Q[-___-Q ma leaw ja
Group Blog
 
All Blogs
 
ความหวังใหม่ของผู้ป่วยมะเร็ง



โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์พิทยภูมิ ภัทรนุธาพร
โรงพยาบาลศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์


โรคมะเร็ง จัดเป็นโรคร้ายแรงที่มีอัตราการเสียชีวิตมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศ ถือเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้คนมาอย่างไม่รู้ตัว แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ได้มีการพัฒนาสูงขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับ การวินิจฉัยที่แม่นยำ จึงเป็นโอกาสดีที่ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็ง มีโอกาสหายขาดได้






เป้าหมายในการรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบัน จึงเปลี่ยนจากการรักษาให้หายขาด เป็นการรักษาให้หายและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีการพัฒนาต่อเนื่อง ทั้งการใช้ยา การผ่าตัด และการฉายรังสี โดยเฉพาะการใช้รังสีรักษาโรคมะเร็งที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงทำให้สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และเพิ่มความหวังแก่ผู้ป่วยมะเร็ง

โรงพยาบาลศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางในการรักษาโรคมะเร็ง ที่เน้นการรักษาเชิงวิจัย เหมือนในสหรัฐอเมริกา ที่เลือกการรักษาที่น่าจะมีประโยชน์ โดยพิจารณาจากแนวโน้มในการรักษาว่าน่าจะเป็นไปในทิศทางใด จึงเป็นการเพิ่มโอกาสในการรักษาโรคมะเร็งให้หายขาดได้ ขณะเดียวกันด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ และทันสมัยที่สุดในประเทศไทย พร้อมบุคลากรที่มีศักยภาพ จึงถือได้ว่าโรงพยาบาลศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เป็นศูนย์การรักษาโรคมะเร็งที่มีความสมบูรณ์ที่สุดในปัจจุบัน






การรักษาทางด้านรังสีได้เปลี่ยนจากการฉายรังสี 2 มิติ เป็นรังสี 3 มิติ ซึ่งเริ่มมีบริการแล้วในหลายแห่งของประเทศไทย การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่จะใช้การวางแผนด้วยระบบ 3 มิติ ทำให้การวางแผนการกำหนดลำรังสีมีความถูกต้องเหมาะสมมากขึ้น โดยใช้ ระบบการสร้างภาพ หาทิศทางที่เหมาะสมของลำรังสีและปรับลำรังสีที่ได้ให้เป็นไปตามรูปร่างของก้อนเนื้องอกมากที่สุด ทำให้สามารถให้ปริมาณรังสีสูงเฉพาะในรอยโรค และลดรังสีที่จะถูกกระทบในเนื้อเยื่อที่ดี นำไปสู่ผลการรักษาที่ดีลดผลข้างเคียงระยะเฉียบพลันและระยะยาวลงได้

ต่อมามีการพัฒนาอีกระดับหนึ่งของรังสีสามมิติ ที่ปรับความเข้มของรังสีตามสัดส่วนความหนาบางของก้อนมะเร็งในแนวทางเข้าของลำรังสีนั้นๆ เรียกว่ารังสีแปรความเข้มสามมิติ (IMRT) ทั้งนี้ในแต่ละแนวของการฉายรังสี จะมีเทคนิคในการฉายต่าง ๆ กัน เพื่อให้เกิดรูปร่างและความเข้มของรังสีที่ต่างกัน โดยคำนึงให้เกิดการกระจายรังสีที่แตกต่างกันเป็นจุด หรือช่อง (voxel) หรือเรียกส่วนย่อย ๆ นี้ว่า beamlets ตามความเหมาะสมของรอยโรค ทั้งนี้จะอาศัยระบบคอมพิวเตอร์ในการกำหนดความเข้มของรังสี ซึ่งจะให้สูงที่สุดในตำแหน่งที่ก้อนมะเร็งหนาที่สุด และต่ำสุดในตำแหน่งที่ก้อนมะเร็งบางที่สุด

แม้ว่า การวางแผนการรักษาด้วยเทคนิครังสี 3 มิติ และ รังสีแปรความเข้มสามมิติ จะเป็นภาพ 3 มิติที่ได้มาจากการเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ แต่เป็นภาพนิ่งในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ในความเป็นจริง ก้อนเนื้องอกในบางส่วนหรือบางอวัยวะก็อาจสามารถเปลี่ยนแปลง ทั้งในระหว่างการฉายรังสีแต่ละครั้ง และการฉายรังสีครั้งต่อครั้ง ซึ่งอาจเนื่องจากอวัยวะภายในมีการเคลื่อนไหว และผลกระทบจากการหายใจ เช่น มะเร็งบริเวณปอด ตับ หรือตับอ่อน อาจทำให้ก้อนเนื้องอกหลุดออกจากตำแหน่งที่วางแผนไว้ ดังนั้นเนื้องอกอาจไม่ได้รับปริมาณรังสีตามที่วางแผนไว้ ขณะเดียวกัน อาจจะทำให้เนื้อเยื่อปกติที่อยู่ข้างเคียงได้รับปริมาณรังสีสูงกว่าระดับที่จะทนทานได้

