Group Blog
 
All Blogs
 
บทสรุปจากสัมมนาครั้งที่ 1 ของ คลับนักขาย (อ.ไพบูลย์ สำราญภูติ)

บทสรุปจากสัมมนาครั้งที่ 1 ของ คลับนักขาย
บรรยายโดย : อาจาร์ยไพบูลย์ สำราญภูติ

ผมขอสรุปคร่าวๆ จากการสัมมนาครั้งที่ 1 ของ คลับนักขาย นะครับ ส่วนรายละเอียดต่างๆ ต้องรอให้ "ว่าที่ ดีอาร์" มาลงให้ครับ...

นักการขายที่ดีนั้น จะพยายามสนองตอบความต้องการของลูกค้า (Need) เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจ ซึ่งจะแตกต่างจากกลุ่มนักการตลาดที่จะพยายามสร้างความต้องการ (Want) ให้กับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้ามีความต้องการเกิดขึ้น ซึ่งหากการตลาดดี จะทำให้นักขายสามารถขายได้ดีมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าการตลาดไม่ดี แต่นักการขายดีและเก่ง ก็ยังสามารถขายสินค้าได้

เมื่อนักขายที่ดีต้องมองความต้องการซื้อของลูกค้าก่อน แต่สิ่งที่เหลืออื่นใด นักขายควรจะมีทัศนคติทางด้านการให้้้ "Giver" มากกว่าผู้รับ "Taker"

Giver หรือ ผู้ให้นั้น คือ พนักงานขายต้องพยายามเรียนรู้ที่จะช่วยเหลือลูกค้า เรียนรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร แล้ว ช่วยเหลือเขาในสิ่งที่เขาต้องการ หรือ มองในมุมของเขา ถ้าเปรียบก็เหมือนกับเราอยู่ในโลกเดียวกัน แต่อยู่กันคนละด้าน บางส่วนของโลกอาจจะอยู่ในที่สว่าง แต่ในทางเดียวกัน บางส่วนของโลก ก็อยู่ในส่วนของความมืด ในเมื่อเราไม่รู้ว่าคนอีกฝั่งหนึ่งเป็นอย่างไร แล้วมองแต่ในส่วนเราอย่างเดียว ก็จะไม่เข้าใจอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้น เราจึงต้องรู้ว่าลูกค้าของเรากำลังอยู่ในสภาวะใด ต้องการอะไร และ พูดในสิ่งที่ลูกค้าอยากจะพูด

อ.ไพบูลย์ ได้เปรียบเทียบพนักงานขายเหมือนกับ ได้เรียนหนังสือโดยมีทุนการศึกษา หมายถึง พนักงานขายต้องมีการเรียนรู้ตลอดเวลา เรียนรู้จากการขายของตัวเอง แต่ได้เงินเดือนเป็นผลตอบแทน ซึ่งหากเข้าไปขายใครสักคนแล้วเขาปฏิเสธอย่างไม่มีเยื่ยใย ก็จะเป็นบทเรียนที่เจ็บปวด แต่จะทำให้เราได้เรียนรู้ว่า พนักงานขายนั้นมีความพร้อมหรือบกพร่องที่จุดใด หรือ บางทีขายแล้วคนก็ซื้อทันที ซึ่งอาจจะเข้าไปในช่วงที่เขากำลังมีความจำเป็นต้องใช้งานทันทีเช่นกัน ก็เลยทำให้ขายได้ หรือ เพราะเหตุใดที่ขายได้ แล้วเอาบทเรียนต่างๆนั้น มาสอนตัวเองเพื่อจะได้ปรับปรุงตัวเองให้มีความสามารถเพิ่มมากขึ้น

พนักงานขายที่ดีต้องขายตัวเองให้กับตัวเองก่อน นั่นหมายถึง พนักงานขายต้องเชื่อมั่นในตัวเองก่อนการขายเสมอว่า เราสามารถขายได้ ทำให้เขาจะประสบความสำเร็จในการขาย

