4 | | | ตำนานอาถรรพ์ อาชญากรโลกไม่ลืม ฆาตกรรมบันลือโลก ประวัติศาสตร์ทั่วมุมโลก | | |

Group Blog
 
All blogs
 
คาเรน ซิลค์วู้ด : อุบัติเหตุปริศนา (ตอนจบ)


ตรวจสอบ
สหภาพแรงงาน OCAW มีปฏิกิริยากับความตายของคาเรนทันที พวกเขาช็อกและเสียใจอย่างสุดซึ้ง ทั้งยังโทษว่า บริษัทนั้นแหละตัวการ พวกเขาร่วมมือกันฆ่าคาเรน ซิลค์วู้ด ด้วยความมั่นอกมั่นใจว่านี้ต้องเป็นฆาตกรรมไม่ใช่อุบัติเหตุ พวกเขาจึงจ้างนักสืบมาสืบปริศนาคดีนี้โดยด่วน

อดอฟฟัส โอ พิพกิ้น มีชื่อเสียงและประสบการณ์เกี่ยวกับคดีประเภทนี้มากว่า 20 ปี เขาเคยสืบคดีอุบัติเหตุทางรถยนต์มามากกว่า 2000 ราย พิพกิ้นไปที่จุดเกิดเหตุ เขาดูและตรวจรถของคาเรนอย่างละเอียดลออ ก่อนที่จะสรุปมาดังนี้
- สิ่งแรกคือ รอยกันชนท้ายที่บุบเว้าลึกเข้าไป คล้ายถูกชนอย่างแรง อย่ามาอ้างนะว่าเกิดจากรถลากมายกฮอนด้าซีวิคคันนี้ขึ้นมาจากคูข้างทางละ เพราะรถยกนี้ไม่มีทางทำให้เกิดรอยเว้าเช่นนี้ได้
- อย่างที่สอง ก้านล้อด้านหลังแอ่นโค้งมาข้างหน้า ชี้ชัดเลยว่าคาเรนพยายามบังคับมันสุดแรงเกิด ขณะที่พุ่งปะทะอัดเข้ากับกำแพงคอนกรีต แล้วนี้จะบอกว่าเธอมึนเมาไร้สติได้อย่างไร
- ประการที่สาม รอยดอกยางที่เสียดสีจนไหม้เกรียมบนพื้นถนน
บ่งบอกว่ามีการเบรกอย่างรุงแรง ถ้าหากไม่ใช่เช่นนั้นก็แปลว่าเธอต้องเบรกตัวโก่งก่อนชนขอบคอนกรีต

พิกกิ้นแน่ใจมากว่ารถคนนี้ถูกชนท้ายอย่างจัง และรถคันที่ชนก็เสยเธอให้ตกถนนไป มีร่องรอยว่าคาเรนพยายามเบี่ยงรถหนีรถคันนั้นและขื่นพวงมาลัยอย่างสุดฤทธิ์ เพื่อกลับมาขึ้นบนท้องถนน รายงานชิ้นนี้ถูกส่งไปยังสื่อมวลชน และแล้วพิพกิ้นก็เจอเรื่องเดือดร้อนทันที เมื่อเขาทราบภายหลังว่ามีใครบางคนจ้างนักสืบจากสำนักงานพินเกอร์ตันให้ติดตามเฝ้าดูพฤติกรรมของเขาและตรวจสอบใบอนุญาตประกอบอาชีพด้วยว่ามันหมดอายุหรือยังและจะใช้ได้จนถึงเมื่อไหร่ บริษัทเคียร์-แม็คกี้และเจมส์ รีดดิ้ง สนใจพิพกิ้นมาก และแสดงความกระเหี้ยนกระหือรือที่จะทำลายความน่าเชื่อถือของพิพกิ้นในทุกวิถีทาง!

21 พฤศจิกายน 1974 เมื่อสื่อมวลชนรุมเร้า กดดันหนักเข้า แพทย์ด้านนิติเวชของกรมตำรวจโอกลาโฮม่าต้องออกมาแถล่งข่าวการตายของคาเรน วิลค์วู้ด ดร.เอเจ แซปแมน ชี้แจงให้นักข่าวฟังว่า คาเรนตายเนื่องจากอุบัติเหตุโดยสรุปได้ดังนี้

- สาเหตุการตายเกิดจากความบาดเจ็บจากก
ารกระแทกอย่างรุนแรง รวมทั้งบาดแผลฉีกขาดและแตกทั้งใบหน้า

