คณะต่างๆ ในนิกายโปรแตสแตนท์ - เพรสไบทีเรียน (Presbyterian) (ฉบับย่อ)
เพรสไบทีเรียน (Presbyterian) 
คณะเพรสไบทีเรียน (Presbyterian) หรือที่คริสเตียนในประเทศไทยรู้จักกันดีในนาม “สภาคริสตจักร” เป็นหนึ่งในคณะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยโดยมีการแบ่งออกเป็นภาคต่างๆ เพื่อให้ง่ายต่อการดูแล ไม่เพียงเท่านี้คณะสภาคริสตจักรยังเป็นหนึ่งในในคณะของนิกายโปรแตสแตนท์ที่มีประวัติยาวนานที่สุดอีกด้วย
     คณะเพรสไบทีเรียน (Presbyterian) นั้นถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1560 ในประเทศสก๊อตแลนด์ โดยผู้นำที่ชื่อ จอห์น น๊อกซ์ (John Knox) ภายหลังจากการปฏิรูปความเชื่อ (Reformed Christianity) โดยมาติน ลูเธอร์ ในประเทศเยอรมันซึ่งเป็นเสมือนผู้จุดคบเพลิงแล้วไฟแห่งการปฏิรูปก็ได้ถูกถ่ายทอด ส่งต่ออกไปยังฝรั่งเศสโดยผู้รับไฟแห่งการปฏิรูปในฝรั่งเศสคือผู้ที่ส่งอิทธิพลอย่างมากต่อคณะเพสไบทีเรียนนั้นคือ จอห์น คาลวิน หรือ ฌ็อง กาลแว็ง (John Calvin) ผู้นำลัทธิคาลวินนืซึ่ม (Calvinism) ซึ่งจอห์น น๊อกซ์ได้รับ โดยคณะเพรสไบทีเรียนการมีการปฏิรูประบอบความเชื่อ การปกครองและการนมัสการออกจากนิกายคาทอลิก ซึ่งการปฏิรูปนี้เองที่ส่งอิทธิพลออกไปสู่สังคมเป็นวงกว้าง 
     นิยามของคำว่า เพรสไบทีเรียน (Presbyterian) นั้นมีรากศัพท์มากจากภาษากรีซซึ่งแปลว่า “ผู้ปกครอง (Elder)” และนี้เองที่เป็นเอกลักษณ์ของระบบการปกครองของคณะเพรสไบทีเรียนที่มีรูปแบบการปกครอบแบบสมณศักดิ์ คือมีตำแหน่งในการปกครอง โดยมีคณะผู้ปกครองคือตำแหน่งผู้อาวุโสซึ่งเป็นผู้นำที่สำแดงถึงพระคริสต์ มีชีวิตที่เป็นแบบอย่างรวมไปถึงการเป็นผู้สอนภายในคริสตจักร โดยบทบาทหน้าที่หลักของคณะผู้ปกครองจะเน้นงานในด้านฝ่ายจิตวิญญาณและการอภิบาลจิตวิญญาณ (กจ. 20:17; 1 ทธ. 3:1; ทต. 1:5, 7)
     กลุ่มบริหารซึ่งถูกเรียกว่า “คณะธรรมกิจ หรือ มัคนายก (Deacon)” เป็นกลุ่มบริหารการจัดการคริสตจักรโดยมีการกล่าวอ้างเป็นครั้งในพระธรรม 1 ทิโมธี 3:8 ซึ่งในบางทฤษฏีใช้การแต่งตั้งคณะ 7 คนในพระธรรมกิจการบทที่ 6 เป็นตัวอย่างของมัคนายกเพื่อดูแลงานคริสตจักรรวมไปถึงงานประกาศ โดยเชื่อว่าในช่วงแรกของการก่อตั้งคริสตจักรนั้นยังไม่ได้ใช้คำว่ามัคนายกเป็นคำจำกัดความของตำแหน่ง ครอบคลุมไปถึงพันธกิจด้านการสอนในคริสตจักรด้วยเช่นกัน  
