ตำนานพระร่วงส่งส่วยน้ำ (คือใคร)


กาลครั้งหนึ่นนานมาแล้วมีชายหนุ่มผู้หนึ่งคงเต็มเปี่ยมไปด้วยปัญญา หน้าตาและกำลัง นายคนนี้มีชื่อ “นายร่วง” นายร่วงนี้เป็นบุตรแห่งนายกองส่งส่วยน้ำแห่งมหานคร “ลวปุระ” หรือที่เรียกกันแบบชาวสยามบ้านป่าว่า ละโว้ละโว้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรเขมรในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา(จริงๆสมัยนั้นยังไม่เรียกเจ้าพระยานะฝรั่งเขียนว่า แม่น้ำ เท่านั้น) ละโว้นี้คงมีอำนาจทั้งทางการทหารและทางวัฒนธรรมของพื้นที่แถบนีดูได้จากเมือหลายร้อยปีก่อนมีเวียงพิงค์เชียงใหม่นั้นละโว้ส่งเจ้าหญิงไปครองเมืองลำปางได้แล้วหรือที่เรียกจามเทวี เมื่อเวลาผ่านมาด้วยเหตุว่าเมืองแม่เสื่อมลงหรือเส้นทางการค้าเปลี่ยนหรืออย่างใดคงไม่ทราบได้ละโว้ค่อยๆเสื่อมอำนาจวาสนาลงตามลำดับเสื่อมมากจนกระทั่งวันหนึ่งเมืองแม้แต่เมืองของเจ้าหญิงแห่งละโว้อย่างหริกุญชัยยังไม่ยอมรับเชื่อฟังละโว้จนเกิดการรบกันหลายครั้งหารู้แพ้รู้ชนะไม่ ช่างเหอะ ออกนอกเรื่องแระ

เมื่อเกิดความเสื่อมดังว่าแล้วนายร่วงลูกนายคงเครา(จำชื่อพ่อแม่นไม่ต้องถามใคร)ก็รับหน้าที่เป็นนายกองส่งส่วยน้ำแทนเรื่องวาจาสิทธิ์ไม่เอานะเดี่ยวค่อยว่ากันทีหลัง ครั้งหนึ่งนายร่วงคุมการส่งน้ำอยู่นั่นก็เห็นว่าการขนน้ำใส่ตุ่มนั้นทั้งหนักทั้งแตกง่ายทั้งหนักพระร่วง maker ก็จัดการเอาไม้ใผ่มาสานชะลอมใส่น้ำระหว่างทางก็คงมีคนมาชเลียร์บ้าง ปรากฏว่าน้ำรั่วครับชาวบ้านร้านประชาลูกน้องลูกเมียของเหล่าชนชาวไทยต่างเย้ยหยันพระร่วงแต่พระร่วงไม่ยอมแพ้ตั้งหน้าตั้งตาทำ R&D ต่อไป ทันใดนั้นเองพระร่วงค้นพบเทคโนโลยีชนิดใหม่ในการสร้างวัสดุเรียกว่าcomposite material อาศัยความแข็งแรงของโครงสร้างไม้ใผ่ใช้วัสดุเหนียวเมื่อร้อนแต่เมื่อแห้งแล้วแข็งและอุดรอยรั่วชะงักนักเมื่อพระร่วงวิจัยสำเร็จขนน้ำได้ดี ทั้งเบาทั้งไม่รั่วชาวไทยต่างร้องสรรเสริญคิดว่ำพระร่วงคงสามารถพาบอลไทยไปบอลโลกได้แต่มิใช้เช่นนั้นเลย คำสรรเสริญนี้ไปถึงผู้จัดการสมาคมส่งน้ำจึงมาดูว่าพระร่วงใช้ชะลอมส่งน้ำได้อย่างไร พอเห็นแล้วแทนที่จะชื่นชมสรรเสริญแบบชาวสยามทั่วไปดันเกิดอารมณ์แบบเกินหน้าเกินตาตามสุภาษิตสมัยใหม่(เพราะสมัยนั้นโบราณกว่าภาษาไทยสุภาษิตไทยเลยเป็นสุภาษิตสมัยใหม่) ทันใดนั้นจึงได้เรียนไปยังพระเจ้าประทุมสุริยวงศ์เจ้ากรุงนครหลวงว่าพระร่วงนี้ฉลาดนัก ฉลาดกว่าข้าและท่านมากเชียว ภายหน้ามันต้องลำหน้าท่านอย่างแน่นอนอย่ากระนั้นเลย สังหาญมันเสียเถิดด้วยอิทธิฤทธิแห่งพระขพุงผีดนใจให้พระร่วงทราบเรื่องพระร่วงก็หนีสิครับรออะไรอยู่หนีมาตั่งหลักปักไปบวชอยู่ในวัดเป็นเณรน้อยเจ้าปัญญานายกองเขมรสบาดลำพงก็ดำดินมาโผล่กลางวัด พระร่วงจึงสาบเป็นหินจนทุกวันนี้เมื่อเจ้าเมืองสุโขทัยแก่ตายไปตามวัย ชาวบ้านร้านตลาดจะเห็นใครฉลาดกว่าพระร่วงหาได้ไม่จึงยกขึ้นเป็นเจ้าเมืองต่อไป

