http://twitter.com/merveillesxx และ http://www.facebook.com/merpage
Group Blog
 
All Blogs
 
ตะลุย World Film Festival 2012

by merveillesxx




World Film Festival DAY 1 (Sat 17 Nov 2012)

เทศกาลวันแรกก็มีความขลุกขลักเยอะพอสมควร ตามสไตล์วันแรกของเทศกาล ก็จะไม่เขียนถึงแล้วกัน เดี๋ยวยาว ส่วนหนังได้ดูสามเรื่องจ้ะ


1. Republik Twitter (2012, Kuntz Agus, Indonesia, C+)

"หนังอินโด ไว้ใจไม่ได้" ยังเป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์เสมอสำหรับเทศกาลหนัง หนังมีพล็อตเกี่ยวกับหนุ่มสาวที่พบรักกันทางทวิตเตอร์ในแบบหนัง GTH (แต่เรื่องนี้ดูเป็น GTH เกรดบี) บวกโดยพล็อตอาชีำพการปั่นให้คนเป็นเซเล็บ trend topic ในทวิตเตอร์ ซึ่งในส่วนนี้น่าสนใจดี แต่หนังก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากมันเท่าไรนัก เป็นหนัง feel good แบบคลี่คลายง่ายๆ จนเรียกว่ามักง่ายจะตรงกว่า หนังมีให้โหลดแล้วที่เวบ ganool (ทืี่เซอร์คือเป็น VCDRIP) แม้จะไม่มีซีบ แต่เข้าใจว่าดูรู้เรื่องแน่นอน แต่ เอ๊ะ จะเสียเวลาโหลดไปทำไมนะ


2. Gaamer (2011, Oleg Sentsov, Oleg Sentsov, A-)

หนังยูเครนว่าด้วยหนังเ่ล่นเกม เล่นจนแบบได้แชมป์ระดับประเทศเลย สิ่งที่ีดีคือ หนังมันไม่ได้นำเสนอเด็กเล่นเกมให้ exotic มากๆ หรือ nerd มากๆ หนังมี message ประมาณว่า "ถึงแกจะโด่งดังในโลกวงการเกม แต่เมื่อแกเดินออกมาโลกภายนอก แต่แกไม่เรีนมหาลัย ถ้าแกไม่มีใบปริญญา แกก็คือ loser" แต่เมื่อนำเสนอแบบเรียบๆ นิ่งๆ ค่อนข้าง subtle และไม่ dramatic มากนัก มันยิ่งทำให้หนังเจ็บปวดเข้าไปใหญ่

แต่มีปัญหาคือหนังอยู่บ้าง คือมีหลายช่วงที่หนังมันอุเบกขาสำหรับเราไปหน่อย แต่ข้อดีคือ เด็กยูเครนหน้าตาดีเยอะ และหนังมีกลิ่น homoerotic ฮ่าๆๆๆ


3. Vocie of My Father (2012, Orhan Eskikoy + Zeynel Dogan, Turkey, A/A-)

หนังตุรกีที่เกือบจะไม่ได้ฉายแล้ว เพราะมีปัญหา รอกันอยู่เกือบหนึ่งชั่วโมง ตัวเอกของหนังเป็นชายหนุ่มที่พยายามสืบเสาะหาภูมิหลังของครอบครัวผ่านจากแม่ และเทปเสียงที่พ่อจากแดนไกลอัดส่งมาให้ หนังมีโครงสร้างที่แปลกดีคือ การใช้ voice over ผ่านจากเสียงเทป ซึ่งเป็นบทสนทนาโต้ตอบที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ของครอบครัว และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรุ่นพ่อแม่

ตามสไตล์หนังตุรกี คือ เป้นหนังนิ่งช้า เน้นภูมิทัศน์อันสวยงาม อาจจะไม่ได้ชอบหนังมากนัก เพราะมีบางอย่างที่ทำให้รู้สึกห่างไกลจากตัวหนัง





World Film Festival DAY 2 (Sun 18 Nov 2012)

