Group Blog
 
All blogs
 
ปราสาทตาเมือนโต๊ด

ปราสาทตาเมือนโต๊ด กิ่งอ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์



หลังจากพาไปชมปราสาทตาเมือนธมที่อยู่ในละแวกเดียวกันไปแล้ว คราวนี้มาต่อกันที่ปราสาทตาเมือนโต๊ดค่ะ เมื่อเดินทางกลับออกมาจากปราสาทตาเมือนธมไม่ไกล ก็จะพบปราสาทหลังนี้ตั้งอยู่บริเวณทางด้านซ้ายของถนน

เชื่อกันว่าปราสาทนี้ทำหน้าที่เป็นศาสนสถานประจำโรงพยาบาล หรือ อโรคยศาลา โดยในไทยได้พบปราสาทแบบนี้แล้วราว 30 แห่ง จากทั้งหมด 102 แห่ง ที่ถูกระบุไว้ในจารึกที่ปราสาทตาพรหมในเมืองพระนคร(หรือเมืองเสียมเรียบในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน) ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ทราบว่าปราสาทหลังนี้เป็นศาสนสถานประจำอโรคยศาลานั้น ก็เนื่องมาจากว่าลักษณะของแผนผังที่มีแบบแผนเดียวกับปราสาทแห่งอื่นๆ ทั้งในไทยและในกัมพูชา ที่ได้มีการพบจารึกซึ่งระบุว่า ได้มีหน้าที่เป็นศาสนสถานประจำอโรคยศาลานั่นเองค่ะ

*อโรคยศาลา ก็คือ สถานที่ที่ใช้ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เทียบกับปัจจุบันก็ประมาณโรงพยาบาลนั่นแหละค่ะ โดยอโรคยศาลาแต่ละแห่งนั้น ก็มักจะมีศาสนสถานประจำอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน เพื่อเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพของเทพเจ้า และขอพรให้ช่วยรักษาโรคร้ายต่างๆให้


สภาพทั่วไปของปราสาท


ภาพนี้ถ่ายเมื่อตอนไปภาคสนามที่ปราสาทนี้ครั้งที่สองค่ะ จะสังเกตได้ว่าสระน้ำที่เห็นจะมีน้ำขึ้นมาแล้ว ในขณะที่รูปแรก เต็มไปด้วยหญ้าค่ะ
สระน้ำแบบนี้จะพบได้ทั่วไปในปราสาทเขมรเกือบทุกปราสาท เข้าใจว่าเพื่อประโยชน์และความสะดวกในการใช้น้ำอุปโภคบริโภคค่ะ


ปราสาทหลังนี้เป็นปราสาทซึ่งสร้างขึ้นเนื่องในพระพุทธศาสนา นิหายมหายาน ก่อด้วยศิลาแลงเป็นส่วนใหญ่ โดยได้ถูกสร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งปรากฏข้อความในจารึกที่ว่าพระองค์ได้โปรดฯให้สร้าง อโรคยศาลา ที่พักคนเดินทาง และถนนที่ตัดมาจากเมืองพระนคร ขึ้นหลายแห่งในบริเวณที่อยู่ภายใต้การปกครองของพระองค์ รวมถึงการกำหนดอายุจากรูปแบบศิลปะก็สามารถกำหนดได้อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ตรงกับศิลปะของแบบบายนอีกด้วย

ซึ่งลักษณะของผังที่กล่าวว่ามีรูปแบบเดียวกันนั้น ก็คือ ศาสนสถาน 1 แห่งจะประกอบไปด้วย ปราสาทประธาน 1 หลัง ซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก โดยมีบรรณาลัยอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน


ภาพตัวปราสาทประธาน จะเห็นได้ว่า ส่วนตัวอาคารนั้นก่อด้วยหินทราย ต่อมาที่ส่วนยอดจึงก่อด้วยศิลาแลง แล้วที่ยอดบัวด้านบนซึ่งต้องสลักลายนั้นจึงก่อด้วยหินทรายอีกทีค่ะ


บรรณาลัยของปราสาทตาเมือนโต๊ดค่ะ ยังอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์เลยทีเดียว

ซึ่งทั้งตัวปราสาทประธานและบรรณาลัยนั้น จะมีกำแพงล้อมรอบ(ทางกำแพงด้านทิศตะวันออกจะมีการทำซุ้มประตู หรือที่เรียกว่า "โคปุระ" อยู่ด้วย) และนอกกำแพงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ก็จะมีสระน้ำอยู่