คราวนี้พระร่วงในนิทานเรื่องนี้คือใครกันเรื่องพระร่วงนี้แสดงการย้ายถิ่นจากเมืองละโว้มาพักกินข้าวที่พิจิตรและมาบวชที่สุโขทัยดังนั้นพระร่วงคนนี้คงไม่ได้อยู่สุโขทัยมาแต่เดิมโดยเนื่อหาจะกล่าวถึงพระร่วงนั้นเดิมเป็นข้าราชการสุโขทัยต่อมาหนีราชภัยมาและทำการต่อสู้กับนายกองของเมืองสุโขทัยหากพิจารณาว่าปฐมกษัตริย์แห่งสุโขทัยพ่อขุนบางกลางหาวก็เป็นผู้มาจากที่อื่นได้ทำการต่อสู้กับขุนนางขอมหรือละโว้ไม่รู้ที่ชื่อ”ขอมสบาดลำพง” เมื่อการต่อสู้นั่นชนะจับขอมสบาดลำพงไว้พระร่วงก็คงได้ครองเมืองสุโขทัยต่อจากพ่อขุนศรีนาวนำถมทั้งตำนานและจารึกจึงกล่าวตรงกันคือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์(พระร่วง)ได้เป็นกษัตย์องค์ใหม่แห่งนครสุโขทัยโดยไม่ได้สืบสายเลือดจากเจ้าเมืองคนเดิมหรือพ่อขุนศรีนาวนำถม

จากความสอดคล้องกันระหว้างศิลาจารึกวัดศรีชุมกับตำนานพระร่วงส่งส่วยน้ำนี้ผมสรุปแบบมั่วๆไปว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นเจ้าเมืองหรือขุนนางไม่ใหญ่นักแต่สติปัญญาเป็นเลิศได้ทำการใดประการหนึ่งจึงขัดใจกับ”ขอมสบาดลำพง” ขุนนางในระบบราชการขอมอาจเป็นขุนนางละโว้หริอขุนนางนครธมก็ได้เพราะเป็นขอมเหมือนกันต่อจากนั้นก็มารบกันที่เมืองสุโขทัยเมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ชนะแล้วก็ขึ้นครองสุโขทัยที่ตายไปจากตำนานไม่กล่าวถึงบทบาทของพระรองอย่างพ่อขุนผาเมืองลูกชายพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เลยแม้แต่น้อยน่าสงสัยว่าจะไม่ค่อยโดดเด้นเมือ่เทียบกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เมื่อรบชนะขอมก็หายไปจากหน้าประวัติศาสตร์

เรื่องทีน่าสนใจมากคือความสามมารถที่โดดเด่นของพระร่วงคือการบริการจัดการน้ำการเปรียบเทียบในตำนานพระร่วงคือภาชนะเก็บน้ำเดิมใช้ดินเผาทั้งหนักทั้งลำบากและแตกง่ายแต่พ่ระร่วงใช้ไม้ไผ่ทำโครงสร้างแล้วทากันซึมลงไปทำให้เก็บน้ำได้อย่างดีอย่างที่ปัจจุบันทราบกันแล้วว่าสุโขทัยตั้งในเขตแห้งแล้งขาดแคลนน้ำอยู่เป็นนิจเพราะอยู่ในเขตเงาฝน แต่เมื่อฝนตกก็หายไปกับดินเพราะดินของสุโขทัยเป็นดินทรายจากสภาพธรรมชาตินี้เองพระร่วงก็คิดวิธีบริหารจัดการน้ำขึ้นอย่างได้ผลชะงักส่วนตัวผมติดว่าพระร่วงน่าจะรู้วิธีทำท่อด้วยดินเผาแบบท่อปู่พระยาร่วงและอาจรู้วิธีทำให้ดินทรายกักน้ำได้จึงสามารถสร้างตระพังได้มากมายตามที่คิดนี้ชะลอมใส่นั่นที่รั่วง่ายแต่สามารถใส่น้ำได้ก็เปรียบเสมือนสุโขทัยที่เป็นทรายที่รั่วง่ายมากแต่สามารถใส่น้ำในตระพังได้โดยไม่รั่วชะลอมนี้คงเปรียบเป็นเมืองสุโขทัยทั้งเมืองเลยทีเดียว




Create Date : 15 พฤษภาคม 2560
Last Update : 15 พฤษภาคม 2560 22:22:04 น.
Counter : 9041 Pageviews.

