Movieworm
 
 

Authorities dousing the flame of creativity

Special to the Nation
Published on April 10, 2010

When I first heard that Bt200 million would be spent on the film industry as part of the Thai Khemkhaeng stimulus package, I was absolutely delighted that this medium was finally being given some attention.


However, my excitement was quickly extinguished when I looked at the list of beneficiaries. Half of the budget was going to be spent on one project – one that had already been given Bt330 million from the Commerce Ministry’s Department of Intellectual Property. In other words, this single project had been allocated Bt430 million of the taxpayers’ money.


The film in question is the “Legend of King Naresuan” (Parts 3 and 4) by veteran filmmaker M.C. Chatrichalerm Yukol.


The authorities claim that these films were being made to showcase Thailand’s history, culture and the legend of a great king. However, they have refused to acknowledge that Bt430 million could have been used to support the entire industry, with students and young filmmakers using the funds to make hundreds of small budget films. It is not fair that this opportunity be given to a man – who has already made a name for himself – to make a film about a person who lived hundreds of years ago.


Apparently the authorities expect returns from this investment, and are planning to spend it on up-and-coming filmmakers. However, the question that arises now is when and how much of this money will be returned?

Don’t misunderstand me. I respect and admire our great warrior king, but what about people who are living now? What happens to the students and young filmmakers floundering in deep waters just to be given a chance?

Most independent filmmakers have very little money to start with, and when they complete their film they have to work really hard to find a distributor willing to put their work on the big screen. After all, everybody wants to screen films that can guarantee them big box-office returns.

Of course, some filmmakers have the chance to take their work to international film festivals, and then some win awards and boost the Kingdom’s reputation. Yet, nobody here cares, because by the time the film gets to the local screens, it has already been chopped, changed and raped by the Censor Board.

In other words, independent filmmakers have little or no chance to make it big in Thailand. After all, about 250 of them were rejected outright when they applied for the Thai Khemkhaeng package. And the most of leftover was falling into the hands of Big Film Companies who have more power, more opportunities, and having their property more than enough to make movies, and importantly they are not necessary to pay attention for these funds (But they still took). Besides, many film companies got double budget.

What the heck is that?

At least, we as taxpayers have the right to know why and who decided not to fund the small fry in the industry?

Surely the authorities realize that with such a lack of vision and selfish decisions, Thailand will never become a regional hub of art and culture.

Like well-known independent film director Apichatpong Weerasetakul very rightly said: “Our country’s most important assets are not the antiques and historical sites, but the ‘creativity’ we have. This creativity is like sunshine – it gives us life and can be used to create things forever.”


Sadly, if the authorities remain stuck in old patterns of self-interest, it won’t take long before this sunshine of creativity is extinguished and we are left in the dark.


Of course, this is just the opinion of people who do not have gained or lost form the Thai Khemkhang sheme. But speaking as Thai people that truly, really love movies, that’s all!




 

Create Date : 15 เมษายน 2553   
Last Update : 22 เมษายน 2553 0:31:16 น.   
Counter : 397 Pageviews.  


คุยเรื่องหนังแบบนักวิชาการ กับ ‘เจ้าพ่อโพสต์โมเดิร์นเมืองไทย ธนา วงศ์ยานนาเวช : ธเนศ วงศ์ยานนาวา

UNCUT!

5x2 นิตยสาร FILMAX ฉบับที่ 24
เรื่อง/ภาพ : ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์

คุยเรื่องหนังแบบนักวิชาการ กับ ‘เจ้าพ่อโพสต์โมเดิร์นเมืองไทย’ ธนา วงศ์ยานนาเวช : ธเนศ วงศ์ยานนาวา

ถ้าเอ่ยชื่อ ‘ธนา วงศ์ยานนาเวช’ หนอนหนังสือหลายๆ คน อาจคุ้นเคยชื่อนี้จากบทบาทคอลัมนิสต์หนังแห่งนิตยสารสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ในฐานะนักเขียนที่มีผลงานหลายหลากและต่อเนื่องยาวนานมาเกือบทศวรรษ ด้วยลีลาการเขียนที่แตกต่างจากนักวิจารณ์คนอื่น ซึ่งไม่ได้มุ่งเน้นในการวิพากษ์วิจารณ์ หรือทำตัวเป็นคู่มือสำหรับการดูหนัง หากแต่เป็นการวิเคราะห์ ชำแหละ ขุดคุ้ย และใช้ ‘หนัง’ ในฐานะที่เป็นสื่อ เป็นเครื่องมือในการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด และอธิบายถึงสภาวะความเป็นมา เป็นไป ของสังคมนั้นๆ อย่างถึงแก่น
แน่นอน หลายๆ คนคงรู้ดี (แต่อาจแกล้งทำเป็นไม่รู้) ว่า เขาเป็นคนๆ เดียวกันกับนักวิชาการผู้มีความเชี่ยวชาญทางด้านปรัชญา, ประวัติศาสตร์สังคม, ศิลปะ, อาหาร, เรื่องเพศ ฯลฯ ที่มีฉายาที่เป็นที่รู้จักกันในวงการวิชาการว่า ‘เจ้าพ่อโพสต์โมเดิร์น’ ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาการเมืองการปกครองคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ผลิตผลงานทางวิชาการมาอย่างต่อเนื่องอย่าง ‘ธเนศ วงศ์ยานนาวา’ กับผลงานหนังสืออันโดดเด่นหลายต่อหลายเล่มของเขา อาทิ เช เกวารา กับความตาย, เพศ: จากธรรมชาติ สู่จริยธรรม จนถึงสุนทรียะ, ความไม่หลากหลายของความหลากหลายทางวัฒนธรรม และ(โดยเฉพาะอย่างยิ่ง) หนังอาร์ตไม่ได้มาเพราะโชคช่วย
ด้วยความที่เขาเป็นนักเขียนที่ไม่เคยวิพากษ์วิจารณ์ภาพยนตร์หรือหนังเรื่องไหนโดยเฉพาะเจาะจง ดังนั้นจึงเป็นการยากที่นักอ่านจะทราบถึงรสนิยมในการดูหนังของเขา จึงเป็นโอกาสอันดีของเราในคราวนี้ ที่จะมาร่วมหาคำตอบไปพร้อมๆ กันว่า ว่า ธนา วงศ์ยานนาเวช หรือ ธเนศ วงศ์ยานนาวา ผู้นี้ จะชอบดูหนังแบบไหนและเรื่องอะไรกันบ้าง

ภาณุ: อาจารย์เริ่มดูหนังมาตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ
ธนา: ผมคิดว่าตั้งแต่จำความได้เลยนะ บ้านผมชอบดูหนัง พ่อผมเนี่ย สามารถดูหนังโรงวันนึง 4-5 เรื่องติดกัน เพราะฉะนั้น เด็กๆ เนี่ย ผมก็จะดูหนังตลอด อย่างน้อยๆ ที่สุดก็คือ วันพุธ วันเสาร์ เพราะโรงเรียนผมหยุดวันพฤหัสฯ บางทีก็มีอีกวันก็คือวันอาทิตย์เช้า เพราะฉะนั้นอาทิตย์นึงเนี่ย ผมคิดว่าผมดูหนังประมาณไม่ต่ำกว่า 2 เรื่อง เพราะฉะนั้นการเข้าโรงหนัง ดูหนังที 4-5 เรื่อง นี่ก็จะเป็นเรื่องธรรมดามาก ผมเคยดูตั้งแต่รอบ 10 โมงเช้ายันรอบเที่ยงคืนติดกัน แต่เดี๋ยวนี้คงจะไม่ไหวแล้ว (ยิ้ม) เดี๋ยวนี้อย่างมาก 3 เรื่องก็เต็มที่แล้ว

ภาณุ: หนังที่ดูสมัยนั้นเป็นหนังแบบไหนครับ
ธนา: ผมคิดว่าสมัยก่อนนี่มันก็มีหนังที่หลากหลายนะ มันไม่ได้ถูกครอบงำโดยฮอลลีวูดแบบปัจจุบัน ตลาดมันมีกว้างมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น เมื่อก่อนนี้ นิวโอเดียน เค้ายังฉายหนังฝรั่งแล้วหันมา ฉายหนังจีนใช่ไหม ศรีเยาวราช ศรีราชวงศ์ ก็จะเป็นหนังจีน แคปปิตอล ก็จะฉายหนังญี่ปุ่น เท็กซัส ก็จะฉายหนังแขก เพราะฉะนั้น อมิตาป บาจัน เนี่ย มันเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่มากเลย แล้วก็มีหนังฝรั่ง เช่น หนังฝรั่งเศส หนังอิตาเลี่ยนอย่างงี้ ในสมัยนั้น

ภาณุ: ซึ่งเดี๋ยวนี้หาดูยากกว่าสมัยก่อนอีกนะครับ
ธนา: ใช่ แต่ผมคิดว่าตอนนี้มันก็ดีขึ้นน่ะครับ มันก็มีการปรับ เปลี่ยนแปลง คนก็เริ่มหันมาดูหนังพวกนี้มากขึ้น คุณก็จะมีโรงหนังหนึ่งโรงที่สยาม (ลิโด้) หรือมี House ให้คุณเลือก เพราะธรรมดาเนี่ย ผมเป็นคนไม่ชอบดูวิดีโอเท่าไหร่ ไม่ชอบดูแผ่น การดูหนังของผมก็คือเข้าโรงหนัง

ภาณุ: เพราะอะไรหรือครับ
ธนา: ผมดูแล้วผมรำคาญ ผมว่ายังไงมันก็ไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นจอแอลซีดี ไม่ว่าจะเป็นโฮมเธียเตอร์หรืออะไร ผมมีความรู้สึกอย่างนั้นนะครับ แต่ผมอาจจะผิดก็ได้ ถามง่ายๆ นะครับว่า ถ้าคุณดูหนังของ ปีเตอร์ กรีนอะเวย์ ซึ่งให้ความสำคัญมากกับเรื่องแสง เรื่องการถ่ายทำ Cinematography เนี่ย ผมไม่เคยเห็นมีโฮมเธียเตอร์เครื่องไหนที่มันจะให้ความรู้สึก ขนาดนั้นได้ เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าหนัง ปีเตอร์ กรีนอะเวย์ ซื้อวิดีโอมาดูเนี่ย จบกัน! ผมเนี่ยดูโรงอย่างเดียว มันคือเรื่องของแสง เพราะฉะนั้นเค้าถึงทำหนังเรื่อง เรมบรานด์ท เพราะเรมบรานด์ทมันคือเจ้าพ่อของเรื่องแสง ฉะนั้นเนี่ย ผมก็เลยต้องดูในโรง แต่การดูหนังสำหรับผมมันก็เป็นการพักผ่อนอย่างนึง เหมือนกับคุณออกไปกินข้าวนอกบ้านอะไรอย่างงี้

ภาณุ: เป็นมหรสพอย่างนึง?
ธนา: เป็นมหรสพอย่างนึง ก็ดูหมด หนังไทยก็ เอมไพร์, เฉลิมกรุง, เฉลิมไทย หนังฝรั่งก็ สยาม, ลิโด, สกาล่า ดูหมดน่ะครับ หนังจงหนังจีน ตั้งแต่เด็ก ผมก็เติบโตมากับ หลินไต้, หลี่หลินหัว จนมาถึง หวังหยู่ ไล่มาถึง เดวิด เจียง อะไรต่างๆ แต่เผอิญผมไม่ค่อยชอบดูหนังหมัดๆ มวย หลังจากนั้นผมก็จะค่อยๆ ดูน้อยลง ผมชอบหนังจีนร้องเพลง เพลงรักชาวเรือ ผมจะดูแบบนั้น เพราะฉะนั้นผมดูหนังเกือบทุกประเภท แต่อย่างว่า แน่นอน ตลาดใหญ่มันคือตลาดฮอลลีวูด อันนี้มันเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ 1930 มันก็ครองตลาดมาตลอด

ภาณุ: แล้วหนังฮอลลีวูดนี่อาจารย์ดูไหมครับ
ธนา: ดู ผมก็ดูด้วย ดูตลอด ผมยังจำได้เลย ผมไปดู เจมส์ บอนด์ Dr. No ครั้งแรก ที่โรงภาพยนตร์แกรนด์ แล้วผมก็ดูบอนด์มาตลอด ไม่เคยพลาดเลยแม้แต่เรื่องเดียว

ภาณุ: อันใหม่นี่ก็ดูด้วยหรือครับ
ธนา: ดูหมดแหละครับ ผมดูมา 40 กว่าปี แล้วก็จะดูต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะตายจากกันไปข้างนึง (หัวเราะ) ไม่ว่ามันจะดีหรือไม่ดี ผมก็ดู มันก็คล้ายๆ เป็นพิธีกรรมอย่างนึง เราเคยดูมาแล้ว ตั้งแต่บอนด์ออกครั้งแรก ก็ตื่นเต้นมากเลยนะครับ ตอนนั้น แต่ถ้าถามว่า บอนด์เรื่องไหนที่ผมชอบมากที่สุด ผมชอบ ‘From Russia with Love’ ฌอน คอนเนอรี่ ฉายที่โรงภาพยนตร์เมโทร ก็ที่มันนำไปสู่คำว่า กระเป๋าเจมส์บอนด์ นั่นแหละ คืออันนี้

ภาณุ: แล้วมีแรงบันดาลใจอะไรที่ทำให้อาจารย์หันมาเขียนบทความเกี่ยวกับหนังล่ะครับ
ธนา: คือจริงๆ ตั้งแต่ประมาณปี 1984-85 น่ะครับ ก็มีคนมาติดต่อให้ผมเขียนน่ะครับ ก็คือ คุณเสถียร จันทิมาธร บ.ก. มติชน ชวนผ่านอาจารย์คนนึง เผอิญเมื่อก่อนผมก็เป็นคนขี้เกียจ เขียนน่ะครับ ก็เลยไม่ได้เขียน จนกระทั่งซักประมาณปี 1994-95 พอดีอาจารย์ ฉลอง สุนทราวาณิชย์ เนี่ย แกเขียนให้กับนิตยสาร What Hi Fi เขียนเรื่องดนตรี แกก็มาชักชวนผมเขียน ในฐานะผมเป็นคนชอบฟังเพลงหลากหลาย ซึ่งเหมือนกับผมดูหนัง ผมก็ดูได้ทุกประเภท พอเริ่มเขียนจากดนตรีก่อน เสร็จแล้วตอนหลัง ที่ผมเขียนให้สยามรัฐ (สัปดาห์วิจารณ์) เนี่ย คุณสนานจิต (บางสะพาน) เค้าเลิกเขียน ตอนนั้นเค้าไปทำหนัง บ.ก. ก็เลยมาถามว่า ผมสนใจจะเขียนไหม ผมก็ลองเขียนดู ผมก็เขียนแบบสไตล์ของผมน่ะครับ โดยมองจาก สังคม ปรัชญา การเมือง อะไรพวกนี้ แต่ไม่ได้เรียกว่าบทวิจารณ์ คือไม่ค่อยอยากจะวิจารณ์หนังเท่าไหร่ มันอาจจะเป็นลักษณะของ Film Study การศึกษาภาพยนตร์มากกว่า แต่ไม่ได้หนักแบบนักวิชาการ ก็กึ่งๆ ก็เริ่มต้นอย่างนั้นน่ะครับ แล้วมันก็ทำมาเรื่อยๆ

ภาณุ: ที่อาจารย์บอกว่าไม่ชอบดูหนังแผ่นนี่แสดงว่าไม่ซื้อหรือเก็บสะสมหนังเลยหรือครับ
ธนา: ไม่ซื้อเลยครับ ผมไม่เก็บเลย ผมเก็บแต่แผ่นซีดี เพราะแต่ก่อนผมเป็นคนเล่นแผ่นเสียง

ภาณุ: เพราะไม่ชอบดูหนังนอกโรง?
ธนา: ใช่ ก็เลยไม่เก็บเลย... แต่ก็มีบ้างเหมือนกัน เวลาต้องเอามาฉายตอนสอน ก็ซื้อบ้าง นิดๆ หน่อยๆ แต่ส่วนใหญ่จริงๆ แล้วผมไม่เก็บเลย

ภาณุ: เหมือนอาจารย์กำลังจะบอกว่า หนังถูกออกแบบมาเพื่อฉายในโรงเท่านั้น
ธนา: ครับ แต่ผมคิดว่าต่อไปมันก็คงเปลี่ยนนะครับ ต้องเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยี เหมือนกับละครวิทยุอย่างน่ะ อย่าง คณะวิเชียร นิลิกานนท์ เดี๋ยวนี้มีใครรู้จักบ้างล่ะ มันก็ยังมีอยู่นะครับ ละครวิทยุ แต่มันก็ไม่ได้รับความนิยม สื่อมันเปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยีเปลี่ยน มันก็เปลี่ยน เหมือนแผ่นไวนีล เมื่อก่อนเนี้ย ทุกคนก็ต้องเล่นแผ่นเสียง พอเทคโนโลยีมันเปลี่ยน คุณก็หันมาเป็นซีดี ตอนนี้ไอ้ไวนีลมันก็ยังมีอยู่ แต่มันกลายเป็นของเฉพาะสำหรับคนมีสตางค์เล่นกัน เพียงแต่ผมคิดว่าภาพยนตร์มันจะไม่เหมือนสิ่งเหล่านั้น เพราะว่า คุณคงไม่ชวนสาวที่ไหนมาจีบกันที่บ้าน นั่งดูวิดีโอน่ะนะ (หัวเราะ) ผมคิดว่ามันไม่ใช่ วัยรุ่นยังไงมันก็ต้องเข้าโรงหนัง แม้กระทั่งในยุคนี้ก็เถอะ มันก็เป็นการพักผ่อนหย่อนใจแบบนึง แม้มันอาจจะไม่ทรงพลังมากเหมือนเมื่อก่อน คือผมว่าไปดูหนังมันแตกต่างจากวิดีโอนะครับ วิดีโอน่ะ คุณรีดผ้าไปได้ คุณทำอะไรได้สารพัดน่ะ คุณไม่ต้อง Concentrate แต่ดูหนังน่ะ คุณเข้าไปคุณต้องตั้งอกตั้งใจนะ เพราะฉะนั้นเนี่ย มันเรียกร้องอะไรมากกว่า แถมคุณยังต้องเสียสตางค์ที่แพง นั่งรถไป อะไรต่างๆ คุณเห็นไหมว่ามันเรื่องมากมากเลยนะครับ เสร็จแล้วคุณอาจจะต้องกินข้าวต่อ มันเป็นกิจกรรมที่ใหญ่โตพอสมควร นะครับ มันไม่เหมือนเช่าวิดีโอมา 30 บาท นั่งอยู่บ้าน เปิดๆ ปิดๆ ทิ้งๆ ขว้างๆ จะดูเมื่อไหร่ก็ได้ มันก็เป็นความสะดวกสบาย เพราะฉะนั้นมันก็เข้าใจได้ว่าทำไมภาพยนตร์ (ในโรง) มันถึงได้รับความนิยมน้อยลง แต่ผมคิดว่ามันยากนะครับ อย่างน้อยๆ ผมคิดว่าในระยะ 20-30 ปี มันคงไม่ตาย เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของการจีบกันน่ะ (ยิ้ม) มันก็ต้องมีโรงหนังอยู่ มันก็คือโรงมหรสพน่ะ คุณจะไปจีบกันในโรงโอเปร่า ในโรงคอนเสิร์ตมันก็คงจะลำบากน่ะ มันคงมืดไม่พอ (หัวเราะ)

ภาณุ: ว่ากันเรื่องหนังที่อาจารย์เลือกมาเลยดีกว่านะครับ เรื่องแรก The Cook, the Theif, His Wife & Her Lover
ธนา: คือผมเนี่ย เป็นคนชอบ ปีเตอร์ กรีนอะเวย์ นะครับ ผมดูหนังเค้าเกือบทุกเรื่อง (ในโรง) เรื่องนี้ผมชอบเป็นพิเศษ เพราะดูง่าย ไม่เหมือนเรื่องอื่นๆ ดาราก็โอเค มีชื่อเสียง เฮเลน มีร์เรน ไมเคิล แกมบอน เนี่ย ผมคิดว่าประเด็นที่สำคัญอันนึง ในหนังเรื่องนี้ก็คือ มันมีทั้งความงาม และความโหดร้าย และสิ่งที่ฝรั่งเรียกว่า Cannibalistic ซึ่งก็คือการกินเนื้อคน เป็นหนังที่น่าสนใจ เป็นเรื่องแรกๆ ที่ ปีเตอร์ กรีนอะเวย์ มาจับคอนเซ็ปต์เรื่องนี้ แล้วมันก็จะพูดเรื่องความโหดร้ายแบบนี้อีกครั้งในเรื่อง ‘The Pillow Book’ ซึ่งเอาหนังคนมาเขียนเป็นหนังสือ สำหรับผม ผมจะดู ปีเตอร์ กรีนอะเวย์ ในเรื่องการใช้แสง การถ่ายทำ การเล่นกับสัญลักษณ์อะไรต่างๆ ซึ่งเขาจะใช้เยอะมาก และเค้าจะใช้ Text จำนวนมากที่มาจากภาพเขียนของตะวันตก เช่น ภาพเขียนของ เวลาสเควซ อะไรต่างๆ ซึ่งผมคิดว่าหนังของ ปีเตอร์ กรีนอะเวย์ จะสนุกมากเลย ถ้าคุณรู้จักประวัติศาสตร์ศิลป์ตะวันตกพอสมควร มันก็จะมีแก๊ก มีอะไรหลายๆ อย่างมาก ที่เล่นอยู่ในนั้น เหมือนกับหนังตลกที่ล้อเลียนหนังน่ะ อย่างพวกแบบ ‘Airplane!’ หรือ ‘Naked Gun’ อะไรอย่างเงี้ย คุณก็ต้องดูหนังเยอะน่ะ เพื่อจะรู้มุกมันว่ามันล้อเลียนอะไร ไม่งั้นเราก็ไม่เก็ตโจ๊กเค้าน่ะ

ภาณุ: แสดงว่าการที่จะดูหนังเรื่องนึงให้สนุก ก็ต้องมีพื้นความรู้พอสมควรสิครับ
ธนา: ผมว่ามันก็แล้วแต่นะ มันก็มีหนังหลายประเภท แต่ผมคิดว่าหนัง ปีเตอร์ กรีนอะเวย์ มันก็ต้อง Require อะไรบางอย่างพอสมควร มันไม่เหมือน ‘Terminator’ หรือ ‘The Matrix’ น่ะ โอเค ใครๆ ดูก็ได้ ใช่มะ คุณจะดูให้เป็นปรัชญา ดูให้สลับซับซ้อนก็ดูได้ หรือคุณจะดูแบบไม่ต้องคิดอะไรก็ได้ แต่ ปีเตอร์ กรีนอะเวย์ มันไม่ได้เล่าเรื่องแบบตรงไปตรงมาแบบนั้น มันมีลักษณะอีกแบบ เอ้า! ผมยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างหนังของ เควนติน ทารันติโน ‘Reservoir Dog’ที่เริ่มไม่เล่าเรื่องเป็น Sequence แต่เอามาสลับๆ กัน มันก็เป็นวิธีการการเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในนิยายมาก่อน หรือถ้าคุณดูหนังของ (ฌอง ลุก) โกดาร์ด อยู่ๆ เสือกมีคำพูดของใครสักคนก็ไม่รู้ขึ้นมา อะไรแบบนี้

ภาณุ: เป็นลักษณะของหนังอาร์ต
ธนา: ถ้าสำหรับโลกสมัยใหม่มันก็คงเรียกแบบนั้น แต่อย่างอเมริกันเนี่ย มันชัดเจนว่ากูไม่ทำหนังอาร์ตน่ะ