ภาพถ่ายโคปุระจากทางด้านหน้าค่ะ จะเห็นได้ว่าส่วนที่เป็นช่องประตูช่องหน้าต่างนั้น จะก่อด้วยหินทราย เนื่องจากเป็นส่วนที่ต้องรับน้ำหนักมากนั่นเองค่ะ

ซึ่งลักษณะร่วมเหล่านี้พบได้ในปราสาททุกแห่งที่ทำหน้าที่เป็นศาสนสถานประจำอโรคยศาลา ทั้งที่พบในเมืองพระนครและที่พบในประเทศไทย เพียงแต่ว่าปราสาทในเมืองพระนครจะดูมีฝีมือที่ประณีตกว่าเท่านั้น

ความเหมือนกันเหล่านี้จึงอาจเป็นสิ่งที่ถูกส่งออกมาจากส่วนกลางก็คือเมืองพระนคร ซึ่งอาจเป็นการระบุเป็นระเบียบแบบแผนในการสร้าง รวมไปถึงยังอาจมีการส่งช่างออกมาก่อสร้างให้ด้วยก็เป็นได้

ตัวปราสาทประธานนั้นก่อด้วยวัสดุ 2 อย่างคือ มีทั้งส่วนที่เป็นศิลาทราย และศิลาแลง โดยศิลาแลงที่ใช้ในปราสาทแบบเขมรนั้น จะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ซึ่งผังของปราสาทประธานนั้น จะมีเพียงแค่ส่วนของครรภคฤหะ ที่มีมุขยื่นออกมาทางด้านหน้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่มีจุดที่น่าสังเกตก็คือ ที่หน้าบันของมุขที่ยื่นออกมานั้น จะมีช่อง/หลุม รูปสี่เหลี่ยม 4 ช่อง ทำให้มีการสันนิษฐานว่าอาจเป็นที่สำหรับเสียบเดือยเพื่อต่อคานไม้หลังคามุงกระเบื้อง ออกมาอีก


ช่องสี่เหลี่ยมที่เห็นในรูปนั่นล่ะค่ะ คือจุดที่สันนิษฐานว่าอาจทำไว้สำหรับเสียบเดือยไม้คานของส่วนที่ก่อสร้างเพิ่มยื่นออกมาด้านหน้า

ซึ่งที่ลานด้านหน้าของมุขที่ยื่นออกมาจากส่วนครรภคฤหะนั้น ก็พบหลุมเสาด้วย เป็นการสนับสนุนสมมุติฐานที่ตั้งไว้ โดยส่วนที่คาดว่าจะมีการต่อยื่นเป็นอาคารไม้ออกมานี้ อาจถือได้ว่าเป็นส่วนของมณฑป แล้วส่วนที่เห็นเป็นมุขในปัจจุบันก็อาจกลายเป็นส่วนของอันตราระ

นอกจากนี้ ที่ปราสาทหลังนี้ยังได้พบตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะการก่อสร้างหน้าบันของปราสาทเขมรอีกด้วย โดยในส่วนของหน้าบันนั้นจะมีการก่อเรียนหินเว้นเป็นช่องสามเหลี่ยม เพื่อเป็นการถ่ายน้ำหนัก จากส่วนของหลังคาไม่ให้ไปลงที่ทับหลัง ซึ่งมีหน้าที่คล้ายกับคาน แต่ให้ไปลงที่ส่วนของกรอบประตูซึ่งเป็นส่วนที่รับน้ำหนักได้มากกว่าแทน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ปราสาทพังลงมานั่นเอง


เห็นช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆนั่นใช่มั้ยคะ นั่นแหละค่ะ ถ้าเป็นสภาพสมบูรณ์ตรงนั้นจะมีการทำหน้าบันมาปิด แต่จริงๆด้านในจะก่อกลวงเป็นรูปสามเหลี่ยมเพื่อถ่ายน้ำหนัก ช่างสมัยโบราณนี่เค้าก็เก่งนะคะ คิดดูว่าทั้งหินทั้งศิลาแลง น้ำหนักมันจะมากขนาดไหน ยังสามารถก่อสร้างจนหลงเหลือมาให้เราได้ศึกษากันได้ ตั้งกี่ร้อยปีมาแล้วล่ะนั่น เหอๆๆ เกือบพันปีแล้วอ่ะ


รูปนี้อยากเอามาให้ดูเฉยๆค่ะ คิดดูขนาดวัสดุที่เป็นศิลาแลงซึ่งไม่เหมาะกับการสลักใดๆทั้งปวง เนื่องจากเนื้อหยาบและมีรูพรุนเยอะ แต่เค้าก็ยังไม่วายขอสลักเป็นลวดลายซักนิดๆหน่อยๆก็ยังดี สุดยอดจริงๆ หุหุหุ





Create Date : 30 พฤศจิกายน 2549
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2550 17:46:56 น. 8 comments
Counter : 937 Pageviews.