0 comment
พระนเรศตีศรีสัชนาลัย เดินทัพทางไหน


ผมจำฉากเล็กๆที่ดูไม่ได้สำคัญนักของหนังในดวงใจของผมเรื่องหนึ่ง คือหนังชุดสุริโยไท-ตำนานสมเด็จพระนเรศวร ฉากที่ผมกล่าวถึงนี้คือฉากที่พระนเรศวรทำการประหารเจ้าเมืองพิชัยและพระยาสวรรคโลก โดยเมืองสวรรคโลกก็คือเมืองศรีสัชนาลัยนั่นเอง 
เรื่องนี้เกิดเมื่อพระนเรศรได้ทำการประกาศอิสรภาพแล้วทรงเห็นว่าสาเหตุที่กรุงศรีพ่ายแพ้แก่พระเจ้าหงษาวดีบุเรงนองทั้งในศึกคราวศึกช้างเผือกและคราวกรุงแตกครั้งแรกนั้นล้วนเกิดจากการเสียกำลังในเขตหัวเมืองเหนือทั้งสิ้น โดยในสงครามคราวช้างเผือกนั้นหัวเมืองเหนือโดนโจมตีก่อนและไม่สามารถต้านทานทัพของพระเจ้าช้างเผือกได้ต้องยอมสวามิภักดิ์ติดตามพระเจ้าช้างเผือกบุกมาตีกรุงศรี ส่วนสงครามกรุงแตกนี่ยิ่งแล้วใหญ่เพราะทัพเมืองเหนือได้เดินนำทัพของพระเจ้าช้างเผือกมาเลย จะเห็นว่าในสงครามทั้งสองครั้งหัวเมืองเหนือไม่ได้บอบช้ำมากนัก คาดว่าในเวลาดังกล่าวเมืองเหนือคงยังมีข้าไพร่อยู่พอสมควรเพราะเห็นได้จากเมื่อพระยาละแวกบุกมาตีกรุงศรีพระมหาธรรมราชาเห็นว่าท่าทางจะสู้ไม่ได้ทรงคิดจะหนีกลับพระพิษนุโลกสองแคว นั่นคงหมายถึงกำลังคนในเมืองพิษนุโลกคงน่ามั่นใจกว่าว่ามีข้าไพร่พอรับศึกได้ 
แต่เมือพระนเรศประกาศอิสรภาพแล้วการเก็บหัวเมืองเหนือไว้ย่อมมีปัญหาเฉกเช่นดังเดิมอีกคราว พระองค์ดำจึงดำริเทครัวหัวเมืองเหนือทั้งปวงย่อมไม่พอใจเป็นแน่ เพราะสาเหตุอย่างน้อยสองประการ 
        1.พระนเรศในสมัยนั้นยังเด็กนัก เจ้าเมืองเหนือย่อมยังไม่มั่นใจในความสามารถของพระองค์ เกรงว่าหากหงษาวดีเอาเรื่องคงสู้ไม่ไหว
        2.การเทครัวย่อมหมายถึงเจ้าเมืองแต่ละคนที่มีอำนาจเต็มในเมืองของตน ย่อมกลายเป็นเพียงขุนนางในเมืองหลวงเท่านั้น
       แต่ในเจ้าเมืองทั้งปวงมีเพียงสองเมืองเท่านั้นที่กล้าหือกับพระนเรศนั่นคือเจ้าเมืองพิชัยและเจ้าเมืองศรีสัชนาลัย โดยเจ้าเมืองพิชัยพาทัพมารับศึกที่เมืองศรีสัชนาลัย เหตุใดจึงต้องพาทัพมารับศึกที่ศรีสัชนาลัยกันเล่า 

