ศรีสัชนาลัย แม่น้ำยมและแก่งหลวง ว่าด้วยเรื่องเศรษฐภูมิศาสตร์




เชลียง ศรีสัชนาลัย เชียงชื่น สวรรคโลกล้วนคือเมืองเดียวกันเป็นเมืองโบราณแห่งหนึ่งที่ได้รับการขึ้นทะเบียนว่าเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ แน่นอนว่าต้องมีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่มีความสวยงามจำนวนมากเหมาะกับการพากันไปเซลฟี่แต่หากถามว่าศรีสัชนาลัยมีการจัดตั้งเมืองอย่างไรทำไมจึงมีความสำคัญมาตลอดยุคของสมัยอยุธยา

ศรีสัชนาลัยนั้นเดิมเป็นเมืองคู่ของสุโขทัยแต่แม้เมื่อศรีสัชนาลัยล้มหายตายจากหมดความสำคัญจนราชวงศ์พระร่วงผู้สืบทอดจากพ่อขุนรามคำแหงย้ายจากเมืองสุโขทัยมาสร้างศูนย์กลางเมืองแห่งใหม่ที่พิษณุโลกแล้วศรีสัชนาลัยก็ยังมีความสำคัญอยู่มากจากที่จะเห็นพระนเรศไปปราบกบฏพระยาพิชัยและพระยาศรีสัชนาลัยไม่ยอมร่วมกับพระองค์ต้านพม่าโดยพญาพิชัยนำพลพรรคไปรวมตัวกันที่เมืองศรีสัชนาลัยซึ่งเป็นเมืองป้อมที่เข้มแข็งความโดดเด่นของศรีสัชนาลัยที่ทำให้มีมีความสำคัญอย่างต่อเนื่องเกิดจากสภาพทางกายภาพที่สำคัญและผลผลิตทางอุตสาหกรรมของศรีสัชนาลัยคือเครื่องสังคโลก

โดยสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ทำให้ศรีสัชนาลัยมีความสำคัญของเมืองอยู่ได้เกิดจากปัจจัยสามประการด้วยกันแม่น้ำยม ,แก่งหลวง และภูเขาล้อมเมือง 

ศรีสัชนาลัยและแม่น้ำยม

เมืองศรีสัชนาลัยนั้นตั้งอยู่ริมน้ำยมซึ่งต่างจากเมืองสุโขทัยซึ่งตั้งห่างจากแม่น้ำยมถึง 15 กมโดยในทางภูมิศาสตร์นั้นแม่น้ำยม


โดยแม่น้ำยมนี้มีต้นน้ำในบริเวณที่เทือกเขาของเมืองน่านแต่แม่น้ำส่วนใหญ่จะวิ่งผ่านเมืองแพร่และสุโขทัยก่อนจะไปรวมกับแม่น้ำน่านในจังหวัดพิษณุโลกในทางการค้าสมัยโบราณนั่นการลำเลียงสินค้าผ่านแม่น้ำเป็นสำคัญนั้นอาจหมายถึงการเลือกตั้งเมืองศรีสัชนาลัยในพื่นที่ริมน้ำยมย่อก่อประโยชน์ทางการค้าคือสินค้าจากเมืองแพร่และศรีสัชนาลัยย่อมลำเลียงทางแม่น้ำยมไปรวมกันที่แม่น้ำน่านและออกเจ้าพระยาในที่สุด


แต่เดี๋ยวก่อนหากพิจาณาตำแหน่งที่ตั้งของตัวเมืองศรีสัชนาลัยให้ดีอาจต้องพิจารณาจุดแข็งในการตั้งเมืองที่บริเวณดังกล่าวอีกนอกจากแค่ริมน้ำยมเฉยๆนั่นคือ ทำไมต้องตั้งตรงนี้หากตัดเหตุผลด้านยุทธศาตร์การป้องกันเมืองออกอีกสิ่งที่น่าสนใจคือน้ำยมมักจะท่วมพื้นที่สองริมฝั่งอยู่เสมอเพราะแม่น้ำยมมีตลิ่งตื้นมากและติดกับพื้นที่ราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่ที่มักเป็นข่าวอย่างสม่ำเสมอคือสุโขทัยธานีน้ำท่วม(ท่วมจนช่วงน้ำท่วมเกิดผืนน้ำขนาดใหญ่เรียกว่า “ทะเลหลวง”) หรือบางระกำพิษนุโลกที่นายกยิ่งลักษณ์ปำบางระกำโมเดลเพราะท่วมทุกปีหลังทำบางระกำโมเดลก็ท่วมอีก

