Group Blog
 
All Blogs
 




 

เพิ่งเข้าใจ....ก็ในวันนี้เอง ^^

ไปปั่นจักรยานกันดีกว่า ^^
Create Date : 01 สิงหาคม 2553    
Last Update : 1 สิงหาคม 2553 11:47:55 น.
Counter : 520 Pageviews.  




 

ตำนานเพลงจีนตอน...เจ็ดดาวจรัสแสงเซี่ยงไฮ้

เกริ่น ...

เพลงจีนสมัยก่อนสงครามโลกในช่วงปี คศ.  1930 ถึง คศ.1950 

 

นี้ อาจเรียกว่าเพลงจีนยุคเซี่ยงไฮ้ ก็ได้ เพราะ เซี่ยงไฮ้ ในยุนั้น

 

เป็นเมืองที่ เจริญที่สุด เนื่องด้วยเป็นเขตปกครองพิเศษ ของฝรั่งเศส

 

ได้รับอิธิพลรวมถึงซึมซับความเจริญ ก้าวหน้ามากที่สุด เซี่ยงไฮ้มี

 

สตูดิโอบันทึกเสียง ปาเต๊ะ ที่ทันสมัย และอุตสาหกรรม ภาพยนต์

 

ที่ทันสมัย ทำนองเมืองHollywood ของจีนนั้นเอง

 

และเซี่ยงไฮ้นี่เองที่  ถือกำเนิด นักร้องและนักแสดง ผู้มีชื่อเสียง

 

โด่งดังที่สุดในตำนานวงการบันเทิงของจีน .. ขนานนามว่า

 

เจ็ดดาวจรัสแสง The Seven Great Singing Stars

( 七大歌星 qī dà gēxīng)

ได้แก่

นักร้องเสียงทอง โจวเสี่ยน 周璇  (แต้จิ๋ว จิวซ้วง)


Yoshiko Otaka 大鷹淑子 .... หลี่เซียงหลัน 李香蘭 


แสงสีขาว....  ไป๋กวง 白光 (bi guang)


กงชิวเสีย 龔秋霞 (gong Qiu xia)


ราชินีเสียงนาสิก(鼻音歌后) ...อู๋อิงอิน 吳鶯音 (Wu ying yin)


รุ้งขาว.... ไป๋หง 白虹 (bai hong)


นักร้องเสียงเงิน ..เหย่าลี่ 姚莉 (yao li)

 นักร้องเสียงทอง โจวเสี่ยน หนึ่งในตำนาน"เจ็ดดาวจรัสฟ้า" ของจีนในยุคนั้น

 หากให้เลือกเพลงที่เป็นตัวแทนตำนานที่ขับขานในอดีต

 เพลง ราตรีเซี่ยงไฮ้ 液上海 (yei shang hai) น่าจะเป็นเพลงแรกๆๆ

ที่คิดถึง...

เพลงราตรีเซี่ยงไฮ้  เป็น เพลงประกอบภาพเรื่อง

แสนคนึง  (長相思 ...  chang xiang si )  เมื่อปี คศ. 1946  คลิปนี้มีผู้

เข้าชมราวสามแสน(ขณะที่เขียน กค.ปี 53) คงยืนยันได้ถึงความนิยม

ที่ไม่ เสื่อมคลายในนักร้องอันดับแรกในตำนาน ..โจวเสียน

นักร้องแสนสวยสมญานาม นักร้องเสียงทองคนนี้....

อ่านตอนแรก  ตำนานเพลงจีน..ตอนห้างปาเต๊ะเร็คคอร์ด

//www.oknation.net/blog/chailasalle/2010/07/29/entry-5

Create Date : 01 สิงหาคม 2553    
Last Update : 1 สิงหาคม 2553 11:47:04 น.
Counter : 1134 Pageviews.  




 

คนไทยไชโย..! ...คณะกรรมการมรดกโลกเลื่อนพิจารณาแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารเป็นครั้งหน้า

คนไทยไชโย...

