเอง การแกะเพลงคนอื่นมันเป็นเรื่องง่าย แต่พอเรามาเป็นวงมีชื่อเสียงมีผลงานของตัวเองปั๊บ สิ่งที่เราต้องทำมันเป็นงานที่อยู่ในระดับสูง ระดับเดียวกับวงระดับประเทศที่เค้าเป็นกัน เราเลี่ยงบทบาทตรงนี้ไม่ได้

ฉะนั้นเวลาเราทำ เราก็พยายามทำในสิ่งที่วงการเค้าเรียกว่า มันเป็นมาตรฐานสูง เช่นตอนนั้นพี่ก็ตั้งไว้เลยว่าวงอินโนเซ้นท์มันต้องเป็น ต้องทำงานอย่างวงรุ่นพี่ที่เราชื่นชม เช่นแกรนด์เอ็กซ์ เค้าทำยังไงได้ เราต้องทำให้ได้ วงบัตเตอร์ฟลายนี่อีกวงที่เราต้องทำอย่างบัตเตอร์ฟลายให้ได้ วงออกอัลบั้มมามีอยู่ช่วงหนึ่ง ที่มีเพลงสักวัน ชุดรักคืออะไร ชุดที่ 6 ก็จะเป็นช่วงเดียวกับที่พี่เต๋อออกอัลบั้ม เต๋อ 1 พอดี พี่ก็โอ้โห ทำไมงานเพลงสุดยอดแบบนี้ เราต้องเป็นอย่างนี้ให้ได้ มันจะเป็นอย่างนี้เสมอเลย ทุกๆอย่างมันจะเป็นการเรียนรู้เอาตอนนั้นหมดเลย หลายๆคนเคยถามว่า โอม ทำไมอินโนเซ้นท์ไม่เล่นดนตรีง่ายๆจะได้ไม่เหนื่อย พี่บอกว่าไม่รู้ คือว่าเราคิดแบบนั้นไงครับ

ตุ้ย ธีรภัทร : ใช้คำว่าปล่อยของได้มั๊ยพี่

พี่โอม : บางคนเค้าเรียกว่า ร้อนวิชา คือเราต้องทำอะไรที่มันมีความละเอียดซับซ้อนเยอะๆอะไรอย่างนี้ แต่ว่าในขณะเดียวกันเราก็ต้องเล่นเพลงป๊อบด้วย เอ๊ะเราจะยังไงดี มองย้อนกลับไปในความเป็นวัยรุ่น ในความเป็นวงคนหนุ่มๆ มันก็มีความสับสนอยู่ แต่สิ่งนี้แหละที่มันเป็นเสน่ห์ของงานดนตรี

ตุ้ย ธีรภัทร : คือผมอาจจะสะท้อนในฐานะเด็กคนหนึ่งที่ชอบดนตรีแล้วก็ฟัง ผมมีความรู้สึกว่า งานอินโนเซ้นท์เป็นงานที่ฟังง่าย แต่ทำยาก แปลว่า พอใครฟังแล้วอาจจะอยากไปแกะ โครงสร้างของเพลงมันเออ มันมีฟีลลิ่ง สร้างอารมณ์ ในมุมผมเป็นยุคที่ผมเริ่มหัดเล่นกีตาร์ ก็มีความรู้สึกว่า คอร์ดเหล่านี้พี่เอามาเรียง พี่อะเร้นจ์แบบนี้ได้อย่างไร เป็นเอกลักษณ์ที่แข็งแรงของอินโนเซ้นท์

พี่โอม : ถ้าให้ตอบเนี่ย ต้องบอกว่า คอร์ดเหล่านั้น มันมาจากการหาอยู่ตลอดเลย เวลาทำงานเราก็พยายามจะคิด สิ่งเดียวที่พี่กับพีรสันติที่ทำงานเพลงด้วยกันเนี่ย คือเราจะเอาอะไรมาใส่ในชุดต่อไปดี คือคิดกันเยอะ เวลาออกคอนเสิร์ต ก็จะมีการ re-arrange ใหม่ เติมโน่นเติมนี่ไปตามกำลัง การทำงานอินโนเซ้นท์ก็จะเป็นลักษณะนี้ พอชุดต่อไปก็จะพยายามทำอะไรที่ชุดที่แล้วยังไม่ได้ทำ ซึ่งส่วนมากไอ้การทำงานแบบนี้มันมักจะเป็นการที่เค้าเรียกว่าเป็นการปีนบันได


