The power of an authentic movement lies in the fact that
it originates in naming and claiming one's identity and integrity
-- rather than accusing one's "enemies" of lacking the same.
- Parker J. Palmer, The Courage to Teach
Group Blog
 
All blogs
 

ซัลวาดอร์ ดาลี...( กระทู้แปะรูปไร้สาระ )

แกเป็นจิตรกรแนวเซอเรียลลิซึ่มที่ดังมาก รูปที่แกวาดที่คงเคยผ่านตากันมาบ้างคือรูปนาฬิกาละลาย

และตัวแกเองก็...เซอเรียลจริง ๆ ด้วย





อย่าถามนะว่าทำไม แต่เห็นรูปนี้แล้วโคตรอารมณ์ดีเลย



ขอตั้งชื่อภาพนี้ว่า "สัตว์ประหลาดโผล่พ้นผิวน้ำ"

ทำไปได้นะคะเฮีย - -''




 

Create Date : 21 เมษายน 2548    
Last Update : 16 กรกฎาคม 2551 21:17:34 น.
Counter : 4589 Pageviews.  

อยากดู Strange Cargo (โว้ย)

หลายปีก่อน...นานมาก ๆ สมัยที่ช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์ค ซึ่งตอนนั้นใช้ชื่ออื่น ( ถ้าจำไม่ผิด ) และมีหนังเก่าฉายตอนดึก เราได้ดูหนังเรื่องหนึ่งชื่อ Strange Cargo

ว่ากันตามตรง มันเป็นการ "เปิดมาเจอ" โดยแท้ และเหตุที่ยังนั่งดูต่อก็มีอยู่อย่างเดียว คือพระเอกเป็นคลาร์ค เกเบิล

เราชอบคลาร์ค เกเบิล...ถึงจะไม่ใช่คอหนังและเก็บดูเฮียแกทุกเรื่อง แต่เราบอกได้ว่าเราชอบแก...มาก ตั้งแต่ดูวิมานลอย

อันที่จริงตอนดูวิมานลอย เห็นตานี่โผล่ครั้งแรกแล้วแสนจะอี๋ จำได้ว่าเป็นฉากที่นางเอกลงบันได แล้วคลาร์คเงยหน้าขึ้นมา ในใจตอนนั้นคิดว่าคนอะไรหูกาง หน้าตาเหมือนตัวการ์ตูน

แต่ไป ๆ แล้วมันเกิดอัศจรรย์อะไรบางอย่าง ทำให้ตาหูกางดูดีขึ้นเรื่อย ๆ และตอนสุดท้ายเกือบทอแสงเรืองรองออกจากตัวได้ ( เว่อร์แล้วนั่น )

ดังนั้น เราก็เลยดูเรื่อง Strange Cargo

มันเป็นหนังขาวดำ เราดูตอนกลาง ๆ เรื่องแล้ว เข้าใจว่าเป็นเรื่องเกิดในคุก พระเอกเป็นนักโทษบนเกาะนรกอะไรสักอย่าง และมีการพยายามจะหนีออกมา

พระเอกไม่ใช่คนดี เอาจริง ๆ เลยคือออกโฉด ที่หนีออกมาก็ไม่ได้เหมือนหนังทำนอง โอว ตูไม่ผิด กฏหมายแหละผิด ไม่ใช่เรื่องที่เน้นความตื่นเต้นของ "การหนี"

มันเน้นอะไรที่ค่อนข้างประหลาด และในที่สุด พระเอกก็กลับเข้าคุกเหมือนเดิม...อย่างเต็มใจด้วย