วันนี้ได้ดูแค่สองเรื่อง เพราะครึ่งเช้ามีสอนที่ HAL

1. Under Snow (2011, Ulrike Ottinger, Germany, A+)

สารคดีของคุณป้า อุลริเก้ ออททิงเงอร์ ที่เวิลด์ฟิล์มเคย retro หนังของป้าแกเมื่อหลายปีก่อน ที่ดิชั้นดูแล้วกรี๊ดสลบ ช็อคโลก โคตรสุดยอดแห่งประสบการณ์ภาพยนตร์ หนังป้าแกเซอร์มากๆ ถึงกับเคยลิสต์ฉากเซอร์แดกจากหนังเรื่องเดียวได้ 30 ฉาก

ตั้งแต่ทศวรรษ 00 มา ดูเหมือนหนังป้าจะเซอร์น้อยลง แล้วก็มาสารคดีเสียเยอะ ก่อนหน้านี้ได้ดูเรื่อง Korean Wedding Chest เกี่ยวกับพิธีกรรมการแต่งงานของเกาหลี ซึ่งดูแล้วชอบมากๆ เพราะเป็นสารคดีแบบ observe ล้วนๆ ผู้กำกับแทบไม่ได้เข้าไปยุ่งกับสิ่งที่ถ่าย

พอมาเรื่องนี้ป้าแกไปจังหวัดอะไรสักอย่างของญี่ปุ่น ที่หิมะมันตกเยอะมากๆ สูงมากๆ เปิดเรื่องมามีเสียงบรรยายของฝรั่งแก่ๆ ตอนแรกก็แอบใจเสีย เอ ทำไม มันดูสารคดี๊สารคดีจังหว่า ป้าแกเลิกเฮี้ยนแล้วจริงๆ สินะ แต่ก็ยังมีความเซอร์เช่น อยู่ดีๆ ไปถ่ายฉากเตรียมอาหาร 10 นาทีรวด จนมีคนกลุ่มใหญ่เดินออกจากโรงไปเลย 555 ช่วงแรกๆ ก็แอบหลับไปหลายวูบ แต่ก็ยังดูพอเพลินๆ ด้วยความที่ love everything about Japan/Japanism จะภูมิทัศน์หิมะ บ้านญี่ปุ่น หมาญี่ปุ่น วัดญี่ปุ่น กูก็มีความสุขที่ได้ดูค่ะ

แต่พอสักพักความเหวอก็เริ่มมา อยู่ดีๆ หนังมันก็มีส่วนของ fiction เข้าไปปนซะงั้น เรื่อง myth เรื่องของความรักระหว่างชายหนุ่มกับสาวจิ้งจอก (ซึ่งก็ไม่รู้ว่าป้าแต่งขึ้นมาเองหรือเป็นตำนานของญี่ปุ่นจริงๆ -ยังไม่มีเวลาหาข้อมูล) แล้วหลังจากนั้นก็ไม่ต้องรู้เรื่องรู้ราวอะไรกันต่อไป เพราะป้าเล่นสลับไปมาระหว่าง doc กับ fiction จนเซอร์และเบลอไปหมด คือความเซอร์ของป้าในยุคนี้มันจะเป้นเซอร์แบบสงบนิ่ง แต่รุนแรงในตัวมันเอง เ่ช่น อยู่ดีๆ มีฉากอีสามสาวใส่แว่นดำมาเล่นซามิเซ็ง ตะแหน่วตะแน๊วตะแหน่ว หรือมีพิธีกรรมเผาต้นไม้ยักษ์ของชาวญี่ปุ่น อะไรก็ไม่รู้ กูเริ่มไม่แน่ใจว่าตกลง myth ในเรื่อง กับ tradition ของคนญี่ปุ่น อันไหนแม่งเฮี้ยนกว่ากัน 555

