"แมงเม่าของเมื่อวันวาน คือ เซียนหุ้นของพรุ่งนี้"
Group Blog
 
All Blogs
 

งานวิจัยฉบับที่ 4 MACD 12, 26

นี่เป็นงานวิจัยเล็กๆ ฉบับที่ 4 ที่ผมทำต่อจาก 3 ฉบับแรก

งานฉบับนี้นำ MACD 12, 26 มาทำการทดสอบความสามารถในการทำกำไรเทียบกับการลงทุนแบบ buy-and-hold โดยการใช้ข้อมูลรายวันของ SET Index (ต้องการศึกษาภาพรวมของทั้งตลาด จึงไม่เจาะจงหุ้นเป็นรายตัว) ตั้งแต่วันที่ 14/12/2000 ถึง 23/7/2004 เก็บข้อมูลจาก REUTERS Version Kobra โดยมี Transaction Cost คือ อัตราค่านายหน้า 0.25% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% การคิด Return ใช้วิธี Continuous Compounded Return สัญญาณการซื้อขายของ MACD 12, 26 คือ MACD Cross คือ พิจารณาที่เส้น MACD 12, 26 และเส้น Signal หาก MACD 12, 26 ตัดเส้น Signal ขึ้น ให้ซื้อ ตัดเส้น Signal ลงให้ขาย

Assumption ในการศึกษาคือ
1.คิดอัตราผลตอบแทนเฉพาะ Capital gain เท่านั้น ไม่นำ Dividend yield มาคิด
2.ช่วงที่สัญญาณบอกให้ขาย ให้นำเงินนั้นไปลงทุนใน risk free เท่านั้นไม่มีการนำเงินไปทำอย่างอื่น โดย risk free rate ที่ใช้ ใช้ Repo 1 day rate โดยการเก็บข้อมูลจาก DataStream
3. ใช้ราคาปิดมาคำนวณอัตราผลตอบแทน

ผลการทดสอบพบว่า
MACD Cross ให้อัตราผลตอบแทน 57.02% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 14.26% ต่อปี
การลงทุนแบบ buy-and-hold ให้อัตราผลตอบแทน 86.91% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 21.73% ต่อปี

สรุปผลการทดลอง
1. การลงทุนแบบ buy-and-hold ให้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าการใช้ MACD 12, 26 ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญ
2. การลงทุนโดยใช้ SSTO ให้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าการใช้ RSI 14 ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา (ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกัน) อย่างมีนัยสำคัญ
3. การลงทุนโดยใช้ MACD 12, 26 ให้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าการใช้ SSTO ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา (ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกัน) อย่างมีนัยสำคัญ

***สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามทำการคัดลอก ดัดแปลง แก้ไข โดยไม่ได้อ้างอิงหรือขออนุญาตล่วงหน้า***




 

Create Date : 26 กรกฎาคม 2548    
Last Update : 27 กรกฎาคม 2548 10:49:10 น.
Counter : 952 Pageviews.  

งานวิจัยฉบับที่ 3 RSI 14

นี่เป็นงานวิจัยเล็กๆ ฉบับที่ 3 ที่ผมทำต่อจาก 2 ฉบับแรก

งานฉบับนี้นำ RSI 14 มาทำการทดสอบความสามารถในการทำกำไรเทียบกับการลงทุนแบบ buy-and-hold โดยการใช้ข้อมูลรายวันของ SET Index (ต้องการศึกษาภาพรวมของทั้งตลาด จึงไม่เจาะจงหุ้นเป็นรายตัว) ตั้งแต่วันที่ 14/12/2000 ถึง 23/7/2004 เก็บข้อมูลจาก REUTERS Version Kobra โดยมี Transaction Cost คือ อัตราค่านายหน้า 0.25% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% การคิด Return ใช้วิธี Continuous Compounded Return สัญญาณการซื้อขายของ RSI 14 คือ
RSI 70/30 คือ พิจารณาที่เส้น RSI และเส้น 70/30 หาก RSI ตัดเส้น 30 ขึ้น ให้ซื้อ ตัดเส้น 70 ลงให้ขาย

