Life is a Journey.
 

Save Ngan La Sud

เคยอ่านว่ามีคนจัดอันดับ A PhD student's worst nightmare ค่ะ แล้ว NO. 1 ก็คือ การที่ งานวิจัยหาย หายแบบไม่มีทางกู้คืนไ้ด้ อาจจะแบบคอมโดนขโมย ไม่ได้ทำ hard copy เอาไว้ที่ใดทั้งสิ้น อันนี้ถือว่าซวยจริงๆ ช่วยไม่ได้เลย แก้ตัวไม่ได้อีกด้วยเพราะสมัยนี้มีวิธีป้องกันมากมาย

เราเคยมีตัวอย่างที่จำได้ดี ตอนที่เราเรียนตรีสมัยโน้น แชร์บ้านอยู่กับพี่คนไทยอีกสองคนที่เรียนโทค่ะ พี่คนนึงเป็นคนรอบคอบมาก save งานลง thumb drive ทุกครั้ง แต่วันนึงโดนขโมยกระเป๋าคอมระหว่างเดินทางกลับบ้าน ในกระเป๋าก็มีคอมและ thumb drive ที่ใช้ save งานทุกวันอยู่ แล้วพี่เค้าจะต้องส่งงาน essay ในอีก สองวันข้างหน้า สุดยอดของความโชคร้ายจริงๆเลยค่ะ ใครจะไปนึกว่าไอ้ที่เรา back up เอาไว้จะโดนขโมยไปด้วยล่ะเนี่ย

ปรากฎสองวันนั้นบ้านที่เราอยู่เป็นโรงงานทำ essay เลยค่ะ ทุกคนที่รู้จักกับรุ่นพี่คนนั้นก็มาช่วยกัน เราก็ไปตามเพื่อนๆมา พี่เค้าต้องเลิกร้องไห้ แล้วก็ pick herself up from the floor มาขีดๆเขียนสรุปใหม่ ในขณะที่เพื่อนๆน้องๆมาช่วยกันพิมพ์มาช่วยกันให้กำลังใจ บางคนช่วยไม่ได้จริงๆก็มีแก่ใจไปซื้อขนมให้ ทำกับข้าวให้ น่ารักจริงๆ เราขนาดไม่ใช่พี่คนที่คอมหายยังแอบซึ้งเลยค่ะ ปรากฎว่าสองวันก็ทำเสร็จไปส่งแบบเฉียดฉิวจริงๆ นี่แหล่ะค่ะน้ำใจของเด็กไทยไกลบ้าน--- Friend in need is a friend indeed จริงๆเลย


คะแนน essay พี่เค้าก็ออกมาดีใช้ได้ แต่ขาดไปไม่กี่คะแนนก็จะได้เกียรตินิยม เราคิดเหมือนกันว่าไอ้ essay อันที่อยู่ในคอมคงดีกว่านี้ เพราะพี่เค้ามีเวลาทำเป็นเดือนไม่ใช่แค่สองวัน

ตั้งแต่นั้นเราเลยจำฝังใจเลยว่า ต้องพยายามทำ back up ไว้เรื่อยๆ ปกติทุกวันนี้เวลาเราทำงานเรามี งานเก็บไว้หลายๆที่ดังนี้ค่ะ

1) ฉบับใน com

2) save ใน thumb drive ทุกวัน

3) save เข้า email hotmail กับ gmail ทุกวัน เผื่ออันใดอันนึงมันเจ๊ง

เราจะ save เป็นทั้ง attachment และก็อป paste เป็น text body ด้วยเลย เผื่อบางที เมลล์มีปัญหาโหลด attachement ไม่ได้ค่ะ

เวลาเรา save เราก็จะคิดชื่อ subject ไม่ออก จะ save ประมาณว่า save ngan la sud แล้วก็ตามด้วยวันที่ แฟนเราก็ชอบแซวค่ะว่าโห save เยอะจริงๆ อันนี้้พอ mail box เริ่มเต็มก็ต้องมาลบอันเก่าๆทิ้งไปบ้าง