แล้วช่วงหลังมันยิ่งพิศวงเข้าไปอีก เรื่องมันก็มี myth แทรกตลอดอยู่แล้ว ดันมีฉากเล่นละครคาบูกิจริงจังให้ดูอีก กลายเป็น myth ซ้อน myth แล้วพอมาถึงช่วงจบก็หนักมากๆ ไปจบที่ถ้ำเหมืองหุ่นกลอะไรไม่รู้ โคตรหลอน แล้วมันถ่ายหิมะกันทั้งเรื่อง แต่ดันไปจบที่เกาะร้างๆ อะไรสักอย่าง ถ่ายภาพน้ำทะเล ภาพคลื่นกระทบโขดหินกันรุนแรงมาก

สรุปแล้ว ป้าออทิงเงอร์ยังไม่สิ้นฤทธิ์ง่ายๆ!


2. Win/Win (2010, Jaap van Heusden, Netherlands, A-/B+)

พระเอกเป็นเบ๊ในบริษัทเงินทุนแห่งหนึ่ง แต่พี่แกมีพรสวรรค์เรื่องการดูหุ้นแม่นยำ จนเจ้านายมาเห็น เลื่อนตำแหน่งให้แก หมอนี่ก็ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน กลายเป้นดาวเด่นของออฟฟศ เริ่มจีบสาวสวยเพื่อนร่วมงานได้ ...แต่นั่นแหละ โอว ทุนนิยมนี่มันเหี้ยจริงๆ สุดท้ายระบบหุ้น ระบบทุนนิยม ก็ทำให้พระเอกเห็นความเย็นชา ความโหดร้ายของโลก ระลึกถึงการสูญเสียตัวตน การถูกกัดกินทางวิญญาณ ...ฟังดูเป็นพล็อตหนังอเมริกันส่งเข้าิงออสการ์จริงๆ

อันที่จริงตัวหนังก็ไม่ได้แย่ ดูเพลินๆ แต่มันเป็นคล้ายๆ conventional indie คือเดาได้ตลอดเรื่อง ดูไปสักพัก เดาได้แล้ว ตอนจบเนี่ย พระเอกจะต้องทำแบบนี้ๆๆๆ แล้วภาพสุดท้ายจะต้องเป็น พระเอกทำหน้าสีหน้าแบบนี้ๆๆๆ เดินที่ถนนแน่ๆ เลย ..แล้วก็ทายถูก จบ.





World Film Festival DAY 3 (Mon 19 Nov 2012)

1. The Happy Housewife (2010, Antoinette Beumer, Netherlands, A-)

ตอนแรกเห็นโปสเตอร์นึกว่าจะเป็นหนังกุ๊กกิ๊ก ดูไปห้านาที หนังหลั่นล้ามาก เกี่ยวกับคู่ผัวเมียวัย 30 ต้นๆ ที่วางแผนจะมีลูก ดูไปก็แบบว่า ชิบหายแล้วกู หนังโสแน่ๆ ...แต่ปรากฏว่าไม่ใช่ พอถัดมาอีกห้านาทีหนังแม่งโคตรเครียด เหวอมากๆ คือนางเอกเธอไม่อยากมีลูกเท่าไร แต่ผัวคะยั้นคะยอ เธอก็ เออ มีๆ ไปก
็ได้วะ แต่ผลที่ตามมามันชิบหายมาก เริ่มจากฉากคลอดลูกสุดโหด น่าจะโหดที่สุดตั้งแต่ดูหนังมา คือไม่ได้โหดในด้านภาพ แต่อารมณ์เหมือนนางเอกกำลังอยู่สงครามกลางเมือง ตามด้วยการที่นางเอกเริ่มจิตแตก สุดท้ายเธอเป็นบ้า สิ่งที่แรงมากๆ คือ เธออยากเอากับผัวมาก แต่เพราาะเพิ่งคลอดลูก ผัวเลยไม่เอายอมกับเธอ วิธีแก้ปัญหาของเธอคือ ...เอาลูกไปแพ็คใส่กล่องลัง!