จากแผนที่จะพบว่าเมืองศรีสัชนาลัยมีความพิเศษทางชัยภูมิมากคือเป็นกลุ่มเขาแทบจะเป็นแห่งเดียวในบริเวณใกล้เคียง เมืองพิชัยนั้นภูมิประเทศแบนราบยากจะต้านทัพของพระเรศที่เหนือกว่าทั้งกำลังจากเมืืองพระพิษนุโลกและอาวุธต่างๆที่เหนือกว้่า 
        หากพิจารณาทัพในการเดินทางมาตีเมืองศรีสัชนั้นย่อมประกอบด้วยแม่ทัพ ไพร่พล อาวุธ ปืนใหญ่และสัตว์สึกต่างๆ เงื่อนใขในการเดินทัพย่อมต้องคำนึงถึงการเดินทัพที่สะดวกแก่องค์คาพยพ การเดินทัพย่อมต้องเดินเรียบแม่น้ำยมมาตั้งแต่เขตเมืองสองแควเป็นแน่ เมือเดืนทัพมาทางริมน้ำยมย่อมต้องเดินทัพมาในด้านโค้งน้ำฝังเดียวกับตัวเมือง หากเดินมาอีกทางก็จะโดนแม่น้ำยมทำตัวเป็นคูเมืองขนาดยักษ์ จากที่เห็นคือด้านขวาของเมืองศรีสัชลาลัยติดลำน้ำยมย่อมเข้าโจมตีไม่ได้ หากพิจารณาด้านซ้ายย่อมไม่เหมาะสมในการเข้าตีเป็นแน่เนื่องจากต้องผ่านช่องเขา หากเข้าโจมตีทางดังกล่าวการลอบโจมตีได้ง่ายมากเพราะมีสภาวะสูงข่มนั่นเอง 
      ผมจึงคิดว่าพระนเรศคงเดินทัพชิดริมแม่น้ำยมและเข้าโจมตีทางด้านหน้าที่ปัจจุบันเป็นประตูทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์นี่เอง  หากพิจารณากำแพงเมืองในด้านดังกล่าก็พบว่ามีการสร้างอย่างแข็งแรงกว่าด้านอื่นและมีแกนเป็นดิน คิดว่าคงออกแบบมาให้ทำการรับการยิงถล่มด้วยปืนใหญ่ได้ดี 



Create Date : 13 พฤษภาคม 2560
Last Update : 18 พฤษภาคม 2560 20:16:40 น.
Counter : 1066 Pageviews.

0 comment
กลไกการทำงานในการออกแบบป้อมและกำแพงเมืองของเมืองกำแพงเพชร



ข้อมูลในบล็อกตอนนี้ได้ทำการอ่านและนำรูปประกอบมาจาก https://writer.dek-d.com/som_him/story/view.php?id=1308839 เนื่องจากผู้เขียนเพิ่งเดินทางไปเมืองศรีสัชนาลัยและสนใจการวางผังของการจัดการป้องกันเมืองของเมืองศรีสัชนาลัยอย่างมากจึงได้ทำการหาข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจมาเจอเอารายงานของน้องนักเรียนกลุ่มหนึ่งซึ่งได้ข้อมูลการป้องกันเมืองมาจากนักโบราณคดีผู้เขียนจึงนำข้อมูลดังกล่าวพร้อมภาพประกอบบางส่วนมาเรียบเรียงใหม่เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์เมืองศรีสัชนาลัยต่อ

เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองที่ทางอาณาจักรอยุธยาสร้างขึ้นใหม่โดยสร้างฝั่งตรงข้ามกับเมืองเก่าของแคว้นสุโขทัยคือเมืองนครชุมเมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองที่มีการออกแบบเป็นป้อมปราการที่ทันสมัยและมีบทบาทในสงครามหลายครั้งเช่นครั้งที่พระไชยราชาจะยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ปรากฏว่าพระยานารายเจ้าเมืองกำแพงเพชรคิดเป็นกบฏพระองค์จึงต้องจับประหารเสียก่อนเนื่องจากเมืองกำแพงเพชรต้องเป็นเมืองที่ส่งกำลังบำรุงยามที่เปิดศึกไปยังหัวเมืองล้านนาหรือก่อนที่จะเกิดสงครามนันทบุเรงพระมหาอุปราชแห่งหงษาก็ต้องมาทำนาอยู่ที่กำแพงเพชรเพื่อส่งกำลังมาตีกรุงศรี

