Ieri, oggi, e domani, c'e sempre e solo l'inter

ยาที่ใช้ในการเลิกบุหรี่

ปัจจัยที่ทำให้คนเสพติดบุหรี่
1. ภาวะเสพติดทางจิตใจ ได้แก่ความเชื่อ ความรู้สึกที่มีต่อการสูบบุหรี่ เช่น เชื่อว่าการสูบบุหรี่สามารถช่วยผ่อนคลายความเครียด ลดความกระวนกระวายใจ มีชีวิตชีวา
2. ภาวะเสพติดทางสังคมหรือนิสัยความเคยชิน ผู้สูบบุหรี่จะสูบจนติดเป็นนิสัย ทั้งๆที่ไม่รู้ว่าสูบไปทำไม เช่น สูบบุหรี่ตอนเข้าห้องน้ำ สูบบุหรี่หลังจากรับประทานอาหาร ดื่มกาแฟ หรือ ดื่มเหล้า
3. ภาวะเสพติดนิโคติน เนื่องจากสารนิโคตินมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งสารเคมีหรือสารสื่อประสาทในสมองหลายตัวที่สำคัญ ทำให้เกิดการตื่นตัว มีพลัง ลดความรู้สึกซึมเศร้า เกิดความสุข

แต่เมื่อหยุดสูบจะทำให้ปริมาณสารสื่อประสาทเหล่านี้ลดลง มีผลทำให้ความสุขของผู้สูบหายไปและเกิดอาการถอนนิโคตินขึ้นมา ดังนั้นผู้ติดบุหรี่จึงต้องการสูบต่อไปเรื่อยๆ เพื่อที่จะบรรเทาอาการถอนนิโคติน สมองจึงเกิดอาการเคยชินและเกิดการเสพติดในที่สุด

กลไกการติดนิโคติน

ในระบบประสาทส่วนกลางมีส่วนที่ทำหน้าที่รับรู้เกี่ยวกับอารมณ์และความรู้สึกเป็นสุข มีชื่อเรียกว่า Brain reward circuit ,สารเสพติดส่วนใหญ่จะมีผลต่อ Brain reward circuit รวมทั้งนิโคติน แต่กลไกอาจแตกต่างกัน สำหรับนิโคตินหลังผ่านเข้าสู่สมองแล้วจะเข้าจับกับตัวรับ คือ Nicotinic receptor ใน Brain reward circuit เป็นผลให้มีการหลั่งสารสื่อประสาท ซึ่งทำให้ผู้เสพเกิดความพึงพอใจ

ในทางตรงกันข้ามเมื่อหยุดสูบบุหรี่จะทำให้ระดับนิโคตินในสมองรวมทั้งที่ส่วนอื่นๆของร่างกายลดลง ทำให้ร่างกายเกิดการปรับตัวเพื่อให้ได้รับนิโคตินเพิ่มมากขึ้น การปรับตัวนี้จะแสดงออกมาในรูปของอาการถอนนิโคตินซึ่งทำให้เกิดอารมณ์เศร้า หงุดหงิดและวิตกกังวล เป็นต้น ทำให้ผู้ที่พยายามหยุดสูบบุหรี่ทนไม่ได้และต้องการบุหรี่มาสูบเพื่อบรรเทาอาการถอนนิโคติน

ดังนั้นความต้องการสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องจึงเกิดจากปัจจัยทั้งสองด้านรวมกัน คือ ต้องการนิโคตินเพื่อให้เกิดความพึงพอใจและเพื่อป้องกันอาการถอนนิโคตินจึงทำให้ผู้เสพเกิดการติดบุหรี่ในที่สุดและทั้งสองปัจจัยนี้ยังเป็นเหตุผลในการอธิบายว่าทำไมในผู้ที่สูบบุหรี่ติดต่อกันมานานแล้วหยุดสูบบุหรี่ทันทีจึงเกิดอาการอยากสูบบุหรี่อย่างมาก