ระหว่างพัก(เกี่ยวกับบทสัมภาษณ์ตรงไหนเนี่ย)

บางครั้งเราวิ่งไปหาสิ่งที่พูดง่ายๆว่า ทำไปฝึกไป มันไม่เหมือนกับการทำในสิ่งที่เค้าเรียกว่า เคี้ยวเอื้อง คือทำได้อยู่แล้ว คือทำอะไรง่ายๆ อินโนเซ้นท์มันจะเป็นวงที่ทำอะไรแบบนี้ อย่างอัดเสียงอยู่อัลบั้มนึง บางทีอัดกันนานมาก เนื่องจากว่า อัดไปคิดไป ไม่ได้คิดว่าค่าห้องอัดมันบานไปเท่าไหร่แล้ว อันนี้อาจจะต้องบอกว่าโชคดีที่อยู่ในบริษัทที่เค้ามีทุนมีอะไรอยู่ วัตถุดิบทั้งหมด ก็มาจากพฤติกรรมเหล่านี้หมดเลย ไลน์ดนตรี บางที ที่ตุ้ยบอกว่า ฟังง่ายแต่ทำยากเนี่ย มันเป็นเรื่องจริง คือเราไปทำให้มันยากเอง จริงๆไอ้การฟังง่ายมันเป็นโจทย์อยู่แล้ว

เนื่องจากวงมีแนวทางของมันอยู่แล้ว แฟนเพลงส่วนมากก็เป็นแฟนเพลงป๊อบ แต่ความที่เราอาจจะอยู่ในช่วงไขว่คว้า แสวงหา เราคิดว่าเราจะต้องเป็นนักดนตรีที่มีรายละเอียด เราจะต้องเป็นนักดนตรีที่มีสีสัน มีคุณภาพ เราก็เลยเอาความกังวลตรงนี้ใส่ไปในงาน บางทีงานมันน่าจะเสร็จไปตั้งนานแล้วหละ เราก็ยังเติมลงไปอีก ฉะนั้นคนที่ฟังงานอินโนเซ้นท์ในยุคอดีต เค้าจะบอกว่า พี่….มันเยอะแยะไปหมด

ตุ้ย ธีรภัทร : มีรายละเอียดเยอะมาก

พี่โอม : มันเลยไม่ยอมจบซักที บางคนบอกว่า ทำไมเราไปอะเร้นจ์เพลงให้มันฟังดูเยอะแยะแล้วเล่นสดคนเราก็มีอยู่แค่นี้ เราก็ตอบไม่ได้นะ เรารู้แต่ว่า เพลงของฝรั่งที่มันดีๆ มันก็ทำอย่างนี้กัน แล้วเดี๋ยวเล่นสดค่อยว่ากันอีกที มันก็ทำอย่างนี้ บางทีพี่ก็มองว่า เล่นสดบางทีเราก็ไม่ได้เล่นครบทุกเพลง บางทีเล่นสดในอัลบั้มเราก็เล่นซะส่วนเดียวเอง ฉะนั้นในสตูดิโอเราก็ใส่ไปเถอะอะไรอย่างนี้ ใส่ให้มันฟังดูมีรายละเอียดไว้ก่อน ประมาณอย่างนี้ไง

ตุ้ย ธีรภัทร : มันอาจจะเป็นคำถามง่ายๆ แต่ไม่รู้จะตอบยากหรือเปล่านะครับ อะไรคือยาก อะไรคือง่าย คือผมคิดว่าทุกคนอาจจะอยากได้ยินจากปากพี่ เพราะว่าอย่างที่บอกฟังง่ายแต่ทำยากเนี่ย อะไรเรียกว่ายากเกินไปสำหรับพี่โอม อะไรเรียกว่าง่ายเกินไป

