MacroArt's Online Business Story by Apisilp Trunganont
Group Blog
 
All Blogs
 

GDI ใช่ธุรกิจที่ดีแน่หรือ?

ผมพิจารณาอยู่นานว่าจะเขียนบทความนี้ดีหรือเปล่า เพราะมีความเป็นไปได้ว่าอาจถูกเครือข่ายผู้ทำธุรกิจ GDI หรือ Global Domains International รังเกียจเอาได้ แต่คิดว่าจะขอวิเคราะห์อย่างเป็นกลางตามข้อมูลจริงที่ได้เห็น

ช่วงที่ผ่านมา ผมได้รับ e-mail เชิญชวนให้เข้าร่วมธุรกิจ GDI บ่อยมาก ครั้งแรกที่ได้เข้าไปอ่านข้อมูลของธุรกิจนี้รวมถึงดูวิดีโอคลิป ก็รู้สึกตื่นเต้นและอยากเข้าร่วมธุรกิจในทันที ผมตัดสินใจกรอกข้อมูลส่วนตัวเพื่อจะดูข้อมูลของธุรกิจให้ลึกมากขึ้น แต่ยังไม่ตัดสินใจสมัครใช้บริการในทันที

ธุรกิจ GDI ขายโดเมนเนม .ws พร้อมกับบริการทำเว็บไซต์อย่างง่ายๆ ที่คุณทำเองได้เหมือนใช้ Microsoft Word โดยคิดค่าบริการเดือนละ $10 หรือปีละ $120

ค่าบริการ $10 ทาง GDI จะดึงไว้ $5 เป็นค่าสินค้า ส่วนอีก $5 เป็นค่าการตลาดที่จ่ายให้กับผู้ที่ทำการตลาดให้กับ GDI คุณจะได้รับค่าการตลาดนี้ก็ต่อเมื่อคุณสามารถเชิญชวนคนอื่นเข้ามาใช้บริการ GDI โดยคุณจะได้ค่าแนะนำ $1 ต่อหนึ่งคนที่หาเข้ามา นี่เป็นรายได้ในทางกว้าง ส่วนรายได้อีกทางคือทางลึก ถ้าคนที่คุณแนะนำเข้ามาสามารถไปชวนคนเพิ่มเข้ามาได้ เขาจะได้ $1 และคุณก็จะได้ $1 เช่นกัน ลงทางลึกได้ 5 ระดับ ถ้าเป็นชั้นที่ 6 คุณก็จะไม่ได้แล้ว

สรุปง่ายๆ ว่าถ้าคุณสมัครใช้บริการและจ่าย $10 ต่อเดือน ค่าการตลาด $5 จะถูกจ่ายให้กับอัพไลน์ที่ใกล้ตัวคุณ 5 ระดับชั้น รับไปคนละ $1 นั่นเอง

key success factor ของธุรกิจนี้ก็คือคุณจะต้องหาดาวน์ไลน์ให้ได้อย่างน้อย 10 คนภายในหนึ่งเดือน เพื่อที่คุณจะมีรายได้เข้ามาเท่ากับรายจ่าย $10 ที่ต้องจ่ายให้ GDI ถ้าเกิดคุณหาได้เพียงหนึ่งหรือสองคน มีโอกาสสูงครับที่คุณจะเลิกทำในเดือนที่สองหรือสาม

ในขณะเดียวกัน การมีดาวน์ไลน์ 10 คนนั้นยังไม่พอ คุณจะต้องช่วยให้ดาวน์ไลน์แต่ละคนสามารถหา 10 คนต่อไปได้ด้วย เพราะถ้าเขาหาไม่ได้ ผลมันก็จะสะท้อนกลับมาที่ตัวคุณได้เหมือนกัน

