ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบอร์ด Thailand Aquatic Pets เว็บบล็อคสำหรับ คนรักสัตว์น้ำ ( และ สัตว์ที่อยู่ในน้ำ ) ประเทศไทยจ้า

มาทำความรู้จักกับ ไดโนซอร์ กัน

มนุษย์ได้มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์เช่นไดโนเสาร์มาเป็นเวลานานนับพันปีแล้วค่ะ แต่ยังไม่มีผู้ใดเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าเศษซากพวกนี้เป็นของสัตว์ชนิดใดกันแน่ และต่างก็พากันคาดเดาไปต่างๆ  สำหรับชาวจีนมีความคิดว่านี้คือกระดูกของมังกร ขณะที่ชาวยุโรปเชื่อว่านี้เป็นสิ่งที่หลงเหลือของสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อครั้งเกิดน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ จนกระทั่งเมื่อมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ในปี ค.ศ. 1822 โดย กิเดียน แมนเทล นักธรณีวิทยาชาวอังกฤษ ไดโนซอร์ ชนิดแรกของโลกจึงได้ถูกตั้งชื่อขึ้นว่า อิกัวโนดอน เนื่องจากซากดึกดำบรรพ์นี้มีลักษณะละม้ายคล้ายคลึงกับโครงกระดูกของตัวอิกัวนาในปัจจุบันนั้นเองค่ะ

สองปีต่อมา วิลเลียม บัคแลนด์ (William Buckland) ศาสตราจารย์ด้านธรณีวิทยา ประจำมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ก็ได้เป็นคนแรกที่ตีพิมพ์ข้อเขียนเกี่ยวกับคำอธิบายของไดโนซอร์ในวารสารทางวิทยาศาสตร์ โดยเป็นไดโนซอร์ชนิด เมกะโลซอรัส บักแลนดี (Megalosaurus bucklandii) และการศึกษาซากดึกดำบรรรพ์ของสัตว์อย่างเช่นพวกกิ้งก่า ขนาดใหญ่นี้ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งในยุโรปและอเมริกา

จากนั้นในปี ค.ศ. 1842 เซอร์ริชาร์ด โอเวน เห็นว่าซากดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่ที่ถูกค้นพบมีลักษณะหลายอย่างร่วมกัน จึงได้บัญญัติคำว่า ไดโนซอร์ เพื่อจัดให้สัตว์เหล่านี้อยู่ในกลุ่มอนุกรมวิธานเดียวกัน นอกจากนี้ เซอร์ริชาร์ด โอเวน ยังได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ขึ้น ที่เซาท์เคนซิงตัน กรุงลอนดอน เพื่อเป็นการจัดแสดงซากดึกดำบรรพ์ของไดโนซอร์ รวมทั้งหลักฐานทางธรณีวิทยาและชีววิทยาอื่นๆที่ถูกค้นพบ โดยได้รับการสนับสนุนจากเจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งแซกซ์-โคเบิร์ก-โกทา (Prince Albert of Saxe-Coburg-Gotha) พระสวามีของสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร

หลังจากนั้นมา ก็ได้มีการค้นหาซากดึกดำบรรพ์ของเจ้าไดโนซอร์ในทุกทวีปทั่วโลกเลยค่ะ (รวมทั้งทวีปแอนตาร์กติกาด้วย) ทุกวันนี้ก็ยังมีคณะสำรวจซากดึกดำบรรพ์ไดโนซอร์อยู่มากมายทั่วโลกเลยค่ะ ทำให้มีการค้นพบไดโนซอร์ชนิดใหม่เพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก ประมาณว่ามีการค้นพบไดโนซอร์ชนิดใหม่เพิ่มขี้นหนึ่งชนิดในทุกสัปดาห์เลยนะ โดยทำเลทองในตอนนี้อยู่ที่ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะประเทศอาร์เจนตินา และประเทศจีน