ยาช่วยเลิกบุหรี่ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย
ยาที่ให้นิโคตินทดแทน (Nicotine-replacement therapy ; NRT)
สำหรับการให้ยานิโคตินทดแทนมีข้อดี คือ
1) สามารถบรรเทาหรือระงับหรือป้องกันอาการถอนนิโคตินทำให้เกิดความทรมานน้อยกว่าการเลิกสูบบุหรี่โดยอาศัยกำลังใจเพียงอย่างเดียว (หักดิบ)
2) การใช้ NRT ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับสารก่อมะเร็งในควันบุหรี่
3) NRT จะให้นิโคตินในระดับต่ำๆแก่ร่างกายทำให้การเปลี่ยนแปลงระดับนิโคตินในเลือดไม่แปรผันมากเท่ากับการสูบบุหรี่ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกถึงความพอใจหรือความสุขซึ่งจะช่วยลดภาวะเสพติดทางจิตใจ

ข้อบ่งใช้สำหรับนิโคตินทดแทน
ใช้ในการบรรเทาหรือระงับหรือป้องกันอาการถอนนิโคตินที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้ป่วยลดความทรมานทางกายและสามารถทุ่มเทกำลังใจในการต่อสู้กับการเสพติดทางจิตใจหรือเรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่และพัฒนาทักษะในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเต็มที่

ข้อห้ามใช้สำหรับนิโคตินทดแทน
1. ห้ามสูบบุหรี่หรือใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นๆที่มีนิโคตินเป็นส่วนประกอบเพราะอาจทำให้เกิดพิษได้
2. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยาหรือแพ้ส่วนประกอบอื่นๆในตำรับ
3. ห้ามใช้ยานิโคตินทดแทนในหญิงมีครรภ์
4. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรง หรือมีอาการปวดเค้นอกอย่างรุนแรง
5. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่เพิ่งฟื้นจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายภายใน 2 สัปดาห์
6. ห้ามใช้หมากฝรั่งเคี้ยวนิโคตินในผู้ที่มีภาวะ Active temporomandibular joint disease

ในประเทศไทยมียานิโคตินจำหน่าย 2 รูปแบบคือ หมากฝรั่งเคี้ยวนิโคติน และ แผ่นปิดผิวหนังนิโคติน
1. หมากฝรั่งเคี้ยวนิโคติน (Nicotine chewing gum) มีจำหน่าย 2 ขนาด คือ 2 มิลลิกรัม และ 4 มิลลิกรัม ส่วนประกอบที่สำคัญคือ Nicotine polacrilex ซึ่งเป็น Nicotine resin complex เวลาเคี้ยวจะค่อยๆปลดปล่อยนิโคตินออกมา

โดยขนาดยาสำหรับคนที่สูบ 1-24 มวน/วัน ใช้หมากฝรั่งขนาด 2 มก. หากสูบมากกว่านี้ใช้หมากฝรั่งขนาด 4 มก.

วิธีใช้ เคี้ยวหมากฝรั่งอย่างช้าๆจนได้รสเผ็ดซ่า อมหมากฝรั่งไว้ระหว่างกระพุ้งแก้มกับเหงือก รอจนรสหายไปจึงเคี้ยวใหม่สลับกับการอม ทำอย่างนี้ประมาณ 30 นาที ต่อหมากฝรั่ง 1 ชิ้น ใช้ทุก 1-2 ชม. เป็นเวลา 6 สัปดาห์ จากนั้นใช้ทุก 2-4 ชม.เป็นเวลา 3 สัปดาห์ จากนั้นใช้ทุก 4-8 ชม. เป็นเวลา 3 สัปดาห์ โดยเปลี่ยนบริเวณที่อมหมากฝรั่งเพื่อลดการระคายเคืองเยื่อบุช่องปาก