ภาณุ: แต่ทารันติโนก็เป็นคนอเมริกันไม่ใช่เหรอครับ
ธนา: มันก็มีอยู่จำนวนนึง ไม่ได้หมายความว่ามันไม่มี แต่คนอเมริกันส่วนใหญ่ก็อยากจะสร้างหนังที่ฮอลลีวูด ทำหนังขาย ดูง่ายๆ เน้นความบันเทิง เป็นอุตสาหกรรม ที่ผมเขียนใน ‘หนังอาร์ตไม่ได้มาเพราะโชคช่วย’ มันจะเห็นถึง Culture และวิธีคิดที่มันแตกต่างกันระหว่างอเมริกันและฝรั่งเศสว่า ตั้งแต่คอนเซ็ปต์ทีแรกแล้ว อเมริกัน ไม่ได้วางให้ภาพยนตร์เป็นอาร์ต แต่ฝรั่งเศสคิดและพยายามที่จะทำ เพราะฉะนั้นแล้ว ในท้ายที่สุดเนี่ย เมื่อ เออร์วิน ปานอฟสกี้ (Erwin Panofsky) ซึ่งเป็นบิดาคนหนึ่งแห่งประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยใหม่ของศตวรรษที่ 20 ที่อพยพหนีนาซีเข้าไปอยู่อเมริกา ไปพูดในพิพิธภัณฑ์ที่นิวยอร์กว่า “ภาพยนตร์เป็นศิลปะ” มันถึงเป็นเรื่องใหญ่มาก ผมไม่คิดว่าพี่น้องลูมิแยร์ จะคิดว่าสิ่งที่เขาคิดค้นมันจะกลายเป็นศิลปะหรอกนะ เดี๋ยวนี้คุณมีวิดีโออาร์ตแล้ว ผมคิดว่าคนคิดค้นวิดีโอก็คงจะไม่คิดว่ามันจะมีวิดีโออาร์ตใช่ไหม ก็ทำนองเดียวกัน มันค่อยๆ พัฒนาไปถึงจุดๆ นึง ซึ่งมันก็เกิดการเปลี่ยนแปลง

ภาณุ: แล้วที่คนส่วนใหญ่บอกว่าหนังอาร์ตดูไม่รู้เรื่องล่ะครับ
ธนา: คือผมว่ามันไม่ใช่ดูไม่รู้เรื่องนะ ผมคิดว่ามันหลายมิติ แล้วมันก็ต้องการความเข้าใจอะไรบางอย่าง ในการที่คุณจะดูสิ่งเหล่านี้เป็นทุนทางวัฒนธรรมน่ะ เพราะฉะนั้นการดูของพวกนี้มันเหมือนเป็นการสั่งสมน่ะ มันเหมือนคุณอ่านวรรณคดีไทยอย่าง ขุนช้างขุนแผน ถ้าคุณไม่รู้ศัพท์อะไรต่างๆ คุณก็อ่านไม่สนุกน่ะ มันก็เป็นธรรมดา

ภาณุ: การที่หนังเรื่องนี้มันดังกว่าเรื่องอื่นๆ ของเค้าเพราะว่ามีเรื่องของเซ็กส์มาเกี่ยวข้องด้วยหรือเปล่าครับ
ธนา: ผมว่าไม่ค่อยเป็นประเด็นเท่าไหร่นะครับ ผมคิดว่าอันนึงที่สำคัญก็คือ เรื่องของโลก Intellectual กับโลกของคนธรรมดา เพราะว่าตัวละครชู้รักมันก็เป็นเจ้าของห้องสมุด หรือทำกิจการเกี่ยวกับหนังสืออะไรนี่แหละ มันมีตอนนึงที่มันถูกฆ่าตาย แล้วยัดหนังสือยัดใส่ปากไปให้กิน เพราะว่าไอ้เนี่ย มันกินข้าวไปด้วย อ่านหนังสือไปด้วย ซึ่งตามมารยาทที่ดีมันก็ไม่ควรทำใช่ไหม มันก็มีลักษณะของสุนทรียะ และมันก็เต็มไปด้วยความกักขฬะ ป่าเถื่อน ซึ่งผมคิดว่ามันก็แสดงสัญลักษณ์ของใบหน้าสองด้านของชนชั้นสูง ที่มันพร้อมจะโหดร้าย แต่ในขณะเดียวกันมันก็มีความงดงามในตัวของมันเอง

ภาณุ: แล้วประเด็นการกินคนหรือ Cannibalistic ในเรื่อง อาจารย์คิดว่ามันสื่อถึงอะไรครับ
ธนา: คือไอ้ประเด็นของสิ่งที่ฝรั่งเรียกว่า Cannibalistic เนี่ย มันมีคำอธิบายเยอะมาก เช่นบางคนก็จะบอกว่าเป็นเรื่องของพิธีกรรม หรืออย่างบางสังคมที่มันขาดโปรตีนมากๆ เนี่ย มันก็จะมีการกินกันเอง บางสังคมที่ถึงเวลาพ่อแม่แก่ ก็อาจจะต้องเอาพ่อแม่ไปฆ่า หรือทิ้ง ซึ่งก็จะเห็นได้ในหนังอีกเรื่องที่ผมชอบ ซึ่ง โชเฮย์ อิมามูระ เอามาทำใหม่

ภาณุ: ก็คือเรื่องที่สอง The Ballad of Narayama
ธนา: ใช่ ซึ่งในสมัยนั้นมันคือการควบคุมประชากร พอควบคุมประชากรคุณก็ต้องเอาพ่อแม่ไปทิ้ง ซึ่งมันก็เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับความรู้สึกของชนชั้นกลางกระฎุมพี ที่ยกย่องความสำคัญของครอบครัวมาก จริงๆ หนังที่ผมชอบหลายเรื่องมันก็จะเกี่ยวข้องกัน ซึ่งจะเห็นได้อย่างนึงว่า แทบทุกเรื่องมันจะต้องมีการตายในตอนจบ

ภาณุ: การเอาคนแก่ไปทิ้งให้ตายอย่างในเรื่องนี่ สำหรับคนทั่วๆ ไปเป็นเรื่องที่ดูโหดร้ายและผิดศีลธรรมมากๆ เลยนะครับ
ธนา: อันนี้จริงๆ มันเป็นเรื่องปกตินะครับ ผมคิดว่าคนสมัยใหม่เนี่ย อาจจะรู้สึกว่าครอบครัวมันต้องรักกัน จริงๆ แล้วการฆ่าคนแก่ เอาเด็กไปทิ้ง เอาเด็กไปฆ่าเนี่ย เป็นเรื่องปกติมากนะครับของสังคมโบราณ เป็นร้อยๆ ปีแล้ว มันคือการควบคุมประชากร เพราะฉะนั้นคุณจะเห็นได้ว่า ในหนังเรื่องนี้ แม่เนี่ย อายุ 70 แล้วก็พยายามที่จะทำให้ฟันหักเพื่อจะบอกว่ากูไร้ประสิทธิภาพแล้ว มึงควรจะเอากูไปทิ้ง ส่งกูไปตาย แล้วทุกคนก็แฮปปี้ที่จะไปตาย

ภาณุ: เพื่อที่จะช่วยลดภาระในครอบครัว?
ธนา: ใช่ ก็เหมือนกับเวลาเราร้องเพลงชาติ ไทย สละเลือด ทุกหยาด เป็นชาติพลี เถลิงประเทศ ชาติไทยทวี มีชัย ชโย ก็แบบเดียวกันน่ะ เค้ายินดีที่จะไปตาย มันคือวัฒนธรรม มันคือจริยธรรมของชุมชนในยุคนั้น ในการควบคุมประชากร ยุคนี้มันก็จะรู้สึกว่า อะไรกันเนี่ย โหดร้าย คุณก็จะเห็นได้ว่า ในหนังเนี่ย ตอนฉากจบ ลูกชายมันก็จะหันมาบอกแม่ว่า แม่โชคดีนะ แม่จะไม่ทรมาน เพราะหิมะตกแล้ว แม่จะได้ตายเร็ว อันนี้เราต้องเข้าใจนะครับ ผมคิดว่าคนสมัยใหม่ไม่เข้าใจโครงสร้างครอบครัวของสังคมโบราณ อย่าลืมนะครับว่า ถ้าคุณดูในตำนานพระคัมภีร์ โมเสส นั้นก็ถูกทิ้ง โอดิปุส ก็เป็นอีกตัวอย่าง การฆ่า การทิ้งเด็กเป็นเรื่องปกติ พูดแบบนี้คนสมัยใหม่ก็จะมองว่าผมไม่มีศีลธรรม แต่ผมคิดว่าคนสมัยใหม่ไม่เข้าใจประวัติศาสตร์สังคม ว่ามันเกิดอะไรขึ้นในอดีต ผมก็เคยให้ลูกศิษย์ผมดูนะครับ เรื่องนี้ เค้าก็จะไม่ค่อยชอบ ดูแล้วตะขิดตะขวงใจ ซึ่งผมก็ว่าดีแล้วครับ เพราะมันทำให้เราหัดคิด หัดตั้งคำถามกับตัวเองว่าทำไมเราถึงตะขิดตะขวงใจ ว่าทำไมสังคมเค้าถึงเป็นแบบนี้ ว่าทำไมเค้าถึงนำเสนออะไรแบบนี้ เพียงแต่ว่าอันนี้มันก็ต้องการความรู้ความเข้าใจทางประวัติศาสตร์สังคม ผมย้ำนะครับ คำว่า ‘สังคม’ มากพอสมควร

ภาณุ: มาที่เรื่องที่สาม Duel in the Sun ครับ
ธนา: เรื่องนี้ตอนจบก็มีการตาย ซึ่ง เจนนิเฟอร์ โจนส์ กับ เกรกเกอรี เป็ก ก็จะต้องฆ่ากัน ซึ่งผมคิดว่านี่คือหนังที่โรแมน ติกที่สุดแล้ว ผมคิดว่าโรแมนติกกว่า Romeo & Juliet ทำไม? เพราะว่า ในความคิดของ Romanticism เนี่ย ไม่ใช่โรแมนติกแบบที่เราเข้าใจนะครับ ในท้ายที่สุดแล้วความรักของคุณนั้นน่ะ มันไม่มีวันที่จะได้สมหวัง และมันก็จะต้องพลัดพรากจากกันด้วยความตาย มันก็เหมือนนิยายน้ำเน่า

ภาณุ: แบบเดียวกับงานศิลปะในยุค Romantic?
ธนา: ครับ ใน Romeo & Juliet ทุกคนฆ่าตัวเอง แต่ใน Duel in the Sun เนี่ย คุณฆ่ากัน แล้วฉากเนี้ย มันก็ถูก (เปโดร) อัลโมโดวาร์ นำเอามาใช้อีกทีใน ‘Matador’ เพราะฉะนั้น มันจะมีอะไรดีไปกว่าการที่เราสองคนฆ่ากันเอง เป็นรักที่โรแมนติกที่สุดแล้ว เหมือนคุณฟังเพลงบางเพลงที่ว่า ตายด้วยน้ำมือของเธอ อะไรพรรค์นั้น (หัวเราะ)

ภาณุ: เรื่องที่สี่ครับ The Good, the Bad and the Ugly
ธนา: ผมเป็นคนที่ชอบหนัง เซอร์จิโอ ลีโอเน่ มาก ดูเกือบทุกเรื่องของเค้า ซึ่งผมว่านี่คือเรื่องที่ดีที่ สุดของเค้า The Good, the Bad and the Ugly นี่ ถ้าผมจำไม่ผิด ฉายที่ เพชรรามา ในฉากสุดท้ายที่คน 3 คน ยืนดวลกัน ลี แวน คลิฟต์, อีไล วาลลาช แล้วก็ คลินต์ อีสต์วูด คุณก็ต้องเลือกเอานะครับ ว่าคุณจะฆ่าใคร ไอ้เรื่องการจะฆ่าใครเนี่ย ผมก็นึกถึงบทละครที่เอามาทำเป็นหนังอีกเรื่องอย่าง Sophie’s Choices ที่ เมอรีล สตรีฟ มันต้องตัดสินใจว่าจะต้องเลือกเอาใคร ระหว่างลูก 2 คน ซึ่งคนนึงมันจะต้องไปค่ายกักกันของนาซี ซึ่งนั่นหมายความว่าลูกคุณจะต้องตาย ก็เป็นอีกเรื่องนึ่งที่ผมชอบ (แต่ไม่ได้เลือกมา)

ภาณุ: เรื่องที่ห้า The Seven Seals ครับ
ธนา: อันนี้ก็เป็นเรื่องความตายอีกเหมือนกัน ผมก็เป็นคน Obsessed อยู่กับความตาย เพราะฉะนั้น ผมก็เลยชอบเรื่องนี้ มันก็มีฉากเด็ดอยู่อันนึงที่ แม็ก ฟอน ซีโดว์ เล่นหมากรุกกับไอ้ Death Figure มันก็จะเป็นหนังศาสนามากๆ

ภาณุ: เล่นหมากรุกกับยมทูต?
ธนา: เออ ใช่ เป็นหนังที่ โอเค ผมดูแล้วประทับใจ อาจจะไม่ใช่เรื่องที่ดีที่สุดของ อิงมาร์ เบิร์กแมน นะครับ แต่ผมดูแล้วจำได้ ดูแล้วประทับใจ


ภาณุ: เรื่องที่หกครับ The Wild Bunch
ธนา: หนังก็โหดเหมือนกันน่ะครับ แซม เพ็กกินพ่าห์ เค้าก็ขึ้นชื่ออยู่แล้ว ว่าเลือดสาด หนังเรื่องนี้ถ้าผมจำไม่ผิด ผมดูที่โรงภาพยนตร์ฮอลลีวูด ตอนนี้ปิดไปแล้ว เดี๋ยวนี้กลายเป็นคอนโดฯ ไปหมดแล้ว ก็ฉากสุดท้ายอีกนั้นแหละครับ ที่ในที่สุดมันก็ฆ่ากันตายหมด หนังเรื่องนี้ผมคิดว่ามันเกี่ยวข้องกับสำนึกของคนรุ่นเก่า คือก่อนที่โลกมันจะเปลี่ยนมาเป็นโลกของพ่อค้าเป็นใหญ่ หรือระบบทุนนิยมเนี่ย มันเป็นเรื่องของการมีศักดิ์ศรี เกียรติยศ ไม่ว่าคุณจะเป็นใครก็ตาม เพราะฉะนั้น ในท้ายที่สุดเนี่ย จะเห็นได้ว่า หนังมันก็จบลงด้วยการที่ทุกคนก็เป็นโจรที่เหมือนๆ กับนักรบน่ะ ที่คุณจะต้องจะตายในสนามรบ มันก็ยิงกัน ซัดกันกระหน่ำ ทุกคนก็ตายหมด ซึ่งผมคิดว่าการตายตอนจบฉากเนี้ย มันจะต่างกับ ‘Butch Cassidy and the Sundance Kid’

ภาณุ: อันนั้นมันจะดูสวยงาม
ธนา: ใช่ อันนั้นมันจะดูสวยงาม มันจะทำให้คนพวกนี้เป็นฮีโร่ แล้วหนังมันก็ตัดจบไปเลย แต่ผมคิดว่า ไอ้ Wild Bunch เนี่ย มันแสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของความตาย ซึ่งหนังมันออกมาในช่วงปี 1969 ซึ่งมันคือช่วงของสงครามเวียดนามด้วย ถึงมันจะไม่ชัดเจนนักก็เถอะ


ภาณุ: เรื่องที่เจ็ด Damnation ครับ
ธนา: หนังของ เบลล่า ทาร์ เรื่องนี้ก็เป็นความสวยอีกอันนึงที่ผมชอบ หนังมันดูแล้วก็ไม่อยากเกิดเป็น มนุษย์อีกแล้ว ชีวิตบัดซบตลอดเวลา (หัวเราะ) หนังมันอืดมาก แล้วหนังมันก็... (คิดนาน) คือฝรั่งเขาเรียกว่า Nihilism (ลัทธิความคิดที่มีความเชื่อว่า ไม่มีสิ่งใดในโลกนี้ที่มีความหมายหรือมีคุณค่า และตั้งหน้าตั้งตาปฏิเสธทุกสิ่งทกอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฎหมาย ศีลธรรม และหลักศาสนา) น่ะครับ คุณปฏิเสธทุกสิ่งทุกอย่างหมด แต่ในขณะเดียวกันหนังมันก็สวยมาก หนังขาวดำ ถ่ายทำสวยมาก

ภาณุ: เรื่องที่แปดครับ Hitler : A Film from Germany
ธนา: หนังของ ไซเบอร์เบิร์ก ซึ่งยาว 7 ชั่วโมงกว่าๆ หนังเรื่องนี้ก็จะเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ ที่เค้าสร้างเรื่องราวเกี่ยวกับ ฮิตเลอร์ ในมุมมองต่างๆ ซึ่งผมว่ามันน่าสนใจ เพราะว่ามันเหมือนดูโอเปร่าผสมกับภาพยนตร์

ภาณุ: ด้วยระยะเวลา?
ธนา: ด้วยระยะเวลาด้วย อีกอย่างเพราะว่าไซเบอร์เบิร์ก ทำ Winifred (The Confessions of Winifred Wagner) ซึ่งอิทธิพลมาจาก ริชาร์ต วากเนอร์ อันนี้ไม่ได้ดูเพื่อสนุกนะครับ ดูเอาความคิดเสียเป็นส่วนใหญ่ หนังมันก็สัญลักษณ์เยอะ

ภาณุ: หนังเจ็ดชั่วโมงนี่ดูกันยังไงครับ ไม่เหนื่อยแย่เหรอ
ธนา: ก็ฉาย 2 รอบไง ดูวันนี้ 3 ชั่วโมง พรุ่งนี้มาดูอีก 4 ชั่วโมง คือหนังแบบนี้ มันไม่ได้ฉายโรงหนังหรอกครับ มันฉายในสถาบันอะไรสักอย่าง เหมือนฉายในเกอเธ่ ฉายในอาลิยองซ์ ฟองเซ่ น่ะครับ มันไม่สามารถฉายโรงได้อยู่แล้ว มาเข้าฉายพารากอนเนี่ย เจ๊งแน่นอน! เคยเอาวิดีโอมาให้นักศึกษาดู ก็บ่นกันฉิบหายวายป่วงน่ะครับ (หัวเราะ)

ภาณุ: เรื่องที่เก้า The Wind Will Carry Us ครับ
ธนา: เรื่องนี้ผมว่าเป็นหนังที่.... สวยนะครับ และก็เต็มไปด้วยบทกวีอะไรต่างๆ แล้วหนังมันก็จบลงด้วยบทกวี แต่ผมจำไม่ได้ว่ามันคืออะไร ผมชอบมากเลย ในเรื่อง ตัวเอกมันพูดโทรศัพท์อยู่กับใครก็ไม่รู้น่ะ มันโทรศัพท์มาสั่งงานอะไรต่างๆ เหมือนกับว่า คุณกำลังสื่อสารอยู่กับใครสักคนที่คุณมองไม่เห็น เหมือนกับ E.T. Phone Home น่ะ (ยิ้ม) เหมือนกับคุณเป็นคนมีความเชื่ออยู่กับศาสนา แล้วคุณสามารถติดต่อกับใครสักคนนึงที่คุณมองไม่เห็นตัว อันนี้ก็เป็นหนังอิหร่านรุ่นใหม่ๆ เรื่องนึงที่ผมชอบ

ภาณุ: เรื่องสุดท้ายครับ Rear Window
ธนา: หนังของ ฮิตช์ค็อก ผมว่ามันเป็นหนังที่มีมุมกล้องอะไรต่างๆ ซึ่งเหมาะสมสำหรับการเรียนภาพยนตร์ และในขณะเดียวกันมันก็ให้เซ้นส์ของโลกสมัยใหม่ที่ว่า ในท้ายที่สุดแล้ว ความเสื่อมของมนุษย์มันก็นำไปสู่ความฉิบหายของตัวคุณเองได้ โดยการที่คุณเข้าไปยุ่งเรื่องราวของชาวบ้าน และโลกปัจจุบันมันก็เป็นโลกที่สุดท้ายแล้วเนี่ย คุณรับรู้ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่ามันจะจริงหรือไม่จริงผ่านเลนส์ทั้งนั้น

ภาณุ: เป็นสัจธรรมของโลกสมัยใหม่
ธนา: ใช่ เพราะคุณต้องรับรู้ทุกสิ่งทุกอย่างผ่านสื่อหมด เพราะฉะนั้นสื่อมันก็จะเป็นตัว Shape ทุกสิ่งทุกอย่าง ว่าจะให้คุณเห็นอะไรหรือไม่เห็นอะไร ผมคิดว่าภาพยนตร์เรื่องนี้มันก็อาจจะเป็นอีกเรื่องนึง ซึ่งมันทำให้โลกสมัยใหม่เห็นว่า เวลาคุณมองออกไปข้างนอกเนี่ย เหมือนกับเวลาที่ จิมมี่ สจ๊วร์ต มันเอาเลนส์ขึ้นมาส่อง คุณก็มองโลกผ่านเลนส์แบบนั้นแหละ มันไม่มีใครในโลกนี้ที่ไม่มีเลนส์ มันต้องมีเลนส์อะไรบางอย่าง เลนส์อันนี้คุณจะได้มาจากอะไรก็แล้วแต่ แต่มันเป็นสิ่งที่มันติดอยู่กับตัวคุณ มัน Process อยู่ในสมองของคุณเรียบร้อยแล้ว

ภาณุ: แล้วอย่างงี้ความเป็นจริงมันอยู่ตรงไหนล่ะครับ
ธนา: มันก็คงจะมีนะครับ ความเป็นจริง แต่ว่าในที่สุดแล้วเนี่ย เราอาจจะเห็นข้อมูลอะไรบางอย่าง แล้วเราตีความข้อมูลแตกต่างกันออกไป เราจับ เราเรียงลำดับเรื่องแตกต่างกัน ความจริงมันมีอยู่ แต่เราก็จะเลือกเอาแค่อะไรบางอย่างที่เราคิดว่ามันเกี่ยวข้องเท่านั้นเข้ามา

ภาณุ: ความเป็นจริงทุกวันนี้ถูกบิดเบือนโดยสื่อ?
ธนา: ผมไม่ได้คิดว่าเค้าตั้งใจจะบิดเบือนนะ เหมือนกับที่คุณเลือกมุมมองเวลาถ่ายรูป เวลาเราถ่ายรูปเนี่ย เรายืนในจุดที่เราถ่ายมันใช่ไหม เราไม่ได้ถ่ายรูปจาก 360 องศา มันก็เป็นแค่เฟรมอันนึงที่คุณมอง อย่างอื่นนอกเฟรมมันก็ไม่เกี่ยวข้อง เพราะฉะนั้นเนี่ย มันไม่ได้เพราะว่าคุณมีอคติ แต่อคติมันคือสิ่งที่มันอยู่ในตัวตนของคุณอยู่แล้ว เหมือนกับคุณดูทีวี 3 ช่อง ข่าว 3 ข่าว AL JAZEERA, BBC, CNN เอาเฉพาะที่พูดภาษาอังกฤษนะครับ คุณก็จะเห็นได้ว่า ถึงแม้เค้าจะนำเสนอเรื่องเดียวกัน แต่มันก็จะมีมุมมองที่แตกต่างกันออกไป เรามีกระบวนการในการเลือกสรรข้อมูล ที่จะเห็นสีอะไร และไม่เห็นสีอะไรบางอย่าง ก็เหมือนกับใน Rear Window น่ะครับ

ภาณุ: ในฐานะนักวิชาการ อาจารย์คิดว่าเราสามารถศึกษาวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ หรือวิธีคิดของคนแต่ละชนชาติผ่านหนังเรื่องหนึ่งได้ไหมครับ
ธนา: ผมว่าค่อนข้างจะได้นะครับ อย่างเช่น หนังฮอลลีวูดกับหนังฝรั่งเศสมันก็จะไม่เหมือนกัน ชัดเจนว่าหนังฮอลลีวูดมันมีสูตรของมัน และจบตายตัว สังคมอเมริกันมันเป็นสังคมที่บ้าศีลธรรมมาก เพราะฉะนั้นหนังอเมริกันมันก็จะมีนัยยะของการสั่งสอนของศีลธรรมอยู่ตลอดเวลา ผมยกตัวอย่างชัดเจนที่สุดนะครับ หนังเรื่องที่ เกลน โคลส เล่นกับ ไมเคิล ดักลาส ‘Fatal Attraction’ หนังเรื่องนี้ ในพล็อตตอนจบจริงๆ นั้นผู้หญิงคนที่เล่นโดย เกลน โคลส เนี่ย จะต้องฆ่าตัวตาย แต่ปรากฏว่า คนสร้างกลัวว่าสังคมอเมริกันจะไม่พอใจ ก็เลยต้องเปลี่ยนบทให้กลายเป็นว่า เมียเป็นคนมาฆ่าแทน เพราะว่ายูมายุ่งกับครอบครัวชั้น