ไดโนซอร์ ( Dinosaur) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของสัตว์ดึกดำบรรพ์ในอันดับใหญ่ Dinosauria ซึ่งเคยครองระบบนิเวศบนพื้นพิภพก่อนมนุษย์ ในมหายุคมีโซโซอิก เป็นเวลานานถึง 165 ล้านปี ก่อนที่จะสูญพันธุ์ ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้วค่ะ คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนซอร์เป็นสัตว์เลื้อยคลาน แต่อันที่จริงแล้ว ไดโนซอร์เป็นสัตว์ในอันดับหนึ่งที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างสัตว์เลื้อยคลานและนกนั้นเองค่ะ

คำว่า ไดโนซอร์ ในภาษาอังกฤษ dinosaur ถูกตั้งขึ้นโดย เซอร์ ริชาร์ด โอเวน นักบรรพชีวินวิทยา ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นการผสมของคำในภาษากรีกสองคำ คือคำว่า deinos (δεινός) (ใหญ่จนน่าสะพรึงกลัว) และคำว่า sauros (σαύρα) (สัตว์เลื้อยคลาน)

หลายคนเข้าใจผิดว่า ไดโนซอร์ คือสัตว์ที่อาศัยอยู่ในมหายุคมีโซโซอิกทั้งหมด แต่จริงๆแล้ว ไดโนซอร์ คือสัตว์ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่บนพื้นดินเท่านั้นค่ะ สัตว์บกบางชนิดที่คล้ายไดโนซอร์สัตว์น้ำและสัตว์ปีกที่มีลักษณะคล้ายไดโนซอร์ ไม่ถือว่าเป็นไดโนซอร์ค่ะ เป็นเพียงสัตว์ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในยุคเดียวกับไดโนซอร์เท่านั้นเอง

แม้ว่าไดโนซอร์จะสูญพันธุ์ไปนานหลายล้านปีแล้ว แต่คำว่าไดโนซอร์ก็ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไดโนซอร์นั้นนับว่าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยปริศนาและความน่าอัศจรรย์เป็นอันมากนั่นเอง

ลักษณะทางชีววิทยา

ไดโนซอร์เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดยักษ์ โดยที่พวกมันมีผิวหนังที่ปกคลุมเป็นเกล็ดเช่นเดียวกันกับ งู จระเข้ หรือ เต่า กระเพาะอาหารของไดโนซอร์ที่กินพืช มักมีขนาดใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากเซลลูโลสของพืชทำให้บางครั้งมันจึงต้องกลืนก้อนหินไปช่วยย่อย ส่วนไดโนซอร์กินเนื้อจะย่อยอาหาร ได้เร็วกว่า แต่ข้อมุลของไดโนซอร์ยังไม่ทราบแน่ชัดนัก เนื่องจากไดโนซอร์สูญพันธ์ไปหมด เหลือเพียงซากดึกดำบรรพ์เท่านั้น ดังนั้น นักบรรพชีวินวิทยาจึงต้องใช้ซากฟอสซิลนี้ในการสันนิษฐานข้อมูลต่างๆ รวมถึงพฤติกรรม การล่าเหยื่อและการดำรงชีวิตของไดโนซอร์ขึ้นมา ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริงเท่าไรค่ะ ***แต่ใกล้เคียงที่สุด

             อาร์โคซอร์หรืออาร์โคซอรัส

วิวัฒนาการ
บรรพบุรุษของไดโนซอร์คือ อาร์โคซอร์ (archosaur) ซึ่งไดโนซอร์เริ่มแยกตัวออกมาจากอาร์โคซอร์ในยุค ไทรแอสซิก ไดโนซอร์ชนิดแรกถือกำเนิดขึ้นราวๆ 230 ล้านปีที่แล้ว หรือ 20 ล้านปี หลังจากเกิดการสูญพันธุ์เพอร์เมียน-ไทรแอสซิก (Permian-Triassic extinction event|Permian-Triassic extinction) ซึ่งคร่าชีวิตสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกสมัยนั้นไปกว่า 90 เปอร์เซ็นต์เลยที่เดียวค่ะ

สายพันธุ์ไดโนซอร์แพร่กระจายอย่างรวดเร็วหลังยุคไทรแอสซิก กล่าวได้ว่าในยุคทองของไดโนซอร์ (ยุคจูแรสซิกและยุคครีเทเชียส) ทุกสิ่งมีชีวิตบนพื้นพิภพที่มีขนาดใหญ่กว่าหนึ่งเมตรก็คือไดโนซอร์