คณะกรรมการมรดกโลกมีมติให้เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารของเขมรไปเป็นการประชุมครั้งหน้า

ทั้งนี้ ไทยและเขมรประชุมนอกรอบถึง 2 ครั้งแต่ไม่มีข้อตกลงร่วม

ดังนั้น คณะกรรมการมรดกโลกจึงมีมติให้เลื่อนการประชุมวาระ แผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารไปเป็นครั้งหน้าที่ประเทศบาเรนห์

นายสุวิทย์ คุณกิตติ ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว ขอบคุณประชาชนชาวไทยที่ให้การสนับสนุนและกำลังใจและเล่าบรรยากาศการประชุมว่า

ครั้งแรกที่เจอกับประเทศที่มาล้อบบี้เราบอกว่าเอกสารพร้อมแล้วคณะกรรมการคงจะมีมติสนับสนุน

ทางฝ่ายเราคิดว่าจะมีผลกระทบเรื่องแผนที่และรายละเอียดต่างๆ จนบัดนี้ก็ยังไม่เห็นเอกสาร เค้าบอกว่าอยู่ที่ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก

เมื่อคืนนี้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรีก็ร่วมให้คำปรึกษาตลอดแม้ตอนตีสองก็ยังไม่ได้นอน

ตีห้า นายกรัฐมนตรีโทรไปแสดงความยินดีกับคณะผู้แทนไทยที่ไปทำหน้าที่

คณะทำงานได้ล้อบบี้ต่างประเทศมานานแล้ว ทำงานกันมาตลอดปี

ที่ประชุมนั้นประธานสนับสนุนให้มีการเจรจาระหว่างสองประเทศ

แต่เมื่อมีการเจรจา เราก็ต้องรักษาผลประโยชน์ของเรา รวมทั้งเรื่องเขตแดนที่จะผูกพันไปถึงอนาคต

กระทรวงการต่างประเทศ ส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงมาช่วยกันเต็มที่ รวมทั้งปลัดกระทรวงทรัพยากรฯ กระทรวงศึกษา และคณะอื่นๆอีกมากมาย รวมทั้งกรมศิลปากร

ขอบคุณภาคประชาชนที่ไปร่วมรณรงค์ในครั้งนี้ ทั้งวีระ สมความคิด ที่ออกเงินค่าตั๋วเครื่องบินไปบราซิลด้วยตนเอง ขอบคุณพลตรีจำลอง ศรีเมืองที่ออกมาช่วยประท้วงเรียกร้องต่างๆ

มติที่ประชุมออกมาว่าไม่พิจารณาเอกสารและเลื่อนการพิจารณาในการประชุมครั้งแต่อไป

ขอบคุณสามทหารเสือ เจ้ากรมแผนที่ทหารและคณะ นำเอกสารแผนที่ไปช่วยอย่างเต็มที่

เชื่อว่าหากประเทศไทยทำงานเป็นทีมแบบนี้ คิดว่างานจะสำเร็จได้ นายสุวทย์กล่าวในที่สุด

แผนที่ปราสาทพระวิหาร ในเว็บที่เป็นทางการของมรดกโลกชี้จัดถึงเขตแดนไทย/เขมร

ที่มา //www.world-heritage-tour.org/asia/southeast-asia/khmer-empire/cambodia/preah-vihear/map.html

Create Date : 01 สิงหาคม 2553    
Last Update : 1 สิงหาคม 2553 11:45:37 น.
Counter : 474 Pageviews.  




 

ดี.เอช.ลอว์เรนซ์ ...“ชู้รักเลดี้แชตเตอร์เลย์”(Lady Chatterley’s Lover) ผู้บุกเบิกนวนิยายแนว“อีโรติค”

จำไม่ได้ว่าเคยเห็นหนังสือนวนิยายแปลที่ชื่อ “ชู้รักเลดี้แชตเตอร์เลย์”  (หรือ Lady Chatterley’s Lover) ในปีไหน หรือว่าตอนที่ยังเป็นเด็กตัวเล็กๆ ตอนนั้นอายุสักกี่ขวบกันแน่ จนกระทั่งโตขึ้นมาหน่อยก็ยังเห็นหนังสือชื่อเรื่องนี้เป็นนวนิยายเล่มหนาๆ ที่เราในสมัยที่ยังเด็กอยู่นั้นไม่กล้าจับขึ้นมาอ่าน ด้วยเหตุผลสองสามประการ

อันที่หนึ่ง เพียงเห็นแค่หน้าปกของหนังสือนวนิยายเล่มนี้ที่ถูกบรรจงวาดด้วยภาพหญิงสาวสวยโพสต์ท่าทางแบบ “อีโรติค”  กลัวว่าจะมีเรื่องราวที่ไม่เหมาะสมกับวัยเด็กอย่างเราๆ ในสมัยนั้น 

แต่ก็เห็น “ผู้ใหญ่”ในสมัยนั้นต่างก็ต่อคิวกันอ่านกันไม่ขาดสาย...