หลักการของธุรกิจ GDI ก็เหมือนกับธุรกิจเครือข่ายหรือ MLM ทั่วไป ซึ่งคนที่อยู่ในธุรกิจเครือข่ายก็จะบอกว่าแนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่ดี เพราะคุณจะต้องช่วยเหลือคนอื่นให้ประสบความสำเร็จ คุณถึงจะสำเร็จไปด้วย ขณะที่คนที่ไม่เคยเข้ามาในธุรกิจนี้ แต่เคยฟังๆ มา หรือเคยถูกเพื่อนตื๊อมาก่อน ก็อาจจะมีทัศนคติเชิงลบที่มองว่าเป็นธุรกิจกินแรงคนอื่น หรืออะไรก็ตาม

ผมจะไม่คอมเมนต์เรื่องแนวคิดการตลาดแบบนี้นะครับ รู้แต่ว่ายอดธุรกิจที่เกิดจากการตลาดเครือข่ายมีการเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆ

สิ่งที่ผมอยากเขียนถึงก็คือสินค้าของ GDI มีราคาแพงเมื่อเทียบกับสินค้าอื่นที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกัน แถมยังมีความสามารถที่ด้อยกว่าอีกด้วย

อย่างที่เกริ่นไปในตอนแรกก็คือสินค้าของ GDI ประกอบด้วยโดเมนเนม .ws และบริการเว็บไซต์กึ่งสำเร็จรูปที่คุณทำได้เอง

ถ้าเราลองเทียบกับโดเมนเนม .com ซึ่งเป็นที่รู้จักและยอมรับกันทั่วโลก มีค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนอยู่ที่ปีละประมาณ $10

ส่วนบริการเว็บไซต์กึ่งสำเร็จรูป ทุกวันนี้มีให้ใช้ฟรีแล้ว นั่นก็คือ Google Page Creator ซึ่งถ้าคุณใช้ Google Apps ก็สามารถสร้างเว็บแบบง่ายๆ ขึ้นมาภายใต้ชื่อโดเมนเนมของคุณได้ฟรีๆ

แปลว่า .com + Google Apps จะมีค่าใช้จ่ายปีละ $10 เทียบกับบริการของ GDI ที่มีค่าใช้จ่ายปีละ $120 ต่างกันถึง 12 เท่า!

เท่าที่ผมทราบมาจากการดูวิดีโอของ GDI บริการของ GDI ไม่สามารถทำเว็บไซต์แบบที่มีการติดต่อกับฐานข้อมูลได้ และให้พื้นที่ในการทำเว็บเพียง 10 หน้าเท่านั้น

ถ้าหากคุณไปเช่า web hosting ของต่างประเทศ เอาแบบที่ราคาถูกหน่อย ราคาเดือนละ $3.59 หรือปีละ $43 ก็สามารถติดต่อกับฐานข้อมูลได้ แถมยังให้พื้นที่มากถึง 5 GB

.com + web hosting ในราคาปีละ $53 ก็ยังถูกกว่า GDI มากกว่าเท่าตัว แถมยังมีความสามารถที่สูงกว่าอีกด้วย

นอกจากนี้ สินค้าของ GDI ยังเป็นสินค้าที่ไม่สามารถทำให้ผู้ใช้เกิด loyalty และต้องการซื้อซ้ำได้ ลองนึกดูว่าถ้าคุณไม่สามารถหาดาวน์ไลน์ได้ คุณก็คงไม่จำเป็นต้องใช้บริการของ GDI เลย เพราะคุณมีทางเลือกอื่นในราคาที่ถูกกว่า

บางคนแย้งว่า GDI มีลูกค้าอย่าง Google ด้วยนะ และยังเป็นลูกค้าที่ยั่งยืนของ GDI ด้วย คำตอบก็คือใช่ครับ เพราะเจ้าของแบรนด์ยักษ์ใหญ่ระดับโลกก็ต้องจดโดเมนให้ครอบคลุมทุกนามสกุลเข้าไว้ นอกจากจะมี google.ws แล้ว ยังมี google.tv, google.info, google.to, google.am และอื่นๆ อีกมากมาย ในอนาคตอาจจะมี google.xxx ด้วยซ้ำ