- ไม่มีการตรวจพบกัมมันตภาพรังสีในร่างกายของเธอขณะที่ถึงแก่ชีวิต

- ทว่าผลการตรวจวิเคราะห์พบว่าเลือดของเธอมีฤทธิ์ยานอนหลับเกินปกติที่แพทย์สั่งเล็กน้อย และมีร่องรอยของเอธิลแอลกอฮอล์

สุดท้าย ดร.เอเจบอกว่า รอยบุบที่กันชนนั้น เกิดจากรถลากขณะที่ดึงลากรถของคาเรนข้นจากข้างทาง (เพิ่งรู้หมอก็เก่งเรื่องรถด้วย) พิพกิ้นฟังแถลงการณ์ก็อ่อนใจ คดีนี้เขาคนเดียวคงเอาไม่อยู่แล้ว เลยเชิญ ดร.แฮร์รีส วิศวกรยานยนต์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านอุบัติเหตุยานพาหนะมาช่วยวิเคราะห์คดีคาเรน ซิลค์วู้ด กันอีกแรง รายงานจากการสืบสวนของทั้งคู่สรุปว่า เธอถูกฆาตกรรม!!

จากการตรวจรอยเว้นกันชนถี่ถ้วนแล้วจึ่งมั่นใจได้ว่ารอยนี้ไม่ได้เกิดรถลากที่ดึงรถขึ้นมา อีกทั้งรอยแฉลบด้านซ้ายถนนบ่บอกว่าเธอไม่ได้อยู่อาการหลับหรือมึนเมาแต่อย่างใด หน่วยทางหลวงแห่งโอกลาโฮม่าก็ไม่นิ่งเฉยในคดีนี้พวกเขากันเจ้าหน้าที่หมอเดาฟาเกนออกจากคดีนี้ แล้วนำ ลาร์รี่ โอเว่น ผู้เชี่ยวชาญด้านอุบัติเหตุเข้ามาแทน จากนั้นก็แถลงข่าวตอบโต้พิพกิ้นและ ดร.แฮร์รีสอย่างทันทีทันควัน
สิ่งแรกที่พวกเขาเถียงคอเป็นเอ็นคือ เรื่องรอยเว้าเจ้าปัญหาที่กันชนท้ายนั้นแหละ ที่พัพกิ้นกับ ดร.แฮร์รีสบอกว่า มันไม่ได้เกิดจากรถยก เพราะเมื่อกลับไปดูดี ๆ รอยเว้าไม่ราบเรียบ มันดูบุบบิบ ยับเยิน แสดงว่าเกิดจากตอนรถปะทะกับกำแพงคอนกรีตอย่างรุนแรง เจ้าหน้าที่ทางหลวงโต้แย้งสองนักสืบว่า เป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระทั้งเพ ถ้าเป็นจริงดั้งสองคนที่ว่า มันต้องปรากฏรอยยางล้อรถยนต์คนที่ชนรถคาเรนบนถนนหรือพื้นหญ้าข้างถนนสิ แต่นี้ไม่มีเลยในที่เกิดเหตุ พบแต่รอยล้อของคาเรนคันเดียว

สุดท้าย เขาบอกว่าเจ้าหน้าที่พิพกิ้นกับ ดร.แฮร์รีส โม้สุด ๆ ที่บอกว่ารถของคาเรนแฉลบออกทางด้านซ้ายทางถนน เพราะล้อของรถไม่ได้อยู่แนวตรงไปทางด้านซ้าย เรื่องนี้พิพกิ้นพิสจน์ได้ เพราะหลังจากนั้นเขานำผู้เชี่ยวชาญด้านโลหะศาสตร์มาตรวจสอบพบว่ารอยเว้าของกันชนนั้นมีรอยข่วนสีดำ ๆ ปรากฏเต็มไปหมด เมื่อขูดออกมาดูพบว่ามันคือ เศษของยาง คล้ายกับส่วนประกอบของกันชนด้านหน้าของรถยนต์คันอื่น จึงเป็นไปได้สูงว่ามีรถชนท้ายของคาเรนและดันเธอตกข้างทาง