แม้กระทั่งเป็นภาพยนตร์ในเรื่องเดียวกันนี้ถูกนำมาฉายในเมืองไทยในสมัยนั้นก็เหมือนจะจำได้คลับคล้ายคลับคลาว่า“เคยไปดูกับผู้ใหญ่” อยู่หนหนึ่ง (มีหลายประเทศนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์มีหลายเวอร์ชั่น)

แท้จริงแล้วเป็นเรื่องราวของสามีภรรยาคู่หนึ่ง ไม่สามารถมีความสุขในชีวิตครอบครัวได้ เนื่องจากร่างกายของสามีไม่สามารถสนองตอบความต้องการ(ทางเพศ)ให้แก่ภรรยาตนเองได้ ขณะที่มี “คนสวน”ซึ่งเป็นพระเอกที่สามารถเข้ามาเติมเต็มทดแทนส่วนที่ขาดหายไปนั้นได้

นวนิยายเรื่องราวจบลงตรงที่ คู่รักทั้งสองตั้งครรภ์ขึ้นมา กลายเป็น “ทางตัน”ที่ต้องหาทางออกให้แก่คู่สามีภรรยา

ประเด็นที่สังคมก็จับตามอง ก็คือ เมื่อทั้งภาพยนตร์และนวนิยายเรื่องนี้ออกสู่สายตาชาวโลกต่างก็ได้รับการกล่าวขวัญถึงในแง่ของศีลธรรม ความเหมาะสมของเนื้อหา ไม่นับรวมภาพนำเสนอผ่านสายตาผู้ชมทั่วโลกในแนว “อีโรติค” หรือบางประเทศเข้าขั้นก็เรียกว่า “นู้ด หรือ โป๊”

ในอดีตเรื่องแบบนี้นั้น  มนุษยชาติทุกชนชาติศาสนาล้วนมีความรู้สึกที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างมาก กล่าวกันว่า “ศีลธรรม” หรือระดับของความหยาบคายทางเพศที่สะท้อนออกมาในรูปของวรรณกรรมหรือภาพยนตร์

ซึ่งแตกต่างจากสมัยนี้ ที่อาจมีความหยาบคายสูงกว่ามาก แต่มนุษยชาติกลับรู้สึกว่าเป็นเรื่องปกติ

 ................................................................................

ผู้เขียนมีเจตนานำเสนอเรื่อง “ชู้รักเลดี้แชตเตอร์เลย์” ( Lady Chatterley’s Lover) นี้เพื่อให้ผู้อ่านเกิดการเปรียบเทียบย้อนหลังไปทบทวนหาความแตกต่างของศีลธรรมในอดีต เพื่อให้เห็นถึงความเปลี่ยนไปของสังคมไทยและสังคมโลก

รวมทั้ง ทิศทางแนวโน้มของภาพยนตร์ไทยที่กำลังสะท้อนให้เห็นถึง “ศิลปะ” ที่กำลังเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกเช่นเดียวกันนั้น

ผู้ที่สนใจวรรณกรรมเรื่องนี้น่าจะยังสามารถหาซื้อได้ตามร้านหนังสือเก่าแถวตลาดหนังสือจตุจักร

ส่วนผลงานที่เป็นภาพยนตร์นั้น ยังสามารถหาชมได้ทาง www.youtube.com  ยกเว้นเวอร์ชั่นปี ค.ศ. 1981 (ซึ่งเก่ากว่า)ที่ไม่สามารถดาวน์โหลดมาชมได้ เนื่องจากเป็นงานที่มีเจ้าของดูแลลิขสิทธิ์นั้นอยู่

นอกจากนี้เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ก็เป็นเพลงที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก คุ้นหู้ผู้อ่านเลยทีเดียว 

...........................................................

ชู้รักเลดี้แชตเตอร์เลย์ ( Lady Chatterley’s Lover) นั้น เป็นงานเขียนของ  เดวิด เฮอร์เบิร์ต ( ดี.เอช.ลอว์เรนซ์ )   ผู้แปล แอนด์ เป็นนามปากกาที่ใช้ในด้านงานแปล  ของ “สด กูรมะโรหิต” ท่านเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงในอันดับต้นๆ ของบ้านเราอยู่หลายเรื่อง เช่น "ปักกิ่งนครแห่งความหลัง" "คนดีที่โลกไม่ต้องการ" "เมื่อหิมะละลาย"