หลักการขายนั้น อ.ไพบูลย์ ได้จำแนก ออกเป็น 3 รูปภาพทางเรขาคณิต คือ
- วงกลมแทนความต้องการของลูกค้า หมายถึง 360 องศาของวงกลมเปรียบเหมือนความต้องการไปหมดของลูกค้า ซึ่งถ้าต้องจ่ายเงินลูกค้าก็จะมีความต้องการมากกว่าเงินที่จ่ายเสมอ แต่ถ้าสินค้านั้นได้ฟรี ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ค่อยมีปัญหา หรือ ธุรกิจที่ให้ลูกค้าจัดการทำเอง ก็จะทำให้ลูกค้าไม่ค่อยมีปัญหา ดังนั้น ธุรกิจที่ให้ลูกค้า บริการตนเอง จึงไม่ค่อยมีปัญหาเกี่ยวกับการให้บริการมากนัก
- สี่เหลี่ยมแทนส่วนผสมทางการตลาด 4P (Product, Price, Place, Promotion) เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
- สามเหลี่ยมมาจาก ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานขาย ลูกค้า และ บริษัทฯ ซึ่งเมื่อพนักงานขายตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ ก็จะทำให้ลูกค้าสั่งซื้อ เมื่อเกิดการสั่งซื้อ ลูกค้าก็จ่ายให้กับบริษัทฯ เมื่อบริษัทฯ รับเงินก็ต้องจ่ายผลตอบแทนให้กับพนักงานขาย เป็นการสร้างสายสัมพันธ์ทางการขาย








จากคุณ : wbj - [ 16 ต.ค. 48 22:17:34 ]








--------------------------------------------------------------------------------

ความคิดเห็นที่ 1

ขอบคุณครับ :)

จากคุณ : เท้าชี้ฟ้า - [ 16 ต.ค. 48 23:15:14 ]






ความคิดเห็นที่ 2

ขอบคุณคะ ได้ไปแค่ทานข้าวด้วย แต่อดอยู่ฟัง ก็ยังมีคนใจดี เอาบทสรุปมาให้อ่านอีก

ต้องขอแชร์แบบคนที่ไม่ได้ฟัง แล้วอ่านอย่างเดียวจากบทสรุปนะคะ (อาจจะเหมือนเอามะพร้าวไปขายสวนป่าวก็ไม่รู้)

จากแผนภาพที่มอง ชอบคะ ทำให้เห็นความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างงานขาย และงานการตลาดที่มีความสัมพันธ์กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

โดยเฉพาะ "สี่เหลี่ยมแทนส่วนผสมทางการตลาด 4P (Product, Price, Place, Promotion) เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า" ..... หากนักการตลาด ไม่ได้ ประสานงานกับฝ่ายขาย ซึ่งเป็นฝ่ายที่อยู่ติดลูกค้ามากที่สุด การออกส่วนผสมดังกล่าว ก็จะกลายเป็นความต้องการของนักการตลาดผู้นั้น มากกว่าความต้องการของลูกค้าจริงๆ ... ซึ่งนักการตลาดที่ดี จะต้องไม่ bias ในจุดนี้ อย่าคิดว่า...ลูกค้าทุกคนคิดเหมือนกับเรา

ดังนั้น การประสานงานที่ดีของฝ่ายขาย กับ ฝ่ายการตลาด หรือแม้กระทั่ง หน่วยงานฝ่ายอื่นๆ ในองค์กร ย่อมนำไปสู่การทำงานที่ทำให้องค์กร เติบโตอย่างมั่นคง และแข็งแรง

จากคุณ : AjarnTik (pinkoptio) - [ 17 ต.ค. 48 00:26:54 ]






ความคิดเห็นที่ 3

มารออ่านเพิ่มเติมค่ะ

จากคุณ : นักกินหมูกระทะ - [ 17 ต.ค. 48 00:28:27 ]






ความคิดเห็นที่ 4

ขอบคุณครับ

จากคุณ : wsing - [ 17 ต.ค. 48 07:30:58 ]






ความคิดเห็นที่ 5

ขอบคุณมากครับ พี่จุง ...

ขอมาลงชื่อ อ่านไว้ก่อน ...