Assumption ในการศึกษาคือ
1.คิดอัตราผลตอบแทนเฉพาะ Capital gain เท่านั้น ไม่นำ Dividend yield มาคิด
2.ช่วงที่สัญญาณบอกให้ขาย ให้นำเงินนั้นไปลงทุนใน risk free เท่านั้นไม่มีการนำเงินไปทำอย่างอื่น โดย risk free rate ที่ใช้ ใช้ Repo 1 day rate โดยการเก็บข้อมูลจาก DataStream
3. ใช้ราคาปิดมาคำนวณอัตราผลตอบแทน

ผลการทดสอบพบว่า
RSI 70/30 ให้อัตราผลตอบแทน 27.97% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 6.99% ต่อปี
การลงทุนแบบ buy-and-hold ให้อัตราผลตอบแทน 86.91% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 21.73% ต่อปี

สรุปผลการทดลอง
1. การลงทุนแบบ buy-and-hold ให้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าการใช้ RSI 14 ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญ
2. การลงทุนโดยใช้ SSTO ให้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าการใช้ RSI 14 ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา (ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกัน) อย่างมีนัยสำคัญ

หมายเหตุ
อย่างไรก็ตาม RSI 14 เป็นเครื่องมือแกว่ง (Oscillator indicator) ซึ่งคุณสมบัติของเครื่องมือนี้จะใช้ได้ดีในตลาดที่มีลักษณะ Sideway แต่ช่วงเวลาที่นำมาศึกษาเป็นช่วงที่ SET อยู่ในภาวะ Up trend จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ buy-and-hold ให้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่า

***สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามทำการคัดลอก ดัดแปลง แก้ไข โดยไม่ได้อ้างอิงหรือขออนุญาตล่วงหน้า***




 

Create Date : 26 กรกฎาคม 2548    
Last Update : 27 กรกฎาคม 2548 10:49:39 น.
Counter : 601 Pageviews.  

งานวิจัยฉบับที่ 2 SSTO 70/30 ภาค 2

จากงานวิจัย SSTO ฉบับที่ 1 ที่ผมโพสไว้เมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2547

ผลการทดลองสรุปว่า
การลงทุนแบบ buy-and-hold ให้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าการใช้ SSTO ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญ

อย่างไรก็ตามช่วงเวลาที่ทำการศึกษาคือ วันที่ 14/12/2000 ถึง 23/7/2004 เป็นช่วงเวลาที่ SET อยู่ในช่วง up trend แต่คุณสมบัติของเครื่องมือแกว่ง (Oscillator indicator) อาทิเช่น SSTO, RSI จะใช้ได้ดีในภาวะตลาดที่เป็น Sideway จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ SSTO จะให้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่า

ดังนั้นงานวิจัย SSTO ฉบับที่ 2 ผมจึงพิจารณา SET ที่มีลักษณะ Sideway 2 ช่วงมาทำการศึกษาคือ ช่วงที่ 1 วันที่ 27/12/2000 ถึง 18/9/2001 ช่วงที่ 2 วันที่ 27/2/2002 ถึง 16/5/2002

ผลการศึกษาพบว่า
ช่วงที่ 1
Stochastic Cross ให้อัตราผลตอบแทน 8.64% ของช่วงเวลาศึกษา
การลงทุนแบบ buy-and-hold ให้อัตราผลตอบแทน 2.63% ของช่วงเวลาศึกษา

ช่วงที่ 2
Stochastic Cross ให้อัตราผลตอบแทน 3.58% ของช่วงเวลาศึกษา
การลงทุนแบบ buy-and-hold ให้อัตราผลตอบแทน 0.83% ของช่วงเวลาศึกษา

สรุปผลการทดลองฉบับ 1 และ 2
เมื่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่ในช่วง Uptrend การลงทุนแบบซื้อแล้วถือไว้ให้ผลตอบแทนดีกว่า SSTO แต่เมื่อตลาดอยู่ในภาวะ Sideway การลงทุนโดยใช้ SSTO ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า buy-and-hold

***สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามทำการคัดลอก ดัดแปลง แก้ไข โดยไม่ได้อ้างอิงหรือขออนุญาตล่วงหน้า***




 

Create Date : 26 กรกฎาคม 2548    
Last Update : 27 กรกฎาคม 2548 10:50:04 น.
Counter : 566 Pageviews.  