4) hard copy print เก็บไว้ทุกบท ใส่แฟ้มเป็นอย่างดี

5) write dvd เก็บไว้ทุกปีการศึกษา

6) ตอนนี้แฟนเราซื้อ external drive มาด้วยเราก็ไปใส่ของเราไว้ด้วยค่ะ แต่อันนี้ทำนานๆที นึกออกทีก็ทำที

เพื่อนๆอย่าลืม save งานนะคะ อย่างน้อย save ไว้ สามที่ ตามข้างบน จะ save เข้า email และใช้ save ngan la sud แบบเราก็ได้ ไม่สงวนค่า




 

Create Date : 16 กุมภาพันธ์ 2552    
Last Update : 16 กุมภาพันธ์ 2552 18:11:10 น.
Counter : 346 Pageviews.  

Proof-reading. How many drafts does it take?

ปกติเวลาเขียนงานภาษาอังกฤษ เพื่อนๆต้องตรวจทานกันบ้างหรือเปล่าคะ เราต้องตรวจค่ะ และบางทีงานสำคัญๆต้องตรวจหลายรอบ ขนาดเรามาอยู่ที่อังกฤษหลายปีแล้ว ภาษาก็ดีในระดับนึงก็ไม่เว้นค่ะ เพราะเราไม่ใช่เจ้าของภาษานี่คะ มันก็ต้องมีผิดกันบ้าง ยิ่งงาน thesis ที่บางทีเป็นการอธิบายสิ่งยากๆ เช่นความคิดของเราให้คนอ่านเข้าใจเนี่ย ก็ต้องแน่ใจว่าเราสามารถถ่ายทอดสิ่งที่เราต้องการสื่อออกมาให้คนอื่นรู้เรื่องด้วย


ปกติเวลาเราเขียนงานเราก็จะตรวจทานเองอีกสองรอบเป็นอย่างน้อยค่ะ เพราะเวลาเราเขียน(พิมพ์) ตอนที่ความคิดเราลื่นไหลเนี่ยเราจะไม่สนใจภาษาเลย พิมพ์ไปเรื่อยๆ ให้ได้ปริมาณไว้ก่อน และไม่ให้เราลืมประเด็นที่เรามี

พอมีโอกาสมาตรวจทานรอบแรกเราก็จะอ่านผ่านๆ เพื่อแก้ภาษาสำนวนทั่วๆไป และ พอได้อ่านรอบสองเราก็ถึงจะมาดู grammar spelling โดยเฉพาะที่เราชอบใช้ผิดน่ะค่ะ ยอมรับเลยว่าจนป่านนี้ยังต้องมาดูเรื่องการใช้ a an the เราว่าคนไทยชอบใช้ the พร่ำเพรื่อนะเราว่า แล้วก็การเติม s ให้สัมพันธ์กับ verb และ verb กาลเวลานี่เราต้อง check อีกที ส่วนใหญ่ก็จะโอเค แต่มันก็มีหลุดมาบ้างค่ะ

พอตรวจสอบสองรอบแล้ว เราก็จะยื้มแรงคนอื่นมาช่วยอ่านอีกทีค่ะ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นคุณแฟน ( ที่ช่วยตรวจงานเรามาตั้งแต่เราไม่ได้เป็นแฟนกันจนจะแต่งงานกันอยู่แล้ว) ที่เป็น native speaker กว่าเรา อันนี้ก็จะอ่านทั่วๆไป แก้ภาษาบ้าง และดูสำนวนเราว่าเข้าใจง่ายไหม คือ ถ้าเราเขียนให้คนที่ไม่ได้เรียนสายเราเข้าใจถึงสิ่งที่เราจะสื่ออกมานี่ก็จะโอเคในระดับนึงแล้ว ถ้าแฟนไม่ว่าง เราก็จะอ่านเองค่ะ แต่ตรวจจาก paragraph หลังไปหน้า ดูแบบนี้จะจับผิดงานตัวเองได้ง่ายกว่า