ขอเคลียร์งานก่อน .... นะครับ

เสร็จแล้ว จะมาแจม ด้วย ครับ ...
แก้ไขเมื่อ 17 ต.ค. 48 09:54:25

จากคุณ : ว่าที่ ดีอาร์ - [ 17 ต.ค. 48 09:51:19 ]







ความคิดเห็นที่ 6

เสียดายไม่ได้เข้าร่วมฟังด้วยเพราะมีคำถามจะถามเยอะเหมือนกัน

จากคุณ : kittyty - [ 17 ต.ค. 48 10:46:26 ]






ความคิดเห็นที่ 7

ลงชื่อออออ........ (^^)//

ชอบนิทาน (อันที่จริงเป็นเรื่องจริง) ที่อาจารย์ไพบูลย์เล่าเป็นตัวอย่างมากๆ เลยค่ะ
ให้ข้อคิดดีมากๆ

จากคุณ : สาวน้อยร้อยแปด - [ 17 ต.ค. 48 11:00:37 ]






ความคิดเห็นที่ 8

ขอบคุณครับ พี่wbj

จากคุณ : อาจารย์โช๊ะ - [ 17 ต.ค. 48 11:32:17 ]






ความคิดเห็นที่ 9

ขอบคุณพี่จุงที่สรุปให้ค่ะ ชอบ ค่ะ ชอบ อยากเข้าประชุมเดือนหน้าด้วยจังเลยค่ะ ข้อมูลดีมากๆๆ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับหลายๆ ท่านผู้แก่ เอ้ย เก่งกล้าเรื่องการบริหารงานขาย และ สำคัญที่ซู๊ดด้านการขาย (ดูขายเก่งกันทุกคนจ๊ะ)

จากคุณ : Jeabza - [ 17 ต.ค. 48 19:32:05 ]






ความคิดเห็นที่ 10

ขอบคุณครับ แอบมาอ่านครับ

จากคุณ : Foo!-jung - [ 17 ต.ค. 48 20:11:03 ]






ความคิดเห็นที่ 11



จากคุณ : jarmjuree - [ 18 ต.ค. 48 01:39:12 ]






ความคิดเห็นที่ 12

หวัดดีครับ … เท่าที่พี่จุง สรุปในส่วนที่ ท่านอาจารย์ไพบูลย์ได้กรุณาถ่ายทอด น่าจะเก็บประเด็นสำคัญๆ ได้ครบถ้วน แล้วนะครับ

ผมขออนุญาต แชร์เพิ่มเติมในมุมมอง เชิงกลยุทธ์ …ทางธุรกิจ พวกเราคงจะเคยได้ยินคำกล่าวของซุนวู เรื่อง รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครา (คราใดแพ้ถือว่า ซ้อมรบ <<< อันนี้คำกล่าวของผมเอง ^_^ )

ดังนั้น ก่อนที่จะ Deal ธุรกิจเชื่อว่าพวกเราคงทำการบ้านเป็นอย่างดี เพื่อการเจรจา ปิด Deal ในลักษณะ Win-Win ทั้งเราและลูกค้าหรือคู่ค้า(Partner) โดยประเด็นหลักๆ ที่ต้องการจะแชร์เผื่อจะเป็นประโยชน์ จะประมาณ นี้นะครับ

Value (Insight) Definition

เพื่อการที่เราจะได้รู้ค่านิยม รู้ความต้องการ รู้จิตวิทยา เราเรียกว่าเรามี Customer insight และเมื่อเรารู้ value definition เราก็จะรู้ว่าเราจะให้อะไรแก่ผู้บริโภคหรือ คู่ค้า (Partner) ก็จะเข้าสู่ value creation

