Group Blog
 
All Blogs
 
Aging Society : เมื่อคนชราครองเมือง

loadaraiWide Soccer ShoesWide Wedding ShoesWide Width FootwearWide Width Hiking BootsWide WidthsWomans Walking ShoesWomans Wide ShoesWomen Dress SandalsWomen Dress ShoeWomen Indoor Soccer ShoesWomen Leather ShoesWomen Slip On ShoesWomen Tennis ShoeWomen Track ShoesWomen Asics ShoesWomens AthleticWomen Discount ShoesWomens Fitness ShoesWomens Golf ShoeWomen Golf WearWomens Indoor Soccer ShoeWomen Keen SandalsWomens Keen SandalsWomen Leather SandalsWomen Narrow BootsWomen Naturalizer ShoesWomens SandelsWomens Shoes SaleWomen Skechers ShoesWomen Sport ShoesWomens StoreWomens Tennis ShoeWomen Thong SandalsWomen Walking ShoeWomen Wide Dress ShoesWomen Wide Width Dress ShoesYouth Dress ShoesYouth GearYouth Soccer GearYouth Soccer LeaguesA Line Kids ShoesAddidas RunningAdio Shoes On SaleAdult Basketball LeagueAir Jordans Basketball ShoesAir ShoeAll Skate ShoesAnd ShoesAsic Tennis ShoesAsics Fencing Shoes


Aging Society : เมื่อคนชราครองเมือง



   สังคมไทยเริ่มเข้าสู่ความเป็นสังคมผู้สูงอายุตั้งแต่เมื่อปี 2548 โดยปัจจุบันมีตัวเลขผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งประเทศอยู่ที่เกือบ 11 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 7 ล้านคน ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกันแล้ว ประเทศไทยเป็นรองแต่เพียงสิงคโปร์เท่านั้น ส่วนประเทศที่มีประชากรสูงอายุต่ำสุดคือ ลาว



   ตามความคาดหมายของนักประชากรศาสตร์ จะมีจุดเปลี่ยนที่สำคัญอีกครั้งในอีก 12-13 ปีข้างหน้า เมื่อประเทศไทยมีประชากรคนชรามากกว่าประชากรเด็กเป็นครั้งแรก และอีกเพียง 20 ปีประชากรคนชราของเราก็จะเพิ่มจำนวนเป็นถึง 1 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศ เทียบได้กับสถานการณ์คนชราล้นประเทศอย่างญี่ปุ่นในปัจจุบัน



คนชรากับปัญหาทุพพลภาพทางสังคม



   มีข้อน่าสังเกตว่าชีวิตคนชราส่วนใหญ่ในสังคมไทยค่อนข้างมีปัญหาทั้งในเรื่องสุขภาพพลานามัยและทางด้านเศรษฐกิจ เพราะขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพและการวางแผนชีวิตที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนชราที่ทำงานนอกระบบประกันสังคมหรือเกษตรกร ซึ่งจะไม่มีหลักประกันช่วยเหลือยามไม่ได้ทำงานแล้ว บุคคลเหล่านี้จึงกลายเป็นภาระหนักอึ้งของลูกหลานและสังคม



   หากปัญหานี้ไม่ได้รับการดูแล วันหนึ่งประเทศไทยอาจประสบปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม มีผู้สูงอายุจะถูกทอดทิ้งเป็นจำนวนมากเหมือนกับที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมใหญ่ๆ หลายแห่งทั่วโลก



เตรียมตัวแก่อย่างมีความสุข



   ขอยกข้อคิดบางส่วนจาก “ฉันจะเป็นผู้สูงอายุที่มีความสุข” โดย ศ.นพ. เสนอ อินทรสุขศรี ที่เขียนไว้เพื่อเผยแพร่ในงานวันผู้สูงอายุแห่งชาติ มาเป็นแนวทางดังนี้



   “เมื่อฉันเข้าสู่วัยสูงอายุ...