นางเอกเล่นดีเชียว ยัย Carice van Houten จากเรื่อง Black Book ตอนแรกรู้สึกชอบเพราะตัวละครประเภทแม่ที่ไม่ได้รักลูกตัวเองได้นี่เป็นอะไรที่ท้าทายมาก แต่ตอนหลังหนังพยายามหาเหตุผลให้การที่นางเอกจิตแตกมากไปหน่อย โดยไปผูกเรื่องกับการที่พ่อเธอฆ่าตัวตาย ก็เลยชอบหนังน้อยลง แถมตอนจบหนังก็ feel good อย่างน่ารังเกียจ สรุปคือ ชอบหนังทั้งเรื่องประมาณ A- แต่ฉากเปิดเรื่องกับปิดเรื่องขอให้ F ค่ะ


2. The Departure Time (2011, Salem Salavati, Iran, A-)

เห็นภาพนิ่งหนังเป็นภาพ landscape เวิ้งๆ เลยทำใจว่าหนังนิ่งๆ แน่เลย แต่พอดูแล้วพลิกล็อค กลายเป็นหนังเมโลดราม่าสุดๆ โคตรแห่งการ overacting ตัวละครพูดด้วยน้ำเสียงระดับ 160 เดซิเบลตลอดเวลา แต่ก็ไม่ใช่หนังแย่อะไร เรื่องเกี่ยวกับลุงคนนึงที่ทำหน้าที่แจกจ่ายน้ำมันให้ชาวบ้านมาตลอด แต่อยู่ดีๆ จะมีการมาวางท่อแก๊สในหมู่บ้าน นั่นแปลว่าแกจะหมดบทบาทไปเลย หนังก็พูดเรื่องโลกเก่า vs โลกใหม่ และการปะทะกันของชุมชน เมสเซจอาจจะไม่ได้ใหม่มาก และมีวิธีการบางอย่างที่รู้สึกว่าเชยๆ แต่โดยรวมแล้วค่อนข้างโอเค


3. Barbie (2011, Lee Sang-woo, South Korea, A++++++)

เป็นข้อยืนยันว่าหนังแนวต่ำตม เลวทราม ถ่อยเถื่อน ตบตี และตัวละครฮิสทีเรีย ไม่มีชาติใดที่ทำได้ดีไปกว่าประเทศเกาหลีใต้แล้วจริงๆ ออกมาจากโรงแล้วพร้อมใจกันกรีดร้องกันเลยทีเดียว ...หนังว่าด้วยสองสาวพี่น้อง คนพี่แสนดี คนน้องแสนจะแร่ด วันหนึ่งมีฝรั่งแก่ๆ จากอเมริกามากับลูกสาว (ที่ชื่อบาร์บี้ 555) จะมา adopt เด็กคนพี่ไป แต่อีคนพี่เนี่ยไม่อยากไป เธอเป็นคนดีค่ะ คือพ่อเธอเป็นโรคเอ๋อ เธอก็บอกว่าหนูจะอยู่ที่นี่ค่ะ หนูจะอยู่ดูแลพ่อกับน้องสาวค่ะ แต่อีคนน้องบอก กูไม่ดักดานอยู่ในบ้านแบบนี้หรอกค่ะ กูจะไปอเมริกาค่ะ หนูรักอเมริกาสุดหัวใจค่าาา ห้องหนูมีตุ๊กตาบาร์บี้เต็มเลนะคะ หนูฝึกพูดภาษาอังกฤษทุกคืน ชั่วโมงศิลปะหัวข้อสิ่งที่ฉันชอบ หนูยังวาดธงอเมริกาเลยค่า

หนังมีความรุนแรง (โดยไม่ใช่เชิง graphic) ระดับฮิสทีเรียลงตับจนสามารถบรรยายได้ประมาณ 60 ข้อ แต่เดี๋ยวจะสปลอย์ เอาเป็นว่าอีการที่ฝรั่งแก่ๆ จะมา adopt เด็กเกาหลีชั้นล่าง มันต้องไม่ได้มีจุดประสงค์ดีแน่ๆ แล้วพอหนังมันเฉลย มันก็เหมือนเปรี้ยงงง เหมือนถีบคนดูเลย เพราะหนังมันนำเสนอภาพอีเด็กคนน้องแบบแร่ด น่าตบเหลือเกินนะมึงตลอดเรื่อง เราก็เหมือนรู้สึกแบบ โอ๊ย ทำไมอีนี่ไม่ถูกใครตบสักที หรือทำไมมันไม่ถูกผู้ชายแถวนั้นรุมโทรม มันรอดมาตลอดเรื่องได้ไงคะ พอมาถึงบทสรุปของหนัง ตู้ม! นี่ไงล่ะ อีเหล่าคนดู พวกมึงอยากเห็นความชิบหายใช่มั้ย สะใจพวกมึงหรือยังล่ะ

