อย่านิ่งเฉย... จงพัฒนาตัวเองตลอดเวลา
 
14. การใช้ Excel ในตำแหน่งงานต่างๆ (นักวางแผนการเงิน4)


ก่อนอื่นผมต้องขออภัย !! Smiley
สัปดาห์กว่าๆที่ผ่านมา ผมต้องทำ workshop ให้ 2 บริษัทพร้อมกัน
ทำให้หมดพลังและเวลาไปกับมันมาก  เลยเขียนบทความล่าช้าฯ



แต่ว่าข้อดีของการทำ workshop ก็มีประโยชน์มาก
เพราะช่วยให้งานของแต่ละที่ ทะลุข้อจำกัดเดิมๆ และสามารถสร้างความสามารถในการวิเคราะห์
และนำข้อมูลประโยชน์ไปใช้ได้วางแผนและพัฒนางานได้อย่างมาก


กลับมาต่อที่เนื้อหาเดิมนะครับ

ผมให้เห็นภาพไปแล้วว่า Financial Model มีประโยชน์อย่างไร
และ ลักษณะของ Model มีหน้าตาอย่างไร

ก่อนที่จะสอนในวิธีการทำ Financial Model


ผมอยากจะเน้นย้ำว่า!!!


คุณภาพของผลลัพธ์ (รสชาติแสนอร่อยของกับข้าว)

ขึ้นกับ วัตถุดิบ (input) และ วิธีการปรุง



พูดง่ายๆว่าถ้าอยากได้ผลลัพธ์ข้อมูลการวิเคราะห์ที่ดี ขึ้นกับว่าเราใส่ค่าอะไรลงไปในคำนวณ
ถ้าเราใส่ค่าที่ไม่ดี ไม่ใกล้เคียงความจริง  หรือ  ไม่ได้สื่ออะไรในผลลัพธ์  มันก็จะไม่เกิดประโยชน์
ขอเรียกประเด็นนี้ว่า (L1)


ในขณะเดียวกัน ต่อให้ป้อนวัตถุดิบ input หรือ assumption ต่างๆดีแค่ไหน
ถ้าเราใส่วิธีการคำนวณไม่ถูกต้อง  ผลลัพธ์ก็จะผิดพลาด การนำไปใช้แทนที่จะดีกลับส่งผลเสีย
ขอเรียกประเด็นนี้ว่า (L2)

เขียนแบบนี้หลายท่านอาจจะงง  ผมจะยกตัวอย่างเช่น

ตัวอย่างของ L1 เช่น 


เรื่องของวัตถุดิบที่ใส่ลงไปไม่ดีเช่น
ถ้าผมเป็นผู้บริหาร  ผมอยากรู้ว่า กำไรผมจะเป็นเท่าไหร่ ถ้าหากผมเพิ่มราคาสินค้าขึ้นจากเดิม 100 บาท เป็น 120 บาท

ผมก็เปลี่ยนราคาในช่องราคาใส่ 120 ลงไปใหม่  ทำให้กำไรเปลี่ยนจากเดิม 1000 เป็น 1200

แต่ปัญหาคือ  ถ้าผมปรับราคาขึ้น  จำนวนสินค้าผมยังจะขายได้เท่าเดิมหรือเปล่า???


นั่นคือเหตุผลที่บอกว่า  คุณภาพของผลลัพธ์ขึ้นกับวัตถุดิบที่ป้อน


แต่ถ้าเรามีข้อมูลในอดีต เราอาจสามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างราคาขายกับจำนวนสินค้าที่ขาย
ซึ่งสามารถผูกสูตรลงไปได้ เช่น ถ้าราคาขายเพิ่มขึ้น 10% ยอดขายจะลดลง 5%  ถ้าราคาขายลดลง 10% ยอดขายจะเพิ่มขึ้น 15%


ตัวอย่างของ L2 เช่น 

แม้วัตถุดิบดีแค่ไหน แต่ถ้าผูกสูตรคำนวณผิด หรือ ไม่ได้วางสูตรการคำนวณให้ครบถ้วน
ผลลัพธ์ก็จะไม่ใช่อย่างที่ต้องการ เช่น

กำไรก่อนภาษี 1000  หักด้วยภาษี 30%  ทำให้เหลือกำไรสุทธิ 700

เราก็ผูกสูตรว่า  กำไรสุทธิ =  กำไรก่อนภาษี x %ภาษี   หรือเขียนเป็น     A1 = B1 x C1


แต่ถ้าเราเกิดขาดทุน  ทำให้กำไรก่อนภาษี กลายเป็น ขาดทุนก่อนภาษี -1000  เมื่อไปคำนวนในสูตร A1 = B1 x (1-C1)

จะได้เท่ากับ  A1 =  -1000 x (1-30%)

ซึ่งค่าของ A1 ที่เป็นกำไรสุทธิจะเท่ากับ -700  ซึ่งผิด!!!!

เพราะถ้าขาดทุนก่อนภาษี  ก็จะไม่เสียภาษี  ขาดทุน(กำไร)สุทธิ ก็จะเท่ากับ -1000 เหมือนเดิม





ดังนั้น  ในการสร้าง Model ขึ้นมา    เราจะเห็นว่าผลลัพธ์ที่ได้จาก Model นั้น
คุณภาพขึ้นกับปัจจัยสองประการที่ว่า

โดยที่ประการที่สอง อยู่ที่ความครอบคลุม รอบคอบ ครบถ้วนของผู้ทำ และสามารถใช้ Excel สร้างขึ้นมาได้อย่างเหมาะสม
ในขณะที่ปัจจัยประการแรกนั้น  ขึ้นกับ ประสบการณ์ ความลึกล้ำ ข้อมูล ของผู้ทำผู้ดูแลผู้ใช้
ซึ่งจะค่อยๆเห็น feeling ในการป้อนข้อมูล  เพื่อจะได้คำตอบคุณภาพที่ต้องการ





หากมีำคำแนะนำ ติชม หรือ ติดต่อสอบถาม สามารถ e-mail ได้ทีี่
Smiley Smiley Smiley LeverageSkill@hotmail.com Smiley Smiley Smiley



LeverageSkill@hotmail.com




Create Date : 15 กรกฎาคม 2552
Last Update : 16 กรกฎาคม 2552 23:19:35 น. 3 comments
Counter : 541 Pageviews.  
 
 
 
 
มีประโยชน์มากๆเลยครับ
 
 

โดย: ขอบฟ้าบูรพา วันที่: 16 กรกฎาคม 2552 เวลา:13:26:09 น.  

 
 
 
คอยติดตามตลอดนะพี่ เป็นกำลังใจให้
 
 

โดย: GG IP: 124.121.251.219 วันที่: 19 กรกฎาคม 2552 เวลา:0:03:45 น.  

 
 
 
ก่อนอื่นต้องขอบคุณมากๆ เลยนะคะ ที่สละเวลามาช่วยสอนพวกเรา
ได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Business ที่ทำให้รู้สึกหูตาสว่าง
กว่ามัวไปนั่งงมแต่ Function Excel อย่างเดียวจริงๆ ค่ะ

จะคอยติดตามและเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้นะคะ

Lerverage Fanclub @^_^@


 
 

โดย: Sarajang IP: 202.91.23.4 วันที่: 20 กรกฎาคม 2552 เวลา:8:53:42 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

Leverage
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




[Add Leverage's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com