ภาณุ: เลยต้องโดนลงโทษ?
ธนา: ใช่ เพราะฉะนั้นหนังอเมริกันดูแล้วมันก็จะสะท้อน Mentality หรือวิธีคิดของคนอเมริกันสูงมาก อาจจะมีคนทำหนังอินดี้หรือหนังอาร์ตอะไรออกมาบ้าง แต่ในท้ายที่สุดมันก็จะถูกระบบกลไกของหนังฮอลลีวูดเปลี่ยนไป ผมยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าคุณดูหนังของ ปีเตอร์ เวียร์ สมัยที่เค้าทำอยู่ในออสเตรเลีย กับหนังที่เค้าทำอยู่ในฮอลลีวูด มันก็จะคนละเรื่องกันแล้ว แม้กระทั่ง หลุยส์ มาร์ล หรือ ฟริตซ์ แลง ก็ตกอยู่ในสภาพแบบเดียวกัน

ภาณุ: แปลว่ารสนิยมทางศิลปะของคนอเมริกันก็ไม่ได้ดีเด่อะไรนัก?
ธนา: คืออย่าลืมนะครับ ในประเทศ G7 ที่เป็นทุนนิยมก้าวหน้าและร่ำรวยทั้งหมดเนี่ย สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีพาสปอร์ตน้อยที่สุดนะครับ นั่นหมายความว่า คนอเมริกันเดินทางออกนอกประเทศเพื่อที่จะรู้จะโลกน้อยกว่าคนในชาติอื่นๆ ด้วยกัน เพราะฉะนั้น คนอเมริกันในสายตาของคนจำนวนมากที่มีการศึกษา ก็จะถือว่าเป็นคนที่ค่อนข้าง... ผมไม่อยากใช้คำนี้เลยนะครับ แต่เค้าก็มักจะใช้กันคือ ‘โง่’ น่ะ ต้องเข้าใจว่าอเมริกามันใหญ่มากนะครับ แต่ส่วนใหญ่ที่เราเห็นความหรูหรา ความยิ่งใหญ่ ความฉลาดเฉลียว มันผ่านฮอลลีวูดน่ะ คนทุกคนไม่ได้เป็นแบบ ‘Sex and the City’ แต่ที่คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจแบบนั้น เพราะอเมริกาเค้าสร้างโลกผ่านฮอลลี วูดไง จริงๆ มันก็มีคนฉลาด มีคนดีแหละ ส่วนคน... อย่าเรียกว่าเค้าโง่เลย ผมคิดว่าเค้าไม่รู้ เค้าไม่เปิดโลก เพราะฉะนั้น พอคนไทยไปอเมริกาแล้วโดนถามว่าเมืองไทยอยู่ที่ไหน ยังขี่ควายกันอยู่ไหม อันนี้ก็เป็นเรื่องปกติ ผมว่าลองไปถามคนไทยว่า คุณรู้จักประเทศบูร์กินาฟาโซ (Burkina Faso) ไหม ผมคิดว่าคนไทยจำนวนมากก็ไม่รู้จัก

ภาณุ: ผมก็ไม่รู้จักครับ
ธนา: เป็นประเทศหนึ่งที่ทำหนังที่ดีมากเลย อยู่ในทวีปแอฟริกา เพราะฉะนั้นอย่าไปเรียกว่าเค้าโง่เลย ผมว่ามันอยู่ที่ว่าเค้าเปิดโลกมากน้อยแค่ไหนมากกว่า แล้วหนังอาร์ตเนี่ย พูดกันตรงๆ ว่า คนดูมันน้อยอยู่แล้วทุกที่ ผมไม่คิดว่าคนอิตาเลี่ยนทุกคนชอบดูหนัง (เฟรเดอริโก) เฟลลินี่ หรือคนอังกฤษทุกคนจะชอบดูหนังของ ปีเตอร์ กรีนอะเวย์ มันก็มีคนจำนวนมากที่บอกว่ายังไงกูก็ไม่ดูเด็ดขาด แถมด่าเสียด้วยว่าดัดจริต เพราะถ้าคุณมีสำนึกทางชนชั้นสูง คุณก็จะไม่อยากดูหนังพวกนี้

ภาณุ: หนังให้อะไรกับอาจารย์บ้างครับ
ธนา: ไม่รู้สิครับ (หัวเราะ) ผมไม่รู้ว่ามันให้อะไรกับผมหรือเปล่า แต่ผมว่ามันก็คือส่วนนึงของชีวิตผมน่ะ ถามว่ามันให้อะไรไหม มันก็อาจจะให้ข้อคิดกับเรา เมื่อผ่านมาสักพักนึงแล้วเราคิด อะไรกับมัน อย่างที่คณะเนี่ย มันจะมีวิชา การเมืองกับนวนิยาย ซึ่ง อาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เป็นคนสอน ผมเนี่ยไม่ค่อยชอบใช้นวนิยาย เพราะสมมุติผมใช้นิยายเรื่องนึง มันต้องลงทุนอ่านประมาณ 400 หน้า คุณก็ต้องใช้เวลาเป็นวันๆ แล้วผมคิดว่า คนจำนวนหนึ่งในประเทศไทย นักศึกษาจำนวนมาก ก็ไม่ได้อยู่ในวัฒนธรรมของการอ่านหนังสือ หนังเป็นสื่อที่ง่ายที่สุดในการ ทำความเข้าใจ 2 ช.ม. ก็จบ เข้าถึงได้ง่ายกว่า สมมุติผมให้คุณไปอ่าน มาร์แซล พรูซ กับให้คุณไปหยิบหนังเรื่อง ‘Swan in Love’ มาดูเนี่ย อย่างหลังมันง่ายกว่าอยู่แล้วล่ะ คุณอ่าน มาร์แซล พรูซ ไป 2 หน้า คุณปวดหัวตายห่าเลย (หัวเราะ) มันอาจจะหยาบสำหรับคนที่คิดมาก แต่ผมไม่ค่อยคิดมากไง เพียงแต่ว่ารายละเอียดมันคงสู้นิยายไม่ได้ ผมว่ามีหนังน้อยเรื่องมากนะครับ ที่มันจะทำได้ใกล้เคียงกับนิยาย หนังที่ทำมาจากนิยายหลังๆ ที่ผมดูแล้วคิดว่าดี ก็คือ Atonement ของเอียน แม็กเอเว่น เนี่ย ผมว่าทำได้ดี ใกล้เคียงมาก แต่ผมก็ไม่คาดหวังนะครับ เค้าบอกแล้ว ‘Adapted from’ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้ มันเป็นสื่อคนละชนิดกันอยู่แล้ว

1. The Cook, the Theif, His Wife & Her Lover (1989)
กำกับ : ปีเตอร์ กรีนอะเวย์ แสดง : เฮเลน มีร์เรน, ไมเคิล แกมบอน
ผลงานที่เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากที่สุดของเจ้าพ่อหนังอาร์ตเฮาส์แห่งเกาะอังกฤษ ปีเตอร์ กรีนอะเวย์ ที่ว่าด้วยเรื่องราวของ เศรษฐี ภรรยา กับชู้รัก และการทำอาหารด้วยเนื้อของมนุษย์

2. The Ballard of Narayama (Narayama bushiko) (1983)
กำกับ : โชเฮย์ อิมามูระ แสดง : เคน โอกาตะ, สุมิโกะ ซากาโมโต้
ผลงานรีเมคสุดอื้อฉาวของ โชเฮย์ อิมามูระ เจ้าของรางวัลปาล์มทองคำหนังยอดเยี่ยมเทศกาลหนังเมืองคานส์ ที่สร้างจากประวัติศาสตร์ในยุคโบราณของญี่ปุ่น ที่ลูกๆ นำพ่อแม่ในวัยชราไปทิ้งให้ตายอย่างโดดเดี่ยวบนภูเขา

3. Duel in the Sun (1946)
กำกับ : คิงก์ ไวเดอร์ แสดง : เจนนิเฟอร์ โจนส์, โจเซฟ คอตตอน, เกรกเกอรี เป็ก
เรื่องราวหญิงสาวที่พ่อถูกประหารชีวิตจากการสังหารเมียกับชู้ จนเธอต้องไปอาศัยกับญาติ และเกิดความรักกับชายหนุ่มเพือนบ้าน ซึ่งจบลงด้วยความตายของทั้งคู่

4. The Good, the Bad and the Ugly (Il buono, il brutto, il cattivo) (1966)
กำกับ : เซอร์จิโอ ลีโอเน่ แสดง : คลินต์ อีสต์วูด, อีไล วาลลาช, ลี แวน คลิฟต์
หนังคาวบอยสปาเก็ตตี้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนังคาวบอยตะวันตกที่ดีที่สุดตลอดกาลเรื่องหนึ่ง กับเรื่องราวของชายสามคน จากต่างสถานที่ แต่ก็มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือการตามหาขุมทองที่ถูกฝังไว้ในสุสานแห่งหนึ่ง

5. The Seven Seals (1957)
กำกับ : อิงมาร์ เบิร์กแมน แสดง : แม็ก ฟอน ซีโดว์
ผลงานของผู้กำกับบรมครู อิงมาร์ เบิร์กแมน ที่เต็มไปด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ ให้ตีความ กับเรื่องราวของชายคนหนึ่ง ที่ค้นหาคำตอบเกี่ยวกับชีวิต ความตาย และการดำรงอยู่ของพระเจ้า โดยมีฉากเด่นอยู่ที่การดวลหมากรุกระหว่างเขากับมัจจุราช

6. The Wild Bunch (1969)
กำกับ : แซม เพ็กกินพ่าห์ แสดง : วิลเลียม โฮลเดน, เออร์เนส บูร์กจีน
ผลงานมาสเตอร์พีสของแซม เพ็กกินพ่าห์ หนึ่งในภาพยนตร์ตะวันตกยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาลอีกเรื่อง ที่ถ่ายทอดเรื่องราวการละเลงเลือดของเหล่าคนนอกกฎหมายที่มีศักดิ์ศรีเป็นเดิมพัน ด้วยกระสุนปืน คาวเลือด และความรุนแรงแบบไม่ยั้งมือ

7. Damnation (1988)
กำกับ : เบลล่า ทาร์ แสดง : กาบอร์ บาโลห์, ฮานอส บาโลห์
หนังสุดหดหู่ของปรมาจารย์แห่งความนิ่งงัน เบลล่า ทาร์ ที่ถ่ายทอดชีวิตอันหดหู่ของชายคนหนึ่ง ที่ตกอยู่ในวังวนของความสิ้นหวัง ที่ความมุ่งมั่นครั้งสุดท้ายในชีวิตของเขาคือการเป็นชู้กับเมียชาวบ้าน

8. Hitler : A Film from Germany (Hitler - ein Film aus Deutschland) (1978)
กำกับ : ฮันส์ เจอร์เกน ไซเบอร์เบิร์ก แสดง : อังเดร เฮลเลอร์, แฮร์รี เบย์
ผลงานเรื่องสุดท้ายของไตรภาคอันยิ่งใหญ่และอลังการที่สุดของ ฮันส์ เจอร์เกน ไซเบอร์เบิร์ก ที่ถ่ายทอดความฝันของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ในรูปแบบสื่อศิลปะอันหลากหลาย อาทิ ละครเวที โอเปร่า ภาพข่าว ฟุตเตจภาพยนตร์ หุ่นกระบอก แทรกด้วยเสียงวิทยุ ดนตรีคลาสสิกและเพลงป๊อบหลากยุคสมัย ซึ่งมีความยาวกว่า 7 ชั่วโมง

9. The Wind Will Carry Us (Bad ma ra khahad bord) (1999)
กำกับ : อับบาส เคียรอสตามี แสดง : บาซาด์ โดรานี, โนฆ์เรห์ อาซาดี
หนังเล็กๆ เรียบง่าย แต่น่าประทับใจจากอิหร่านเรื่องนี้ ถ่ายทอดการเรียนรู้ความหมายชีวิตของคนจากเมืองใหญ่ ผ่านความตายของคนในเมืองเล็กๆ ของชนบท ด้วยภาพและเรื่องราวที่งามราวกับบทกวี (แถมในเรื่องยังมีบทกวีจริงๆ ด้วย)

10. Rear Window (1954)
กำกับ : อัลเฟรด ฮิตช์ค็อก แสดง : เจมส์ สจ๊วร์ต, เกรซ เคลลี่
ผลงานระทึกขวัญสุดคลาสสิกอีกเรื่องหนึ่งของปรมาจารย์หนังสยองขวัญตลอดกาลอย่าง อัลเฟรด ฮิตช์ค็อก ที่เล่าเรื่องรายของชายหนุ่มคนหนึ่งที่แอบถ้ำมองเพื่อนบ้านจนเจอดี




 

Create Date : 08 เมษายน 2553   
Last Update : 8 เมษายน 2553 11:47:49 น.   
Counter : 4542 Pageviews.  


5x2 ดูหนังอย่าง OPEN กับ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา UNCUT

เรื่อง/ภาพ : ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์

เมื่อหลายปีที่ผ่านมา มีนิตยสารรายเดือนเล่มหนึ่ง ที่นอกจากจะมีความโดดเด่น ในการวิเคราะห์ วิพากษ์ และนำเสนอความเป็นไปของเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ไปจนถึงศิลปวัฒนธรรมของบ้านเราได้อย่างลึกซึ้งแหลมคมแล้ว มันยังเป็นนิตยสารน้ำดีอีกเล่มที่อัดแน่นและเต็มเปี่ยมไปด้วยเนื้อหา ท่ามกลางนิตยสารมากหน้าหลายตาที่ให้ความสำคัญกับโฆษณามากกว่าสาระบนแผงหนังสือบ้านเรา นิตยสารเล่มนั้นมีชื่อว่า ‘OPEN’
หลังจากการปิดตัวของนิตยสารลงท่ามกลางกระแสธารอันเชี่ยวกรากในการแข่งขันของธุรกิจนิตยสาร บรรณาธิการหนุ่มผู้เปรียบเสมือนขุมสมองและผู้ให้กำเนิด OPEN อย่าง ‘ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา’ ก็ผันตัวมาทำสื่อที่เขาบอกว่า ช้ากว่า นิ่งกว่า แต่ลึกซึ้งและยั่งยืนกว่าอย่างวรรณกรรม ภายใต้ชื่อสำนักพิมพ์ Openbooks เขาผลิตหนังสือซึ่งเป็นเหมือนกับตัวเลือกทางปัญญาที่แตกต่างอีกเส้นทางสำหรับหรับคอวรรณกรรมเล่มแล้วเล่มเล่า
วันนี้เราได้รับโอกาสอันดีให้เข้าไปพูดคุย สอบถามความคิดและทัศนคติเกี่ยวกับ ‘หนัง’ ที่เขาเคยดูผ่านตามาในชีวิตกัน จึงเป็นที่น่าสนใจสำหรับเราว่า การดูหนังของคนทำสื่อช่างคิด ช่างวิเคราะห์และตั้งคำถามอย่างเขา จะมีแง่มุมที่น่าสนใจยังไง
มาร่วมกันอ่านความคิดของเขาผ่าน 10 หนังที่เขาเลือกมาคุยให้เราฟังกันเถอะ

ภาณุ: สถานการณ์ของ Openbooks ตอนนี้เป็นยังไงบ้างครับ
ภิญโญ: สถานการณ์ของ Openbooks ก็อยู่กันไปเพลินๆ น่ะครับ คือไอ้ตอนที่เค้าเฟื่องฟู เราก็ไม่ได้เฟื่องฟูกับเค้ามาก ไอ้ตอนที่เค้าตกต่ำเราก็ไม่ได้ตกต่ำกับเค้ามาก ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นยังไง เราก็เหมือนมีคนอ่านอยู่กลุ่มนึงที่เค้าให้การสนับสนุนเราอยู่ แล้วเราก็ค่อนข้างเลือกแนวทางที่ชัดเจนว่าเราทำหนังสือแนวไหน เพราะฉะนั้นคนอ่านเค้าก็รู้จักว่าเราเป็นใคร เค้าจะหาอะไรได้จากเรา เราอยู่ได้ด้วยกลุ่มของคนอ่านที่เป็น Serious Readers ที่น่าจะมีอยู่กลุ่มเล็กๆ กลุ่มนึงในเมืองไทย เราก็ไม่ได้ขยายตัวเติบโตมาก เหมือนกับคนอื่นที่เค้าตั้งเป้าหมายทางธุรกิจกัน เราไม่เคยตั้งเป้า แต่เราจะทำยังไงให้คุณภาพชีวิตไอ้พวกเรากันเองที่ทำงานมันดีขึ้น ทำไงให้ชั่วโมงการทำงานในแต่ละปีมันน้อยลง มีเวลาพักผ่อนและเดินทางกันให้มากขึ้น ให้คนที่ทำงานด้วยกันแต่ละคนมันเติบโตทั้งด้านนอกและด้านใน มีเวลาอ่านหนังสือมากขึ้น มีเวลาพัก มีเวลาคิด มากขึ้น ทำหนังสือให้ไม่มากขึ้น แต่ว่าคุณภาพดีขึ้นในทุกๆ ทาง ทั้งเนื้อหาและออกแบบรูปเล่ม เป้ามันอยู่ตรงนั้น เราพัฒนากันอยู่ด้านใน ไม่ได้พัฒนาทางตัวเลขว่ามันจะต้องเติบโตยังไง นี่คือสถานการณ์ของเราในปัจจุบัน

ภาณุ: แล้วการอยู่รอดของสำนักพิมพ์ล่ะครับ ขึ้นอยู่กับอะไร
ภิญโญ: เราอยู่รอดด้วยทำสิ่งที่เราทำอยู่ให้มันชัดเจน แล้วมันตอบสนองในตลาดได้ว่า มันอาจมีความต้องการตรงนี้ที่คนอื่นอาจจะไม่ได้มาทำอยู่ เพราะมันไม่ได้ให้ผลคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมากนัก ทำหนังสือเรื่องนึงขายหลายหมื่นเล่มกับทำขายสองพันเล่มนี่ความเหนื่อยมันเท่ากัน คนก็จะเลือกทำที่มันมีแนวโน้มว่าจะขายได้หลายหมื่นเล่ม ในขณะที่เราทำแล้วขายได้พันสองพันเล่มเราก็แฮปปี้แล้ว ที่เราอยู่ได้ก็เพราะต้นทุนเราต่ำ เราไม่ได้ใช้เงินกันฟุ่มเฟือยมาก

ภาณุ: อยู่ได้ด้วยยอดขายจริงๆ
ภิญโญ: แน่นอนอยู่แล้ว สำนักพิมพ์อยู่ได้ด้วยวิธีอื่นไม่ได้ ไม่เหมือนแม็กกาซีนที่ต่อให้ขายหมดมันก็ไม่มีกำไร มันต้องพึ่งโฆษณาอย่างเดียว นี่คือจุดที่มันต่างกัน ต่อให้คุณเก่งแค่ไหน ขายดีแค่ไหน มันก็แบกต้นทุนอะไรไว้เยอะ ขึ้นอยู่กับว่าคุณยังรักที่จะทำไหม ถ้าคุณรักที่จะแบก แล้วคุณสนุกที่จะคุยกับสังคมทุกๆ เดือน คุณก็ทำต่อไป แต่วันนึงเมื่อคุณเริ่มอายุมากขึ้น คุณไม่ได้ต้องการคุยกับสังคมถี่นัก คุณอยากมีชีวิตที่ช้าลง คุณก็เปลี่ยนอาชีพได้ คุณก็เลือกได้ว่าคุณจะเดินทางไหน ความสนุกในวัยเด็กมันได้ใช้ไปแล้วไง มันไม่ได้มีอะไรติดค้างแล้ว ตอนทำแม็กกาซีนนี่อายุประมาณ 29 เอง ทำมาจนถึงประมาณ 30 กว่าๆ มันก็มันเต็มที่น่ะ ทำตามใจตัวเองนะ ไม่ได้ทำตามใจตลาดเลย (หัวเราะ) ก็รู้สึกว่าก็สาแก่ใจแล้ว

ภาณุ: ชีวิตนิ่งขึ้น เรียบง่ายขึ้น?
ภิญโญ: ใช่ ใช้ชีวิตช้าๆ มีเวลาอ่านหนังสือเยอะ ทำงานช้าลง มีความสุขมากขึ้น ไม่ได้ทุกข์ทนทรมานน่ะ รู้สึกว่าพอไม่มีปัญหาเรื่องนิตยสารแล้วชีวิตมันดีขึ้น (หัวเราะ)

ภาณุ: ช่วงนี้นอกจากอ่านหนังสือเยอะแล้ว ได้ดูหนังบ้างไหมครับ
ภิญโญ: ดูหนังไม่เยอะมาก ช่วงหลังกลายเป็นคนดูหนังน้อยลงไปมาก สมัยหนุ่มๆ ทุกคนก็จะดูหนังกันเยอะใช่ไหม หนังเป็นวิธีการพักผ่อนของคนเมืองที่ง่ายที่สุด คุณซื้อบัตรแล้วคุณมีเวลาสองชั่วโมงตรงนั้น แต่พอคุณอายุมากขึ้นเนี่ย วิธีที่คุณจะฝ่าฟันการจราจรเข้าไปเพื่อจะไปแย่งกับคนเยอะๆ ต้องไปรอไอ้กระบวนการกว่าที่จะดูหนังได้เนี่ย มันทอนพลังงานไปเยอะ ไอ้ความพยายามที่จะไปดูหนังมันก็น้อยลง มาดูดีวีดีแทนบ้าง แต่ก็จะมีบางช่วงเวลาของชีวิตที่ไม่ได้เปิดหนังดูเลยแม้แต่เรื่องเดียว ก็จะอ่านหนังสือบ้าง ทำอย่างอื่นไปบ้าง

ภาณุ: ถ้าให้เทียบกันระหว่างสื่ออย่างหนังกับหนังสือ คุณคิดว่ามันมีความแตกต่างกันยังไงครับ
ภิญโญ: หนังมันมีแง่งามของมันเยอะนะ อย่างหนังสือบางเล่มเนี่ย บางทีเราไม่มีเวลาไปอ่านหนังสือที่มันหนาหรือมันยาวขนาดนั้นในชีวิตปัจจุบันแล้วน่ะ ทั้งๆ ที่มันอาจจะมีความลุ่มลึกอยู่ ผมไม่อ่าน แฮร์รี่ พอตเตอร์ หรอก ยาวซะขนาดนั้น แต่ถ้ามีคนชวนผมไปดูหนัง แฮร์รี่ พอตเตอร์ ผมดู หนังมันช่วยย่นย่อ ช่วยสานต่อจินตนาการทั้งหมดออกมา แม้ว่ามันอาจจะเก็บประเด็นไม่หมด แต่อย่างน้อยๆ เราก็รู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น แต่หนังมันถูกก็จะจำกัดเวลา มันต้องจบภายใน 2 ชั่วโมงที่คุณอยู่ในโรง ถึงแม้ว่าคุณจะมีความสงสัย คุณนั่งต่อมันก็ไม่มีคำตอบ ในขณะที่หนังสือเป็นสื่อที่ไม่มีเวลา คุณจะใช้เวลากับมันนานแค่ไหนก็ได้ คุณจะอ่านซ้ำกี่เที่ยวก็ได้ ในแต่ละเที่ยวความรู้สึกของคุณอาจจะไม่เหมือนกันก็ได้ ธรรมชาติของสื่อมันไม่เหมือนกัน มันมีดีมีด้อยแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่า จังหวะนั้นคุณต้องการเสพสื่อแบบไหน