คนธรรมดาอย่างเราคงไม่มีทางหาดาวน์ไลน์แบบ Google ได้หรอกครับ

ใครที่กำลังจะเข้าสู่ธุรกิจ GDI ก็ลองคิดดูดีๆ นะครับ เพราะมูลค่าของบริการที่คุณได้รับกลับมามันเทียบกับจำนวนเงินที่คุณจ่ายไปไม่ได้ ซึ่งอาจจะทำให้ธุรกิจนี้กลายเป็นการกินหัวคิวไป

//blog.macroart.net/2007/10/is-gdi-good-business.html




 

Create Date : 04 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2550 21:17:24 น.
Counter : 1983 Pageviews.  

Google Maps มหัศจรรย์แผนที่ออนไลน์

ปกหน้า



หนังสือเล่มแรกและเล่มเดียวที่เจาะลึกการใช้งาน Google Maps สุดยอดแผนที่ออนไลน์ ที่ใช้งานจริงในชีวิตประจำวันและธุรกิจได้มากกว่าเครื่องมือตัวใดๆ ปักหมุดให้กับสถานที่และธุรกิจเพื่อการเดินทางและการประชาสัมพันธ์ ง่ายๆ กับการต่อยอดจากแผนที่บนปลายนิ้วของคุณ ที่ทำให้คุณได้เปรียบทุกคู่แข่ง จากเครื่องมือฟรีๆ ของ Google

หนึ่งในหนังสือชุด Google Power

Google Maps มหัศจรรย์แผนที่ออนไลน์ สารพัดวิธีใช้งานสุดยอดแผนที่ของ Google เพื่อความสะดวกสบายและการประยุกต์ใช้งานทางธุรกิจ

หนังสือที่เจ้าของธุรกิจท่องเที่ยว หอพัก ร้านอาหาร อสังหาริมทรัพย์ โลจิสติกส์ และการสื่อสาร ห้ามพลาด!

หนังสือที่นักเดินทาง นักท่องเที่ยว คนขับรถ คนนั่งข้างคนขับ และคนที่หลงทางเป็นประจำ ต้องอ่าน!

เขียนโดย อภิศิลป์ ตรุงกานนท์

ปกหลัง



Google Maps มหัศจรรย์แผนที่ออนไลน์ สารพัดวิธีใช้งานสุดยอดแผนที่ของ Google เพื่อความสะดวกสบายและการประยุกต์ใช้งานทางธุรกิจ

หนังสือสอนการใช้งานแผนที่ออนไลน์ Google Maps ที่มีเนื้อหาครอบคลุมทั้งการใช้งานส่วนตัวและการใช้งานเพื่อธุรกิจ เนื้อหาในหนังสือประกอบด้วย การค้นหาแผนที่ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย เทคนิคการใช้คำค้นเพื่อค้นหาแผนที่ของ 76 จังหวัดทั่วไทย

การค้นหาเส้นทางการเดินทางที่ช่วยให้คุณประหยัดเวลาในการเดินทางมากที่สุด

การใช้แผนที่บนโทรศัพท์มือถือ PDA และ iPhone เพื่อช่วยให้คุณไม่หลงทางไม่ว่าจะอยู่ที่ใดของประเทศ

สารพัดข้อมูลและเครื่องมือเพื่อใช้ควบคู่กับแผนที่ เช่น ข้อมูลรายงานสภาพอากาศ ข้อมูลเหตุการณ์แผ่นดินไหว เครื่องมือวัดระยะห่าง และเครื่องมือรังวัดพื้นที่ เป็นต้น

การปักหมุดเพื่อประชาสัมพันธ์สถานประกอบการทางธุรกิจของคุณให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

การนำแผนที่ Google Maps มาใส่ไว้ในเว็บไซต์หรือบล็อกของคุณ

กรณีศึกษาเว็บไทย 3 แห่งที่ใช้ประโยชน์จาก Google Maps ได้แก่ ThaiKarateDo.com, ThaiMazda3.com และ Kapook.com