พี่โอม : โอเค อันนี้ตอบไม่ยาก สิ่งที่ง่ายเนี่ย มันคือสิ่งที่เราทำด้วยความเคยชินแล้วก็ไม่ต้องเหนื่อยมาก เช่นเราร้องเพลงด้วยระดับเสียงที่คงที่ไปเรื่อยอย่างเนียะ คอนโทรลได้ อะไรได้ ร้องยังไงเสียงก็ไม่สั่น ร้องยังไงเสียงก็ไม่หาย กับการร้องเพลงด้วยเสียงที่สูงขึ้นหรือด้วยพาวเวอร์ที่มากขึ้นอย่างนี้ แล้วเราไม่ค่อยได้ซ้อม เราก็ต้องฝึกซ้อมมากขึ้น ฉะนั้นการทำอะไรที่มันต้องใช้ความพยายามมากขึ้นกว่าปกติ มันจะเป็นอะไรที่ยากกว่า ถ้าพูดถึงการผลิตงานดนตรี มันคือการแต่งเพลงที่ใช้วัตถุดิบซ้ำๆคืออยู่ในกระเป๋าแล้วหยิบออกมาใช้ได้เนี่ย นั่นคือสิ่งที่ไม่ยาก

แต่สิ่งที่ยากกว่านั้น คือการที่ต้องไปหาวัตถุดิบอื่นๆมาใช้ที่เรายังไม่มี ถ้าเป็นรูปธรรมหน่อย ก็เช่น เราต้องไปหาทางคอร์ดใหม่ๆ อย่างเช่นเราใช้คอร์ด C Em F G อยู่อย่างนี้ แล้วชุดต่อไปเราก็ใช้ C F G Am มันก็เป็นอะไรที่คล้ายๆกัน ความซับซ้อนมันก็ไม่มีเพิ่มมากขึ้น แต่พอวันหนึ่งเราต้องการที่จะใช้คอร์ด C D#m Fm แล้วเราเปลี่ยนคีย์ขึ้นมาเป็น Dmaj7 พวกนี้มันจะยากแล้วก็ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ ในการทำแบบนี้ ในทางดนตรี มันจะยากขึ้น แล้วมันจะมาซึ่งความยิ่งยากตามมาด้วย เพลงที่ใช้ทางคอร์ดที่มีความซับซ้อนน้อยๆ ก็จะเข้าถึงตลาดได้มากกว่า การทดลองใช้อะไรที่มันซับซ้อนมากไปเนี่ยตลาดก็จะรับได้ช้ากว่า

ตุ้ย ธีรภัทร : พี่เคยคิดเล่นๆเป็นสัดส่วนไหมว่า เช่นการเปลี่ยนคอร์ดหรือการใส่ความยากลงไป สมมุติว่าเราคิดแทนคนฟังอะไรคือจุดที่เค้าเรียกว่า ปล่อยของ มันควรมีสัดส่วนมากน้อยขนาดไหน

พี่โอม : เดี๋ยวนี้รู้แล้ว แต่ก่อนนี้ไม่รู้


==============================
กั๊กไว้อีกนิด
มาต่อให้จบตอนหน้า



Create Date : 29 สิงหาคม 2552
Last Update : 29 สิงหาคม 2552 12:58:01 น. 2 comments
Counter : 1530 Pageviews.  
 
 
 
 
นี่ขนาดว่าไม่รู้กระบวนการหรือเครื่องไม้เครื่องมือนะครับเนี่ย
ดนตรียังออกมาแบบว่า อ่ะหึยยยยย สุดยอดมากกกกกก
 
 

โดย: กึ่งยิงกึ่งผ่าน วันที่: 29 สิงหาคม 2552 เวลา:13:17:36 น.  

 
 
 
หนึ่งในมือกีตาร์อันดับต้นๆของเมืองไทย ต้องมีพี่โอมอยู่ด้วยแน่นอนครับ
 
 

โดย: komyooth วันที่: 29 สิงหาคม 2552 เวลา:16:41:48 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

Musica Amante
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




เปิดตา เปิดหู เปิดสมอง เปิดใจ
เพลงที่ดี ดนตรีที่ดี ไม่มีค่าย
[Add Musica Amante's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com