กลับมาอีกรอบ ไปมามาไป
Group Blog
 
All blogs
 

Lebanese Damage กับ Dahr Jamail



จากข้อเขียนเรื่อง Destruction, Death, and Drastic Measures ของ Dahr Jamail ใน tomdispatch.com เวบข่าวทางเลือกเจ้าประจำ และหัวข่าวชื่อ "Everything in my life is destroyed now, so I will fight them." ของ Jamail ใน Dahr Jamail's MidEast Dispatches นั้น Jamail ซึ่งเป็นนักข่าวอิสระซึ่งได้ไปใช้ชีวิตในอิรัก และเห็นมุมมองหลายอย่างแตกต่างไปจากสายตานักข่าวตะวันตกโดยทั่วไป จะมาพูดถึงสถานการณ์ในเลบานอนหลังถูกอิสราเอลระเบิดถล่มอย่างหนัก

อย่างที่เรารู้กันว่าชนวนของสงครามครั้งนี้เกิดจากกลุ่มฮิซบอลเลาะห์จับตัวทหารอิสราเอลสองคนไป พร้อมกับสังหารทหารอีกแปดคน และอิสราเอลจึงดำเนินการตอบโต้โดยทิ้งระเบิดโจมตีใส่เลบานอน แต่สิ่งที่ประเทศอาหรับบอกกับเราก็คือ อิสราเอลเริ่มต้นก่อนที่จะมีการกระทำเหล่านี้เสียอีก

ความสูญเสียจากการถูกถล่มอย่างหนัก ถึงปลายเดือนกรกฏาคมนั้น อยู่ที่ 2.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐสำหรับสาธารณูปโภคทั้งหลายที่ถูกทำลายไป (รวมสนามบินทั้งสามแห่ง และท่าเรือสี่แห่งที่มี) 1 ล้านล้านเหรียญสำหรับส่วนของประชาชนและธุรกิจ (รวมถึงปั๊มน้ำมันกว่า 22 แห่ง สถานีเชื้อเพลิง ทางหลวง ฯลฯ) 180 ล้านเหรียญสำหรับส่วนโรงงานและอุตสาหกรรม

ส่วนการสูญเสียชีวิตนั้น กว่า 90 % ที่ถูกโจมตีเป็นพลเรือน ซึ่งก็มีมากกว่าหนึ่งพันคน และต้องลี้ภัยกว่า 3.8 ล้านคน

อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าสนใจก็คือ อิสราเอลวางแผนจะโจมตีพลเรือนและเหล่าสาธารณูปโภคทั้งหลายเพื่อให้เกิดผลทางจิตวิทยาให้คนเกลียดชังและหันมาต่อต้านกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ แต่หากผลที่ได้กลับกลายเป็นตรงกันข้าม เพราะกลายเป็นว่า แม้แต่กลุ่มคนที่ไม่เคยสนับสนุนฮิซบอลเลาะห์ก็กลับมองว่าฮิซบอลเลาะห์เป็นผู้ที่ปกป้องตัวเองจากการรุกรานของอิสราเอล และฮัสซัน นัสรัลเลาะห์ ผู้นำกลุ่มก็ได้รับเสียงสนับสนุนมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในและนอกประเทศ

ส่วนในประเทศ เสียงสนับสนุนนี้ก็มีผลไปถึงส่วนอื่น ๆ ของเลบานอน อย่างชาวดรูซ และคริสเตียนด้วย โดยเฉพาะหลังจากที่อิสราเอลขยายขอบเขตการโจมตีไปสู่พื้นที่ส่วนของชาวคริสเตียน อันอาจจะมีผลสำคัญทำให้ศูนย์อำนาจที่เคยต่อสู้และกระจัดกระจายกันมารวมเป็นปึกแผ่นภายใต้ฮัสซัน นัสรัลเลาะห์

และจากมุมมองของชาวเลบานอน และอาหรับเอง คำว่ากลุ่มผู้ก่อร้าย ก็ไม่ได้หมายถึงฮิซบอลเลาะห์ เพราะสำหรับคนในตอนใต้ของเลบานอน กลุ่มนี้เป็นผู้ที่ดูแลประชาชนตั้งแต่สาธาณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็น ซึ่งรวมไปถึงโรงพยาบาล โรงเรียน และสวัสดิการสังคม พร้อม ๆ กับการปกป้องคุ้มครองประชาชนที่ถูกละเลยกลุ่มนี้ และเสียงของกลุ่มก็เริ่มดีขึ้นเรื่อย ๆ หลังการขับไล่กองทัพอิสราเอลออกไปจากประเทศได้ในปี 2000 และเมื่อบวกกับตำแหน่งที่นั่งในรัฐสภาก็ทำให้หมายถึงฮิซบอลเลาะห์เป็นกลุ่มทางการเมืองที่ชอบธรรมและถูกกฎหมาย และดังนั้น การใช้คำว่า ผู้ก่อร้าย สำหรับชาวเลบานอน และอาหรับบางส่วนก็หมายถึงสหรัฐและอิสราเอลไป