ความเห็นของคนวิจารณ์ทั่วไปคือมันมีลักษณะของ "นิทานเปรียบเทียบ" ( allegory ) มีตัวละครตัวหนึ่งนอกจากพระเอกนางเอก ที่มีลักษณะเป็น christ -figure อย่างชัดเจน ถ้าจำไม่ผิดชื่อแคมโบรว ตาแคมโบรวนี่จู่ ๆ ก็โผล่มาจากไหนไม่รู้ และเข้าไปรวมอยู่กับพวกนักโทษ ตอนที่หนีออกมาก็หนีมาด้วยกัน ( มันหนีกันเป็นกลุ่ม ) ระหว่างทางแกก็แสดงโฮลี่เนสอยู่เรื่อย ๆ อย่างเช่นมีนักโทษคนหนึ่งถูกอะไรสักอย่างระหว่างทาง และคนอื่นทิ้งให้ตาย ( ถ้าจำไม่ผิด ) แคมโบรวก็รั้งอยู่กับนักโทษคนนั้น และทำให้เขาตายอย่างสงบ



เราชอบฉากใกล้ ๆ จบแล้ว ที่พระเอกตัดสินใจจะหนีให้ได้ ยอมกระทั่งทิ้งนางเอก แล้วแคมโบรวตามไป ทะเลาะกับพระเอกทำนองว่าเอ็งทำอย่างนี้ ตัวเอ็งแหละจะเสื่อม ตอนนั้นทั้งสองคนอยู่บนเรือ กลางคลื่นคลั่งในทะเล พระเอกผลักแคมโบรวตกน้ำ แล้วก็หัวเราะ บอกว่าเอ็งศักดิ์สิทธิ์ประหลาดนักไม่ใช่หรือ ก็ขึ้นมาเองสิ ก็ขึ้นมา

แต่แคมโบรวจมลงไป...จะตายไปจริง ๆ

ตอนแรกพระเอกก็ยังหัวเราะ หัวเราะอยู่จนไม่เห็นแคมโบรวอีกนั่นละถึงได้รู้สึกตัว ตัดสินใจกระโดดลงไปช่วยขึ้นมา

ที่จริงพระเอกมันไม่ได้ช่วยแคมโบรว มันช่วยมนุษยธรรมสุดท้ายที่เหลืออยู่ของมัน และจากการตัดสินใจตรงนั้นเป็นเหตุให้พระเอกตัดสินใจต่อว่ากลับไปรับโทษให้หมดดีกว่าหนีไปตลอด ดีกว่าทิ้งนางเอก ดีกว่าไปกับด้านมืดของตัวเอง

เราชอบหนังเรื่องนี้ เสียดายตอนนั้นไม่ได้อัดเก็บไว้ เราก็ไม่รู้เหมือนกันว่าดูอีกทีจะยังชอบอยู่ไหม แต่มันเป็นหนังประเภทที่นาน ๆ ทีก็อยากจะดูอีก

แต่พอนาน ๆ ทีอยากดู แล้วไปเสิร์ชอเมซอน ไปเสิร์ชอีเบย์ ก็เจอราคาสิบแปดเหรียญอัพ ทำให้คนอยากดูสยองขวัญ

แต่ก็อยากดูนา...อยากดู

ใครบังเอิญไปเจอที่ไหนก็ได้ในไทย แวะมากระซิบเราบ้างก็ดีนะ ทำบุญกับคนลงแดงได้บุญหลายเน้อ ^^''






 

Create Date : 21 เมษายน 2548    
Last Update : 16 กรกฎาคม 2551 21:16:20 น.
Counter : 576 Pageviews.  

วิภีษณะ วิภีษัน พิเภก พริบพรี...