แต่ศรีสัชนาลัยไม่ท่วม ทำไมถึงไม่ท่วม หากพิจารณาจริงๆจะพบว่าศรีสัชนาลัยตั้งอยู่บนที่ราบริมเขาทำให้แม่น้ำยมในบริเวณที่ราบที่ตั้งเมืองศรีสัชนาลัยนี้มีเทือกเขาตัดผ่านกลางเมืองเลยตลิ่งริมน้ำของเมืองศรีสัชนาลัยนั้นสูงมากเป็นอันตัดปัญหาเรื่องน้ำท่วมเมืองไปได้นับเป็นภูมิปัญญาเรื่องน้ำท่วมเมืองออกจากปัญหาชีวิตไปได้เลย

นอกจากนั้นแก่งหลวงหรือโขดหินที่อยู่ต่อจากแนวเขาพนมเพลิงเป็นตัวแปรที่สำคัญอย่างยิ่งในการตั้งเมืองศรีสัชนาลัยตามความเห็นของผมคิดว่าแก่งหลวงของศรีสัชนาลัยนี้คงจะมีหินหนาแน่นมากจนสามารถทำตัวเป็นเขื่อนย่อยๆทางเมืองอาจหาวิธีกั้นน้ำเพิ่มเติมจนน้ำเป็นเหมือนฝายทดน้ำ เมื่อมีการทดน้ำในลักษณะฝายทดน้ำดังกล่าวย่อมทำให้เดินเรือจากแพร่มาศรีสัชนาลัยได้ทั้งปีซึ่งแม่น้ำสายหลักอื่นจะกั้นน้ำในวิธีดังนี้คงจะยากเพราะไม่มีหินธรรมชาติช่วยทำตัวเป็นโครงสร้างให้กั้นแม่น้ำคงยากไปในเทคโนยีสมัยนั้น













นั่นคือเมื่อมีการลำเลียงสินค้าของป่ามาจากเมืองแพร่ทางแม่น้ำยมเมื่อมาถึงบริเวณแก่งหลวงย่อมไม่สามารถผ่านได้ต้องนำสินค้าขึ้นขึ้นฝั่งก่อนส่วนเมือสินค้าขึ้นฝั่งแล้วจะมีพ่อค้าคนกลางรับซื้อไปขายต่อด้านล่างหรือเพียงแค่ส่งโดยแพใหม่โดยพ่อค้าคนเดิมย่อมไม่ทราบได้ในทัศนส่วนตัวผมคิดว่าน่าจะเป็นการรับซื้อสินค้าจากผู้ขายรายย่อยและสะสมจนได้ปริมาณมากจึงค่อยน้ำล่องเรือมาขายต่อยังกรุงศรีอยุธยาในภายหลังเสียมากกว่าดังนั้นศรีสัชนาลัยคงมีโกดังสินค้าขนาดใหญ่ที่ไว้สะสมสินค้าของป่าอยู่กระมัง 




Create Date : 10 พฤษภาคม 2560
Last Update : 18 พฤษภาคม 2560 20:20:08 น.
Counter : 4989 Pageviews.

2 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณtuk-tuk@korat

  
เชลียง ศรีสัชนาลัย เชียงชื่น สวรรคโลกล้วนคือเมืองเดียวกัน
อ่านจากหนังสือ 2 เล่ม ในหนังสือแยกเรียงลำดับ ขอความรู้เพิ่มครับ
1.วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง
2.พระมหาธาตุสวรรคโลก
ทั้งสองที่ เป็นที่เดียวกันใช่ไหมครับ
ขอบคุณครับ
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 16 พฤษภาคม 2560 เวลา:7:58:13 น.
  
เชลียงเป็นชื่อเดิมตอนยังไม่ย้ายเมืองครับอยู่ตรงงแถวๆพระธาตุ ส่วนศรีสัชนาลัยคือชื่อเมืองใหม่เริ่มใช้ตั้งแต่ยุคพญางั่วนำถมจนสิ้นสุดสุโขทัย เมื่อเชียงใหม่มีตีและยึดครองประมาณ 14 ปี เรียกว่าเชียงชื่น ส่วนในยุคอยุธยาเรียกว่าสวรรคโลก บางท่ายบอกว่ามาจากสังคโลกครับ พระธาตุนี่ไม่แน่ใจครับ แต่ที่สังเกตุก็มีที่เดียวนะครับ แต่ตามจารึกของพ่อขุนรามกับพญาลิไทก็กล่าวถึงพระธาตุอยู่ครับ
โดย: สมาชิกหมายเลข 3850125 วันที่: 16 พฤษภาคม 2560 เวลา:19:26:07 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3850125
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



สนใจประวัติศาสตร์ช่วงสมัยสุโขทัย-อยุธยา พยายามทำความเข้าใจตามหลักการความรู้ตามปัจจุบันเท่าที่พอหาได้