ดังที่ Jamail พูดคุยกับนักรบกลุ่มฮิซบอลเลาะห์คนหนึ่งในเมืองดามัสกัสในซีเรีย และชายผู้นั้นก็เล่าว่า ตอนนี้ครอบครัวและบ้านของเขานั้นไม่เหลืออะไรเลย หลังจากที่ถูกถล่มอย่างหนักจากฝีมือของกองทหารอิสราเอล และสิ่งนี้ก็ไม่ต่างที่เคยเป็นมาทั้งชีวิตจากฝีมือของกองทหารอิสราเอล เมื่ออายุ 11 ปีเขาและน้องชายถูกทหารอิสราเอลจับตัวไปคุมขังอยู่สองปี พี่ชายถูกฆ่าในเงื้อมมือของทหารอิสราเอล และเมื่อเป็นอิสระ ก็ได้รับผลกระทบจากการต่อสู้ของกลุ่มฮิซบอลเลาะห์กับอิสราเอลในพรมแดนเลบานอนทางใต้มาตลอด ถูกยิงก็หลายครั้ง และพ่อก็ตายไปเมื่อค่ายผู้ลี้ภัยในเบรุตถูกทิ้งระเบิด

และสิ่งนี้ก็ยิ่งน่าสนใจ เมื่อมีผลต่อการเข้าร่วมกองกำลังฮิซบอลเลาะห์ เพราะเขาบอกว่า เพราะตอนนี้ทุกอย่างในชีวิตถูกทำลายไปหมดแล้ว เขาถึงต่อสู้ และถึงจะต้องตายก็ได้กลับไปหาพระเจ้าอย่างสมเกียรติ เพราะสู้อย่างกล้าหาญ ไม่ยอมปล่อยให้ตัวเองถูกฆ่าเหมือนแกะ

("Everything in my life is destroyed now, so I will fight them. I am a Shaheed [martyr] … What are we left with? …. I know I will die fighting them, then I will go to my God. But I will go to my god fighting like a lion. I will not be slaughtered like a lamb.")

หรืออย่างชายชราที่ค่ายผู้ลี้ภัยที่ตะโกนขึ้นสาปแช่งอิสราเอล และเชื่อให้ฮิซบอลเลาะห์เป็นคนจัดการแทน

"The Israelis are attacking and killing everything which moves! It's total destruction! They just shredded our city! Everyone is now with Hezbollah! Even Jesus is with Hezbollah! Insha'Allah [God willing], Hezbollah will smash the Israelis and kick them from Lebanon once and for all!"
(แปลแล้วไม่สวย ขอยกมาเลยก็แล้วกัน)

---
อืม จริง ๆ เรียบเรียงได้ไม่ถูกใจเท่าไหร่คราวนี้ รู้สึกขาด ๆ เกิน ๆ ไปมากโข แต่อย่างไรก็ตาม ที่ยกมาเขียนก็เพราะสาใจที่แผนการร้ายของอิสราเอลล้มเหลวอีกครั้งหนึ่ง จริงอยู่ที่ความเสียหายของเลบานอนเหนือกว่าที่อิสราเอลประสบอยู่มากนัก แต่อิสราเอลซึ่งมีกำลังเหนือกว่าไม่ได้คิดถึงการต่อสู้ของผู้มีกำลังด้อยกว่าเลย ในสภาวะนั้น คนที่จนตรอกสามารถทำได้ทุกอย่าง และจะไม่มีวันยอมแพ้เสียด้วย การสู้ด้วยความเกลียดชังนั้นก็รังแต่จะทำให้เชื้อแห่งความเกลียดชังนั้นรุนแรงลุกลามยิ่งขึ้น ซึ่งในตอนนี้ความเกลียดชังต่ออิสราเอล นอกจากจะทำให้กลุ่มคนที่สนับสนุนฮิซบอลเลาะห์ขยายจำนวนออกไปเป็นวงกว้าง ก็ทำให้การรวมศูนย์อำนาจเดิมของเลบานอนก็เปลี่ยนแปลงมาสู่ฮิซบอลเลาะห์อีกต่างหาก (ทั้ง ๆ ที่เลบานอนแบ่งฝักแบ่งฝ่ายได้ขนาดนี้!)