เมืองกำแพงเพชรมีความสำคัญเป็นอย่างมากเกิดจากหลายปัจจัยเช่นเป็นเมืองที่ควบคุมแม่น้ำปิง เป็นเมืองที่เหมาะกับการทำนาเป็นต้น ความน่าสนใจอีกประการหนึ่งคือยุทธศาสตร์การป้องกันเมืองของกำแพงเพชรอันเป็นเมืองป้อมที่เข้มแข็งมากแห่งหนึ่ง
สภาพทางภูมิศาสตร์

กำแพงเพชรนั้นตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิงโดยตั้งตรงกันข้ามกับเมืองนครชุมอันเป็นเมืองเดิมของแคว้นสุโขทัยมีแม่น้ำปิงที่กว้างขวางวางตัวเป็นคูเมืองได้ในระดับหนึ่งแต่ในสภาพที่เป็นทีราบไม่มีภูเขาช่วยล้อมหรือปิดกั้นย่อมทำให้ขาดปราการธรรมชาติในการป้องกันตัวดังนั้นหากวิเคราะห์ทางชัยภูมิกล่าวได้ว่าธรรมชาติไม่ได้ช่วยให้กำแพงเพชรมีกำแพงอันแข็งแกร่งเท่าใดนักแต่ความโชคดีของกำแพงเพชรคือการมีสินทรัพย์ใต้ดินนั่นคือศิลาแลงชาวกำแพงเพชรในยุคนั้นจึงได้นำศิลาแลงเหล่านั้นมาสร้างกำแพงเมืองอันเข้มแข็งที่เรียกว่ากำแพงเพชรขึ้นมา 


ฟังก์ชั่นและการทำงานของกำแพงเมือง

กำแพงเมืองของกำแพงเพชรนั้นออกแบบมาสำหรับรับสงครามป้อมค่ายประชิดโดยเฉพาะโดยกำแพงเมืองออกแบบมาให้มีเชิงเทินที่กว้างขวางสำหรัยให้ทหารยืนและตั้งปืนใหญ่ได้ปืนใหญ่ในสมัยนั่นเมื่อยิงแล้วจะเลื่อนถอยหลังระยะความกว้างของเชิงเทิงจึงกลายเป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพของปืนใหญ่ที่ยกมาตั้งยิงหากระยะเชิงเทินยิ่งยาวยิ่งใช้ปืนใหญ่อานุภาพสูงได้


ใบเสมาใช้เป็นที่หลบกำบังของทหารประจำป้อมโดยทหารจะยืนหลบกระสุนปืนของทหารฝ่ายข้าศึกของใบเสมารูใต้ใบเสมาจะใช้ในการส่องปืนออกมายิงข้าศึกบางครั้งทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมบางครั้งเป็นรูปกากบาท รูปร่างที่ทำให้การส่องข้าศึกทำได้ดีคือรูปกากบาทโดยทั่วไปด้านใดที่มีปราการธรรมชาติเช่นภูเขาหรือแม่น้ำอยู่แล้วมักสร้างกำแพงให้บางหน่อยส่วนด้านไหนไม่มีก็มักสร้างกำแพงเมืองหนาหน่อยในกำแพงด้านที่ต้องมีการยิงปืนใหญ่ใส่มากๆมักใช้กำแพงแกนดินเพื่อให้ดินใช้ส่งถ่ายแรงกระแทกของปืนใหญ่ไปแทนที่จะกระทบกำแพงโดยตรงเป็นเทคนิคการถ่ายเทแรงที่ประสิทธิภาพสูงมาก ตัวอย่างกำแพงแกนดินแบบนี้ใช้กันที่ศรีสัชนาลัยและเชียงแสนอีกด้วยป้อมปราการ

ป้อมปราการเมืองกำแพงเพชรถูกออกแบบมาเป็นรูปหัวลูกศรยื่นออกมาเป็นรูปหัวลูกศรทำให้มีมุมมองที่มองเห็นได้กว้างกว่านอกจากนั้นกรณีที่ข้าศึกกำลังปีนกำแพงเมืองทหารบนป้อมสามารถยิงที่ผู้ที่ปีนกำแพงเมืองได้สะดวกด้วย ป้อมมีความสูง 4-5 เมตรทำให้การปีนกำแพงทำให้ปีนกำแพงเมืองได้ยากต้องใช้บันไดช่วยโดยทั่วไปมักมีป้อมยื่นออกมาในบริเวณใกล้ๆประตูเมืองเนื่องจากเป็นจุดอ่อนที่โจมตีเมืองง่ายที่สุดป้อมนี้จึงมักใช้ยิงสกัดผู้ที่ต้องการทำลายประตูเมือง ที่กำแพงเพชรมีประตูเมือง 10 เมืองจึงมีป้อมเฝ้าประตูเมือง 10ป้อม 