บริษัทเคียร์-แม็คกี้
ทางด้านบริษัทเคียร์-แม็คกี้ หลังการตายของคาเรน สวัสดิภาพและความปลอดภัยของคนงานก็ยังเหมือนเดิม สหภาพแรงงาน OCAW จะออกมาเรียกร้องให้มีการอบรม บริษัทก็ยังละเลยไม่รับผิดชอบ มิหนำซ้ำมาตรการรักษาความปลอดภัยก็ยังตกต่ำอย่างน่ากลัวเช่นเดิม ส่วนท่าทีของบริษัทเคียร์-แม็คกี้ที่มีต่อสหภาพแรงงานก็ยิ่งเลวร้ายลงอีก และมีข่าวลือว่าพนักงานหลายคนที่มีความสัมพันธ์กับสตีฟ วอดก้า และคาเรน วิลด์วู้ด จะถูกเรียกตัวไปสอบสวนและเข้าเครื่องจับเท็จ โดยมีการตั้งคำถาม เช่น ได้ข้อมูลอะไรกับคาเรนบ้าง มีการใช้ยาเสพย์ติดในหมู่คนงานไหม หรือผู้ร่วมอุดมการณ์คนอื่น ๆ ของคาเรนมีใครบ้าง เมื่อเทศกาลคริสต์มาสมาถึง บริษัทก็มีวันหยุดยาวเช่นกัน ปิดและเปิดทำงานอีกทีในเดือนมกราคม 1975 ก่อนปิดบรรดาลูกจ้างโดนขู่ให้รับคำว่าห้ามพูดเรื่องภายในของบริษัทให้คนภายนอกล่วงรู้เด็ดขาด ห้ามให้สัมภาษณ์ หากมีผู้สื่อข่าวมาถาม ห้ามตอบอะไรทั้งสิ้น

แจ๊ค ทีซ และเจอร์รี่ บรูว์เออร์ ผู้แทนสหภาพ OCAW ที่ได้มาแทนคาเรน ถูกบริษัททำโทษอย่างสาสม โทษฐานบังอาจเหินเกริมกับบริษัท บรูว์เออร์ โดนไล่ออก ส่วนแจ๊ค ทิซ โดนย้ายไปทำงานที่สกปรกสุดแย่ยิ่งกว่าพนักงานชั้นต่ำ เกี่ยวกับคดีของคาเรน เริ่มเป็นที่สนใจอย่างกว้างขวาง ABI เริ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง ที่จริงพวกเขาไม่ค่อยสนใจคดีการตายของคาเรน หรอกนะ เขาสนใจประเด็นที่ว่าการหายไปของพลูโตเนียมก้อนใหญ่ตอนต้นเรื่องต่างหากละ

เริ่มดัง
จากคดีเล็ก ๆ เริ่มกลายเป็นเรื่องระดับประเทศ เมื่อผู้สื่อข่าว US. National Pubdie สถานีวิทยุ NPR มายังโอกลาโฮม่า ซิตี้ เพื่อเจรจาข่าวการตายของคาเรน หญิงสาวนผู้กล้าหาญต่อกรกับอิทธิพลมืด คนงานหลายคนเต็มใจให้สัมภาษณ์เรื่องราวของชีวิตของคาเรนและการต่อสู้ของเธอตราบวาระสุดท้ายที่กลายเป็นคดีปริศนาหลังออกข่าวนี้ไม่นาน คดีของคาเรนก็กลายเป็นจุดสนใจของคนทั้งประเทศทันที มีการขุดคุ้ยหาความจริง เปิดประเด็นปริศนาในคดีทั้งหมด หัวข้อหลายหัวข้อถูกนำมาเล่าใหม่หมด ไล่ตั้งแต่ระดับยานอนหลับในเลือดของคาเรนมีผลต่อการตายของเธอหรือไม่? ทำไมตำรวจถึงหลับหูหลับตานั่งเทียนคดีนี้ว่าเป็นอุบัติเหตุธรรมดา? นอกจากนี้คดีก่อนหน้าอีกมากมายถูกนำมาตีแผ่ เช่น ทำไมมีสารพลูโตเนียมติดตามตัวของคาเรนไปทั่วร่างกาย และทั่วห้อง? ใครเอาสารละลายพลูโตเนียมใส่ปัสสาวะของคาเรน? ฯลฯ