Value (Innovation) Creation

เราจะสร้างคุณค่าดังกล่าวให้เกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งตรงนี้นายกทักษิณ พูดบ่อยว่ายุคนี้เป็นยุค Value creation เป็นยุคที่ต้องมุ่งมั่นสร้างคุณค่าให้เกิด ตามที่ได้นิยามไว้ เช่น เรานิยามว่าเราจะให้ความสะดวกแก่ลูกค้า เราก็ต้องพยายามทำให้ได้ว่าเราจะให้ความสะดวกกับลูกค้าอย่างไร ถ้าเรานิยามว่าเราจะให้คุณภาพชีวิตที่ดีแก่ลูกค้า เราก็ต้องทราบว่าเราจะให้คุณภาพชีวิตที่ดีแก่ลูกค้าอย่างไร...
ซึ่งการทำ value creation ที่สำคัญมาก ๆ คือ การกล้าที่จะคิดใหม่ การกล้าที่จะทำใหม่ ซึ่งเราเรียกว่า innovation
Value innovation คำว่า innovation ไม่ใช่แปลว่าเครื่องมือใหม่อย่างเดียวเท่านั้น คิดใหม่ ทำใหม่ ทัศนคติใหม่ กระบวนการใหม่ เราเรียกว่า innovation ทั้งสิ้น นัย ของประเด็นนี้ ก็คือว่า เมื่อเราคิดจะให้อะไรกับลูกค้าแล้ว เราต้องถามตัวเราเองว่า เราพร้อมจะทำอะไรใหม่ที่ไม่เหมือนเดิมมั้ย เพราะถ้าเราจะไม่ทำอะไรใหม่ ทำเหมือนเดิมทุกอย่าง บางทีมันจะเป็นอุปสรรคในการที่เราจะ create value เพราะฉะนั้นการจะทำอะไรก็ตามเพื่อตอบสนอง value definition อันใหม่ เราต้องพร้อมที่จะ innovate เราต้องมีอะไรใหม่ คิดใหม่ ทำใหม่ (innovation or die คือ ไม่มีนวัตกรรมก็ตายซะ..)

Value (agility) Delivery

เมื่อเราสร้างคุณค่าได้แล้ว เราจะส่งมอบคุณค่าดังกล่าวนั้นให้ไปถึงมือลูกค้าได้อย่างไร เพราะถ้าสร้างได้ ส่งมอบไม่ได้ มันก็ไม่ครบถ้วนกระบวนความ ซึ่งการที่จะส่งมอบนั้น เขาเน้น agility ซึ่งหมายความว่า การมุ่งมั่นเอาจริง ทุ่มเท เพราะการทำธุรกิจสมัยนี้ จะทำหยิบโหย่ง เล่น ๆ ไม่ได้ เพราะการแข่งขันมีมาก ลูกค้า ก็ high demand ลูกค้าจะเรียกร้องเยอะเหลือเกิน ทำอย่างไรจึงจะตอบสนองความต้องการได้อย่างสมดุล

จากคุณ : ว่าที่ ดีอาร์ - [ 18 ต.ค. 48 12:26:53 ]






ความคิดเห็นที่ 13

ทั้งหมดใน 3 ประเด็นดังกล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นต้องการวัฒนธรรมองค์กร ต้องการให้องค์กรนั้นมีวัฒนธรรมของนักธุรกิจ ซึ่งเราขอเรียกตรงนี้ว่าเป็น DNA ขององค์กร

Organizational DNA / องค์ประกอบของ DNA ขององค์กรมีดังนี้

- Intuition พนักงานของเรามีสัญชาติญาณนักธุรกิจมั้ย? อยู่ในหัวใจมั้ย? คือสัญชาติญาณ การอยากเอาใจลูกค้า สัญชาติญาณพร้อมที่จะช่วยแก้ไขปัญหาให้ลูกค้า สัญชาติญาณที่จะสร้างคุณค่าของตัวเองให้มี value added ให้กับสินค้า ถ้าคนทำงานในองค์การไม่เคยถามตัวเองเลยว่า หน้าที่ที่ตัวเองทำอยู่จะให้ value added ให้กับสินค้าได้ เขาก็ไม่มีวิญญาณของนักธุรกิจ คนที่มีสัญชาติญาณนักธุรกิจ จะต้องมี mission oriented คือทำอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย destination oriented ท่านจะมีส่วนร่วมอย่างไรให้ลูกค้าพึงพอใจ

- Culture & Structure เราได้ปลูกฝังความคิดดังกล่าวข้างต้น ให้เป็นวิถีขององค์กรมั้ย? พนักงานตั้งแต่ยามหน้าประตูจนถึงผู้อำนวยการ มีลักษณะของวิญญาณดังกล่าวหรือป่าว? แล้วเราได้กำหนดโครงสร้างขององค์การ ให้สอดรับกับแนวทางธุรกิจของเรามั้ย เช่น ปัจจุบันธุรกิจเรามีแผนก CR หรือยัง หรือขณะนี้มีการสื่อสารทางการตลาดแบบ IMC บริษัทเรายังแยกหัวหน้าฝ่ายโฆษณา หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ หัวหน้าฝ่ายกิจกรรมพิเศษ อยู่หรือเปล่า? หรือเรารวมทั้ง 3 แผนกนี้เข้าด้วยกัน เป็น corporate communication หรือ corporate marketing ถ้าเรามีการแยกกันระหว่าง แผนกโฆษณา และฝ่ายประชาสัมพันธ์ มีปัญหาแน่ เราต้องเอา 2 งานนี้มารวมกัน อันนี้เราเรียกว่าการปรับโครงสร้าง

