สอบเข้าคณะนิติศาสตร์ คลิ๊ก ... http://tutorlawgroup.blogspot.com/
Group Blog
 
All blogs
 
ว่ากันด้วยเรื่องประชามติ

สัมภาษณ์ อ.ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์: ว่ากันด้วยเรื่องประชามติ


แนวคิดประชามติโดยทั่วไปเกิดขึ้นได้อย่างไร

ประชามติเป็นรูปแบบของประชาธิปไตยแบบหนึ่ง เวลาเราพูดถึงประชาธิปไตย ประชาธิปไตยคือ อำนาจในการตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่ที่ประชาชน แต่ที่ผ่านมาในการบริหารดูแลบ้านเมือง เราไม่สามารถให้ทุกคนมาดูแลจัดการบ้านเมืองได้ รูปแบบประชาธิปไตยจึงเป็นการเลือกคนมาทำหน้าที่แทน ซึ่งเรามักเข้าใจว่า การที่คนมาทำหน้าที่แทนตรงนั้นเป็นการตัดสินใจทั้งหมดแล้ว ซึ่งมันไม่ใช่ เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนัก เหมือนกับเรามอบอำนาจให้ทนายความทำสัญญาแทนเรา แต่มันก็เฉพาะเรื่อง เฉพาะกิจ การมอบให้ใครดูแลปัญหาบางอย่างให้เราจึงไม่ได้หมายความว่า เราจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวในเรื่องนั้นๆ ไม่ได้เลย เราก็ยังเป็นเจ้าของ ยังรับผิดชอบกับสิ่งที่เรามอบไป เมื่อเห็นว่าไม่ถูกต้อง เราในฐานะเจ้าของอำนาจก็ต้องสามารถเข้าไปแทรกแซง บอกว่าได้ ไม่ได้ หรือควรเป็นอย่างไร


ประเทศใดบ้างที่เป็นตัวอย่างในเรื่องการทำประชามติ


ในประเทศที่มีประชาธิปไตยเข้มแข็ง โดยเฉพาะในยุโรป เช่น สวิตเซอร์แลนด์ เป็นตัวอย่างของประเทศที่ประชาชนมีส่วนร่วม เป็นประชาธิปไตยค่อนข้างเต็มใบ ในแง่ที่ว่า ทุกเรื่องแม้จะมีระบบการเลือกตั้ง มีสภา หลายเรื่องเขาก็ยังต้องถามประชาชนก่อน ผู้แทนเขาจะมาถามก่อน อย่างจะสร้างสระน้ำในหมู่บ้านนี้ ผู้แทนในระดับท้องถิ่นเขาก็ต้องมาถามประชาชนก่อน เพราะอาจมีคนเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย อยากให้โครงการพัฒนาในชุมชนท้องถิ่นอันไหนมีความสำคัญลำดับต้นๆ ก็ต้องให้ประชาชนเป็นคนตัดสิน จะถามทุกครั้งเวลามีโครงการกิจกรรม นี่เป็นเรื่องที่เขาทำกันอย่างปกติและทำกันได้ เพราะฉะนั้นรัฐธรรมนูญก็เลยเป็นความสำคัญที่ต้องถาม

โดยทั่วไป รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดใช้บังคับเป็นกติกา และส่วนใหญ่แล้วก็ต้องยกร่างฯ โดยผู้ที่ผ่านการเลือกตั้งหรือแก้ไขโดยประชาชนมีส่วนร่วม อย่างรัฐธรรมนูญปี 40 ก็มีกระบวนการให้ได้มาโดยคนร่างมาจากประชาชนจริงๆ เนื้อหารับฟังความเห็นจากประชาชน นี่อาจเป็นเหตุให้ รัฐธรรมนูญ 49 เขียนว่า ให้มีการประชามติ เพราะเห็นว่ากระบวนการร่างฯ ที่มาของผู้ร่างฯ ไม่ได้มาจากประชาชนเลย อาจจะมีปัญหาความชอบธรรมได้ ก็เลยมีข้อบัญญัตินี้ ให้รัฐธรรมนูญผ่านการออกเสียงประชามติ เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ซึ่งในสากล ถ้าผ่านเสียงประชามติ เขาก็ยอมรับกันได้ เพราะถือว่าได้รับการยืนยันว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับความชอบธรรมในการนำมาบังคับใช้กับประชาชน