ถ้าเป็นงานสำคัญๆจริงๆอย่างงานที่ต้อง publish หรือ cv เราก็จะให้พ่อของแฟนหรือเพื่อนแฟนที่เป็น experienced native speaker อ่านอีกทีค่ะ




พอเสร็จแล้วถึงจะส่งให้ซุปดู อันนี้ก็จะโดนแก้เรื่องสำนวนอีกที และก็วิจารณ์เรื่องความสอดคล้องกันของสื่งที่เาจะนำเสนอค่ะ

สรุป ตั้งแต่เริ่มเขียนจนจะได้แก้อีกรอบเนี่ยเราตรวจไป 4-5 drafts ค่ะ พอแก้อีกรอบเเล้วก็ start all over again





 

Create Date : 16 กุมภาพันธ์ 2552    
Last Update : 16 กุมภาพันธ์ 2552 17:47:13 น.
Counter : 200 Pageviews.  

ซุปนั้นสำคัญจ้ะ

หลังจากเขียนบทที่สามอันยาวเหยียด (110 หน้า) จบไป วันพุธนี้ก็จะได้นัดเจอซุปค่ะ วันนี้ยังหลั่นล้าได้อยู่ แต่พรุ่งนี้ต้องเตรียมตัวเจอเเล้ว ซุปก็คือ อาจารย์ที่ปรึกษาน่ะค่ะ ย่อมาจาก supervisor ที่อเมริกาอาจจะเรียกว่า advisor มั้งคะ เด็กไทยชอบย่อก็จะย่อจนเหลือแค่คำว่า sup น่ะแหล่ะค่ะ จนถึงทุกวันนี้ก็ไม่รู้ว่าท่านซุปทั้งหลายจะรู้กันรึยังว่าโดนเรียกกันว่าอย่างนี้

เจอซุปทีซุปก็จะให้คำปรึกษา วิจารณ์งานเขียนของนักศึกษา แต่ละคนก็จะมีสไตล์ต่างๆกันไป บางคนก็ขยันเจอจัง นัดเจอทุกอาทิตย์ โดยเฉพาะพวกเรียนสายวิทย์ เพราะอาจจะต้องทำแล็ป ต้องอาศัย skill เยอะ หรือโดนจับมาใช้ช่วยงานวิจัยซุปด้วย

ส่วนสายศิลป์นี่ก็นานหน่อย บางคนอย่างรุ่นพี่เราคนนึงนี่ส่วนสายศิลป์นี่อาจจะห่างหน่อย เจอแบบปีละครั้งก็มี เพราะซุปอาจจะยุ่ง ยิ่งท่านที่ทำงานบริหารไปด้วย หรือเดินสายประชุม สอนบ่อยๆ อีกอย่างสายศิลป์นี่ต้องอาศัยการอ่านและทำความเข้าใจเองจนความคิดตกผลึกเขียนออกมาเป็นทฤษฎีหรืองานวิจัยเนี่ยต้องทำเองค่ะ ซุปอาจจะไกด์ให้เฉยๆ ปกติก็จะเจอซุปกันทุกเดือน แต่อย่างเราตอนแรกก็เจอซุปบ่อยหน่อยเกือบทุกอาทิตย์ ต่อมาพอเริ่มเขียนแล้วก็ เจอประมาณเทอมละครั้งสองครั้ง เขียนจบบทนึงก็ส่งที ส่งแล้วก็นัดเจอนัดเเก้ที