ภาณุ: เข้าเรื่องหนังที่คุณภิญโญเลือกมาเลยดีกว่านะครับ (เดี๋ยวจะยาว) เรื่องแรกครับ ‘แผลเก่า’
ภิญโญ: คือผมน่ะเป็นคนบ้านนอก ฉะนั้นผมดูหนังไทยมาก่อน เด็กๆ ที่บ้านผมมันมีโรงหนังอยู่โรงนึง ชื่อโรงภาพยนตร์บุญปัญญา อยู่อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ความโชคดีอย่างนึงคือ ไอ้เพื่อนร่วมชั้นของผมคนนึงเนี่ย แม่มันเป็นคนเฝ้าประตูโรงหนัง ชื่อ เจ๊แป๋ว ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ ฝากขอบพระคุณด้วย (หัวเราะ) เพราะงั้น ผมก็เลยมีโอกาสที่จะเข้าไปดูหนังฟรี ด้วยการตามเพื่อนผมคนนี้เข้าไป แล้วสมัยก่อนเค้ายังฉายหนังกลางแปลงเพื่อแก้บนอยู่เยอะมาก ถ้าดูในโรงยังไม่พอ ก็ไปหาดูตามงานวัดตามศาลเจ้าได้ ไอ้การดูหนังมันเริ่มมาจากตรงนั้น ซึ่งหนังมันก็หนีไม่พ้นหนังไทย หนังจีน ไอ้หนังเรื่องแรกที่ผมเลือกมา คุยเลยเป็น ‘แผลเก่า’ เวอร์ชั่นแรก ของคุณ เชิด ทรงศรี ที่คุณสรพงศ์ ชาตรี, นันทนา เงากระจ่าง เล่นน่ะ (หัวเราะ) เออ เพราะถ้าถามว่าความทรงจำวัยเด็กเกี่ยวกับหนังไทยมันคืออะไร คืออารมณ์ประมาณเนี้ย มันคือ ไอ้ขวัญ อีเรียม ที่จำได้คือผมไปดูรอบดึก แม่ผมก็จะเดินมาตามทุกทีเลย ร้องตะโกนลั่นโรงหนังเลย เรียกชื่อเรา เราก็จะค่อยๆ ทรุดตัวลง (หัวเราะ) แอบไม่ให้แม่เห็น แล้วรู้สึกว่าเรื่องนี้แม่ผมมาตามผมเสร็จแทนที่จะกลับบ้านพร้อมกัน แม่เลยนั่งดูด้วยเลย ทุกวันนี้คุยกับแม่ แม่ก็ยังจำเรื่องแผลเก่าได้ ที่นี้ตอนที่ผมมาอยู่กรุงเทพฯ ผมอยู่แถวๆ มีนบุรี ไอ้บรรยากาศมีนบุรีในช่วงที่ผมอยู่เมื่อ 20 ปีที่แล้วเนี่ย มันยังทันเห็นฉากของแผลเก่านะ มันจะมีคลองที่น้ำใสมาก แล้วก็มีต้นไทรใหญ่ๆ ยื่นลงไปในน้ำ มันเป็นฉากที่สรพงศ์เป่าขลุ่ยในเรื่องแผลเก่าเลย คือเราดูหนัง ได้มีจินตนาการร่วมกับคุณเชิด แล้วได้มาเห็นฉากชีวิตจริงๆ ของชนบทชานเมืองกรุงเทพฯ พอโตขึ้นแล้วได้มาอ่านวรรณกรรมของ ‘ไม้ เมืองเดิม’ ไอ้ความผูกพันตรงนี้มันเลยสูงมาก แล้วภาษาในเรื่องมันจริงใจมาก ฟังดูตอนนี้มันอาจจะเชย

ภาณุ: แต่คลาสสิก
ภิญโญ: ช่าย วันนี้เราอาจจะพูดว่าเชย แต่วันนั้นคนร้องไห้กันทั้งโรง ไอ้ผมดูก็ร้องไห้นะ ฉากสุดท้ายที่ไอ้ขวัญมันฆ่าตัวตายน่ะ มึงไม่รักกูแล้ว กูไม่มีทางสู้ในชีวิตแล้ว ความรักอันสูงสุดของกูคือความรักที่กูมีต่อมึงมันไม่เหลือแล้ว กูตายเสียดีกว่าว่ะ แล้วนางเอกก็เลยตายตามไปด้วย ที่สุดความรักมันสามารถเอาชนะความหลงได้ โรแมนติกมากนะ ยุคนั้นเราเด็กๆ ด้วย โอ๊ย! คนร้องไห้กันทั้งบ้านทั้งเมือง (หัวเราะ)

ภาณุ: เรื่องที่สอง ‘มนต์รักทรานซิสเตอร์’ ครับ
ภิญโญ: ถ้าเทียบเรื่องแผลเก่ามันเป็น 20 ปีที่แล้ว ถ้าสักประมาณ 10 ปี ที่ผ่านมามันมีอะไรที่มันย้อนความ รู้สึกนี้ได้ ผมเลือกเรื่อง ‘มนต์รักทรานซิสเตอร์’ ของ เป็นเอก รัตนเรือง ซึ่งคนเขียนคือ คุณวัฒน์ วรรลยางกูร ซึ่งเขียนหนังสือเล่าอารมณ์ชนบทออกมาได้ดีมาก สวยมาก แล้วไอ้เรื่องนี้มันกลับข้างกัน ไอ้แผลเก่าเนี่ย อีเรียมมันได้ดี หนีเข้าไปในกรุงเทพฯ แล้วก็ไปหลงแสงสี ทิ้งไอ้ขวัญไป แต่มนต์รักทรานซิสเตอร์มันกลับข้าง

ภาณุ: ผู้ชายไปหลงแสงสีแทน
ภิญโญ: เออ! (หัวเราะ) ไอ้ผู้ชายหลงแสงสี แล้วก็หนีเข้ากรุงเทพฯ อีนางผู้หญิงไปตาม แล้วในที่สุดไอ้ผู้ชายกลับมาตายรัง จริงๆ แล้วมันพล็อตเดียวกันน่ะ คือการหลงแสงสีของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แล้วกลับมาตายรัง ในขณะที่ ไอ้ขวัญ อีเรียม มันตายจริงๆ แต่ในมนต์รักทรานซิสเตอร์มันกลับมาตายรัง คือกลับมาหา ‘ราก’ ของมัน มันสะท้อนว่า คนไทยพอมันเจอปัญหา เจอวิกฤติ ในที่สุดมันกลับมาหารากของมัน คือบ้าน คือชนบท ที่ๆ ให้ความอบอุ่นมากที่สุด ตอนเมืองไทยเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจปี ‘40 เนี่ย ถึงที่สุดคนไทยไปไหน ที่รอดมาได้ก็คือคนไทยกลับบ้านไง ไอ้ชนบท ท้องนา ภาคเกษตรกรรม มันรองรับไอ้ความฉิบหายของสังคมเมืองที่ทำไว้ได้หมด หนังเรื่องนี้น่ะ มันตอบความหมายของยุคสมัยได้ แผลเก่าก็ด้วย เหมือนกันเลย มันสะท้อนสังคมไทยในยุคสมัยของมัน

ภาณุ: ทั้งๆ ที่คุณเป็นเอกเป็นคนที่ทำหนังสมัยใหม่ๆ มากๆ
ภิญโญ: ใช่ แต่ก็ไปจับไอ้เรื่องที่มันโบร้า ณ โบราณ พล็อตโคตรเชยเลยนะ เออ แต่พอกลับข้าง เปลี่ยนวิธีการเล่าเรื่อง เอาเพลงใส่เข้าไป กลายเป็นหนังสมัยใหม่ ใช้เพลงสุรพลน่ะ โคตรเชยเลย (หัวเราะ) แต่ทำไมดูแล้วมันเท่ขึ้นมาได้วะ

ภาณุ: ความดีงามขอหนังทั้งสองเรื่องนี้ ต้องยกประโยชน์ให้วรรณกรรมรึเปล่าครับ
ภิญโญ: คือทั้งสองเรื่องต้องยกประโยชน์ให้กับวรรณกรรม แต่ก็ไม่สามารถให้เครดิตวรรณกรรมอย่างเดียวได้ เพราะถ้าเลือกผู้กำกับผิด หนังก็ไม่มีทางออกมาดีแบบนี้ ลองเปลี่ยนคนทำดิ ไม่อยากเอ่ยชื่อ (หัวเราะ) แต่พอมาอยู่ในมือของคุณเชิด ทรงศรี ซึ่งทำได้ละเมียดมาก หรือเป็นเอกเนี่ย หนังมันตอบโจทย์ มันจบ มันสวยกว่าวรรณกรรมด้วยซ้ำไป เผลอๆ วรรณกรรมยังไม่สามารถเล่าเรื่องได้เท่าหนังได้ หนังเล่าไปไกลกว่า บางเรื่องหนังทำได้ดีกว่าด้วยซ้ำ

ภาณุ: เรื่องที่สาม ‘ฟ้าทะลายโจร’ ครับ
ภิญโญ: ผมเลือกเรื่องนี้เพราะ ตอนเด็กๆ ที่ผมอยู่บ้านนอกเนี่ย มันเป็นช่วงเวลาที่หนังพวก สมบัติ เมทนี, อรัญญา นามวงศ์, กรุง ศรีวิไล เฟื่องฟูมาก แล้วพล็อตมันเหมือนกันหมดเลย ก็คือ ไอ้พระเอกมันลงจากรถบัสมา แล้วก็ไปที่หมู่บ้าน หรือตำบล แล้วก็มีเรื่องชกต่อยกับนักเลงเจ้าถิ่นซึ่งเป็นเจ้าพ่อ ทำความชั่ว ค้ายาเสพติด ตัดไม้ทำลายป่า แล้วก็อาจจะมีแย่งนางเอกกันเล็กน้อย แล้วในที่สุด ไอ้พระเอกก็เอาชนะความชั่วร้ายที่อยู่ในท้องถิ่นได้ พล็อตมันเหมือนกันหมด มันง่ายๆ อยู่แค่คนดีชนะคนชั่วร้าย แล้วมันก็ไม่มีการพัฒนาไปไหน มันตันอยู่ตรงนี้หลายปีมาก ทุกคนแค่เปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนบทบาท แต่ว่าพล็อตไม่เปลี่ยน

ภาณุ: ประมาณว่าพระเอกเป็นร้อยตำรวจเอกปลอมตัวมา
ภิญโญ: ใช่ จนคนไทยทุกคนสามารถรับมุขแบบนี้ได้หมด ทีนี้พอมันถึงยุคใหม่ ถ้ามันมีผู้กำกับสักคนนึงที่สามารถเอาไอ้พล็อตแบบนี้มาทำ แล้วหนังมันกลายเป็นหนังร่วมสมัยขึ้นมาได้ด้วยฝีมือของเค้าเนี่ย มันคือฟ้าทะลายโจรนี่แหละ มันทำให้เราคิดถึงวัยเด็กของเรา พล็อตไม่ได้ต่างกันเลยนะ มันเป็นการต่อสู้ระหว่างความดีกับความชั่ว เพียงแต่มันกลับข้าง ทำให้พระเอกกลายเป็นโจร ให้ตำรวจกลายเป็นผู้ร้ายซะ แล้วก็ใช้วิธีการเล่าเรื่องแบบใหม่ ใช้สีของภาพยนตร์ให้มันเหนือจริงขึ้นมา มันเป็นการย้อนกลับไปเล่าเรื่องหนังไทยในยุคที่มันเฟื่องฟู ในทางการเงินนะ ไม่ใช่ทางเนื้อหาออกมาใหม่ได้อย่างละเมียดละไม

ภาณุ: เอาน้ำเน่ากลับมาทำเป็นน้ำดี
ภิญโญ: เออ เอาน้ำเน่ากลับมาแล้วสนุก มันมากเลย โอ๊ย! เลือดท่วมแม่น้ำ สีสวย ยังจำฉากได้ มันเหมือนพวกศิลปินอิมเพรสชั่นนิสต์น่ะ คือมองแสงสี วิธีการเล่าเรื่องเปลี่ยนไป แล้ววาดมันใหม่ ฉากเดิมเลย สมบัติ อรัญญา เหมือนเดิม ไม่ได้ต่างจากที่ผมดูตอนเด็กๆ เลย แต่มันกลายเป็นอีกเรื่องขึ้นมา เลยเว๊ย! สวยขึ้นมาจับใจเลย แล้วเปิดยุคใหม่ให้ด้วย ว่าทำอย่างนี้ได้ สดมาก คุณวิศิษฏ์ (ศาสนเที่ยง) เป็นอิมเพรสชั่นนิสต์ (หัวเราะ)

ภาณุ: ถ้ามองในแง่ลบล่ะครับ ประมาณว่าหมดมุขแล้วไปหากินกับของเก่ารึเปล่า
ภิญโญ: ในทุกๆ วงการเราก็ไม่ได้ทำอะไรใหม่มานานแล้วนะ (หัวเราะ) วงการศิลปะ วงการวรรณกรรม เราก็ไม่ได้ทำอะไรใหม่กันมานานแล้ว มันขึ้นอยู่กับว่า เราจะตีความมันใหม่ หรือเราจะมีมุมมองใหม่ยังไงต่างหาก จริงๆ โลกมันไม่ได้เปลี่ยนมานานแล้ว นวัตกรรมมันแทบไม่มีแล้วนะ เราได้แต่เอาของเก่ากลับมาทำใหม่ เพียงแต่เราต้องกลับมามองว่า เราจะมีคุณภาพชีวิตอยู่ในบริบทที่มีให้มันดียังไงต่างหาก

ภาณุ: เรื่องที่สี่ ‘Crouching Tiger, Hidden Dragon’ ครับ
ภิญโญ: ที่ผมเลือกเรื่องนี้ เพราะตอนเด็กๆ ผมดูไอ้พวกหนังกำลังภายในของ ชอว์ บราเดอร์ส มา ในยุคที่มันเฟื่องฟูที่สุด ไอ้พวก เดชไอ้ด้วน แค้นไอ้บอด ทั้งหลายน่ะ ตี้หลุง อะไรพวกนี้ เดวิด เจียง ฟู่เซิง ในยุคนั้นมันไปบ้านนอกหมดทุกเรื่องเลย แล้วไอ้หนังกำลังภายในที่ผมดูตอนเด็กๆ เนี่ย มันไม่ได้เป็นหนังเสียงในฟิล์มนะ มันจะมีคนพากย์ แถวบ้านผมมันมีคนเก่งอยู่คนนึง ชื่อ เล็ก กวี เป็นผู้ชายนะ พากย์ทุกเสียงเลย เราจะติดมาก แกก็จะแบบ ขึ้นต้นมา สีกระทบเสียง เสียงกระทบแสง แสงกระแทกจอ ชอว์ บราเดอร์ส เสนอออ! (หัวเราะ) พล็อตมันก็เหมือน สมบัติ อรัญญา นั่นแหละ ก็คือความดีสู้กับความชั่ว พระเอกก็ต้องตรากตรำลำบากฝึกวิชาเพื่อที่จะไปโค่นล้มไอ้เจ้าสำนักชั่วที่มันอยากเป็นใหญ่ในแผ่นดิน แล้วก็สู้กันแทบเป็นแทบตาย สุดท้ายพระเอกก็ชนะ พล็อตมีอยู่แค่นี้เอง กำลังภายในยุคนั้นเต็มไปด้วยการแก้แค้นกับการฝึกวิชาใหม่ๆ เพื่อที่จะเอาชนะกัน แต่มันก็สนุกในวัยเด็กของเรา ที่นี้เวลามันผ่านไป 20, 30 ปี เราโตขึ้น หนังกำลังภายใจมันก็เปลี่ยนบทบาทไป ชอว์ บราเดอร์ส ก็ลดบทบาทไป มาสู่ไอ้ยุคที่หนังฮ่องกงมันเฟื่องฟู จางเชอะ ฉีเคอะ อะไรก็ว่ากันไป จนกระทั่งมันมีไอ้เรื่องนี้ขึ้นมา ไอ้ Crouching Tiger, Hidden Dragon เนี่ย มันเหมือนกับเป็นการยกระดับหนังกำลังภายในขึ้นมาใหม่ มันไปสู่กำลังภายในที่มันลุ่มลึกขึ้น มันไม่ได้พูดถึงเรื่องความแค้นอย่างเดียวแล้ว มันเปิดฉากมาด้วยเรื่องภายในของไอ้จอมยุทธ์คนนึง คือ หลี่มู่ไป๋ ว่ามันจะวางกระบี่ลงยังไง ละวางความแค้น จะไม่ยุ่งเรื่องยุทธจักรแล้ว แต่มันยังไม่สามารถวางได้ แล้วมันมุ่งไปสู่การต่อสู้ภายใน หนังมันมีความลุ่มลึก มันก้าวพ้นจากไอ้ยุค ชอว์ บราเดอร์ส ซึ่งมันเหมือนตัวละครมันไม่มีหัวใจเลย มีแต่การเอาชนะ การอยากฆ่าฟัน อยากจะล้างแค้นกันอย่างเดียว แต่เรื่องนี้มันมีการต่อสู้ภายในของตัวละครแต่ละคนที่มันพยายามจะคลี่คลายปมในใจ ไอ้สมรภูมิมันได้เคลื่อนจากสมรภูมิรบมาสู่สมรภูมิในจิตใจ หนังมันเลยสวย แล้วปรากฏว่าคนมันเข้าใจ มันได้รางวัลออสการ์ไปเรียบร้อย จริงๆ จะว่าไปในบางแง่มุม มันก็คล้ายๆ ฟ้าทลายโจรนะ มันเปลี่ยนเอาเรื่องเก่ากลับมาเล่าใหม่ แล้วก็สามารถทำได้ดี

ภาณุ: แต่ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังดูเป็นตะวันตกเกินไป
ภิญโญ: อืม... ซึ่งจริงๆ ถึงที่สุดมันก็ไม่มีตะวันตกหรือตะวันออกนะ มันขึ้นอยู่กับว่าคุณจะจับที่จุดไหน ไอ้ตะวันออกต่างหาก ที่มันลืมตัวไป ว่าที่สุดแล้ว ปมปัญหาใหญ่มันอยู่ในใจ มันไม่ได้อยู่ที่การล้างแค้น แต่เราถูกไอ้หนัง ชอว์ บราเดอร์ส ในยุคนึงครอบงำจนหลงลืม อั้งหลี่ มันช่วยดึงเรากลับมาว่า ถึงที่สุดแล้ว ทุกอย่างมันอยู่ที่จิตใจของคุณต่างหาก มันไม่ได้อยู่ที่สมรภูมิด้านนอก ไม่ได้อยู่ที่การช่วงชิงความเป็นใหญ่ หรือว่าความดีต่อสู้กับความชั่วอย่างเดียว ประเด็นคือ ทั้งความดีและความชั่วแมร่งอยู่ในสมรภูมิในใจคุณต่างหาก

ภาณุ: เรื่องที่ห้า ‘Twilight Samurai’ ครับ
ภิญโญ: คือว่า หนังเรื่องนี้มันจะมาเป็นชุดนะ มันมีสองสามเรื่องที่มันเป็นช่วงชีวิตไอ้พวกยุคซามูไรตกอับในยุคเอโดะ ซึ่งก็คือโตเกียวเก่าน่ะ ที่ซามูไรจำนวนไม่น้อยมันเริ่มตกต่ำ ญี่ปุ่นมันเป็นสังคมศักดินา ถ้าคุณเป็นนักรบคุณก็เป็นไป คุณเป็นชาวนา เป็นพ่อค้า คุณก็เป็นไป แบ่งชัดเจน ซามูไรที่มีศักดิ์ศรีมันไม่สามารถมาค้าขายได้ ทีนี้ไอ้ตัวละครของหนังญี่ปุ่นในอดีตเนี่ย คือซามูไรเป็นพระเอก แล้วก็ยิ่งใหญ่เหลือเกิน เป็นนักรบที่เอาชนะทุกอย่างได้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรีในสังคม หนังซามูไรมันจะเป็นในแนวทางนั้น แต่ไอ้หนังชุดเนี้ย มันพยายามจะเสนอซามูไรในอีกแง่มุมขึ้นมา ซามูไรตกอับที่ไม่มีเมีย แล้วต้องเลี้ยงลูกอยู่บ้าน เงินก็ไม่มี ข้าวที่ได้จากเจ้านายก็น้อยลง เพราะมึงก็ไม่ได้ทำงานรับใช้เขาแล้ว ไอ้ซามูไรคนนี้มันต้องมานั่งทำกรงนกขาย ซึ่งเราดูแล้วอาจจะคิดว่าแค่งานอดิเรก ไม่มีปัญหามาก แต่ถ้าเราเข้าใจบริบทของสังคมญี่ปุ่นในยุคนั้นเนี่ย การที่มึงต้องมาทำงานจักสาน งานของพ่อค้า งานของชาวนาชั้นต่ำ มึงก็แทบไม่มีเกียรติเหลืออยู่เลยในสังคม ซึ่งในสังคมญี่ปุ่นมันยอมรับสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ หนังชุดนี้มันพยายามทำออกมาสะท้อนว่า ชีวิตมนุษย์มันมีอีกแง่มุมนึง ซึ่งเราไม่ค่อยได้เคยเห็นหรอก ว่าไอ้ซามูไรที่เราเห็นเดินเท่ๆ เนี่ย ในช่วงเวลาตกต่ำมันเป็นยังไง แล้วมันก็ต้องแบกศักดิ์ศรีของตัวเองไว้ยังไง ซึ่งมันก็สะท้อนสังคมญี่ปุ่นทุกวันนี้ ว่ามันเต็มไปด้วยคนที่ตกต่ำและต้องแบกศักดิ์ศรีของตัวเองไว้ ไอ้ที่หนักที่สุดก็คือการต้องแบกมันเอาไว้ แล้วจะรักษาศักดิ์ศรีตรงนี้ไว้ได้ยังไง มันมีทั้งศักดิ์ศรีภายนอก กับศักดิ์ศรีภายใน การที่มันยอมเสียศักดิ์ศรีภายนอก เพราะว่ามันต้องการรักษาศักดิ์ศรีภายในใจของมันไว้ ว่ากูไม่ยอมสยบยอมต่อความชั่วร้าย ต่อความไม่ดีทั้งหลาย กูยอมให้พวกมึงดูถูกเหยียดหยามกู ในขณะที่มันแบกศักดิ์ศรีภายในไว้ มันก็ต้องทนคำครหาของคนภายนอก มันเป็นการต่อสู้ของภายนอกกับภายใน เรื่องราวมันเลยสวยงาม

ภาณุ: ฟังๆ ดูแล้ว การดูหนังสักเรื่องให้สนุก ก็ต้องอาศัยพื้นความรู้อยู่มากเหมือนกันนะครับ
ภิญโญ: คือถ้าเราเข้าใจบริบททางประวัติศาสตร์ของแต่ละสังคม จะทำให้เราเข้าใจหนังว่าทำไมมึงถึงทำแบบนี้ออกมา แล้วเราจะซาบซึ้งกับความทุกข์ยากของมันมากขึ้น อ๋อ เพราะว่ามึงเกิดในยุคแบบนี้ ยุคที่เจ้าขุนมูลนายเค้าไม่ได้เลี้ยงซามูไรแล้ว แล้วซามูไรมันก็ไปทำอย่างอื่นไม่ได้ ไปทำนาไม่ได้ เค้าหยามมึงตายเลย ที่นี้พอเราเข้าใจบริบททางประวัติศาสตร์ ทางการเมืองของยุคสมัย เราจะเข้าใจว่าความทุกข์ยากของตัวละครคืออะไร เค้าต้องการสื่ออะไรออกมา ซึ่งถ้าเรามีตรงนี้มันก็ช่วยให้ดูหนังสนุกขึ้น เราได้เห็นมิติว่าภาพยนตร์มันทำหน้าที่อะไรให้สังคมในช่วงเวลานั้น และถ้าเรามองย้อนกลับไปในสังคมเรา มันก็จะเห็นมิติอื่นๆ ด้วย แต่เราไม่ได้พยายามว่าจะต้องอ่านหนังสือเยอะๆ เพื่อที่จะเข้าใจหนังนะ มันไม่ได้ไปมุ่งมั่นขนาดนั้น เราก็อ่านหนังสือของเราปกติอยู่แล้ว เพียงแต่เราดูแล้ว อ๋อ! เรื่องนี้เราอ่านมาแล้ว เลยเข้าใจว่ายุคนี้มันมีปัญหาแบบนี้ๆ หนังก็คือดูเอาเพลินน่ะ แต่บางทีมันเห็นประเด็นเพราะว่ามานั่งคุยกันแบบนี้แหละ ซึ่งถ้าไม่มานั่งคุยกันแบบนี้บางทีเราก็ไม่ได้คิดหรอก ความเข้าใจหรือว่าความซาบซึ่งมันขึ้นอยู่กับฐานของแต่ละคน ซึ่งมันไม่มีถูกไม่มีผิดหรอก มันขึ้นอยู่กับว่าเรามองจากมุมไหน