คูน้ำและคันดิน

กำแพงเพชรมีคูน้ำและคันดินสลับการสามชั้นคูน้ำนี้กำหนดให้มีความกว้างประมาณ 30 เมตร เมือรวมระยะทั้ง 3 ชั้นจะมีระยะกว้างประมาณ120 เมตร อันนี้น่าจะแสดงถึงระยะที่ปืนใหญ่สมัยนั้นจะยิงไม่ถึงอย่างเต็มที่นักแต่อย่างไรก็ตามหากมีการถมเนินให้สูงขึ้นดังที่พม่าโจมตีอยุธยาระยะ set back ดังกล่าวอาจมีความสำคัญลดลงได้แต่นอกจากความกว้างคูน้ำที่ใช้เป็นระยะ set back เพื่อป้องกันปืนใหญ่แล้วการใช้คูเมืองในรูปแบบอื่นอีก เช่น การเทน้ำมันไว้ในคูหากข้าศึกลุยมาก็จุดไฟเผาเลยหรือการสร้างขวากวางในน้ำไว้ ทำให้ไม่สามารถใช้สัตว์ศึกต่างๆ เช่น ช้าง ม้าข้ามคูน้ำมาได้





Create Date : 10 พฤษภาคม 2560
Last Update : 18 พฤษภาคม 2560 18:29:41 น.
Counter : 2091 Pageviews.

1 comment
ศรีสัชนาลัย แม่น้ำยมและแก่งหลวง ว่าด้วยเรื่องเศรษฐภูมิศาสตร์




เชลียง ศรีสัชนาลัย เชียงชื่น สวรรคโลกล้วนคือเมืองเดียวกันเป็นเมืองโบราณแห่งหนึ่งที่ได้รับการขึ้นทะเบียนว่าเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ แน่นอนว่าต้องมีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่มีความสวยงามจำนวนมากเหมาะกับการพากันไปเซลฟี่แต่หากถามว่าศรีสัชนาลัยมีการจัดตั้งเมืองอย่างไรทำไมจึงมีความสำคัญมาตลอดยุคของสมัยอยุธยา

ศรีสัชนาลัยนั้นเดิมเป็นเมืองคู่ของสุโขทัยแต่แม้เมื่อศรีสัชนาลัยล้มหายตายจากหมดความสำคัญจนราชวงศ์พระร่วงผู้สืบทอดจากพ่อขุนรามคำแหงย้ายจากเมืองสุโขทัยมาสร้างศูนย์กลางเมืองแห่งใหม่ที่พิษณุโลกแล้วศรีสัชนาลัยก็ยังมีความสำคัญอยู่มากจากที่จะเห็นพระนเรศไปปราบกบฏพระยาพิชัยและพระยาศรีสัชนาลัยไม่ยอมร่วมกับพระองค์ต้านพม่าโดยพญาพิชัยนำพลพรรคไปรวมตัวกันที่เมืองศรีสัชนาลัยซึ่งเป็นเมืองป้อมที่เข้มแข็งความโดดเด่นของศรีสัชนาลัยที่ทำให้มีมีความสำคัญอย่างต่อเนื่องเกิดจากสภาพทางกายภาพที่สำคัญและผลผลิตทางอุตสาหกรรมของศรีสัชนาลัยคือเครื่องสังคโลก

โดยสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ทำให้ศรีสัชนาลัยมีความสำคัญของเมืองอยู่ได้เกิดจากปัจจัยสามประการด้วยกันแม่น้ำยม ,แก่งหลวง และภูเขาล้อมเมือง 

ศรีสัชนาลัยและแม่น้ำยม

เมืองศรีสัชนาลัยนั้นตั้งอยู่ริมน้ำยมซึ่งต่างจากเมืองสุโขทัยซึ่งตั้งห่างจากแม่น้ำยมถึง 15 กมโดยในทางภูมิศาสตร์นั้นแม่น้ำยม


โดยแม่น้ำยมนี้มีต้นน้ำในบริเวณที่เทือกเขาของเมืองน่านแต่แม่น้ำส่วนใหญ่จะวิ่งผ่านเมืองแพร่และสุโขทัยก่อนจะไปรวมกับแม่น้ำน่านในจังหวัดพิษณุโลกในทางการค้าสมัยโบราณนั่นการลำเลียงสินค้าผ่านแม่น้ำเป็นสำคัญนั้นอาจหมายถึงการเลือกตั้งเมืองศรีสัชนาลัยในพื่นที่ริมน้ำยมย่อก่อประโยชน์ทางการค้าคือสินค้าจากเมืองแพร่และศรีสัชนาลัยย่อมลำเลียงทางแม่น้ำยมไปรวมกันที่แม่น้ำน่านและออกเจ้าพระยาในที่สุด


