มองให้เห็นหลายมุม แต่ไม่ลืมมุมที่มองไม่เห็น
Group Blog
 
All Blogs
 

ความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจของไทย

"ในเชิงโครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจของไทย คนไทยเปลี่ยนไปมากแล้ว เราไม่มีชาวนาเหลืออยู่แล้ว .. ปัจจุบันชาวนาทุกคนคือพ่อค้า... การมองว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของ "ชนชั้น" อย่างเดียวไม่เพียงพอ ไม่ใช่เรื่อง "ชนบท-เมือง" "ชนชั้นล่าง-ชนชั้นกลาง-ชนชั้นสูง" หากเราจะเข้าใจสังคมไทย เราต้องเอาเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสังค......มที่เกิดขึ้นมาร่วมวิเคราะห์ด้วย"

นิธิ เอียวศรีวงศ์


คำว่า "ชนชั้นสูง" ปัจจุบันก็ไม่ได้หมายถึงแค่ชนชั้นปกครอง หรือกลุ่มที่ถูกเรียกว่า "ศักดินา" หรือ "อำมาตย์" เท่านั้น
นักธุรกิจขนาดใหญ่ เศรษฐี ที่กุมอำนาจทางเศรษฐกิจ ก็นับว่าเป็นชนชั้นสูงทางเศรษฐกิจ ที่ก็มีความสำคัญไม่น้อยกว่าชนชั้นสูงในด้านการปกครอง แล้วเราก็ยังมีชนชั้นสูงทางเศรษฐกิจที่เข้ามาเป็นชนชั้นปกครองด้วย

เรามี "ชนชั้นกลาง" ที่ต้องปากกัดตีนถืบ ใส่ใจเรื่องการทำมาหากินมากกว่าเรื่องปรัชญาทางการเมือง และก็มีชนชั้นกลางที่ใส่ใจในเรื่องปรัชญาการเมืองมากกว่าเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่ง 2 คนนี้ก็จะมีมุมมองที่แตกต่างค่อนข้างจะสิ้นเชิง กลุ่มนึงอาจจะบอกว่าโกงได้ขอให้มีผลงาน หรือใต้โต๊ะเป็นเรื่องปกติ ในขณะที่อีกกลุ่มนึงยอมไม่ได้ กลุ่มนึงอาจจะบอกว่าไม่มั่งคั่งก็ได้ แต่ขอให้ตรงไปตรงมา แต่อีกกลุ่มอาจจะบอกว่า การทำธุรกิจ ต้องได้ประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะได้มาด้วยวิธีใดก็ตาม

เรามี "ชนชั้นล่าง" ที่ไม่ได้ด้อยโอกาสทาง "สังคม" แต่ด้วยโอกาสทาง "เศรษฐกิจ" ที่ส่งเสียงดังกว่าคนที่ด้อยโอกาสทางสังคมจริง ๆ อย่างพวกคนไร้สัญชาติ คนพิการ หรือแรงงานที่ถูกเอาเปรียบ

ทำให้นโยบายการเมืองที่มุ่งเรื่องเศรษฐกิจ รวมทั้งนโยบายประชานิยมแจกเงินต่าง ๆ ได้รับการตอบรับจากคนรากหญ้า มากกว่านโยบายทางด้านสังคม หรือบอกได้ว่านโยบายทางสังคมไม่ต้องมีก็ได้ ขอแบบที่จับต้องได้อย่างประชานิยมดีกว่า




 

Create Date : 04 ธันวาคม 2552    
Last Update : 4 ธันวาคม 2552 11:24:55 น.
Counter : 1206 Pageviews.  