ประวัติของ เดวิด เฮอร์เบิร์ต์ (ดี.เอช.) ลอว์เรนซ์ เกิดเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1885 ในหมู่บ้านทำเหมืองแร่ เมืองนอตติ้งแฮมไชร์ ประเทศอังกฤษ บิดาของเขาเป็นคนงานเหมืองถ่านหินที่ไม่รู้หนังสือ ส่วนแม่เป็นผู้ดี แต่มีความตั้งใจอย่างเด็ดเดี่ยวที่จะยกระดับลูกๆให้พ้นจากชนชั้นแรงงาน ชีวิตแต่งงานของพ่อแม่ไม่มีความสุขนัก และการเรียกร้องทางอารมณ์ของแม่ที่มีต่อลูกชาย ได้กลายเป็นพื้นฐานความคิดในด้านลึกที่สำคัญสำหรับลอว์เรนซ์ในการเขียนเรื่อง “Sons and Lover” (1913) นวนิยายแนวอัตชีวประวัติที่มีความสำคัญมากที่สุดเล่มหนึ่งของศตวรรษที่ 20  

ลอว์เรนซ์ จบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตี้คอลเลจ เมืองนอตติ้งแฮม ในปี 1908 และเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนชายอยู่สองสามปี ในปี 1912 เขาลาออกจากอาชีพครูเมื่อนวนิยายเรื่อง The White Peacock เป็นนวนิยายเรื่องแรกของเขาได้รับการตีพิมพ์

เพื่อเป็นการอุทิศตัวเองให้กับการเขียน และเพื่อหนีตามผู้หญิงที่เคยแต่งงานแล้วและมีลูกติดมาด้วยถึง 3 คน เธอชื่อ ฟรีเอดา วอน ริชโธเฟน ซึ่งเป็นน้องสาวของ  บารอนนิช โธเฟน เขาเป็นนักบินชาวเยอรมันที่มีชื่อเสียงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และเป็นภรรยาของศาสตราจารย์ที่สอนภาษาฝรั่งเศสให้แก่ลอว์เรนซ์ที่นอตติ้งแฮมอีกด้วย

การหนีตามกันของชายหญิงคู่นี้ เป็นจุดเริ่มต้นชีวิตของความขัดแย้งทางความคิดของลอว์เรนซ์ตลอดชีวิต ทั้งต้องต่อสู้กับศีลธรรมในใจตัวเอง และชาวบ้านที่ทราบข่าวก็ไม่ยอมรับสถานะของพวกเขาทั้งสอง   

                เมื่ออ่านชีวประวัติของ ลอว์เรนซ์ มาถึงบรรทัดนี้แล้ว ...คาดเดาได้คำตอบไม่ยากนักต่อเนื้อหาเรื่องราวใน ชู้รักเลดี้แชตเตอร์เลย์  ที่ ลอว์เรนซ์ สะท้อนถึงการหาทางออกให้แก่ตัวละครในเรื่อง แน่นอนว่าเนื้อหาเรื่องราวทั้งหมดย่อมกระทบต่อศีลธรรมจรรยาของผู้คนทั่วไปก็ตาม  เช่นเดียวกับวิถีชีวิตของเขาที่ประสบในตอนนั้น

จึงอาจกล่าวได้ว่า เรื่องราวของ ชู้รักเลดี้แชตเตอร์เลย์  นั้นเป้น หน่อของความคิดที่ผิดศีลธรรมจรรยาที่ถ่ายทอดและกระทบกระเทือนจิตใจมนุษย์ที่อ่อนไหวนั้นเรื่อยมา จนถูกถามหาในยุคสมัยปัจจุบัน.....?

ในปี 1915 ผลงานยอดเยี่ยมของเขาเรื่อง “The Rainbow” (เรื่องในลำดับที่ 4) ก็ถูกแบนเช่นเดียวกับนิยายแนวเดียวกันอีกเล่มคือ “Women in love” (1920)ที่พูดถึงอารมณ์เพศอย่างตรงไปตรงมา เรื่องนี้ถูกประเทศอังกฤษแบนและสั่งห้ามเผยแพร่ในฐานะหนังสืออนาจาร หลังจากตีพิมพ์ออกมาได้เพียงหนึ่งเดือน เพราะมีการแสดงออกในทางเพศมาก จนถูกกล่าวหาว่า “เป็นเรื่องลามก”  ทำให้ลอว์เรนซ์ ต้องเดินทางออกจากอังกฤษไปอยู่อีกครั้งในปี 1919 เพื่อแสวงหาสังคมที่มีแนวคิดอิสระ ลดความวุ่นวายทางการเมืองและจิตใจแก่ตัวเขา รวมทั้งต้องการอากาศบริสุทธิ์เพื่อการรักษาสุขภาพ  

