ชีวิตในฟินแลนด์ อยู่ให้เป็น ไปต่อให้มีความสุขกับการใช้ชีวิตในฟินแลนด์ ...
Group Blog
 
All Blogs
 

ประสบการณ์สอบเข้าเรียน วิชาชีพ ในฟินแลนด์

สวัสดีค่ะ 

วันนี้ป้าลีมาแชร์ประสบการณ์สอบเข้าเรียนวิชาชีพ ของ Stadin Ammattiopisto ในเฮลซิงกิ ค่ะ


หนังสือเรียกสอบเพื่อวัดระดับภาษาค่ะ

ขั้นแรกเราจะกรอกใบสมัคร ทางเว็บไซด์นะคะ



(ป้าลีไปเรียนภาษาฟินน์ ระดับ  B1.2 ที่ Edupoli ที่ ติ๊กกูริลล่ะ และครูพาสมัครในห้องเรียน)

หลังจากที่เรากรอกใบสมัครเว็บไซด์ เค้าก็จะส่งจดหมายเรียกตัวไปสอบวัดระดับภาษาก่อนนะคะ เค้าต้องการระดับ A2.2 ขึ้นไป (วิชาชีพบางสาขาต้องการสูงกว่านี้นะคะ)

เริ่มสอบ 09.00 แต่ต้องไ่ปก่อนเวลา ครึ่งชั่วโมงค่ะ
1.ไปถึงก็ต่อคิว เช็คชื่อค่ะ  ยื่น เรสซิเด้น เปอมิท หรือ พาสปอร์ต หรือ ใบประชาชน หรือ ใบขับขี่ฟินแลนด์ ก็ได้ค่ะ
2.เดินเข้าห้องสอบข้อเขียน (คนสอบประมาณ 300 กว่าคน)  ต้องเอาบัตรต่างๆ ถือในมือ และดินสอ กับ ยางลบเท่านั้น ทุกอย่างใส่กระเป๋า วางไว้ที่กำแพงห้อง มือถือปิดเครื่องให้สนิท(บางคนบอกปิดแล้วแต่ยังดังสนั่นปฐพี)
เดินไปนั่งเก้าอี้ เว้น เก้าอี้ค่ะ

เริ่มทำข้อสอบ กฏกติกามีอย่างเดียว "ห้ามช่วยเพื่อนข้างๆ"

3.เริ่มสอบข้อเขียน มี 2 ข้อ เวลา 2 ชั่วโมงครึ่ง
3.1 มีข้อความให้อ่านประมาณ 1 หน้ากระดาษ  ให้อ่านแล้วตอบคำถาม 6 ข้อ
   เป็นช้อยค่ะ ให้กากบาทเลือกอันใดอันหนึ่ง โดยอ่านจากข้อความที่เค้าให้มา
   (ข้อความเป็นศัพธ์ที่ค่อนข้างยาก และซับซ้อน ต้องฝึกอ่านเยอะๆค่ะ  และคำถามง่ายๆ เช่น ในข้อความบอกอะไร... ถามง่ายมั๊ยคะ?  แต่คำตอบช้อยจะสับสนค่ะ  เพราะว่าเจอช้อยหลอก และหลอกทุกข้อค่ะ ระมัดระวังให้ดี)

   3.2  คำสั่งง่ายๆ  ให้เขียนข้อความในกระดาษว่างๆ ที่เค้าให้มา  คำสั่งที่ว่าง่ายคือ  ให้เขียนเกี่ยวกับ ความรู้สึกครั้งแรกที่มาถึงฟินแลนด์ ง่ายมั๊ยคะ
คือ มันถามน่ะง่าย แต่ ตอบอ่ะยากชิปเป้งเลย

เพราะมันต้องตอบเป็น เทนส์ของการเวลาในอดีต ซึ่งมันจะต้องเขียนทั้ง อดีตที่จบไปแล้ว และ อดีตที่ยังคงต่อเนื่องถึงปัจจุบัน  (ดีนะที่ป้าลีลงเพจภาษาฟินแลนด์เรื่อง ของ เทนส์ต่างๆ พอดีเลย ทำให้ตอนสอบ จำได้ คริๆ  ขอบคุณบล็อคแก๊งค์)

สอบเสร็จ เอากระดาษไปส่ง ครูหลังห้องค่ะ  ซึ่งเค้าจะให้กระดาษหนึ่งแผ่นมากรอก ก่อนจะไปห้องสัมภาษณ์ และเค้าจะเขียนเบอร์ห้องสัมภาษณ์ให้เราก่อนออกจากห้อง