หลักประกันการให้บริการขั้นต่ำสุด ในภาคขนส่งสาธารณะ

หลักประกันการให้บริการขั้นต่ำสุด ในภาคขนส่งสาธารณะ
Saturday, 27 June 2009 05:51
โดย ปราโมช โศภิษฐนภา อัยการจังหวัดประจำกรม สำนักงานอัยการสูงสุด
การนัดหยุดงานประท้วงของสหภาพแรงงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟ เกิดขึ้นไม่บ่อยนักในประเทศไทย แต่ในประเทศแถบยุโรปนั้นเกิดขึ้นบ่อยครั้ง คำศัพท์แรกๆ ที่นักเรียนไทย หรือนักท่องเที่ยวเรียนรู้และจำขึ้นใจ คือคำว่า "มานิฟ" (manif ซึ่งย่อมาจาก manifestation) เดินทางครั้งใดก็ภาวนาขออย่าได้เจอมานิฟเลย

การนัดหยุดงานประท้วงนั้น ในยุโรปมีมานานแล้ว โดยหลายประเทศถือเป็นเรื่องสำคัญ เช่น ประเทศฝรั่งเศส อิตาลี สเปน กรีก และโปรตุเกส ได้บัญญัติรองรับสิทธิในการนัดหยุดงานประท้วง (le droit de greve) ไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ในบางประเทศแม้ไม่มีบทบัญญัติโดยเฉพาะ แต่ศาลได้พิพากษารองรับสิทธิดังกล่าว เช่น ประเทศสหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ และออสเตรีย ซึ่งหมายความว่า การนัดหยุดงานประท้วงนั้น สามารถกระทำได้ และรัฐจะห้ามมิให้มีการนัดหยุดงานประท้วงไม่ได้

อย่างไรก็ดี การนัดหยุดงานประท้วงโดยเฉพาะในภาคขนส่งสาธารณะ ได้ส่งผลกระทบในวงกว้างแก่ผู้โดยสารทั่วไป นักเรียน นักท่องเที่ยว การทำงาน กิจกรรมต่างๆ ทางธุรกิจ และกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่อง การนัดหยุดงานประท้วงที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ยาวนาน ในช่วงเวลาที่ประชาชนมีความจำเป็นต้องเดินทาง (เช่น เทศกาลปีใหม่ วันหยุดภาคฤดูร้อน การสอบแข่งขันเข้าศึกษาต่อระดับต่างๆ) ก่อปัญหาทางสังคมที่กดดันการทำงานของรัฐบาล

ความคิดเรื่องสิทธิการนัดหยุดงานประท้วงอย่างมีขอบเขต และสิทธิการนัดหยุดงานประท้วงอย่างมีสัดส่วน จึงมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง

ในประเทศเยอรมนี เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่อาจนัดหยุดงานประท้วงโดยไม่แจ้งล่วงหน้า

ประเทศเดนมาร์ก การนัดหยุดงานประท้วงจะกระทำได้เฉพาะในกรณีที่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น

หรือในประเทศอิตาลี และเยอรมนี การนัดหยุดงานประท้วงจะต้องได้สัดส่วนกับวัตถุประสงค์ในการนัดหยุดงานประท้วงนั้น จะกระทำเกินเลยกว่าเหตุผลและความจำเป็นไม่ได้

ในการรณรงค์เลือกตั้งประธานาธิบดีของประเทศฝรั่งเศส ในปี ค.ศ.2007 (พ.ศ.2550 นิโคลาส์ ซาร์โกซี (Nicolas Sarkozy) ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ได้เสนอนโยบายที่นำเอาหลักประกันการให้บริการขั้นต่ำสุด (le service minimum) มาใช้กับภาคขนส่งสาธารณะ โดยจะออกกฎหมายเพื่อประกันว่าจะให้มีการให้บริการภาคขนส่งสาธารณะอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ชั่วโมง เพื่อให้คนโดยสารสามารถเดินทางไปทำงานได้ และ 3 ชั่วโมง เพื่อให้คนเดินทางกลับบ้านได้ ในช่วงเวลาที่มีการนัดหยุดงานประท้วง

เมื่อได้รับการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี ก็ทำตามคำมั่นสัญญา ร่างกฎหมายดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาประกาศใช้เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ.2007 (พ.ศ.2550) โดยให้มีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม ค.ศ.2008 (พ.ศ.2551) ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้