ภาณุ: เรื่องที่หก ‘Cinema Paradiso’ ครับ
ภิญโญ: มาที่หนังฝรั่งบ้าง ผมชอบเรื่องนี้เพราะมันคล้ายๆ ชีวิตวัยเด็กของเราที่เล่าให้ฟัง มันเป็นความทรงจำวัยเด็ก โรงหนังเรามันก็คือแบบนั้นแหละ เพียงแต่เราไม่ได้รู้จักคนฉายหนัง เรารู้จักคนเฝ้าประตู (ยิ้ม) มันทำให้เราได้มีโอกาสดูหนังเยอะตอนวัยเด็ก ซึ่งผมเชื่อว่าไอ้คนที่อยู่ต่างจังหวัด แล้วเข้าไปดูหนังบ่อยๆ ก็จะชอบหนังเรื่องนี้ทุกคน แสดงว่ามันไม่มีความแตกต่างกันเลย ระหว่างชนบทในอิตาลีหรือว่าชนบทในเมืองไทย หรือชนบททุกที่ทั่วโลกก็คงอารมณ์ประมาณอย่างงี้แหละ ไอ้ Cinema Paradiso นี่ ถ้าเปลี่ยนให้มันเป็นหนังไทยซะ เปลี่ยนตัวละครเนี่ย ผมว่าเราก็เชื่อได้ว่ามันเป็นหนังไทย มันมีความคล้ายกันอย่างน่าประหลาด พอดูหนังเรื่องนี้มันก็ทำให้คิดถึงวัยเด็กและการดูหนัง ซึ่งผมคิดว่าคนจำนวนไม่น้อยก็คงคิดคล้ายๆ กัน

ภาณุ: มันแสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม โดยพื้นฐานแล้วมนุษย์เราก็ไม่แตกต่างกัน
ภิญโญ: ใช่ มันอาจจะแตกต่างไปตามบริบท แต่ความงามในการเสพศิลปะ ในการชื่นชมสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัวเรา มันคล้ายกันนะ ไม่น่าเชื่อนะว่า อิตาลีกับเมืองไทยมันจะคล้ายกันได้ (หัวเราะ)

ภาณุ: เรื่องที่เจ็ดครับ ‘To Live’
ภิญโญ: ผมชอบงานงานช่วงแรกๆ ของพวก จางอี้โหมว กับพวกผู้กำกับรุ่น 5 ของจีน พอดีผมดูเรื่องนี้ที่ปักกิ่ง แล้วก็ได้ดูในบ้านของคนที่ทำหน้าที่เซ็นเซอร์หนัง (โห) เค้าเป็นสามีของอาจารย์ที่สอนภาษาจีนผม

ภาณุ: ในเวอร์ชั่นที่ยังไม่ได้เซ็นเซอร์?
ภิญโญ: ใช่ ซึ่งไม่มีทางที่คนอื่นจะได้ดู นอกจากจะไปดูบ้านนี้ เพราะเค้าเป็นเจ้าหน้าที่เซ็นเซอร์หนัง แล้วเค้าก็เป็นคนชอบดูหนังมาก ก็เลยสะสมหนังที่ส่งไปให้เซ็นเซอร์เต็มไปหมดเลย หลังจากที่เรากินข้าวกินอะไรกันเสร็จ เค้าก็เอาหนังเรื่องนี้มาฉายให้ดู พล็อตเรื่องมันจะเป็นเรื่องของไอ้ลูกชายที่เกิดในบ้านคนรวย แล้วมันก็เป็นคนไม่เอาไหน มันก็ไปเล่นการพนันจนทำให้บ้านมันเสียทรัพย์ไปหมด แต่โชคดีในโชคร้ายที่คอมมิวนิสต์มันเกิดรบชนะขึ้นมาในปี 1949 เหมาเจ๋อตุง ขึ้นครองอำนาจ คือถ้าบ้านมันยังมีสมบัติอยู่เนี่ย มันจะถูกยึดทรัพย์แล้วกลายเป็นถูกประณามว่าเป็นนายทุน บ้านมันโดนยึดทรัพย์ไปก่อนเลยกลายเป็นคนจนก็เลยไม่ถูกลงโทษ แล้วมันก็เล่าเรื่องไอ้ชีวิตผู้ชายคนนี้ จากยุคที่คอมมิวนิสต์เรืองอำนาจ ผ่านยุคประธานเหมาไปสู่ยุคปฏิวัติวัฒนธรรม คือมันใช้ตัวละครหนึ่งตัวเดินเรื่องเพื่อเล่าประวัติศาสตร์ จีนในยุคหลังทั้งหมด เหมือน ฟอร์เรสต์ กัมพ์ น่ะ แต่เล่าเป็นเวอร์ชั่นจีน ซึ่งหนังเรื่องนี้ เมื่อซัก 20 หรือ 10 ปีที่แล้ว คงไม่มีโอกาสฉายในจีนแผ่นดินใหญ่ โดนแบนเลย ห้ามฉาย แต่มันก็น่าจะมีวิดีโออยู่บ้านเรา ซึ่งไอ้งานของพวกผู้กำกับรุ่น 5 ทั้ง จางอี้โหมว, เฉินข่ายเก๋อ ยุคแรกๆ มันสะท้อนปัญหาของสังคมจีนออกมาได้ดีมาก ก่อนที่จะเสียคนไปนะ ก่อนที่จะทำหนังแบบหวือหวา (หัวเราะ) ตอนนี้ไอ้พวกนี้มันกลายเป็นทุนนิยมไปแล้ว แล้วมันก็รวย มันเล่นกับอำนาจ เล่นกับความยิ่งใหญ่ไปแล้ว แต่ไอ้หนังที่ดีก็คือไอ้ช่วงที่มันตกต่ำและยากลำบากอยู่น่ะ

ภาณุ: ในช่วงที่หนังของเค้ายังโดนแบนในบ้านตัวเองอยู่
ภิญโญ: ช่ายๆ มันก็เลยทำหนังแล้วมีเสน่ห์มาก มันเล่าสังคมจีนได้ดี ทุกเรื่องของไอ้พวกนี้มันดูได้หมด ตั้งแต่รุ่น กงลี่ เล่นหนังใหม่ๆ เป็นหนังที่สนุกและมีสีสัน และเราเคยไปอยู่ในไอ้บริบทตรงนั้นเราเลยเข้าใจว่ามันเกิดอะไรขึ้น

ภาณุ: ย้อนกลับไปตรงที่คุณภิญโญเล่าว่า ได้ไปดูหนังในบ้านของเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่เซ็นเซอร์หนัง ทั้งๆ ที่เขาเป็นคนชอบดูหนังด้วยเนี่ย เคยถามไหมว่าเขารู้สึกยังไงที่ต้องทำงานแบบนี้
ภิญโญ: คือที่เค้าเลือกมาทำอาชีพเนี้ย เพราะเค้าชอบดูหนัง เค้าก็รู้สึกว่าเป็นวิธีเดียวที่เค้าจะได้ดูหนังเยอะๆ ก็เลยมาทำ แต่เค้าก็ทำอะไรไม่ได้เพราะรัฐบาลคุมเค้าอยู่ เค้าก็ไม่ได้มีความสุขกับการทำงานนักหรอก เพราะเค้าจำเป็นต้องทำ แต่อย่างน้อยเค้าก็ได้ดูไง แล้วไอ้แฟลตที่เค้าอาศัยเนี่ย เป็นแฟลตที่พวกผู้กำกับรุ่น 5 อยู่ ไอ้แฟลตนั้นน่ะ จางอี้โหมว อยู่ตอนที่มันยังไม่ดัง ตอนที่ผมไปดูเนี่ย อยู่ใกล้ จางอี้โหมว มาก (หัวเราะ) แต่ไอ้เซ็นเซ่อบ้านเราเนี่ยมันเป็นเรื่องของปัจเจก คือสังคมมันไปถึงไหนต่อไหนแล้ว แต่ไอ้คนที่มันเซ็นเซ่อมันไม่มีรสนิยมเอง มันไม่มีอำนาจที่แท้จริงมาบีบหรอก เมืองจีนอำนาจที่แท้จริงมันคือพรรคคอมมิวนิสต์ คุณไม่สามารถไปหือได้หรอก เพราะฉะนั้นไอ้พวกผู้กำกับมันยอมจำนน มันเข้าใจว่า ไอ้คนๆ เดียวที่มันทำหน้าที่เซ็นเซอร์ ไม่ได้เป็นคนเซ็นเซอร์จริงๆ นโยบายพรรคคอมมิวนิสต์ต่างหากที่เป็นคนเซ็นเซอร์ แต่บ้านเรามันไม่ได้มีแบบนั้นไง รสนิยมที่ไม่เอาไหน กับการไม่มีความรู้ของไอ้พวกเซ็นเซ่อต่างหาก ที่มันทำให้วงการมันไม่ไปไหน

ภาณุ: เรื่องที่แปดครับ ‘The Simpsons Movie’
ภิญโญ: โอ เรื่องนี้แสบมาก มันไม่มีหนังการ์ตูนเรื่องไหนที่มันสะท้อน แล้วก็เสียดสีความไม่เอาไหนของตัวมันเอง คือสังคมอเมริกันได้ดีเท่ากับไอ้ Simpsons เนี่ย แล้วมันเสียดสีด้วยความมีอารมณ์ขันมาก ถ้าอยากรู้จักสังคมอเมริกัน ความไม่เอาไหนของคนอเมริกัน ทั้งระบบการเมือง ระบบเศรษฐกิจ ระบบอะไร ให้ดูการ์ตูนชุดนี้ ที่มันฮิตเพราะว่า มันเสียดสีตัวมันเอง แล้วมันเป็นตลกร้ายมาก คนอเมริกันเค้าจะตลกกับมุขของมัน มันเสียดสีทุกคนที่ขวางหน้า รวมทั้งเสียดสีเจ้าของช่องที่มันเผยแพร่ด้วยคือ Fox มันกระทั่งเชิญไอ้ รูเพิร์ต เมอร์ด็อก (เจ้าของ Fox และเจ้าพ่อแห่งธุรกิจสื่อสารมวลชนอเมริกัน) มาให้เสียงพากย์เป็นตัวมันเอง แล้วเมอร์ด็อกมันก็บ้าพอที่จะมาให้เสียงพากย์ด้วย ทั้งๆ ที่มันโดนเสียดสี แล้วมันก็แดกดันไอ้พวกระบบการเมืองอเมริกา แดกดันทุกอย่าง เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด พอเมืองมีสิ่งแวดล้อมเป็นพิษปุ๊บ ก็เอาโดมมาครอบแล้วก็ทำลายมันให้หายไปเลย ซึ่งไม่ต่างกับการที่อเมริกาเที่ยวไปบุกอิรัก หรือไปทำสงครามทั่วไปหมดโดยไม่ต้องฟังเสียงใคร แล้วคนอเมริกันก็งี่เง่ามาก โดยวิธีคิดน่ะ ทำร้ายทุกคน ทำร้ายตัวเอง ทำร้ายสังคม ชุมชน เห็นแก่ตัว เอาเปรียบ เป็นคนไม่เอาไหน มันสะท้อนสังคมอเมริกันได้ดีมากๆ แล้วพวกมึงก็ชอบกันฉิบหายเลย (หัวเราะ) จากซีรีส์การ์ตูนที่ฉายทางเคเบิ้ล จนกระทั่งทำเป็นหนังได้น่ะ มันต้องมีคนเห็นความงี่เง่าของตัวมันเองเยอะมาก แต่มันก็ใจกว้างพอที่มันจะขำตัวมันเองแล้วทำออกมาให้เราได้ขำด้วย

ภาณุ: ใจกว้างพอที่จะรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ เสียดสี และแดกดัน
ภิญโญ: ใช่ บ้านเราแดกดันกันเองได้ขนาดนี้ไหมล่ะ มันกล้าแดกดันน่ะ ใช่ไหม มันมีอยู่ฉากนึงที่ไอ้ตัวปู่ Simpson น่ะ มันเหมือนพระเจ้ามาส่งแมสเสจมาแล้วก็ลงไปชักดิ้นชักงออยู่กลางโบสถ์ ไอ้ตัวพ่อ Simpson มันก็ เฮ้ย ทำไงดี มันก็คว้าไบเบิ้ลขึ้นมาดู แล้วมันก็ เฮ้ย! ไม่มีคำตอบ ไบเบิ้ลไม่มีคำตอบให้มึงน่ะ! แล้วมันก็โยนทิ้ง (เสียงตื่นเต้น) ถามว่าสังคมไทยจะกล้าเล่นขนาดนี้ไหม 3 วินาทีเอง เล่าเรื่องอะไรได้เยอะมากเลย เล่าถึงความไม่เชื่อในศาสนาของมัน แดกดันอะไรได้เต็มไปหมดเลย ร้ายมาก เรื่องนี้ร้ายมาก (หัวเราะ)

ภาณุ: เรื่องที่เก้าครับ อันนี้มาเป็นคู่ ‘Spider-man 2, James Bond : Casino Royale’
ภิญโญ: ผมชอบงานในยุคหลังๆ ของสองเรื่องนี้ Spiderman ภาคสอง กับไอ้ เจมส์ บอนด์ ของ แดเนี่ยล เครก น่ะ มันคล้ายๆ กับไอ้เรื่องที่เราคุยกันมาทั้งหมด คือ Spiderman เนี่ย มันก็หนังซูเปอร์ฮีโร่น่ะ คือคนที่มันมีอำนาจเหนือมนุษย์ธรรมดา ซึ่งเวลาดูมันก็สนุก เพราะมันเป็นสิ่งที่เราเป็นไม่ได้ แต่วันดีคืนดีมันเอามาทำให้พวกนี้มันกลายเป็นมนุษย์ขึ้นมา ไอ้แมงมุมมีพลังเหนือมนุษย์ แต่พอผ่านไปถึงจุดนึง มันก็มีข้อจำกัดว่ามึงก็ยังเป็นมนุษย์อยู่ มนุษย์คือไอ้คนที่มีทุกข์ มีปัญหาในใจน่ะ แล้วหนังก็ดึงเอาปมนี้เข้ามาใช้ ในตอนที่ 2 ต้องหาเลี้ยงชีพ ผู้หญิงไม่รัก เกิดความขัดแย้งเรื่องการบริหารจัดการเวลา (หัวเราะ) เต็มไปด้วยความสับสน นี่คือปัญหาของมนุษย์ แล้วเมื่อไหร่มันทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์ขึ้นมาเนี่ย มันก็มีเสน่ห์ เพราะมันก็คือปัญหาที่เราเจออยู่ทุกวันมิใช่หรือ

ภาณุ: เจมส์ บอนด์ชุดใหม่ก็ด้วย
ภิญโญ: ใช่ มันทำให้ เจมส์ บอนด์ ไม่ได้กลายเป็นไอ้คนที่หล่อเหลา ไล่ล่าผู้หญิง แล้วก็อยู่ในโลกของการเพ้อฝัน ฆ่าทุกคนตายได้หมด มึงต้องสูญเสียผู้หญิงที่มึงรัก ที่สุด โดนผู้หญิงหลอกด้วย เออ! มึงก็แทบเอาชีวิตไม่รอด เกือบตายหลายที สะบักสะบอม กลายเป็น เจมส์ บอนด์ ที่ไม่ต้องรักษาความหล่ออยู่ตลอด เวลา แต่มีความเศร้าลึกๆ อยู่ในใจ ซึ่งออกมาจากดวงตาที่ แดเนี่ยล เครก มันเล่นน่ะ ทั้งที่ด่ากันเละเลย ก่อนที่มันจะเล่น ขนาดมีเว็บไซต์ ‘Craig not Bond’ น่ะ (หัวเราะ) แต่สุดท้ายเสร็จมันหมดเลย เพราะมันเอาความเป็นมนุษย์กลับคืนมาสู่ เจมส์ บอนด์ ได้ มันก็เลยกลายเป็นหนังที่น่ารักขึ้นมา มันสะท้อนว่า ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา เราได้สูญเสียความเป็นมนุษย์ผ่านกระบวนการฮอลลีวูดเยอะมาก จนกระทั่งวันนึง เราเริ่มรู้สึกว่า เราไม่อยากดูอะไรที่มันไม่เป็นมนุษย์อีกต่อไป มนุษย์เริ่มตระหนักว่า ไอ้ความเป็นมนุษย์เนี่ย มันงดงามที่สุด หนังพวกนี้มันสะท้อนว่า สังคมเราโหยหาความเป็นมนุษย์อย่างถึงที่สุด เราเผชิญหน้ากับความจริงที่ว่า ไม่ว่าเราจะอยู่ในโรง 2 ชั่วโมง เห็นความยิ่งใหญ่ของซูเปอร์ฮีโร่ เห็นความยิ่งใหญ่ของตัวละครพวกนี้ขนาดไหน เมื่อเราเดินออกจากโรง เราคือมนุษย์ว่ะ อย่ากระนั้นเลย ในช่วง 2 ชั่วโมง มาช่วยกันเฉลี่ยความเป็นมนุษย์กันเถอะ ได้เห็นความทุกข์ยากด้วยกัน ได้เรียนรู้ตัวเองไปพร้อมๆ กันว่าเราจะเติบโตขึ้นไปได้อย่างไร นั่นคือสิ่งที่หนังพาเราย้อนกลับมาสู่ประเด็นเหล่านี้ ที่เหลือล้วนเป็นบริบทแห่งความตื่นเต้น แต่แก่นมันคือไอ้นี่แหละ

ภาณุ: เรื่องสุดท้ายครับ ‘The Kite Runner’
ภิญโญ: เรื่องนี้ผมเพิ่งได้ดูเป็นดีวีดี มันสะท้อนสถานการณ์โลกในปัจจุบันได้ดีมาก แล้วมันก็มีประเด็นทั้งภายนอกและภายใน คืออัฟกานิสถานเนี่ย มันถูกมหาอำนาจยึดครองมานาน ประเทศมันถูกย่ำยีบีฑามากเลยน่ะ มันเป็นเหมือนชะตากรรมของหลายๆ ภูมิภาคในโลก ซึ่งทุกวันนี้ ที่พื้นที่เหล่านั้นยังเป็นสมรภูมิในการเล่นเกมอำนาจของมหาอำนาจทั้งหลายอยู่ ที่นี้มันก็น่าสนใจว่า ไอ้ชะตากรรมของคนที่มันเติบโตมาในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ในประเทศเหล่านั้นเนี่ย มันมีชีวิตอยู่ได้ยังไงวะ เราก็จะเห็นไอ้ครอบครัวที่มันต้องอพยพออกจากอัฟกานิสถาน แล้วก็ต้องมาใช้ชีวิตเป็นชนชั้นกลางในอเมริกาเพื่อที่จะเอาชีวิตรอด แต่ในที่สุดไอ้ปมเล็กๆ นิดเดียวที่มันเคยไม่พูดความจริงในวัยเด็กไว้เนี่ย แค่มึงเห็นความจริงแล้วมึงไม่กล้าพูด ไม่กล้ายอมรับความจริงเนี่ย มันตามหลอกหลอนมาทั้งชีวิต มันก็ต้องย้อนกลับไปแก้ปม มันเหมือนทำให้ตัวละครกลับไปเผชิญหน้ากับความจริง มันสอนอะไรเราเยอะนะ มันมีทั้งปมการเมืองระหว่างประเทศที่สะท้อนให้เห็นความเป็นไปในประเทศนั้นๆ ปมความลักลั่นทางศาสนา เช่นศาสนาอิสลามแบบพวกหัวรุนแรงที่เคร่งครัดเรื่องศีลธรรมกับเพศหญิง แต่มันก็มาลงกับเพศชายด้วยกัน มันทำให้เราเห็นมิติต่างๆ ทั้งในโลกในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และโลกของตัวละคร ดูแล้วมันทำให้เราได้ทบทวนตัวเองว่า ที่สุดปมในใจของเราคืออะไรกันวะ ทุกวันนี้เรายังมีความจริงที่เรายังไม่ได้เปิดเผย ที่เราไม่กล้าเผชิญหน้ากับมันไหม ทั้งความจริงส่วนตัวของเราและของสังคม แล้วถ้าความจริงเหล่านี้ถูกเก็บซ่อนอยู่ มันก็เล่นงานเราไปเรื่อยๆ จนกระทั่งวันนึงเรากล้าพูดความจริงนั่นแหละ เราถึงจะคลี่คลายปมเหล่านี้ออกไปได้ ผมเชื่อว่าไอ้คนที่ได้ดูหนังเรื่องนี้ทั่วโลกมันก็คงสะท้อนใจตัวเอง แล้วก็สะท้อนความเป็นจริงของสังคม ว่าสังคมเราหลีกหนีความจริงอะไรบ้าง ที่เราไม่กล้าเผชิญหน้ากับมัน เมื่อไม่กล้าเผชิญหน้าเราก็เติบโตต่อไปไม่ได้ และมันก็สะท้อนกระแสหนังด้วย ว่าฮอลลีวูดมันไม่ได้นำหน้าวงการหนังดีๆ ของโลกอีกต่อไปแล้ว หนังพวกนี้ได้ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดจากทั่วโลก ไม่ใช่แค่เรื่องนี้เรื่องเดียว มีเต็มไปหมดเลย นี่คือสิ่งที่เราเห็นได้ว่า โลกมันได้เปลี่ยนไปแล้ว ซึ่งหนังพวกนี้ก็ล้วนแต่เป็นหนังที่ทุกคนชอบ และประทับใจกับมัน ในขณะที่ ไอ้ความประทับใจของเราที่มีต่อหนังฮอลลีวูดมันจะลดลงไปหมดแล้ว แสดงว่าไอ้ความหลากหลายพวกนี้มันมีอยู่จริง

ภาณุ: ที่คุณบอกว่าอายุมากขึ้น ทำให้ดูหนังน้อยลง แล้วหนังที่คุณจะเลือกดูในปัจจุบันเป็นหนังแบบไหน
ภิญโญ: ผมไม่ดูหนังแบบสุ่มเสี่ยงแล้ว ผมพยายามจะเลือกว่า ดูหนังแต่ละเรื่องมันให้ความบันเทิงเริงรมย์ในใจยังไง บางเรื่องมันอาจจะได้ความตื่นเต้น ก็โอเค บางเรื่องอาจจะได้รับความลึกซึ้ง หรือบางเรื่องอาจจะทำให้ได้แง่คิด คือผมอยากจะดูหนังที่มันได้ความสงบ ได้แง่คิด ได้อารมณ์บางอย่างที่เราไปเลือกแล้วควรจะได้ตรงนั้นน่ะ เช่นผมไปดู เจมส์ บอนด์ ตอนล่าสุดมาน่ะ ผมอยากได้ความตื่นเต้น อยากไปตามดูพัฒนาการตัวละครว่ามันไปถึงไหนแล้ววะ ถึงแม้ผมจะไม่ชอบภาคนี้เท่ากับภาคที่แล้ว แต่ผมก็จะยอมเสียเงินไปดู ผมรู้ว่าผมจะเจออะไร ผมพอจะคาดหวังได้ แต่หนังที่ไล่ล่ากันอย่างเดียวแล้วสปีดที่เร็วมากผมก็จะดูน้อยลง หรือว่าฆาตกรรมสับกันอย่างเดียว หรือว่าหนังที่เป็นวัยรุ่นมากๆ ผมก็จะไม่ดูแล้ว ไม่ค่อยอยากดู ผมจะดูหนังที่มันช้าลงน่ะ มันก็จะสะท้อนชีวิต เออ... เรื่องนี้มันอาจจะมาจากวรรณกรรมที่ดี เฮ้ย! ผมอยากดูว่ามันเอามาทำแล้วเป็นยังไง ผมก็จะเลือกแบบนี้แหละ มันคือเลือกตามรสนิยมแล้วน่ะ หนังตลกโปกฮา หนังผีผมก็ไม่ดูแล้ว ไม่อยากดู รู้สึกมันไม่ได้ไปไหนน่ะ อารมณ์ขันมีพอแล้ว (หัวเราะ) ไม่ต้องไปดูตรงนั้นอีก ก็จะเลือกอะไรที่พอดีกับตัวเรามากขึ้น