แต่เดี๋ยวก่อนหากพิจาณาตำแหน่งที่ตั้งของตัวเมืองศรีสัชนาลัยให้ดีอาจต้องพิจารณาจุดแข็งในการตั้งเมืองที่บริเวณดังกล่าวอีกนอกจากแค่ริมน้ำยมเฉยๆนั่นคือ ทำไมต้องตั้งตรงนี้หากตัดเหตุผลด้านยุทธศาตร์การป้องกันเมืองออกอีกสิ่งที่น่าสนใจคือน้ำยมมักจะท่วมพื้นที่สองริมฝั่งอยู่เสมอเพราะแม่น้ำยมมีตลิ่งตื้นมากและติดกับพื้นที่ราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่ที่มักเป็นข่าวอย่างสม่ำเสมอคือสุโขทัยธานีน้ำท่วม(ท่วมจนช่วงน้ำท่วมเกิดผืนน้ำขนาดใหญ่เรียกว่า “ทะเลหลวง”) หรือบางระกำพิษนุโลกที่นายกยิ่งลักษณ์ปำบางระกำโมเดลเพราะท่วมทุกปีหลังทำบางระกำโมเดลก็ท่วมอีก

แต่ศรีสัชนาลัยไม่ท่วม ทำไมถึงไม่ท่วม หากพิจารณาจริงๆจะพบว่าศรีสัชนาลัยตั้งอยู่บนที่ราบริมเขาทำให้แม่น้ำยมในบริเวณที่ราบที่ตั้งเมืองศรีสัชนาลัยนี้มีเทือกเขาตัดผ่านกลางเมืองเลยตลิ่งริมน้ำของเมืองศรีสัชนาลัยนั้นสูงมากเป็นอันตัดปัญหาเรื่องน้ำท่วมเมืองไปได้นับเป็นภูมิปัญญาเรื่องน้ำท่วมเมืองออกจากปัญหาชีวิตไปได้เลย

นอกจากนั้นแก่งหลวงหรือโขดหินที่อยู่ต่อจากแนวเขาพนมเพลิงเป็นตัวแปรที่สำคัญอย่างยิ่งในการตั้งเมืองศรีสัชนาลัยตามความเห็นของผมคิดว่าแก่งหลวงของศรีสัชนาลัยนี้คงจะมีหินหนาแน่นมากจนสามารถทำตัวเป็นเขื่อนย่อยๆทางเมืองอาจหาวิธีกั้นน้ำเพิ่มเติมจนน้ำเป็นเหมือนฝายทดน้ำ เมื่อมีการทดน้ำในลักษณะฝายทดน้ำดังกล่าวย่อมทำให้เดินเรือจากแพร่มาศรีสัชนาลัยได้ทั้งปีซึ่งแม่น้ำสายหลักอื่นจะกั้นน้ำในวิธีดังนี้คงจะยากเพราะไม่มีหินธรรมชาติช่วยทำตัวเป็นโครงสร้างให้กั้นแม่น้ำคงยากไปในเทคโนยีสมัยนั้น













นั่นคือเมื่อมีการลำเลียงสินค้าของป่ามาจากเมืองแพร่ทางแม่น้ำยมเมื่อมาถึงบริเวณแก่งหลวงย่อมไม่สามารถผ่านได้ต้องนำสินค้าขึ้นขึ้นฝั่งก่อนส่วนเมือสินค้าขึ้นฝั่งแล้วจะมีพ่อค้าคนกลางรับซื้อไปขายต่อด้านล่างหรือเพียงแค่ส่งโดยแพใหม่โดยพ่อค้าคนเดิมย่อมไม่ทราบได้ในทัศนส่วนตัวผมคิดว่าน่าจะเป็นการรับซื้อสินค้าจากผู้ขายรายย่อยและสะสมจนได้ปริมาณมากจึงค่อยน้ำล่องเรือมาขายต่อยังกรุงศรีอยุธยาในภายหลังเสียมากกว่าดังนั้นศรีสัชนาลัยคงมีโกดังสินค้าขนาดใหญ่ที่ไว้สะสมสินค้าของป่าอยู่กระมัง 




Create Date : 10 พฤษภาคม 2560
Last Update : 18 พฤษภาคม 2560 20:20:08 น.
Counter : 4985 Pageviews.

