มนุษย์กล้วย? มนุษย์มะม่วง? ปัญหาของคนอเมริกันเชื้อสายจีนรุ่นที่สอง ฉันคือใคร? (ทดลองแปลจากข่าว)
มนุษย์กล้วย? มนุษย์มะม่วง? ปัญหาของคนอเมริกันเชื้อสายจีนรุ่นที่สอง ฉันคือใคร?

ไม่กี่วันนี้ โรงละคร Houston ของอเมริกามีการแสดงละครเพลงเรื่อง ด้านข้าง ที่แสดงออกถึงความพยายามแสดงตัวตนของชาวอเมริกันเชื้อสายจีน ทำอย่างไรถึงจะได้คืนสู่บรรพบุรุษของตน ดึงดูดความสนใจจากชาวอเมริกันเชื้อสายจีนมากมาย

ศิลปะมาจากชีวิต
เจสันนักแสดงนำของละครเรื่องด้านข้างเป็นอเมริกันจีนรุ่นที่สอง เขาไม่เห็นด้วยกับพ่อแม่ที่อยากให้เขาเรียนเก่งๆ ทำงานในโรงเรียนที่มีชื่อเสียง ตามวัฒนธรรมทางความคิดดั้งเดิมของจีน เจสันมีความคิดว่าเขามีสิทธิ์ที่จะเลือกทางเดินชีวิตและอนาคตของตัวเขาเอง เขารักการเล่นบาสเกตบอลเป็นชีวิตจิตใจและหวังว่าจะใช้ความสามารถนี้ลบความคิดเห็นในทางลบที่มีต่อเชื้อสายจีนที่เป็นกลุ่มน้อยของอเมริกาได้ อย่างเช่น เรียนได้แค่คณิต ไม่ชอบออกกำลังกาย เพราะเหตุนี้เขาขัดแม่ของเขาอยู่บ่อยครั้ง ในอีกด้านหนึ่ง ก็เคยมีเหตุทะเลาะวิวาทในสนาม คู่ต่อสู้ได้ใช้สัญลักษณ์อันหยาบคายกับเขาจนเขาโกรธต้องลงไม้ลงมือกัน

นักเขียนคนหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า ชีวิตจริงยิ่งกว่าละคร “ฉันคือใครกันแน่?”เป็นคำถามในใจของคนจีนผิวเหลืองใจขาว ต่อหน้าคนจีนแผ่นดินใหญ่พวกเขาพบว่าพวกเขาห่างไกลกับวัฒนธรรมจีนมากนัก ที่จริงแล้วคำว่ามนุษย์กล้วยแสดงออกถึงความอึดอัดใจอยู่ในตัวของมันอยู่แล้ว ก็ไม่แปลกอะไรที่มนุษย์กล้วยบางคนพยายามทำตัวเป็นมนุษย์มะม่วง ที่เหลืองทั้งนอกและใน

ค้นหาตัวเองในทางที่แตกต่าง
ประวัติคนจีนในประเทศสหรัฐอเมริกาสามารถสืบย้อนหลังได้เป็นร้อยกว่าปีเมื่อครั้งยังเป็นชนชั้นกรรมกรอยู่ จนกระทั่งถึงทุกวันนี้เส้นทางของคนอเมริกันเชื้อสายจีนจะเข้ากับเชื้อชาติอื่นๆได้นั้นยังอีกไกลไม่น้อย ในระยะที่ปรับตัวให้เข้ากับเชื้อชาติอื่นๆนั้น บางคนเลือกที่จะรับวัฒนธรรมอเมริกัน เป็นตัวของตัวเอง บางคนเลือกวัฒนธรรมจีน บางครั้งถึงกับปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ตัวอย่างเช่น mahu หรือ caimeier ผู้ที่ดังเป็นพุแตกในตอนนี้ ยังมีคนค้นตัวเองพบในขณะทำงานเขียนอยู่ yuliyaได้กลายเป็นหนึ่งเดียวของลูกจีนรุ่นที่สองในกรรมการบริหารของสถาบันการศึกษาchangchuntengที่มีชื่อเสียง ที่ผ่านมานี้ ถ้ามีคนถามเธอว่าเป็นคนชาติไหน เธอเองก็ไม่รู้ว่าจะตอบว่าอย่างไร ได้แต่พูดว่า การเขียนนำพาฉันห่างจากอันตราย

