ราชาแห่งสารต้านอนุมูลอิสระ Astaxanthin





สวัสดีค่ะ กลับมาพบกับเมกันอีกแล้วนะคะ 
บอกก่อนเลยว่บทความนี้สาระล้วนๆ 
ความรู้เน้นๆเกี่ยวกับสารต้านอนุมูลอิสระ
ครั้งนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ ...

ASTAXANTHIN



* ชื่อหน้ากล่องพิมพ์ผิด ตอนนี้อยู่ในกระบวนการแก้ไขค่ะ

ทำความรู้จักกับแอสต้าแซนทิน

แอสต้าแซนทิน (Astaxanthin) เป็นสารสีแดง ในกลุ่มแซนโทรฟิลล์
ตระกูลแคโรทีนอยด์ที่พบในธรรมชาติ เช่น ในปลาแซลมอน ไข่ปลาคาเวียร์ 
เปลือกกุ้ง เปลือกปู และสาหร่ายฮีมาโตคอกคัสพลูวิเอลิส
 (Haematococcus Pluvialis)  ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์สารชนิดนี้ได้ 
เราจะได้รับจากอาหารที่รับประทานเข้าไป และได้รับในปริมาณที่น้อยมาก 
เช่น ปลาแซลมอน 200 กรัม จะมีแอสตาแซนธินเพียง มิลลิกรัมเท่านั้น
 แต่กลับพบมากในสาหร่ายเขียวแกมน้ำเงินพันธุ์ฮีมาโตคอกคัส พลูวิเอลิส
ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในแถบภูมิอากาศอบอุ่นทั่วโลก สาหร่ายชนิดนี้ปกติจะมีสีเขียวสมบูรณ์ดี
 แต่เมื่อสภาพแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงจนไม่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตอยู่ได้ 
มันจะปรับตัวเพื่อความอยู่รอดด้วยการสร้างสารสีแดงที่มีชื่อว่า Astaxanthin
ขึ้นมาเพื่อปกป้องเซลล์ของตัวเอง โดยจะปรับตัวให้มีผนังเซลล์หนาขึ้น
เพื่อสะสมสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งให้รงควัตถุสีแดงเข้มที่เรียกว่า 
แอสตาแซนธิน เพิ่มขึ้นในปริมาณสูงที่สุด




แอสตาแซนทิน เป็นส่วนหนึ่งในอาหารของมนุษย์มายาวนานหลายพันปี
มีความปลอดภัยสูง มีการทดลองทางคลินิก โดยให้ผู้เข้าร่วมการทดลอง
รับประทานอาหารที่ผลิตจาก Microalgae (สาหร่ายขนาดเล็ก) 
ที่อุดมไปด้วยแอสตาแซนทิน 40 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน 
โดยไม่พบผลข้างเคียงใดๆ และจากการ ทดสอบ Full Acute & Sub 
Chronic, Ames Test & Gene Toxicity และการค้น หาเอกสารทางวิชาการ
ทั่วโลกนั้นไม่พบรายงานที่มีผลข้างเคียงในทางลบ และจากข้อมูล มีการนำ
สาหร่ายทะเลสีแดงสายพันธุ์ Haematococcus Pluvialis ซึ่งมีสาร
แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) อยู่เป็นจำนวนมาก นำมาสกัดเป็นอาหารเสริม
และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในพื้นที่แถบสแกนดิเนเวีย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995
และสารแอสตาแซนธิน (Astaxanthin) มีการวางจำหน่ายอย่างแพร่หลาย
ในตลาดตั้งแต่ปีค.ศ.1999 จนถึงปัจจุบัน




คุณสมบัติพิเศษของแอสตาแซนทิน 

คือ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง และจัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระกับสารอาหารชนิดต่างๆ ดังนี้

Smiley มากกว่าวิตามินอี แอลฟา โทโคฟีรอล 550 เท่า
Smiley มากกว่าเบต้า แคโรทีน 40 เท่า Smiley
Smiley มากว่าเมล็ดองุ่นสกัด 17 เท่า Smiley
Smiley มากกว่าวิตามินซี 6000 เท่า Smiley
Smiley มากกว่า โคเอนไซม์คิวเท็น 800 เท่า Smiley
Smiley มากกว่าสารในชาเขียว 550 เท่า Smiley
Smiley มากกว่า แอลฟา ไลโปอิก เอซิด 75 เท่า Smiley

มาดูคลิปวีดีโอที่เค้ามีการทดสอบการปกป้องผิวของแอปปเปิ้ลด้วยสารต้านอนุมูลอิสระจาก ......

