มีสุข มีทุกข์ อะไรก็จะเขียนไว้ที่นี่

แต่...กรรมาชีพผู้ทุกข์ทน

ตั้งชื่อเรื่องค่อนข้างจะออกแนวเพื่อชีวิตไปหน่อย จริงๆแล้วไม่มีอะไร แค่อยากพูดให้เข้าบรรยากาศ

*** วันแรงงาน ***

หลายคนไม่เข้าใจว่าโครงสร้างสังคมแบบทุนนิยมแบบนี้ แรงงาน หรือ กรรมาชีพ ทั้งหลายก็คือ ** ทาสในรูปแบบหนึ่ง ** เป็นทาสที่เต็มใจขายอิสระภาพ แรงกาย แรงใจ เพื่อเงินค่าแรง มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป ตามกรรมของแต่ละคน

ทำไมกรรมาชีพ ถึง ไม่ต่างจากทาส ในมุมมองของผม นั่นก็เพราะว่าผมมองในด้านของอิสรภาพในการดำเนินชีวิต ลองนึกดูก็ได้

อะไรบังคับให้เรา ต้องตื่นนอนในตอนเช้า
อะไรบังคับให้เรา ต้องเข้างานตรงเวลา
อะไรบังคับให้เรา ทำงานที่บางครั้งเราไม่อยากทำ
อะไรบังคับให้เรา ทำตามกฎระเบียบที่บางครั้งก็ไม่เป็นธรรม
อะไรบังคับให้เรา ไม่ให้กลับบ้านจนกว่าจะเลิกงาน

ธรรมชาติของคนที่เกิดมามีชีวิตนั้น ล้วนแต่อยากสุขสบาย อยากมีสิ่งอำนวยความสะดวก อยากมีอะไรๆอย่างที่คนอื่นเขามีกัน ที่นี้เิิกิดซวยไปเกิดในครอบครัวจนๆเข้าไม่มีมรดก อย่างคนอื่นเขา ที่มีก็แค่ตัวกับใจ บางทีมีหนี้แถมมาด้วย ก็ต้องหาทางดิ้นรน ทำมาหากิน แต่ในสังคมทุนนิยมแบบนี้ อยู่ๆ จะไปเป็นเจ้าของกิจการเลยก็เป็นไปไม่ได้ ถึงเป็นไปได้ก็เป็นได้แค่กิจการเล็กๆ เท่านั้น แต่เชื่อว่าส่วนใหญ่ จะเลือกที่จะทำงานเป็นกรรมาชีพ ตามความถนัดของคนเพื่อหาเงินมากินมาใช้ ถ้าใครโชคดีมีโอกาสมีเงินเก็บมากพอ ก็อาจขยับขยายขึ้นไปเป็นนายทุน เป็นเจ้าของกิจการเสียเอง แต่อีกนั่นแหละส่วนใหญ่ทำงานรับจ้าง เป็นแรงงานไปจนทำงานไม่ไหวนั่นแหละ

ที่นี้ลองมามองในมุมของนายทุนบ้าง ร้อยทั้งร้อย เชื่อว่านายทุนต้องการแรงงานฝีมือดี ราคาถูก ยิ่งถูกมากเท่าไหร่ยิ่งดีเ่ท่านั้น เพราะลดต้นทุนได้มากเท่าใด กำไรก็มากขึ้นเท่านั้น จึงอย่าหวังว่านายทุนจะเห็นอกเห็นใจ กรรมาชีพทั้งหลาย ผมกล้าพูดว่า

*** ถ้าโกงได้ นายทุนก็จะโกง เอาเปรียบได้ นายทุนก็จะเอาเปรียบ ***

อ้าวแล้วใครจะดูแลเพื่อน กรรมาชีพ ของผมล่ะ รัฐบาลใงครับ รัฐบาลที่เต็มไปด้วยนายทุนนี่แหละคือผู้ดูแลสิทธิ์ของแรงงาน จะพูดไปเดี๋ยวจะมีคนโกรธผมขึ้นมาอีก แต่ยังไงผมก็จะพูด ประเทศเราไม่มีพรรคแรงงาน ผมไม่ได้หมายถึงพรรคที่เชื่อว่าพรรคแรงงานนะ ผมหมายถึง