แบบฝึกหัดท้ายบทที่จำลองการใช้งาน Google Maps จากสถานการณ์จริง เช่น การค้นหาร้านอาหารในพื้นที่ที่ต้องการ การวางแผนเส้นทางการเดินทางไปต่างจังหวัด การประมาณการค่าใช้จ่ายของพนักงานบริษัทที่ต้องขับรถเพื่อตรวจงานตามไซต์งานหรือเพื่อพบลูกค้า การวางแผนติดตั้งเครื่องรับส่งสัญญาณเพื่อการสื่อสาร การคำนวณจุดคุ้มทุนของกิจการขนส่ง การประชาสัมพันธ์สถานประกอบการทางธุรกิจ เป็นต้น

อ่านคำนำ สารบัญ และสรุปเนื้อหาในหนังสือได้ที่ //blog.macroart.net/2007/10/google-maps-miracle-of-online-map.html




 

Create Date : 04 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2550 21:04:15 น.
Counter : 1137 Pageviews.  

งานสัมมนา Next E-Business Model 2.0

โครงการสัมมนา ม.รังสิต และ บริษัท ไทยเวนเจอร์ดอท คอม จำกัด
เรื่อง Next E-Business Model 2.0
วัน/เวลา เสาร์ 9 มิถุนายน 2550 13.00 -16.30 น.
สถานที่ ณ ศูนย์ศึกษาสาธรธานี ม.รังสิต อาคารสาธรธานี ชั้น 7 ห้อง 701
จัดโดย มหาวิทยาลัยรังสิต และ บริษัทไทยเวนเจอร์ ดอท คอม จำกัด



หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยรังสิต และ บริษัทไทยเวนเจอร์ ดอทคอมจำกัด มีความประสงค์ให้บริการความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต โดยหัวข้อนี้เน้นไปที่เรื่องของ โมเดลธุรกิจของอินเทอร์เน็ต

ความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจบนโลกอินเทอร์เน็ตได้เปลี่ยนไปเริ่มมีศัพท์ใหม่ว่า Web 2.0 ทำให้โมเดลธุรกิจเปลี่ยนไป คนยุคเก่าบนโลกอินเทอร์เน็ต 1.0 ปรับเปลี่ยนตัวเองไม่ทัน และปัจจุบันมีคนรุ่นใหม่ที่สร้างธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตด้วยความรู้ทางเทคโนโลยี ด้วยการสร้างโมเดลธุรกิจจาก Web 2.0 , ตัวแทนการขายสินค้า (affiliate program) , การนำโฆษณามาติดที่เว็บไซค์ (google adsense) มีคนไทยที่ประสบความสำเร็จจากรูปแบบดังกล่าวและให้ความรู้ในวงกว้างมาแล้ว

การสัมมนาครั้งนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มีความรู้ได้รับการยอมรับว่าเก่งที่สุดและอยู่แนวหน้าในระดับประเทศ และมีความสามารถทัดเทียมกับชาวต่างประเทศเพราะสามารถแข่งขันธุรกิจนี้กับชาวต่างประเทศ โดยแต่ละท่านจะมาแบ่งปันประสบการณ์ในการปรับเปลี่ยน Business Model , เทคนิคการแสวงหาความรู้บนโลกอินเทอร์เน็ต , รูปแบบธุรกิจแห่งอนาคต , รายได้จากสินค้าที่เป็น digital มีอะไรบ้าง , การสร้างชุมชนออนไลน์ , การสร้างกฎเกณฑ์ใหม่ในธุรกิจ , การเบียดแย่งชิงพื้นที่จากรายเก่า , กลยุทธ์การสู้กับฝรั่ง , ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้โมเดลเปลี่ยน , โอกาสของตลาดใหม่ , การบริหารทีมงานในต่างประเทศ

