4 | | | ตำนานอาถรรพ์ อาชญากรโลกไม่ลืม ฆาตกรรมบันลือโลก ประวัติศาสตร์ทั่วมุมโลก | | |

Group Blog
 
All blogs
 

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส (ตอนจบ)

รอบครัว

พระองค์ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับพระนางมารี-เทเรสแห่งสเปน (พ.ศ. 2181-พ.ศ. 2226) พระธิดาของพระเจ้าฟิลิปป์ที่ 4 แห่งสเปน กับพระนางเอลิซาเบธ แห่งฝรั่งเศส (พ.ศ. 2145 - พ.ศ. 2187) ทรงมีโอรสธิดารวมห้าพระองค์

:เจ้าชายหลุยส์แห่งฝรั่งเศส (พ.ศ. 2204 - พ.ศ. 2254) ผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นมกุฎราชกุมาร
:เจ้าหญิงมารี-เทเรส (พ.ศ. 2210 - พ.ศ. 2215)
:เจ้าหญิงอานน์-เอลิซาเบธ (พ.ศ. 2205 พ.ศ. 2205)
:เจ้าชายหลุยส์แห่งฝรั่งเศส (พ.ศ. 2210 - พ.ศ. 2226)
:เจ้าหญิงมารี-อานน์ (พ.ศ. 2207 - พ.ศ. 2207)

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มีพระสนมมากมาย ในจำนวนนั้น รวมถึงหลุยส์ เดอ ลาวาลแยร์, อองเจลลิง เดอ ฟงตองจ์, มาดามเดอร มงต์เตสปอง และ มาดามเดอมังเตอนง (ผู้ซึ่งพระองค์ได้ทรงอภิเษกสมรสด้วยอย่างลับๆ ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของราชินี ในปี พ.ศ. 2227) ในวัยรุ่น พระองค์ได้ทรงรู้จักกับหลานสาวของพระคาร์ดินัลมาซารัง ชื่อมารี มองซีนี ความรักแบบเพื่อนของทั้งสองถูกขัดขวางโดยพระคาร์ดินัล ผู้ประสงค์ให้พระองค์อภิเษกสมรสกับราชนิกูลของประเทศสเปนเพื่อผลประโยชน์ของฝรั่งเศส และของตัวพระคาร์ดินัลเอง คนมักจะพูดกันว่านางสาวเดอ โบเวส์โชคดีมากที่ไม่ได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แต่นักประวัติศาสตร์หลายคนก็ยังกังขาเกี่ยวกับเรื่องนี้ อย่างไรก็ดี พระเจ้าหลุยส์ยังทรงมีสัมพันธ์เป็นเวลายาวนานอีกกับเด็กสาวพนักงานซักรีดของพระราชวังลูฟ ด้วยความเจ้าชู้ของพระองค์ ต่อมาภายหลังได้มีรับสั่งให้สร้างบันไดลับไว้มากมายในพระราชวังแวร์ซาย เพื่อจะได้สเด็จไปหาพระสนมของพระองค์ได้สะดวก ความสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้พวกเคร่งศาสนากลุ่มหนึ่งไม่พอใจโบสซุเอด์ กับมาดาม เดอ มังเตอนง จึงพยายามชักชวนให้พระองค์หันกลับมาสู่ความทรงคุณธรรมอีกครั้ง ซึ่งทำคนทั่วไปรู้สึกถึงบรรยากาศที่เปลี่ยนไปของพระราชวังแวร์ซายได้ แต่ก็ทำให้ผู้บันทึกประวัติหลายคนรู้สึกเสียดาย