ปัจจุบัน โรงพยาบาลศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ จึงมีการพัฒนาการรักษาทางรังสีเป็นการรักษา 4 มิติ หรือ การรักษาด้วยเทคนิค ที่เรียกว่า รังสีรักษาภาพนำวิถี หรือ Image guided radiation therapy ( IGRT ) ซึ่งเป็นการรักษาในมิติที่ 4 ที่นอกเหนือจากความแม่นยำในเป้าหมายหรืออวัยวะที่จะรักษาในระบบ 3 มิติแล้ว ยังควบคุมถึงมิติที่ 4 ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงของก้อนเนื้องอก เช่น มะเร็งปอด มะเร็งตับ ตับอ่อน เป็นต้น โดยการใช้ภาพของเนื้องอกหรือบริเวณที่ต้องการได้รังสีสูงมาร่วมในการวางแผนการรักษา และใช้ในการตรวจสอบตำแหน่งของเนื้องอกในแต่ละวันของการรักษา โดยสร้างภาพจากการหมุนเครื่องเร่งอนุภาคหรือเครื่องฉายรังสีรอบผู้ป่วย 1 รอบ ก็จะได้ข้อมูลที่แท้จริงในขณะที่จะฉายรังสีมาสร้างภาพเพื่อการตรวจสอบ ซึ่งถ้าคลาดเคลื่อนก็จะมีการแก้ไขโดยอัตโนมัติ


ในขณะเดียวกันระบบจับการเคลื่อนไหวจากการหายใจของผู้ป่วย ก็จะถูกบันทึกด้วยกล้องอินฟราเรด ที่ได้จากระหว่างการจำลองการรักษา ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ทำให้ได้ภาพเนื้องอกที่มีการเคลื่อนไหว ตลอดช่วงการหายใจ ที่เรียกว่าได้เป็นภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ สี่มิติ หรือ Gated 4D CT ภาพดังกล่าวจะถูกนำมาวางแผนการรักษา และเครื่องเร่งอนุภาคจะปล่อยรังสี เมื่อก้อนเนื้องอกหรือภาพบริเวณที่ต้องการได้รังสี ปรากฏอยู่ในตำแหน่งการรักษาที่วางแผนไว้ เท่านั้น ทำให้มั่นใจได้ว่าการยิงรังสีถูกเป้าหมายได้อย่างแม่นยำแน่นอน ด้วยวิธีนี้ผู้ป่วยจึงสามารถหายใจตามธรรมชาติได้ โดยไม่ต้องกลั่นหายใจหรือกดกระบังลม เพื่อบังคับการหายใจ


ดังนั้น IGRT จึงเป็นเทคนิคที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ที่เพิ่มโอกาสการหายของผู้ป่วยมะเร็ง และ ลดภาวะแทรกซ้อนของเนื้อเยื่อปกติจากรังสีได้ นับเป็นการฉายรังสีเฉพาะเป้าหมายที่ต้องการรักษาอย่างแท้จริง


IGRT หรือ รังสีภาพนำวิถี จึงเป็นทางเลือกใหม่ของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่จะต้องได้รับการรักษาทางรังสี





Create Date : 20 สิงหาคม 2551
Last Update : 20 สิงหาคม 2551 8:11:53 น. 1 comments
Counter : 369 Pageviews.

 
1ใน 4 ของคนไทย เป็นมะเร็ง
น่ากลัวค่ะ
โดยเฉพาะญาติ คงเสียใจน่าดูที่ต้องทน
เห็นคนที่ตัวเองรัก ทรมาน

แต่หมวยก็มีกรรมพันธุ์ค่ะ
คุณตาเสียด้วยโรคมะเร็งตับ
( ทั้งๆที่ท่านไม่สูบ ไม่ดื่ม ที่สำคัญคุณตาเป็นหมอ )

แม่ เป็นมะเร็งปากมดลูก แต่ผ่าเอามดลูกออกแล้วเมื่อ ปี 2539 ตอนนี้หายขาดแล้วค่ะ โชคดี ตรวจภายในเจอระยะเริ่มต้น

แต่ไม่กังวลค่ะ ตรวจเจอไว รักษาหายได้


โดย: hypnosis วันที่: 20 สิงหาคม 2551 เวลา:9:21:03 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

นากาชิม่า
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Tried to take a picture
Of love
Didn't think I'd miss her
That much
I want to fill this new frame
But it's empty

Tried to write a letter
In ink
It's been getting better
I think
I got a piece of paper
But it's empty
It's empty

Maybe we're trying
Trying too hard
Maybe we're torn apart
Maybe the timing
Is beating our hearts
We're empty

And I even wonder
If we
Should be getting under
These sheets
We could lie in this bed
But it's empty
It's empty
Friends' blogs
[Add นากาชิม่า's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.