1976 สภาคองเกรส สรุปว่า บริษัทเคียร์-แม็คกี้ มีความผิดละเลยลูกจ้าง สภาคองเกรสตั้งอนุกรรมการพิจารณาคดี คาเรน ซิลค์วู้ด โดยเริ่มตั้งแต่ปี 26 เมษายน 1976 พยานหลายคนให้การตรงกันในเรื่อง บริษัทเคียร์-แม็คกี้ เป็นบริษัทใจดำ ไม่สนใจสวัสดิภาพของคนงาน ทั้ง ๆ ที่มีอุบัติเหตุหลายหน หลักฐานก็เห็นชัด ๆ นอกจากนี้สภายังเรียกเอฟบีไอมาสอบอีก ซึ่งพวกเขายอมรับว่า เอกสารเอฟบีไอระบุว่า คาเรน ซิลค์วูด เป็นบุคคลที่ควรเพ่งเล็ง ต้องจับตามองพฤติกรรมของเธอให้ดี การพิจารนาสอบสวนของสภาคองเกรส ทำให้บริษัทเคียร์-แม็คกี้ต้องหน้าแตก เพราะตอนนี้ประชาชนทั่วไปรู้แล้วว่าบริษัทนี้ใจดำ ใครได้ยินข่าวนี้น่าใจหาย เวทนาบรรดาคนงาน นอกจากนี้เอฟบีไอก็โดนด่าเพราะสร้างภาพ คาเรนถูกทำให้เป็นผู้หญิงประสาท ติดยาและบ้า ๆ บอ ๆ หลังจากสภาคองเกรสแถล่งข่าวผลการพิจารณาก็ปรากฏว่าบริษัทเวสติ้งเฮ้าส์ไม่ต่อสัญญาณขายท่อบรรจุเม็ดเชื้อเพลิงยูเรเนียมจากบริษัทเคียร์-แม็คกี้อีกต่อไป ส่งผลให้โรงงานแห่งนี้ต้องปิดตัวลง

การพิจารณาคดี
แน่ละ...ลูกใคร ใครก็รัก และยิ่งมาตายดัง ตายเป็นปริศนา ชวนให้คิดต่าง ๆ นานา ใครจะอยู่เฉยได้ พ่อแม่ของคาเรน คือ บิลลี่และเมอร์ลี่ วิลค์วู้ด ต้องการให้ดำเนินคดีฟ้องร้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกเขาอยากรู้ว่าใครเป็นตัวการที่ต้องรับผิดชอบความตายของลูกสาวของเขา งานนี้ บริษัทเคียร์-แม็คกี้ กับเอฟบีไอ โดนไปเต็ม ๆ พวกเขาเชื่อว่าคาเรนโดนสั่งให้สังหาร แม้พวกเขาไม่สามารถหาหลักฐานจะเอาผิดสองฝ่ายนั้นก็เถอะ กุมภาพันธ์ 1977 คดีของคาเรน ซิลด์วู้ด เริ่มมีการพิจารณาคดีภาคแรกที่ศาลแพ่ง โดยฟ้องบริษัทเคียร์-แม็คกี้ มีคนมากมานเข้ามาพัวพันเป็นพยาน บ้างก็มาให้ปากคำแบบเต็มใจ แต่ก็มีบางคนที่ต้องออกหมายศาลเชิญตัวมา แดเนียล ซีฮาน เป็นอัยการมือฉมังออกหมายศาลขอให้เอฟบีไอส่งมอบเอกสารของกรณี คาเรน ซิลค์วู้ด มาเพื่อประกอบคดี ซึ่งเอกสารนั้นมีความยาวถึง 2000 หน้า แต่ทว่าชื่อและผู้เกี่ยวข้อง เวลาและสถานที่ถูกหมึกป้ายขีดฆ่าเต็มไปหมด ในแฟ้มของเอฟบีไอนั้นไม่มีคำเดียวที่เอยถึงอุบัติเหตุของคาเรน ไม่มีรายงานเรื่องรถคว่ำ ไม่มีการสอบสวนสาเหตุการตาย

27 ตุลาคม ผู้ผู้พิพากษายูแบงค์ไม่พอใจที่ทีมทนายความของฝ่ายซิลค์วู้ดให้ข่าวกับสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่อง ท่านกล่าวทำนองว่าเป็นเรื่องไร้สาระมาก คำพูดประโยคนี้ทำให้ซีฮานฉุน จึงยื่นขอคำร้องเปลี่ยนผู้พิพากษา โดยปลดยูแบงค์ออกและเอาคนใหม่มาแทน แต่ยังไม่ทันยื่นก็ยูแบงค์ก็ถอนตัวออกไปเอง ผู้พิพากษาที่มาแทนคือ ลูเธอร์ โบอานอน ซึ่งหมดความอดทนต่อทีมของซีฮานไม่ยอมขยายเวลาของซีฮานว่าจะเสาะหาพยานบุคคลมาเพิ่มเติมอีก ซีฮานรู้สึกแม่ง ๆ เลยไปสืบประวัติผู้พิพากษาดูพบว่าเบื้องหลังของเขาเคยเป็น วุฒิสมาชิก โรเบิร์ต เคียร์เคยใช้อิทธิพลช่วยเหลือค้ำชูกันมานับว่าเป็นบุญคุณต่อกันตั้งแต่ปี 1961 เป็นอีกครั้งที่ซีฮานขอเปลี่ยนตัวผู้พิพากษาและคนมาแทนโบอามอน คือผู้พิพากษาแฟรงค์ เธอิล และเริ่มต้นพิจารณาคดีใหม่หมด