อ่านแล้วสาใจ ถูกใจจนถึงขนาดตอนที่อ่านจบอยากทำเสื้อยืดสกรีนออกมาว่า Dear Barak,Thanks for Air bombings. We are now united than ever. Love, Nasrallah. จริง ๆ

อย่างไรก็ดี คำว่า freedom fighter หรือ terrorist มันก็ขึ้นอยู่กับว่ามองมุมใคร จริง ๆ อย่างที่พูดถึงบทบาทการเป็นผู้คุ้มครองของฮิซบอลเลาะห์แล้ว ก็ไม่ต่างอะไรกับของกลุ่มฮามาสเลย อย่างที่เคยดู bbc และบอกว่ากลุ่มฮามาสนั้นจริง ๆ ดูเรื่องสวัสดิการสังคม ดูเรื่องการศึกษาเด็ก และอื่น ๆ อีกมากมายเกินจะกล่าว เป็นผู้ให้อย่างเหลือหลายในสังคม และก็มีคนให้สัมภาษณ์เลยว่า ยังไง ๆ ก็จะเลือก เพราะกลุ่มฮามาสใส่ใจดูแลตัวเองและครอบครัวมาโดยตลอด แต่ถ้ามองจากมุมมองตะวันตก คนกลุ่มนี้ก็เป็นได้แค่กลุ่มผู้ก่อการร้ายหัวรุนแรง เป็นมุสลิมที่จ้องแค่จะเล่นงานอิสราเอลและทำร้ายทำลายชาติตะวันออก

ก็แล้วแต่จะมองตามมุมมองของใคร เพราะทุกคนก็ย่อมมองว่าความคิดเห็นและจุดยืนของตัวเองถูกต้องที่สุดทั้งนั้น และเมื่อเรามองแค่มุมของเรา คนอื่นก็เป็นฝ่ายผิดและไม่ถูกต้องไปทั้งสิ้น และที่น่าเศร้าก็คือ เราไม่มีการให้ใจมองเข้าหากัน เรียนรู้ที่จะอยู่กันได้เสียด้วย ตัวของแต่ละฝ่ายใหญ่เกินไปที่จะรับฟังและเลือกที่จะหัดเห็นหัดมองตามมุมมองของคนอื่นดู และการใช้ความเกลียดต่อสู้กับความเกลียดก็เหมือนสาดน้ำมันเข้าไปในกองเพลิงนั่นแหละ ก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรชึ้นต่อไป ถ้าไม่ใช่ใจดูกัน เข้าใจกัน

แต่งอะไรไว้ตอนที่อ่านเรื่องการปกครองอิรักของอเมริกา แต่ขอยกมาที่นี่อีกครั้งก็แล้ว
.......................
เห็นไหม
เปลวไฟกำลังลุกโชติช่วง
และพวกเขาพยายามดับไฟ
โดยก่อกองไฟที่ใหญ่กว่าเดิม

ไฟกองนั้น
ลุกไหม้ด้วยด้วยความเกลียดชัง
โหมแรงด้วยความไม่เข้าใจ
เผาไหม้ร้อนแรง กระจายตัว

สายน้ำนั้น
ดับไฟได้ด้วยความสงบเย็น
หากเพราะเขาไม่เข้าใจไฟ
และยิ่งไม่สนใจสายน้ำเย็น

เวลานี้
กองไฟกำลังลุกโชติแรง
เผาไหม้เขาให้เร้าร้อน
แผดเผาอยู่ทั่วใจรอบตัว

จนกว่าจะถึงเวลา
จนกว่าจะเป็นเวลา
ที่กองไฟจะเป็นแสงไฟ
ให้ความสว่างและนำทาง

กองไฟคงได้ใช้ถูกทาง
เปลวไฟคงได้ใช้เป็นทาง


……………

อื่น ๆ
ประวัติของกลุ่มฮิซบอลเลาะห์จากเวบผู้จัดการ

บทความของอาจารย์จรัญ มะลูลีม เกี่ยวกับวิกฤตเลบานอน
ตอนที่ 1 ตอนที่ 2




 

Create Date : 13 สิงหาคม 2549    
Last Update : 13 สิงหาคม 2549 22:15:46 น.
Counter : 682 Pageviews.  

Delusive American Power กับ Andrew Bacevich

*โหมดนี้ เป็นโหมดวิชาการ ซึ่งเกิดจากการพยายามรวบรวมเรียบเรียงสิ่งที่อ่านมา และแบ่งปันให้ผู้ที่สนใจได้อ่าน – ขออนุญาตงดเล่นมาเป็นหมาเลี้ยงแกะจริงจังนะคะ :D



ครั้งนี้ ก็เป็นการสัมภาษณ์ของ Tom Engelhardt แห่ง tomdispatch.com อีกเช่นเคย เขาจะพาเราไปคุยกับ Dr. Andrew Bacevich อดีต นายทหารผู้กลายมาอาจารย์สอนประวัติศาสตร์ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่ Boston University ผู้ซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องการทูต นโยบายต่างประเทศ และการทหารของอเมริกา

จากบทสัมภาษณ์ Tomdispatch Interview: Bacevich on the Limits of Imperial Power(Part 1) และ Tomdispatch Interview: Bacevich, the Arrogance of American PowerDrifting (Part 2)

เราสรุปประเด็นได้ว่า อเมริกามีความเชื่อเรื่องความเป็นใหญ่ (global hegemony) และต้องการเป็นใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางการทหารอยู่ หลายคนอาจจะมองว่าสิ่งนี้เกิดปัจจัยภายนอก คือ ประสบการณ์การแย่งขยายอำนาจกับสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามเย็น หาก Bacevich บอกว่า การขยายอำนาจของอเมริกาเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน นั่นก็คือ “กรอบความคิด” มากกว่า