ภาณุ: คำถามสุดท้าย หนังให้อะไรกับคุณภิญโญบ้างครับ
ภิญโญ: หนังมันให้จินตนาการน่ะ มันพาเราไปในโลกที่เราไม่เคยไป มันสร้างโลกใหม่ที่เราไม่มีทางไปในชีวิตจริง มันสร้างแรงบันดาลใจ บางทีมันสร้างความสั่นสะเทือนใจให้กับเราในบางช่วงที่ทุกข์ ยากของชีวิต การได้ดูหนังดีๆ บางเรื่อง มันสอนอะไรเราบางอย่าง มันให้บทเรียนเราเยอะ มันทำให้เราสู้ชีวิตต่อไป ทำให้เราเดินไปข้างหน้าได้ มันทำให้เราเข้าใจชีวิตในบางแง่มุม หนังมันให้บทเรียนแบบนี้ มันทำหน้าที่คล้ายๆ วรรณกรรมเหมือนกัน ซึ่งวรรณกรรมชั้นดีมันจะให้บทเรียนเหล่านี้ ให้ความสั่นสะเทือนใจซึ่งเป็นบทเรียนที่ดีที่สุด บทเรียนที่ดีมันไม่ใช่การมานั่งสั่งสอน แต่มันคือการให้แรงบันดาลใจ ให้เราคิดได้เอง ซึ่งหนังมันทำหน้าที่เยอะมากในด้านนี้ ไม่พูดถึงรายละเอียดในด้านศิลปวัฒนธรรมที่มันทำให้เราได้เห็นโลกที่กว้างไกล หนังมันให้พวกนี้เยอะมาก ถึงที่สุดก็คืออย่างที่ว่า มันให้บทเรียนกับชีวิตเรา


1.แผลเก่า (1977)
กำกับ : เชิด ทรงศรี นำแสดง : สรพงศ์ ชาตรี, นันทนา เงากระจ่าง
เรื่องราวโศกนาฏกรรมรักอมตะระหว่างไอ้ขวัญกับอีเรียมแห่งท้องทุ่งบางกะปิ จากผลงานชิ้นเอกของบรมครู ไม้ เมืองเดิม ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นภาพยนตร์สุดละเมียดละไมด้วยฝีมือของผู้กำกับชั้นครูอย่าง เชิด ทรงศรี

2.มนต์รักทรานซิสเตอร์ (2001)
กำกับ : เป็นเอก รันตเรือง นำแสดง : ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ, สิริยากร พุกกะเวส
ผลงานที่หลายๆ คนบอกว่าดูง่ายที่สุดของเป็นเอก รัตนเรือง จากบทประพันธ์ขายดีของ วัฒน์ วรรลยางกูร ที่ว่าด้วยเรื่องราวมนต์รักลุกคลุกคลานทรานซิสเตอร์ของ แผน ไอ้หนุ่มบ้านนอก และ สะเดา อีสาวบ้านนา ในจังหวะโมเดิร์นคอกนาแบบหัวเราะร่า น้ำตาริน

3.ฟ้าทะลายโจร (2000)
กำกับ : วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง นำแสดง : ชาติชาย งามสรรพ์, สเตลล่า มาลูกี้
ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้รับการคัดเลือกให้ไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ที่เป็นการนำเอาหนังไทยคาวบอยแบบเก่าเอามาเล่าใหม่ด้วยสีสันที่จัดจ้าน ฉูดฉาด กับบทสนทนาและการแสดงที่เชยแบบได้ใจ ในเรื่องราวแบบ ‘รักซ้อน ซ่อนเงื่อน เพื่อนทรยศ’

4.Crouching Tiger, Hidden Dragon (2003)
กำกับ : อั้งหลี่ นำแสดง : โจวเหวินฟะ, จางซี่ยี่, มิเชลล์ โหว
การกลับคืนมาอีกครั้งอย่างสมศักดิ์ศรีของหนังกำลังภายใน ที่ผงาดประกาศศักดาเรียกเสียงศรัทธาจากแฟนๆ ทั่วโลก การันตีซ้ำด้วยการคว้ารางวัลออสการ์สาขาหนังต่างประเทศยอดเยี่ยมในปีนั้นไปอย่างงดงาม

5.Twilight Samurai (2002)
กำกับ : โยจิ ยามาดะ นำแสดง : ฮิโรยูกิ ซานาดะ นำแสดง : ริเอะ มิยาซาว่า
เรื่องราวความชีวิตรันทดของนักดาบตกอับ พ่อม่ายลูกติด ผู้ไร้นาย ไร้ศักดินา และไร้ศักดิ์ศรี ในช่วงโรยราของยุคซามูไร

6.Cinema Paradiso (1988)
กำกับ : กุยเซปเป้ โทนาทอร์เร่ นำแสดง : ซัลวาตอเร่ คาสซิโอ, ฟิลิปเป้ นอยเรต์
หนังในดวงใจของนักดูหนังหลายๆ คน ที่บอกเล่าเรื่องราวมิตรภาพความผูกพันและความรักในสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า หนัง อันสุดแสนจะซาบซึ้งระหว่างเด็กน้อยบ้าหนังและชายชรานักฉายหนัง ณ. โรงหนังเก่าในชนบทของอิตาลี

7.To Live (1994)
กำกับ : จางอี้โหมว นำแสดง : กงลี่, หยูจี
หนังเล็กๆ ในยุคที่จางอี้โหมวยังไม่คิดการใหญ่ ที่เล่าเรื่องราวของประวัติศาสตร์ชาติจีนในยุค หลังปฏิวัติวัฒนธรรม ผ่านชีวิตของชายหนุ่มไม่เอาไหนคนหนึ่ง ในลีลาแบบฟอเรสต์ กัมป์ภาคภาษาจีน

8.The Simpsons Movie (2007)
กำกับ : เดวิด ซิลเวอร์แมน เขียนบท : เจมส์ แอล บรู้ก, แมท โกรนนิ่ง
งี่เง่า บ้าบอ ไร้สาระ แต่เสียดสีแดกดันได้อย่างแสบๆ คันๆ มันๆ ฮาๆ คือคำนิยามของ หนังการ์ตูนสุดห่ามที่ทำขึ้นมาด่าคนอเมริกัน โดยคนอเมริกัน เพื่อคนอเมริกันเรื่องนี้

9.Spider-man 2 (2004)
กำกับ : แซม ไรมี่ นำแสดง : โทบี้ แม็กกไวร์, เคียรสเทน ดันสต์, เจมส์ ฟรังโก
ภาคต่อของหนังซูเปอร์ฮีโร่สุดฮิต เจ้าของพลังอันยิ่งใหญ่ ที่มาพร้อมกับความรับผิดชอบที่ใหญ่ยิ่ง กับภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่ในการปกป้องสันติสุขของชาวโลก และส่งพิซซ่า
James Bond : Casino Royale (2006)
กำกับ : มาร์ติน แคมพ์เบล นำแสดง : แดเนี่ยล เครก, เอวา กรีน, จูดี้ เดนซ์
แดเนี่ยล เครก เปิดมิติใหม่ของบทบาทเจมส์ บอนด์ ในมาดใหม่ ที่ไม่เน้นความเท่ หรือความหล่อ หากแต่สมบุกสมบันและเป็นเหมือนคนปุถุชนคนธรรมดาทั่วๆ ไป ที่เจ็บเป็น พลาดเป็น รักเป็น และช้ำเป็น

10.The Kite Runner (2007)
กำกับ : มาร์ค ฟอสเตอร์ นำแสดง : กาลิด อับดัลลาห์, อาทอซซา ลีโอนี
จากนวนิยายเรื่อง ‘เด็กเก็บว่าว’ ถ่ายทอดเรื่องเรื่องราวใหม่ในหนังฝีมือผู้กำกับสวิส ที่ไปถ่ายทำในดินแดนอัฟกานิสถาน เล่าเรื่องการหวนคืนของชายหนุ่มพลัดถิ่น สู่ถิ่นฐานบ้านเกิดอันคุกรุ่นไปด้วยไอสงคราม เพื่อสางปมในจิตใจที่เขาได้ก่อไว้กับเพื่อนรักในวัยเยาว์




 

Create Date : 08 เมษายน 2553   
Last Update : 8 เมษายน 2553 11:48:00 น.   
Counter : 1066 Pageviews.  


10 หนังในดวงใจ บน Shelf ของสถาปนิกนักดูหนัง (ฉบับแก้ไข)

5x2 นิตยสาร FILMAX
เรื่อง/ภาพ : ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์

ถ้าพูดถึงชื่อ ดวงฤทธิ์ บุนนาค หลายๆ คนอาจไม่ค่อยคุ้นเคยเท่าไหร่ แต่ไปถามคนในวงการออกแบบและสถาปัตยกรรมบ้านเรา หรือระดับนานาชาติ ชื่อนี้คงไม่ต้องบรรยายสรรพคุณกันอีก ในบทบาทเจ้าของบริษัทสถาปนิก ดวงฤทธิ์ บุนนาค จำกัด กับผลงานออกแบบดีกรีรางวัลจากหลายสถาบัน ทั้งใน และนอกประเทศ รวมถึงผลงานคุ้นตาอย่างการออกแบบตกแต่งภายในอันโดดเด่นของศูนย์การออกแบบ TCDC ก็เป็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง
แต่ในคราวนี้เราไม่ได้จะมาคุยกับเขาเรื่องงานออกแบบ แต่มาด้วยอีกเหตุผลนึง ที่เราแอบสืบทราบมาว่า คุณดวงฤทธิ์เป็นนักดูหนังตัวกลั่น ชั้นเซียนคนนึง
เราจึงไม่ยอมที่จะพลาดโอกาสที่จะล้วงแคะแกะเกาความคิด เปิดเผยตัวตนในอีกแง่มุมหนึ่งของสถาปนิก นักออกแบบ และนักดูหนังคนเก่งคนนี้ ผ่านหนังโปรดที่เขาคัดเลือก มาเล่าสู่ให้พวกคุณได้อ่านกัน
ณ. บัดนาว

ภาณุ: ตอนนี้คุณดวงฤทธิ์ทำโปรเจ็กต์อะไรอยู่ครับ
ดวงฤทธิ์: ก็ทำโรงแรม เป็นสถาปนิก ทำโรงแรม ทำบ้านเยอะ ทำคอนโดฯ อะไรอย่างนี้ โปรเจ็กต์ที่เพิ่งเสร็จก็มีที่ชะอำ คนที่นั่นก็ชอบมากตื่นเต้นกันมาก แล้วก็มีที่กุยบุรีด้วย ก็ตอนนี้ถ้าไปอ่าน Condé Nast Traveler ก็ได้ 3 ดาว ซึ่งก็ดี ก็ถือเป็นชื่อเสียงให้กับประเทศเรา ซึ่งอย่างน้อย หนังสืออย่าง Condé Nast Traveler เขาให้เกียรติ ก็เป็นบริษัทสถาปนิกอันดับต้นๆ ในประเทศ คือเราก็อยากเป็นคนไทยที่ฝรั่งหันมามอง ซึ่งก็มองบ้างแล้ว ก็ดีใจ แต่เราก็ต้องพาพวกพี่น้องเพื่อนฝูงของเราไปด้วยให้ได้ด้วย

ภาณุ: แล้วบริษัท Design ที่ทำอยู่เป็นยังไงบ้างครับ
ดวงฤทธิ์: ดีครับ ก็ไปได้เรื่อยๆ ตอนนี้เราก็มีร้านเฟอร์นิเจอร์ Anyroom

ภาณุ: เข้าเรื่องหนังเลยนะครับ คุณดวงฤทธิ์ชอบดูหนังมาตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ
ดวงฤทธิ์: แม่ผมน่ะชอบดูหนัง คือผมดูหนังจริงๆ ในชีวิตความทรงจำเรื่องหนังเนี่ยมาจากแม่ผม แม่ผมชอบนี่ดูหนังมาก มีอยู่เรื่องนึงที่แม่เคยเปิดให้ผมดู น่าจะในทีวี เรื่อง Breakfast at Tiffanys ออเดรย์ เฮปเบิร์นเนี่ย ซึ่งออเดรย์ เฮปเบิร์นก็เลยเป็นนางฟ้าในดวงใจผมมาตั้งแต่เด็กๆ คือชอบมาก ตั้งแต่จำความได้ก็ดูหนังมาตลอด ชอบดูหนัง เด็กๆ นี่ดูทีวีจนตาสั้นเลยแหละ (หัวเราะ) ดูทีวีเยอะมาก สมัยก่อนมันไม่ค่อยมีหนังการ์ตูนไงครับ ก็ไม่ได้ดูการ์ตูน เราก็ดูหนังเหมือนผู้ใหญ่ดูน่ะ ก็ดีนะ ผมว่าหนังเนี่ย มันก็เป็นโลกจำลองของชีวิตจริง เราก็เลยรู้เรื่องอะไรต่างๆ เยอะ รู้ว่าคนทำแบบนี้แล้วจะเป็นแบบนี้ คือเค้าก็ทำมาจากจิตวิทยาของมนุษย์ เราก็จะจับแพทเทิร์นได้ว่า อ๋อ มนุษย์เป็นแบบนี้ๆ ถ้าเค้าไปทางนี้ เค้าก็อาจจะทำแบบนี้ หนังเนี่ย...มันช่วยเราเรื่องมนุษย์ได้เยอะ

ภาณุ: มีแนวไหมครับเวลาดูหนัง เห็นที่เลือกมามีหนัง Sci Fi ค่อนข้างเยอะนะ
ดวงฤทธิ์: คือจริงๆถามผมเนี่ย ผมเป็นคนที่ดูหนังสะเปะสะปะที่สุดแล้ว แต่ใช่ คือเรื่องที่เกี่ยวกับนิยายวิทยาศาสตร์นี่จะชอบ แต่ไม่ชอบแบบ คือไม่ได้ชอบทุกเรื่องนะ ไม่ได้บอกว่าเป็นแฟนหนัง Sci Fi นะ คงไม่ใช่ แต่ไอ้หนังพวกนี้มันมีอันนึงที่ผมชอบ คือมันพูดถึงเรื่องอนาคต แล้วเราเองเราก็ทำงาน ซึ่งเราก็ผูกพันกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สถาปัตยกรรมนี่เป็นเรื่องที่แบบ อีกสองปีจะเกิดขึ้น หรือเราทำงานเกี่ยวกับเมืองเนี่ย เราก็อยากจะรู้ว่า เออ ในอนาคตเมืองมันจะเป็นยังไง อะไรยังเงี้ย แล้วเราคิดว่าหนังหลายเรื่องเนี่ย มันเล่า มันบอกว่าเมืองจะเป็นยังไง มนุษย์จะเป็นยังไง อนาคตจะเป็นยังไง ซึ่งเราชอบแบบนั้นนะ แต่ถ้าเป็นหนัง Sci Fi อย่างบางเรื่องก็ไม่ชอบ ไม่ได้ดูเลย Ultraviolet นี่ไม่ดูเลย (หัวเราะ) คือไม่ดูเว๊ย หนังผีนี่ไม่ชอบ เกลียดมากเลย เป็นคนไม่ชอบดูหนังผี

ภาณุ: เพราะอะไรครับ
ดวงฤทธิ์: ไม่ใช่กลัวนะ แต่ว่ามันไร่สาระน่ะ เพราะคิดว่าหนังผีมันแบบ Notion เดียว คือกลัว มีหน้าที่ทำให้คนกลัว มันไม่ได้ Suggest อะไรเลยนอกจากว่าความกลัว ซึ่งเรารู้สึกว่า แล้วยังไงอ่ะ? กลัวแล้วไง กระโดดเกาะหญิงงี้เหรอ เราก็ไม่เข้าใจ แบบ จะกลัวไปทำไม เราก็เป็นคนไม่ค่อยกลัวอยู่แล้วไง แล้วเราก็รู้สึกว่าไอ้เรื่องที่ พยายามจะทำให้กลัวกัน หลอกกันให้กลัวนี่มัน... บางทีตกใจ ยอมรับอ่ะ แต่มันก็ไร้สาระน่ะ รู้สึกโกรธ แบบว่าทำทำไม คือไม่เอ็นเตอร์เทนกับหนังผีเลยน่ะ กับไอ้หนังพวกเลือดสาดด อะไรพวกนี้ ไม่ชอบ หนังพวกรุนแรงเลือดสาดนี่รู้สึกว่าเหนื่อย แล้วก็ไม่รู้จะดูทำไม ก็เลยไม่ชอบดู

ภาณุ: มาที่หนังเรื่องแรก 2001 : Space Odyseesy ชอบอะไรครับ
ดวงฤทธิ์: เออ... คือไอ้เรื่องนี้ผมอ่านนะ ผมอ่านของ อาร์เธอร์ ซี คลาก แล้วผมก็ดูหนังด้วย ผมก็เลยอินมาก แล้วผมว่าอาร์เธอร์ ซี คลาก เป็น Genius (อัจฉริยะ) คนนึงที่ผมชอบ เพิ่งเสียไปปีนี้เอง ผมอ่านของเค้า 2-3 เล่มเลยมั้ง มี 2001, 2010 แล้วก็ 3001 ผมว่าเค้าเป็นคนที่ แบบ มี Vision เรื่องอนาคต ซึง น่าสนใจน่ะ แล้วผมก็ชอบ 2001 นี่ทำประมาณปี 1965 อะไรประมาณนี้ ซึ่งมันล้ำยุคไปหลายสิบปี ซึ่งผมว่า เค้ามองเห็นอะไรบางอย่าง ซึ่งเราอาจจะเห็นได้ในเร็วๆ นี้ ยังมาไม่ถึง อย่างไอ้คอมพิวเตอร์ Hal ซึ่งเป็นพระเอกของเรื่อง เนี่ย มันเป็นเทคโนโลยีของแสง มันใช้แสงเป็นตัวนำ ในหนังมันไม่ได้บอกชัดเจนหรอก แต่เราดูแล้วเข้าใจ แล้วในอีก 20 ปีข้างหน้าเนี่ย คุณจะได้ใช้คอมพิวเตอร์แบบนี้ เพราะว่าตอนนี้มันก็เริ่มมาแล้ว เราก็รู้สึกว่า หนังแบบนี้มันมีประโยชน์กับเรานะ มันทำให้เราแบบเกิดจินตนาการ แล้วเรามองเห็นข้างหน้า ชอบคุณค่าของเรื่องนี้ที่ตรงนั้นน่ะ แลวมันก็พยายามจะสอดแทรกปรัชญาอะไรบ้าบออีกเยอะเยอะ แต่ว่ามันไม่ได้ Say it out loud มันไม่ได้ตะโกนบอกเรา ซึ่งผมว่ามันเป็นวิธีที่ฉลาด มันไมได้บอกข้อสรุป ว่ามันจะเป็นแบบนี้ คนดูก็ไปคิดเอาเองก็แล้วกัน (หัวเราะ) ใครเก็บได้เก็บไปอะไรเงี้ย ซึ่งผมก็ชอบหนังแบบนี้นะ

ภาณุ: หนังสือกับหนังนี่แตกต่างกันไหมครับ
ดวงฤทธิ์: ต่างกันเยอะ คือหนังสือนี่ Depth เยอะ แต่หนังมันก็ทำได้ดีมากนะ หนังมันฉายภาพหนังสือออกมาได้อีกมุมนึงน่ะ มันเหมือนเรามองกล่องไปเดียวกัน แต่มองจากอีกมุมนึง แล้วมันมองได้สวยน่ะ แต่ถามว่ามันคือ The Whole Box ไม๊ มันไม่ใช่ แต่เราก็แบบ เฮ้ย เราก็ว่าคนทำมันเก่งมาก

ภาณุ: ขนาดหนังนี่ก็ว่าลึกมากแล้วนะครับ
ดวงฤทธิ์: หนังสือลึกกว่า แต่หนังสือเนี่ยวิธีเล่ามันจะตื้นเขินกว่าหนัง แต่ว่า Content มันเยอะ คือ Depth มันเยอะกว่า แต่ว่าหนังเนี่ยมันเล่าได้มีลีลาเท่กว่าหนังสือ ทำได้ดีทีเดียว คืออาร์เธอร์ ซี คลาก เป็นคนที่เขียนหนังสือทื่อๆ นะ เค้าเล่าอะไรทื่อๆ แต่ Vision เค้าดี แต่อีตา แสตนลี่ คูบริก เนี่ย มันทำหนังออกมาเท่มาก แล้วหนังมันมีลักษณะของความลึกอยู่ ซึ่งผมชอบ

ภาณุ: แล้วดีไซน์ของหนังเองก็...
ดวงฤทธิ์: เจ๋งมากก คือผมยังเอาหนังตัวนี้มา Reference งานออกแบบของผมได้บ่อยๆ คือ เคยกระทั่งเอาซีนนึงมาแล้วบอกว่า เฮ้ยเราอยากทำโปรเจ็กต์เป็นแบบนี้น่ะ ก็ยังทำได้อยู่นะ แล้วผมว่าคนที่ทำเซ็ตดีไซน์ให้กับหนังเรื่องเนี้ย มัน Genius ผมก็เลยเอาไว้เรื่องแรก (หัวเราะ)

ภาณุ: มาที่เรื่องที่สอง The Matrix Trilogy
ดวงฤทธิ์: Matrix นี่ บางคนก็ด่าว่าหนังตลาด แต่ผมแบบ ผมดู Matrix ไปประมาณ 5 รอบแล้วมั้ง แล้วทุกครั้งที่ผมดูเนี่ย ผมจะเจออะไรบางอย่างใหม่เสมอ แล้ว Matrix เนี่ย ผมว่ามันเป็น Moving Philosophy มันเป็นหนังสือปรัชญาแบบใหม่ คือผมอ่านหนังสือปรัชญาเยอะ ปรัชญาบ้าบอพวก Darrida อะไรพวกเนี้ย อ่านเยอะ แล้วเราก็รู้สึกว่า Matrix มันเป็นหนังสือปรัชญา มันไม่ใช่หนัง แต่มันพยายามจะเล่าในวิธีแบบ Pop Culture แล้วมันทำได้ฉลาด แล้วถ้าคุณดูไปซัก 5 รอบอย่างที่ผมดูเนี่ย (หัวเราะ) คุณจะเจอว่ามันมีความคิดปรัชญาแบบ พุทธ คริสต์ ทั้ง Believe ทั้ง Disbelieve อะไรอยู่ในเนี้ย เยอะแยะไปหมดเลย แล้วมันสะท้อนตัวตนของคนทำมาก มันบอกได้เลยว่าไอ้คนทำเนี่ย มันเป็นคนที่ คิดมาก แล้วก็มีความเชื่อหลากหลาย แต่ไม่มีข้อสรุปว่า อันนี้ถูก อันนี้ผิด ซึ่งผมชอบมันตรงเนี้ย ไอ้สองคนเนี้ย (แอนดี้,แลร์ลี่ วาคาวสกี้) คือมันไม่ค่อยสร้างข้อสรุปว่า อันนี้ถูก อันนี้ผิด ถ้าคนดูอยากเห็นมันเป็นขาว มันก็ขาว อยากเห็นมันเป็นดำ มันก็ดำ คนดู Matrix ดูตั้งแต่ตื้นที่สุด คือดูแอ็กชั่น รบราฆ่าฟัน ชกต่อย นั่นคือแบบตื้น ในขณะที่อีกคนนึงก็จะดูแต่ไดอะล็อก อีกคนก็ดูแต่เทคนิค คนนึงดูแต่โลกเสมือน อีกคนก็จะดูแต่โลกจริง อะไรอย่างเงี้ย คือมันมีมิติเยอะ แล้วทุกคนก็เลือกเอาแต่สิ่งที่ตัวเองชอบ แล้วก็เอากลับบ้านไป คือผมชอบ Matrix ตรงนี้