1.เมื่อจะมีการนัดหยุดงานประท้วงต้องมีการแจ้งให้ผู้ใช้บริการและองค์กรปกครองท้องถิ่นทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 48 ชั่วโมง เพื่อจะได้เตรียมตัวและเตรียมการให้บริการที่จำเป็นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในช่วงที่จะมีการนัดหยุดงานประท้วง

2.จะต้องมีการให้บริการขั้นต่ำในแต่ละวัน ณ ช่วงเวลาที่ตกลงกันระหว่างสหภาพแรงงาน และหน่วยงานที่ให้บริการขนส่งสาธารณะ จะหยุดการให้บริการทั้งหมดไม่ได้ไม่ว่าในกรณีใดๆ ตามหลักความต่อเนื่องของการให้บริการสาธารณะอันเป็นหน้าที่ของรัฐ

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ดังกล่าวใช้บังคับกับการขนส่งผู้โดยสารสาธารณะที่วิ่งประจำเส้นทางเท่านั้น ไม่รวมถึงการขนส่งสินค้า การขนส่งทางไปรษณีย์ และการขนส่งสาธารณะไม่ประจำทาง การฝ่าฝืนในส่วนของเจ้าหน้าที่รัฐจะต้องมีความผิดทางวินัย ความรับผิดชอบในส่วนอื่นๆ ยังคงเป็นไปตามกฎหมายทั่วไป

ในทางกฎหมาย ดังที่กล่าวในเบื้องต้นแล้วว่า ประเทศฝรั่งเศสนั้น ถือว่าการนัดหยุดงานประท้วงนั้นถือว่าเป็นสิทธิที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ แต่ในขณะเดียวกัน รัฐบาลเสนอร่างกฎหมายโดยอ้างถึงเสรีภาพในการเดินทาง เสรีภาพในการเข้าถึงการบริการสาธารณะ โดยเฉพาะทางด้านสาธารณสุขสังคมและการศึกษา เสรีภาพในการทำงาน และเสรีภาพทางพาณิชย์และอุตสาหกรรมของประชาชน ซึ่งเป็นเสรีภาพอันเป็นหลักการที่รับรองโดยรัฐธรรมนูญเช่นกัน จึงมีประเด็นว่า การออกกฎหมายดังกล่าวจะกระทบถึงสิทธิในการนัดหยุดงานประท้วงตามรัฐธรรมนูญหรือไม่

สมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส ได้ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสวินิจฉัยก่อนที่จะมีการประกาศใช้กฎหมายในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสวินิจฉัยว่าไม่มีบทบัญญัติใดในกฎหมายดังกล่าวขัดต่อหลักการตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งสิทธิในการนัดหยุดงานประท้วง

จึงเป็นอันว่า กฎหมายกำหนดหลักประกันการให้บริการสาธารณะขั้นต่ำสุดในภาคขนส่งสาธารณะเป็นอันใช้บังคับได้

ในกรณีของประเทศไทย กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ และกฎหมายแรงงานวิสาหกิจแรงงานสัมพันธ์ ให้สิทธิลูกจ้างในการจัดตั้งสหภาพแรงงาน และสหพันธ์แรงงานเพื่อคุ้มครองดูแล ยื่นข้อเรียกร้อง และหาข้อยุติในเรื่องที่เกี่ยวกับสภาพการจ้างเพื่อสร้างความปรองดองในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติโดยรวม โดยกำหนดสิทธิ เงื่อนไข และขั้นตอนการดำเนินการตั้งแต่การเรียกร้องการเจรจา จนกระทั่งการนัดหยุดงานไว้

แม้การนักหยุดงานประท้วงของประเทศไทย จะยังมีไม่บ่อยครั้ง แต่ต้องยอมรับว่า เมื่อมีเกิดขึ้นแล้ว ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ไม่มีทางเลือกอื่น และจำเป็นต้องพึ่งพาการให้บริการสาธารณะจากรัฐ โดยเฉพาะในภาคการขนส่งพื้นฐาน นักท่องเที่ยว นักเรียน ฯลฯ ในวงกว้าง