และแม้การสิ้นสุดสงครามเย็นจะทำให้เสียงสนับสนุนลัทธิความเชื่อนี้แผ่วไป แต่การเกิด 9/11 ประกอบกับความต้องการหลักประกันน้ำมันและพลังงานในช่วงหลัง ภายใต้ชื่อ “สงครามต่อต้านการก่อการร้าย” ก็เปิดโอกาสให้เกิดการขยายอำนาจทางทหารโดยไม่ถูกจำกัดขอบเขตขึ้นมาอีกครั้ง และครั้งนี้เพื่อให้ได้ใช้อำนาจได้อย่างเต็มที่ ก็มีการโอนอำนาจไปให้สายเหยี่ยวในพรรครีพับลิคกันมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังจะเห็นอำนาจของประธานาธิบดีที่ทวีเพิ่มขึ้น (แม้แต่ในด้านการทหาร) และอำนาจของ CIA/ State Department/ Congress ที่ลดลงไปทุกที และที่สำคัญ ก็คือ ความเป็นประชาธิปไตยลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม Bacevich มองว่า พวกนี้ไม่ได้มองว่าตัวเอง abuse อำนาจ หากแต่เป็นทำเพื่ออเมริกา และโลก

การแสวงหาความเป็นใหญ่ของอเมริกานี้ ก็เป็นการทำผ่านด้านทางทหารเป็นหลักเสียด้วย ดังที่แนวทางการทางทูตถูกแทนที่ด้วยการใช้กำลังมากขึ้น เราได้เห็นความพยายามของ รมต. กลาโหม Donald Rumsfeld ที่จะปรับโครงสร้าง (หรือ “transform” ตามคำของ Rumsfeld) กองทัพใหม่ โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และ IT เข้ามาช่วยมากขึ้น และ Bacevich ก็บอกว่า การทำสงครามอัฟกัน และการรุกรานอิรักในช่วงแรกก็เป็นการจัดการของ Rumsfeld ที่จะแสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถของกองทัพแบบใหม่นี้ขึ้นมา

ตอนนี้ อเมริกาพยายามขยายกำลังทางทหารไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นในด้านความสัมพันธ์กับจีน รัสเซีย หรือแม้แต่ในลาตินอเมริกา อย่างที่ประธานาธิบดี Clinton และ Bush มองอเมริกาผ่านประวัติศาสตร์ในฐานะผู้ปลดปล่อย (liberator) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยที่ละเลยความจริงว่าโลกไม่ได้มองบทบาทของอเมริกาในเชิงนั้นเลย

ซึ่งความพยายามและความต้องการใช้กำลังที่มีเพื่อจัดระเบียบโลกนี้ก็เป็นการเชื่อในเรื่องความสามารถของตัวเองที่มากเกินไปเสียด้วย เพราะแท้จริงแล้ว อเมริกาไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ ทั้งจากกำลังที่ตัวเองมีจริง ๆ และโลกก็มองอเมริกันเป็นตัวปัญหามากกว่าจะเป็นทางออกได้จริงเสียด้วย

นอกจากนี้ สิ่งที่ Bacevich ทิ้งท้ายไว้อีกอย่างก็คือ คนอเมริกาไม่ได้ตระหนักถึงสิ่งที่เกิดขึ้นมากพอเลย



----- จริง ๆ สิ่งที่ Bacevich พูดวันนี้ และการเสนอแนะของเขาที่บอกให้มีการ ”คิดทบทวน” เกี่ยวกับบทบาทของอเมริกาก็อาจจะเป็นเรื่องปกติสำหรับชาติอื่น ๆ ที่เหลือในโลกมานานแล้วก็ได้

อย่างที่ Bacevich พูดเอาไว้

“เรา [อเมริกัน] ไม่ใช่อย่างที่เราเชื่อว่าเราเป็น และ บางที ชาติอื่นก็มองเห็นชัดเจนกว่าตัวเรามองเสียด้วยซ้ำ ประธานาธิบดีอธิบายประวัติศาสตร์ว่าเราเป็นผู้ปลดปล่อยในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นผู้นำเสรีภาพ นั้นอาจจะจริง แต่ไม่ได้จริงทั้งหมด โดยเฉพาะกับในโลกมุสลิม

เราต้องทบทวนยุคสมัยของอเมริกัน และต้องเข้าใจว่าเราอาจเป็นปัญหามากกว่าเป็นผู้ปลดปล่อยก็ได้ เราจะเข้าใจยุคสมัยของอเมริกันโดนไม่รับรู้ความจริงที่เกี่ยวกับฮิโรชิม่า นางาซากิ เดรสเด็น (Dresden) ฮานอย และไฮฟอง

(-- ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือเมืองที่ได้รับผลกระทบและความเสียหายอย่างหนักจากอเมริกันทั้งสิ้น)