ปัญหาเรื่องพระพลานามัยที่ทรุดโทรมและปัญหาการหารัชทายาท ทำให้เกิดบรรยากาศเศร้าสลดขึ้นในช่วงปลายรัชสมัย พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระองค์ต้องสูญเสียพระโอรส เจ้าชายหลุยส์แห่งฝรั่งเศส (มกุฎราชกุมาร) ไปในปี พ.ศ. 2254 ในปีถัดมา ดยุคแห่งบูกอญจ์ ผู้เป็นพระราชนัดดา พร้อมด้วยโอรสองค์โตของดยุคพระองค์นี้ก็ได้สิ้นพระชนม์ลงอีกด้วยโรคฝีดาษ องค์มกุฎราชกุมารมีพระโอรสอีกสององค์ ซึ่งหนึ่งในนั้นได้เป็นกษัตริย์ของสเปนภายใต้พระนามว่าฟิลลิปเปที่ 5 แห่งสเปน เป็นผู้ซึ่งปฏิเสธสิทธิในการขึ้นครองบัลลังก์ฝรั่งเศสที่สืบเนื่องมาจากสงครามชิงบัลลังก์ในสเปนภายใต้สนธิสัญญาอูเทรชต์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2257 ดยุคแห่งแบรี โอรสอีกพระองค์หนึ่งของมกุฎราชกุมารก็สิ้นพระชนม์ลงอีกด้วย ราชนิกูลชายผู้สืบเชื้ออย่างถูกต้องจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในขณะนั้นจึงได้แก่ดยุคแห่งอองจู พระโอรสองค์รองของเจ้าชายแห่งบูกอญจ์ ผู้เป็นเหลนของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2253 แต่ก็เป็นเด็กชายผู้มีพลานามัยเปราะบาง นอกเหนือจากดยุคแห่งอองจูผู้ซึ่งได้รับตำแหน่งมกุฎราชกุมารแล้ว ก็มีเจ้าชายผู้สืบเชื้อสายโดยตรงจากพระองค์อยู่อีกไม่มากในสายมารดาอื่น พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จึงทรงตัดสินพระทัยสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ราชวงศ์ด้วยการมอบสิทธิ์การขึ้นครองบัลลังก์ให้แก่เจ้าชายอีกสองพระองค์ด้วยเช่นกัน ได้แก่เจ้าชายหลุยส์ ออกุสต์ เดอ บูร์บง ดยุคแห่งเมน และเจ้าชายหลุยส์ อเล็กซองเดรอ เคาท์แห่งตูลูส พระโอรสอันชอบธรรมสองพระองค์ที่ประสูติแต่มาดาม เดอ มงต์เตสปอง



ครอบครัวพระเจ้าหลุยส์ที่ 14

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2258 ด้วยโรคติดเชื้อจากแผลกดทับ พระองค์ได้ทรงประกาศก่อนสิ้นพระทัยว่า"ข้าจะไปแล้ว แต่รัฐของข้าจะคงอยู่ตลอดไป" รัชสมัยของพระองค์กินเวลา 72 ปี กับ 100 วัน พระศพถูกฝังไว้ที่บาซิลิก ซังต์ เดอนี ซึ่งหลุมพระศพนี้ถูกบุกรุกทำลายในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสในกาลต่อมา ดยุคแห่งอองจู เหลนของพระองค์ผู้มีพระชนม์เพียงห้าชันษาได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์พระองค์ต่อมา ภายใต้พระนามว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส โดยมีเจ้าชายฟิลิปป์ ดยุคแห่งออร์เลอง พระนัดดาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นผู้สำเร็จราชการตลอดช่วงที่กษัตริย์ยังทรงพระเยาว์

การเมืองการปกครอง


พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 กับองค์รัชทายาท

ช่วงรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 นั้นโดดเด่นด้วยการรังสรรค์วัฒนธรรมชั้นสูงของฝรั่งเศส ภาษาฝรั่งเศสได้กลายเป็นภาษาของคนชั้นสูง และภาษาทางการทูตในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ คริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศรัสเซีย

ในปี พ.ศ. 2217 รัฐบาลฝรั่งเศสได้ซื้อหมู่เกาะมาร์ตีนีก มาจากบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่ยึดเกาะนี้มาได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2178 ในปี พ.ศ. 2232 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้ทรงประกาศ"กฎดำ" ที่ให้อนุญาตให้มีทาสได้ในดินแดนอาณานิคม ผู้ที่ชื่นชมพระองค์ได้มองกฎดำนี้ว่าเป็นกฎที่ทำให้มีการค้าทาสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อจะได้จำกัดการกระทำทารุณกรรมต่อทาส และมอบสถานภาพทางสังคมให้แก่ทาส ซึ่งก่อนหน้านี้ เป็นได้เพียงทรัพย์สมบัติโดยตรงของเจ้าของทาส เฉกเช่นสิ่งของเครื่องใช้ และด้วยกฎนี้ พวกทาสสามารถมีสิทธิ์เป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ในจำนวนจำกัด มีสิทธิ์เกษียณอายุเมื่อถึงวัยชรา มีสิทธิ์ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีจากเจ้าของ และได้รับอาหารที่ดี กฎดำจึงกลายเป็นกรอบของสนธิสัญญาทาสในสมัยนั้น