*** พรรคการเมืองของคนระดับ กรรมาชีพ ที่ไม่ใช่พรรคการเมืองของนายทุน ***

หลายประเทศที่พัฒนาแล้วพรรคการเมืองของกรรมาชีพ มักมีอำนาจทางการเมือง มีอำนาจต่อรองกับนายทุนไม่ให้เอาเปรียบกรรมาชีพทั้งหลาย แต่ประเทศเรายังไม่มี เรามีแต่พรรคการเมืองของนายทุน กับพรรคมการเมืองของชนชั้นปกครอง จึงไม่น่าแปลกใจเลยสักนิดที่

*** กรรมาชีพ ก็คือ ทาสในระบบทุนนิยม ***

ถ้าไม่พูดถึงชาวไร่ชาวนา เกษตรกร ซะเลยเดี๋ยวน้อยใจ แม้ว่าจะไม่เป็นทาสของระบบทุนนิยมโดยตรง แต่ก็ถูกเอาเปรียบจากทุนนิยมอยู่ดี ตามปกติแล้วราคาขายสินค้าใดๆ ก็ตามต้องสูงกว่าทุนเสมอ ไม่งั้นก็ไม่ขาย แต่ปรากฎว่าราคาสินค้าเกษตรกลับไม่เป็นเช่นนั้น ราคาถูกควบคุมโดยพ่อค้าคนกลาง ซึ่งก็คือนายทุนนี่นแหละ ยึ่งถ้าเปิดการค้าเสรีสินค้าเกษตร ยิ่งไปกันใหญ่เลย เพราะต้นทุนในการผลิดของแต่ละประเทศไม่เท่ากัน ชาวนาที่กินก๋วยเตี๋ยวชามละ 30 จะไปสู้ชาวนาที่กินก๋วยเตี๋ยวชามละ 5 บาทได้ไง ประเทศหนึ่งชาวนามีค่าครองชีพ วันละ 100 บาท จะไปเปรียบเทียบกับชาวนาที่มีค่าครองชีพวันละ 30 บาทได้ไง แล้วเป็นธรรมดาเหลือเกินที่ใครก็อยากซื้อของที่ถูกว่า เรื่องคุณภาพที่ไม่ต่างกันฟ้ากับเหวนั้น ก็ไม่มีความหมายอะไร

เป็นกรรมาชีพก็ไ่ม่ดี เป็นเกษตรกรก็ไม่ดีอีก จะไปทำอะไรดีหนอ แนวคิดของผมก็คือ เราต้องทำงานอะไรที่มีอิสระเต็มที่ และไม่เกี่ยวข้องผูกพันกับตลาดทุนนิยมมากนัก เช่นถ้าคิดจะทำนา ก็ไม่ใช่จะทำนาอย่างเดียว ต้องปลูกพืชผักผลไม้ เพาะเห็ด เลี้ยงสัตว์ ให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้เต็มที่เสียก่อน หลังจากนั้นหากมีมากเกินไป จึงจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้ ออกแนวพอเพียงนั่นแหละดีแน่

แต่หากคิดแบบนี้เสียหมด อุตสาหกรรมคงร่วงแน่ ทางออกก็คือ กรรมาชีพ ยังต้องมีอยู่ และยังต้องเป็นทาสของระบบทุนนิยมอยู่ แต่ต้องได้รับการดูแลอย่างจริงจังจากรัฐ ต้องได้รับผลตอบแทนอย่างเป็นธรรม ต้องมีสวัสดิการที่ดี หากเป็นไปได้ตามนี้

*** กรรมาชีพ ก็เป็นอาชีพที่มีความสุขไม่น้อย ***




Create Date : 01 พฤษภาคม 2553
Last Update : 1 พฤษภาคม 2553 17:50:12 น. 4 comments
Counter : 866 Pageviews.  

 
สวัสดีค่ะ

แวะมาทักทายค่ะ..สุขสันต์วัน May Day นะคะ


โดย: nootikky วันที่: 1 พฤษภาคม 2553 เวลา:19:22:46 น.  

 


โดย: thanitsita วันที่: 1 พฤษภาคม 2553 เวลา:20:10:15 น.  

 
หวังว่าภาครัฐในอนาคตจะหันมาใส่ใจชนชั้นกรรมาชีพอย่างจริงจังค่ะ


โดย: Chulapinan วันที่: 1 พฤษภาคม 2553 เวลา:20:27:35 น.  

 


โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว วันที่: 1 พฤษภาคม 2553 เวลา:22:24:53 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

mrpipo
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ประชาธิปไตยจงเจริญ
[Add mrpipo's blog to your web]