หมากฝรั่งขนาด 2 มิลลิกรัม ใช้ไม่เกิน 30 ชิ้นต่อวัน ส่วนขนาด 4 มิลลิกรัม ใช้ไม่เกิน 20 ชิ้นต่อวัน และใช้ไม่เกิน 3 เดือน อย่างไรก็ตามในบางรายอาจต้องใช้ยานานถึง 6 เดือน

อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย เช่น บาดเจ็บช่องปากและฟัน, ปวดกราม, ปวดแสบยอดอก,คลื่นไส้,ระคายคอ,เรอ,สะอึก

2. แผ่นปิดผิวหนังนิโคติน (Nicotine patch) มีจำหน่าย 3 ขนาด คือขนาด 30, 20 และ 10 ตารางเซนติเมตร มีปริมาณ nicotine 52.5, 35 และ 17.5 มก. ตามลำดับ

หากสูบน้อยกว่า 20มวนต่อวัน ใช้แผ่นปิดผิวหนัง ขนาด 20 cm2 1 ชิ้น เป็นเวลา 8 สัปดาห์ จากนั้นใช้ขนาด 10 cm2 1 ชิ้น เป็นเวลา 4 สัปดาห์
หากสูบมากกว่า 20มวนต่อวัน ใช้แผ่นปิดผิวหนังขนาด 30 cm2 1 ชิ้นเป็นเวลา 4 สัปดาห์ จากนั้นใช้ขนาด 20 cm2 1 ชิ้น เป็นเวลา 4 สัปดาห์ จากนั้นใช้ขนาด 10 cm2 1 ชิ้น เป็นเวลา 4 สัปดาห์

วิธีใช้ ปิดแผ่นยาลงบนผิวหนังบริเวณที่ไม่มีขน เช่นตั้งแต่ต้นแขน คอจนถึงสะโพกและควรเปลี่ยนบริเวณที่ปิดแผ่นยาทุกวันโดยควรรอประมาณ 1 สัปดาห์จึงกลับมาปิดซ้ำที่เดิมเพื่อป้องกันการระคายเคืองผิวหนัง

อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย เช่น ผิวหนังระคายเคือง (ผื่นคัน, ผื่นบวมแดงอักเสบ) , นอนไม่หลับและฝันร้าย

Bupropion SR
ยา Bupropion HCl หรือ Amfebutamone มีจำหน่ายในประเทศไทยภายใต้ชื่อการค้า Quomem

ยานี้ใช้ในการช่วยเลิกสูบบุหรี่สำหรับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และเป็นยาที่ควรเลือกใช้เป็นอันดับแรกในผู้ที่มีประวัติซึมเศร้าและในผู้ที่กลัวน้ำหนักตัวเพิ่มหลังจากเลิกสูบบุหรี่

วิธีใช้ รับประทาน150 มก.วันละ 1 ครั้งในตอนเช้า เป็นเวลา 3 วันจากนั้นให้ในขนาด 150 มก.วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็นโดยให้ห่างกันอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (ขนาดยาสูงสุด 300 มก./วัน) แนะนำผู้ป่วยเลิกสูบบุหรี่ในวันที่ 8 ของการใช้ยา

ข้อห้ามใช้ของยา Bupropion SR
1. ห้ามใช้ยาในผู้มีประวัติเป็นโรคลมชัก
2. ห้ามใช้ยาในผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น eating disorder เช่น bulimia หรือ anorexia nervosa
3. ห้ามใช้ยาในผู้ที่มีประวัติ brain trauma, brain injury หรือ stroke
4. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ที่มีประวัติการใช้ยากลุ่ม monoamine oxidase inhibitor (MAOI) ภายใน 14 วัน