  • ฉันจะไม่มัวนั่งคิดว่าตัวเองแก่ แต่จะดำรงตนให้เป็นประโยชน์ด้วยการให้คำปรึกษาแก่คนหนุ่มสาว
  • ฉันจะไม่คอยแต่รบกวนใครๆ เขาจนเกินไป และจะไม่คิดมากให้ลูกหลานระอาใจ
  • เมื่อมีปัญหา ฉันจะไม่อวดดี และจะยอมรับฟังคำแนะนำของผู้อื่น
  • ฉันจะนึกเสมอว่าชีวิตกับงานเป็นของคู่กัน จะไม่มัวนั่งๆนอนๆ แต่จะหางานที่สามารถทำได้ตามกำลังเพื่อช่วยให้เกิดสุขทางใจและแบ่งเบาภาระลูกหลาน
  • ฉันจะคิดเอาไว้เสมอว่า “อายุ” ไม่ใช่อุปสรรคที่จะทำให้ฉันเลิกเคารพนับถือตนเองและผู้อื่น
  • ฉันจะคิดว่าพวกลูกๆ หลานๆ อาจไม่อยู่ใกล้ชิดหรืออยู่ร่วมภายในบ้านกับฉันได้ เพราะพวกเขาต้องมีครอบครัวของตัวเอง
  • ฉันจะเตือนตัวเองเสมอว่าอย่าเอาแต่ใจ
  • ฉันจะเตือนตนเองเสมอว่าอย่าเก็บตัวเงียบๆ เพราะการอยู่อย่างเหงาหงอยเปล่าเปลี่ยวทำให้ทุกข์
  • ฉันจะคิดเอาไว้เสมอว่าฉันต้องเข้ากับใครๆ ให้ได้ทุกคนและฉันจะไม่จริงจังกับชีวิตมากเกินไป...

พร้อมดูแลและมอบสุขให้ผู้สูงวัย



   การดูแลผู้สูงอายุในบ้านให้อยู่ดีมีความสุข เป็นหน้าที่ลูกหลานพึงกระทำ แต่ยุคสมัยเปลี่ยนไปผู้คนมีเวลาน้อยลง หลายครอบครัวจึงต้องหาคนมาช่วยดูแลคุณพ่อคุณแม่ อาจเป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีความรู้ด้านการดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะ ผู้เชี่ยวชาญจากสถานบริบาล หรือแม้แต่ติดต่อไปยังสถานพยาบาลของรัฐบางแห่งที่มีบริการดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะก็ได้ หลักการง่ายๆ ในการดูแลผู้สูงอายุในบ้าน เริ่มจาก




  1. ลูกหลานต้องเปลี่ยนทัศนคติต่อคนสูงอายุ ไม่คิดว่าท่านเป็นภาระ หากแต่เป็นบุคคลที่ควรเคารพรัก
  2. หากลูกหลานมีเวลาดูแล แต่ขาดความรู้ความชำนาญในการปฐมพยาบาลหรือมีปัญหาเรื่องการปรับตัวเข้าหาผู้สูงอายุ ลองติดต่อสอบถามโรงพยาบาลของรัฐใกล้บ้านเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมได้
  3. หากลูกหลานไม่มีเวลาดูแลด้วยตัวเอง ควรจ้างพยาบาลหรือผู้เชี่ยวชาญ อาจจ้างประจำเป็นรายเดือนเพื่อดูแลตลอด 24 ชั่วโมง หรือจ้างเฉพาะเวลาที่ลูกหลานไปทำงานก็ได้ แต่จะเลือกแบบไหนนั้นควรดูจากสภาพของผู้สูงอายุเป็นหลัก หากท่านยังมีแข็งแรง พอช่วยเหลือตัวเองได้ การจ้างบุคลากรจากสถานบริบาลมาช่วยเป็นหูเป็นตาก็น่าจะเพียงพอ ส่วนผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวและช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ควรจ้างทีมพยาบาลวิชาชีพมาดูแลจะปลอดภัยและมั่นใจได้มากกว่า
  4. ค่าบริการจะแตกต่างกันไปตามสถานประกอบการและอาการของผู้สูงอายุ แต่โดยทั่วไปในรายที่ไม่ได้เจ็บป่วยรุนแรง และยังช่วยเหลือตัวเองได้ ค่าใช้จ่ายจะอยู่ราวหลักพันต่อเดือน ทั้งนี้ควรหาข้อมูลเปรียบเทียบราคา การบริการ รวมทั้งใบอนุญาตเพื่อประกอบการตัดสินใจ

   แม้ภาวะคนชราล้นประเทศเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นแน่นอนในอนาคตอันใกล้ แต่ถ้าทุกครอบครัวมีการรับมือที่ดี ด้วยการดูแลพ่อแม่ที่แก่เฒ่าให้มีความสุข สุขภาพจิตดี สุขภาพกายดี ไม่เพียงช่วยลดปัญหาสังคมลงได้ในระดับหนึ่ง แต่ผู้ชราเหล่านี้ยังจะเป็นกำลังสำคัญในการดูแลบ้าน ดูแลลูกหลาน ช่วยลดภาระและความกดดันของคนวัยทำงานได้อีกมากมาย




 



อ่านเพิ่มเติมในคอลัมน์ Health นิตยสาร Health & Cuisine ปีที่ : 8 ฉบับที่ : 90 เดือน
: กรกฎาคม 2551






From: //healthandcuisine.com/health.aspx?cId=7&aId=1141


Create Date : 14 มกราคม 2553
Last Update : 14 มกราคม 2553 2:31:45 น. 0 comments
Counter : 496 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Loveaddicted8
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Loveaddicted8's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.