จนกระทั่งเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว การการสูญพันธุ์ครีเทเชียส-เทอร์เทียรี (Cretaceous-Tertiary extinction) ก็ได้กวาดล้างไดโนซอร์จนสูญพันธุ์ เหลือเพียงไดโนซอร์บางสายพันธุ์ที่เป็นบรรพบุรุษของนกในปัจจุบัน ยุคต่างๆของไดโนซอร์

มหายุค เมโสโซอิค (Mesaozoic Era) 65-225 ล้านปี ในยุคนี้มี 3 ยุค คือ ยุค ไตรแอสสิก ยุคจูราสสิก ยุคครีเตเซียส และยุคซีโนโซอิกในยุคไตรแอสสิกนี้ สภาพอากาศในขณะนั้น จะมีสภาพร้อนและแล้งมากขึ้นกว่าในอดีต ทำให้ต้นไม้ใหญ่น้อยในเขตร้อนสามารถเจริญเติบโตได้ ดีมาก จนกระทั่ง "ไดโนซอร์ ตัวแรก"ได้ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกนี้ ไดโนซอร์กลุ่มแรกที่ได้กำเนิดขึ้นมา จะมีขนาดเล็กเดินได้แค่ 2 เท้าเองค่ะ และจะมีลักษณะพิเศษ คือ เท้ามีลักษณะคล้ายกับเท้าของนก  ต่อมาในยุคจูราสสิกนี้ จัดว่าเป็นยุคที่เฟื่องฟูเป็นอย่างมาก เพราะมีบรรดาพืชพรรณธัญญาหารที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้ไดโนซอร์จำนวนมากขยายพันธุ์ไปอย่างรวดเร็ว จนทำให้มีร่างกายที่ใหญ่โต ซึ่งส่วนใหญ่จะกินพืช เป็นอาหาร และยุคนี้ยังได้ ถือกำเนิด นก ขึ้นมาเป็นครั้งแรกอีกด้วยค่ะ ต่อมาในยุคครีเตเชียสนี้ จัดว่า เป็นยุคที่ไดโนซอร์นั้นรุ่งเรื่องที่สุด เพราะยุคนี้ไดโนซอร์ ได้มีการพัฒนาพันธุ์ออกมาอย่างมากมาย

ยุคไทรแอสสิก

การครอบครองโลกของไดโนซอร์ในยุคนี้ โลกถูกปกคลุมด้วยป่าไม้จำนวนมากค่ะ พืชตระกูลที่ใช้สปอร์ในการขยายพันธ์ประสบความสำเร็จและมีวิวัฒนาการถึงขั้นสูงสุด ในป่ายุคไตรแอสสิกช่วงแรกนั้นมีสัตว์ใหญ่ไม่มากนักเช่นสัตว์ปีกที่ใหญ่ที่สุดคือแมลงปอยักษ์ที่ปีกกว้างถึง2ฟุตและได้ชื่อว่าเป็นนักล่าเวหาเพียงชนิดเดียวของยุคนี้ เนื่องจากในช่วงปลายของยุคเปอร์เมียนเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิต ทำให้พวกสัตว์เลื้อยคลานกึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมจำนวนมากสูญพันธุ์ไป พวกที่เหลือได้สืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงต้นยุคไตรแอสสิกในกลุ่มสัตว์เหล่านี้ ซินนอกนาตัส เป็นสัตว์นักล่าที่น่าเกรงขามที่สุดในหมู่พวกมัน และในช่วงนี้เองไดโนซอร์ก็ถือกำเนิดขึ้นมาค่ะ โดยพวกมันวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานที่เดินด้วยขาหลังอย่าง ธีโคดอน ซึ่งถือได้ว่าเป็นบรรพบุรุษของไดโนซอร์ การสูญพันธ์ครั้งใหญ่ในยุคเปอร์เมียนทำให้พวกมันสามารถขยายเผ่าพันธุ์ได้อย่างมากมายในช่วงต้นยุคไตรแอสสิกและกลายมาเป็นคู่แข่งของพวกสัตว์เลื้อยคลานกึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมที่เหลือไดโนซอร์ในยุคแรกเป็นพวกเดินสองขา เช่น พลาทีโอซอร์ ไดโนซอร์กินพืชคอยาวที่เป็นบรรพบุรุษของพวก ซอโรพอด หรือ ซีโลไฟซิส บรรพบุรุษของพวกกินเนื้อ นักล่าสองขาความสูง 1 เมตร การที่มันสามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยสองขาหลังทำให้พวกมันมีความคล่องตัวในการล่าสูงกว่า ซินนอกนาตัส หรืออีรีโทรซูคัสที่ยาวถึง 15 ฟุตซึ่งมีกรามขนาด ใหญ่และแข็งแรงนักล่าเหล่านี้ได้เปรียบซินนอกนาตัสและสัตว์เลื้อยคลานกึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆทำให้พวกนี้ต้องวิวัฒนาการให้มีขนาดเล็กลงเพื่อที่จะหลบหนีพวกไดโนเสาร์ และหลีกทางให้เผ่าพันธุ์ไดโนซอร์ก้าวมาครองโลกนี้แทนในที่สุดนั้นเองค่ะ

