วันวานในสยาม...ยามนั้นและยามนี้

InSiam : From Time to Time



Group Blog
 
All blogs
 
สุสานหลวง ที่พำนักแห่งสุดท้าย พระราชนารีสยาม

 

 

บทความนี้เป็นบทความฉบับพิเศษที่ รักสยาม หนังสือเก่า ขอนำเสนอในช่วงโอกาสนี้ เพื่อเทิดพระเกียรติ พระเชษฐภคินี (แปลว่าพี่สาว) ที่พระบาทสมสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนับถือ นอกจากนั้นยัง ทรงเป็นพระกุลเชษฐ์ โดยพระชนมายุ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์  จะเห็นได้จากการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพที่จัดอย่างสมพระเกียรติ รักสยามหนังสือเก่า ขอร่วมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ พระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์  

 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี

สุสานหลวง นับเป็นสถานที่พำนักแห่งสุดท้ายของพระราชนารีสยาม พระองค์นี้  เป็นสถานที่อันเงียบสงบอยู่ภายในอาณาบริเวณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พระอารามหลวงประจำรัชกาลที่ 5

ภายหลังจากงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ในวันจันทร์ที่ 9 เมษายน 2555 เสร็จสิ้นลงนั้น  ตามหมายกำหนดการ ในวันอังคารที่ 10 เมษายน 2555 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร จะเสด็จมาทรงเก็บพระอัฐิ ซึ่งตามพระราชประเพณีโบราณปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้น พระอัฐิของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ จะแบ่งบรรจุพระโกศทองคำ 2 องค์ องค์ใหญ่เป็นของหลวง อัญเชิญเข้าพระบรมมหาราชวัง ประดิษฐานบนพระวิมาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ส่วนพระโกศองค์น้อยจะอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วังรื่นฤดี สุขุมวิท 38 ชึ่ง เป็นที่ประทับส่วนพระองค์

สำหรับ “พระสรีรางคาร” หรือเถ้ากระดูกนั้น ริ้วขบวนที่ 6 จะทำพิธีอัญเชิญไปบรรจุไว้ ณ พระอนุสรณ์ที่ชื่อว่า "เสาวภาประดิษฐาน" ในสุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ในวันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน และคาดว่าจะมีการแบ่งไปบรรจุที่พระปฐมเจดีย์ อันเป็นที่บรรจุพระราชสรีรางคารของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี เพื่อให้สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ ได้ประทับพักผ่อนร่วมกับพระบิดาและพระมารดา ณ ที่แห่งนั่น 

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในรัชกาลที่ 6 

ทรงเป็นสมเด็จย่า ในสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ 


       ส่วนพระสรีรางคารของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ ที่ต้องอัญเชิญไปไว้ที่พระอนุสาวรีย์"เสาวภาประดิษฐาน"เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ 5 กับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งพระนามเดิมคือพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ดังนั้น สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ จึงเป็นพระราชนัดดา คือ "หลานย่า" แท้ๆ ของสมเด็จพระพันปีหลวง ด้วยเหตุผลดังกล่าวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระสรีรางคารมาบรรจุ ณ ที่นี้ ร่วมกับเจ้านายในรัชกาลที่ 5 สายสมเด็จพระพันปีหลวง ซึ่งมีราชสกุลจักรพงษ์, ราชสกุลจุฑาธุช เป็นต้นนั่นเอง

สุสานหลวง  สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงโปรดให้สร้างสถูปองค์หลักไว้ 4 องค์เป็นแนวประธาน คือ พระอนุสาวรีย์สุนันทานุเสาวรีย์,พระอนุสาวรีย์รังษีวัฒนา,พระอนุสาวรีย์เสาวภาประดิษฐานและพระอนุสาวรีย์สุขุมาลนฤมิตร

 พระอนุสาวรีย์เสาวภาประดิษฐาน สถานที่บรรจุพระสรีรางคาร สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ

 พระสรีรางคารของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพชรุตม์ธำรง, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ และ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิง

พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร ประดิษฐานอยู่กลางพระอนุสาวรีย์เสาวภาประดิษฐาน 

ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้ผู้ที่มีความรักใคร่ห่วงใยอย่างใกล้ชิด คือ พระมเหสี เจ้าจอมมารดา และพระราชโอรส พระราชธิดา ได้อยู่ร่วมกัน หลังจากที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ในทั่วไปจะเป็นการสร้างอนุสาวรีย์ของพระมเหสี หรือเจ้าจอมมารดา เพื่อให้ลูกได้อยู่กับแม่ หรืออย่างน้อยในบ้านของแม่ เว้นแต่ในกรณีพระราชโอรสหรือพระราชธิดาสิ้นพระชนม์ก่อนพระมารดา ก็สร้างอนุสาวรีย์ของพระเจ้าลูกเธอพระองค์นั้นไปก่อน 

พระอนุสาวรีย์และอนุสาวรีย์ต่าง ๆ ภายในสุสานหลวง

       หรือถ้าจะกล่าวง่ายๆ คือเหมือนสร้างบ้านแม่แต่ละสายไว้ เมื่อลูกสายใดสิ้นพระชนม์ ก็จะเชิญพระสรีรางคารมาบรรจุไว้ในบ้านแม่นั่นเอง พระสถูปทั้ง 4 องค์นั้นสร้างเป็นพระบรมราชูทิศ เป็นส่วนของพระมเหสีเทวี 4 พระองค์ ต่อมาก็มีการสร้างพระอนุสาวรีย์เพิ่มเติมเรื่อยมา ด้วยลักษณะศิลปกรรมที่หลากหลาย

     การก่อสร้างอนุสาวรีย์และสิ่งอื่น ๆ ภายในสุสานหลวง โปรดเกล้าให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ทรงเป็นแม่กองกระทั่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2440 จึงโปรดเกล้าให้ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิลวรรณทรงเป็นแม่กองกำกับงานจนแล้วเสร็จ

รูปแบบของอนุสาวรีย์ในสุสานหลวงวัดราชบพิธมีหลากหลายลักษณะ ทั้งสถาปัตยกรรมไทย เช่น พระเจดีย์ พระปรางค์ วิหาร พระปรางค์แบบขอม อาคารแบบโกธิก และอนุสาวรีย์แบบยุโรป ปัจจุบันภายในสุสานหลวงมีอนุสาวรีย์ ทั้งสิ้น 33 อนุสาวรีย์

            สำหรับอนุสาวรีย์ที่ใช้บรรจุ พระสรีรางคาร สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ  ณ พระอนุเสาวรีย์ เสาวภาประดิษฐาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้สร้างพระราชทานแก่สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี บรมราชินีนาถ สำหรับพระราชโอรส พระราชธิดา และพระกุลทายาทในราชตระกูล  

            สำหรับพระอนุสรณ์สถานเสาวภาประดิษฐานบรรจุพระสรีรางคารพระราชโอรสและพระราชธิดาอันประสูติแต่สมเด็จพระศรี พัชรินทราบรมราชินีนาถ รวมทั้งสมาชิกบางพระองค์ใน ราชสกุลจักรพงษ์ และ ราชสกุลจุฑาธุช สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ (พ.ศ. 2421 -พ.ศ. 2430) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพชรุตม์ธำรง (พ.ศ. 2424 - พ.ศ. 2430) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ (พ.ศ. 2428 - พ.ศ. 2430) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิง (13 ธันวาคม พ.ศ. 2430 - สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ) สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (พ.ศ. 2425- พ.ศ. 2463) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย (พ.ศ. 2435 - พ.ศ. 2466) สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (พ.ศ. 2432 - พ.ศ. 2467) และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ (พ.ศ. 2468 - พ.ศ. 2554)

 ภายใน พระอนุสาวรีย์เสาวภาประดิษฐาน ซึ่งเป็นที่บรรจุพระสรีรางคาร สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ  สภาพภายในเมื่อเปิดประตูเข้าไปภายในพระอนุสาวรีย์ จะพบพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรประดิษฐานอยู่ตรงหน้า ซึ่งเปรียบเสมือนดั่งศูนย์กลางขององค์สถูป หากเราเลี้ยวขวาจะเป็นที่เก็บพระสรีรางคารสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ ซึ่งเมื่ออัญเชิญไปบรรจุแล้วจะมีแผ่นหินอ่อนแกะสลักมาปิดทับอีกชั้นหนึ่ง และด้านหน้าแผ่นหินอ่อนจะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางโปรดอสุรินทราหู หรือ ปางไสยาสน์ หรือ ปางปรินิพพาน อยู่ในพระอิริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนยรอบรับ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร (พระประจำวันเกิด) นั่นเอง