นอกจากนี้ยังมีเชื้อสายจีนบางส่วนเรียกตัวเองว่า ประชาชนชาวนานาชาติ ภักดีต่อมวลมนุษยชาติ ไม่เจาะจงประเทศใดประเทศหนึ่ง มีการวิเคราะห์ออกมาว่าเนื่องจากสิ่งแวดล้อมในวัยเจริญเติบโตของพวกเขาทำให้พวกเขายอมรับวัฒนธรรมที่หลากหลาย แต่ในใจแล้วกลับลังเลเกี่ยวกับสถานะของตนเอง ประชาชนชาวนานาชาติดูเหมือนว่าเป็นการหลบเลี่ยงการยอมรับทางเชื้อชาติมากกว่า
สถานะที่ไม่อาจตัดสินได้โดยง่าย

ไม่นานมานี้สมาคมอเมริกันเชื้อสายจีนและศูนย์เชื้อชาติเอเชียสัญชาติอเมริกันของมหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ทำรายงานชื่อ การเปลี่ยนทางทางประชากรของอเมริกันเชื้อสายจีน ประจำปี 2011 ได้แสดงให้เห็นว่า ปี 2009 มีอเมริกันเชื้อชาติจีนถึง 36.39 ล้านคน ประมาณ 1.2% ของประชากรอเมริกันทั้งหมด หรือ 22.2% ของอเมริกันเชื้อสายเอเชีย เพิ่มจากปี 2000 อีก 33.3% นอกจากนี้รายได้และการได้รับการศึกษาของอเมริกันเชื้อชาติจีนสูงกว่าชาวอเมริกันโดยเฉลี่ย ยิ่งเศรษฐกิจจีนพัฒนา คนจีนก็ยิ่งย้ายมาอยู่อเมริกามากขึ้น ถึงขนาดทำให้เกิดจุดเด่นใหม่ๆ เช่น ชาวจีนที่มาเรียนหนังสือที่อเมริกาอายุน้อยลง คนจีนมาลงทุนในอเมริกาเพิ่มมากขึ้น
สำหรับชาวจีนที่อพยพมารุ่นแรกนั้น การอพยพคือผลจากการตัดสินใจเลือกระหว่างข้อดีและข้อเสียนับครั้งไม่ถ้วน แต่สำหรับลูกหลานของผู้อพยพนั้นมันกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างวัฒนธรรมตั้งแต่พวกเขาจำความได้ เป็นที่คาดเดาได้ว่า สถานะของลูกหลานผู้อพยพจะกลายเป็นคำถามที่ตอบไม่ได้ไปอีกนาน

อธิบายเพิ่มเติม
- มนุษย์กล้วยหรือในภาษาจีนเขียนว่า 香蕉人 หมายถึงคนเอเชียที่มีความคิดคล้ายฝรั่ง เหลืองนอก ขาวในเหมือนกล้วยสุก ในภาษาไทยใกล้เคียงกับ หัวนอก ส่วนมนุษย์มะม่วงคือคนเอเชียที่มีความคิดในแบบของคนเอเชียนั่นเอง