ภาณุ: แล้วคุณดวงฤทธิ์เอาส่วนไหนมาครับ
ดวงฤทธิ์: คือผมดูหลายรอบไง ผมก็ชอบ The whole thing คือครั้งแรกผมก็ดูแอ็กชั่น โหย สนุก เท่ อะไรงี้ กระโดด ลอย ชกกัน เท่ พอดูรอบที่สองผมก็เริ่มดูแล้วว่า เอ๊ะ มันพูดอะไร ภาคสองมันจะมีตัวนึงที่เป็น Architect (สงสัยชอบเพราะเป็นสถาปนิกเหมือ นกัน) แล้วมันพูดน่ะ พูดเร็วๆ มากๆ (เร็วมากๆ จริง) ผมกด Pause เลยนะ จด (หัวเราะ) จดว่ามันพูดอะไร โอ้โห มันเขียนไดอะล็อกยังงี้ได้ยังไงวะ คือคนเขียนไดอะล็อกได้อย่างงี้สมองมันต้องไม่ปกติ มันอัจฉริยะมาก ไดอะล็อกมันมหัศจรรย์มาก คือในหนึ่งประโยกมันพูดเรื่องประมาณแปดเรื่อง ความคิดประมาณแปดความคิดในหนึ่งประโยคได้ ผมว่าแค่ฉากนั้นฉากเดียวผมแบบ ถวายหัวเลย ชอบมาก Matrix เนี่ย ผมดูไปหลายรอบเลย ผมก็จะเก็บมันในทุกมิติ และผมก็ชอบมันทุกๆ Aspect แล้วมันเป็นหนังที่... จริงๆ แล้ว ทั้ง 3 ภาค มันเป็นหนังเรื่องเดียวกัน ซึ่งในความเห็นส่วนตัวของผม ผมว่า อีกนานกว่าจะมีใครทำเท่านี้ได้อีก แม้กระทั่งตัวมันสองคนเอง หลังๆ มันทำหนังออกมาอีก มันก็ดีนะ แต่ผมว่ามันก็ไม่เท่านั้นน่ะ ผมก็ไปดู อย่างสองเรื่องหลัง V for Vendetta แล้วไอ้เรื่องล่าสุด Speed Racer ผมก็เพิ่งไปดูมานะ แต่ผมก็ชอบนะ ผมว่าไอ้พี่น้องสองคนเนี่ย ผมเข้าใจมัน แล้วผมเก็ทมัน แล้วมันทำอะไรมา ผมก็โอเค อย่างมันทำหนังสองเรื่องหลังจาก Matrix มาแล้วก็มีแต่คนด่า แต่ผมว่า เฮ้ย! ผมเข้าใจ ไม่เป็นไร (หัวเราะ) มันสำคัญด้วยนะที่มันต้องทำแบบนี้ เพราะมันตองทำอะไรบางอย่างซึ่งตรงข้ามกับสิ่งที่มันเคยทำ แล้วผมชื่นชมมันตรงนั้นนะ ว่าอย่างน้อยมันป็นคนที่ไม่ Repeat Success คือไม่ทำซ้ำ ซึ่งอันนี้คือสิ่งสำคัญของผู้สร้างทุกคน

ภาณุ: Sci Fi กันต่อเลยครับ เรื่องที่สาม Star Wars
ดวงฤทธิ์: Star Wars นี่ก็ ตลาดนะ คือจริงๆ มันอยู่กับชีวิตของผมมานาน Star Wars เนี่ย มันอยู่กับผมมาตั้งแต่ผมเด็กน่ะ ม.4 ม.5 ผมก็เลยรู้สึกว่าถ้าผมจะทิ้งมันไปผมก็เกรงใจมันน่ะ คือเราก็อยู่กับมันมานาน แล้วยังไงมันก็ Shape เราขึ้นมาตั้งแต่เด็กน่ะ ไอ้พวกนี้มันเป็นหนังทีเราโตมากับมัน พอเราแก่มันก็ยังตามเราออกมาอีก (หัวเราะ) สามตอน เราก็รู้สึกว่า เออ! เอาวะ ก็เอามันใส่มาด้วยก็แล้วกัน มันก็เหมือนกับเรือของโนอาห์น่ะ ไม่อยากทิ้งมันไป ถามว่ามันมีอะไรที่ลึกเหมือน Matrix ไม๊ มันไม่มีมากน่ะ แล้วมันก็เป็นหนังที่ตื้นมากเรื่องนึง แต่มันทำให้เราเกิดจินตนาการ ตั้งแต่เยาว์วัย แล้วผมก็ให้คุณค่ามันตรงนั้น เพราะว่ามันก็เป็นส่วนนึงที่ทำให้เรากล้าที่จะคิด กล้าที่จะฝัน แล้วมันก็ทำให้ความฝันของเราจับ ต้องได้ ผมเพิ่งกลับไปดู Star Wars ภาคแรกเมื่อเร็วๆ นี้ เพราะคุณจะมาสัมภาษณ์ ผมก็เลยกลับไปดู (หัวเราะ) ผมก็ว่า มันดีแฮะ จริงๆ แล้วมันดี แล้วหนังมันก็เป็นหนังที่สมบูรณ์ แล้วไอ้คนทำมันก็ตั้งใจนะ เพราะว่าสมัยนั้นคอมพิวเตอร์ก็ยังไม่มี แต่มันก็ทำออกมาได้ ซึ่งผมก็ชื่นชม ไอ้จอร์จ ลูคัสมาก แต่สิ่งที่มันให้ผมมากที่สุดก็คือจินตนาการในวัยเด็ก มันก็เป็นส่วนนึงที่ Shape ผมขึ้นมาจนทุกวันนี้ เป็นหนังที่ผูกพันกันมากนาน ถ้าพูดถึงแล้ตัวหนังมันก็ไม่มีอะไรหรอก นอกจากจินตนาการ

ภาณุ: และความสนุก
ดวงฤทธิ์: สนุกมากกก เด็กๆ Star Wars นี่เป็นความฝันเลย คือสนุกมาก คือเป็นหนังที่เหมือน Matrix น่ะ ชาตินี้ไม่มีใครเทียบ Star Wars ได้ คือไอ้นี่ก็เป็นหนังที่เปิดดูเรื่อยๆ เหมือนกัน เบื่อๆ ก็เปิดมันดู

ภาณุ: Star Wars Episodes นี่รวมถึง 3 ภาคใหม่ด้วยรึเปล่าครับ
ดวงฤทธิ์: ก็เอามาหมดน่ะ ไม่เป็นไร โลภ (หัวเราะ) อย่างในรูปที่ผมเลือมาให้ อาจจะไม่ค่อยคุ้นตาคนนัก แต่มันเป็น Open Scene แล้วมันก็อีกแง่มุมนึงที่ผมสนใจก็คือการพูดเรื่อง Relationship ระหว่างคน กับหุ่นยนต์ ซึงผมว่าแง่มุมนี้เป็นแง่มุมที่น่าสนใจ ที่หนังเรื่องนี้เล่า หุ่นยนต์ไม่ใช่ตัวร้าย เมื่อก่อนหุ่นยนต์จะเป็นตัวร้าย หุ่นยนต์เป็นเพื่อน แต่ไม่ใช่เพื่อนที่มีศักยภาพสูงส่ง ไม่ใช่สิ่งมหัศจรรย์ แต่เป็นสิ่งซึ่งมีความพิการอยู่ แต่ว่ามีจิตใจที่ดี

ภาณุ: พูดถึงหนังที่เกี่ยวกับนิยายวิทยาศาสตร์และหุ่นยนต์มา 3 เรื่องแล้ว คุณดวงฤทธิ์คิดว่ามีความเป็นไปได้ไหม
ครับ ที่ในอนาคตจะมีหุ่นยนต์หรือปัญญาประดิษฐ์ที่มีความชาญฉลาดกว่ามนุษย์เหมือนในหนัง
ดวงฤทธิ์: ตอนนี้มันก็จวนแล้วนะ มันก็ใกล้มากแล้ว คือตอนนี้มันแค่คิดไม่ทันเท่านั้นเอง คือตอนนี้มันยังใช้ไฟฟ้าเป็นสื่อ คือไฟฟ้ามันยังมีลิมิตของ Speed กับความร้อนอยู่ อย่างในหนัง 2001 ที่มีการใช้แสงหรือใช้สื่ออื่นในการส่งสัญญาณทีไม่ใช่ไฟฟ้าเนี่ย อันเนี้ยมันจะทำให้เกิด A.I. (Artificial Intelligence-ปัญญาประดิษฐ์) ได้ คือตอนนี้มันทำได้อยู่แล้ว เพียงแต่ว่า มีข้อจำกัดของฟิสิกส์ ของกายภาพเนี่ยมาจำกัดมันอยู่ มันทำได้แต่ว่าช้า ทำได้แต่ว่าร้อน แต่ไอ้เรื่องความฉลาดมันไปถึงได้อยู่แล้ว ปัจจุบันคนเรามันสามารถพัฒนาไอ้ตัวซอฟท์แวร์ได้ แต่ไอ้ฮาร์ดแวร์มันไปไม่ทัน อีกสักพักนึงพอฮาร์ดแวร์มันไปทัน มันสามารถคิด 30 อย่าง หรือ 200 อย่างพร้อมกันได้ในหนึ่งส่วนล้านวินาทีได้เหมือนสมองมนุษย์ได้เนี่ย ไอ้ A.I. มันคงไม่ใช่เรื่องไกล ผมว่าก่อนผมตายคงได้เห็นแน่ๆ

ภาณุ: เรื่องที่สี่ The Fifth Elements ครับ
ดวงฤทธิ์: Fifth Elements ก็นึกออกมาเป็นเรื่องเมือง ที่ผมชอบเรื่องนี้ส่วนนึงก็คือจินตนาการในเรื่องของเมือง Fifth Elements ผมว่าไอ้คนทำเนี่ยมันเก่ง มันเก่งในการสร้าง Beat ของหนัง สร้าง Momentum ของหนัง ตูมๆๆๆ ไปตลอด อะไรเงี้ย ก็เป็นหนังที่ดูแล้วสนุก เวลาง่วงๆ หรือแบบเบื่อๆ ชีวิต เปิดมาดูแล้วก็สนุกทุกที เหมือนแบบ... เหมือนนั่งรถไฟเหาะน่ะ (หัวเราะ) เอาละวะ! ไปล่ะ แล้วก็ไปกับมัน แล้วก็สนุกกับมัน แต่ Vision ของมันนอกจากเรื่องเมืองแล้ว อันอื่นก็ยังธรรมดา ก็ยังเป็นสิ่งที่เราคาดเดาได้ คือไม่ถึงกับ Surprise มาก แต่ทุกครั้งที่เปิดก็ไม่พลาด สนุกได้ทันทีไม่พลาด (หัวเราะ)

ภาณุ: เป็นหนังที่ดีไซเนอร์ส่วนใหญ่จะชอบกันด้วย
ดวงฤทธิ์: ก็ชอบน่ะ คือผมว่าดีไซน์มันเท่อยู่แล้วน่ะ ไอ้ดีไซน์ของเสื้อผ้า เครื่องแต่งตัว Object ต่างๆ เนี่ย มันก็เป็นมุมมองที่เท่อยู่แล้ว และอันที่ผมชอบเป็นพิเศษก็คือมุมมองเรื่องของเมืองที่มันแสดงออกมาในหนัง ผมชอบ เพียงแต่มันเป็นหนังที่มันสนุก ไม่ต้องคิดมาก ดูไปจบ สนุก

ภาณุ: ไม่ได้ลึกขนาด Matrix
ดวงฤทธิ์: โอย มันไม่มี... Depth มันไม่เท่ากัน อย่างแรงงง

ภาณุ: เรื่องที่ห้าครับ AKIRA
ดวงฤทธิ์: ครั้งแรกที่ผมดูเนี่ย ผมยังแบบเรียนอยู่มัธยมเลยมั้ง (นานมากนะเนี่ย) แล้วผมไปดูโรงหนังสามย่านน่ะ (หัวเราะ) คิดดูยังมีอยู่น่ะ เด็กมากเลยน่ะ ไอ้คนทำเนี่ย ก็อีกน่ะ มันเป็น Vision ของอนาคตอีกแล้ว แล้วมันมองเห็นอนาคตในแง่มุมซึ่ง นอกจากจะน่าสนใจแล้วยังเป็นด้าน ลบ แต่ยังมีความเท่ มีความโสมม คือเป็น Negative sight Future (มุมมองด้านลบต่ออนาคต) แต่เราดูแล้วรู้สึก Enjoy ไปกับมัน คือบางคนจะนำเสนอ Negative sight Future แล้วเรารู้สึกป่วยไปกับมัน แต่ AKIRA ก็เป็นหนังซึ่งแบบ เสนอมุมมองของอนาคตทั้งแบบ Positive และ Negative และหนังมันก็มีความคิดที่ลึกซึ้ง คือจริงๆ มันเป็นรากฐานของหนังอย่าง Matrix เหมือนกันนะ AKIRA เนี่ย มันเป็นรากฐานของหนัง Sci Fi อีกหลายๆ เรื่องเลย แต่ AKIRA เนี่ยเป็นต้นตำรับเลย แล้วผมว่าการ์ตูนญี่ปุ่นในยุคนั้นเนี่ยมันไม่มีใครกล้าคิดแบบเนี้ย เรารู้สึกว่า AKIRA เนี่ยมันเป็นบ่อเกิดของทุกๆ อย่าง มันเป็นสิ่งที่บอกว่า เฮ้ย! มันเป็นไปได้เว้ย เฮ้ย คุณทำได้ มันถึงมีหนังการ์ตูนยุคหลังๆ ออกมาอย่าง ไอ้ Ghost in the shell หรือ Spirited Away ผมว่ามันทำให้ Generation ต่อมาของคนทำการ์ตูนญี่ปุ่นมันเชื่อว่า มันทำได้ มันเป็นไปได้ คือความเป็นไปได้มันไม่มีที่สิ้นสุด

ภาณุ: ไปไกลกว่าฮอลลีว๊ดหลายขุม
ดวงฤทธิ์: ใช่ คิดไม่ได้เลย ตอนนั้น AKIRA นี่มันยุคใกล้ๆ Star Wars เลยนะ แต่ผมว่ามันคงมาก่อนน่ะ แล้ว Vision มันมีเอกลักษณ์มาก ถึงทุกวันนี้กลับไปดูก็ยังลึกอยู่เลย มันป๋าจริงๆ (หัวเราะ) คุณดูดิ (ชี้ให้ดูมอเตอร์ไซค์สีแดงสุดเท่ที่อยู่ในหนัง) เท่ป่ะ โคตรเท่เลย มันคิดได้ไงวะ มันกี่ปีมาแล้วน่ะ

ภาณุ: เอ๊ะ Blade Runner กับ AKIRA นี่ อะไรทำออกมาก่อนนะครับ
ดวงฤทธิ์: เฮ๊ย! Blade Runner ผมก็ชอบว่ะ ทำไงดีน่ะ ไม่น่าพูดเลย (หัวเราะ) เรื่องนี้ผมรักมากเลย มันเกิน 10 แล้วอ่ะ Blade Runner นี่ผมก็ชอบมาก เดี๋ยวผมไปเอาเรื่องอื่นออกก็แล้วกันนะ (หัวเราะ) แต่ผมไม่อยากให้รู้สึกว่าผมเป็นมนุษย์หนังวิทยาศาสตร์มากไง แต่ Akira น่าจะทำมาก่อนนะ

ภาณุ: งั้นแทรกเลยก็แล้วกัน เรื่องที่หก Blade Runner ครับ
ดวงฤทธิ์: Blade Runner นี่ต้องดูอันที่เป็น Director’s cut นะ

ภาณุ: ที่มันออกมาใหม่ใช่ไหมครับ
ดวงฤทธิ์: ใช่ Director’s cut นี่ เท่มาก ไอ้ Blade Runner อันแรกไม่ได้เรื่องนะ มันมีเหมือนเสียงบรรยายน่ะ แล้วมันดูแล้วรำคาญน่ะ ต้องดูๆ Director’s cut มันจะตัดเสียงบรรยายไปเกือบหมด แล้วแบบ รู้สึกว่ามันสื่อสารกับเราด้วยภาพจริงๆ คือไปอ่านแล้วเค้าบอกว่า จริงๆ ผู้กำกับมันอยากทำแบบนี้แหละ แต่ไอ้สตูดิโอมันไม่ยอม สมัยนั้น กลัวคนไม่เก็ท เพราะหนังมันแหวก เพราะจริงๆ แล้วไอ้ Director’s cut มันสมบูรณ์มากๆ สตูดิโอมันไม่ค่อยฉลาด มันไม่เชื่อว่าคนดูมันจะฉลาด Blade Runner เป็นหนังที่... สนุกนะ แล้วก็ผมชอบ Vision ของเมืองในหนังน่ะ เออ

ภาณุ: เป็นเมืองในอนาคตที่ Dark มากๆ
ดวงฤทธิ์: Dark มาก แต่ว่ามันมีมุมมองของตะวันออก กับตะวันตกปนกันไง ซึ่งผมชอบมุมมองแบบนั้นน่ะ มีแบบ ญี่ปุ่น กินซูชิ

ภาณุ: สมัยนั้นคนต่างชาติ (ที่ไม่ใช่ญี่ปุ่น) ก็ยังค่อยไม่กินซูชิกันนะ
ดวงฤทธิ์: เออ ยังไม่กินๆ (หัวเราะ) มันมาก่อนเค้าจริงๆ นะ ไอ้ Blade Runner เนี่ย ริดลี่ย์ สก็อต ใช่ป่ะ ไอ้นี่มันเก่งมาก ผมชอบมัน ดู Alien แต่ว่าไม่ได้รักมาก แล้ว Blade Runner นี่ จริงๆ ก็เป็นหนังที่อยู่ใน... ผมจะมีชั้นอันหนึ่งที่มีหนังที่ผมคัดไว้ (หัวเราะ) Blade Runner ก็อยู่ในชั้นที่ผมคัดไว้ ผมลืมมันไปได้ก็ไม่รู้

ภาณุ: เป็นหนังที่ดูได้หลายรอบ?
ดวงฤทธิ์: อือ เปิดดูได้อีกเรื่อยๆ แต่หนังใหม่ๆ ที่ไปดูแล้วชอบ ที่ไม่ใช่หนังวิทยาศาสตร์ก็มีนะ

ภาณุ: Across The Universe ใช่ไหม (เพราะอันนี้ใหม่สุดในลิสต์) เรื่องที่เจ็ดครับ
ดวงฤทธิ์: อันนี้ผมชอบ บางคนดูเสร็จออกมา บอกไม่ชอบเลย จะอ้วก แต่ผมชอบนะ ผมชอบมุมมองของมัน คือมันเป็นหนังที่เล่าเรื่องสังคมในยุคนั้นกับเพลง แล้ววิธีที่มันผูกกับเพลงมันฉลาดดี แล้ววิธีที่มันเล่า ภาพของมันหรืออารมณ์ของมันที่อยู่ในหนังมันพลุ่งพล่านได้จังหวะดี วิธีที่มันตัดต่อหรือเลือกภาพ หรือแสดงจังหวะของภาพออกมากับ Moment ของอารมณ์เนี่ยมันดี

ภาณุ: คุณดวงฤทธิ์เป็นแฟนเพลง The Beatles อยู่แล้วหรือเปล่า
ดวงฤทธิ์: อย่าเรียกเลย ผมเพิ่งฟัง Beatles ไม่กี่ปีมาเนี้ย เมื่อก่อนไม่ได้ฟังมาก ก็คือฟัง แต่ไม่ได้เป็นแฟน แต่ว่าผมว่าผมชอบหนัง หนังมันดี แต่บางคนก็ไม่ชอบมันเอาซะเลยนะ แต่ผมว่ามันไม่เลวนะ มันทำออกมาได้ดีทีเดียวนะ ให้ผมดูอีกรอบผมก็ดู

ภาณุ: ชอบเพราะอาร์ตไดเร็กชันของมัน?
ดวงฤทธิ์: ส่วนนึงด้วย แล้วผมว่ามันกวนนะ คือมันทำน้ำเน่าแบบตั้งใจ แต่คนไปเห็นน้ำเน่าแล้วไปติดกับตรงนั้นไง มันเหมือนคุณรู้จักคนๆ นึง แล้วลุกเค้าเป็นแบบนึง คุณก็ตัดสินเลยว่าเค้าเป็นแบบนั้น ไอ้หนังเรื่องนี้คุณต้องเข้าใจว่ามัน แดกดันมาก แดกดันแบบสุดๆ

ภาณุ: แดกดันด้วยความน้ำเน่าเนี่ยนะ
ดวงฤทธิ์: ช่าย มันตั้งใจทำให้ทำให้เกิดอารมณ์นั้นมากๆ มันแดกดัน แล้วเราค้นพบว่ามันแดกดัน แต่คนอื่นไม่เก็ตปุ๊บ เห็นมันเป็นอย่างงี้ ก็ตัดสินมัน แต่เรารู้สึกเลยว่าไอ้คนทำมัน...จะ พูดว่าไงดี คือ กวนตีนมาก (หัวเราะ) มันกวนตีนแบบตั้งใจ เราเก็ตว่า ไอ้นี่แม่งแสบ เพราะมันต้องการจะบอกไง ว่าไอ้สังคมอเมริกันยุคนั้นมันเต็มไปด้วยความน้ำเน่า เต็มไปด้วยความอีเดียทสุดๆ ไง อย่างไอ้ซีน Strawberry fields เนี่ย เราก็คิดว่ามันต้องการจะบอกว่า สังคม โลก มันอยู่ด้วยความหลอกลวง ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลหลอกลวง ไม่ว่าจะเป็นสื่อที่หลอกลวง มันก็ทำให้เราคิดว่า เออ! จริงๆ แล้ว อะไรมันเป็นความจริงกันแน่ มันมีนัยยะของหนังซึ่งมันปล่อยให้เราคิดเอง ถ้าคุณคิดตื้นคุณก็คงไม่ชอบมันเท่าไหร่

ภาณุ: เป็นหนังที่ใช้เพลงเป็นตัวหลักในการดำเนินเรื่อง
ดวงฤทธิ์: ใช่ แล้วมันก็เอาเพลงมาใช้ได้ฉลาดนะ มันเข้าใจว่าเพลงมันต้องการจะพูดเรื่องอะไร แล้วในเนื้อหาของเพลง มันดึงเอาประเด็นทางการเมืองที่อยู่เบื้องหลังของเพลงใน Moment นั้นในประวัติศาสตร์มาคลี่ออกมาให้เราดูเป็นภาพ ซึ่งมันก็คงบอกว่าทำไม Beatles ถึงแต่งเพลง Let it be เพราะว่าภาพที่เห็นมันก็คงเป็นภาพนี้ หรือว่าทำไมต้องแต่งเพลง Strawberry fields forever ก็คงเพราะว่าสิ่งที่เขาคิดมันเป็นเรื่องนี้อยู่ แล้วมันต่อกันเป็นหนังได้ฉลาดมาก ผมว่ามันดี ก็พยายามจะหยิบหนังใหม่ๆ บ้าง เดี๋ยวคนจะหาว่าเป็นคนแก่ ไม่ดูหนังใหม่ๆ (หัวเราะ)