ในทางสากล การตั้งประเด็นเพื่อถาม หรือตั้งประเด็นประชามติ มีตัวเลือกให้ประชาชนแค่เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบใช่ไหม


ในสวิตเซอร์แลนด์ การจัดรัฐธรรมนูญจัดทำหลายปีกว่าจะออกมาได้โดยผ่านกระบวนการปรึกษาหารือรับฟังความเห็นของประชาชนและประชามติหลายๆ ครั้ง โดยดึงประเด็นแต่ละเรื่องมาหาประชามติ และหาข้อสรุปจนได้รัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์


ขณะที่ของบ้านเราเอามาทั้งฉบับ บางคนไม่ชอบเรื่องที่มาของ ส.ว. ที่มันไม่ค่อยเป็นตัวแทนของประชาชนโดยตรงจริงๆ แต่หมวดอื่นชอบกว่ารัฐธรรมนูญ 40 โดยเฉพาะเรื่องสิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วมของประชาชน ก็เป็นวิจารณญาณของแต่ละคนที่จะชั่งว่า ข้อนี้หนักหนาสาหัสไหม ถ้าเขารู้สึกว่ามันหนักหนาสาหัสก็แล้วแต่ดุลยพินิจของแต่ละคนที่จะตัดสิน



สมมติว่าจะประชามติเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญจะประชามติเรื่องอะไร


รัฐธรรมนูญเป็นกติกาที่ทุกคนต้องใช้ร่วมกันและเป็นกติกาหลัก ในแง่อุดมคติ น่าจะเอาประเด็นเรื่องที่มาของผู้ที่จะมาบริหารปกครองประเทศ ผู้ที่จะมาตรวจสอบ รวมถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน การกระจายอำนาจ สาระหลักๆ ตามหมวดที่เขาแยกไว้ในร่างรัฐธรรมนูญปี 50 แล้วมาสรุปเป็นสาระสำคัญ แล้วจึงเอามาแจกแจงลงประชามติเป็นครั้งๆ แต่อาจต้องใช้เวลาหลายปีกว่าเราจะมีรัฐธรรมนูญประเภทนั้น ในสภาพการณ์ของบ้านเมืองเรา ดูเหมือนจะรอไม่ได้ ถ้าเช่นนั้น อาจเป็นทางออกว่า ให้มีเลือกตั้งก่อน มีผู้มาจากการเลือกตั้ง แล้วค่อยมาดูว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องเอามาแก้ไขปรับปรุงใหม่อย่างไร

ถ้าอยากจะได้อย่างที่ใจต้องการ ฉบับที่ยกร่างอยู่นี้ก็มีเปิดช่องให้ 5 หมื่นคนมีสิทธิเข้าชื่อกันขอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ ก็ทำให้มีช่องในการหายใจสำหรับกลุ่มคนที่คิดว่าไม่พอใจ แต่อยากให้มันมีการพัฒนาขับเคลื่อนไปข้างหน้า ไม่อย่างนั้นก็ไม่รู้จะทำอย่างไร





Create Date : 01 สิงหาคม 2550
Last Update : 1 สิงหาคม 2550 16:45:25 น. 0 comments
Counter : 458 Pageviews.

hanayo_boyz
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




NEWS UPDATED!! ** hanayolaw@gmail.com **

อ่านความรู้เกี่ยวกับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

คลิ๊ก .. http://tutorlawgroup.blogspot.com ครับ

ขอบคุณสำหรับ
การติดตามและกำลังใจมากมายของทุกๆท่านครับ


หากมีข้อสงสัยหรือปัญหากฎหมาย

** อีเมลติดต่อผมได้โดยตรงครับ **

** hanayolaw@gmail.com **
หรือ
** hanayo_dona@hotmail.com **



** อยากรู้เรื่องอะไรเพิ่มเติมก็เมลมาถามได้นะครับ

** ความรู้ไม่มีที่สิ้นสุดครับ...
Friends' blogs
[Add hanayo_boyz's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.