- Leadership, vision & value ผู้นำทำตัวเป็น role model ได้หรือเปล่า? ผู้นำยึดถือลัทธิบูชาลูกค้าหรือป่าว? ผู้นำพร้อมใช้เวลาทุ่มเทกับการใกล้ชิดกับลูกค้าหรือป่าว? ผู้นำมีนิสัย Relationship management มั้ย? มีนิสัยพร้อมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้ามั้ย? ผู้นำนั้นใช้การปกครองแบบ Vision & value หรือป่าว? เราไม่ปกครอง แบบ rule & regulations เราปกครองแบบ vision & value (vision คือการวาดอนาคตที่งดงามให้คนดู value เราวางหลักการในการทำงานให้เขา แบบให้เขายึดถือโดยเราไม่ต้องนั่งคุม ให้เขาขยันเองโดยไม่ต้องเอากฎใช้บังคับเขา)

- Employee เราจ้างใครไว้ทำงาน คนที่เราจ้าง เราสามารถเอาป้ายแปะไว้หน้าผากเขาว่า ใช่เลย? ได้มั้ย? เพราะบางคนที่เราจ้างมามันไม่ใช่ เช่น เราไม่จ้างคนไม่รักเด็กมาเป็นครูอนุบาล เราไม่จ้างคนไม่มีจิตใจเมตตา เป็นพยาบาล หรือถ้าจะเขียนเรื่อง brand เขาจะบอกไว้เลยว่าคัดเลือกคนที่จะสะท้อน core value ของ brand เช่น ถ้าเราจะเลือกคนมาทำงานที่ Mariefrance เราต้องเลือกคนหุ่นดี ๆ ถ้าคุณขายเครื่องสำอาง คุณต้องเลือกคนหน้าเกลี้ยง หน้าสวยเท่านั้น คนหน้าเป็นฝ้า เป็นสิว ผิวพรรณไม่เปล่งปลั่ง มาขายเครื่องสำอางไม่ได้ เพราะมันไม่ใช่ เราต้องหาคนที่สามารถ live the brand ใช้ชีวิต ดั่ง brand นั้น มิฉะนั้นแล้ว มันจะไม่เป็น DNA ขององค์กร

- Knowledge management หลายสาขาทำเรื่อง KM กันมาก จะไปเอาความรู้มาจากไหน จะแชร์ความรู้กับคนอื่น อย่างไร จะนำความรู้ที่เรียนรู้มาบูรณาการ กับการทำงานอย่างไร และอีกอัน How would you mange change? เมื่อคุณเอาความรู้ใหม่มาใช้คุณจะบริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ที่จะทำให้ช่วงการเปลี่ยนผ่านมัน go smoothly มันสามารถเป็นไปได้อย่างไร

- planning การที่รู้จักการวางแผน

- Measurement ประเมินผลดูด้วย ว่าที่ทำไปเป็นอย่างไร

จากคุณ : ว่าที่ ดีอาร์ - [ 18 ต.ค. 48 13:03:43 ]






ความคิดเห็นที่ 14

ฝากอีกนิ๊ดดด สำหรับ ... กลยุทธ์ธุรกิจ 3 ด้าน


Sales orientation

องค์กรให้ความสำคัญการขาย คนที่เขาทำเช่นนี้เรียกว่า transactional selling แปลว่าทำการขาย เน้นธุรกรรม เน้นการได้ลูกค้าใหม่ ทำอย่างไร พูดอย่างไร จะให้เกิดการซื้อการขายให้ได้ ดังนั้นกำไรจะเกิดขึ้นได้จากลูกค้าใหม่อย่างต่อเนื่อง

