ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบอร์ด Thailand Aquatic Pets เว็บบล็อคสำหรับ คนรักสัตว์น้ำ ( และ สัตว์ที่อยู่ในน้ำ ) ประเทศไทยจ้า

10 อาหารพื้นถิ่นที่คุณอาจไม่เคยกิน

อย่างที่รู้กันว่าอาหารพื้นถิ่นสะท้อนอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ซึ่งเน้นใช้ของวัตถุดิบในท้องถิ่นนั้นมาประกอบอาหาร ครั้งนี้"นายรอบรู้"ได้รวบรวมอาหารพื้นถิ่นที่คุณอาจไม่เคยกินหรือไม่รู้จักเลยก็ได้เลยก็ได้มาดูกัน

1. ลาบเทา (ตรงกลาง) จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ "เทา"เป็นสาหร่ายน้ำจืดขึ้นตามแม่น้ำโขง ตามตลาดจะเห็นแม่ค้าม้วนเทาสดๆเป็นกอง นิยมทำเป็นลาบ วิธีทำนำเทาไปล้างให้สะอาดใส่คลุกกับเนื้อปลาต้มสุก มะเขือขื่น หอมแดง ข่าอ่อน ข้าวคั่ว ปลาร้าและพริกป่น กินแกล้มกับกับผักพื้นบ้าน

2. กุ้งเต้น จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  กุ้งเต้นเป็นที่รู้จักกันมานานแล้วและเป็นจานโปรดของใครหลายคน ส่วนผสมคือกุ้งฝอยสดๆคลุกเคล้ากับตะไคร้ซอย พริกขี้หนู ต้นหอม พริกขี้หนู ผักชีหั่นฝอย ปรุงรสด้วยน้ำปลา มะนาว พริกป่น และข้าวคั่ว ความเปรี้ยวของมะนาวช่วยดับคาวของกุ้ง

3. ลู่ จากภาคเหนือ ถ้าใครไปเที่ยวจังหวัดทางภาคเหนือ คงเคยได้กินลาบคั่ว ก่อนจะนำไปคั่วเขาเรียกว่า ลาบดิบหรือลู่ มีวิธีการทำที่ไม่ยากคือสับเนื้อสัตว์ให้ละเอียด ปรุงรสด้วยมะนาว พริก น้ำปลา แล้วใส่เลือดสดลงคลุกให้เข้ากัน

4.น้ำพริกเขียด จากภาคเหนือ จานนี้อาจฟังดูน่ากลัวแต่ว่ารสชาติลำขนาด วิธีการทำคือนำเขียดนามาย่างให้แห้แล้วตำให้ละเอียดพักไว้ จากนั้นเผากระเทียม มะเขือขื่น และมะแขว่น โขลกพริก เกลือ กระเทียม ข่า ดีปลี รวมกันให้ละเอียดใส่มะเขือขื่น เขียดโขลกเข้าด้วยกัน ใครจะดัดแปลงใส่กบลงไปแทนก็ได้

5.แมงแคง จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แมงแคง จริงๆคือมวน มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ จะกินสดแกล้มกับอาหารหรือว่านำไปเสียบไม้ย่าง บางคนน้ำไปคั่วใส่เกลือนิดหน่อย ตำน้ำพริกก็อร่อย นับเป็นแมลงที่ทำอาหารได้หลากหลาย แมงแคงมีมากในช่วงหน้าหนาว

6. ใบคาวตอง จากภาคเหนือ นิยมกันแกล้มกับลาบคั่ว ใบมีกลิ่นคาวเหมือนปลาสด เป็นพืชล้มลุก งานวิจัยในประเทศจีนพบว่าใบคาวตองเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่สามารถยับยังเซลล์มะเร็งได้

7. แมงมันคั่ว จากภาคเหนือ แมงมันคือมดsubterranean ในช่วงหน้าฝนแมงมันตัวเมียหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ลูกแมงมันมีลักษณะคล้ายต่อจะบินออกมาเพื่อผสมพันธุ์กับตัวผู้ จากนั้นจะสลัดปีกทิ้งแล้วไปตั้งรังของตัวเองจนกลายเป็นราชินีของรังนั้น ในรอบปี ช่วงเดือนพฤษภาคม ลูกแมงมันจะออกมาจากรังหลังฝนตก ชาวบ้านต้องไปรออยู่ปากรูเพื่อเก็บแมงมัน เพราะหากแมงมันตัวเมียผสมกับตัวผู้แล้วแมงมันจะมีรสขม ชาวบ้านเก็บเพราะตัวเมียเท่านั้นส่วนตัวผู้มีรสขม ด้วยรสชาติมันแค่คั่วเกลือก็อร่อยแล้ว บางคนนำไปตำเป็นน้ำพริกแมงมันก็อร่อยไม่แพ้กัน

8. น้ำชุบใบทำมัง จากภาคใต้ ใบทำมังหรือธัมมัง เป็นไม้ยืนต้นใบมีกลิ่นฉุนคล้ายแมงดา ชาวบ้านนิยนำมาตำกับพริก กระเทียม หอม กะปิ รวมกันเป็นน้ำชุบ(น้ำพริก)ใบทำมัง หรือจะใส่ในแกงไตปลาเพื่อเพิ่มความหอมก็ได้

9. หอยหอมลวก จากภาคตะวันออก หอยหอมเป็นหอยฝาเดียวจัดอยู่ในวงศ์ Cyclophoridae อาศัยอยู่บนพื้นดินที่ชื้นตามแนวเทือกเขาหรือที่ราบสูง โดยเฉพาะภูเขาหินปูน บางแห่งจึงเรียกหอยชนิดนี้ว่า หอยภูเขา ส่วนชื่อหอยหอมนั้น มีที่มาจากมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวที่เป็นเอกลักษณ์เมื่อนำมาประกอบอาหาร เช่น ย่าง เผา หรือต้ม

10. ด้วงสาคูคั่ว จากภาคใต้ ด้วงสาคูเป็นชื่อถิ่นใต้ชื่อทั่วไปคือด้วงงวง ตัวหนอนตัวอ่อนของด้วงเป็นที่นิยมมากเพราะมีความมันและอุดมไปด้วยสารอาหาร ปัจจุบันมีการแนะนำให้เพาะเลี้ยงกันเป็นธุรกิจ ด้วงสาคูนิยมนำมาคั่ว วิธีทำก็ง่ายแสนง่ายแค่ล้างด้วงให้สะอาด ตั้งกะทะให้ร้อนๆแล้วนำด้วงลงไปตามด้วยเกลือ คั่วให้แห้งก็ได้ด้วงคั่วมารับประทานแล้ว


*********************************************************

ขอเชิญพี่ๆน้องๆ เลือกชม หนังสือ E-book ที่น่าสนใจเกี่ยวกับกุ้งสวยงามชนิดต่างๆ และการเลี้ยงสัตว์น้ำหลายชนิดได้ทีนี่ครับ

//www.ebooks.in.th/thaiaquaclub




Create Date : 12 มิถุนายน 2557
Last Update : 12 มิถุนายน 2557 2:17:00 น. 0 comments
Counter : 3941 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

เหมียวกุ่ย
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 40 คน [?]




ยินดีต้อนรับพี่ๆน้องๆทุกท่านเข้าเยี่ยมชม เว็บบล็อคแห่งนี้ หวังว่าทุกท่านจะมีความสุขในการชมบล็อคของกระผมนะครับ










View My Stats
New Comments
[Add เหมียวกุ่ย's blog to your web]