และก็เดินออกไปกรอกกระดาษแผ่นนั้น ซึ่งต้องยื่นให้ครูคนที่สัมภาษณ์เราค่ะ

ป้าลีได้ห้องเบอร์ 101 ค่ะ อยู่ชั้นหนึ่งของตึกนั้นแหละ (ที่อยู่ในรูปแล้วค่ะ)

4.สอบสัมภาษณ์ ตอน 12.30 ค่ะ  ต่อคิวหน้าห้องสอบ
4.1 ถามว่า มาจากใหน
4.2 เรียนที่ใหนอยู่ตอนนี้ และเรียนอะไร  ภาษาได้ระดับใหน (ก็ตอบอธิบายไป)
4.3 มีลูกหรือเปล่า แต่งงานเป็นครอบครัว อียูมั๊ย
4.4 ได้เงินสวัสดิการรัฐมั๊ย ?
4.5 แล้วทราบหรือไม่ว่า การเรียน  MAVA จะไม่ได้เงินจากรัฐนะ
4.6 ต้องการเรียนวิชาชีพ สาขาอะไร
4.7 เรียนเต็มเวลาได้มั๊ย (ระบุเวลามาให้ คือ 08.00-16.00)
4.8 เรียนจบอะไรมาจากประเทศตัวเอง

คำถามมีเท่านี้ค่ะ  ไม่ยาก  แต่มันจะยากตรงที่เราต้องตอบ และอธิบาย ซึ่งเค้าจะฟังเรา ว่าภาษาที่เราฟัง และพูดนั้น แค่ใหน

ประมาณ ไม่เกิน 10 นาทีค่ะ ก็จบสัมภาษณ์ และให้คำตอบเรามาเลยว่า สัมภาษณ์ของเราได้ระดับใหน  ซึ่งของป้าลีได้ ระดับ  A2.2 และน้องคนไทยที่สอบห้องเดียวกัน ได้ระดับ  B2 ซึ่งน้องเค้าก็เก่งจริงค่ะ พูดเป๊ะและชัด ป้าลีอิจฉาฝุดๆ)

ส่วนคำตอบข้อเขียน เค้าจะจัดส่งมาให้ที่บ้านทางไปรษณีย์ค่ะ ซึ่งป้าลีก็รอคำตอบอยุ่ตอนนี้

ส่วนตัวป้าลีคิดว่า สอบผ่านข้อเขียน แต่ถ้าป้าลีทำได้แปลว่า อีก 300 คนนั้นก็ทำได้แน่นอน อิอิ (เพราะว่าป้าลีโง่สุดแล้วแหละในระดับนั้นที่ไปสอบ อัมมัตติ)

และป้าลีระบุที่ครูสัมภาษณ์ไปเรียบร้อยเลยว่า ต้องการเรียน สาขาช่างซ่อมบ้านเท่านั้น สาขาอื่นไม่เอา และไม่เรียนให้คิวคนอื่นไปได้เลย เพื่อที่เค้าจะได้ไม่เสียเวลาที่จะจัดคนน่ะค่ะ เพราะถ้าเรียกเราแล้วเราไม่ไป เค้าต้องเรียกคนอื่นใหม่อีก

ตอนนี้ก็นั่งๆ นอนๆ รอผลค่ะ เพราะเปิดเทอมหลังปีใหม่เลย
(ป้าลีแพลนไว้ว่า ถ้าไม่ได้ จะหาสอบที่อื่น ที่เป็นสาขาช่างซ่อมบ้านเช่นกัน)


ปล. เมื่อปี 2013 ต้นปี ซึ่งป้าลีได้เข้าเรียน วิชาชีพ ที่ จังหวัด  Jyväskylä  เป็นหลักสูตรวิชาชีพ ทำความสะอาด ตลอดหลักสูตร เรียน  2.5 ปี แต่ ณ ตอนนั้นป้าลีไม่ต้องสอบเข้า เนื่องจากว่า ป้าลีเป็นศิษย์เก่าที่เรียนหลักสูตรระยะสั้นของโรงเรียนนั้นมาก่อนหน้าแล้ว 
 แต่เมื่อย้ายมาเฮลซิงกิ ป้าลีก็ไม่ได้เรียนต่อ ตลอดทั้งปี 2013 ทำให้ลืมภาษาฟินน์ไปหมดเลย  อาจเป็นเพราะว่าเราเรียนภาษาอังกฤษในช่วงนั้น(เพราะเรียนกอล์ฟตลอดปี)

ก็เลยต้องมาเริ่มเรียนภาษาฟินน์ใหม่ ต้นปี 2014 ปีนี้เองค่ะ

เพิ่มเติม... ณ 4 ก.พ.2015

ตอนนี้ป้าลีสอบเข้า stadin  ได้เรียบร้อยแล้วค่ะ เริ่มเรียน ตั้งแต่วันที่ 19 ม.ค. แล้วค่ะ (ก็เลยไม่ได้เข้ามาอัพเดทบล็อคเท่าไหร่ เพราะยุ่งๆ )

เพจหน้าป้าลีจะมาแชร์ หลังเข้าเรียนแล้วเป็นเช่นไร ติดตามต่อไปนะคะ




 

Create Date : 19 ธันวาคม 2557    
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2558 22:27:19 น.
Counter : 1991 Pageviews.  