ซุปบางคนก็โหด บางคนก็ใจดี อันนี้ก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันค่ะ ซุปโหดนี่ก็ push เราได้เหมือนกัน แต่ซุปใจดีนี่ก็บางทีก็ทำให้เราไม่เห็นจุดบกพร่องของงานเรา จนอีกทีตอนสอบ viva (สอบ defend) เพราะตอนนั้นซุปไปนั่งให้กำลังใจเฉยๆแต่เราต้องจัดการตอบคำถามเองค่ะ ซุปที่ดี คือซุปที่เข้ากับสไตล์เราได้ เพราะแต่ละคนการทำงานก็ไม่เหมือนกัน บางคนทำงานเองได้ ก็ไม่อยากให้ใครมายุ่งบ่อยๆ บางคนต้องเจอซุปบ่อยๆ ไม่งั้นงานไม่เดิน บางคนทนซุปโหดได้ บางคนก็ไม่ได้ ซุปเข้ากันไม่ได้นี่ก็อาจจะต้องเปลี่ยนซุปหรือขนาดไม่จบกันเลยทีเดียว

ซุปโหดเราเคยเจอตอนเรียนโทที่ Cambridge ค่ะ เข้าไปทีไรนี่กลับมาร้องไห้เลย แต่จริงๆนอกห้องทำงานแกใจดีนะคะ เฮไหนเฮนั่น ชวนเด็กๆไปกินเบียร์เชียร์บอลซะอีก แค่สไตล์แกโหดเฉยๆ



ซุป PhD เราใจดีจริงๆนะคะ สไตล์แกจะออก maternal หน่อยๆ ไม่ว่าเเรงๆ เราจะขอไป conference ไหน ก็อนญาต แถมบางทีช่วยดูทุนให้ด้วยเผื่อยูจะได้ไม่เสียตังค์มาก น่ารักจริงๆ เราก็ขอบคุณโชคชะตาอยู่ว่าซุปเราดี แต่ใจจริงบางที เราอยากให้ซุปเราโหดกว่านี้หน่อยนะ เพราะเราอยากให้งานออกมาดีกว่านี้ คือบางทีเราเขียนทุกวัน อ่านงานกลับไปกลับมาเพื่อแก้ไขบ่อยๆมันก็จะชิน ถ้าซุปไม่ว่าเเรงๆเราก็อาจจะคิดว่างานเรามันโอเคเเล้วทั้งๆที่จริงๆมันก็ควรจะเเก้ใหม่หรือรื้อทิ้งไปเลย เราอยากให้งานวิจัยของเรา practical เขียนออกมาแล้วมีคนเอาไปใช้ อ้างอิงได้ อยากให้มีการวิจารณ์ และสานต่อออกไปเรื่อยๆ เพราะมันเป็นอะไรที่ค่อนข้างใหม่พอสมควร ไม่ค่อยมีใครทำ Law cross กับอย่างอื่นเท่าไหร่ค่ะ งานเราคือดูการนำ Law ไปใช้ across the border และดูว่ามันมีผลกระทบกับใคร ในกี่ระดับ ดีไม่ดีอย่างไรบ้าง คืออาจจะยากเพราะเป็นการเขียนประเด็นจาก fact แทนที่จะมีประเด็นตั้งต้นและเอาไปขยายต่อ แต่ก็ ท้าทาย และถ้าทำสำเร็จ ออกมาก็เป็นสิ่งใหม่ นำไปใช้ได้ และน่าสนใจกว่า (เวลาเราขี้เกียจทำซุปก็จะพูดประมาณนี้แหล่ะ)


วันพุธต้องเจอซุปแล้ว แอบตื่นเต้นเล็กน้อย ขอให้ซุปวิจารณ์เยอะๆ หนูจะได้เอาไปแก้ ตัวแดงเยอะๆก็ได้ ขออย่างเดียว อย่าโผล่มาด้วยตัวแดงตัวเดียวด้วยคำว่า REWRITE เลยค่ะ




 

Create Date : 16 กุมภาพันธ์ 2552    
Last Update : 16 กุมภาพันธ์ 2552 17:29:53 น.
Counter : 257 Pageviews.  