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงเป็นที่รักและเคารพของประชาชนชาวฝรั่งเศส จากการที่พระองค์ทำให้ประเทศเกรียงไกรและแผ่ขยายอาณาเขตไปเป็นอันมาก อย่างไรก็ดี การตกอยู่ในภาวะสงครามตลอดเวลาทำให้รัฐต้องขาดดุล และต้องเก็บภาษีอากรจากชาวไร่ชาวนาเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก อเล็กซิส เดอ ทอกเกอร์วิลล์ นักประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสได้แสดงความเห็นว่า การที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เปลี่ยนพวกชนชั้นสูงให้กลายเป็นข้าราชบริพารธรรมดา รวมทั้งยังเข้าพวกกับผู้ดีใหม่ที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้แต่ไม่ให้มีอำนาจทางการเมือง มีส่วนผลักดันให้เกิดความไม่มั่นคงในสเถียรภาพทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในเวลาต่อมา และเป็นชนวนก่อให้เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสในที่สุด

ในช่วงต้นของรัชสมัย ประเทศมหาอำนาจในยุโรปอีกประเทศหนึ่งคือประเทศสเปนในขณะที่สหราชอาณาจักร โดยเฉพาะอังกฤษ ได้กลายเป็นประเทศมหาอำนาจในช่วงปลายรัชสมัยของพระองค์

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงครองราชย์ตรงกับช่วงระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สมเด็จเจ้าฟ้าชัย สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเพทราชา สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) และ สมเด็จพระเจ้าสรรเพชญ์ที่ 9 (พระเจ้าท้ายสระ) แห่งสมัยอยุธยา








 

Create Date : 22 กรกฎาคม 2557    
Last Update : 6 สิงหาคม 2557 16:55:15 น.
Counter : 1821 Pageviews.  

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส (ตอนที่ 1)





พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มีพระนามเดิมว่า หลุยส์-ดิเยอดองเน (Louis-Dieudonné) สมัยประทับอยู่ที่พระราชวังแซงต์-แชร์แมง-ออง-เลย์ (วันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1638) ต่อมามีพระนามว่า เลอรัว-โซแลย (le Roi-Soleil) ซึ่งแปลว่า สุริยกษัตริย์ เริ่มใช้เมื่อวันท
ี่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1715 เมื่อพระองค์ประทับที่แวร์ซายส์ (Versailles) และพระนามต่อมาคือ หลุยส์ เลอ กรองด์ (Louis le Grand) แปลว่าหลุยส์ผู้ยิ่งใหญ่ เริ่มใช้วันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1643 จนกระทั่งพระองค์สวรรคต พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส แลพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งนาวาร์ พระองค์มีเชื้อสายทั้งราชวงศ์บูร์บงและราชวงศ์กาเปเตียง พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ครองราชย์เป็นเวลา 72 ปี จัดว่าเป็นผู้ที่ครองประเทศฝรั่งเศสนานที่สุด อีกทั้งยังเป็นพระมหากษัตริย์ในที่ครองราชย์นานที่สุดในยุโรปอีกด้วย

พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ไม่กี่เดือนก่อนวันครบรอบวันพระราชสมภพ ซึ่งจะมีพระชันษา 5 ปี แต่สมัยนั้น (ค.ศ. 1648 - ค.ศ. 1652) มีกบฏฟรองด์ (Fronde) ทำให้หน้าที่ของพระองค์มีอย่างเดียวคือ ควบคุมรัฐบาล เนื่องจากนายกรัฐมนตรี เลอ คาร์ดินาล มาซาแร็ง (le Cardinal Mazarin) หรือสังฆราชมาซาแร็ง เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1661 ออย่างไรก็ตามพระองค์ไม่แต่งตั้งผู้ใดขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีและประกาศว่า จะบริหารประเทศด้วยพระองค์เอง หลังจากคณะรัฐมนตรีของกอลแบรต์ (Colbert) ครบวาระ (หรือหมดอำนาจในการบริหารประเทศ) ในปี ค.ศ. 1683 และของลูวัร์ (คณะรัฐมนตรีของลูวัร์นี้ขึ้นตำแหน่งต่อจากลูแบร์) ครบวาระในปี ค.ศ. 1691