ดังนั้น เพื่อเป็นการกำหนดให้การนัดหยุดงานประท้วงเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล และส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้มีสิทธิในการได้รับบริการจากรัฐเท่าที่จำเป็น สังคมจึงน่าจะได้มีการอภิปรายถึงความจำเป็นที่จะมีการกำหนดหลักประกันการให้บริการขั้นต่ำสุดเช่นที่เกิดขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว

อย่างน้อยน่าจะมีการแจ้งให้ประชาชนได้รับทราบล่วงหน้าก่อนการนัดหยุดงานประท้วง เพื่อลดผลกระทบจากการหยุดให้บริการสาธารณะพื้นฐานของรัฐต่อไป




 

Create Date : 12 สิงหาคม 2552    
Last Update : 12 สิงหาคม 2552 10:58:49 น.
Counter : 523 Pageviews.  

รัฐสภา ควรจะมีหลายพรรคน่ะถูกแล้ว แต่รัฐบาล ควรจะมีพรรคเดียว

เพราะลักษณะการทำงานของรัฐสภา กับรัฐบาลแตกต่างกัน

รัฐสภา ต้องการความหลากหลายทางความคิด เพื่อออกกฎหมายต่าง ๆ ที่คนในประเทศจะได้ประโยชน์ในภาพรวม เกิดการคานกันทางความคิด เหตุผล
ถ้าเป็นอย่างนั้น ยิ่งมีหลายพรรค หลายอุดมการณ์ หลายความคิด มาอยู่รวมกันยิ่งดี หรือจะมีเสียงจากคนที่อิสระ ไม่สังกัดพรรคเลยยิ่งดี

แต่ที่ไม่ควรจะมีในสภา คือ พรรคการเมืองเสียงข้างมาก หรือพรรคการเมืองพรรคเดียวที่มีเสียงเกินกึ่งหนึ่งของสภา เพราะไม่งั้นจะโหวตกี่ที ๆ พรรคนี้ก็จะชนะเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดี หรือไม่ก็ตาม ทำให้เกิด "เผด็จการรัฐสภา" ได้ ซึ่งโดยธรรมชาติของคนที่มีความคิดหลากหลาย ก็ยากที่จะเกิดขึ้นอยู่แล้ว นอกจากจะเกิดเหตุผิดปกติ บิดเบี้ยวทางการเมือง

ในขณะที่ รัฐบาล ไม่ควรจะมีหลายพรรคให้มาต่อรองอำนาจทางการเมืองกัน ไม่พอใจก็ขู่ถอนตัว รัฐบาลจะบริหารงานได้ดี ควรจะมีแค่พรรคเดียว แนวทางเดียว ถูกผิด รับผิดชอบไปเต็ม ๆ อาจจะให้มีการตรวจสอบโดยสภาได้ แต่ต้องไม่ใช่ว่าเอาอำนาจ "ตรวจสอบ" มากลายเป็นเรื่อง "ต่อรอง" ทางการเมืองไปซะ


เราพยายามจะแก้การเมือง ให้ได้รัฐบาลที่ดี ๆ ด้วยการพยายามหาวิธีทำให้ได้สส.ที่ดี ๆ มันก็เลยหาทางแก้ไม่ได้ซักที เพราะมัวแต่เอารัฐบาลไปผูกกับสส.

ถ้าแก้ปมตรงนั้นออก เลือกรัฐบาลก็ส่วนของการเลือกรัฐบาล เลือกสส. เข้าสภา ก็ส่วนของการเลือกสส.เข้าสภา ตั้งโจทย์กันใหม่ ผมว่าเราก็อาจจะหาคำตอบที่ดีที่สุดได้


ผมหมายถึงการแยกให้เลือกตั้งรัฐบาลโดยตรง กับเลือกตั้งสส.ออกจากกัน
แล้วให้รัฐบาลที่ชนะการเลือกตั้งนั้นบริหารประเทศไปพรรคเดียวเลย