- ในปัจจุบันคนจีนนิยมอุ้มท้องไปคลอดที่อเมริกา (ฮ่องกงก็มี) ส่วนมากจะเป็นการหลบหนีโดยมีบริษัทที่ทำหน้าที่คล้ายๆทัวร์พาพวกเธอเหล่านั้นไป ว่าที่คุณแม่ต้องอยู่อเมริกาคนเดียวหลายเดือนก่อนคลอด ถ้าเกิดอันตรายต้องรับผิดชอบเองหมดเพราะการกระทำนี้เป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย จุดประสงค์ที่ว่าที่คุณแม่ยอมเสี่ยงอันตรายถึงเพียงนี้คือ พวกเธอและสามีต้องการให้ลูกมีสัญชาติอเมริกันเพื่อที่จะได้สิทธิด้านการศึกษาและเปลี่ยนสัญชาติ นอกจากลูกได้สัญชาติแล้ว พ่อแม่ยังขอสัญชาติหรือกรีนการ์ดได้ง่ายขึ้นด้วย(กรณีของพ่อแม่เราไม่แน่ใจนะ เลือนๆไปแล้ว)

"香蕉人"?"芒果人"? 美国华裔二代的困惑:我是谁?
近日,美国休斯敦大歌剧院上演歌剧《场边》,生动表现了华裔二代如何争取身份认同,如何为了寻求归属感而挣扎,引发了人们对华裔二代身份困惑的关注。

  艺术源于生活

  《场边》的主人公杰森是出生在美国的二代华人,但是他并不认同母亲希望他在学业上出类拔萃、上名校作白领、出人头地的传统中国价值观。杰森认为,他可以选择自己的人生轨迹和未来。他疯狂地痴迷于篮球,并希望以此对抗对华人少数族裔的偏见,如“只会数学”以及“不爱运动”的质疑。为此,他与母亲矛盾重重。而另一方面,在一场比赛发生的冲突中,对手用侮辱性的字眼辱骂他,气愤的杰森与之当场发生肢体冲突。

  有作家曾说过,生活远比艺术更戏剧化。“我究竟是谁?”在美国,外黄里白的“香蕉人”被贴上“中国人”标签。而在中国人面前,他们又发现自己离中国文化已经太过遥远。其实,“香蕉人”这一称呼已足以表现其尴尬,也难怪有些“香蕉人”开始努力向外黄里黄的“芒果人”努力。
不同方式寻找自我

  华人在美国的历史可以追溯到一百多年前的劳工时期。然而,直到今天,华人作为一个族群离“融入主流”似乎还有一段不短的距离。在逐渐融入的过程中,有人拥抱美国的主流文化,尽显张扬个性。有人选择中国传统文化,甚至带上了一丝极端的色彩,比如最近一段时间极火的“虎妈”蔡美儿。还有人在写作中找到了自我。成为美国常春藤名校理事会中唯一学生理事的华裔二代喻俐雅,很长时间里,在别人问起她是哪国人时,她都不知道如何回答。她说:“是写作让我走出危机。”

  此外,有些华裔二代戏称自己为“国际公民”,“效忠”对象是全人类,而非某个国家。不过,分析认为,这部分人因为成长环境的影响会同时对多种文化产生认同,但内心却很容易陷入对自我身份的彷徨。“国际公民”更像他们对身份认同的逃避。

  身份困惑不易解决

  最近,美国华人全国委员会与马里兰大学美籍亚裔中心联合发布的“2011年美国华裔人口动态研究报告”显示,截至2009年,美国华裔人口达到363.9万,占美国总人口的1.2%,占美国亚裔人口的比重达到22.2%,比2000年增加33.3%。而且,华裔的收入水平与受教育水平均高于美国平均水平。随着中国经济的发展,前往美国的华人数量也在增加,而且开始呈现新的特点,比如,赴美留学的华人学生年龄趋小,而且,到美国投资的华人增多。

  对于许多第一代移民来说,移民是在无数次权衡利弊之后的选择。然而,华裔二代却注定了从懵懂时便要面对中西方文化的撞击。可以预见的是,在今后很长一段时间里,华裔二代的身份困惑不会很容易解决。(记者 张红)
//world.people.com.cn/GB/13982601.html



Create Date : 07 มีนาคม 2554
Last Update : 7 มีนาคม 2554 19:51:14 น.
Counter : 1340 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นางสาวคานทอง
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



All Blog