สมัยของพระองค์โดดเด่นในเรื่องโครงสร้างของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช (สิทธิกษัตริย์ = เทพที่มาจากสวรรค์) ประโยชน์ของพระราชอำนาจอันเด็ดขาดของพระองค์ทำให้ความวุ่นวายต่างๆหมดสิ้นไปจากฝรั่งเศส อาทิเช่นเรื่องขุนนางก่อกบฏ (สมัยพระเจ้าหลุยส์ 14 ไม่มีขุนนางผู้ไหนกล้าก่อกบฏ เพราะพระองค์มีพระราชอำจนาจเด็ดขาด) เรื่องการประท้วงของสภา เรื่องการจลาจลของพวกนิกายโปรแตสแตนท์และชาวนา ซึ่งเรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นในฝรั่งเศสมานานเป็นเวลามากกว่า 1 ทศวรรษแล้ว

ขณะที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส สวรรคต ขณะนั้นพระเจ้าหลุยส์ 14 มีพระชนมายุเพียง 5 ชันษา เนื่องจากพระองค์ยังทรงพระเยาว์มาก พระราชมารดาของพระองค์จึงทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทน โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ส่วนสังคราชมาซาแร็งเป็นผู้อุปถัมภ์พระเจ้าหลุยส์ ดิเยอดองเน ท่านรับผิดชอบด้านการศีกษาเพื่อที่จะให้พระเจ้าหลุยส์ขึ้นเป็นกษัตริย์ในอนาคต ซึ่งการศึกษานี้จะเน้นหนักไปด้านปฏิบัติ มากกว่าด้านความรู้ ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่า สังฆราชมาซาแร็งใช้อำนาจโดยผ่านลูกอุปถัมภ์ของท่านเอง ซึ่งก็คือหลุยส์ดิเยอดองเน สังฆราชมาซาแร็งถ่ายทอดความชื่นชอบในด้านศิลปะให้หลุยส์ดิเยอดองเนและสอนความรู้พื้นฐานด้านการทหาร, การเมืองและการทูต อีกทั้ง สังฆราชผู้นี้ยังนำหลุยส์ดิเยอดองเนเข้าร่วมในสภาเมื่อปี ค.ศ. 1650

พระองค์ได้ทรงลดทอนอำนาจของชนชั้นสูงที่เชี่ยวชาญในการรบ ด้วยมีรับสั่งให้พวกเขาเหล่านั้นรับใช้พระองค์เช่นเดียวกับเหล่าสมาชิกในราชสำนัก อันเป็นการถ่ายโอนอำนาจมายังระบบธุรการแบบรวมศูนย์ และทำให้พวกเขาเหล่านั้นกลายเป็นชนชั้นสูงที่ใช้สติปัญญา พระองค์ทรงดำริให้สร้างพระราชวังแวร์ซายส์ ขึ้นในอุทยาน โดยมีการจัดสวนให้เป็นรูปทรงเรขาคณิต พระราชวังแวร์ซายที่มีขนาดใหญ่นี้ตั้งอยู่ห่างออกไปราว 15 กิโลเมตรทางตะวันตกของกรุงปารีส ที่เมืองแวร์ซาย ในเขตปริมณฑลของกรุงปารีส




 

Create Date : 22 กรกฎาคม 2557    
Last Update : 22 กรกฎาคม 2557 16:38:43 น.
Counter : 1251 Pageviews.  