เชื่อว่าการสัมมนาครั้งนี้เป็นสุดยอดการรวมของผู้ประสบความสำเร็จที่เป็นแรงบันดาลใจของคนรุ่นใหม่ในประเทศไทย และการสัมมนาครั้งนี้จะทำให้คนไทยได้รับความรู้บนโลกอินเทอร์เน็ตเท่าทันและสามารถแข่งขันกับชาวต่างประเทศได้


จุดประสงค์

  1. บริการวิชาการให้กับผู้สนใจ ซึ่งเนื้อหาของการบรรยายหาฟังได้ยาก
  2. เพื่อให้รู้จักแนวคิดของโมเดลทางธุรกิจบนโลกอินเทอร์เน็ต
  3. เชื่อมโยงสร้างองค์ความรู้อินเทอร์เน็ตให้กับสังคมไทย
  4. เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างผู้ประกอบการใหม่
  5. เป็นการส่งเสริมผู้ที่ประสบความสำเร็จและเป็นแบบอย่างให้กับคนรุ่นใหม่ได้รู้จักและนำวิธีการทำงานความสำเร็จไปประยุกต์ใช้กับชีวิตส่วนตัวและธุรกิจ
  6. องค์ความรู้ในการสัมมนาเป็นการป้องกันความเสี่ยงสำหรับการเริ่มธุรกิจบนโลกอินเทอร์เน็ต


กลุ่มผู้เข้าร่วมสัมมนา
  • กลุ่มผู้สนใจที่ธุรกิจบนโลกอินเทอร์เน็ต
  • ภาคเอกชนที่ต้องการฟังโมเดลใหม่ ๆ บนธุรกิจอินเทอร์เน็ต


วิทยากร
  • ปรเมศวร์ มินสิริ กรรมการผู้จัดการ บัณฑิตเซ็นเตอร์ จำกัด และ ผู้บริหาร Kapook.com
  • อภิศิลป์ ตรุงกานนท์ ที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ธุรกิจออนไลน์ ทีมงานรุ่นบุกเบิกผู้วางระบบให้ Pantip.com
  • ธนพล ทรัพย์สมบูรณ์ (โซวบักท้ง) ผู้ก่อตั้ง ThaiSEOBoard.com เจ้าพ่อ google adsense หมายเลขหนึ่งของประเทศไทย
  • ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ ผู้แต่งหนังสือ Google Make Me Rich


กำหนดการ


12.30 – 13.00 ลงทะเบียน

13.10 – 13.15 ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายการตลาด มหาวิทยารังสิต และ ไทยเวนเจอร์ดอทคอม จำกัด กล่าวต้อนรับและวัตถุประสงค์ของการจัดงานสัมมนา

13.15 – 13.40 วิเคราะห์เจาะลึก e-Business Model ที่อยู่เบื้องหลังเว็บไซต์ชื่อดังของไทยและของโลก ด้วยทฤษฎีจากหลักสูตร MBA โดย อภิศิลป์ ตรุงกานนท์

13.40 – 14.30 Web 2.0 Next Internet Business Model เก็บตกประสบการณ์จากงาน Web 2.0 Expo ที่สหรัฐอเมริกา โดย ปรเมศวร์ มินสิริ

14.30 – 14.50 พักรับประทานอาหารว่าง

14.50 – 15.30 โมเดลธุรกิจออนไลน์ ตัวแทนการขายสินค้าบนโลกอินเทอร์เน็ต Affiliate โดย ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ ผู้แต่งหนังสือ Google Make Me Rich

15.30 – 16.10 โมเดลธุรกิจออนไลน์ การหารายได้จากโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต (Google adsense) โดย โซวปักท้ง ผู้ก่อตั้งเว็บไซค์ Thaiseoboard.com และ เจ้าพ่อ Google Adsense หมายเลขหนึ่งของไทย

16.10 – 16.30 ตอบคำถาม และร่วมสนุกแจกของรางวัล

งานนี้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ใครสนใจร่วมงาน เชิญลงชื่อได้ที่ //blog.macroart.net/2007/05/next-e-business-model-20.html




 

Create Date : 29 พฤษภาคม 2550    
Last Update : 29 พฤษภาคม 2550 1:51:26 น.
Counter : 539 Pageviews.  