     คณะเพรสไบทีเรียน (Presbyterian) เชื่อว่าระบบการปกครองของพวกเขาเป็นระบบที่พระคัมภีร์ได้บัญญัติเอาไว้ ซึ่งมีความแตกต่างกับคณะอิปิสโคปัล (Episcopal) ซึ่งมีรูปแบบการปกครองแบบสังฆธิปไตยหรืออธิกาธิไตย ซึ่งเป็นรูปแบบการปกครอบแบบลำดับชั้นบังคับบัญชาโดยมุขนายกองค์เดียวผู้เป็นศูนย์กลางของอำนาจ ซึ่งระบบเพรสไบทีเรียนเป็นระบบการกระจายอำนาจไปยังส่วนต่างๆ ที่เชื่อว่าถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อปฏิเสธระบบสังฆธิปไตยของอิปิสโคปัลนั้นเอง 
     หลักข้อเชื่อของกลุ่มเพรสไบทีเรียนนั้นมีความเชื่อแบบเดียวกับกลุ่มรีฟอร์ม (Reformed) หรือกลุ่มคาลวินนิซึ่ม (Calvinism) โดยที่เน้นในเรื่องเทวศาสตร์และสภาวะเสื่อมทรามของมนุษย์โดยสิ้นเชิง โดยประเด็น 5 ข้อหลักของจอห์น คาลวิน (5 Points of Calvinism: TULIP) ได้แก่
  1. ความเสื่อมทรามโดยสิ้นเชิง (Total Depravity) - เชื่อในหลักเรื่องบาปกำเนิด ว่ามนุษย์โดยธรรมชาติเป็นคนชั่วร้ายหมด จึงไม่มีใครจะถึงความรอดได้เอง
  2. การทรงเลือกโดยปราศจากเงื่อนไข (Unconditional Election) - พระเจ้าได้เลือกผู้ที่จะได้อยู่บนสวรรค์และอยู่ในนรกไว้แล้ว ความเชื่อ การกระทำใด ๆ ก็ตาม ไม่มีผลต่อความรอด ด้วยเหตุผลตามข้อแรก
  3. การไถ่บาปอย่างจำกัด (Limited Atonement) - พระทรมานของพระเยซูเป็นไปเพื่อผู้ที่ถูกเลือกให้อยู่บนสวรรค์แล้วเท่านั้น ไม่รวมถึงผู้ที่ไม่ได้ทรงเลือก
  4. พระคุณที่ไม่อาจขัดขวางได้ (Irresistable Grace) - การที่ผู้เชื่อเริ่มเชื่อในพระเจ้าไม่ได้เป็นเพราะผู้นั้น แต่เป็นเพราะพระเจ้า
  5. การทรงพิทักษ์รักษาวิสุทธิชน (Perseverance of the Saints) - เมื่อเป็นธรรมิกชนได้รับความรอดแล้ว ก็จะได้รับความรอดตลอดไป ไม่มีเสื่อม
รูปแบบของการนมัสการ คณะเพรสไบทีเรียนยึดถือรูปแบบการนมัสการในแบบเรียบง่ายตามฉบับของกลุ่มเพรียวริแทนส์ (Puritan) ส่วนในคณะเพรสไบทีเรียนในประเทศสก๊อตแลนด์นั้นมีรูปแบบการนมัสการที่อยู่บนพื้นฐานของพระคัมภีร์มากกว่าโดยเน้นไปในการนมัสการโดยใช้พระธรรมสดุดีเป็นหลักในการนมัสการ กลุ่มเพรสไบทีเรียนรู้สึกขุ่นเคืองกับกรอบการนมัสการที่เน้นรูปแบบของศาสนพิธีซึ่งถูกบังคัญใช้โดยบิช๊อปของคณะแองกลิกัลของอังกฤษ