ชาเขียว 1200mg. , วิตามินซี  1200mg. และ แอสต้าแซนทิน 1 หยด





ประโยชน์ของแอสต้าแซนทิน
Smiley ป้องกัน และฟื้นฟูจอตาที่เสื่อม ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ และ ผู้ป่วยเบาหวาน 
ซึ่งจอประสาทตาจะเป็นจุดรับภาพของลูกตา ช่วยยับยั้งการสะสมของกรดในดวงตา 
อันเป็นสาเหตุให้ดวงตาอ่อนล้า ช่วยป้องกันดวงตาจากรังสีอัลตร้าไวโอเลต
Smiley ป้องกันการเสื่อมของไต และหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน
Smiley ป้องกัน และบำบัดในผู้ป่วยความจำเสื่อม และพาร์กินสัน
Smiley ปรับสมดุลของโคเลสเตอรอล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง LDL ซึ่งเป็น
โคเลสเตอรอลตัวร้าย ช่วยให้ผนังหลอดเลือดยืดหยุ่นมากขึ้น ในผู้ป่วย
ความดันโลหิตสูง ควรใช้ร่วมกับสารสกัดจากเมล็ดองุ่น
Smiley ลดภาวะอักเสบในร่างกาย ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยภูมิแพ้ตัวเอง ภูมิต้านทานต่ำ
และการติดเชื้อไวรัสเรื้อรัง เช่น กลุ่มผู้ป่วย AIDS ผู้ติดเชื้อไวรัสงูสวัด และเริม
Smiley ทำให้สเปิร์มแข็งแรงขึ้น
Smiley ทำให้กล้ามเนื้อและข้อต่อมีสุขภาพดีขึ้น ช่วยให้กล้ามเนื้อมีความทนทานมากขึ้น
Smiley ปกป้องโครงสร้างผิวจากการถูกทำลายโดยแสงแดดและรังสีอัลตราไวโอเลต 
ช่วย กระชับรูขุมขน ลดเลือนริ้วรอย
Smiley ปรับสมดุลความดันโลหิตและการเต้นของหัวใจ
Smiley ช่วยบรรเทาอาการต่อมลูกหมากอักเสบหรือต่อมลูกหมากโต และ
มะเร็งต่อมลูก หมาก
Smiley ช่วยการซ่อมแซม และฟื้นฟูเซลล์สมองและหลอดเลือดในผู้ป่วย
เส้นเลือดในสมองแตก หรือผู้ป่วยที่ขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง

คลิปวีดีโอการให้ความรู้และประโยชน์ของแอสต้าแซนทินโดย Dr.Vincent Woods แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านแอสต้าแซนทินจากประเทศญี่ปุ่น


ซึ่งบอกเลยว่าก่อนหน้านี้เมเองก็ไม่รู้จัก Astaxanthin มาก่อนเลย
จนมาเจอกับคุณหมอบุ้ง ที่ Siraikorn Clinic by SK Clinic แนะนำให้ลองทาน

* ชื่อหน้ากล่องพิมพ์ผิด ตอนนี้อยู่ในกระบวนการแก้ไขค่ะ




จากนั้นเมจึงลองศึกษาและทำความรู้จักกับแอสต้าแซนทินมากขึ้น
พอเราเริ่มรู้จัก ก็รู้สึกว่า เห้ย ! มันเจ๋งอะ เป็นอะไรที่น่าสนใจมากๆ
เพราะด้วยการศึกษาวิจัยของผู้เชี่ยวชาญมากมายล้วนยกให้แอสต้าแซนทิน
เป็นราชาแห่งสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในตอนนี้ 


ใน 1 กล่องเค้าจะบรรจุมา 60 แคปซูล





ส่วนประกอบโดยประมาณต่อ 1 แคปซูล



วิธีการรับประทานเค้าแนะนำให้ทานวันละ 1-2 แคปซูล พร้อมอาหาร

**Astaxanthin 5%  40 mg. 
คิดง่ายๆแบบเทียบบัญญัติไตรยางค์ก็คือ 1 เม็ด มี 2 mg.




ราคาต่อกล่องอยู่ที่ 1,890 บาท 
เฉลี่ยแล้วหากทานวันละ 2 แคปซูล 1กล่องจะทานได้ 1 เดือน


ผลหลังจากทาน 



เมคิดว่าผลลัพธ์หลังทานอาจจะต้องใช้ระยะเวลานิดนึง แต่สิ่งที่รู้สึกได้คือ
ผิวดูอิ่มน้ำ 
เต่งตึงขึ้น ช่วยให้การมองเห็นดีขึ้นเวลาเปลี่ยนสายตามองอะไรกระทันหัน
  คือโดยรวมตอนนี้ยังไม่เห็นผลลัพธ์มาก แต่เชื่อว่าหากทานต่อเนื่องไปเรื่อยๆจะส่งผลดีต่อร่างกาย 
และเมเชื่อว่าการทานแอสต้าแซนทินหากทานตั้งแต่ยังอายุไม่มากจะส่งผลที่ดี
ต่อร่างกายในภายภาคหน้าได้ เนื่องจากมีสารที่ต้านอนุมูลอิสระ พูดง่ายๆคือ
ทำให้แก่ช้าลง 



Product by SK Clinic
Imported from France




เอกสารอ้างอิง
Nishida Y.et.al, Quenching Acitivities of Common Hydrophillic and Lipophillic Antioxidants against Singlet Oxygen Using Chemiluminescence Detection System. Carotenoid Science 11: 16-20 (2007)
Miki, W., Biological functions and activities of animal carotenoids. Pure and Appl.Chem 1991 ; 63:141-6
Shimizu, N., et al., Carotenoids as singlet oxygen quenchers in marine organisms. Fisheries Sci. 1996; 62: 134-7
Fuji Chemical Industry Co., Ltd., Outsourced test by Collaborative Labs, Setauket, NY 2001
Yamashita,(2006) The Effects of Dietary Supplement Containing Astaxanthin on Skin Condition. Carotenoid Science 10:91-95
Nagaki et al., (2006) .The supplementation effect of astaxanthin on accommodation and asthenopia.J.Clin. Therap.Med.,22(1):41-54.
Sawaki,K.et al.(2002) Sports performance benefits from taking natural astaxanthin characterized by visual activity and muscle fatigue improvements in humans.Journal of Clinical Therapeutics & Medicine 18(9):73-88.
Kupcinskas et al., Efficacy of the antioxidant astaxanthin in the treatment of functional dyspepsia in patients with or without Helicobacter pylori gastritis: a propective, randomized ,double blind, and placebo controlled study .Eur.J.Gastroent and Hepat.,(In Press).

Hiroshige Itakura, Astaxanthin Defends and Subdues Active Oxygen, Heart publishing co.,ltd, 21.




Create Date : 14 พฤษภาคม 2559
Last Update : 14 พฤษภาคม 2559 18:02:37 น.
Counter : 1553 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Mekumii kitty
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]