Retention orientation

การรักษาลูกค้าชั่วชีวิต ซึ่งเรียกว่า relationship ซึ่งทุกวันนี้ตัวนี้ ยังอยู่ในหลายบริษัท ในการทำ customer relationship จะบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างไร ให้เขารู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวเรา และมีความภักดีกับสินค้าเราตลอดไป ซึ่งปัจจุบันนี้หลาย ๆ คน ยังไม่นำ relationship มาใช้ทำงานของตัวเอง ยังไม่นำหลัก CRM มาใช้ด้วยซ้ำไป ซึ่ง จุดหมายปลายทาง กำไรเกิดได้จากการที่เรามีปัญญาในการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ใครสร้างความพึงพอใจได้มากที่สุดคนนั้นก็ชนะ

Value orientation

modern หรือ new consumer เน้นการสร้างคุณค่า (value creation) เน้นว่าจะ ทำอย่างไรให้ลูกค้าทราบซึ้งในคุณค่าธุรกิจของเรา ซึ่งยุคนี้เป็นยุคของ demand system management เป็นยุคบริหารการจัดการข้อเรียกร้องของลูกค้า demand ตัวนี้ไม่ใช่อุปสงค์ demand ตัวนี้คือข้อเรียกร้องของลูกค้า ลูกค้าอยากได้อะไร ลูกค้าต้องการอะไร ลูกค้าอยากให้มีอะไร เราต้องเรียนรู้ demand เหล่านี้ และพยายามตอบสนอง demandให้ได้ ซึ่งย้อนไปถึง customer insight การที่เราจะบริหาร demand system เราต้องรู้ลึกซึ้งว่า ณ เวลานี้เขา ต้องการอะไร เพราะฉะนั้นในแง่ของธุรกิจสมัยใหม่ เราไม่ได้ศึกษา need อย่างเดียว เดี๋ยวนี้ demand – what you say demand เขาเรียกหาอะไร เขาอยากได้อะไร ซึ่งเขาบอกว่ากำไรเกิดจากอะไร เกิดจากที่เรามี insight การที่เราลึกซึ้งกับลูกค้า เกิดจาก innovation เกิดจากการที่เรามีนวัตกรรม และเกิดจากการ มี agility เกิดจากการที่เรามุ่งมั่นขยันขันแข็งเอาจริงเอาจัง



จากคุณ : ว่าที่ ดีอาร์ - [ 18 ต.ค. 48 13:11:05 ]






ความคิดเห็นที่ 15

ลงชื่อก่อนนะคะ ว่างแล้วมาอ่านต่อ แหะๆ

จากคุณ : >>>แม่มดน้อย ร้อยลีลา<<< - [ 18 ต.ค. 48 14:01:42 ]






ความคิดเห็นที่ 16



จากคุณ : wbj - [ 18 ต.ค. 48 22:46:45 ]






ความคิดเห็นที่ 17

มุมมองที่พี่เอมาแชร์เพิ่มเติมเยี่ยมมากครับ สรุปแนวคิดการทำธุรกิจในยุคนี้มาไว้ได้อย่างชัดเจนทีเดียว สัมมนาคลับนักขายคราวหน้าคงต้องเลียบๆเคียงๆให้เป็นวิทยากรแล้ว

จากคุณ : dump_66 - [ 21 ต.ค. 48 20:39:12 ]






ความคิดเห็นที่ 18

ขอบคุณครับ พี่ทั้งสอง



จากคุณ : FishLover - [ 22 ต.ค. 48 09:42:59 ]






ความคิดเห็นที่ 19

อย่างนี้มันต้องดูดดดดดดด

จากคุณ : snaf - [ 24 ต.ค. 48 20:43:01 ]






ความคิดเห็นที่ 20

ขอบคุณค่ะ

จากคุณ : ตะล๊อกต๊อกแต๊ก - [ 27 ต.ค. 48 22:16:19 ]






ความคิดเห็นที่ 21

ฝากข่าว คลับนักขาย ...นะครับ

//www.pantip.com/cafe/silom/topic/B3832768/B3832768.html#24

จากคุณ : ว่าที่ ดีอาร์ - [ 28 ต.ค. 48 11:16:33 ]









Create Date : 06 ธันวาคม 2548
Last Update : 6 ธันวาคม 2548 10:33:53 น. 0 comments
Counter : 472 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ลุงแอ็ด
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




Friends' blogs
[Add ลุงแอ็ด's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.