ในปี 1926 เขาอพยพไปอยู่ที่เมือง วิลลามิเรนด้า ใกล้กับเมืองฟลอเรนซ์ อิตาลี และเริ่มต้นเขียนนวนิยายเรื่อง “ Lady Chatterley’s Lover” พิมพ์ออกจำหน่ายเองเป็นครั้งแรกในปี 1929 ซึ่งเขาได้แรงบันดาลใจมาจากความสัมพันธ์ระหว่างเขากับฟรีด้า( Frieda Lawrence ) นวนิยายเรื่องนี้ถูกห้ามเผยแพร่ในฐานะหนังสือ “โป๊” ต้นฉบับที่สมบูรณ์ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดจำหน่ายอย่างถูกต้องตามกฎหมายของอังกฤษ จนกระทั่งปี 1960 บริษัทเพนกวินได้นำไปพิมพ์จำหน่ายเป็นครั้งแรก แล้วโดนดำเนินคดีสิ่งพิมพ์อนาจาร ศาลโอลด์ไบเลย์ กรุงลอนดอน พิจารณาคดีตัดสินในปีเดียวกัน โดยคณะลูกขุนพิจารณาว่า “ไม่มีความผิดตามข้อกล่าวหานั้น”  จึงได้รับการยอมรับให้มีการเผยแพร่ในที่สุด

เขาถึงแก่กรรมที่เมือง ว็องซ์ ตอนใต้ฝรั่งเศส จบชีวิตลงด้วยการเป็นวัณโรค เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 1930 มีอายุได้เพียง 44 ปี ส่วนฟรีด้า ภรรยาของเขาก็ไปแต่งงานใหม่

ข้อมูลใน //th.wikipedia.org  ระบุว่า “งานเขียนของลอว์เรนซ์สะท้อนให้เห็นถึงการลดความสำคัญของมนุษย์จากความก้าวหน้าของสมัยใหม่ และ การพัฒนาทางอุตสาหกรรม ในงานเขียนลอว์เรนซ์เผชิญหน้าหัวข้อต่างๆ ที่รวมทั้งสุขภาพทางอารมณ์ และความมีชีวิตจิตใจ, การตอบสนองอย่างธรรมชาติ (spontaneity), เรื่องเพศ และ สัญชาตญาณ   

ความเห็นของลอว์เรนซ์สร้างศัตรูหลายคน และการเผชิญหน้ากับการถูกกล่าวหา, การถูกเซ็นเซอร์ และการถูกตีความหมายอย่างผิดๆ ของงานเขียนอันเต็มไปด้วยความสร้างสรรค์ในครึ่งหลังของชีวิต ที่ส่วนใหญ่เป็นช่วงที่ลอว์เรนซ์เลือกที่จะหันหลังให้แก่สังคม ที่เรียกว่า "savage pilgrimage" เมื่อลอว์เรนซ์เสียชีวิต ภาพพจน์ของสาธารณชนต่อลอว์เรนซ์เป็นภาพของผู้สูญเสียความมีพรสวรรค์ไปกับการเขียนงานลามก (pornographer)

แต่ อี. เอ็ม. ฟอร์สเตอร์ ได้แก้ตัวแทนลอว์เรนซ์ในงานศพว่าเป็น นักประพันธ์ผู้เต็มไปด้วยจินตนาการผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดานักเขียนร่วมสมัย ต่อมานักวิพากษ์วรรณกรรมผู้มีอิทธิพลเคมบริดจ์ เอฟ. อาร์. เลวิส ได้สนับสนุนลอว์เรนซ์อย่างแข็งขัน และสรรเสริญคุณค่าของงานของเขาในด้านความมีศิลปะ และความจริงจังทางจริยธรรรม และถือว่าระดับงานเขียนเทียมเท่างานเขียนระดับคลาสสิคของนวนิยายอังกฤษ

ในปัจจุบันงานเขียนของลอว์เรนซ์โดยทั่วไปเห็นกันว่าเป็นงานเขียนของผู้เห็นการณ์ไกล และเป็นงานตัวอย่างของการเขียนแบบสมัยใหม่นิยม แม้ว่าผู้สนับสนุนสิทธิสตรีบางคนจะประท้วงทัศนคติของลอว์เรนซ์เกี่ยวกับสตรี และ เรื่องเพศในงานบางชิ้น”

....................................................................................

อ่านตอนต่อไป เรื่องย่อ “ชู้รักเลดี้แชตเตอร์เลย์” (Lady Chatterley’s Lover)



Create Date : 01 สิงหาคม 2553    
Last Update : 1 สิงหาคม 2553 11:45:11 น.
Counter : 2082 Pageviews.  




 

แกงหน่อไม้

<<
Create Date : 01 สิงหาคม 2553    
Last Update : 1 สิงหาคม 2553 11:43:54 น.
Counter : 490 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  

boyberm
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




boyberm
Friends' blogs
[Add boyberm's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.