ยุคแห่งการข่มเห่งของเพรสไบทีเรียน ด้วยอิทธิพลของศาสนศาสตร์ของจอห์น น๊อกซ์ในพันธะสัญญาเดิม คณะเพรสไบทีเรียนในสก๊อตแลนด์ได้มีการปฏิรูปศาสนศาสตร์ระบบในเรื่องความเชื่อของระบบการปกครองซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อคณะแองกลิกัลซึ่งทำให้ประชาชนเกิดการขัดแย้งในเรื่องความเชื่อของระบบการปกครองในคริสตจักรและสิทธิอำนาจของผู้นำ และด้วยระบบการปกครองใหม่ในลักษณะของการกระจายอำนาจของคณะเพรสไบทีเรียนทำให้เรื่องปัญหาของระบบการปกครองและการเมืองหมดไป และด้วยศาสนศาสตร์ระบบใหม่นี้เองที่ทำให้ระบบราชาธิปไตยถูกจำกัดสิทธิอำนาจลงไป ผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิรูปศาสนศาสตร์ทำให้สหราชอาณาจักรอังกฤษได้ประกาศทำศึกกับกบฏคริสเตียนที่เชื่อและยอมรับในระบบการปกครองใหม่ของเพรสไบทีเรียนเพราะถือว่าเป็นภัยต่ออำนาจการปกครองของอังกฤษ ในปี 1680 สมาชิกของคณะเพรสไบทีเรียนในสก๊อตแลนด์ได้เสียชีวิตนับพันคนในฐานะกบฏ 
     เห็นได้ว่าคณะเพรสไบทีเรียนนั้นได้ถูกก่อร่างสร้างขึ้นมาจากเลือดและเนื้อของผู้ที่เชื่อมั่นและศัทธาในความถูกต้องและไม่ต้องการเห็นคริสตจักรของพระเจ้าถูกทำลายด้วยความต้องการของอำนาจฝายใดฝ่ายหนึ่ง และนั้นเองที่ทำให้คณะเพรสไบทีเรียนนั้นเป็นหนึ่งในคณะที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก
     ภายหลังจากนั้นคณะเพรสไบทีเรียนก็ได้กระจายไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรปรวมไปถึงทวีปใหม่นั้นคือ อเมริกา และที่นั้นเองเป็นที่คณะเพรสไบทีเรียนเกิดการกระจายและขยายมากที่สุด โดยเฉพาะในช่วงศตวรรษที่ 18 คณะเพรสไบทีเรียนเป็นคณะหลักที่ขับเคลื่อนการฟื้นฟูที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา (The Great Awakening) ภายหลังการฟื้นฟูหนึ่งโรงเรียนพระคริสตธรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศอเมริกา โรงเรียนพระคริสตธรรมปริ้นเซนต์ตั้น (Princenton Seminary) ได้ถูกก่อตั้งขึ้นและมิชชั่นนารี่จำนวนมากถูกส่งออกไปยังที่ต่างๆ ทั่วโลก คณะเพรสไบทีเรียนเองยังเป็นคณะหลักที่ยังคงอนุรักษ์ความเชื่อพื้นฐาน (Conservative) ของคริสเตียนเอาไว้นับตั้งแต่ยุคการปฏิรูปความเชื่อของลูเธอร์  

Bibliography
   Fortson, S. Donald. Colonial Presbyterianism: Old Faith in a New Land. Eugene, OR: Wipf & Stock, 2007.
     Popular Encyclopedia of Church History, The.indd 276 4/18/13 10:06 AM Protestantism W 277
     Greaves, Richard. Theology and Revolution in the Scottish Reformation: Studies in the Life of John Knox. Washington, DC: Christian College Consortium, 1980.
     Hall, David, ed. Paradigms in Polity: Classic Readings in Reformed and Presbyterian Church Government. Oak Ridge, TN: Covenant Foundation, 1994.
     Smith, Frank. The Presbyterian Church in America: The Continuing Church Movement. Manassas, VA: R.E.F., 1985. 
     Thompson, Ernest Trice. Presbyterians in the South. 3 vols. Richmond, VA: John Knox Press, 1963–1973.
     Muller, Richard A. (2004). "John Calvin and later Calvinism". In Bagchi, David; Steinmetz, David C. The Cambridge Companion to Reformation Theology. New York: Cambridge University Press.



Create Date : 14 พฤศจิกายน 2557
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2557 20:38:59 น.
Counter : 6904 Pageviews.

0 comment

maxlife
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]