* Dresden เป็นเมืองในเยอรมนีที่ถูกฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดใส่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งคาดว่ามีพลเรือนราว 25,000 คนต้องตายไปจากเหตุการณ์นั้น ส่วน ไฮฟอง ก็ถูกทิ้งระเบิดใส่อย่างหนักในช่วงสงครามเวียดนามเช่นเดียวกัน เนื่องจากเป็นเมืองท่าเพียงเมืองเดียวของเวียดนามเหนือ


We are not who we believe we are and, in some sense, others perceive us more accurately than we do ourselves. The President has described a version of history -- as did Clinton, by the way -- beginning with World War II in which the United States is the liberator, Americans are the bringers of freedom. There is truth to that narrative, but it's not the whole truth; and, quite frankly, it's not the truth that matters a lick, let's say, to the Islamic world today.
...........

We need to revise the narrative of the American Century and recognize that it has been about a host of other things that are far more problematic than liberation. There can be no understanding the true nature of the American century without acknowledging the reality of Hiroshima, Nagasaki, Dresden, Hanoi, and Haiphong.”)

*** ซึ่งในแง่นี้ ก็เหมือนกับที่มีคนตั้งข้อสังเกตว่าปัจจุบันองค์ความรู้ และตัวความรู้ทั้งหลายเป็นเรื่องของการปลูกฝังผ่านระบบการศึกษาจนทำให้ความเข้าใจและมุมมองบางอย่างกลายเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อและวิธีการคิด และเช่นนั้นแล้ว ก็เกิดการผลิตซ้ำความเชื่อในรูปแบบที่บอกว่า อเมริกาเป็นผู้ช่วย/ ผู้กอบกู้โลกอยู่เรื่อย ๆ

ในทางหนึ่ง นอกจากบรรดานักวิชาการและอาจารย์กระแสหลักจะออกมาช่วยกันผลิตซ้ำความเชื่อเช่นนั้นแล้ว บรรดาสื่อกระแสหลักก็เป็นตัวตอกย้ำความเชื่อเช่นกัน




 

Create Date : 01 กรกฎาคม 2549    
Last Update : 1 กรกฎาคม 2549 21:26:45 น.
Counter : 488 Pageviews.  

Prey and the Predators กับ Barbara Ehrenreich

*โหมดนี้ เป็นโหมดวิชาการ ซึ่งเกิดจากการพยายามรวบรวมเรียบเรียงสิ่งที่อ่านมา และแบ่งปันให้ผู้ที่สนใจได้อ่าน – ขออนุญาตงดเล่นมาเป็นหมาเลี้ยงแกะจริงจังนะคะ :D



Tom Engelhardt แห่ง tomdispatch.com ได้สัมภาษณ์ Barbara Ehrenreich นักเขียน และนักวิพากษ์สังคมผู้มีหนังสือติดอันดับมากมายเกี่ยวกับเรื่องของชนชั้น ในบทสัมภาษณ์ A Guided Tour of Class in America: A Tomdispatch Interview with Barbara Ehrenreich

เราพอจะสรุปใจความตามความคิดของ Ehrenreich ได้ว่า เรื่องของชนชั้นอย่างที่ Marx เคยพูดถึงไว้ยังไม่มลายหายไป และในอเมริกา สภาพการการแปลกแยกทางชนชั้นก็เรื้อรัง รุนแรงและน่าหวาดหวั่นกว่าเดิมอีกด้วย ปัจจุบัน ชนชั้นแรงงาน ถูกละเลยและถูกเอาเปรียบในสังคม และต้องทำงานรับจ้างค่าแรงต่ำเกินจะอยู่รอด โดยเฉพาะแรงงานอพยพผิดกฎหมายจากเม็กซิโกและประเทศลาตินอื่น ๆ ทำให้การกดขี่นี้เป็นได้สะดวกง่ายดายยิ่งขึ้น

นอกเหนือจากการกดขี่แรงงานเหล่านี้แล้ว ก็ยังเกิดมีการเอาเปรียบชนชั้นกลางซึ่งเป็นพนักงานเงินเดือนอีกด้วย โดยพวกนี้ถูกกลุ่มผู้บริหารซึ่งเป็นชนชั้นกลางระดับสูงแสวงหาประโยชน์อยู่ในปัจจุบัน เพราะตามมุมมองของ Ehrenreich นั้น การตัดค่าใช้จ่ายเพื่อให้เกิดกำไรมากขึ้นนั้น ง่ายที่สุดก็คือการลดขนาดองค์กร หรือการเลิกจ้างเหล่าพนักงานเหล่าอื่นไปเสีย ทำให้กลุ่มนี้ต้องอยู่ด้วยความหวาดระแวง ไม่มั่นคงใด ๆ รวมถึงต้องแข่งขันกันเองในกลุ่ม

สำหรับกลุ่มชนชั้นกลางระดับสูงเอง ก็เกิดการติดต่อและ “มองเห็น” ชนชั้นอื่น ๆ ที่เหลือน้อยลงไปเรื่อย ๆ เกิดการสร้างโลกลวงตาของชนชั้นนำขึ้นมา ทำให้ช่องว่างระหว่างชั้นนี้ถ่างออกไปเรื่อย ๆ