เฮย์เรดดิน บาร์บารอสซ่า : โจรสลัดเคราแดงผู้เลื่องชื่อ




เฮย์เรดดิน บาร์บารอสซ่า หรือ บาร์บารอสซ่า เฮย์เรดดิน ปาชา เกิดในปี ค.ศ. 1470 บนเกาะเลซวอส หมู่บ้านปาลัยโอคิปอส เขาเป็นชาวตรุกีโดยกำเนิด แม่ของเขาเป็นชาวคริสเตียน จากไมทิลินี่ เคยเป็นแต่งงานกับนักบุญออร์ทอด็อกซ์ แต่หย่าร้างกัน ส่วนพ่อของเขาเป็นชาวตุรกี เมื่อพบรักกับแม่ของเขา ก็เริ่มซื้อเรือและทำธุรกิจคค้าขายสินค้าต่างๆ เขามีพี่น้องทั้งหมด 6 คน ลูก ๆ ทุกคนต่างช่วยพ่อแม่ทำงานอย่างขยันขันแข็ง

เมื่อโตขึ้นลูกชายทั้ง 4 คนได้เริ่มต้นอาชีพนักเดินเรือ ซึ่งอยู่ในสังกัดของกองทัพเรือ และการค้าขายทางเรือระหว่างประเทศ พี่คนโตดูเหมือนจะเจริญก้าวหน้าในหน้าที่มากที่สุด และได้มีเรือเป็นของตัวเองก่อนใคร แต่ในตอนเริ่มต้นทุกๆคนเริ่มจากการเป็นกะลาสีเรือ และกลายมาเป็น Privateer (โจรสลัดที่รัฐบาลให้ความอุปถัมภ์ในการปล้นสะดมเรือของประเทศข้าศึก) ที่ล่องเรืออยู่แถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ อัศวินฮอสปิทัลเลอร์ ผู้ปกครองเกาะแห่งหนึ่งในแถบนั้น และในช่วงนี้เอง ทำให้บาร์บารอสซ่าเริ่มมีชื่อเสียงมากยิ่งขึ้น






บาร์บารอสซ่า หรือที่รู้จักกันในกลุ่มบาร์บารี่ คอร์แซร์ หรือโจรสลัดบาร์บารี่ เป็นกลุ่มโจรสลัดมุสลิมที่ก่อความไม่สงบในบริเวณแอฟริกาเหนือ  ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 จนถึง 19 (ในช่วงสงครามครูเสดด้วยเช่นกัน) บาร์บารอสซ่าได้ปักหลักอยู่ที่เมืองต่าง ๆ และมักขัดขวางรวมทั้งโจมตีเรือของพวกยุโรปตะวันตก และจับชาวคริสเตียนเป็นทาสเพื่อขายให้กับชาวอิสลามในบริเวณนั้น

การโจมตีของโจรสลัดบาร์บารี่นั้นรุนแรงจนทำให้ผู้คนละทิ้งจากบริเวณชายฝั่งต่างๆ ระหว่างช่วงที่อาละวาด พวกเขาได้จับพวกยุโรปรวมล้านคนไปเป็นทาส และแน่นอนโจรสลัดบาร์บารี่ที่โด่งดังที่สุดคือ พี่น้องบาร์บารอสซ่า และอรุจ (พี่ชายของเขา) นอกจากจะโด่งดังที่สุดแล้ว ยังเป็นผู้ที่ร่ำรวยที่สุดอีกด้วย นอกจากเคราสีแดงที่เป็นสัญลักษณ์เฉพาะตัวของบาร์บารอสซ่า จนทำให้ได้สมญานามว่า "เคราแดง" แล้วยังมีอีกหนึ่งสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นบาร์บารอสซ่านั้นก็คือ "Sanjak" หรือ "ธงโจรสลัดของเฮย์เรดดิน บาร์บารอสซ่า" พื้นธงจะเป็นสีเขียว และมีรูปดวงดาวสีขาวอยู่เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นชาวยิว ซึ่งใช้กันอยู่ในอิสราเอลในปัจจุบัน และมีสัญลักษณ์ของชาวอิสลามที่รู้จักกันว่าเป็น "จอมโจรแห่งโซโลมอน" เคยใช้กันอย่างกว้างขวางในอนาโตเลีย บาร์บารอสซ่า ปลดเกษียณตัวเองอย่างเงียบสงบที่เมืองคอนสแตนติโนเปิล ในปี ค.ศ.1545 และให้ลูกชาย ฮะซัน ปาชา เป็นผู้สืบทอดหน้าที่ต่อจากเขา หลังจากนั้น 1 ปี เขาเสียชีวิตลงในปราสาทที่เขาสร้างไว้ริมทะเล และมีการจัดพิธีกรรมทางศาสนาที่ข้าง ๆ ท่าเรือทางฝั่งอิสตันบูล