มาอยู่ฟินแลนด์ คิดแต่จะอยากได้เงินช่วยเหลือจากรัฐ

สวัสดีค่ะ...

วันนี้ป้าลีมาแปลก... คือ กรณีหญิงไทยแต่งงานกับคนฟินแลนด์ หรือ กรณีต่างชาติเมื่อย้ายตามสามีเข้ามาอยู่ในฟินแลนด์(มีเพื่อนชาวเนปาล ติดตามสามีชาวเนปาลเข้ามาอยู่ในฟินแลนด์ และเข้าสู่ขั้นตอนการเรียนและรับเงินจาก เตื้อฯ ก็จะมีเงินช่วยเหลือในการปรับตัวจากรัฐเช่นกัน และได้ตามเกณฑ์เดียวกันกับสาวไทย ที่แต่งงานกับชาวฟินแลนด์ เช่นกันนะคะ)

คือ...มันมีสอง มุมมองนะคะ ...

1.มันเป็นสิทธิ์ของเราที่จะได้เงินช่วยเหลือในการปรับตัวเพื่ออยู่ในฟินแลนด์ จะได้เป็นระยะเวลา 3 ปีแรก และหลังจากนั้นจะถูกพิจารณาได้ต่อหรือไม่ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ของเตื้อฯ จะพิจารณาเคสของเรา (เป็นรายๆไป)

กับ

2. ไม่ขอรับเงินจากรัฐ (สาวบางนางบอกว่า สามีไม่ให้ไปขึ้นทะเบียนขอเงินช่วยจากรัฐ เพราะว่าไม่อยากได้ ให้คนอื่นไปขอเถอะ สามีนางไม่ภาคภูมิใจ  สามีนางมีแต่บริจาคเงินให้รัฐ และเค้าดูแลนางได้พร้อมช่วยเหลือครอบครัวของนางที่เมืองไทยเอง... เคสนี้ป้าลีเข้าใจคำพูดของสามีนางนะคะ ชาวฟินแลนด์เกินครึ่งรู้สึกไม่อยากเอาเปรียบรัฐ หรือเอาเปรียบใคร และรู้สึกอับอายที่จะต้องไปขอเงินช่วยจากรัฐ ตรงนี้ป้าลีรู้ว่ามีเยอะจริงๆนะคะ เพราะป้าลีเล่นกอล์ฟกับชาวฟินแลนด์บ่อย ประมาณ 200-300คน ต่อเดือน อาจจะไม่ใช่ทั้งหมดของประเทศ แต่ป้าลีก็รับรู้ได้ ว่าคนฟินแลนด์ ยังมีอีกเยอะมากๆ ที่เค้าดูถูกคนต่างชาติที่มานั่งงอมืองอตืนกินเงินภาษีของเค้า)


ตรงนี้แล้วแต่มุมมองนะคะ เพราะว่ากรณีสาวไทยเกือบทั้งหมด เมื่อแต่งงานแล้วและย้ายมาอยู่นี่แล้ว ก็จะเข้าสู่กระบวนการเรียน และออกไปสู่ตลาดแรงงาน ทำงานเสียภาษีให้รัฐอยู่ดี และประเทศก็จะได้ภาษีจากแรงงานไทย เพื่อไปช่วยเหลือคนอื่นอีกต่อไป

แต่ถ้าถามความเห็นส่วนตัวป้าลี คิดอย่างไร.... ขอตอบตามตรงเลยนะคะ  (ไม่ต้องมาแดกกันนะ ป้าลีไม่เคยมีใจจะแสดงตัวให้รุ่นน้องมาเกิดอาการหมั่นไส้)

คือครอบครัวป้าลี  สามีก็ทำงานเสียภาษีเช่นกัน เหมือนครอบครัวคนอื่นๆ และเป็นที่รุ้กันว่า คนที่นี่ทำงานถูกเสียภาษีเกือบครึ่งหนึ่งของเงินได้เลยทีเดียว(เว้นแต่ ผู้มีเงินได้ที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งก็จะเสียภาษีน้อยลงไป  แต่ก็ยังต้องเสียอยู่ดี)