แล้วชอบที่ความสัมพันธ์ในเรื่องนี้มันไม่น่าไว้วางใจไปหมดเลย อีฝรั่งแก่กับลูกสาวนี่มึงไม่เหมือนพ่อลูกธรรมดากันเลย คือถ้าพ่อมันจะ molest ลูก กูก็ไม่แปลกใจ หรือไหนจะคุณอาสุดถ่อย (แต่หล่อมาก – ลีฮีชอน จาก Family Outing) คุณอาตบหลาน แต่ตกลงคุณอาแอบชอบหลานหรือเปล่าคะ มันชี้ชวนให้คิดทางนี้ได้ทั้งนั้น แต่โอ๊ย เอาเข้าจริงๆ อีเด็กในเรื่องนี้ทำให้คนดูกลายเป็น Pedophile ได้ทั้งนั้น

การกำกับเด็กก็น่าสนใจ คือคนศีลธรรมสูงก็มีสิทธิจะด่าได้ว่าผู้กำกับ manipulate นักแสดงเด็ก เพราะไปเช็คดูแล้วเพิ่งอายุ 11-12 ขวบกันเอง แต่ถ้ามองข้ามเรื่องนั้นไป ก็ต้องกราบตีนอีนักแสดงเด็กสองคนในเรื่องจริงๆ (การที่ทั้งคู่เป็นพี่น้องกันในชีวิตจริง ยิ่งทำให้หนังน่าสนใจ)

อ้อ จริงๆ ตอนดูก็นึกถึงหนังคิมคีด็อคเหมือนกันนะ แต่หนังลุงคิมมันจะชอบ symbolism มากๆ แล้วตัวละครบางทีก็ weird ไปเลย บางทีดูจบแล้วก็จบกัน แต่กับหนังเรื่องนี้เรารู้สึก connect กับตัวละครได้มากๆ เลย แม้ว่าตัวละครพี่/น้อง จะดูแบนมากๆ (จริงๆ มันคือละครเรื่อง “คมพยาบาท” เลย ที่อั้มกับยุ้ยเล่น) แต่การที่ตัวละครมันแบน คนนึงแสนดี คนนึงแร่ด ตอนจบของหนังมันเลยทำให้เรายิ่งรู้สึกรุนแรงมากๆ


4. Cine Holliudy (2012, Halder Gomes, Brazil, D)

โสโครก ต่ำตม เลวทราม ...ไม่รู้จะหาคำอะไรมาด่า ทำให้หนังอย่าง Republik Twitter กลายเป็นหนังเมืองคานส์ขึ้นมาทันที หนังบราซิล ฉากหลังเป็นยุค 70 พระเอกพยายามจะตั้งโรงหนังในหมู่บ้านบ้านนอกแห่งหนึ่ง เป็นหนังตลกที่ไม่ตลก คือรอบที่ดูเนี่ย อารมณ์ว่ามีการเกณฑ์คนบราซิลมาดูกันเต็มโรง แม่งก็หัวเราะกันตลอดเลย ตอนแรกยังนึกว่าเราไม่ขำเพราะความต่างทางวัฒนธรรม แต่สักพักแบบ เหี้ยเอ๊ย นี่มึงขำหน้าม้าแล้วล่ะ เพราะโครงสร้างและภาษาภาพยนตร์ของหนังเรื่องนี้มันพังพินาศทุกอย่าง มนุษย์ใดๆ ที่ขำไปกับมันได้นี่ต้องไม่ปกติแล้ว สิ่งที่น่าเศร้า (และน่าสมเพช) คือความตั้งใจที่จะ tribute ให้กับภาพยนตร์ และหนังของมึงนี่แหละที่ทำให้ศิลปะภาพยนตร์เสื่อมทราม อย่ามาพูดว่าหนังเรื่องนี้คือ Cinema Paradiso เชียว นี่มันคือ Cinema Inferno ชัดๆ!!