ในปี ค.ศ. 1944 ได้มีผู้ที่ศรัทธาในตัวบาร์บารอสซ่า และสร้างอนุสรณ์สถานเป็นเครื่องระลึกถึงเฮย์เรดดิน บาร์บารอสซ่าผู้ยิ่งใหญ่ในอิสตันบูลเช่นกัน







 

Create Date : 22 กรกฎาคม 2557    
Last Update : 22 กรกฎาคม 2557 13:53:01 น.
Counter : 1094 Pageviews.  

ขุนศึกตระกูลหยาง






ขุนศึกตระกูลหยาง
(จีนตัวย่อ: 杨家将; จีนตัวเต็ม: 楊家將; พินอิน: Yáng Jiā Jiàng) เป็นเรื่องเล่าที่เป็นเสมือนตำนานในประวัติศาสตร์จีน ในยุคของราชวงศ์ซ่งเหนือ


เรื่องราวขุนศึกตระกูลหยางเขียนขึ้น โดย ถัวถัว นักเขียนชาวมองโกล ในยุคราชวงศ์หยวน โดยอ้างอิงมาจากหนังสือบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ซ่งที่ชื่อ History of Song เป็นเรื่องราวของครอบครัวแซ่หยาง (楊) ที่รับราชการทหารมาตลอดทั้งตระกูลถึง 3 ชั่วอายุคน มีความจงรักภักดีและพร้อมตายในสนามรบได้อย่างสมศักดิ์ศรี อีกทั้งเมื่อเหล่าผู้ชายตายหมดแล้ว ผู้หญิงซึ่งเป็นภรรยาม่ายหรือลูกหลานในตระกูลก็รับหน้าที่ต่อแทน

เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นที่ ในรัชสมัย ซ่งไท่จงฮ่องเต้ อันเป็นฮ่องเต้รัชกาลที่ 2 ของราชวงศ์ซ่งเหนือ เสด็จยกทัพไปปราบปราม เล่ากึน แห่งราชวงศ์โฮ่วฮั่น หยางเย่ หรือ เอียเลงก๋ง (楊業) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองซัวอ๋าวยกกองทัพมาช่วยเล่ากึน สงครามจึงสงบกันไปคราวหนึ่ง เมื่อฮ่องเต้ซ่งไท่จู่สวรรคต เจ้ากวงอี้ พระอนุชาได้ขึ้นครองราชย์แทน เถลิงพระนามว่า ซ่งไท่จงฮ่องเต้

ต่อมา ซ่งไท่จูเสด็จยกกองทัพหลวงไปตีเมืองปักหั้นอีก คราวนี้เกลี้ยกล่อม หยางเย่ กับบุตรชายทั้ง 7 คนมาเข้ากับตนไว้ได้ หลังจากนั้นได้ยกทัพไปปราบเมืองไซเหลียวต่อไป เมื่อซ่งไท่จูฮ่องเต้ถูกล้อมอยู่ในระหว่างศึก หยางเย่กับบุตรก็ช่วยกันแก้ไขเอาออกมาได้ แต่ต้องสู้กับข้าศึกจน หยางต้าหลาง, หยางเอ้อหลาง, หยางซันหลาง ซึ่งเป็นบุตรชายคนโต, คนที่ 2 และ 3 ต้องตายกลางสนามรบ

ส่วน หยางอู่หลาง บุตรชายคนที่ 5 ได้หนีไปบวชจึงรอด ส่วน หยางซื่อหลาง บุตรชายคนที่ 4 ถูกชาวฮวนจับเอาไป เหลือแต่ตัวของหยางเย่ย, หยางซื่อหลาง และหยางลิ่วหลาง เท่านั้นที่รอดกลับมาได้ ฮ่องเต้ซ่งไท่จูจึงโปรดให้สร้างบ้านและมอบเครื่องแสดงเกียรติยศต่าง ๆ ให้ ภายหลังหยางเย่กับหยางซื่อหลางถูก พานเหรินเหม่ย ซึ่งเป็นขุนนางที่เป็นเสมือนคู่ปรับของตระกูลหยางกำจัด คงเหลือแต่หยางลิ่วหลาง บุตรชายคนที่ 6 เพียงคนเดียว ฮ่องเต้ซ่งไท่จู อยู่ในราชสมบัติได้ 22 ปีก็เสด็จสวรรคต