ภาณุ: แต่เรื่องนี้ไม่ใหม่เลยนะครับ เรื่องที่แปด Breakfast at Tiffany’s
ดวงฤทธิ์: ไม่ใหม่เลย ย้อนหลับไปอีก (หัวเราะ) อันนี้ไม่มีอะไรเลย อย่างที่เล่าให้ฟังว่า เป็นความทรงจำที่มีกับแม่ เราก็คิดว่า แม่ทำให้เราชอบดูหนัง แล้ว ออเดรย์ เฮปเบิร์น เนี่ย ก็เป็นขวัญใจของแม่ ก็เป็นขวัญใจของเราด้วยนะ ตอนเด็ก แล้ว Breakfast at Tiffany’s ก็เป็นหนังซึ่งสนุก ก็ไม่ได้มีมุมมองอะไรที่ลึกมาก แต่ว่าเป็นหนังที่ให้เราดูอีกก็ดูได้ ดูแล้วเบิกบาน (หัวเราะ) ดูแล้วก็ย้อนกลับไปถึงอดีตซึ่งทุกอย่างในโลกมันเต็มไปด้วยความเบิกบาน เต็มไปด้วยความสุข แล้วเพลงก็เพราะ ผมชอบไอ้เฮนรี่ แมนซินี่ เท่ดี

ภาณุ: มาที่เรื่องที่เก้าหนังกลางเก่ากลางใหม่อย่าง A Life Less Ordinary กับ Trainspotting
ดวงฤทธิ์: จริงๆ เรื่องนี้ผมจำแทบไม่ได้แล้วนะ แต่ว่าจำได้ว่าชอบ แต่ผมไม่มีหนังเรื่องนี้อยู่ หลังๆ ก็ไม่ได้ดู แต่พอพูดถึงหนังที่ชอบก็ยังจำ ได้ว่า ไอ้ชื่อ ยวน แม็กเกรเกอร์ กับ แคเมรอน ดิแอซ แล้วแคเมรอน ดิแอซนี่จริงๆ ก็ไม่เคยชอบมันเลย แต่ว่าเรืองนี้พอดูได้ เรื่องนี้สนุก มันมีความทรงจำจางๆ ว่ามันสนุก แต่ว่าถ้าให้เอาออกก็คงเอาเรื่องนี้ออก (หัวเราะ) แต่ว่าชอบ ยวน แม็กเกรเกอร์ ผมว่มันเละเทะดี มันคอนโทรลอะไรไม่ได้สักอย่าง แต่สุดท้ายมันก็แฮปปี้เอนดิ้ง มันเหมือนหนังเป็นเอก (รัตนเรือง) เหมือนกันนะ เหมือนคนเข้าไปในสถานการณ์ที่มันคอนโทรลอะไรไม่ได้ แล้วก็เริ่มเลยเถิดไปได้เรื่อยๆ แต่สุดท้ายมันก็มีบทสรุป ส่วนหนึ่งผมก็ชอบหนังประมาณนี้ นะ คือชอบหนังที่แบบว่า เฮ้ย ฉิบหายแล้ว มันไปกันใหญ่แล้วเว๊ย เละเทะกันไปใหญ่แล้วเว๊ย เพราะจริงๆ แล้วในชีวิตของผมเอง ผมควบคุมอะไรหลายๆ อย่างมาก ผมต้องควบคุมสิ่งที่ผมทำหลายๆ อย่าง คือต้องมีลักษณะที่มันแบบ Control Freak น่ะ ทีนี้พอเจอหนังที่บางครั้งมันปล่อยให้เราหลุดออกไปในความที่ ควบคุมไม่ได้ นานๆ ทีสนุกดีนะ แต่ดูบ่อยๆ ก็เหนื่อยเหมือนกัน แต่ไอ้เรื่องนี้ จำได้ว่าครั้งแรกที่ดูน่ะ มันมาในจังหวะที่กำลังอยากได้อ ย่างงี้อยู่พอดี คือสนุกดี เหมือน Trainspotting น่ะ สองเรื่องนี้คล้ายๆ กัน Trainspotting นี่ผมก็ชอบนะ มันเป็นหนังที่ผมแบบว่า เออ แม่งไปแล้วเว๊ย (หัวเราะ) แม่งจะกลับมายังไงวะ เมายากันทั้งเรื่องเลย แต่ผมชอบคนเขียนหนังสือเรื่องนี้น่ะ เออร์วิน เวลช์ ผมก็เลยชอบหนังไปด้วย

ภาณุ: เรื่องสุดท้ายยังอยู่ที่พระเอกคนเดิม Moulin Rouge
ดวงฤทธิ์: เออใช่ บังเอิญน่ะ (หัวเราะ) ไอ้ Moulin Rouge นี่ก็เป็นหนังที่ผมชอบ Styling มัน แล้วผมว่าเรื่องก็สนุกดี เพลงก็เพราะ

ภาณุ: อลังการดาวล้านดวงมากเลยนะครับ เรื่องนี้
ดวงฤทธิ์: เออ แต่ว่าก็สวยนะ ผมไม่อยากให้คนที่อยากจะรู้จักผม คิดว่าผมมีทิศทางเดียว ก็เลยพยายามจะหยิบหนังที่มีหลายๆ ทิศทาง นั่นคือสิ่งนึงที่ผมเชื่อนะ ว่าสำหรับผม หนังควรจะมีหลายทิศทาง แล้วจริงๆ ผมก็เป็นคนที่ดูหนังตื้นมากเลยนะ อย่างหนังอาร์ตหนังศิลปะเนี่ย ผมก็ไปดู บางเรื่องผมก็ชอบบางเรื่องก็ไม่ชอบ ผมดูหนังเพื่อ Entertaining แล้วผมก็ไม่ได้คาดหวังอะไรกับหนังมาก ผมดูเพื่อเป็นความบันเทิงจริงๆ สนุกกับมันจริงๆ ถ้าเราไม่ได้คาดหวังอะไรกับมันมาก เราก็ดูแล้วสนุก แต่หลายเรื่องก็สนุกแล้วได้ด้วย มันก็เป็นมุมมองที่เราไปคิดเองมากกว่า แต่ว่าเรื่องที่เราเลือกมาเนี่ย เรารักจริงๆ ชอบมันจริง หยิบมาดูจริงๆ พวกนี้ให้หยิบมาดูอีกก็ดูได้ หนังที่ฉลาดมากๆ ก็ดูได้นะ แต่มันจะดูได้รอบเดียวไง ให้ดูอีกก็เอาไว้ก่อน (หัวเราะ)

ภาณุ: ทุกวันนี้คุณดวงฤทธิ์ดูเป็นคนที่มีงานล้นมือมาก แล้วอย่างนี้จะมีเวลาไปดูหนังเหรอคครับ?
ดวงฤทธิ์: ดู ไปดูตลอด (จริงๆ เพราะเีราไปเจอกันที่โรงหนังบ่อยๆ) ไอ้นี่เป็นอะไรที่ทิ้งไม่ได้อยู่แล้ว ชอบ มันเป็นเอนเตอร์เทนนิ่งอย่างนึงที่ง่ายที่สุด ที่ผมหาได้ไม่ยากนัก ก็ดูมาตลอด อย่างน้อยก็เดือนละสองสามเรื่อง แล้วก็ไม่ได้ตั้งไว้ด้วยนะ ว่าแบบนี้จะไม่ดู ก็บริโภคหมด เพราะเราทำงานแบบนี้เราก็ต้องรู้กว้างๆ ลูกค้ามันมาหลายแบบ

ภาณุ: ชอบดูหนังในโรงหรือดูหนังที่บ้านครับ
ดวงฤทธิ์: ถ้าเข้าโรง มีฉายโรงก็อยากดูโรง เรื่องที่ซื้อก็คือซื้อเก็บน่ะ มันมีช่วงนึงที่ชีวิตไม่มีโอกาสไปดูโรง ก็เลยต้องซื้อดีวีดีมาดู แต่ถ้าเลือกได้ก็ไปดูโรง ชอบอารมณ์การดูหนังในโรงหนัง แต่ดีวีดีก็ซื้อเก็บ มีกรรมเหมือนกันนะเสียเงินเสียทองซ้ำซ้อน (หัวเราะ)

ภาณุ: การดูหนังมีส่วนช่วยในการทำงานของคุณไหมครับ
ดวงฤทธิ์: พูดถึงเรื่องจินตนาการ ช่วย มีหลายเรื่องที่ผมไปดูหนังแล้วผมคิดอะไรออก ซึ่งไม่เกี่ยวกับหนัง แล้วก็ไม่ได้ได้มาจากหนัง ผมว่า เรื่องของความคิดสร้างสรรค์มันเป็นเรื่องของการเหนี่ยวนำเหมือนกันนะ คือบางทีแบบ ถ้าเราอยู่ในสภาพแวดล้อมอะไร บางทีมันเหนี่ยวนำให้เราคิดอะไรบางอย่างได้ ผมมักจะเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมซึ่งช่วยให้ผมมีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ขึ้นมาได้ อันนั้นสำคัญมาก แล้วหนังนี่ก็เป็นตัวนึงที่ทำให้เราเกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ คิดอะไรไม่ออกบางทีก็เปิดดูหนัง บางทีก็จะคิดอะไรออก บางทีต้องเขียนหนังสือ เขียนไม่ได้ ก็เปิดหนังดู บางทีไดอะล็อกในหนังก็ทำให้เราคิดอะไรออกมาได้ ก็เป็นบ่อยๆ เหมือนกัน ใครจะว่ายังไงไม่รู้นะ ผมก็คิดว่าหนังเป็นความบันเทิงที่จำเป็นกับมนุษย์อยู่ดี มันเป็นกระจกเงาของเรา มันเป็นสิ่งที่เราเป็นไม่ได้ ถ้ามนุษย์ยังมีความฝัน มันก็ยังมีหนังอยู่กับเรา มันไม่หายไปไหน (ยิ้ม)

1.2001 : Space Odyseesy (1968)
2.The Matrix Trilogy (1999-2003)
3.Star Wars Episode I-VI (1977-2005)
4.The Fifth Elements (1997)
5.AKIRA (1988)
6.Blade Runner (1982)
7.Across The Universe (2007)
8.Breakfast at Tiffany’s (1961)
9.A Life Less Ordinary (1997) Trainspotting (1996)
10.Moulin Rouge (2001)




 

Create Date : 08 เมษายน 2553   
Last Update : 8 เมษายน 2553 11:48:13 น.   
Counter : 2264 Pageviews.  


‘Goemon’ เพราะภาพยนตร์ ไม่ใช่ตำราประวัติศาสตร์

ในประวัติศาสตร์ มีการต่อสู้ ถกเถียง กันระหว่างวงการศิลปะและวิชาการหลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศิลปะภาพยนตร์ มีภาพยนตร์หลายต่อหลายเรื่องถูกก่นด่าและโจมตีจากนักวิชาการว่า บิดเบือนประวัติศาสตร์ ไม่ซื่อสัตย์ต่อความเป็นจริง หนังอย่าง Schindler’s List (1993), In the Name of the Father (1993), The Da Vinci Code (2006) หรือแม้กระทั่งหนังไทยอย่าง 2499 อันธพาลครองเมือง (2540), องคุลิมาล (2546) จึงต้องประสบชาตะกรรมดังกล่าวจนเป็นที่บอบช้ำไปตามๆ กัน โดยที่คนกล่าวหาคงลืมไปว่า โดยเนื้อแท้แล้ว ภาพยนตร์ เป็นมายา หรือความลวงอย่างนึง

จนกระทั่งเมื่อ เควนติน ทารันติโน่ หยิบเอาประวัติศาสตร์ของการสู้รบระหว่างสัมพันธมิตรกับนาซีในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 มาบิดเบือน (แบบจงใจ) ยำใหญ่ ตีไข่ ใส่สี ยั่วล้ออย่างมันมือ จนเป็นที่ครื้นเครงกันถ้วนหน้า ในผลงานชิ้นล่าสุดของเขาอย่าง Inglorious Busterds (2009) นั่นแหละ ที่พอจะถือได้ว่า เป็นการเอาคืนเล็กๆ น้อยๆ (แบบมหาศาล) ของคนทำหนัง

เมื่อหลายปีที่ผ่านมา ถ้าใครยังจำ‘Casshern’(2004) ภาพยนตร์แอ็กชั่น/ไซไฟแฟนตาซี ของคนทำหนังแดนอาทิตย์อุทัยที่ชื่อ ‘คาซุอากิ คิริยะ*’ ได้บ้าง ด้วยวิชวลกราฟิกที่แปลกตา (ที่หลายๆ คนอาจจะบ่นว่าไม่ค่อยเนียนเหมือนฮอลลีวูด) บวกกับเนื้อหาอันแหวกแนวของมัน ที่ดูแล้วถ้าไม่รัก ก็คงเกลียดไปเลย (ส่วนใหญ่จะเป็นอย่างหลัง) ทำให้มันไม่ค่อยประสบความสำเร็จทั้งในและนอกบ้านเกิดเท่าไหร่นัก แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีใครรักมัน เพราะอย่างน้อยๆ มันก็เป็นผลงานชั้นเยี่ยมในดวงใจของเหล่าผู้คลั่งไคล้หนังไซไฟ และคนทำงานสายวิช่วล จนบางคนถึงกับยกย่องให้เขาเป็นศาสดา (และอาจถึงกับเทิดทูนให้เป็นบิดาบังเกิดเกล้าด้วยซ้ำไป!)

และในคราวนี้เขากลับมาอีกครั้ง โดยในครั้งนี้ แทนที่เขาจะหยิบเอาเรื่องราวจากการ์ตูนมาใช้เหมือนคราวที่แล้ว เขากลับหยิบเอาตำนานพื้นบ้านและเรื่องราวในประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นมาทำเป็นหนัง และนั่นคือที่มาของผลงานชิ้นที่สองของเขา

‘โกเอม่อน’ ‘Goemon’ (2009)

‘โกเอม่อน’ หรือ ‘อิชิกาว่า โกเอม่อน’ เป็นจอมโจรในตำนานและฮีโร่พื้นบ้านของญี่ปุ่น เกิดในยุคสมัยเซงโงะคุ ที่บ้านเมืองยังไม่สงบจากภัยสงคราม และขุนศึกยังแก่งแย่งชิงอำนาจกันอยู่ โดยขุนศึก (ไดเมียว) ที่ครองอำนาจสูงสุดในสมัยนั้นก็คือ ‘โทโยโทมิ ฮิเดะโยชิ’ โกเอม่อน เป็นจอมโจรที่คล้ายๆ กับโรบินฮู้ดของตะวันตก คือปล้นสะดมคนรวยเอาเงินไปช่วยแจกจ่ายคนจน เขาจึงเป็นที่รักใคร่ของประชาชน จนถูกเล่าเป็นเรื่องราวสืบทอดต่อขานกันมา และว่ากันว่า ในท้ายที่สุดหลังจากล้มเหลวในการลอบสังหาร โทโยโทมิ ฮิเดะโยชิ และถูกจับกุม เขาก็ถูกประหารด้วยการต้มทั้งเป็น (กาลต่อมาในภายหลังอ่างอาบน้ำขนาดใหญ่จึงถูกตั้งชื่อว่า โกเอม่อนบุโระ หรือ อ่างอาบน้ำของโกเอม่อน)

ด้วยความที่ โกเอม่อน เป็นตำนานพื้นบ้านที่เป็นที่นิยมของมหาชน จึงมีการถูกเล่าขานและสร้างขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในหลายสื่อ หลายเวอร์ชั่น ทั้งนิทาน จิตรกรรม ภาพพิมพ์ ละครเวที คาบุกิ โนะห์ หรือแม้กระทั่งภาพยนตร์ แต่หลายคนที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกับผู้เขียน (แปลว่าแก่) อาจคุ้นเคยกับ โกเอม่อน เวอร์ชั่นเกมตลับเสียมากกว่า โดยที่ทั้งหมดมีเนื้อหาส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกันมากนัก

ถ้าเอ่ยถึงภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ นักดูหนังวัยโจ๋หลายคนอาจเบือนหน้าหนี แต่ช้าก่อน! ขึ้นชื่อว่าเป็นหนังของเจ้าแห่งสไตล์และวิช่วลตัวพ่ออย่างคิริยะ ‘Goemon’ ของคิริยะ คงไม่ใช่หนังประวัติศาสตร์ดาษๆ ธรรมดาแน่ๆ แล้วก็เป็นจริงดังคาด เพราะเฮียแกทั้งยำใหญ่ สาดสีสัน ใส่จิตนาการแบบไม่ยั้ง อีกทั้งยังบิด ขยำ ดัดแปลงเรื่องราวจนเตลิดไปไกลสุดกู่ โดยอาศัยแค่ชื่อตัวละครและช่วงเวลาเท่านั้น ที่ตรงกับตำนาน (เพราะฉะนั้น อย่าแปลกใจ ถ้าคุณเห็นกลไกสุดไฮเทคของตู้เซฟในคฤหาสน์ของมหาเศรษฐี (ที่ชื่อคล้ายๆ ร้านหนังสือยักษ์ใหญ่ในบ้านเรา) หรือระเบิดมือล้ำสมัยของนินจา ควบคู่ไปกับนางระบำที่นุ่งกิโมโนสั้นจู๋ และใส่รองเท้าบู๊ตส้นตึกแบบคาบาเรต์ หรือสถาปัตยกรรมที่ไม่จำกัดที่มาและเวลา หรือเฟอร์นิเจอร์หน้าตาประหลาดและภาชนะเครื่องใช้ที่ไม่อาจระบุสกุลรุนชาติ เช่นถ้วยชารูปหัวกะโหลก! เป็นอาทิ)

นอกจากซีจีไอ ซึ่งถือว่าเป็นจุดขายของหนัง (ที่ถึงจะไม่ค่อยเนียน ถ้าเทียบกับหนังฮอลลีวูดก็จริง แต่ก็สอดรับกับเนื้อหาของหนังได้อย่างไม่ขี้เหร่) องค์ประกอบอีกส่วนที่ถือว่าโดดเด่นไม่แพ้กันก็คือ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของตัวละครต่างๆ ที่หรูเลิศ อลังการ แปลกประหลาดจนไม่น่ามารวมอยู่ด้วยกันได้ ซึ่งน่าจะได้แรงบันดาลใจมาจากชุดโบราณของญี่ปุ่น ผสมผสานกับเครื่องแต่งกายสมัยวิกตอเรียนของยุโรป (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชุดเกราะของเหล่าขุนศึก และคอสตูมสุดหรูไม่ซ้ำแบบของนางเอกที่เหมือนหลุดออกมาจากหนังสตาร์วอร์ส) ทำให้เกิดรูปแบบอันเฉพาะตัว ไม่เหมือนใคร จนไม่อาจนิยามให้เป็นอย่างอื่นไปได้ นอกจากคำว่า ‘คิริยะสไตล์’ จากการช่วยเหลือของสองดีไซเนอร์อย่าง วอห์น อเล็กซานเดอร์ และ ทีน่า คาลิวาส

ด้วยความแปลกประหลาดของสไตล์ และเนื้อหาที่ถูกดัดแปลงไปไกล จนสุดกู่ ทำให้คิริยะ ซึ่งเหมาทั้งบทบาท โปรดิวเซอร์ ผู้กำกับ ช่างภาพ และนักแสดง (เล่นเป็นใคร ไปหาดูกันเอาเอง) ของหนังเรื่องนี้ ไม่อาจหลีกเลี่ยงจากการถูกวิพากษ์วิจารณ์และโจมตีจากนักประวัติศาสตร์ไปได้ และอาจเป็นเพราะเหตุนี้เอง ที่ทำให้หนังเรื่องนี้ของเขาก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควรนัก แต่ใครจะแคร์!

“เราทำงานศิลปะ คนเรามักจะยึดติดมากเกินไป ยึดติดอยู่กับ สิ่งที่หนังควรจะต้องเป็น แบบเดียวกันกับที่บอกว่า คุณเป็นคนไทย คุณเป็นคนญี่ปุ่น คุณต้องเป็นอย่างงั้น คุณต้องเป็นอย่างงี้ ใครกำหนดกันล่ะ เราทำงานศิลปะ เราต้องเป็นอิสระ นั่นเป็นสิ่งที่ผมคิด” คาสุอากิ คิริยะ

เช่นเดียวกับ ‘Inglorious Busterd’ เราเสพภาพยนตร์ในฐานะงานศิลปะชิ้นหนึ่ง ไม่ใช่บทเรียนประวัติศาสตร์ ภาพยนตร์เรื่องนี้เอง ก็ทำในสิ่งที่งานศิลปะสมควรจะทำ นั่นก็คือการเปิดมุมมอง และสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้ชม

เราไม่อาจใช้ตรรกะทางประวัติศาสตร์มาตัดสินความเป็นศิลปะในภาพยนตร์ได้ฉันใด เช่นเดียวกัน เราไม่จำเป็นต้องให้สถาบันหนึ่งสถาบันใดหรือใครที่ไม่มีความรู้ทางด้านศิลปะภาพยนตร์มาตัดสินภาพยนตร์เรื่องหนึ่งเรื่องใด ฉันนั้น การเอาพระ หมอ ตำรวจ หรือสถาบันอื่นใดมาตัดสินภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสถาบันนั้นๆ จึงเป็นอะไรที่ผิดประเด็น ไร้สาระ และใจแคบเป็นอย่างยิ่ง

การที่หนังเรื่องหนึ่งๆ จะถูกโจมตีว่าบิดเบือนประวัติศาสตร์ ไม่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง มันคงดูไม่ค่อยแฟร์เท่าไหร่ ก็ตอนขึ้นเครดิตเขาก็เขียนไว้อยู่แล้วว่า ”เล่นโดย” ให้เห็นๆ ว่ามันเป็นเรื่องสมมุติ เป็นมายา เป็นความลวงตั้งแต่ต้นจนจบ ถ้าภาพยนตร์เรื่องนั้นมีเจตนาทำขึ้นมาเพื่อความบันเทิง (ยกเว้นสารคดี หรือหนังที่อ้างว่าสร้างมาจากเรื่องจริง)

เพราะจินตนาการจะสำคัญกว่าความรู้หรือเปล่า ...ไม่อาจทราบได้ แต่ที่รู้ๆ มันสนุกกว่าแน่ๆ จริงไหม?


*คาสุอากิ คิริยะ ตัวพ่อแห่งสไตล์และวิช่วลแดนอาทิตย์อุทัย

หมอนี่เป็นใครกัน? ถ้าถามคนส่วนใหญ่ที่ไว้ทรงผมเกาหลี ซี้ปึ๊กกับดงบังชินกิ และคลั่งไคล้เคป๊อบไม่ลืมหูลืมตา คงส่ายหน้าไม่รู้จัก แต่ถ้าไปถามสาวกเจป๊อบ (ที่อาจยังพอหลงเหลืออยู่บ้าง) ก็คงรู้จักเขาดีในฐานะ (อดีต) สามีของป๊อบสตาร์ฉายาสาวน้อยมหัศจรรย์ (ตัวจริงเสียงจริง) ‘อูทาดะ ฮิคารุ’ ยิ่งถ้าไปถามคนในวงการโฆษณาและมิวสิกวิดีโอ อาจรู้ว่า ผู้ชายคนนี้นี่เอง ที่เป็นคนคนเดียวกันที่สรรค์สร้างมิวสิกวิดีโอสุดล้ำให้วงการดนตรีญี่ปุ่นหลายต่อหลายเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งของป๊อบสตาร์คนที่ว่า (มิน่า!) และล่าสุดกับบทบาทผู้กำกับหนังใหญ่สไตล์ล้ำ รวยวิช่วลอย่าง Casshern’(2004) และ Goemon (2009)

ข้อมูล : //www.facebook.com/pages/Kazuaki-Kiriya/47364771385, //en.wikipedia.org/wiki/Kazuaki_Kiriya




 

Create Date : 08 เมษายน 2553   
Last Update : 8 เมษายน 2553 11:48:22 น.   
Counter : 1561 Pageviews.  


1  2  3  4  5  

panueddie
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add panueddie's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com