ผักเหนียงราชินีแห่งผักพื้นบ้าน
ผักเหนียงราชินีแห่งผักพื้นบ้านแต่ละจังหวัดเรียกต่างกันค่ะ ผักเหลียง เหมียง เขรียง เหนียง

ที่กระบี่ส่วนใหญ่เรียก "ผักเหนียง"





ลูกผักเหนียงค่ะ สามารถนำไปเพาะเมล็ดได้นะค่ะ เกาะเปลือกนอกออกที่สีเหลืองๆ แล้วนำไปเพาะในดินค่ะ

ผักเหนียง เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ทรงพุ่ม ลำต้นเป็นข้อ ๆ สูงประมาณ 3 – 4 เมตร ใบรูปรีปลายแหลม ยาวประมาณ 10 – 20 เซนติเมตร แตกใบเป็นคู่ ๆ ใบเหมียงมีรสหวานอมขม ติดฝาดเล็กน้อย ส่วนที่นำมากินเป็นผักคือยอดและใบอ่อน เป็นผักชนิดหนึ่งที่นิยมจัดไว้ในกระจาด “ผักเหนาะ” คนทั่วไปอาจจะไม่รู้จักผักเหนียงมากนัก สำหรับคนใต้แล้วถ้าพูดถึงผักเหมียงแล้วต้องบอกว่า “ร่องจังฮู้”

การขยายพันธุ์
สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธีคือ การเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และการใช้ต้นจากราก แขนง

การเพาะเมล็ด นำเมล็ดมาล้างให้สะอาด เพาะบนกระบะที่มีส่วนผสมของดินทราบกับขี้เถ้าแกลบ กลบให้วัสดุเพาะเสมอเมล็ด รดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ เมล็ดจะเริ่มงอกประมาณเดือนที่ 4 จนถึง 1 ปี ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะมีอัตราการรอดสูง ทรงพุ่มสวย ทนแล้งได้ดี แต่อายุการเก็บเกี่ยวต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปี
การตอนกิ่ง การตอนกิ่งควรตอนจากต้นหรือกิ่งกระโดงที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป โดยสังเกตเปลือกของกิ่งควรมีสีน้ำตาลอมเขียวเล็กน้อย การควั้นควรควั้นให้ชิดกับข้อ รอยควั้นมีระยะห่างกันเท่ากับเส้นรอบวงของต้นหรือกิ่งที่จะตอน เมื่อควั้นเสร็จแกะเปลือกขูดเนื้อเยื่อเจริญออกให้หมด ใช้ขุยมะพร้าวแช่น้ำจนอิ่มใส่ถุงพลาสติกผูกปากถุง กรีดถุงจากก้นถึงปากถุงนำมาหุ้มที่รอยควั้นผูกเชือกหัวท้ายให้แน่น หมั่นตรวจดูความชื้นอย่าปล่อยให้แห้งรากจะงอกภายในเวลาประมาณ 2 – 3 เดือน ตรวจดูรากสามารถดูดน้ำได้หรือไม่ เมื่อรากทำงานดีแล้วตัดเอวลงถุงปลูก เมื่อต้นแข็งแรงดีจึงนำลงหลุมปลูก การปลูกด้วยกิ่งตอนจะได้ทรงพุ่มดี ให้ผลผลิตมากและรวดเร็ว
การใช้ต้นจากรากแขนง ผักเหมียงที่มีอายุประมาณ 4 – 5 ปี หากต้นและรากเจริญดีก็จะงอกต้นใหม่ สามารถขุดนำไปปลูกได้ แต่อัตราการรอดตายประมาณร้อยละ 50 – 80 เพื่อเพิ่มอัตราการรอดตายควรนำต้นใหม่มาปลูกในถุงเพาะชำจนมีความแข็งแรงเสียก่อนนำลงปลูก
การเตรียมพื้นที่ปลูก ระยะปลูก 3 x 3 เมตร ต้นพันธุ์ที่ใช้ต้องเป็นพันธุ์ที่แข็งแรง วางต้นพันธุ์ให้เอียง 45 องศา ในหลุมที่ขุดแล้วกลบดินแต่พอแน่น รดน้ำให้ชุ่มใช้ไม้หลักปักผูกเชือกให้เรียบ ร้อยเพื่อป้องกันลม ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนหรือช่วงฝนตกจะช่วยให้ไม่เสียเวลา และแรงงาน ในการรดน้ำ การให้ปุ๋ยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน ใช้ปุ๋ยสูตร 15 -7 - 18, 15 - 15 - 15 ผสมกับปุ๋ยสูตร 12 - 5 - 14 อัตรา 30 กิโลกรัม/ไร่/ปี กรณีปลูกร่วมในสวนยาง ในสวนไม้ผล ในช่วงต้นฤดูฝนใช้ปุ๋ยสูตร 15 - 15 -15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่/ปี
การเก็บเกี่ยว เริ่มเก็บเกี่ยวเมื่อต้นผักเหมียงมีอายุ ๒ ปีขึ้นไป เก็บเกี่ยว ๑๕-๓๐ วัน/ ครั้ง เก็บยอดอ่อนถึงยอดเพสลาด ควรเด็ดให้ชิดข้อ ไม่เด็ดกลางข้อหรือตัด เพราะจะทำให้การแตกยอดอ่อนในครั้งต่อไปจะช้า เมื่อเก็บแล้วอย่าให้ใบหรือยอดอ่อนนั้นถูกแสงแดดและลม ควรพรมน้ำแต่พอชุ่ม สามารถเก็บได้นาน ประมาณ ๕-๖ วัน


สรรพคุณทางยา ใบ รับประทานเพื่อบำรุงเส้นเอ็น กระดูก สายตา และสามารถนำมาใช้ลอกฝ้าได้อีกด้วย


สวนเกษตรในฝัน ตอนนี้มีผักเหนียงประมาณ 70 ต้นแล้วค่ะ เป้าหมาย 100 ต้นค่ะ





Create Date : 03 กรกฎาคม 2554
Last Update : 3 กรกฎาคม 2554 16:56:08 น.
Counter : 1470 Pageviews.

1 comments
  
....เริ่มงงเสียแล้วครับ...ขอถามครับ...ที่เขาเอาลูกเหนียง ที่เหมือนๆกับถังงอกหัวโตๆ เอามาแกงนั่น......เป็นอันเดียวกันหรือเปล่าครับ
.........ผมชอบมากๆครับ...อิ อิ
เวลาอยากทานแกงลูกเหนียง ก็จะไปหาซื้อแถวๆ ถนนพรานนก ฝั่งธน
มีทั้ง ร้านฉวาง - ร้านรวมไต้...และร้านชาวไต้ - อยู่ไกล้ๆกันเลยครับ อิ อิ
อร่อยมาก...... วันหลังจะไปถ่านรูปมาฝากเพื่อนๆในบล็อกครับ
โดย: พายุสุริยะ วันที่: 5 กรกฎาคม 2554 เวลา:11:06:06 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

MamaJayJay
Location :
กระบี่  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนค่ะ ครอบครัวของเราชอบการเดินทาง และหลงไหลธรรมชาติสีเขียว ถึงแม้จะขัดแย้งกับงานที่เราทำอยู่ แต่เราก็มีจุดมุ่งหมายว่าสักวัน เราจะมีป่าเป็นของเราเองและช่วยรักษาโลกให้หายป่วย