                             ซอโรพอด                                                 พลาทีโอซอร์

                                     ธีโคดอน                                                                                ซินนอกนาตัส

ยุคจูราสสิก

ไดโนซอร์ครอบครองโลกได้สำเร็จในตอนปลายยุคไตรแอสสิก จนเมื่อเข้าถึงยุคจูราสสิกพวกมันก็ขยายเผ่าพันธุ์ไปทั่วโลกในยุคนี้ผืนแผ่นดินถูกปกคลุมด้วยพืชขนาดยักษ์จำพวกสนและเฟิร์น ยุคนี้ได้เริ่มมีพืชดอกปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงกลางของยุคนี้นับว่าเป็นจุดเริ่มของการขยายพันธุ์รูปแบบใหม่ของพวกพืชในยุคจูราสสิกนับได้ว่าเป็นยุคที่พวกไดโนซอร์คอยาวตระกูลซอโรพอด(Sauropod)ขยายเผ่าพันธุ์อย่างกว้างขวาง พวกมันเป็นไดโนซอร์ ขนาดยักษ์สายพันธุ์ที่รู้จักกันดีก็คือ แบรกคิโอซอรัส (Brachiosaurus) ดิปโพลโดคัส (Diplodocus) และอะแพทโตซอรัส(Apatosaurus)หรืออีกชื่อคือบรอนโตซอรัสนอกจากนี้ยังมีชนิดอื่นๆอีกมากมายเลยค่ะ สัตว์ยักษ์พวกนี้ครั้งหนึ่งถูกมองว่า เป็นสัตว์ที่โง่และไม่อาจป้องกันตัวจากสัตว์นักล่าได้ แต่ว่าในปัจจุบันนักโบราณคดีชีววิทยา (paleontology)เชื่อว่าพวกมันใช้หางที่หนาและหนักโจมตีศัตรูที่มาจู่โจม ซึ่งนับว่าเป็นการตอบโต้ที่น่ายำเกรงไม่น้อยและเพราะหางที่ยาว และมีน้ำหนักมากนี่เองที่ทำให้พวกมันต้อง มีคอยาวเพื่อสร้างสมดุลของสรีระของมัน

