Group Blog
 
All Blogs
 
สุบินนิมิตร ชักพาเป็นคู่สมรเจ้า คัน (คัง)

สุบินนิมิตร ชักพาเป็นคู่สมรเจ้า คัน (คัง)

พระนาง สิ่น (เฮี้ย) ฮองเฮา

และพระนาง อู๋สี (โง่วสี) ฮองเฮา

ในพระเจ้า ซ่งเกาจง (ซ้องเกาจง) จ้าวเกา (เตียวเกา)

ฤดูหนาว ของศักราช เจ้าซิ่น (เจียวเฮง) ปีที่ 11 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเกาจง พ.ศ. 1684 กองทัพ ซ่ง ซึ่งมีขุนพล เย่ว์เฟย (งักฮุย) เป็นผู้นำ ได้ต่อต้านการรุกรานของราชวงศ์ จิน เกือบจักได้รับชัยขำนะอยู่แล้ว แต่พระเจ้า ซ่งเกาจง กลับทรงติดต่อลับ ๆ ขอยอมสงบศึกกับราชวงศ์ จิน ด้วยนโยบายที่เห็นแก่ตัวอย่างร้ายแรง พระองค์ทรงยอมลดฐานะของราชวงศ์ ซ่ง เปรียบเสมือนเมืองขึ้นของราชวงศ์ จิน ทรงยอมลดศักศรีของพระองค์ดั่งเช่นขุนนางของราชวงศ์ จิน ทรงยอมเชือดเฉือนดินแดนของราชวงศ์ ซ่ง หลายแห่ง กับทรงยินยอมเสียเงินทองและผ้าไหมคิดเป็นมูลค่า 250,000 ตำลึง เพื่อเป็นเครื่องราชบรรณาการแก่ราชวงศ์ จิน นอกจากนี้ ยังทรงนำเอาชีวิตของขุนพล เย่ว์เฟย ซึ่งจงรักภัคดีต่อราชวงศ์ ซ่ง เป็นเครื่องเซ่นสังเวย เพื่อแลกกับสนธิสัญญาเลือด เป็นกระดาษสัญญาเพียงใบเดียว
เดือนที่ 4 ของ 2 ปีต่อมา พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงส่งทูตไปเจรจากับราชวงศ์ จิน ขอนำพระราชมารดาบังเกิดเกล้า พระนาง เว่ย (งุ่ย) ฮองไทเฮา พร้อมทั้งพระอัฐิของพระราชบิดาพระเเจ้า ซ่งเฟยจง และพระมเหสี พระนาง เจิ้น ฮองเฮา ซึ่งถูกจับตัวไปเป็นเชลยศึก ณ แผ่นดิน จิน นำกลับคืนมา ณ แผ่นดิน ซ่ง พระนาง เว่ย ฮองไทเฮา ที่แท้นั้น ก็คือพระสนม เว่ยเสียเฟย (งุ่ยเฮี่ยงฮุย) ในพระเจ้า ซ่งเฟยจง พระนางทรงถูกกวาดต้อนไปใช้ชีวิตที่ตกระกำลำบากยากเข็ญทางแผ่นดินตอนเหนือ เมื่อศักราช ชินคัน (เช็งคัง) ปีที่ 2 มนรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งจินจง พ.ศ. 1670 พระนางทรงทอดพระเนตรมายังแผ่นดิน เจียนหนาน (กังน้ำ) ทางใต้ทุกวี่ทุกวัน เพื่อทรงรอคอยว่า สักวันหนึ่ง พระราชโอรนสของพระนาง คือพระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงนำกองทัพของราชวงศ์ ซ่ง มาพิชิตแผ่นดินทางตอนเหนือ เพื่อช่วยปลดปล่อยพระนางและพระประยูรญาติ กลับไปยังแผ่นดินแม่อันอุดมสมบูรณ์ แต่ความฝันของพระนาง ย่อมแตกสลายไปตามกาลเวลา จนกระทั่งถึงวันที่ได้รับพระราชโองการจาก อ่องแต้ ของราชวงศ์ จิน