ต่อมาในรัชกาล ซ่งไท่จงฮ่องเต้ โปรดให้หยางลิ่วหลางเป็นแม่ทัพไปปราบปรามเมืองไซเหลียวและเมืองไซฮวนได้มาเป็นเมืองขึ้น เมื่อหยางลิ่วหลางตาย เมืองไซฮวนกลับกำเริบขึ้นอีก ครั้งนี้เป็น หยางจงเป่า ซึ่งเป็นบุตรชายของหยางลิ่วหลางพร้อมกับพวกหญิงม่าย ผู้ซึ่งเคยเป็นภรรยาของพี่น้องตระกูลหยางที่สิ้นชีพไปแล้วทั้งหมด รวมทั้ง ภรรยาของหยางจงเป่า คือ มู่กุ้ยอิง นำทัพปราบปรามเอง ซึ่งภายหลังเมืองไซฮวนก็ได้สยบมอบต่อราชวงศ์ซ่ง บ้านเมืองถึงยุคสงบสุข ไร้ซึ่งเสี้ยนหนามแผ่นดิน บรรดาขุนนางผู้ใหญ่ในเมืองหลวงก็ล้วนแต่ซื่อสัตย์ มีความจงรักภักดี ฝ่ายพลเรือนมี โขวจุ้น เป็นขุนนางใหญ่ ฝ่ายกลาโหมมี หยางจงเป่า ได้บังคับบัญชาการงานทั้งปวงโดยสิทธิ์ขาดทั้งหมด

เรื่องราวของขุนศึกตระกูลหยางได้รับการถ่ายทอดในลักษณะบอกเล่าเป็นนิทานและเป็นการแสดงในการละเล่นอุปรากรของจีนต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน มีการต่อเติมเรื่องราวให้มีสีสันจากเดิม เช่น การเพิ่มบทของความรักระหว่าง หยางซื่อหลาง บุตรชายคนที่ 4 ของตระกูลกับเจ้าหญิงเมืองไซเหลียว ซึ่งเป็นข้าศึก หรือการที่มี เปาบุ้นจิ้น หรือ อ๋องแปด ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญที่มีตัวตนจริงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เป็นต้น เนื่องจากเป็นบุคคลร่วมสมัยกัน







 

Create Date : 22 กรกฎาคม 2557    
Last Update : 22 กรกฎาคม 2557 13:03:22 น.
Counter : 2340 Pageviews.  

ยูริ อะเลคเสเยวิช กาการิน : นักบินอวกาศคนแรกของโลก




ยูริ อะเลคเสเยวิช กาการิน ชาวโซเวียต เป็นนักบินอวกาศคนแรกของโลก เกิดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2476 ในเมืองกชาทสค์ และเสียชีวิตวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 ใกล้กรุงมอสโก 
กาการินเป็นบุตรช่างไม้ในนารวม (เมื่อครั้งรัสเซียเป็นประเทศคอมมิวนิสต์) ได้เรียนเป็นช่างปั้นจากโรงเรียนการค้าใกล้กรุงมอสโก ปี พ.ศ. 2494 จากนั้นศึกษาต่อในวิทยาลัยอุตสาหกรรมที่เมืองซาราตอฟ และในเวลาเดียวกันก็เข้าอบรมการบินด้วย เมื่อสำเร็จหลักสูตรก็เข้าโรงเรียนนายเรืออากาศโซเวียต ในโอเรนบูร์ก และสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2500