และแต่ละปี สามีเสียภาษีเกิน 30,000 ยูโรแน่นอน  ส่วนเงินเรียนที่ป้าลีได้รับจากรัฐ หลังภาษีแล้ว ก็ประมาณ 10,000 ยูโร ต่อปี  ซึ่งคำนวณแล้ว ก็ยังไม่เท่ากับเงินภาษีที่ครอบครัวเราต้องจ่าย  ป้าลีก็เลยใช้สิทธิเพื่อรับเงินช่วยเหลือฯ จากรัฐ

(แต่ตอนนี้ถูกตัดเงินช่วยเหลือเรียบร้อยแล้วนะคะ สาเหตุเพราะทำผิดกฏกติกาเรื่องการเรียนของโปรแกรมจากเตื้อฯ)  ตามลิ้งค์ค่ะ

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=leejayfinland&date=23-11-2014&group=18&gblog=24




ใครยังไม่พร้อมจะถูกตัดเงิน อ่านเพื่อทำความเข้าใจนะคะ จะได้วางแผนถูก เพราะบางครอบครัวไม่สะดวกที่จะถูกตัดเงินจากรัฐน่ะค่ะ จนกว่าจะหางานได้และมีเงินซื้อข้าวกิน

และถ้าถามว่า แล้วป้าลีล่ะ ต้องทำงานเสียภาษีให้รัฐในรูปแบบใหน...  เช่นกันค่ะ  ตอนนี้ครอบครัวเรา ทำธุรกิจในบ้านประกอบกับเงินได้สามีอีกทางด้วย คือ ซื้อบ้านเก่าเพื่ออยุ่อาศัยและซ่อมไปอยู่ไป เมื่อถึงเวลาก็จะขาย และซื้อใหม่ ซ่อมใหม่ ขายออก ย้ายใหม่

วนเวียนกันไปแบบนี้ นี่คืองานของป้าลี เพราะว่างานที่เมืองไทยของป้าลีคือลงทุน ซื้อขายที่ดิน (มีสาวไทยนางหนึ่งเคยสวนป้าลี ทันที ว่า ขายนาผืนน้อยเหรอ แล้วหัวเราะชอบใจ)

เปล่าค่ะ ไม่ได้ขายนาผืนน้อย.... แต่ขายที่ดินโซนเขาใหญ่และพัทยา ...










 

Create Date : 04 ธันวาคม 2557    
Last Update : 4 ธันวาคม 2557 16:17:13 น.
Counter : 1621 Pageviews.  

เงินสวัสดิการ นักเรียน ของ ฟินแลนด์ หรือ Opintotuki

ก่อนจะไปเล่าเรื่อง ระบบการเรียนของประเทศฟินแลนด์ ป้าลีขอข้ามไปเล่าถึง เงินสวัสดิการนักเรียน นักศึกษา(ในกรณีที่ถือ วีซ่าครอบครัว Resident permit)

   เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน ป้าลีเข้าไปถาม สำนักงาน เกล่า เรื่องเงินสวัสดิการนักเรียนของเคสป้าลีเอง
   สาเหตุที่ต้องเข้าไปถามเพราะว่า ป้าลีถูกงดเงินช่วยเหลือในการปรับตัว 3 ปี ตามกฏ (ป้าลีใช้สิทธิเพียงแค่สองปี เพราะว่า ถือวีซ่านักเรียนเมื่อปี 2013)

   ทำใมถึงถูกงด(เรื่องมันซับซ้อน นิดหน่อยค่ะ)
-คือ ตอนนี้ป้าลีเข้าเรียนคอร์ส ภาษาฟินน์ ระดับ  B1.1 เป็นหลักสูตรของ เตื้อฯ
แต่จริงๆ แล้วป้าลีสอบยังไม่ผ่านระดับ  A2.1 ด้วยซ้ำ (สาเหตุเพราะกลับไทย แล้วกลับมาก็เดินเข้าห้องสอบเลย ทำให้คะแนนไม่ผ่านเกณฑ์)

   คือการจะไปเรียน ระดับ  B1.1ได้นั้นเราต้องจบ  A2.1 หรือ A2.2 เสียก่อนนะคะ เพราะว่าต่อให้ได้เข้าไปเรียนระดับที่สูงขึ้น แต่ด้วยว่า ภาษาฟินน์ เป็นภาษาชนิดพิเศษถ้าเราไม่จบจริงๆ จากหลักสูตรหนึ่ง ต่อด้วยหลักสูตรถัดไป  มันจะทำให้เรางง หนักไปหลายสเต็บทีเดียว เทวดาหน้าหล่อที่บ้านก็ช่วยเสกให้ไม่ได้ คริๆ