อาจจะใช้วิธีเลือกตั้ง 2 รอบ ให้ได้เสียงสนับสนุนมากกว่า 50% แบบฝรั่งเศสก็ได้
แต่ของเราไม่ใช่การเลือกปธน. เป็นการเลือกตั้งนายกฯ (หรือพรรครัฐบาล) ภายใต้การปกครองอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเหมือนเดิม

ต้องพูดดักไว้ เพราะมีพวกขวาจัด ชอบอ้างว่า การเลือกตั้งนายกโดยตรงจะเป็นการล้มล้างสถาบัน

การพยายามจะทำให้พรรคการเมืองเหลือน้อย เหลือเป็นขั้วหลัก ๆ แค่ 2-3 ขั้ว เป็นแนวคิดที่ผิด
เป็นการทำลายความหลากหลายทางอุดมการณ์ทางการเมือง

ความเป็นจริงคือ ควรเปิดให้มีการแสดงจุดยืน อุดมการณ์ทางการเมืองที่หลากหลาย มากกว่าจะจำกัดว่าเป็นแค่ขั้วใดขั้วหนึ่งที่ชิงอำนาจกัน
แต่ความหลากหลายนั้น ควรจะอยู่ให้ถูกที่ถูกทาง คือในสภา ในเรื่องการออกกฎหมายต่าง ๆ ไม่ใช่มาหลากหลายในรัฐบาลที่ควรจะทำงานไปในทางเดียวกัน

และไม่อยากให้สส.เป็นคนยกมือเลือกนายก เพราะตราบใดที่สส.เป็นคนเลือกนายกฯ นายกฯ ก็ต้องทำงานภายใต้ความกดดันของสส. ให้นายกฯ เลือกมาจากประชาชน เหมือนที่สส. มาจากการเลือกของประชาชนดีกว่า ศักดิ์ศรีจะได้เท่ากัน

เอามาผูกกันอย่างนี้ งานกม. ก็ไม่คืบ กม.ล้าหลังโบราณ
งานบริหารประเทศก็ไม่คืบ เพราะเจอแต่การเล่นเกมในสภา


ไม่ควร แต่ไม่ได้แปลว่า ห้าม
เพียงแต่บอกว่า ในสภา ยิ่งหลากหลาย ยิ่งคานเสียง คานอำนาจกันยิ่งดี
เราจะได้กม. ที่มั่นใจว่า ผ่านการต่อสู้ทางความคิดจริง ไม่ใช่แค่เล่นการเมือง

ถ้าปชช. เลือกเข้ามามากเกินครึ่งได้จริง ก็ต้องเป็นไปตามนั้นแหละ
เพียงแต่ที่ผ่านมามันเจอแต่ประเภท กวาดซื้อสส.มาตุนไว้ในพรรค เพื่อให้ได้เสียงข้างมากซะมากกว่า
สส.บางคน จะย้ายไปกี่พรรคก็เลือกได้อยู่แล้ว ไม่เกี่ยวกับอุดมการณ์เลย

ถ้าพูดถึงเสียงเลือกตั้งจริง ๆ ดูก็จะเห็น อย่างเช่น เลือกตั้งผู้ว่ากทม. หรือเลือกตั้งผู้นำประเทศอื่น ๆ คนที่ชนะ ก็ไม่ใช่ว่าได้เกิน 50% ขนาดถล่มทลาย ยังได้แค่ 40 กว่า % เพราะมันเป็นธรรมชาติของคน ที่มีความคิดหลากหลายอยู่แล้ว

ถ้าเราบีบให้เหลือ 2-3 ขั้ว ล่ะ สามารถทำให้เกิดเสียงข้างมากเกินครึ่งได้แน่
แต่เราก็จะได้การเมืองที่ไม่หลากหลายอย่างที่ควรจะเป็น
ถึงได้บอกว่า สิ่งที่ควรจะเป็นคือ ทำให้สภามีความหลากหลาย ทั้งพรรคใหญ่ พรรคเล็ก พรรคทางเลือก และก็พวกที่ไม่สังกัดพรรคเลย เพื่อช่วยกันสร้างกฎหมายที่มีการคำนึงถึงคนทุกกลุ่มอย่างแท้จริง ไม่ใช่แบบพวกมากลากไป ทีใครทีมัน