                                    แบรกคิโอซอรัส

                                                                           ดิปโพลโดคัส

                                   อะแพทโตซอรัส

ยุคครีเตเซียส

ยุคครีเตเชียสเป็นยุคที่ต่อจากยุคจูแรสสิกสัตว์เลื้อยคลานเจริญมากในยุคนี้ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการค้นพบสัตว์ทะเลที่เคยอาศัยอยุ่ในช่วงเดียวกันกับไดโนซอร์ได้แก่ พวก พลีซิโอซอร์ เช่น อีลาสโมซอรัส พวกกิ้งก่าทะเลโมซาซอร์อย่าง ไฮโนซอรัส และ อาร์เครอน ที่เป็นพวกเต่าอาศัยอยู่ในทะเล บนท้องฟ้าก็มี เคอาร์โคโทรุส ซึ่งมีขนาดปีกที่ยาวถึง 15 เมตร บินอยู่มากมายในยุคนี้เลยค่ะ และยุคนี้เป็นยุคที่ไดโนซอร์ได้มีการพัฒนาตัวเองอย่างมาก พวกซอริสเชียนที่กินเนื้อและมีตัวขนาดใหญ่ได้แก่ อัลเบอร์โตซอรัส ไทรันโนซอรัส ก็ปรากฏตัวในยุคนี้ โดยมีลักษณะดังนี้ไทรันโนซอรัส นั้นจะมีเล็บที่ขาหลังใหญ่โตและมีฟันแหลมยาวประมาณ 13 เซนติเมตร เพื่อใช้จับเหยื่อพวกซอริสเชียนที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารก็ได้แก่ ออนิโตมิมัสพวกออร์นิธิสเชียนมักจะเป็นพวกกินพืชพวกที่ถูกค้นพบครั้งแรกก็ได้แก่ อิกัวโนดอน แล้วก็พบ ฮิพุชิโรโฟดอน และ ฮาโดโรซอรัส พวกออร์นิธิสเชียน ได้แก่ ไทรเซอราทอปส์ แองคิโลซอรัส พบเจริญอยู่มากมาย แต่ว่าก่อนจะหมดยุคครีเตเชียส นั้นอากาศก็เริ่มเปลี่ยนแปลงจนไดโนซอร์บางพวกเริ่มตายลงและสูญพันธุ์ หลังจากไดโนซอร์สูญพันธุ์ไปแล้วสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็มีบทบาทขึ้นมาบนโลกนี้แทนค่ะ

                                                                     อีลาสโมซอรัส

               ไฮโนซอรัส                                                    อาร์เครอน

                                        เคอาร์โคโทรุส

         อัลเบอร์โตซอรัส                                                                         ไทรันโนซอรัส

                      อิกัวโนดอน                                                                  แองคิโลซอรัส

                                                                                              ไทรเซอราทอปส์

การจัดจำแนก

ไดโนซอร์ถูกแบ่งออกเป็นสองอันดับใหญ่ๆ ตามลักษณะโครงสร้างของกระดูกเชิงกราน คือ Saurischia (เรียกไดโนซอร์ในอันดับนี้ว่า ซอริสเชียน) ซึ่งมีลักษณะกระดูกเชิงกรานแบบสัตว์เลื้อยคลาน มีทั้งพวกกินพืชและกินสัตว์ และ Ornithischia (เรียกไดโนซอร์ในอันดับนี้ว่า ออร์นิทิสเชียน) มีกระดูกเชิงกรานแบบนกและเป็นพวกกินพืชทั้งหมด

ไดโนซอร์สะโพกสัตว์เลื้อยคลาน หรือ ซอริสเชียน (จากภาษากรีก แปลว่าสะโพกสัตว์พวกกิ้งก่า) เป็นไดโนซอร์ที่คงโครงสร้างของกระดูกเชิงกรานตามบรรพบุรุษ ซอริสเชียนรวมไปถึงไดโนซอร์เทอโรพอด (theropod) (ไดโนซอร์กินเนื้อเดินสองขา) และซอโรพอด (sauropod) (ไดโนซอร์กินพืชคอยาว)
ไดโนซอร์สะโพกนก หรือ ออร์นิทิสเชียน (จากภาษากรีก แปลว่าสะโพกนก) เป็นไดโนซอร์อีกอันดับหนึ่ง ส่วนใหญ่เดินสี่ขาและกินพืช
ไดโนซอร์ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

แม้ว่ายุคสมัยของไดโนซอร์จะสิ้นสุดลงเป็นเวลาหลายสิบล้านปีแล้ว แต่ในปัจจุบัน ไดโนซอร์ยังคงปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมสมัยนิยมและวิถีชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น นิยายหลายเล่มมีการกล่าวถึงไดโนซอร์ เช่น เพชรพระอุมา ของ พนมเทียน, เดอะลอสต์เวิลด์ (The Lost World(Arthur Conan Doyle)|The Lost World) ของ เซอร์ อาเทอร์ โคแนน ดอยล์, และ "จูราสสิค พาร์ค" (ซึ่งถ้าสะกดตามหลักการถ่ายคำต้องสะกดเป็น จูแรสซิกพาร์ก) ของ ไมเคิล ไครช์ตัน (Michael Crichton) ไม่เพียงแต่ในหนังสือนิยายเท่านั้น การ์ตูนสำหรับเด็กก็มีการกล่าวถึงไดโนซอร์ด้วยเช่นกันค่ะ เช่นในเรื่อง มนุษย์หินฟลินท์สโตน (The Flintstones) โดราเอมอน ตำรวจกาลเวลาและก๊องส์

