สอบเข้าคณะนิติศาสตร์ คลิ๊ก ... http://tutorlawgroup.blogspot.com/
Group Blog
 
All blogs
 
กฎหมาย และ การประกอบธุรกิจ

กฎหมาย และ การประกอบธุรกิจ

ลักษณะของรูปแบบการประกอบธุรกิจที่มีอยู่ในประเทศไทย กล่าวโดยสรุปดังต่อไปนี้

1.ประเภทข้ามาคนเดียว ประกอบธุรกิจด้วยตนเอง เป็นเจ้าของกิจการคนเดียว ส่วนใหญ่จะเป็นกิจการที่ไม่ต้องลงทุนมาก หรืออาจจะต้องใช้ทุนมาก แต่เพราะคาบช้อนเงินช้อนทองมาตอนเกิด จึงไม่ต้องพึ่งทุนของคนอื่น หรือโดยลักษณะของธุรกิจ สามารถใช้ความสามารถเฉพาะตัวได้ ได้แก่ ร้านขายของชำ ร้านขายปลีกสินค้าต่างๆ ร้านขายอาหารและเครื่องดื่ม ประเภทบริการหรือรับจ้างก็มาก เช่น ร้านตัดผม ร้านเสริมสวย ร้านรับจ้างซ่อมเครื่องมือเครื่องใช้ อู่ซ่อมรถยนต์ เป็นต้น

หากเป็นกิจการที่กฎหมายกำหนดให้ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ เช่น ร้านขายของชำ ร้านขายปลีก ขายอาหารและเครื่องดื่ม ขายเทปเพลงซีดีเพลง เป็นต้น ก็ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ซึ่งมีขั้นตอนไม่ยาก และเสียค่าธรรมเนียมเพียง 50 บาท

2.การร่วมลงทุนกับผู้อื่นจัดตั้งเป็นห้าง มีผู้ร่วมลงทุนเป็นบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันลงทุน แต่ไม่ต้องการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ภาษาทางด้านของกระทรวงพาณิชย์เรียกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ ทางด้านของกรมสรรพากรเรียกว่าคณะบุคคล

การร่วมลงทุนในห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่จำเป็นต้องลงทุนด้วยเงินก็ได้ สามารถลงทุนด้วยทรัพย์สินหรือลงทุนด้วยแรงงานก็ได้ เช่น มีที่ดินก็ให้ใช้ที่ดินเป็นสถานที่ตั้งของสถานที่ประกอบการ หรือลงทุนด้วยทรัพย์สินทางปัญญา เช่น ชื่อเสียงของเครื่องหมายการค้า โดยการยอมให้ใช้เครื่องหมายการค้า หรือลงทุนด้วยแรงงาน เช่น แรงงานในการเป็นผู้จัดการ หรือมีความสามารถในการเขียนแบบ หรือคิดค้นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยตีราคาออกมาเป็นตัวเงินก็ได้

การประกอบกิจการในรูปห้างหุ้นส่วนสามัญ การทำนิติกรรมสัญญาต่างๆ ในการประกอบธุรกิจ ต้องการทำในนามของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องร่วมลงชื่อด้วย เว้นแต่จะทำเป็นใบมอบอำนาจให้ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้ลงชื่อแทน และหากมีหนี้สินเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจะต้องร่วมรับผิดจนกว่าจะหมดหนี้โดยไม่จำกัดจำนวน

สำหรับการร่วมลงทุนประกอบกิจการที่มีการลงทุนสูง ที่เรียกว่ากิจการร่วมค้า ซึ่งเห็นได้จากการก่อสร้างโครงการใหญ่ๆ เช่น การก่อสร้างทางด่วน การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา การก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน การก่อสร้างสนามบินหนองงูเห่า มีบริษัทของคนไทยร่วมลงทุนกับบริษัทของต่างชาติ การประกอบกิจการในลักษณะเช่นนี้ ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยไว้ว่า ถือเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

3.การร่วมลงทุนในรูปแบบห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล คือ การนำห้างหุ้นส่วนสามัญดังกล่าวในข้อ 2 ไปจดทะเบียนที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะมีสภาพเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย มีตัวตนต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน ในการทำนิติกรรมสัญญาต่างๆ กระทำในนามและใช้ชื่อของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลนั้น โดยผู้ที่ลงชื่อในสัญญา คือผู้จัดการที่มีอำนาจกระทำการแทน แต่การลงชื่อไม่ได้กระทำในฐานะส่วนตัว แต่กระทำในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลนั้น

ขั้นตอนการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลไม่ยุ่งยาก ค่าธรรมเนียมคิดตามจำนวนผู้เป็นหุ้นส่วน หุ้นส่วนไม่เกิน 3 คน ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท ถ้าเกิน 3 คน เพิ่มอีกคนละ 200 บาท

ถึงแม้ห้างหุ้นส่วนประเภทนี้ จะมีสภาพเป็นนิติบุคคล แต่หากมีหนี้สินเกิดขึ้นจากการประกอบการ ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบในหนี้จนกว่าจะหมดหนี้โดยไม่จำกัดจำนวนเช่นกัน

4.การร่วมลงทุนในรูปแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด
ห้างหุ้นส่วนจำกัดคือ ห้างหุ้นส่วนที่มีผู้เป็นหุ้นส่วนสองประเภทคือ