So What's in your thesis?

เรียนเอกกฎหมายเหรอ ทำ thesis เกี่ยวกับอะไร?

คำถามนี้นักศึกษาปริญญาเอกทุกคนต้องเจอในการแนะนำตัว ใช่ไหมคะ เเล้วก็จะโดนถามอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แล้วทุกครั้งที่ MissDenning ต้องตอบ ความรู้สึกต่างๆ idea ต่างๆ มันจะ rush เข้ามา รู้สึกโหวงๆ เบลอๆ เหงื่อแตกพลั่ก ไม่ใช่ว่าตอบไม่ได้นะคะ แต่คิดว่าจะตอบสั้นๆได้ยังไงล่ะเนี่ย thesis ของข้าเจ้ามันมีหลายเรื่องเหลือเกิน และก็จะเบลอๆ ตอบอะไรไปโดยไม่รู้ตัว รู้ตัวอีกทีคนฟังก็จะพยักหน้างงๆทุกที


จนมีวันนึงไปประชุมกับซุปมาค่ะ (supervisor) ซุปก็บอกว่า ยูต้องบอกเค้าไปประโยคเดียวแล้วล่ะ อยากรู้เพิ่มค่อยให้เค้าซักเอา ไอเห็นยูตอบแล้ว ย้าวยาว

กลับไปคิดมาินิดนึง ตอนนี้เวลาใครถามก็จะตอบว่า

ทำเกี่ยวกับผลกระทบของการใช้กฎ food safety ของอียูในไทยค่ะ

และแล้ว ร้อยทั้งร้อยก็จะพูดว่า โห ฟังดูยากนะ เเล้วจะจบเมื่อไหร่เนี่ย??

อัีนนี้คำถามลำบากใจของเด็กป. เอก ทุกคนเลยค่ะ (แทงใจดำ) เอาจริงๆ ก็อยากตอบว่า หนูก็ไม่รู้เหมือนกันค่ะ (ทำนองว่า The more I learn the more I don't know, the more I don't know, the more I learn- ทำยิ่งรู้ว่ามีที่เราไม่รู้อีกเยอะ ยิ่งไม่รู้อีกเยอะ ก็เลยต้องยิ่งทำอีกเยอะ สรุปก็คือ จะต้องรู้ว่าเราควรหยุดทำเมื่อไหร่)

จากที่ซุปบอกนะคะ คือ จบกลางปีหน้า ใช้เวลาสามปี แต่จริงๆเราว่าซุปมองโลกในแง่ดีไปหน่อยน่ะค่ะ เราว่าสี่ปีนิดๆ แน่ะแหล่ะค่ะ

อยากทำออกมาให้สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ และอีกอย่าง issue มันก็เยอะ ทำๆไปมีกฎอียูใหม่ออกมา เปลี่ยนอีก เอ้า ต้องเขียนใหม่อีกแล้ว ประจำเลย

ว่าแล้ววันนี้ก็เขียนพอเเค่นี้ดีกว่าค่ะ วันนี้แต่เช้าก็อู้งานละ รีบๆปั่นบทนี้ให้จบ จะได้ส่งให้ซุปอ่านซะที ไว้วันหลังมาเขียนใหม่แล้วกันนะคะ ไม่นานเกินรอ

ก่อนไปฝากเวปนี้ไว้นะคะ //www.phdcomics.com/book.htm

(published โดย สำันักพิมพ์ Piled higher and deeper แปลว่ากอง (งาน) ขึ้นไปสูงๆ ยัด (เอกสาร) เอาไว้ลึกๆ

อยากบอกว่าโดนใจเด็กป.เอกมากๆ




 

Create Date : 28 มกราคม 2552    
Last Update : 28 มกราคม 2552 19:40:33 น.
Counter : 189 Pageviews.  

 
 

MissDenning
Location :
กรุงเทพฯ United Kingdom

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add MissDenning's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com