คิดถึงเพื่อนๆทุกคนนะคะ No Tag still..! Please..

ไม่ได้เป็นแค่ดอกหญ้า ตอน"เส้งเล็ก"

Melochia corchorifolia Linn.
วงศ์ STERCULIACEAE
ชื่ออื่น สะแองใบมน
ขางปากปุด(เชียงใหม่)
เส้งใบมน(ชัยนาท)
กือแตกูงี (มลายู-นราธิวาส)




เป็นไม้ พุ่ม ล้มลุก ขนาดเล็ก
ตามกิ่งก้าน ก้านใบและช่อดอก
มีขนรูปดาวปกคลุม




ใบเดี่ยวเรียงสลับกัน
ตัวใบรูปไข่ขอบขนาน
ขอบใบหยัก ปลายใบแหลม
ใบที่มีขนาดใหญ่บางครั้งขอบใบหยักเว้าเล็กน้อย




ช่อดอกออกตามปลายยอดเป็นกระจุก
ดอกขนาดเล็ก มีร่องตื้นๆ 5 ร่อง
ไม่มีปีกเมื่อผลแห้งจะแตกตามร่อง
ภายในมีเมล็ดเล็กๆ




สถานที่พบ ตามนาข้าว
ที่รกร้างทั่วไป มีแดดจัด
ดินชื้นแฉะ หรือ มีน้ำขัง


สรรพคุณ เป็นสมุนไพร
ใบใช้พอกแผล แก้บวม หรือแก้ปวดบริเวณท้อง
บางตำราว่า ลำต้นและใบต้มในน้ำมันเป็นยาป้องกันพิษจากงูบางชนิดได้




รากใช้ ตากแห้ง สับแล้วนำมาต้มน้ำรับประทาน
โดยให้คนท้องใกล้คลอด (ประมาณ 8 เดือน)ดื่ม
ช่วยให้คลอดง่าย รับประทานวันละ 3 ครั้ง 3วัน
และแก้อาเจียนได้ด้วยนะคะ






 

Create Date : 03 ธันวาคม 2551    
Last Update : 3 ธันวาคม 2551 13:57:36 น.
Counter : 2339 Pageviews.  

ไม่ได้เป็นแค่ดอกหญ้า ตอนผักเสี้ยน




ผักเสี้ยน ( Spider Weed)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cleome rutidosperma DC.

วงศ์ : Capparaceae

ถิ่นกำเนิด : อัฟริกากลาง
1

เป็นไม้ล้มลุกปีเดียว สูงประมาณ 1 - 2 ฟุต

แตกกิ่งก้านสาขารอบต้น ลำต้นทีขนอ่อนปกคลุม จับดูจะเหนียวติดมือ

ใบ เป็นใบประกอบ ก้านหนึ่งจะมีใบย่อยอยู่ประมาณ 3-5 ใบ

เรียงกันคล้ายรูปนิ้วมือ ใบย่อยแต่ละใบขนาดไม่เท่ากัน

ก้านใบยาว ใบมีขนอ่อนปกคลุมคล้ายกับลำต้น

ดอกออกเป็นช่อ อยู่ส่วนยอดของก้าน

ดอกที่อยู่กลางช่อดอกจะบานก่อน ก้านดอกย่อยเรียวเล็ก

กลีบดอกมีสีขาว หรือขาวอมม่วงอ่อน มี 4 กลีบ

ก้านชูเกสรยาว ผล เป็นฝักเรียวยาว

แก่แล้วจะแตกออก เมล็ด มีสีน้ำตาลหรือสีดำ

รูปร่างกลมแบนคล้ายรูปไตหลายเมล็ด

2

ประโยชน์ทางอาหาร

ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อนของผักออกในฤดูฝน

ส่วนการปรุงอาหารนั้น คนไทยไม่บริโภคผักเสี้ยนสด

ต้องนำไปดองทำเป็นผักเสี้ยนดองก่อน

จึงนำไปรับประทานเป็นผัก

จากข้อมูลรายงานว่า ผักเสี้ยนสดมีสารไฮโดรไซนยาไนต์ (Hydrocyanide)

ซึ่งมีพิษต่อประสาทส่วนกลาง เมื่อนำมาดองหรือต้ม สารพิษนี้จะสลายไป



3

วิธีดองผักเสี้ยนทำได้โดย

นำผักเสี้ยนมาเด็ด หรือหั่นเป็นท่อน ขนาดพอเหมาะ

นำไปตากแดดพอหมาดๆ เพื่อขจัดกลิ่นเหม็นเขียวทิ้งไป

จากนั้นจึงเอาข้าวสุกเย็น 1 กำมือ ต่อผักเสี้ยน 5 ถ้วยแกง

ขยำกับเกลือให้มีรสเค็มเล็กน้อย

แล้วนำผักเสี้ยนที่เตรียมไว้ใส่ลงไป

ใส่น้ำตาลโตนด 5 ช้อนแกง คลุกเคล้าให้เข้ากันดี

ปิดฝาภาชนะ ตั้งทิ้งไว้ในร่ม 3-4 คืน

ผักเสี้ยนจะมีรสเปรี้ยว นำมารับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก

หรือนำไปแกงกระดูกหมู หรือแกงส้มกับกุ้ง หรือปลาก็ได้

4

ประโยชน์ทางยา

ต้นผักเสี้ยน สรรพคุณแก้โลหิต และขับระดูเน่าเสีย

ฆ่าพยาธิไส้เดือน แก้แมงป่องต่อย


5

ใบ สรรพคุณแก้ปวดเมื่อย เรียกเลือดมาเลี้ยงผิวหนัง

น้ำคั้นจากใบมาผสมกับน้ำมันเป็นยาแก้ปวดหู

หรือตำพอกรักษาฝีไม่ให้เป็นหนอง บรรเทาอาการระคายเคือง

6

เมล็ด ขับปัสสาวะ นำมาชงช่วยขับเสมหะ ฆ่าพยาธิไส้เดือน

7

โบราณท่านว่าจะปลูกผักเสี้ยน

เลือกเอาคืนเดือนมืด ลงไปบริเวณที่จะปลูก

จะเตรียมดินก่อนหรือไม่ไม่สำคัญ เอาภาชนะอะไรก็ได้มา 1 ใบ


8

จากนั้น แก้ผ้านุ่ง(อิ อิ) แล้วกระเดียดภาชนะออกไป

ยังที่ที่จะปลูก หยิบเมล็ดผักเสี้ยนออกจากภาชนะ

แล้วหว่านออกไปให้รอบๆ

ปากก็ร้องว่าปลูกผักเสี้ยนจ้าๆ

แล้วก็คงไม่ต้องไปดูแลอะไร

ไม่นานพอฝนตก จะมีผักเสี้ยนงอกขึ้นมาเอง

เป็นเรื่องแปลก ท่านเลยว่า ผักเสี้ยนผี (ผีจะมาดู และช่วยปลูก)

ขอบคุณข้อมูลจาก healthteenและ horapa.com ค่ะ














 

Create Date : 01 พฤศจิกายน 2551    
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2551 6:30:44 น.
Counter : 1850 Pageviews.  

ไม่ได้เป็นแค่ดอกหญ้า ตอนกะเม็ง





กะเม็ง หรือกะเม็งตัวเมีย มีชื่อเรียกแตกต่างกันหลายชื่อ ขึ้นกับแต่ละท้องถิ่น
เช่น ทางภาคเหนือ เรียกว่า ฮ่อมเกี้ยว ทางพายับ เรียก หญ้าสับ
จีน เรียก บั้งกีเช้า ทางภาคกลาง เรียก กะเม็งตัวเมีย
กะเม็งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Eclipta prostrata Linn. ในวงศ์ Compositae
ซึ่งเป็นพืชในวงศ์เดียวกับ ทานตะวัน และดาวเรือง




กะเม็ง เป็นพืชขนาดล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นและกิ่งก้านสีเขียวปนน้ำตาลแดง เป็นพืชที่ขึ้นเองตามริมทาง พบในเขตร้อนถึงเขตอบอุ่นทั่วโลก ที่ชื้นแฉะ และที่รกร้างทั่วไป
อาจมีการเพาะปลูกไว้เพื่อใช้เป็นยา กระเม็งมีลำต้นอวบ เลื้อยแผ่บนดิน
ปลายยอดมักตั้งขึ้นตรง ใบออกตรงข้าม มีลักษณะเรียว ยาวประมาณ 4-10 ซม.
ถ้าเกิดในที่ชุ่มชื้น มีน้ำมากใบก็ใหญ่ เกิดในที่แห้งแล้งใบจะเล็ก
ฐานใบมีลักษณะเป็นรอยเว้าเข้า และบานออกเล็กน้อยทั้งสองด้าน
ปลายค่อนข้างแหลม ขอบใบมีรอยหยักตื้น ๆ ทั้งสองด้าน มีขนสั้น ๆ สีขาว
กะเม็ง ออกดอกเป็นช่อ จากซอกใบ หรือที่ยอดเป็นกลุ่มแน่นสีขาว
มีดอกย่อยคล้ายลิ้นเรียงตัวเป็นรัศมีสีขาวชั้นเดียว มีกลีบเลี้ยงสีเขียว
รองรับช่อดอก 5-6 กลีบ ผลมีสีเหลืองปนดำ เมื่อขยี้ดูจะมีน้ำสีดำออกมา