นอกจากนี้ซีฮานยังขอหมายศาลเรียกเจ้าหน้าที่ทางหลวงโอกลาโฮม่าเบิกความเป็นพยานหลายนาย พวกเขาปฏิเสธว่าไม่เคยไล่ล่าหรือสะกดรอยคาเรนเลย มารู้จักเธอตอนรถเธอคว่ำตายนั่นแหละ และขอปฏิเสธว่าไม่เคยเกี่ยวข้องกับการสร้างสถานการณ์ใด ๆ ด้วย

ในเดือนกันยายน 1978 ผู้พิพากษาเธออสสั่งให้มีการยุติการดำเนินคดีข้อกล่าวหาที่ว่าเอฟบีไอสมรู้ร่วมคิดบริษัทเคียร์-แม็คกี้ทำลายความน่าเชื่อถือในคดีคาเรน การสั่งเช่นนี้อยู่ในพื้นฐานความจริงว่า ถึงจะพิสูจน์ก็ไม่ได้อะไร ครอบครัวของซิลค์วู้ดก็ไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายอะไรได้เลย ซีฮานไม่พอใจอย่างแรง และยื่นอุทธรณ์ตอบโต้การตัดสินของผู้พิพากษาในขณะเดียวกันการดำเนินคดีก็ยังดำเนินรุดหน้าต่อไป โดยพิจารณาคดีในเรื่องบริษัทเคียร์-แม็คกี้ละเลยความปลอดภัยและสวัสดิภาพของบรรดาคนงานในโรงผลิตแร่ยูเรเนียมและทำไมอพาร์ตเมนต์ของคาเรนถึงโดนพิษรังสี ฝ่ายซิลค์วู้ดต้องการเรียกค่าเสียหายชดเชยเป็นเงินถึงหนึ่งล้านห้าแสนเหรียญสหรัฐ สำหรับการเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีอันมีผลต่อสภาพจิตใจทำให้ชีวิตของเธอป่วนไปหมด

นอกจากค่าชดเชยแล้ว ทนายความยังเรียกค่าเรียกปรับจากบริษัทเคียร์-แม็คกี้อีกสิบล้าน ถ้าคดีนี้ชนะ เงินทั้งหมดจะตกเป็นของลูก ๆ ทั้งสามของคาเรนทันที ทนายความสองฝ่ายต่างงัดไม้เด็ดไม้ตายมาสู้กันในศาล ทนายความของซิลค์วู้ดพิสูจน์ว่าความละเลยสวัสดิภาพลูกจ้างของบริษัทเคียร์-แม็คกี้ เป็นเหตุทำให้คาเรนป่วยด้วยพิษของพลูโตเนียม และอาจมีคนของบริษัทเคียร์-แม็คกี้ทำร้ายเธอด้วยการวางยาพิษด้วยซ้ำ

แต่ทนายไม่มีหลักฐานว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นจริงหรือไม่ ใครเป็นผู้กระทำ ฝ่ายทนายของบริษัทเคียร์-แม็คกี้ ก็พยายามอ้างว่าคาเรนเป็นคนเอาแร่พลูโตเนียมออกจากโรงงาน และการปนเปื้อนโดนสารกัมมันตภาพรังสีนั้น เธอจงใจรับพิษจากมัน (ในปริมาณที่ตอนหลังแพทย์บอกว่าไม่ก่ออันตรายใด ๆ) เธอทำเช่นนั้นเพื่อสร้างสถานการณ์ให้บริษัทเคียร์-แม็คกี้เสียเปรียบในการเรียกร้องสิทธิ์ให้สหภาพแรงงาน แต่ฝ่ายบริษัทเคียร์-แม็คกี้ก็หาข้อมูลหลักบานนี้ไม่ได้เช่นกัน ทีมของทนายของซิลค์วู้คได้ผู้ร่วมงานใหม่ เป็นทนายชื่อเจอรี่ สเปนซ์ มีความสามารถเรียกค่าชดใช้ให้ฝ่ายผู้เสียหายได้ตามความต้องการ