ทรงพระอนุญาติให้พระนางทรงเดินทางกลับแผ่นดิน ซ่ง ได้ ในขณะนั้น ได้มีพระประยูรญาติมาตามส่งเสด็จพระนางจำนวนมาก รวมทั้งพระเจ้า ซ่งจินจง ซึ่งในพระวัยเพียง 41 พรรษา แต่แลดูพระองค์ทรงมีพระเกศาขาวโพลนทั่วพระเศียรดั่งตาเป๊ะแก่ ๆ คนหนึ่ง พระเจ้า ซ่งจินจง ทรงพระกรรแสงร่ำไหด้วยความโสกาอาดูรอยู่รอบข้าง ๆ พระราชรถของพระนาง เว่ยฮองไทเฮา ทรงตรัสว่า
“ไทเฮาทรงโชคดี สามารถกลับคืนไปยังพระราชสำนักครั้งนี้ กระหม่อขอฝากความทไปยังน้องที่ 9 (หมายถึงพระเจ้า ซ่งเกาจง) และท่านมหาอำมาตย์ ฉินไกว้ (ฉิ่งไกว่) ให้เป็นธุระเจรจากับ ฮ่องเต้ แห่งราชวงศ์ จิน ขอให้ทรงปลดปล่อยกระหม่อมกลับคืนไปยังแผ่นดิน ซ่ง กระหม่อมขอยินยอมเป็นเพียงขุนนางเล็ก ๆ คนหนึ่งในพระราชสำนัก ซ่ง เท่านั้นก็เพียงพอ กระหม่อมไม่ขอปราถนาเป็น ฮ่องเต้ หรือเป็นใหญ่ในพระราชสำนัก ซ่ง อีกแล้ว”
พระนาง เว่ย ฮองไทเฮา ทรงเห็นสภาพที่น่าสมเพชและน่าสงสารของพระเจ้า ซ่งจินจง เข่นนี้ ทรงรู้สึกเศร้าพระทัยยิ่ง สักครู่ ก็มีพระสนม เฉียวกุ้ยเฟย (เคี่ยวกุ้ยฮุย) ทรงแหวกกลุ่มพระประยูรญาติออกมา เข้าเฝ้าพระนาง เว่ย ฮองไทเฮา ด้วยน้ำพระเนตรนองพระพักตร์ แต่มิอาจตรัสคำพูดอันใดออกมา พระนางและพระนาง เว่ย ฮองไทเฮา ทรงมีอัชฌาสัยรักใคร่กันดุจพี่น้องคลานตามกันมา พระนางทั้งสองทรงถูกส่งตัวิข้าวังเป็นนางในในสังกัจของพระนาง เจิ้น ฮองเฮ่า ทรงปรนนิบัติ ทั้งสองพระนางต่างให้ปฏิญาณต่อกันว่า ถ้าฝ่ายใดได้ดิบได้ดี จักชักนำอีกฝ่ายหนึ่งให้ได้ดีด้วย ภายหลัง พระสนม เฉียวกุ้ยเฟย ทรงเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้า ซ่งเฟยจง พระนางทรงการาบทูล ฮ่องเต้ แนะนำพระนาง เว่ย ฮองไทเฮา จนกระทั่งพระนาง เว่ย ฮองไทเฮา ทรงเป็นที่โปรดปรานอีกพระนางหนึ่ง ทรงแต่งตั้งให้เป็นพระสนม เสียนเฟย พระนางจึ่งทรงสามารถให้กำเนิแก่พระราชโอรสเจ้าคันหวาง จ้าวเกา
พระสนมทรงกรรแสงอยู่ชั่วครู่ แล้วทรงล้วงทองคำจากพระอุระจำนวน 50 ตำลึง มอบแก่ราชทูต จิน ที่ตามส่งเสด็จ เกากู้อัน (กอกู่อัง) ทรงตรัสกำชับว่า
“เงินทองเลฌ็กน้อยเช่นนี้ ยังมิเพียงพอต่อการคารวะท่านนายทัพ แต่ข้าน้อยขอความเมตตาจากท่าน ช่วยดูแลพี่สาวของข้าน้อยในระหว่างทางด้วย”
แล้วพระนางก็ทรงกล่าคำอำลาต่อพระนาง เว่ย ฮองไทเฮา ว่า
“ขอพระพี่นาง โปรดรักษาสุขภาพ เพื่อที่จักได้เป็นพระนาง ฮองไทเฮา ณ พระราชสำนัก ซ่ง ส่วนน้องที่อยู่ทางนี้ แม้นมิมีวาสนากลับแผ่นดน ซ่ง หากตายลงทิ้งร่าง ณ นอกแผ่นดินใหญ่ แต่ดวงวิญญาณของของ จักพยายามกลับคืนแผ่นดิน ซ่ง ให้จงได้”