   แล้วทำใมป้าลี อยู่มาตั้งหลายปี แล้วยังไม่ผ่าน เอ สอง หนึ่ง อยู่ฟวะ (เรียนยังไงของแกอีป้า... ตอบ... ก็ป้าลีข้ามไปเรียนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นไง แล้วก็มาหยุดเรียนหนึ่งปี เพราะว่าถือวีซ่าผิดประเภท ทำให้โดดไปเรียนกอล์ฟแทน ซึ่งใช้แต่ภาษาอังกฤษทั้งปี ลืมภาษาฟินน์ ที่มีอันน้อยนิด )

   ทีนี้หลักสูตรบีหนึ่ง ซึ่งป้าลีตามไม่ค่อยจะทัน เรียกว่าโง่สุดในชั้นแล้วแหละ แต่ก็ยังดันตามคลาสอยุ่นะคะ  จนกระทั่ง ได้รับจดหมายจากโรงเรียนวิชาชีพแห่งหนึ่ง ในเฮลซิงกิ ชื่อ  Stadin  เรียกสอบสัมภาษณ์ และข้อเขียน ในวันที่ 9 ธันวา 2014 ก็คือ อีก หนึ่งเดือน และทางสถาบันวิชาชีพส่วนใหญ่แล้วเค้าจะกำหนดว่า ภาษาฟินน์ของเราต้องขั้นต่ำ เอ สอง สอง (ขั้นต่ำนะคะ บางสาขา กำหนดที่ บีหนึ่งด้วยซ้ำ)

  เอาล่ะสิ ทีนี้... ความซวยมาเกิด เพราะว่าอีป้า ต้องการจะเข้าเรียนต่อ ช่างซ่อมบ้านให้ได้ภายในต้นปี 2015 นี้ซะด้วย แต่ภาษายังห่วยแตก (ไปฝึกงานเป็นพนักงานขาย ก็ใช้แต่ภาษาอังกฤษ เพราะว่าภาษาฟินน์ของป้าลี ทำให้ลูกค้าหันหน้าหนี ขายของไม่ออกซะงั้น)

   ก็เลยต้องขอยกธงขาว เพื่อจะไปเรียนจริงจัง ให้จบ เอ สอง สอง ก่อนวันสัมภาษณ์ว่างั้น
   รายงานถึง เตื้อฯ เค้าบอกมาเลยว่า เตื้อฯไม่จ่ายนะคะ ถ้าคุณป้าลีจะละทิ้งหลักสูตร บีหนึ่งของทางเรา....

   ป้าลีก็เลยต้องเดินเข้า เกล่า เพื่อไปถามให้แน่ชัดว่า หลักสูตรที่อีป้าจะเรียนนี้ เกล่าจ่ายหรือไม่ และมีสวัสดิการอะไรให้อีกบ้าง  คำตอบคือ เคสของป้าลี จะได้

Opintotuki

   1.จำนวน 245 ยูโร ต่อเดือน ตรงนี้ได้ไปจนกว่าจะจบการเรียนการศึกษา(เมื่อต้นปี เคยไปถาม ได้ประมาณ   290 ยูโรต่อเดือนนะคะ หรือว่า ป้าลีจำผิดก็ไม่แน่ใจ แต่เอาเป็นว่า โดยประมาณการ ก็แล้วนะจ๊ะ) 
   2.สามารถขอยืมเงินของเกล่า ได้เดือนละ 400 ยูโร แต่เงินนี้ต้องจ่ายคืน ณ ตอนที่มีเงินได้

เงินสองส่วนนี้ สามารถขอได้ แม้ว่าจะเรียนในประเทศฟินแลนด์ หรือไปเรียนในยุโรปที่ใดที่หนึ่งก็ได้เช่นกัน  แต่ขอให้นำเอกสารมาผ่านการพิจารณาจากเกล่าก่อน

คำถามป้าลีคือ

แล้วเงินคืนตรงนี้ ดอกเบี้ยเท่าไหร่ (ตอบ...นิดหน่อย ประมาณ หนึ่ง เปอร์เซ็นต์กว่าๆ ต่อ ปี หรือต่อ เดือนไม่ทราบแน่ชัดค่ะ พอดีฟังภาษาฟินน์ไม่ได้ศัพธ์ ณ ตรงนี้พอดีเลย)

คำถามถัดมา

แล้วจะคืนเงินอย่างไร มีเกณฑ์ อย่างไร
ตอบ.... เงินคืนตรงนี้ คิดตามสภาพเงินได้ของเรา ว่าสามารถอยู่รอดได้มั๊ย หากต้องจ่ายหนี้คืนเกล่าในแต่ละเดือน

คำถาม... ต่ออีก

อ้าวแล้วถ้าเงินไม่พอคืนเกล่า ป้าลีต้องทำอย่างไร....