ขณะเดียวกัน safety nets ก็กำลังเปราะบางมากขึ้นทุกที เห็นได้ว่า ค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในเรื่องสวัสดิการสังคมลดหายไปเรื่อย ๆ และถูกแทนที่ด้วยค่าใช้จ่ายเรื่องใช้กำลังทหารมาแทนที่ โดยที่รัฐโยนภาระการดูแลสังคมบางส่วนนี้ไปให้กับโบสถ์

สิ่งที่น่าวิตกในความคิดของ Ehrenreich ก็คือ บุคคลในฐานะปัจเจกฯ ถูกทำให้แตกแยก (โดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นกลาง) และชนชั้นที่ถูกเอาเปรียบทั้งสองยังไม่ตระหนักถึงความแตกต่างที่เหมือนกันนี้ และก็ยังไม่เกิดการรวมตัวใด ๆ ขึ้นมา Ehrenreich ได้ก่อตั้งองค์กร United Professional เพื่อเป็นกลไกสวัสดิการขึ้น และเรียกร้องให้เกิดการรวมกลุ่ม เพื่อเป้าหมายการต่อสู้ทางชนชั้นในที่สุด

---- โอ ป้าขา มีการพูดถึงการกลับมาของ Marxism เพื่ออธิบายถึงสิ่งที่เป็นอยู่ และดำเนินไปอย่างรุนแรงขึ้นในโลกของทุนนิยมปัจจุบัน และในลาตินอเมริกา กงล้อ Leftist ก็เริ่มเวียนกลับมา แต่ป้าทำให้หนูรู้ว่า Marxist ยังไม่ตาย ไม่ตายจริง ๆ ด้วยค่ะ

นอกเหนือจากการพูดถึงความขัดแย้งระหว่างชนชั้น (class struggle/ conflict) สำนึกร่วมของชนชั้น (class awareness) ยังมีการพูดถึงการต่อสู้ทางชนชั้น (class war) และ International solidarity

--- ชอบที่ลุง Engelhardt พูดเรื่อง The Prey and the Predators มาก ๆ เห็นภาพสุด ๆ ปลาใหญ่กินปลาเล็กจริง ๆ ค่ะ

--- และก็คิดถึงเพลง Frgt/10 ของ Linkin Park feat. Alchemist, Chali 2na (จากชุด Reanimation) ขึ้นมาเลย

*คัดลอกมาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา - ซึ่งเป็นส่วนแร๊พพอดี

I’m here at this podium talking
The ceremonial offerings dedicated to
urban dysfunctional offspring
What’s happening?
City governments are eternally napping
Trapped in greedy covenants
Causing urban collapse
And bullets that scar souls with dark holes

Get more than your car stole,
some parts be blacker than charcoal

This society’s deprivation depends now on
our differences but the separation within


No preparation is made
Limited aid, minimum wage

Living in a tenement cage where rent isn't paid
Tragedy within a parade
The darkness overspreads like a permanent plague

I’m the forgotten

เนื้อส่วนนี้อธิบายหลายอย่างได้ดีเลย What’s happening? คงมีคนมากมายตั้งคำถามถามตัวเอง ถามคนรอบข้างเหมือนกันว่าเกิดอะไรขึ้น

This society’s deprivation depends now on
our differences but the separation within

No preparation is made
Limited aid, minimum wage

I’m the forgotten

ใช่แล้ว We're the forgotten!

-----
เพิ่มเติม 08/08/08

สามารถ มังสังก็ได้พูดถึงประเด็นเรื่องชนชั้นกลางซึ่งถูกลดชั้นลงมาจากการเลิกจ้างงานที่เกิดจากการลดขนาดและต้นทุนขององค์กรไว้ ในบทความเรื่อง ผ่านไปเกือบ 6 ปียังมีคนจน : พิสูจน์นโยบายเพ้อฝันซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันอังคารที่ 7 สิงหาคม 2549 เช่นเดียวกัน

“.... คนชั้นกลางประเภทมนุษย์เงินเดือนมีรายได้สูง เพราะเป็นคนมีความรู้ ความสามารถเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ก็เป็นอีกประเภทหนึ่งที่เสี่ยงต่อการถูกลดระดับลงมาเป็นผู้มีรายได้น้อย เพราะผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่เคยจ้างคนเหล่านี้ก็ได้รับผลกระทบจากปัจจัยการผลิต เช่น ราคาน้ำมัน และดอกเบี้ยที่แพงขึ้น อาจลดขนาดองค์กรลง และการลดขนาดองค์กรเพื่อลดต้นทุนดำเนินการ ประการแรกที่กระทำก็คือ ปลดคนงานโดยการเลิกจ้าง และถ้าใครเจอปัญหานี้ เงินเดือนที่เคยมีเคยได้ก็หายไปกลายเป็นคนว่างงาน ถึงแม้ว่าจะมีเงินเก่าเก็บอยู่บ้าง แต่เมื่อรายได้ประจำหายไปก็ถือได้ว่าจนลง ….”