2 comment
นิคมอุตสาหกรรมศรีสัชนาลัย





ในโลกยุคปัจจุบันเราได้อาหาร เครื่องดื่ม รถยนต์ มอเตอร์ไซต์ ทีวี ตู้เย็นที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ล้วนแต่ทำการผลิตอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมซึ่งทำหน้าที่ผลิตให้สินค้าอุตสาหรรมจากการประดิษฐ์เพื่อการใช้งานและการค้านิคมอุตาหกรรมในประเทศไทยแห่งแรกในยุคปัจจุบันคือนิคมอุตสาหกรรมแห่งแรกของยุคปัจจุบันก็จะเป็นนิคมอุตสาหกรรมคือนิคมอุตสาหกรรมบางชัน…….แต่หากพิจารณาย้อนหลังไปในยุคสมัยสุโขทัยจะพบว่านิคมอุตสาหกรรมแห่งแรกของเราน่าจะเป็นนิคมอุตสาหกรรมศรีสัชนาลัยเสียมากกว่านั่นคือนิคมอุตสาหกรรมซะก่อน
  1. แหล่งเตาทุเรียงตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือของสุโขทัย พื้นที่ 5000 ตร.
  2. แหล่งเตาป่ายางอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองสุโขทัย เนื้อที 5500 ตร.
  3. แหล่งเตาเกาะน้อย พื้นที่ 195,000 ตร.มอยู่ห่างจากแม่น้ำยม 5 กม

จากที่เห็นจากขนาดการค้าและการผลิตเครื่องสังคโลกผลิตมากที่สุดที่ศรีสัชนาลัยนั่นเองสาเหตุที่อยู่สุโขทัยเกิดการค้าขายเครื่องสังคโลกอย่างมหาศาลขึ้นมาย่อมมีสาเหตุคงไม่เกิดมาเพราะบุญญาบารมีของกษัตริย์บางพระองค์เป็นแน่ลองดูลำดับเหตุการณ์เทียบระหว่างไทยกับจีนแล้วจะเห็นกุญแจในเรื่องดังกล่าวอย่างชัดเจนมากขึ้น

  1. พ่อขุนศรีอินทราทิตเข้าครองเมืองสุโขทัยปี1792 รัชสมัยยาว 30 ปี ในช่วงเวลาดังกล่าวมองโกลเริ่มขยายอำนาจ
  2. มองโกลเข้ายึดครองต้าหลี่ในปี1796ในช่วงนี้ก็ยังอยู่ในช่วงของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
  3. มองโกลปราบเกาหลีในปี1801ก็ยังอยู่ในช่วงของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
  4. มองโกลปราบจีนและตั้งราชวงศ์หยวนปี1822ตรงกับรัชสมัยที่พ่อขุนรามคำแหงขึ้นครองราชย์
  5. ราชวงศ์หยวนล่มสลายในรัชสมัยของพญาลิไท

 

 จากลำดับเวลาที่แสดงมาย่อมแสดงให้เห็นว่า supply การผลิตเครืองสังคโลกหายไปจากตลาดอย่างกระทันหันเนื่องจากสงครามของราชวงศ์หยวนที่ทำกับราชวงศ์ซ้องสังคโลก(ซ้องลงก็ก) เลยเกิดอาการขาดตลาด ราคาพุ่งปรี๊ดในย่านอาเซียน สุโขทัยจึงเป็นแหล่งผลิตสินค้าทดแทนเกรดเอแทนจีนตลอดช่วงเวลารุ่งโรจน์ แต่คาดว่าตลาดอุตสาหกรรมสังคโลกก็คงไม่ยืนยาวมากนักเพราเมื่อราชวงศ์หมิงมาแทนที่ราชวงศ์หยวนราชวงศ์หมิงเป็นคู่ค้าที่สำคัญของอยุธยาเครื่องสังคโลกของจีนก็คงกลับมาขายเป็นสินค้าเกรดพรีเมี่ยมแทนราชวงศ์สุโขทัย





Create Date : 05 พฤษภาคม 2560
Last Update : 5 พฤษภาคม 2560 16:50:17 น.
Counter : 1034 Pageviews.

2 comment
1  2  3  

สมาชิกหมายเลข 3850125
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



สนใจประวัติศาสตร์ช่วงสมัยสุโขทัย-อยุธยา พยายามทำความเข้าใจตามหลักการความรู้ตามปัจจุบันเท่าที่พอหาได้