 
เหมือนได้ย้อนเวลากลับไปหาอดีตอีกครั้งเลย

คนโบราณนี่ก็เก่งนะ จับก้อนหินมาต่อ ๆ กันจนเป็นรูปร่างได้สวยงามดี


โดย: maxpal วันที่: 30 พฤศจิกายน 2549 เวลา:21:12:27 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณ maxpal ใช่ค่ะ เห็นด้วยอย่างยิ่งเลยค่ะ ว่าคนสมัยโบราณนี่เค้าเก่งมากๆ
คิดดูว่าเค้าไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยเหมือนสมัยนี้ แต่ก็ยังสามารถทำอะไรที่ยิ่งใหญ่ขนาดนี้ได้

การเรียนที่คณะโบราณคดีก็เลยรู้สึกเหมือนได้นั่งไทม์แมชชีนย้อนอดีตอยู่ตลอดเวลาเลยค่ะ
ได้รู้เรื่องที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นรากเหง้าของพวกเราให้ปัจจุบัน
สนุกมากๆเลยค่ะ 555+


โดย: +mosminly+ วันที่: 1 ธันวาคม 2549 เวลา:21:19:40 น.  

 
จะตกเป้นของเขมรอีกมิครับ หน้ากลัวจริงพวกนี้


โดย: ปืน IP: 203.147.10.245 วันที่: 8 สิงหาคม 2551 เวลา:22:43:31 น.  

 
อยากรู้ว่าชื่อปราสาทตาเมือนโต๊ดหรือตาเมือนตู๊ดย์ค่ะสับสนจังแล้วแปลว่าอะไรอ่ะใครรู้ช่วยบอกน้องแจ๊คทีค่ะ


โดย: jackky IP: 61.19.227.2 วันที่: 14 สิงหาคม 2551 เวลา:16:06:53 น.  

 
จะตกเป็นของกัมพูชาอีกแน่นอน
ไม่ต้องกลัวหรอก ไอ้พวกที่น่ากลัวนั้น
คือไอ้พวกไทยนี่แหละพวกมันๆน่ากลัวจังเลย
น่าจะฆ่าทิ้งให้หมด
เดินเอาแต่ปราสาทเค้าไม่อายเค้า
ไอ้พวกหน้ามืดตาบอด


โดย: yearytuk IP: 61.7.149.226 วันที่: 1 ธันวาคม 2551 เวลา:13:51:08 น.  

 
ศิลาจารึกก็เป็นของกัมพูชาตัวหนังสือ
ทั้งหมดก็เป็นของกัมพูชาเพราะฉะนั้น
ทุกอย่างก็เป็นของเรา
ไอ้พวกไทยมันมาอ้วดว่าเป็นของไทย
มันไม่ใช่เป็นของกัมพูชาเท่านั้น
ไทยไม่รู้เหรอประเทศกัมพูชาตามประวัติศาสตร์
ในแผนที่เก่าของกัมพูชาคือแผนที่ Angkor Wat
หรือนครวัดประเทศกัมพูชาแต่ก่อนติดกับประเทศมาเลซี่
และประเทศพม่า


โดย: yearytuk IP: 61.7.149.226 วันที่: 1 ธันวาคม 2551 เวลา:14:01:38 น.  

 
สวยดี


โดย: c IP: 58.8.226.122 วันที่: 6 พฤษภาคม 2552 เวลา:19:23:52 น.  

 
ถ้าอ้างถึงประวัติศาสตร์สมัยนครวัด ทำไมไม่บอกกับใครๆไปหล่ะว่าหลังจากนั้น กัมพูชาต้องตกเป็นเมืองขึ้นของสยามและอันนัมนานเท่าไร ก่อนที่ฝรั่งเศสจะเข้ามา


โดย: รักไทย IP: 202.28.62.245 วันที่: 20 กันยายน 2554 เวลา:12:00:31 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

+mosminly+
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




หลังไมค์ถึงมอสซี่เชิญกดเลยค่ะ
Friends' blogs
[Add +mosminly+'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.