วิภีษณะกับวิภีษันเป็นชื่อแขก

พิเภกเป็นชื่อที่ได้รับความนิยมในไทย

และพริบพรีเป็นชื่อทางไทยใหญ่ ( ถ้าจำไม่ผิด )

เป็นตัวละครโปรดของเราในเรื่องรามเกียรติ์

...สมมุติว่าเอาพิเภกไปไว้ตรงกลาง แล้วสาดแสงไฟลงไป เราจะเห็นว่าเงาของพิเภกนั้นมีมากมาย สามารถตีความได้มาก

เป็นคนดีมีศีลสัตย์กลัวพระเจ้าหรือ เป็นคนเจ้าเล่ห์อยากได้บัลลังก์หรือ เป็นคนอ่อนแอที่ได้อำนาจมาแล้วก็คลั่งในอำนาจในมือหรือ เป็นคนยึดมั่นในหลักการยอมหักไม่ยอมงอหรือ

ฆ่าญาติตั้งมากมาย เจ็บปวดหรือเปล่าพิเภก

หรือว่าสะใจ

ทำไมถึงได้เป็นแบบนี้

ตัวละครอยู่ในมือใคร ก็เป็นไปตามการตีความ ที่เมืองแขกพิเภกไม่ใช่คนขี้ขลาด พี่ชายจะฆ่า ก็คว้าตะบองขึ้นมาสู้ แต่ที่เมืองไทย ยิ่งในยุคบ้านเมืองยังไม่สงบ คนทรยศไม่ใช่บุคคลพึงปรารถนา พิเภกก็ช่างอ่อนแอ

ที่ไทยใหญ่ พิเภกเป็นหนุ่มน้อยชาญฉลาด พูดเก่งเหมือนขงเบ้ง

...เราคิดว่าตัวละครทุกตัว ถ้าตีความดี ๆ มันก็คงมีอะไรหลากหลาย แต่เรารู้สึกว่าคนบางคนมันซับซ้อน มันอธิบายยาก มันทำให้คิด

เราชอบตัวละครที่ทำให้คิด และเราก็ชอบตัวละครที่ clear cut ด้วย

อืมม์...

ถึงทุกวันนี้ก็ยังคิดถึงหน้าตาต่าง ๆ ของพิเภก ที่มากกว่าสิบหน้าของทศกัณฐ์เสียอีกนะ




 

Create Date : 12 เมษายน 2548    
Last Update : 16 กรกฎาคม 2551 21:14:36 น.
Counter : 1255 Pageviews.  

จูราสสิคพาร์ค และ ชอคโกแลต

พี่เยี่ยนให้จูราสสิคพาร์คมายืมอ่าน ก็เลยได้อ่าน

ทำให้พบว่าเนื้อหาของหนังสือมีความแตกต่างจากหนังพอสมควร

โอเค มันไม่เปลี่ยนมากจนฉีก ตัวละครเกือบคงเดิม แต่ในฉบับหนังจะไม่มองโลกในแง่ร้ายเท่า และมุมมองแง่คิดบางอย่างก็ตัดทิ้งไป พออ่านหนังสือแล้วจะเห็นว่ามีการเน้นเรื่องมนุษย์กับธรรมชาติเยอะมาก เกือบจะให้อารมณ์เดียวกับแฟรงเกนสไตน์ ( ฉบับของแมรี่ เชลลี ) การร้องถามว่าการที่มนุษย์ไปยุ่งกับอะไรที่ไม่ควรยุ่ง มันจะเป็นการฆ่าตัวตายหรือเปล่า

มุมมองคนตะวันตกดีนะ มองตัวเองแยกออกจากธรรมชาติ ธรรมชาติกลายเป็นของน่ากลัว เป็นของที่คาดเดาทำนายไม่ได้

แต่มาคิดอีกที เราคิดว่าวิทยาการมันจะถูกโบ้ยว่าเป็นตัวร้ายเท่าที่ในเรื่องบอกได้แค่ไหน อย่างถ้ามองในอีกมุมนึง...สมมุติว่าเป็นอย่างการ์ตูนเรื่องจอมคนแดนสนธยา ( เป็นการ์ตูนที่ดีนะ แต่อาจจะหายากหน่อยเพราะไม่มีลิขสิทธิ์ ) พระเอกมันแตะตัวคนแล้วมันเห็นความคิดเขาได้