Clinic Clear For Men สอนจีบสาว

ได้เห็นโฆษณาในโต๊ะศุภชลาศัย เว็บพันทิป เป็นข้อความจีบหญิงแบบน้ำเน่าๆ เห็นแล้วก็สงสัยว่าเขาขายสินค้าอะไรกันแน่ หนังสือสอนจีบสาวเหรอ? พอคลิกเข้าไปดูถึงได้ร้องอ๋อว่ามันคือโฆษณาแชมพู Clinic Clear For Men แต่ก็ยังสงสัยอยู่ดีนั่นแหละว่าแชมพูมาเกี่ยวอะไรกับจีบสาว แล้วทำไมถึงมาโฆษณาแชมพูในโต๊ะศุภชลาศัยซึ่งคนเล่นส่วนใหญ่เป็นคนชอบกีฬา

เมื่อปีที่แล้วหลายคนคงเคยเห็น (และอาจจะเคยเล่น) แคมเปญ ClickSpray ของ Axe ซึ่งเป็นเกมบนเว็บที่คุณรับบทหนุ่มเจ้าเสน่ห์ที่สาวๆ ต่างเหลียวมองจนคุณต้องใช้ Clicker เพื่อนับว่ามีสาวมาหลงเสน่ห์คุณกี่คน

มาปีนี้ เรามีเกมแนวนี้มาให้เล่นกันอีกแล้ว คุณต้องสวมบทบาทหนุ่มมาดเข้มที่ไปปิ๊งสาวหมวยขาวชื่อมิมิเข้า และคุณจะต้องหาทางจีบเจ้าหล่อนให้ติดให้ได้ โดยที่คุณจะมีซือเจ๊เสื้อดำที่คอยให้คำแนะนำด้านความดูดีในแบบผู้ชาย

อ่านบทความนี้ต่อ และชมภาพประกอบได้ที่ //blog.macroart.net/2007/05/clinic-clear-for-men.html




 

Create Date : 20 พฤษภาคม 2550    
Last Update : 20 พฤษภาคม 2550 17:03:09 น.
Counter : 663 Pageviews.  

The Retail World Is Flat ใครว่าโลกค้าปลีกกลม

ใครที่มีโอกาสได้อ่านหนังสือ The World Is Flat ใครว่าโลกกลม มาแล้ว คงจะทราบดีว่า Thomas L. Friedman ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ ได้กล่าวถึงกำแพงที่เป็นอุปสรรคกีดขวางการแข่งขันระหว่างประเทศได้ลดต่ำลงเรื่อยๆ เนื่องมาจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต จึงส่งผลให้งานด้านบริการจากประเทศฝั่งตะวันตกที่มีค่าครองชีพสูง ไหลไปอยู่ที่ประเทศอินเดียที่มีค่าครองชีพต่ำกว่า งานไหนที่สามารถแปลงให้เป็นดิจิตอลได้ งานนั้นจะถูก Outsource ไปที่อินเดียทันที

แต่นอกจากการ Outsource ภาคการผลิตไปที่จีน และการ Outsource ภาคบริการไปที่อินเดียวแล้ว ผมมองว่ายังมีอุตสาหกรรมที่สำคัญอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่ผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึงมากนัก แต่มันก็เป็นอุตสาหกรรมที่กำลังแบนราบลง นั่นก็คืออุตสาหกรรมค้าปลีก

อ่านบทความนี้ต่อ และดูภาพประกอบได้ที่ //blog.macroart.net/2007/05/retail-world-is-flat.html




 

Create Date : 20 พฤษภาคม 2550    
Last Update : 20 พฤษภาคม 2550 17:01:51 น.
Counter : 487 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  

MacroArt
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add MacroArt's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.