4 | | | ตำนานอาถรรพ์ อาชญากรโลกไม่ลืม ฆาตกรรมบันลือโลก ประวัติศาสตร์ทั่วมุมโลก | | |

Group Blog
 
All blogs
 
เรื่องของ "พระอัฐิไร้โกศ" พระโกศไร้ญาติ


เรื่องของโกศพระอัฐิ (โกศสำหรับใส่กระดูก) นั้น ตามธรรมเนียมแล้วหากงานพระศพเจ้านายพระองค์ใดเป็นงานหลวงพระเจ้าอยู่หัวก็จะพระราชทานโกศพระอัฐิทองคำสำหรับบรรจุพระอัฐิของเจ้านายพระองค์นั้น ๆ แต่ในกรณีงานพระศพของเจ้านายองค์อื่นที่ ”ไม่ได้” โปรดเกล้าให้จัดเป็นงานหลวง ก็จะเป็นหน้าที่ของทายาทในราชสกุลที่จะต้องจัดสร้างจัดซื้อโกศพระอัฐิเอง หากเจ้านายพระองค์ใดมีหน้าที่การงานราชการมั่นคง มีกิจการค้าขายกว้างขวางก็ย่อมที่จะมีทรัพย์สมบัติมากมายเก็บไว้ เมื่อถึงคราวสิ้นพระชนม์ ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่ลูกหลานในราชสกุลจะจัดหาโกศทองคำมาใส่พระอัฐิได้

แต่เจ้านายในพระราชวงศ์นั้นส่วนมากจะเป็นพระองค์เจ้าหญิงที่เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลก่อนๆที่ประทับอยู่ในพระตำหนักของพระบรมหาราชวังบ้าง ในวังส่วนพระองค์บ้าง ซึ่งจะประทับอยู่กับข้าหลวงไม่กี่คนรายได้ส่วนใหญ่ก็จะมาจากเงินปีพระราชวงศ์บ้าง จากค่าเช่าตึกแถวบ้าง เมื่อถึงคราวสิ้นพระชนม์ ก็ต้องดูในบัญชีทรัพย์สินส่วนพระองค์ว่ามีมากน้อยเพียงใด หากมีมากก็สามารถเอามาทำโกศอัฐิทองคำได้อย่างสบาย แต่หากมีน้อยก็ทำขนาดที่ย่อมลงมา

แต่ในสมัยก่อนเจ้านายที่ตกยากนั้นก็มีมาก เมื่อสิ้นพระชนม์ลงผ่านการพระราชทานเพลิงพระศพเรียบร้อยแล้ว ไม่ได้ทิ้งทรัพย์สมบัติไว้ให้ ทายาทในราชสกุลหรือเหล่าข้าหลวงเองก็ไม่มีกำลังที่จะสร้างโกศพระอัฐิถวาย เมื่อถึงวันเก็บพระอัฐิไม่มีโกศมาให้เจ้าพนักงาน เจ้าพนักงานก็ไม่รู้จะทำอย่างไรดีจึงจำเป็นต้องนำพระอัฐิใส่ในผ้าขาวแล้วเชิญไปประดิษฐานใน ”หอพระนาก” ซึ่งในสมัยรัชกาลที่5นั้น ภายในหอพระนากนี้ยังมีพระอัฐิที่ไม่มีโกศแล้วห่อด้วยผ้าขาววางรวมกันอยู่ตามพื้นเป็นจำนวนมากซึ่งเป็นภาพที่ไม่น่ามองเป็นอย่างยิ่ง

เมื่อถึงคราวฉลองกรุงเทพฯ ๑๐๐ ปี ใน พ.ศ ๒๔๒๕ พระองค์จึงโปรดเกล้าให้สร้างตู้กระจกไม้สลักลาย ลงรักปิดทองแบ่งเป็นชั้นๆสำหรับเป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิที่ไม่มีโกศ และสร้างโกศพระอัฐิทองคำพระราชทานให้แก่เจ้านายชั้นสูงบางพระองค์อีกด้วย จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๗ จำนวนของพระอัฐิที่ห่อด้วยผ้าขาวนั้นมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ตู้กระจกไม้ก็ใส่ไม่พอ พระองค์จึงทรงพระกรุณาให้สร้างโกศพระอัฐิขึ้นมาอีก แต่ทว่าการจะจัดสร้างโกศพระอัฐินั้นต้องสิ้นเปลืองงบประมาณและทองคำเป็นอย่างมาก พระอัฐิที่ห่อด้วยผ้าขาวก็มีอยู่หลายสิบองค์ พระองค์จึงเปลี่ยนจากการใช้ทองคำมาเป็นดีบุกปิดทองแทน หลังจากนั้นเป็นต้นมาโกศพระอัฐิของเจ้านายในพระราชวงศ์จักรี ทั้งสายวังหลวง วังหน้า วังหลัง ก็มีโกศพระอัฐิครบทุกพระองค์ ถึงแม้จะไม่ได้สร้างจากทองคำเหมือนองค์อื่น ๆ แต่โลหะที่นำมาก็เป็นดีบุกเคลือบทองคำซึ่งเป็นโลหะเดียวกันกับยอดพระมหาปราสาทของพระที่นั่งจักรี นับได้ว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่แก่พระอัฐิของพระราชวงศ์เหล่านั้น




--- จากภาพด้านบนคือ โกศพระอัฐิในหอพระนาก ซึ่งในวงกลมสีแดงนั้นจะเห็นว่าโกศพระอัฐิมีจำนวนมากจนต้องอัญเชิญไว้ด้านล่าง และจะเห็นว่าบางโกศมีสีเข้มกว่าโกศองค์อื่น ๆ นั่นคือโกศที่ทำมาจากดีบุก

--- จากภาพด้านล่างคือ ประตูทางเข้าหอพระนากและพระอัฐิที่อัญเชิญลงในผ้าขาว



ขอบคุณที่มา :https://www.facebook.com/ThailandhistoryOFwarehouse?fref=ts






Create Date : 17 กันยายน 2557
Last Update : 26 มกราคม 2558 13:46:14 น. 0 comments
Counter : 1388 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

hathairat2011
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]










Google

ขอบคุณที่แวะมา
อย่าลืมคอมเม้นท์นะจ้ะ

Flag Counter

ส่งอีเมล์

Facebook ของ Hathairat



New Comments
Friends' blogs
[Add hathairat2011's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.