คำแนะนำการใช้ยา Bupropion SR
1. แนะนำผู้ป่วยให้เลิกสูบบุหรี่ในสัปดาห์ที่สองของการรักษาเนื่องจากต้องรอให้ระดับยา Bupropion สูงขึ้นพอที่จะยับยั้งอาการถอนนิโคตินและอาการหิวบุหรี่ได้
2. รับประทานยาในเวลาเดียวกันของทุกวัน โดยรับประทานยามื้อแรกทันทีหลังจากตื่นนอนในตอนเช้า ส่วนยามื้อที่สองให้รับประทานห่างจากมื้อแรกอย่างน้อย 8 ชั่วโมงโดยไม่ควรรับประทานหลังเวลา 18.00 น. เนื่องจากอาจทำให้นอนไม่หลับ
3. หากลืมรับประทานยาในมื้อใด ห้ามรับประทานยาเพิ่มเป็น 2 เท่าในมื้อถัดไป เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดอาการชักซึ่งเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่ขึ้นกับขนาดยา
4. กลืนยาทั้งเม็ดพร้อมกับน้ำ ห้ามหักแบ่งหรือบดหรือเคี้ยวเม็ดยา
5. ระวังการเกิดอาการชักในผู้ที่ใช้ยาร่วมกับยา Bupropion ร่วมกับยาหรือสารที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดอาการชัก เช่น antipsychotics, antidepressants, antimalarials, theophylline, systemic steroids, tramadol, quinolones, sedating histamines หรือหยุดการใช้ยากลุ่ม benzodiazepine อย่างกะทันหัน รวมทั้งผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับยาลดน้ำตาลในเลือดรวมถึงยาฉีดอินซูลิน ผู้ที่ติดเหล้าหรือกำลังเลิกเหล้า และในผู้ที่เสพติดสารในกลุ่ม opioids

อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย เช่น นอนไม่หลับ, ปากแห้ง คอแห้ง, ปวดศีรษะ, (กรณีที่มีผื่นขึ้นหรือมีอาการมือสั่นให้หยุดใช้ยา)

ชาหญ้าดอกขาว
ปัจจุบันมีการสมุนไพรที่มีชื่อว่า “หญ้าดอกขาว” (Vemonia cinerea) มาใช้ในการบำบัดผู้ติดบุหรี่ ซึ่งหญ้าดอกขาวมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น หมอน้อย หญ้าละออง ก้านธูป ถั่วแฮะดิน ฝรั่งโคก เสือสามขา หญ้าสามวัน เป็นต้น

ในต้น ใบ และรากของหญ้าดอกขาวมีสารสำคัญ Potassium nitrate ทำให้ลิ้นชา ช่วยลดอาการอยากสูบบุหรี่
ปัจจุบันมีจำหน่ายจะอยู่ในรูปบรรจุซอง ขนาดซองละ 5 กรัม ใน 1 ซอง ประกอบด้วย หญ้าดอกขาว 3.75 กรัม ดอกเก็กฮวย 0.71 กรัม และใบเตย 0.71 กรัม
จากการศึกษาในผู้ติดบุหรี่พบว่าหลังการรักษา 4 เดือน พบอัตราการเลิกสูบบุหรี่ร้อยละ 69.35 โดยเหตุผลสำคัญของการเลิกสูบบุหรี่หลังจากการใช้ชาหญ้าดอกขาว คือ ชาลิ้น กินอาหารไม่อร่อย ไม่รู้สึกอยากสูบบุหรี่ รู้สึกเหม็นกลิ่นบุหรี่ เมื่อสูบบุหรี่แล้วรู้สึกอยากอาเจียน
ส่วนในผู้ที่ไม่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ให้เหตุผลว่า ดื่มชาหญ้าดอกขาวเหมือนดื่มน้ำธรรมดาไม่มีอาการใดๆ ถึงแม้ว่าการใช้หญ้าดอกขาวเพื่อช่วยให้เลิกสูบบุหรี่ยังขาดข้อมูลทางคลินิกอีกมาก แต่ก็นับเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ติดบุหรี่เนื่องจากมีราคาถูกและเป็นการสนับสนุนการใช้สมุนไพรไทย อย่างไรก็ตามต้องระวังการใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวายหรือไตวายร่วมด้วย