4.1 หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ผู้ลงทุนประเภทนี้ ตั้งใจว่าหากจะต้องขาดทุนก็ยอมขาดทุนเฉพาะจำนวนเงินที่ตกลงจะลงหุ้นเท่านั้น คือหมดเท่าที่มีอยู่ในหน้าตัก ไม่ยอมขาดทุนหรือต้องรับผิดในหนี้เกินไปกว่านี้
หุ้นส่วนประเภทนี้ ลงทุนได้เฉพาะเงินหรือทรัพย์สิน จะลงทุนด้วยแรงงานมิได้ จะมีหุ้นส่วนประเภทนี้กี่คนก็ได้ แต่ต้องมีอย่างน้อย 1 คน หุ้นส่วนประเภทนี้ไม่สามารถเป็นผู้จัดการได้

4.2 หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด หุ้นส่วนประเภทนี้ จะลงทุนเป็นเงิน ทรัพย์สินหรือลงด้วยแรงงานก็ได้ แต่ถ้าห้างหุ้นส่วนจำกัดมีหนี้สินจากการประกอบกิจการ จะต้องรับผิดชอบในหนี้สินนั้นโดยไม่จำกัดเฉพาะเงินหรือทรัพย์สินที่ลงทุนเท่านั้น จะต้องรับผิดจนกว่าจะใช้หนี้หมด หุ้นส่วนประเภทนี้จะมีกี่คนก็ได้ แต่อย่างน้อยต้องมี 1 คน และเฉพาะหุ้นส่วนประเภทนี้เท่านั้นที่จะเป็นกรรมการผู้จัดการได้

5.บริษัทจำกัด
การจัดตั้งห้างหุ้นส่วน หรือตั้งบริษัท ถือเป็นสัญญาประเภทหนึ่ง มีเพียงสองคนก็ดำเนินการได้ แต่ถ้าเป็นบริษัท จะต้องมีผู้ร่วมลงทุนอย่างน้อย 7 คน ทั้งนี้อาจสรุปลักษณะสำคัญๆ ของบริษัทได้คือ
ต้องมีผู้ร่วมลงทุนในขั้นแรก หรือที่เรียกว่าผู้เริ่มก่อการอย่างน้อย 7 คน
แบ่งทุนออกเป็นหุ้น แต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่ากัน
มูลค่าของหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท
ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัด คือรับผิดในหนี้สินของบริษัท เฉพาะที่ยังใช้เงินค่าหุ้นไม่ครบ หุ้นของบริษัทนั้นสามารถชำระเพียง 25% ก่อนได้ หากต้องรับผิดในหนี้ก็รับผิดเฉพาะส่วน 75% ที่ยังไม่ได้ใช้ค่าหุ้น

ต้องจดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อจดทะเบียนจัดตั้งแล้ว มีสภาพเป็นนิติบุคคล ซึ่งมีขั้นตอนที่สำคัญ 2 ขั้นตอนคือ
การจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ ซึ่งมีสาระสำคัญคือ ชื่อบริษัท ที่ตั้ง วัตถุประสงค์ของบริษัท จำนวนทุน คือจะมีกี่หุ้น หุ้นละกี่บาท และต้องนำหนังสือบริคณห์สนธิไปจดทะเบียน ขั้นตอนต่อไปคือ ประชุมผู้ลงทุนหุ้นจัดตั้งบริษัท และเลือกผู้เป็นกรรมการของบริษัท การจัดการบริษัท ดำเนินการโดยกรรมการ ที่เลือกโดยที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น
ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิคิดตามทุนจดทะเบียน แสนละ 50 บาท แต่ไม่น้อยกว่า 500 บาท และไม่เกิน 25,000 บาท ส่วนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท คิดตามทุนจดทะเบียนเช่นเดียวกันคือ แสนละ 500 บาท แต่ไม่น้อยกว่า 5,000 บาท และไม่เกิน 250,000 บาท

6.บริษัทมหาชนจำกัด
สำหรับผู้ที่จะเริ่มต้นประกอบธุรกิจ คงยังไม่ถึงขั้นที่จะดำเนินการจัดตั้งเป็นบริษัทมหาชนจำกัด จึงขอสรุปลักษณะสำคัญๆ ของบริษัทมหาชนจำกัดไว้พอสังเขปคือ
จำนวนผู้ถือหุ้นต้องมีตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป
แบ่งทุนออกเป็นหุ้น แต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่ากัน
ไม่ได้กำหนดมูลค่าหุ้นขั้นต่ำไว้
การชำระค่าหุ้นต้องชำระครั้งเดียวเต็มมูลค่าหุ้น

บริษัทมหาชนจำกัดต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่า 5 คน และกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีที่อยู่ในประเทศไทย
ขั้นตอนการจดทะเบียนแตกต่างจากบริษัทจำกัด ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่การจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด





Create Date : 13 กรกฎาคม 2550
Last Update : 13 กรกฎาคม 2550 13:12:29 น. 0 comments
Counter : 1441 Pageviews.

hanayo_boyz
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




NEWS UPDATED!! ** hanayolaw@gmail.com **

อ่านความรู้เกี่ยวกับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

คลิ๊ก .. http://tutorlawgroup.blogspot.com ครับ

ขอบคุณสำหรับ
การติดตามและกำลังใจมากมายของทุกๆท่านครับ


หากมีข้อสงสัยหรือปัญหากฎหมาย

** อีเมลติดต่อผมได้โดยตรงครับ **

** hanayolaw@gmail.com **
หรือ
** hanayo_dona@hotmail.com **



** อยากรู้เรื่องอะไรเพิ่มเติมก็เมลมาถามได้นะครับ

** ความรู้ไม่มีที่สิ้นสุดครับ...
Friends' blogs
[Add hanayo_boyz's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.