นอกจากนี้ ไดโนซอร์ยังได้ปรากฏตัวอยู่ในภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น คิงคอง (ปี ค.ศ. 1933) และ จูราสสิค พาร์ค (ปี ค.ศ. 1993) ซึ่งภาพยนตร์เรื่องหลังนี้ดัดแปลงมาจากนิยายของ ไมเคิล ไครช์ตัน และประสบความสำเร็จอย่างสูงมาก และยังเป็นการปลุกกระแสไดโนซอร์ให้คนทั่วไป หันมาสนใจกันมากขึ้น ในปีค.ศ. 2000 Walt Disney ได้นำไดโนซอร์มาสร้างเป็น ภาพยนตร์แอนิเมชัน ชื่อเรื่องว่า Dinosaur

ในปี 2549 มีภาพยนตร์เรื่องเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ (Natural History Museum) ชื่อ Night at the Museum ของ ชอน เลวี่ (Shawn Levy) มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับสิ่งต่างๆในพิพิธภัณฑ์ที่ต้องคำสาบให้กลับมีชีวิตขึ้นมาในตอนกลางคืน มีตัวเอกตัวหนึ่งเป็นไดโนซอร์ชื่อซู (Sue) ซึ่งเป็นโครงกระดูกไดโนซอร์ทีเร็กที่มีความสมบูรณ์ที่สุด มีขนาดลำตัวยาวกว่า 12.8 เมตร และความสูงถึงสะโพก 4 เมตร  ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ Field Museum ที่ชิคาโก

ระหว่าง 23 กรกฎาคม - 30 กันยายน พ.ศ. 2550 ทางองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช) ได้นำโครงกระดูกของซู มาจัดแสดงร่วมกับไดโนซอร์ที่พบในประเทศไทย ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ คลอง5 ปทุมธานี

ในประเทศไทย ไดโนซอร์ได้รับเลือกให้เป็นสัตว์ประจำจังหวัดของจังหวัดขอนแก่น ส่วนในภาษาไทยนั้น ไดโนเสาร์มีความหมายนัยประหวัดสำหรับใช้เรียกคนหัวโบราณ ล้าสมัย 

****เซอร์ ริชาร์ด โอเวน (Sir Richard Owen KCB) (20 ก.ค. ค.ศ. 1804 - 18 ธ.ค. ค.ศ. 1892) เป็นนักชีววิทยา, นักกายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ, และนักบรรพชีวินวิทยา ชาวอังกฤษ เขาคนนี้คือคนกำหนดชื่อเรียกให้กับซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ว่าไดโนซอร์
****ไดโนซอร์ คือ คำเรียกสัตว์โลกล้านปีที่คนไทยเรียกว่า ไดโนเสาร์ นั้นเองค่ะ

*********************************************************

ขอเชิญพี่ๆน้องๆ เลือกชม หนังสือ E-book ที่น่าสนใจเกี่ยวกับกุ้งสวยงามชนิดต่างๆ และการเลี้ยงสัตว์น้ำหลายชนิดได้ทีนี่ครับ

//www.ebooks.in.th/thaiaquaclub




Create Date : 07 มิถุนายน 2557
Last Update : 7 มิถุนายน 2557 22:42:45 น. 0 comments
Counter : 5052 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

เหมียวกุ่ย
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 40 คน [?]




ยินดีต้อนรับพี่ๆน้องๆทุกท่านเข้าเยี่ยมชม เว็บบล็อคแห่งนี้ หวังว่าทุกท่านจะมีความสุขในการชมบล็อคของกระผมนะครับ










View My Stats
New Comments
[Add เหมียวกุ่ย's blog to your web]