น้ำยาอมอดบุหรี่
น้ำยาอมอดบุหรี่ เป็นน้ำยามีสีฟ้า ซึ่งไม่มีจำหน่ายในท้องตลาดเป็นเภสัชตำรับของโรงพยาบาลสารสำคัญที่เป็นตัวออกฤทธิ์ คือ Sodium nitrate ใช้อมเฉพาะเวลาที่อยากสูบบุหรี่แล้วบ้วนทิ้ง สามารถใช้ร่วมยาชนิดอื่นได้
สำหรับฤทธิ์ของยาที่ทำให้เลิกสูบบุหรี่ คือ ทำให้รสชาดของบุหรี่เปลี่ยนไป (ผู้ที่ใช้ยาจะบอกว่าสูบบุหรี่ไม่อร่อย) อย่างไรก็ตามยังขาดข้อมูลยืนยันถึงประสิทธิภาพของการใช้ยารวมทั้งข้อมูลทางคลินิกอื่นๆ สำหรับขนาดยา

หลักในการเลือกใช้ยาช่วยเลิกบุหรี่
หลักในการเลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายต้องพิจารณาหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น ระดับการติดนิโคตินในผู้ป่วยแต่ละคน โดยอาจพิจารณาจากความรุนแรงของอาการถอนนิโคตินตามเกณฑ์การวินิจฉัยของ APA (DSM-IV) หรือแบบประเมินระดับการติดสารนิโคติน (FTND) (นิยมใช้มากกว่า) ประวัติการเลิกสูบบุหรี่ในอดีตทั้งด้านระยะเวลาที่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ ความเร็วของการกลับมาสูบบุหรี่ใหม่และการใช้ยาเลิกบุหรี่ โรคของผู้ป่วยและยาที่ใช้ร่วมด้วย

นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความพอใจของผู้ป่วยที่จะใช้ยาและยอมรับอาการข้างเคียงจากยาที่อาจเกิดขึ้น ประสิทธิภาพของยานั้นเมื่อใช้ตามลำพังหรือใช้ยาหลายตัวร่วมกันรวมทั้งมีการปรับขนาดยาและระยะเวลาการใช้ยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

ในผู้ที่เคยเลิกสูบบุหรี่โดยการใช้ยาตัวเดียวแล้วไม่ประสบผลสำเร็จ การใช้ยาช่วยเลิกบุหรี่ครั้งใหม่อาจต้องพิจารณาเพิ่มขนาดยาหรือใช้ยาหลายตัวร่วมกัน
สำหรับระยะเวลาในการรักษาโดยการใช้ยาโดยทั่วไปไม่เกิน 6 เดือน อย่างไรก็ตามขึ้นกับความต้องการผู้ป่วยแต่ละรายด้วย เนื่องจากมีผู้ป่วยบางรายที่ยังมีอาการถอนนิโคตินติดต่อเป็นเวลานาน (Prolonged withdrawal symptoms) ก็อาจใช้ยามากกว่า 6 เดือนเพื่อป้องกันการกลับมาสูบบุหรี่ใหม่

สำหรับการประเมินผลการรักษานั้น โดยทั่วไปหากผู้ป่วยยังคงสูบบุหรี่หลังจากใช้ยาไปแล้ว 2 สัปดาห์ ควรมีการประเมินการใช้ยาและปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม รวมทั้งประเมินความตั้งใจของผู้ป่วยในการเลิกสูบบุหรี่ใหม่ ถ้าหากผู้ป่วยยังไม่เลิกสูบบุหรี่หลังจากใช้ยามา 1 เดือน แสดงว่าการเลิกสูบบุหรี่ครั้งนั้นมีแนวโน้มสูงที่จะไม่ประสบผลสำเร็จควรหยุดใช้ยาและทบทวนโปรแกรมการให้ความช่วยเหลือ

ดัดแปลงจาก :แนวทางการรักษาและให้คำแนะนำผู้ติดบุหรี่ โดย ภญ.ฐิติพร นาคทวน ภญ.รศ.เรวดี ธรรมอุปกรณ์ และ ภก.อ.ดร.ศุภกิจ วงศ์วิวัฒนนุกิจ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Create Date : 19 ตุลาคม 2548
Last Update : 17 พฤศจิกายน 2548 14:40:37 น. 13 comments
Counter : 14437 Pageviews.  