เมื่อตรัสจบ น้ำพระเนตรก็ไหลนองอาบทั่วพระพักตร์ พระนาง เว่ย ฮองไทเฮา ก็ทรงพระตื้นตัน น้ำพระเนตรหลั่งไหลออกมาเช่นกัน พระนางทั้งสองทรงจับพระกรบีบกันซึ่งกันและกัน ต่างอำลากันด้วยความอาลัยอาวรณ์
ขณะที่เดินทางนั้น เป็นเวลากลางฤดูร้อน แสงแดดสาดส่งร้อนเจิดจ้า ทหารราชวงศ์ จิน ที่ตามส่งเสด็จ ไม่เคยชินกับอากาศที่ร้อนอบอ้าวเช่นนี้ พากันบ่นพึมพำ การเดินทางล่าช้ามาก พระนราง เว่ย ฮองไทเฮา ทรงเกรงว่า ทหารราชวงศ์ จิน จะเปลี่ยนใจ มิยอมส่งพระนางกลับถึงแผ่นดิน ซ่ง จึ่งทรงทำทีว่าทรงพระประชวร เนื่องจากภูมิอากาศเป็นเหตุ แต่แล้วพรีะนางก็ทรงแอบยืมเงินแท่งจากนายทัพ เกากู้อัน 3,000 ตำลึง มาติดสินบนททหารราชวงศ์ จิน ทหารราชวงศ์ จิน ต่างพากันดีใจ ไม่กลัวอากาศร้อนอีกต่อไป พากันเร่งวันเร่งคืนในการเดินทาง
เมื่อเดือนที่ 8 พระนาง เว่ย ฮองไทเฮา ก็เดินทางมาถึงเมือง หนินอัน (นิ่มอัง ของแผ่นดิน ซ่ง พระเจ้า ซ่งเกาจง พร้อมด้วยเหล่าขุนนางทั้งฝ่าย บู้ ฝ่ายบุ๋น ต่างพากันเดินทางมาต้อนรับ แม่ลูกยามพบปะกัน ต่างกลั่งน้ำพระเนตรต่อกันด้วยความโทรมนัสและโสมนัส พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงกราบไหว้พระโกฏิ์บรรจุอัฐิของพระราชบิดา และพระนาง เจิ้น ฮองไทเฮา ด้วยความเศร้าโศก พระองค์ทรงยิ่ง้ศร้าพระทัย เมื่อทรงทอดพระเนตรเห็นพระโกฏิ์อีกอันหนึ่ง และเมื่อทรงทราบว่า เป็นพระโกฏิ์ที่บรรจุพระอัฐิของพระมเหสีของพระองค์เอง พระนาง ซิ่น ฮองเฮา
ทรงพระกรรแสงอีกชั่วครู่ จึ่งทรงตรัสกับเหล่าขุนนางทั้งหลายว่า
“ข้า ตั้งแต่เป็น ฮ่องเต้ มา มีความคิดถึงนางอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เป็นเวลานานถึง 16 ปี หารู้ไม่ว่า นางตายร้ายดีประการใด จวบปัจจุบันจึ่งได้รับข่าวร้ายนี้ ความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยาของเราแต่เก่าก่อน ทำให้ข้ารู้สึกสะเทือนใจยิ่ง”
บรรดาขุนนางทั้งหลาย นำโดยมหาอำมาตย์ ฉินไกว้ ต่างทูลปลอบโยนพระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงคลายพระเศร้าโศก ดั้งนั้น ทรงให้บรรจุพระอัฐิของพระนาง ซิ่น ฮองเฮา ไว้ข้างพระศพของพระนาง เสิ่นเสี้ยน ฮองไทเฮา (เสียเฮี้ยง อ่วงไท้โหว) และพระนาง เมิ่น (เม้ง) ฮองเฮา ในพระเจ้า ซ่งจิ๊จง (ซ้องเตียกจง)