World Film Festival DAY 4 (Tue 20 Nov 2012)

1. Meet the Fokkens (2011, Gabrielle Provaas + Rob Schröder, Netherlands, A-)

สารคดีจากเนเธอร์แลนด์ว่าด้วย สองสาวพี่น้องฝาแฝดที่เป็นกะหรี่แก่ๆ อ้วนๆ ที่คนนึงรีไทร์ตัวเองแล้ว แต่อีกคนยังทำงานต่อไป หนังแรงน้อยกว่าที่คิด (แต่ก็มีฉากแรงๆ ฮาๆ อยู่เยอะ เช่น ฉากอีป้าเอาแส้ฟาดจู๋ลูกค้า เพียะ เพียะ เพียะ …อาห์) แต่ชีวิตของนางทั้งสองก็น่าสนใจ พอย้อนไปภูมิหลังก
็บัดซบต่ำตมใช้ได้ และหนังก็ไม่ค่อยจะฟูมฟายดี เป็นข้อยืนยันว่าอัมสเตอร์ดัมเป็นอีกเมืองที่ต้องไปเที่ยวให้ได้


2. Thursday Till Sunday (2012, Dominga Sotomayor Castillo, Chile, A/A-)

ผัวเมียพร้อมลูกสองคนขับรถออกไปเที่ยวกัน ตามชื่อเรื่องค่ะ ขับกันตั้งแต่คืนวันพฤหัสยันเช้าวันอาทิตย์ เป็นหนัง road movie + slice of life เป็นหนังแนวที่ capture โมเมนต์ของชีวิตอย่างละเอียดลออ สิ่งที่น่าสนใจมากๆ คือหนังสำรวจความสัมพันธ์ของง่อนแง่นของสองสามีภรรยา แต่ด้วยวิธีผ่านสายตาของลูกสาว บวกกับความคลุมเครือหลายๆ จังหวะ ทำให้หนังน่าสนใจมาก เสียดายแค่ว่าตอนจบซ้ำซากในแบบหนังอาร์ตไปนิดนึง


3. No Man’s Zone (2012, Toshi Fujiwara, Japan, B+)

สารคดีฟูกุชิมาเรื่องที่ล้านแปดของปีนี้ เป็นหนังที่มีทุกสิ่งดีพร้อม ไม่ว่าจะฟุตเทจ หรือตัวซับเจคต์ เช่น หมู่บ้านหนึ่งต้องไถดินทั้งหมู่บ้าน เพราะรังสีตกต้าง, ผัวเมียแก่ๆ ที่บ้านไม่ถูกคลื่นซัดพัง แต่ความซวยที่ตามมาคือค่าซ่อมบ้านมหาศาล หรือกระทั่งป้าคนนึงที่พูดว่า “ทำไมเราถึงต้องได้รับผลกระทบจากโรงนิวเคลียร์ด้วยนะ คนใช้ไฟฟ้าคือคนโตเกียวนะ เราไม่ได้ใช้เลย” ฯลฯ อีกมากมายที่หนักหน่วง