เห็นได้ว่าปรากฏการณ์ปลาใหญ่กินปลาเล็ก หรือ Prey and the Predators นี้กำลังเกิดขึ้นทั่วทั้งโลกตามการขยายตัวของทุนนิยม และถ้าสังคมเราไม่ตระหนักถึงภัยจากค่านิยมที่กำลังกลืนกินเราอยู่แล้ว ระบบ safety net ที่เปราะบางลงเรื่อย ๆ ก็คงจะทานด้านกัดกินของทุนนิยมไม่ได้ กลายเป็นสังคมที่กระจัดกระจายแปลกแยกในที่สุดอย่างแน่นอน




 

Create Date : 23 มิถุนายน 2549    
Last Update : 9 สิงหาคม 2549 0:41:44 น.
Counter : 580 Pageviews.  

Chessgame ของ Michael T. Klare

*โหมดนี้ เป็นโหมดวิชาการ ซึ่งเกิดจากการพยายามรวบรวมเรียบเรียงสิ่งที่อ่านมา และแบ่งปันให้ผู้ที่สนใจได้อ่าน – ขออนุญาตงดเล่นมาเป็นหมาเลี้ยงแกะจริงจังนะคะ :D


- ภาพนี้เขียนเร็วมาก และเขียนสดเสียด้วย อาจจะไม่ค่อยสื่อมากนัก TT


จากข้อเขียนเรื่อง The Tripolar Chessboard Putting Iran in Great Power Context ของ Michael T. Klare ใน tomdispatch.com เวบข่าวทางเลือกที่นำเสนอข่าวแตกต่างจากกระแสหลักนั้น

Klare มองว่า การแสวงหาเขตอำนาจและอิทธิพล (Sphere of Influence) ของมหาอำนาจแบบที่เคยเป็นมาในช่วงสงครามเย็นยังดำเนินต่อไป แต่ตอนนี้จะไม่ใช่การสู้เพื่ออุดมการณ์อย่างเดิม หากแต่เป็นการแสวงหาทรัพยากรที่สำคัญ อย่าง น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ

ประเทศเล็กประเทศน้อยต่างก็เป็นตัวเบี้ยบนกระดานของมหาอำนาจอย่างอเมริกา หากแต่ปัจจุบันมีผู้เล่นอย่างรัสเซีย และจีนเข้ามาร่วมด้วย โดยเฉพาะในเรื่องการมีอำนาจและอิทธิพลเหนือประเทศที่มีแหล่งพลังงาน

ทางรัสเซีย และจีนพยายามสร้างขั้วฐานอำนาจจาก Shanghai Cooperative Organisation (SCO) มาถ่วงดุลอเมริกา โดยพยายามรวมประเทศในเอเชียกลางและประเทศตะวันออกกลางเข้ามามีส่วนร่วม (หรือแม้แค่การดึงอิหร่านมาเป็นผู้สังเกตการณ์) ซึ่ง SCO ในแง่นี้ก็เปรียบเสมือน OPEC ที่มีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ (เป็นแหล่งพลังงานที่มีกำลังทางทหารสนับสนุน) หรือจะเปรียบเป็น NATO ที่อยู่คนละฟากก็ได้ และ SCO ในแง่นี้ ก็อาจจะสามารถสร้างระเบียบการเมืองและเศรษฐกิจแบบใหม่ได้

Klare ให้ดูการแย่งอำนาจกันของ 3 ขั้วอำนาจในกรณีของอิหร่าน แม้หลัง 9/11 อเมริกาจะพยายามดึงอีก 2 ขั้วอำนาจหลังมาเป็นพันธมิตรเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย แต่อิทธิพลการแย่ง Sphere of Influence กันก็มีบทบาทมากขึ้นทุก เห็นได้จากการที่รอง ปธน. Dick Cheney ประณามรัสเซียเรื่องสิทธิพลเมืองและการผูกขาดการขนส่งน้ำมันและก๊าซในยูเรเซีย และพยายามหนุนหลังคาซัคสถานให้ใช้ท่อส่งก๊าซของอเมริกาแทนที่จะเป็นของรัสเซีย ในขณะเดียวกัน รมต. กลาโหม Donald Rumsfeld ก็ประณามจีนในเรื่องขาดความโปร่งใสเช่นเดียวกัน

ซึ่งนโยบายเช่นนี้ของอเมริกาเด่นชัดมาตั้งแต่ การกำหนดแผนความมั่นคงในปี 1994-1999 (Defense Planning Guidance1994-99) ที่ Paul D. Wolfowitz รอง รมต. กลาโหมในสมัยนั้น พยายามยับยั้งบทบาทและอำนาจของรัสเซีย และจีน รวมถึงพยายามคุมแหล่งน้ำมันในยูเรเซีย (ซึ่งแตกต่างจากในสมัย ปธน. Carter ในช่วงทศวรรต 1980 ที่เน้นการขยายอำนาจไปแค่ในตะวันออกกลางเท่านั้น)