ตอบ... ก็มีสำนักงานช่วยเหลือ ถัดไป.... คือ โซเซียอะลิฯ (แปลว่าอะไร... ใครไม่รุ้จักโซเซียฯ หันไปถามเพื่อนข้างๆ นะคะ...)   แต่ป้าลีใบ้นิดหน่อย คือ โซเซียก็คือหน่วยงานที่ให้เงินเรา กรณีที่เงินเราไม่พอใช้จ่ายต่อเดือน และให้ฟรีด้วยค่ะ แต่ต้องไปสมัครขอรับ และเดินตามเงื่อนไขของทางสำนักงาน ...

เอ๊ะ... ก็แปลว่าถ้าเราจ่ายหนี้คืนเกล่า แล้วไปขอเงินโซเซียฯมาใช้แทน ก็เท่ากับว่าได้เงินฟรีอยู่ดี...
จริงค่ะ... เป็นไปในทิศทางนั้น แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของเค้าน่ะแหละ... ใบ้แล้วนะเนี่ย...

ส่วนสวัสดิการอื่นๆ ที่นักเรียนจะได้รับ ก็ประมาณว่า  ค่าเช่าบ้าน(ถ้าสามีเงินได้ต่ำกว่าที่กำหนด) ค่ารถ เดินทาง ค่าอาหารที่ขายให้ราคานักเรียน  ค่าบัตรต่างๆ กรณี ว่ายน้ำ หรือ ออกกำลังกาย ค่าท่องเที่ยวบ้าง เช่น กรณีมีบัตรนักเรียน นักศึกษา สามารถเข้ามิวเซี่ยม หรืออะไรต่างๆ หลายที่ฟรีในยุโรป(เค้าจะมีติดป้ายบอก ทั้งในเยอรมัน ฝรั่งเศส ออสเตรีย สวีเดน หรืออื่นๆ ก็เข้าฟรีได้ค่ะ ป้าลีเคยใช้มาแล้ว)

อ่ะ...ใครหาคำตอบอยู่ ถ้าไม่กระจ่าง หลังไมล์มาแล้วกันนะจ๊ะ...






 

Create Date : 23 พฤศจิกายน 2557    
Last Update : 23 พฤศจิกายน 2557 17:07:07 น.
Counter : 2179 Pageviews.  

หนาวขา เวลาเดินเมืองนอก แต่อยากสวย...ทำไงดี มาดูกันค่ะ



หลายครั้งที่ต้องเดินตากหิมะ  แต่อยากใส่ยีนส์ แล้วเลคกิ้งก็เอาไม่อยู่ ทำไงดี

นี่เลยค่ะ... ทำถุงเท้า กันลม  กันหิมะ 



จากรูป ถ้าเราใส่บูทด้านใน ตัวถุงเท้ากันลมก็จะสูงเหนือเข่าไปอีกนะคะ...

อุปกรณ์ ก็คือ ผ้าสีดำด้านนอก ครึ่งเมตร  และ ผ้าขนสัตว์ด้านในค่ะ ครึ่งเมตร  
ซิบแยก สองอันค่ะ ที่เหลือก็เข็มกับด้ายอ่ะนะ 



ด้านในจะเป็นแบบนี้ค่ะ  ขนสัตว์ที่เห็นจะอุ่นมาก และไม่หนานะคะ    จะเป็นลักษณะ ถอดได้  ดังนั้น แม้เราจะใส่กับ กระโปรงสั้นที่มีแค่เลคกิ้งก็เอาอยู่นะคะ 

ใช้สวมทับ กับ บูทอีกทีค่ะ (ไม่ต้องหาซื้อบูทราคาแพงๆ ด้วย เอาบูทใส่เดินน้ำแข็งแล้วไม่ลื่นน่ะค่ะ แล้วเอา ถุงเท้าชนิดนี้ สวมทับลงไป) 

แค่นี้ก็สวยได้ สบายกระเป๋าค่ะ  ราคา ทั้งหมด ไม่ถึง สิบยูโร(แพงที่ซิปค่ะ ตัวละ สามยูโร ซื้อมาจากไทยเผื่อไว้ก็ดีนะคะพวกซิปกับด้าย สีต่างๆ ) ใส่ได้ กับทุกชุดแน่นอน  ถึงที่หมายก็ถอดออกเก็บใส่กระเป๋า  จะออกข้างนอก ก็ดึงออกมาสวม ... 

เริ่ดค่ะ  ไม่ต้องสวยแบบทรมารหนาว  อิอิ...





 

Create Date : 17 กุมภาพันธ์ 2557    
Last Update : 17 กุมภาพันธ์ 2557 16:22:56 น.
Counter : 1253 Pageviews.  

เมื่อเริ่มพูดภาษาได้ ฟังได้ รีบออกไปหางานทำ.... อันนี้เป็นข้อตำหนิ (จริงเหรอป้า?)

