ถอดไฟล์เสียง 1/70 กฎหมายหุ้นส่วน-บริษัท อ.สุประดิษฐ์ฯ สมัยที่70 วันที่ 23 พ.ค 60 ครั้งที่1


  ถอดเทปไฟล์เสียง เนติฯ กฎหมายหุ้นส่วน-บริษัท อ.สุประดิษฐ์ฯ สมัยที่70 
---------------------------------------------------------------------
สกัดหลักกฎหมาย สรุป เจาะประเด็น ฎีกา 5 ดาว เตรียมสอบ* คำบรรยายเนติฯ ภาค 1 สมัยที่70
วิชา หุ้นส่วน-บริษัท (อ.สุประดิษฐ์ หุตะสิงห์) ครั้งที่1
วัน อังคาร ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 สัปดาห์ที่ 1

สวัสดีครับวันนี้เป็นการศึกษาครั้งแรกในการศึกษาชั้นมหาวิทยาลัย เป็นการศึกษาเพื่อให้รู้และออกความจำเป็นส่วนใหญ่ แต่การศึกษาในชั้นเนติบัณฑิตนั้นท่านต้องรู้แล้วว่ากฎหมายมีอะไรบ้าง กฎหมายที่มีอยู่อย่างนั้นจะใช้ได้เมื่อใดใช้กับกรณีอย่างไรบ้าง แล้วมีผลอย่างไร

การศึกษาในชั้นเนติบัณฑิตส่วนใหญ่จะอยู่ที่การฟังบรรยายการอ่านและศึกษาคำพิพากษาฎีกาการจับกลุ่มกันระหว่างนักศึกษาเนติบัณฑิตด้วยกันและโต้เถียงปัญหาซึ่งกันและกันเป็นสิ่งสำคัญ

เกริ่นนำภาพรวมความเป็นมา

การตั้งหุ้นส่วนในประเทศไทยมีมานานแล้วกฎหมายตราสามดวง มีอัยการ เบ็ดเสร็จบทที่ ๑๐๑,๑๐๒ต่อมาถึงรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มีคนตั้งบริษัทขึ้นโดยเอาแบบอย่างมาจากประเทศตะวันตก จึงได้มีการออกพระราชบัญญัติฉบับแรกคือ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมลักษณะกู้ยืมหนี้สิน รศ.๑๑๐ ซึ่งใน มาตรา ๒และมาตรา ๓ ได้กำหนดเอาไว้ ๒ ลักษณะ มาตรา ๒ กำหนดเป็นลักษณะของบริษัท คือ ผู้ที่มาลงหุ้นรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนหุ้นที่ตัวมาลงส่วนมาตรา ๓ พูดถึงว่าถ้าเผื่อเกิดกิจการที่มารวมกันไว้นั้นแล้วเกิดขาดทุนก็จะให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามาจัดการทรัพย์สินนั่นคือการล้มละลาย

ต่อมาในประเทศไทยเราได้เจริญขึ้นมีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกันมากขึ้นห้างหุ้นส่วนกับบริษัทก็จำเป็นต้องมีกฎหมายควบคุมให้รัดกุมยิ่งขึ้นจึงได้โปรดเกล้าให้ตรา พรบ.ลักษณะเข้าหุ้นส่วนและบริษัท รศ.๑๑๐ โดยได้แบ่งหุ้นส่วนและบริษัทออกเป็น ๓ ประเภท

๑. ห้างหุ้นส่วนสามัญ ๒.ห้างหุ้นส่วนจำกัดสินใช้ ๓. บริษัทจำกัดสินใช้

ในต่างประเทศมีระบบกฎหมายอยู่ ๒ ระบบ คือระบบ CivilLaw กับระบบ Lommon Law ระบบ Civil Lawถือตัวบทเป็นหลักเหมือนกับประเทศเรา มีปัญหาดูตัว บทก่อน แต่ระบบ LommonLaw นำโดยอังกฤษ อเมริกา มีปัญหาต้องดูคำพิพากษาฎีกาก่อนตัวบทมาทีหลังประเทศไทยเราได้รับอิทธิพลมาจากของทั้งสองระบบ แต่ส่วนใหญ่จะมาจากระบบ CivilLaw คือ เยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ป่น กฎหมายในระบบ Civil Law จะแบ่งห้างหุ้นส่วนและบริษัทออกเป็น ๒ ทางคือ หุ้นส่วนบริษัททางแพ่งและหุ้นส่วนบริษัททางพาณิชย์ ส่วนระบบคอมมอลลอว์นั้น ได้แบ่งบริษัทออกเป็น ๒ประเภท คือ บริษัทเอกชนและบริษัทมหาชน คนไทยเราเอามาทั้งสองแบบ แต่เราไม่ได้แบ่งเป็นทางพาณิชย์ หุ้นส่วนบริษัทเรามีแต่ทางแพ่ง แต่บริษัทมหาชนและบริษัทเอกชนนั้นเราเอามาใช้ในระบบของเราด้วยเพราะเห็นว่าเหมาะกับสภาพการณ์ซึ่งประเทศไทยจะต้องเจริญขึ้น  / อ่านต่อ.....


 >> ดาวน์โหลด ถอดไฟล์เสียง กฎหมายหุ้นส่วน-บริษัท อ.สุประดิษฐ์ฯ ครั้งที่ 1




Create Date : 26 พฤษภาคม 2560
Last Update : 26 พฤษภาคม 2560 8:02:00 น.
Counter : 968 Pageviews.

0 comments

lawsiam
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 43 คน [?]



กลุ่มแบ่งปันความรู้ (ลอว์สยาม)
https://www.facebook.com/groups/lawsiam

- ลอว์สยาม Fan Page (กด Like ถูกใจ)
https://www.facebook.com/lawsiamdotcom

- เตรียมสอบเนติบัณฑิต
- เตรียมสอบสรุปรายข้อ เนติบัณฑิต ภาค1
- เตรียมสอบสรุปรายข้อ เนติบัณฑิต ภาค2
- แนะนำLink กฎหมาย ที่น่าสนใจ
- ค้นหาคำพิพากษาฎีกา ใหม่*



แลก Link พันธมิตรเว็บไซต์

- หางาน


All Blog