งานวิจัยฉบับที่ 1 SSTO 70/30

ผมได้ทำงานวิจัยชิ้นเล็กๆ มาชิ้นหนึ่งโดยการนำ Slow Stochastic (SSTO) มาทำการทดสอบความสามารถในการทำกำไรเทียบกับการลงทุนแบบ buy-and-hold โดยการใช้ข้อมูลรายวันของ SET Index (ต้องการศึกษาภาพรวมของทั้งตลาด จึงไม่เจาะจงหุ้นเป็นรายตัว) ตั้งแต่วันที่ 14/12/2000 ถึง 23/7/2004 เก็บข้อมูลจาก REUTERS Version Kobra โดยมี Transaction Cost คือ อัตราค่านายหน้า 0.25% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% การคิด Return ใช้วิธี Continuous Compounded Return สัญญาณการซื้อขายของ SSTO จัดเป็น 3 แบบคือ
Stochastic 70/30 คือ พิจารณาที่เส้น%K และเส้น 70/30 หาก K ตัดเส้น 30 ขึ้น ให้ซื้อ ตัดเส้น 70 ลงให้ขาย
Stochastic Cross คือ พิจารณาที่เส้น%K และ %D หาก Kตัด D ขึ้นให้ซื้อ ตัดลงให้ขาย
Stochastic Cross 70/30 คือ พิจารณาที่เส้น %K, %D และเส้น 70/30 หาก K ตัด D ขึ้นและจุดตัดอยู่ต่ำกว่าเส้น 30 ให้ซื้อ หากตัดลงและจุดตัดอยู่สูงกว่าเส้น 70 ให้ขาย

ผลการทดสอบพบว่า
Stochastic 70/30 ให้อัตราผลตอบแทน 42.00% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 10.50% ต่อปี
Stochastic Cross ให้อัตราผลตอบแทน 44.18% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 11.05% ต่อปี
Stochastic Cross 70/30 ให้อัตราผลตอบแทน 39.00% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 9.75% ต่อปี
การลงทุนแบบ buy-and-hold ให้อัตราผลตอบแทน 86.91% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 21.73% ต่อปี

ไว้ว่างๆ ผมจะลองนำ MACD, RSI, EMA10 25 มาลองทำการทดสอบดู ผลเป็นอย่างไรจะนำเสนออีกครั้งหนึ่ง

ลืมบอกไปครับ Assumption ในการศึกษาคือ
1.คิดอัตราผลตอบแทนเฉพาะ Capital gain เท่านั้น ไม่นำ Dividend yield มาคิด
2.ช่วงที่สัญญาณบอกให้ขาย ให้นำเงินนั้นไปลงทุนใน risk free เท่านั้นไม่มีการนำเงินไปทำอย่างอื่น โดย risk free rate ที่ใช้ ใช้ Repo 1 day rate โดยการเก็บข้อมูล DataStream

สรุปผลการทดลอง
การลงทุนแบบ buy-and-hold ให้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าการใช้ SSTO ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญ

***สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามทำการคัดลอก ดัดแปลง แก้ไข โดยไม่ได้อ้างอิงหรือขออนุญาตล่วงหน้า***




 

Create Date : 26 กรกฎาคม 2548    
Last Update : 27 กรกฎาคม 2548 10:50:29 น.
Counter : 672 Pageviews.  

1  2  

หมากเขียว
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




สวัสดีครับทุกท่าน...ผมหมากเขียวแห่งสินธร...จาก Head of Prop Trade สู่ Private Trader อิสรภาพที่รอคอย



สงวนลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2553 โดย หมากเขียว™ ห้ามลอกเลียน ทำซ้ำ หรือคัดลอกส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความที่เขียนโดยข้าพเจ้านอกจากจะได้รับอนุญาต

Copyright © 2010.All rights reserved. These articles and photos may not be copied, printed or reproduced in any way without prior written permission of Mhakkeaw™.
Friends' blogs
[Add หมากเขียว's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.