ยานวอสตอค 1 (Vostok 1) ของกาการินมีน้ำหนัก 4 ¾ ตัน ปล่อยจากฐานยิงเมื่อเวลา 9.07 น. วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2504 และโคจรรอบโลก 1 รอบ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 29 นาที ที่ระดับความสูงมากที่สุด 187 ไมล์ (301 กิโลเมตร) และลงจอดเมื่อเวลา 10.55 นาฬิกา ตามเวลาในรัสเซีย การบินในอวกาศครั้งนี้ทำให้กาการินมีชื่อเสียงก้องไปทั่วโลก และได้รับเครื่องประดับเกียรติยศเลนิน และได้ตำแหน่งเป็นวีรบุรุษแห่งสหภาพโซเวียต นอกจากนี้ยังมีการสร้างอนุสรณ์สถานและตั้งชื่อถนนเพื่อเป็นเกียรติแต่กาการินในสถานที่หลายแห่งทั่วประเทศ

หลังสร้างประวัติศาสตร์ให้วงการอวกาศได้เพียง 7 ปี กาการินก็จบชีวิตลง หลังประสบอุบัติเหตุจากซ้อมขับเครื่องบินรบเมื่อวันที่ 27 มี.ค.1968 โดยเครื่องเครื่องบินรบตระกูล “มิก” (Mig fighter) ที่เขาซ้อมรบร่วมกับครูฝึกคือ วลาดิมีร์ เซอร์ยอกิน (Vladimir Seryogin) ได้ตก ในแคว้นวลาดิมีร์ซึ่งอยู่นอกกรุงมอสโกว์ อุบัติเหตุครั้งนี้ ไม่ได้รับการอธิบายอย่างชัดเจน บ้างว่าอุบัติเหตุดังกล่าวเกิดจากการเปลี่ยนระดับเพดานบินอย่างรวดเร็วเพื่อ หลบหลีกสิ่งกีดขวาง บ้างว่าถูกโจมตีโดยอากาศยานอื่น บ้างก็ว่าขาดออกซิเจนในห้องโดยสาร

นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานว่า อุบัติเหตุดังกล่าวอาจเกิดมีสาเหตุจากนักบินร่วมของเขา หรืออาจเป็นคำสั่งของ เลโอนิด เบรซเนฟ (Leonid Brezhnev) ผู้นำโซเวียตคนใหม่ ที่อิจฉาความโด่งดังของเขา การเสียชีวิตของกาการิน ได้รับการบันทึกจากคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียต และสภารัฐมนตรีในวันที่ 28 พ.ย.1968 ว่าเป็นเรื่อง “ลับเฉพาะ” ซึ่งเอกสารของคณะกรรมการระบุว่า การซ้อมรบของกาการินและนักบินร่วมนั้น ได้นำเครื่องบินไปเผชิญกับภาวะวิกฤต และการหยุดทำงานกลางคันของเครื่องยนต์ ท่ามกลางสภาพอากาศอันย่ำแย่

มีข้อสันนิษฐานมากมายเกี่ยวกับสาเหตุการตายของกาการิน แต่ทั้งหมดล้วนไม่มีหลักฐานรองรับ แต่ล่าสุดสำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า ทางการของรัสเซียได้เปิดเผยเอกสารที่ไม่เป็นความลับอีกต่อไป ซึ่งระบุว่า ความตายอันเป็นปริศนาของเขานั้นเกิดการซ้อมรบเพื่อหลบบอลลูนตรวจสภาพอากาศ อย่างฉับพลัน แม้สหภาพโซเวียตจะล้มสลายไปแล้ว แต่กาการินก็ยังกลายเป็นวีรบุรุษในยุคคอมมิวนิสต์ไม่กี่คน ที่ยังได้รับศรัทธาอย่างไม่เสื่อมคลาย สเปซเดลีรายงานว่า เมื่อปี 2010 ที่ผ่านมากาการินติดอันดับสูงของในการสำรวจบุคคลสำคัญ อันเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติแห่งศตวรรษที่ 20 โดยได้รับความนิยมสูงสุดในกลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 18-24








 

Create Date : 22 กรกฎาคม 2557    
Last Update : 22 กรกฎาคม 2557 11:54:07 น.
Counter : 998 Pageviews.  

1  2  3  4  5  

hathairat2011
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]










Google

ขอบคุณที่แวะมา
อย่าลืมคอมเม้นท์นะจ้ะ

Flag Counter

ส่งอีเมล์

Facebook ของ Hathairat



New Comments
Friends' blogs
[Add hathairat2011's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.