พระนาง ซิ่น ฮองเฮา พระบิดาคือ ซิ่นฮว่าง (เฮี่ยฮ่วง) เป็นชนชาวเมือง ไคฟง (ไคฮง) พระเจ้า ซ่งเกาจง ขณะทรงดำรงค์พระยศเป็นเจ้า คันหวาง พระเจ้า ซ่งเฟยจง พระราชบิดา ทรงเลือกพระสุนิสาให้พระองค์ ดำรงค์พระยศเป็น เจียกว๋อฟูหยิน (เกียกกฮูยิ้ง) เมื่อศักราช ชินคัน ปีที่ 1 เจ้า คันหวาง ทรงเสด็จไปทำหน้าที่ราชทูต ณ ราชอาณาจัก จิน พระองค์จำพระทัยทรงพลัดพรากจากพระชายา ศักราช ชินคัน ปีที่ 2 เจ้า คันหวาง ทรงเสด็จหนหีลงทางใต้ และทรงรับตำแหน่ง ฮ่องเต้ ในมณฑล เหอเป่ย ในขณะเดียวกัน พระชายา ซิ่น ก็ทรงถูกทหารราชวงศ์ จิน กวาดต้อนไปทางเหนือ พร้อมกับอดีต ฮ่องเต้ 2 พระองค์ ทรงถูกกักขัง ณ เมือง อู่กว๋อเฉิน (โง่ก๊กเซี้) ปีหนึ่ง พระเจ้า ซ่งเฟยจง ทรงโปรดให้มหาดเล็ผู้หนึ่งชื่อ เชาชุน (เฉ่าฮึง) ซึ่งถูกอนุญาติปล่อยตัวกลับแผ่นดิน ซ่ง พระองค์ทรงถอดพระธำมรงค์ซึ่งพระนาง ซิ่น ทรงสวมใส่ ไปถวายแก่พระเจ้า ซ่งเกาจง เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าพระนาง ซิ่น ยังทรงพระชนม์ชีพ พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงเห็นพระธำมรงค์ ทรงผินพระพักตร์ไปทางด้านทิศเหนือ ทรงมีพระราชโองการแต่งตั้งพระชายา ซิ่น เป็นพระนาง ซิ่น ฮองเฮา แต่พระนาง ซิ่น ฮองเฮา ดวงชะตายังทรงโชคร้าย พระนางทรงเป็น ฮองเฮา ในฐานะเชลยศึกอีกได้มินาน ก็ทรงสิ้นชีพตักสัยเสด็จสวรรคต เมื่อศักราช เจ้าซิ่น ปีที่ 9 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเกาจง พ.ศ. 1682 ขณะทรงพระชนมายุ 34 พรรษา
เมื่อพระเจ้า ฉินซี่หวาง ทรงพิชิตปราบปรามเจ้ารัฐทั้งหก สถาปนาประเทศจีนเป็นเอกภาพ
แผนที่พระราชอาณาจักรของราชวงศ์ ฉินนั้นกว้างใหญ่ไพศาล ทางด้านทิศตะวันออกมีอาณาเขตติดชายฝั่งทะเล ด้านทิศตะวันตกติดทะเลทรายตะวันตก ด้านทิศเหนือติดทะเลทรายทางเหนือ ส่วนด้านทิศใต้นั้นเลยเทือกเขา หลินหนาน (เล่งน้ำ) ลงมาทางใต้ แต่นครหลวงเมือง เสี้ยนหยาง หาได้ตั้งอยู่ตอนกใจกลางไม่
แต่อยู่เยื้อนค่อนไปทางทิศตะวันตก นี่เป็นอุปสรรค์หนึ่งของการปกครองแผ่นดิน พระเจ้าฉินซี่หวาง เมื่อ 2,000 กว่าปีก่อนตอนที่ยังทรงพระชนม์ พระองค์ก็ได้ทรงคิดถึงจุดอ่อนข้อนี้ ทรงดำริคิดย้ายนครหลวงไปยังทิศตะวันออก แต่ด้วยความฝังรากทางวัฒนะธรรม ความเป็นมาตุภูของเมือง เสี้ยนหยาง มาแต่กำเนิด พระองคืทรงทิ้งเมือง เสี้ยนหยาง ไม่ลง จึงไม่ได้ทรงย้ายเมืองหลวง อีกประการหนึ่งตามลุ่มน้ำ ฉินชวน (ชิ่งชวง) ซึ่งห่างไปเพียง 800 ลี้ เป็นแหล่งอู่ข้าวอู่น้ำของเมือง เสี้ยนหยาง บรรดาผลผลิตต่าง สามารถลำเลียงขนถ่ายมาตามลำน้ำโดยสดวก แต่พระองค์ยังทรงหวาดหวั่นพระทัยอยู่ตลอดเวลาว่า เมืองรัฐทั้งหกเดิมที่พระองค์ปราบปรามอยู่ภายใต้อุ้งพระหัตถ์ และยังมีชนชาติต่าง ๆ ที่อยู่เลยเทือกเขา ไท่หาหนซาน (ไท้ฮั่งซัว) ไปทางทิศตะวันออก ในดินแดน ซันจง (ซัวตัง) อาจจะมีวันหนึ่งเข้มเข็งเข็งข้อต่อพระองค์ พระองค์ทรงได้พยายามตรวจตรา ขับขี่พระราชรถออกตระเวนทั่วพระราชอาณาจัก ทรงสร้างถนนหนทาง ออกพระราชบัญญัติให้บรรดารถทุกชนิดให้มีความกว้างเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อที่พระองค์เสด็จประพาสเดินทางไปมาได้สะดวก
ก่อนที่พระเจ้า ฉินซี่หวาง จะเสด็จสวรรคต พระองค์ทรงพระสุบินถึงพระราชบุตร ฉู่ชี (ฉ่อชี) ซีงเป็นพระโอรสของพระราชบิดดาเจ้า ฉินจวนเซี่ยนหวาง (ชิ่งจวงเซียงอ้วง) ว่า
“พระองค์ทรงใช้พระราชอำนาจอันโหดร้ายควบคุมแผ่นดิน ยังความรุ่งโรจน์มีหน้ามีตาให้แก่ตระกูลเมือง ฉิน เรา แต่ความรุ่งโรจน์นี้จักดำรงได้เพียง 10 กว่าปี อีกพันปีให้หลังที่ไหนจะมีแผ่นดินให้พระองค์ควบคุม”
พระเจ้า ฉินซี่หวาง ทรงไม่ยอมละทิฐิ ในพระสุบินทรงถามพระบิดาเจ้า ฉินจวนเซี่ยนหวาง ว่า มีวิธีแก้ไขอย่างไร พระบิดาตอบว่า
“พระอาทิตย์ตกทางทิศตะวันตก แต่ภายหลังพระอาทิตย์ก็ขึ้นอีกใช่ไหม”
เมื่อทรงผ่านการปรึกษาแนะนำแก้พระสุบินจากบรรดาขุนนางผู้ใหญ่ พระองค์ทรงปักพระทักว่า
พระองค์เปรียบดั่งเช่นพระอาทิตย์ เมื่อพระองค์ทรงสิ้นสวรรคตไปแล้ว แผ่นดิน ฉิน อันยิ่งใหญ่จักต้องกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ดั่งพระอาทิตย์ขึ้นอีกทางทิศตะวันออก พระองค์ทรงมีบัญชาให้สร้างประตูใหญ่ของพระสุสานหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เพื่อรับอรุณรุ่งของพระอาทิตย์ที่กลับขึ้นมาหม่ พระองค์ทรงทำพินัยกรรมให้แก่พระโอรสองค์โต เจ้าชาย ฟูซู (ฮูโซว) ให้เป็นกษัตราธิราชต่อจากพระองค์ ทรงกำชับให้ระวังพวกเจ้าและฝูงชนทาง


Create Date : 09 กรกฎาคม 2548
Last Update : 9 กรกฎาคม 2548 22:13:43 น. 0 comments
Counter : 504 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

[wisc] LUNA
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add [wisc] LUNA's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.