การเก็บกะเม็งมาใช้เป็นยานั้น จะเก็บมาใช้ทั้งต้นในขณะที่ต้นเจริญเต็มที่ เมื่อเก็บมาแล้ว ควรล้างดินออกให้สะอาด
หั่นเป็นท่อนหรือชิ้นเล็ก ๆ ตากหรือผึ่งให้แห้ง เก็บไว้ในที่แห้งและเย็น
เพื่อใช้เป็นยา ลักษณะของยาแห้งที่ดี ควรมีสีเขียว ไม่มีเชื้อรา และสิ่งอื่นเจือปน




สำหรับสรรพคุณทางยาของกะเม็งนั้นมีประโยชน์มากมายและ มีหลายประการด้วยกัน กะเม็งมีรสเปรี้ยว ชุ่มเย็น ใช้เป็นยาห้ามเลือด บำรุงไต แก้บิด ถ่ายเป็นมูกเลือด แก้ลำไส้อักเสบ ตับอักเสบเรื้อรัง
โรคผิวหนังผื่นคันจากการทำนาและรักษาผมหงอกก่อนวัย





วิธีและปริมาณที่ใช้ของกะเม็งนั้น จะใช้ทั้งต้นแห้ง 10-30 กรัม ต้มเอาน้ำกิน หรือจะนำมาบดเป็นผง ทำเป็นยาเม็ดลูกกลอน หรือกินเป็นผงก็ได้เป็นยาบำรุงเลือดอีกด้วย ห้ามเลือด ใช้ต้นสด ตำพอก หรือใช้ต้นแห้ง บดเป็นผง โรยที่แผล แก้บิดถ่ายเป็นมูกเลือด ใช้ต้นแห้ง 30 กรัม หรือ ต้นสด 120 กรัม ต้มน้ำกินติดต่อกัน 3-4 วัน แก้โรคผิวหนังผื่นคันจากการทำนา ใช้น้ำคั้นจากใบสดทาบริเวณมือและเท้าปล่อยให้แห้งก่อนและหลังการลงไปทำนา เป็นการป้องกันมือและเท้าเปื่อย
แต่ถ้ามือและเท้าเปื่อย จากการทำนาแล้ว ก็สามารถใช้น้ำคั้นจากใบทารักษาได้
โดยทาวันละ 2 ครั้ง จนกว่าจะหาย
บางครั้งยังนำพืช ชนิดนี้มาใช้ย้อมผ้า นำสารสกัดสีดำของกระเม็งทำเป็นหมึกพิมพ์ ฯลฯ




ชาวจีนได้นำกะเม็งมาใช้ในการแก้ผมหงอกก่อนวัย ทำให้ผมดกดำมาเป็นเวลานานและยังใช้จนมาถึงปัจจุบันนี้ โดยใช้น้ำคั้นจากต้นเคี่ยวหรือ ตำผสมกับน้ำมันงา หรือน้ำมันมะพร้าวทาศีรษะเป็นประจำ
มีรายงานการวิจัยพบว่า กะเม็ง สามารถแก้ความเป็นพิษที่ตับ ที่เกิดจากการทำให้เซลล์ตับเป็นพิษด้วยสารพิษบางชนิด ได้ผลดี มีรายงานว่า กะเม็ง มีฤทธิ์แก้ไข้ และแก้แพ้ในหนูถีบจักร และหนูขาวอีกด้วย ดังนั้นจึงเป็นข้อมูลที่ยืนยันได้ว่ากะเม็ง สามารถนำมาใช้ในการรักษาตับอักเสบ และโรคผิวหนังผื่นคันได้เป็นอย่างดี













 

Create Date : 18 ตุลาคม 2551    
Last Update : 18 ตุลาคม 2551 21:05:40 น.
Counter : 3443 Pageviews.  

ไม่ได้เป็นแค่ดอกหญ้า ตอนโคกกระออม




ชื่อวิทยาศาสตร์: Cardiospermum halicacabum L.ในว งศ์ Sapindaceae
ชื่อภาษาอังกฤษ Balloon vine; Balloonvine; Heart seed; Heart pea; Love in a puff ชื่อท้องถิ่น ตุ้มต้อก(แพร่),ลุบลีบเครือ,เครือผักไล่น้ำ (เหนือ),โพออม(ปัตตานี),ติ๊นโข่ไหม(จีน)




เป็นพรรณไม้เถาขนาดกลาง ไม้ล้มลุก มีหนวดเกี่ยวพัน ใบเป็นใบประกอบ เรียงสลับในระนาบเดียวกัน แต่ละใบมีใบย่อย 3 ใบ ผิวใบเกลี้ยง เนื้อใบบาง ช่อดอกออกตามซอกใบ ดอกขนาดเล็ก สีขาว กลีบดอก 4 กลีบ เกสรสีเหลือง




ผลสีเขียวพองกลมคล้ายบอลลูน ภายในแบ่งเป็นสามช่ิอง ผลแก่แห้งแตกได้ มีเมล็ดกลมสีดำ มีขั้วรูปหัวใจ สีขาว1-3เมล็ด




ถิ่นที่พบ อินเดีย แอฟริกา อเมริกา



ในไทยพบตามป่าไม้เบญจพรรณ ที่รกร้างว่างเปล่า
ชายป่า ริมทางทั่วประเทศ ตามริมน้ำที่ชุ่มชื้น ชอบดินกรดเล็กน้อย



การปลูกใช้เมล็ดค่ะ



ประโยชน์ ยอดใช้รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก อุดมด้วยเบต้าแคโรทีน
เป็นผักที่รสขม ทานสดๆหรือย่างไฟเพื่อลดความขม




สรรพคุณทางยา ใบ รสขม ขื่น แก้หืด ไอ ตำพอกฝี ขับระดู แก้ตาเจ็บ
ดอก รสขม ขับโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษ




ลูก รสขม ดับพิษทั้งปวง บำรุงน้ำดี ดับพิษแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
ราก แก้โรคตาอักเสบ แก้พิษงู ทำให้อาเจียน เป็นยาระบาย รักษาต้อ แก้พิษงูเห่าทั้งห้า แก้ไข้ ขับ ปัสสาวะ เป็นยาระบาย บำรุงน้ำนม




เมล็ด รสขม แก้ไข้ ขับเหงื่อ
เถา แก้ไข้(กระออมทั้ง ๕ แก้อาการผิดปกติการหลั่งน้ำนม ทำให้มารดามีน้ำนมมากขึ้น)























 

Create Date : 10 ตุลาคม 2551    
Last Update : 10 ตุลาคม 2551 20:44:55 น.
Counter : 1569 Pageviews.  

ไม่ได้เป็นแค่ดอกหญ้า ตอนขี้ครอก



ขี้ครอก Caesarweed/Hibiscus Bur

โธ่หน้าตา ดอกดวง น่ารักน่าชัง ใครกันหนอตั้งชื่อให้ ช่างอาภัพเสียนี่กระไร
แต่ชื่อนั้นสำคัญหรือไร ถ้าตัวมีประโยชน์มากมาย



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Urena lobata Linn วงศ์ : MALVACEAE
ชื่ออื่นๆ หญ้าผมยุ่ง หญ้าอียู ขี้คาก (ภาคเหนือ) ซัวโบ๋เท้า (จีน) เส้ง ปูลู (ภาคใต้) ขี้ครอก (ไทยภาคกลาง) ขี้หมู (นครราชสีมา) ปอเส้ง (ปัตตานี) ขมงดง (สุโขทัย)



ลักษณะทั่วไป : -
เป็นพรรณไม้พุ่มต้นเล็ก จัดอยู่ในจำพวกมะเขือ ลำต้นมีความสูงประมาณ ๓-๕ ฟุตใบ มีลักษณะคายและมีขน เป็นแฉกคล้ายใบมะระแต่แฉกลึกกว่าเรียกว่าขี้ครอกตัวผู้ ส่วนขี้ครอกตัวเมียนั้นใบจะมีลักษณะเป็นแฉก น้อยและตื้น
ดอก ลักษณะของดอกจะมีสีชมพู มีเกสรยื่นคล้ายดอกชบาย่อส่วน



ส่วนที่ใช้
ต้นและใบ ใช้ต้มรับประทาน เป็นยารักษาโรคไตพิการ และยังเป็นยาช่วยขับปัสสาวะด้วย
ใบ ใช้ต้มเป็นยาใช้จิบรักษาอาการไอ และขับเสมหะ
ราก ใช้รับประทานเป็นยาเย็นใช้ถอนพิษไข้ทั้งปวง
ลำต้น มีเส้นใยเหนียวใช้ทำเชือก
ถิ่นที่อยู่ : ชอบขึ้นตามป่าราบและที่ลุ่มรกร้างทั่วไป ที่มีแดดจัด และมีปลูกมากตามสวนยาจีนทั่ว ๆ ไป





พจนานุกรม สมุนไพรไทย



L




 

Create Date : 03 ตุลาคม 2551    
Last Update : 11 ตุลาคม 2551 6:05:29 น.
Counter : 2018 Pageviews.  

1  2  3  

จันทร์ไพลิน
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




********
********


ขอขอบคุณcodeและรูปสวยๆ
กรอบและlineน่ารักมากมาย
จาก
คุณ Kungguenter,
คุณLosocat,
คุณยายกุ๊กไก่,
และป้าเก๋า ชมพรค่ะ

Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add จันทร์ไพลิน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.