 
ขอบคุณครับ


โดย: **mp5** IP: 203.151.140.117 วันที่: 11 ธันวาคม 2548 เวลา:20:18:12 น.  

 
ขออนุญาติก๊อปไปให้แฟนอ่านแล้วก็ขอแอดด้วยค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ ค่ะ


โดย: กระหนุงกระหนิง IP: 58.64.125.196 วันที่: 29 มีนาคม 2549 เวลา:15:34:42 น.  

 
-ขอบคุณคะ


โดย: อพันตรี IP: 203.113.45.205 วันที่: 28 มิถุนายน 2549 เวลา:22:48:44 น.  

 
ขอบคุณค่ะ จะนำไปให้ความรู้แก่ร้านยาอื่น ๆ ต่อไปค่ะ


โดย: ดรักเซิร์ฟ IP: 58.9.109.84 วันที่: 17 กันยายน 2550 เวลา:14:58:40 น.  

 
ถ้ามันเลิกยากนัก ทำไมไม่บอกกับตัวเองว่าหยุด
หยุด มันไปเรื่อยๆๆ นั่นหล่ะ
ผมหยุดสูบบุหรี่ มา3เดือนกว่าๆแล้วเนี่ย
ยังงงอยู่เรย ทำได้งัยเนี่ย
เพื่อนก้อถามว่า ผมเลิกได้ยังงัย
ผมบอกว่า ผมไม่ได้เลิก ผมแค่หยุด
ผมก้ออยากรู้ว่า จะหยุดได้อีกนานแค่ไหน
....ต้องดูกันต่อไป
ผมใช้คำว่า ..หยุด เพราะว่า มันไม่กดดันตัวเองเหมือนกันคำว่า เลิก
ซองบุหรี่ซองสุดท้าย ผมซื้อมาดูดไปแค่ 2 ตัวเอง ยังเสียดายอยู่เรย แต่ตอนนี้ผมไม่กล้าดูด เพราะผมรู้ว่า รสชาติมันต้องแย่แบบสุดๆๆแน่ๆๆ...สุดท้ายมันก้อยังวางอยู่บนโต๊ะทำงานผมแน่
ความไม่กล้าดูด+คำว่า หยุด มันข่วยให้ผมเลิกได้จริงๆหรอเนี่ย ...เวลาเปงคัวพิสูจน์

ผมไม่กล้าซื้อซองใหม่ เพราะผมเสียดายเงิน ถ้าซื้อมาแล้ว รสชาติไม่อร่อยแบบที่คิดไว้ คุณจะทิ้งมันลงหรอ
ผมยอมเปงคนขลาด ดีกว่าเปงคนกล้า


โดย: alcoholic IP: 124.120.182.41 วันที่: 6 มกราคม 2551 เวลา:0:41:40 น.  

 
อยากให้แฟนเลิกบุหรี่มากเลยค่ะ เคยเห็นคนที่เค้าทรมานเพราะโรคมะเร็ง ก็อดนึกไม่ได้ว่าอนาคตแฟนจะเป็นอย่างนั้นไหม
ขออนุญาตสำเนาข้อมูลไว้เพื่อศึกษานะคะ

ขอบคุณมากค่ะ


โดย: eed IP: 222.123.217.148 วันที่: 9 กันยายน 2552 เวลา:23:08:02 น.  