นอกจากนี้ Klare เน้นความสำคัญของอิหร่านเป็นพิเศษ เพราะทางด้านสถานที่ตั้งเอง อิหร่านเป็นจุดเชื่อมต่อตะวันออกกลาง และเอเชียกลาง อีกทั้งอยู่ติดกับช่องแคบ Hormuz ซึ่งน้ำมันปริมาณมหาศาลถูกขนย้ายออกไปในแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีการยกเลิกการ embargo ต่ออิหร่าน

ด้วยจำนวนพลเมืองที่มากที่สุดในภูมิภาคและเป็นประเทศที่ก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมที่สุด จึงไม่น่าแปลกที่อิหร่านจะมีฐานะเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคได้ และขณะนี้อิหร่านก็เป็นศูนย์กลางของเหล่ามุสลิมนิกายชีอะห์อยู่ด้วย เมื่อรวมกับพวกเหล่านี้ที่อำนาจมีอำนาจในบาห์เรน คูเวต เลบานอน และซาอุดิ อาระเบียส่วนที่ติดกับคูเวตแล้ว (ส่วนที่มีบ่อน้ำมัน) ก็จะเกิด Shia crescent - แหล่งรวมของกลุ่มมุสลิมชีอะห์ - ขึ้นมา

อิหร่านอาจจะมีปริมาณน้ำมันสำรองน้อยกว่าซาอุดิฯ และมีปริมาณก๊าซน้อยกว่ารัสเซีย แต่ปริมาณรวมของทั้งสองอย่างก็ทำให้อิหร่านมีแหล่งพลังงานสำรองมากที่สุด และเพราะการขึ้นมามีอำนาจของ Khomeini ในปี 1979ซึ่งทำให้เกิดการขับไล่อิทธิพลของอเมริกาออกไปจากอิหร่าน และ Executive Order 12959 ในสมัยของ ปธน. Clinton (1995) ซึ่งห้ามบริษัทอเมริกาติดต่อค้าขายกับอิหร่าน ก็ทำให้การแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรเหล่านี้ของอเมริกาเป็นไปได้ยาก

สมรรถภาพด้านการทหารของอิหร่านอาจจะอ่อนด้อยไปจากการที่อเมริกาห้ามขายอาวุธให้กับอิหร่าน แต่กำลังเรือดำน้ำและอาวุธอื่น ๆ จากรัสเซีย และการพัฒนาอำนาจขีปนาวุธก็ทำให้อิหร่านเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคขึ้นมา ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหากับอเมริกา ขณะที่รัสเซียและจีนพยายามหนุนหลังอิหร่าน

Klare บอกว่า แม้อเมริกาต้องการล้มล้างนโยบายนิวเคลียร์ของอิหร่านเพียงไร แต่ภาระในอิรัก เสียงต่อต้านในประเทศ รวมไปถึงความแปลกแยกจากยุโรปที่เกิดจากการใช้กำลังบุกอิรัก ทำให้อเมริกาต้องยับยั้งไปใช้การเจรจาทางการทูตแทนที่ ซึ่งก็จะเกิดการซื้อเวลาของทุกฝ่ายในกรณีนี้


---- ขณะที่ Klare บอกว่าเป็น chess game แต่ในความเป็นจริง เกิด tug of war กันขึ้นมากกว่า? เห็นได้ชัดว่ามุมมองจาก Blood and Oil ของ Klare (ซึ่งเน้น endowments และหลักภูมิรัฐศาสตร์มาแต่ไหนแต่ไร) ยังเป็น underlying argument ที่สำคัญต่องานเขียนของเขาอยู่


** Michael T. Klare is the Professor of Peace and World Security Studies at Hampshire College and the author, most recently, of Blood and Oil: The Dangers and Consequences of America's Growing Dependence on Imported Petroleum (Owl Books) as well as Resource Wars, The New Landscape of Global Conflict.

*** ยังแปล Blood and Oil ได้ไม่พ้นบทที่ 1 เลย




 

Create Date : 18 มิถุนายน 2549    
Last Update : 18 มิถุนายน 2549 23:46:30 น.
Counter : 437 Pageviews.  


หมาเลี้ยงแกะ
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




"มากระโดดโลดเต้นสนุกสนานไร้สาระไปกับหมาเลี้ยงแกะไฮเปอร์ที่ขยายสาขามาจาก blogspot กัน!"

หลงเข้ามาใหม่? คิดอะไรไม่ออก? แวะไปดูโครงสร้างบล็อกและการอัพเดทเรื่องได้เลยนะคะ




[* เรื่องล่าสุด ]


เล่าล่าสุด 2009
ทางแยก
ดื่มน้ำไหมแมว
วาดวัว



Friends' blogs
[Add หมาเลี้ยงแกะ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.