จากเพจที่แล้ว ป้าลีทิ้งท้าย ว่า

“ถามว่า แล้วทำใมชั้นจะต้องเรียน วิชาชีพเหมือนป้าด้วยในเมื่อชั้นพูดได้ ฟังได้สื่อสารได้ ชั้นก็ไปหางานทำดีกว่า...

อันนี้ ป้าลีขอตำหนิอย่างรุนแรง... ทำใมน่ะเหรอ”

ทิ้งท้ายไว้แบบนี้จริงๆค่ะ..

“อ้าวทำใม ป้าพูดจาหมาๆ แบบนี้วะ... ก็ในเมื่อมันได้เงินมากกว่าใครจะโง่ไม่เอาวะอีป้า...”

คือ... เราคุยกันเรื่องการเรียนวิชาชีพหลังจากผ่านการเรียนภาษา(ที่สาม) 

แล้ว และหลายๆคนกระโดดออกไปหางานทำเลย เพราะว่าการนั่งเรียนภาษานั้น รัฐบาลฟินแลนด์ซัพพอร์ตเงิน เดือนละประมาณ  800 ยูโรต่อเดือนหลังภาษี

แต่ถ้าออกไปหางานทำ จะได้เงินต่อเดือนมากขึ้นราวๆ หลายร้อยยูโร หลังภาษี


คนก็เลยวิ่งออกไปหางานทำกัน หลังจากเริ่มพูดได้ฟังได้บ้างแล้ว...


ตรงนี้เป็นการสร้างทางวิบาก แก่ตัวเอง


เหตุผลก็เพราะว่า ในยุโรป ไม่ใช่แค่ฟินแลนด์นะคะ ทุกอาชีพ ต้องการใบอนุญาติในสายงานนั้นๆ 

แม้กระทั่ง คนงานทำความสะอาดห้องน้ำในโรงเรียนก็ตามคนครัว หรือ คนเฝ้าไข้ คนเลี้ยงเด็ก...ต้องผ่านการเรียนในหลักสูตรวิชาชีพ

 แล้วจบหลักสูตรได้ใบอนุญาติว่าจบวิชาชีพในสายงานนั้นจริงๆ แล้วออกไปทำงาน รายได้ก็จะแตกต่าง


แต่ถ้า คุณพูดได้ ฟังได้ แล้วออกไปหางานทำ โดยที่ไม่มีใบอนุญาติในสายงานนั้นๆ คุณก็จะเป็นได้แค่ แรงงานขั้นต่ำเท่านั้น... แรงมั๊ยคะ? แรงค่ะ แต่ฟังก่อน


ถึงแม้ว่า  คุณจะได้เงินมากกว่าที่รัฐบาลให้ แต่มันก็เพียงแค่ไม่กี่ร้อยยูโรต่อเดือนเท่านั้น

และคุณคิดว่า คุณจะต้องทำงานแบบนั้นไปจนเกษียณ อย่างนั้นเหรอ? โดยการกินเงินได้ขั้นต่ำ เนี่ยนะ?

แต่ถ้าคุณทน ทำใจ ไปนั่งเรียนให้จบ (เร็วที่สุด)ตามโปรแกรมที่ป้าลีแนะนำ 

คุณจะออกมาทำงานและรายได้จะมากกว่า คนที่ไม่ได้มีใบอนุญาติ (รายได้ต่างกันเกือบสองเท่านะคะ) แหละนี่คือโอกาสชีวิตนะคะ.... 


(แต่ก็ นะ เว้น ประเภททำงาน พิเศษ ในรูปแบบต่างๆ นะคะ เช่นงานเป็นลักษณะชั่วคราวที่ถูกการว่าจ้างแบบเฉพาะกิจ หรือ งานนวด หรือ อื่นๆที่พิเศษๆ ซึ่งอย่าเอามาเปรียบเทียบกับสิ่งที่ป้าลีกำลังพูดตรงนี้เลย)


และอีกแนวทางหนึ่ง... ในกรณีที่คุณจบ ปริญญาตรี มาจากเมืองไทยแล้วขอให้พิจารณาทางเลือกตรงนี้นิดนะคะ

ในกรณีที่เราไปเดินเรียนภาษาฟินน์ ไปต่อ อัมมัตติ จนจบแล้วออกไปทำงาน... ยังไงซะวุฒิที่ได้ก็คือ “วิชาชีพ”   และนั่นกินเวลา  3-5 ปี

แต่ถ้าคุณจบ ตรีมาแล้ว ป้าลีแนะนำ ให้คุณหาทางไปเรียนต่อ มหาวิทยาลัยในระดับ ป.โท

เพราะว่า มันจะใช้เวลาแค่สองปี ก็ได้ วุฒิ ป.โท แต่เป็นหลักสูตรอินเตอร์อ่ะนะ

อ้าว แล้วภาษาอังกฤษหนูห่วยอ่ะป้า... หนุเรียนไม่ได้แน่เลย...ป้าก็ห่วยค่ะ แต่ของมันเรียนต่อกันได้ ก็ไปหาคอร์สเรียนภาษาอังกฤษ จบนะ....