การเมืองแบบ พวกมากลากไป ทีใครทีมัน ก็ฉุดให้การเมืองตกต่ำได้พอ ๆ กับการเมืองแบบแย่งกันชิงดีชิงเด่น ขัดขากัน นั่นแหละ

ประเทศยุโรป อย่างฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี่ พวกนี้มีพรรคการเมืองแยะมากนะครับ ในสภาประกอบไปด้วยพรรคการเมืองมากกว่า 10 พรรค
แต่พรรคที่จะมีโอกาสได้บริหารประเทศจริง ๆ มีอยู่ไม่กี่พรรค ที่เห็น ๆ ส่วนใหญ่ก็เป็น 2 พรรคใหญ่

แต่พรรคการเมืองเล็ก ๆ ก็มีโอกาสได้ทำงานการเมือง ด้วยการเป็นสส.ที่ดีในสภา ในการตรวจสอบรัฐบาล และการออกกฎหมาย

(รวบรวมมาจากกระทู้นี้ //www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P7909998/P7909998.html)




 

Create Date : 28 พฤษภาคม 2552    
Last Update : 28 พฤษภาคม 2552 18:59:26 น.
Counter : 510 Pageviews.  

ดีใจที่ทุกอย่างสงบลงได้โดยมีการสูญเสียน้อยที่สุดอย่างนี้

ขอแสดงความชื่นชมรัฐบาล ที่ควบคุมสถานการณ์อย่างสุขุม ใช้หลักการที่ถูกต้องในการแก้ปัญหาอย่างโปร่งใส ทำให้เกิดความสงบโดยไม่เกิดความสูญเสียเลือดเนื้อของคนไทยด้วยกัน




 

Create Date : 14 เมษายน 2552    
Last Update : 14 เมษายน 2552 16:36:03 น.
Counter : 463 Pageviews.  

ประเทศไทย มันยังไม่เรียกว่า "อมาตยาธิปไตย" อย่างที่พยายามจะปั้นกัน

อย่างบ้านเรายังไม่เรียกว่า "อมาตยาธิปไตย" หรอกครับ
ก็แค่ระบบอุปถัมภ์ แบบที่เรารู้จักกันดี

แค่วาทะกรรมที่เสื้อแดงเอามาขยายให้มันดูเว่อร์ ดูใหญ่โต เพื่อเรียกคนให้มาชุมนุม และสร้างความเกลียดชังให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
ทั้ง ๆ ที่จริงมันก็คือคำว่า "ระบบอุปถัมภ์" ที่เราคุ้นเคย เท่านั้นแหละ

ถ้าถามถึงเรื่องระบบอุปถัมภ์ ก็จะพบว่า ทักษิณเองนั่นแหละ ที่เป็นผู้นิยมในระบบอุปถัมภ์มากที่สุด ลูกกี่คนๆ ก็ใช้วิธีฝากเข้าเรียน ตอนไม่มีอำนาจ ก็จ่ายเงินให้ได้สัมปทานมือถือ พอมีอำนาจ ก็แต่งตั้งแต่คนใกล้ชิดให้มามีตำแหน่ง โดยไม่สนใจเรื่องความสามารถ เอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง โดยไม่คำนึงถึงความเป็นธรรม

แล้วยังมีหน้าจะมาเรียกร้อง "ประชาธิปไตย"
แล้วก็ยังมีคนหน้าโง่เชื่อด้วยนะ




 

Create Date : 12 เมษายน 2552    
Last Update : 12 เมษายน 2552 12:13:53 น.
Counter : 589 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  

หลายมิติ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




คนเราบางคน เป็นคนหลายคน ได้ในคน ๆ เดียว
คนเราหลายคน กลายเป็นคน ๆ เดียวกันได้กับคนอีกหลายคน
คนเราบางคน เป็นเหมือนคนหลายคน ที่ไม่เหมือนคนอีกหลายคน
Friends' blogs
[Add หลายมิติ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.