เจอรี่เริ่มสู้คดีด้วยเทคนิคของเขา เขานำลูก ๆ ทั้งสามของคาเรนเข้าห้องพิจารณาคดีด้วย ให้พวกแกอยู่แถวหน้าสุด จากนั้นก็เบิกตัวด้วยอดีตคนงานบริษัทเคียร์-แม็คกี้ให้มาบรรยายสภาพย่ำแย่ภายในโรงงานว่า คนงานเสี่ยงอันตรายขนาดไหน สตีฟ วอลก้า แห่งสหภาพ OCAW ก็เข้าประจำพยานเช่นกันเพื่อตอบคำถาม

เขาอธิบายสภาพจิตใจคาเรนว่า เธอต้องทนทุกข์ทรมานและหวาดวิตกแสนสาหัสจากการโดนสารพลูโตเนียมอย่างลึกลับคราวนั้น ทนายฝ่ายซิลค์วู้ดว่าความคดีนี้อยู่หนึ่งเดือนเต็ม ๆ จากนั้นทนายของฝ่ายบริษัทเคียร์-แม็คกี้ก็ว่าความบ้าง พวกเขาตั้งเป้าหมายว่าจะล้มล้างข้อเรียกร้องค่าชดเชย เพราะคาเรนไม่สมควรได้มันเลย เป็นเพราะเธอฟุ้งซ่านไปเองมากกว่า ไม่ใช่ผลจากการโดนสารเคมีหรอก
จากนั้นต่อมา เจอรรี่ เชิญผู้เชี่ยวชาญมายืนยันว่า บริษัทเคียร์-แม็คกี้ต้องรับผิดชอบเรื่องการออกแบบโรงงานและระบบความปลอดภัยจากรังสีมรณะ ผู้ที่มาให้ปากคำสุดท้ายคือ ดร.จอร์ซ โวเอลซ์ จากกรรมาธิการ AEC ซึ่งตรวจคาเรนที่ ลอส อาลามอส จากนั้นสเปนซ์ก็นำผลชันสูตรมาอ้างต่อศาล เขาตำหนิติเตียนแพทย์นิติเวชอย่างหนักหน่วง ยังผลให้ทนายทั้งสองฝ่ายทะเลาะกันอย่างรุนแรงต่อหน้าคณะลูกขุน

18 พฤษภาคม 1979 คณะลูกขุนตัดสินว่าคาเรนไม่ได้ลักลอบเอาแร่พลูโตเนียมจากโรงงานกลับมาที่อพาร์ตเมนต์ เธอสมควรได้รับค่าชดเชย 505,000 ดอลลาร์ สำหรับการทุกข์ทรมานจิตใจ และบริษัทเคียร์-แม็คกี้ก็ต้องจ่ายอีก 10,000,000 ดอลลาร์ สำหรับความสูญเสียที่เกิดจากการปล่อยละเลยของบริษัทเอง ครอบครัวซิลค์วู้คและทนายความของพวกเขาต่างยินดีปรีดา

พฤศจิกายน 1980 บริษัทเคียร์-แม็คกี้ ยื่นอุทธรณ์ บริษัทร้องว่าค่าเสียหายนั่นสูงเกินเหตุ เนื่องจากผู้พิพากษาเธอิสมีอคติเกิดความลำเอียง ศาลอุทธรณ์ตัดสินใจใหม่ให้ครอบครัวซิลค์วู้ดได้รับเงินชดเชย 5,000 ดอลลาร์ ส่วนค่าเสียหายนั้น ปรากฏว่าครอบครัวซิลค์วู้ดกับบริษัทเคียร์-แม็คกี้ต้องตกลงกันนอกศาล โดยครอบครัวซิลค์วู้ดยอมรับเงินจากบริษัทเคียร์-แม็คกี้เป็นเงิน 1,300,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ แต่คดีการตายของคาเรนจนกระทั่งบัดนี้ ยังไม่สามารถสืบได้ว่าใครเป็นตัวการฆ่าคาเรน ซิลค์วู้ค คดีเลยเป็นปริศนาต่อไป.







Create Date : 14 กรกฎาคม 2558
Last Update : 14 กรกฎาคม 2558 9:58:47 น. 0 comments
Counter : 941 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

hathairat2011
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]










Google

ขอบคุณที่แวะมา
อย่าลืมคอมเม้นท์นะจ้ะ

Flag Counter

ส่งอีเมล์

Facebook ของ Hathairat



New Comments
Friends' blogs
[Add hathairat2011's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.