 
สนใจซื้อสินค้า แพทย์แผนไทย ชาหญ้าดอกขาว ชาเลิกสูบบุหรี่ ชา3 กล่อง 30 ซอง ยาอมอดบุหรี่ 2 ขวด ชุดละ 580 บาท มีค่าจัดส่งพัสดุ 40 บาท หรือซื้อได้ที่หน้าร้านค่ะรามคำแหง60/3 ลำสาลี หัวหมาก บางกะปิ กทม 02-735-4548-49 และ 089-451-3465 ช่วยคุณเลิกสูบุหรี่ได้แน่นอนค่ะ


โดย: คุณนก(จีรภา) IP: 124.120.20.222 วันที่: 23 พฤษภาคม 2553 เวลา:15:16:12 น.  

 
มันมีแบบติดที่ฟันแล้วไม่อยากสูบด้วยหรอค่ะ


โดย: ฮะหนุ่ย IP: 115.87.88.179 วันที่: 9 มิถุนายน 2553 เวลา:10:10:49 น.  

 
คือผมอยากขอความรู้หน่อยครับ
มันจะมีผลกระทบหลังจากเริ่มใช้ยาเกี่ยวกับกระบวนการคิดวิเคราะห์หรืองานประเภทต้องใช้ความคิดหรือป่าวครับเพราะผมเคยเลิกแบบหักดิบแล้วมันมึนๆๆชาเบลอคิดอะไรไม่ค่อยออกและการตอบสนองต่างๆค่อนข้างช้ากว่าตอนที่สูบน่ะครับรบกวนท่านที่เคยกินบอกหน่อยน่ะครับขอบคุณครับ


โดย: spratacus IP: 10.0.1.65, 183.89.16.92 วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:4:54:41 น.  

 
ผมอยากจะเลิกแต่เลิกไม่ได้

ทำได้แค่ ลดๆๆๆ

แต่ยังขาดไม่ได้

ลดได้แต่ขาดไม่ได้ มีใครรู้สึกอย่างงี้มั้ง

แต่ก่อนผม สูบวันละซองกว่า แต่เดี๋ยวนี้ สูบวันละไม่เกิน 6มวน

ถ้าอยู่บ้านเฉยๆ ไม่เกิน3มวน แต่ก้อยังขาดไม่ได้


โดย: ก๊อต IP: 223.206.83.147 วันที่: 18 เมษายน 2555 เวลา:23:24:03 น.  

 
ขดบคุณสำหรับขัอมูลค่ะ จถกลับบัานไปบอกสามืว่ายังมืวิธืเลิกบุหรืีอืกหลายวิธืทื่จะช่วยเขาได้


โดย: เข็ม IP: 183.89.73.176 วันที่: 24 เมษายน 2555 เวลา:9:50:47 น.  

 
ก่อนหน้านี้แค่พยายามเลิกหลายครั้ง ถ้าเลิกได้นานเท่าไรกลับไปสูบอีก ก็จะสูบหนักขึ้น จนตอนหลังใช้วิธีมานั้งคิด และ พิจรณา ถึง ขอเสีย ของการสูบบุหรี่(คิดแต่ข้อเสีย) ว่ามันมีอะไรบ้าง คิดมากๆ ผมใช้ข้อเสียหลาวนี้เป็นตัวทำให้ ผมมีกำลังใจที่จะเลิก บุหรี่มาจนถีงทุกวันนี้ครับ (เป็นกำลังใจให้ทุกคนนะครับที่อยากเลิกสูบบุหรี่) พอสุขภาพที่ดีของเราเอง


โดย: นัย IP: 101.108.13.188 วันที่: 21 กรกฎาคม 2555 เวลา:9:40:57 น.  

 
ผมอยากทราบว่า..ถ้าใช้ยาเลิกบุหรี่....

..จะมีผลต่อร่างกายอย่างไร...ก


โดย: ..ตูน... IP: 223.205.248.14 วันที่: 19 กันยายน 2557 เวลา:21:30:21 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Marquez
Location :
Milano Italy

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




A te che sei il mio grande amore Ed il mio amore grande
A te che hai preso la mia vita E ne hai fatto molto di più
A te che hai dato senso al tempo Senza misurarlo
A te che sei il mio amore grande Ed il mio grande amore

[Add Marquez's blog to your web]