พระพุทธรูปประจำพระชนมวารปางไสยาสน์ และ แผ่นหินอ่อนแกะสลักพระนามสำหรับบรรจุพระสรีรางคารสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ

สุสานหลวง สถานที่อันเงียบสงบแห่งนี้ จึงเป็นที่พำนักแห่งสุดท้าย ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ พระราชนารีสยาม ผู้เป็นดั่งดวงแก้วพระมงกุฎ ทรงเป็นขัตติยราชนารีในมหาจักรีบรมราชวงศ์ ตราบจนถึงวาระสุดท้ายของพระองค์

พระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ

ทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณในวโรกาสต่าง ๆ

 

 

ข้อมูลอ้างอิง

-          วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พระอารามหลวงในรัชกาลที่ 5.กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง.2555

-          หนังสือพิมพ์ Manager Online (//www.manager.co.th)

 *****ถ้าชอบบทความนี้สามารถ Vote ให้กำลังใจกันได้นะครับ*******




Create Date : 09 เมษายน 2555
Last Update : 9 เมษายน 2555 21:42:39 น. 6 comments
Counter : 14377 Pageviews.

 
ขอบคุณที่นำความรู้มาแบ่งปันกันนะคะ


โดย: Maganda วันที่: 9 เมษายน 2555 เวลา:21:13:13 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะ


โดย: arty IP: 125.26.106.205 วันที่: 10 เมษายน 2555 เวลา:1:46:05 น.  

 
ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ


โดย: usa1956 IP: 125.24.42.132 วันที่: 10 เมษายน 2555 เวลา:10:06:11 น.  

 
เน€เธ‚เธตเธขเธ™เน„เธ”เน‰เธ”เธต เธกเธตเธ›เธฃเธฐเน‚เธขเธŠเธ™เนŒเนเธฅเธฐเนƒเธซเน‰เธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰เน„เธ”เน‰เธกเธฒเธเน€เธฅเธขเธ„เนˆเธฐ...


โดย: duey IP: 58.11.81.140 วันที่: 12 เมษายน 2555 เวลา:21:54:14 น.  

 
ดีมากครับ


โดย: มณฑล IP: 171.7.238.55 วันที่: 23 เมษายน 2555 เวลา:21:42:38 น.  

 
ขอบคุณเช่นกันค่ะ


โดย: หน่อย ทับทิม IP: 27.55.214.136 วันที่: 20 พฤษภาคม 2557 เวลา:14:05:27 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

nuttavong
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Blog รักสยาม : เกิดขึ้นจากผู้เขียนเป็นนักอ่านและมีความหลงไหลในเสน่ห์ของหนังสือเก่า ที่บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาในอดีตตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของบรรพบุรุษของเรา ที่ได้บันทึกเรื่องราวต่างๆ ผ่านตัวอักษร และทุก ๆ ตัวอักษรได้บอกเล่าเรื่องราวของสยามบ้านเมืองของเราเมื่อครั้งอดีต และมีความเชื่อว่า "อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน" หนังสือเก่าจึงเต็มไปด้วยคุณค่าและความหมายแตกต่างกันไป เมื่อเกิดชำรุดเสียหายมีหลายคนไม่เห็นคุณค่าปล่อยให้เสื่อมสลายไปตามกาลเวลาเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากปล่อยให้เป็นอย่างนั้น ลูกหลานของเราในวันข้างหน้าอาจลืมเลือนความเป็นชาติของเรา และอาจหลงลืมความดีงามของบรรพบุรุษที่ได้สร้างรากฐานที่มั่นคงไว้

ผู้เขียนยอมรับว่าการเขียนบทความ ณ ที่นี้ได้เรียบเรียงจากหนังสือเก่าอันทรงคุณค่าหลายเล่ม ด้วยภูมิรู้ของตนเองเท่าที่มีอยู่น้อยนิด หากผิดพลาดประการใด
ผู้เขียนขอน้อมรับคำแนะนำจากท่านผู้รู้ทั้งหลายด้วยความยินดี และหากท่านจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการต่อยอดความรู้ก็จะเป็นประโยชน์สืบต่อไปในภายหน้า
Friends' blogs
[Add nuttavong's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.