ทีนี้ ถ้าเรามองทางเลือกนี้....จะเริ่ดมาก เพราะว่า เราจะใช้เวลาแค่สองปีแค่นั้นเองในการถือวุฒิ ป.โท(จากฟินแลนด์)


ในขณะที่ “วิชาชีพ” มันก็คือ วิชาชีพ มันไม่ใช่ปริญญานะคะ และถ้าคุณ จบ ป.โทแล้วออกไปทำงาน หางานทำที่นี่ รายได้ มากกว่า คุณ จบ แค่วิชาชีพแน่นอน...

 และตรงนี้มันเป็นทุนติดตัวค่ะวันหน้าชีวิตจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม แต่ความมั่นคงในตัวเองเกิดค่ะ ดีกว่าเกิดความผิดพลาด(เช่น หย่า)แล้วหาทางเดินให้ตัวเองไม่เจอ


ถามว่า เรียนยากมั๊ย... ยากค่ะ... แต่มันก็ไม่เคยมีอะไรที่ได้มาง่ายๆ ไม่ใช่เหรอคะ?

ยิ่งของที่ยากคนก็ยิ่งคว้าตรงนั้นยาก นั่นก็แปลว่าไม่เห็นจะต้องไปเดินแข่งกับใคร แข่งมันกับตัวเองนี่แหละ ก็ในเมื่อเราก็เรียนจบ. ตรีจากบ้านเรามาแล้วด้วย


แล้วเงินล่ะป้า?  หนูว่า ไปเรียน ภาษาฟินน์ ได้เงินมากกว่านะ ตั้งแปดร้อยยูโรแน่ะ...

ตอบ.   จริงค่ะ... แต่แปดร้อยตรงนั้น มันจะได้แค่ สองร้อยวันทำการแรกแค่นั้นเอง(จากนั้นเงินจะลดลงนิดหน่อย ไม่เยอะ).... 

แล้วการที่คุณจบป.โท แล้วไปทำงาน ตลอดชีวิตน่ะ ได้เงินมากกว่ากันเท่าไหร่?

ตรงนี้ชัดเจนมากๆ นะคะ แต่หลายคน ไม่อยากทำเพราะว่า บอกว่า ภาษาไม่ถึง


ก็อย่างที่บอก  ตอนไปเรียน ภาษาฟินน์ก็เรียน ภาษาอังกฤษควบคู่ไปด้วยก็ได้ไม่ใช่เหรอคะ?

ครึ่งวันเรียนอีกอย่าง และอีกครึ่งวันก็เรียน อีกอย่าง ประมาณ สี่หรือ ห้าเดือน ก็ได้ภาษาแล้วอ่ะ.... ยอมเหนื่อยแบบนี้ ดีกว่า ไปเหนื่อยทำงานแบบกินเงินค่าแรงขั้นต่ำไปตลอดชีวิต นาาาาา ป้าว่า....


(สวัสดิการเรื่องเรียน เป็นการกินเงินเกล่า(ไม่ใช่เตื้อ) นะคะ  290 ยูโรต่อเดือนโดยประมาณ 

ต่างกันเกินครึ่ง แต่ว่า สามารถ กู้เงินเรียนได้(อันที่จริงเค้าไม่ได้กำหนดว่าจะต้องคืนเมื่อไหร่ 

หรือจะไม่อยากกู้ก็ได้  ก็ใช้วิธีขอกินเงินตกงาน แต่ปรึกษากับเตื้อฯว่าขอกินเงินตกงานได้มั๊ย เพราะว่าชั้นจะไปเรียนต่อ มหาวิทยาลัย 

ป้าลีก็ปรึกษาแบบนี้แหละค่ะ แต่ว่า เตื้อแนะนำให้ใช้เงินสนับสนุนด้านอื่นอีกตรงนี้ยกไปป้ายหน้าแล้วกันค่ะ ) 




 

Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2557    
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2557 19:38:39 น.
Counter : 1053 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  

Lee Jay
Location :
Nurmijärvi,Vantaa,Helsinki Finland

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 143 คน [?]




ชื่อ ลี ค่ะ เป็นป้ารุ่น เกือบ เลขที่ 5 เข้าทีมวัยรุ่น
ไม่ได้อัดบล็อกเกือบ 3ปี

pub-3852458659373246
New Comments
Friends' blogs
[Add Lee Jay's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.