แต่...การนำเสนอของหนังมันไม่เข้าท่าจริงๆ คือมึงอุตส่าห์เป็นผู้กำกับญี่ปุ่นแท้ๆ แต่ก็เสือกไปเอาอีฝรั่งที่ไหนไม่รู้มา narrate หนังทั้งเรื่อง ...จบเห่เลยค่ะ แล้วบทบรรยายนี่ ‘สลิ่มโตเกียว’ มาก แรกๆ ก็ยังพอทน พยายามจะสายลมแสงแดดอ้างปรัชญาอะไรไปเรื่อย (เช่น “ภาพที่เห็นเรารู้ได้ไงว่ามีจริง อีกไม่กี่นาทีสิ่งนั้นอาจหายไปแล้ว เราเห็นได้เพราะเราเชื่อว่าเราเห็น บลาๆๆๆๆ”) แต่ตอนท้ายที่ทนไม่ไหวจริงๆ “ญี่ปุ่นอาจไม่ได้เป็นประเทศแห่งชาวนาอีกแล้ว บลาๆๆ เพราะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ บลาๆๆๆ แต่ยกเว้นผู้คนในหนังเรื่องนี้ บลาๆๆๆ” โอ๊ยยยย!! เกือบทนไม่ไหว เกือบเดินออก กรี๊ดดดดดดดดด กูจะบ้า


4. Post Tenebras Lux (2012, Carlos Reygadas, Mexico, A+++++++++++++++++++)

ถ้า Barbie คือความฟินทางด้านความต่ำตม หนังเรื่อง Post Tenebras Lux นี่ก็คือความฟินในเชิงอาร์ตค่ะ คือหนังดูยากประมาณนึง ที่สุดขีดมากๆ คือ aesthetics ของมัน เปิดมาฉากแรกแล้วก็ตายแล้ว เด็กผู้หญิงวิ่งอยู่กลางทุ่งเวิ้งๆ มีหมา มีวัว มีฟ้าผ่า อะไรเต็มไปหมด แล้วยังถ่ายภาพอัตราส่วน 1:33 (ผู้กำกับบอกว่าภาพแบบนี้เหมาะกับ landscape ของหนังเรื่องที่สุดแล้ว) ไหนจะมีกรอบฟิลเตอร์เป็นเอฟเฟกต์กระจกเลือนๆ เพราะพี่แกอยากให้ออกมาเป็นหนังแนว impressionism (!!??) ฟังดูแอ็คอาร์ตมาก แต่เรื่องภาพก็ต้องยอมมันจริงๆ โดยเฉพาะการเคลื่อนกล้อง

จริงๆ ดูหนังแล้วแบบคิดถึง The Tree of Life เหมือนกัน อย่างน้อยที่สุดเหมือนกันคือมันพูดเรื่องชีวิตในระดับ epic Post Tenebras Lux นี่เหมือนให้ในสิ่งที่ The Tree of Life ให้กับเราไม่ได้ คือมีดูไปช่วงนึงก็ยังแอบคิดว่าหนังจะรอดมั้ยเนี่ย มึงจะเซอร์เอาสะใจหรือเปล่า แต่พอถึงจุดหนึ่งก็อินกับหนังมากๆ (ฉากที่จังหวะดีมากๆ คืออีตอนที่ Seven ไปหาพระเอกที่บ้าน แล้วเจอลูกๆ พระเอกเล่นอยู่หน้าบ้าน จังหวะมันดีจริงๆ อิมแพ็คมากๆ) แต่บทจะเซอร์มันก็เซอร์ได้ใจจริงๆ ไม่ว่าซีจีซาตาน, ห้องเฮเกล ดูชอมป์, หรือฉากหัวที่คนดูอึ้งแดกทั้งโรง ...โอเค แบบว่ากูยอม

สรุปแล้ว Post Tenebras Lux มีข้อดีที่ว่าเป็นหนังอาร์ตแดก ที่พิศวง น่าค้นหา แต่ก็มีชีวิต จับต้องสัมผัสได้





Create Date : 21 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 21 พฤศจิกายน 2555 15:52:10 น. 1 comments
Counter : 3630 Pageviews.

 
คำบรรยายไดใจข้าพเจ้ามาก


โดย: แฟนlinKinPark วันที่: 3 ธันวาคม 2555 เวลา:0:53:04 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

merveillesxx
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 58 คน [?]




สำส่อนทางการดูหนัง ฟังเพลงและเสพวรรณกรรม
New Comments
Friends' blogs
[Add merveillesxx's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.