มันโกรธศจ.คนหนึ่งว่าทำวิศวพันธุกรรมกับสัตว์ แต่พอแตะตัวเขา ก็ปรากฏว่าเขาพยายามทุ่มเท ทำเพื่อจะให้มีวิทยาการแพทย์ที่ดีขึ้น พยายามช่วยเหลือคนป่วย

วิทยาการมันมีสองแง่ใช่ไหม แล้วเรา...ก็ผูกพันอยู่กับมัน ถ้าวิทยาการทำแต่เรื่องอย่างผลิตไดโน หรือสร้างชีวิตที่เราไม่ควรสร้าง ก็อย่างหนึ่ง แต่พอคิดว่าถ้าลูกสาวเราจะตาย แล้วมีแต่การโคลนนิ่งเอาอวัยวะมาถึงจะช่วยได้ แล้วเราก็โคลนนิ่งได้ แต่เราปล่อยให้ลูกสาวเราตายไปเพราะมันฝืนธรรมชาติ

อาจจะมีคนทำอย่างนั้น แต่ถ้าเป็นลูกสาวของเรา จะมีกี่เปอร์เซ็นต์ที่เราจะทนนั่งดูแกตายไปต่อหน้าต่อตาได้

เราคิดว่าทุกอย่างมันซับซ้อนและบอบบางมาก และบางที เราก็ทำอะไรไม่ได้มากนักจริง ๆ

พูดถึงดัดแปลงหนัง เรานึกต่อไปถึงเรื่องชอคโกแลต เราชอบหนังเรื่องชอคโกแลตมาก ๆ จนไปซื้อหนังสือมาอ่าน ปรากฏว่าหนังสือต่างกับหนังมาก ๆ จนเหมือนหนังมันถูกอิทธิพลของฮอลลีวู้ด กลายเป็นหนังเพื่อครอบครัว ในขณะที่หนังสือมันพูดถึงด้านมืด ความบาปชั่วที่แท้ของมนุษย์ พูดถึงความกดดันของระบบศาสนาแบบคาธอลิค

แต่เราดูหนังอีกที เราก็ยังชอบ เราคิดว่ามันหวานและไนซ์มาก ไม่ใช่ในแง่ความรัก แต่เป็นแง่การใช้ชีวิตอยู่ แง่ของการมองโลก ของการรักคนอื่น

เราต้องบอกว่าสำหรับเรื่องนี้ แม้ว่าหนังสือจะมีความลุ่มลึก ตีแผ่มนุษย์ แต่เรากลับชอบหนังมากกว่า เพราะเรายังยืนยันร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าเราเป็นมนุษยนิยม ( ถ้ามีคนถามคงต้องบอกว่าแบบของเราเอง ไม่ใช่ liberal humanism เราไม่ใช่ฝรั่งสมัยนั้นนิ )

หนังกับหนังสือแตกต่างกัน คนเสพก็ได้ประโยชน์เพราะได้เห็นหลายแง่

แต่คนเขียนจะคิดแบบไหนนะ...




 

Create Date : 19 มีนาคม 2548    
Last Update : 16 กรกฎาคม 2551 21:10:15 น.
Counter : 698 Pageviews.  

ปกของหนังสือ

เมื่อปีก่อน ช่วงที่ยังเรียนเกี่ยวกับเรื่องฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ( holocaust literature - ซึ่งทำให้เราอยู่ในโหมดโลกมืดไปได้นานพอสมควร... ) มีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ Fateless ของ Imre Kertesz ( เราอ่านว่าอิมเร เคอร์เตส ) หน้าปกมันเป็นแบบนี้



เราจำไม่ได้ว่ารูปนี้เป็นของใคร แต่ถ้าจำไม่ผิด เป็นจิตรกรกลุ่มที่เป็นพวกเดียวกับพวกเขียนกวีแบบอัตโนมัติ ( เป็นกลุ่มที่เชื่อว่าอิสระที่แท้จริงจะเกิดในภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่น หรือภาวะที่ไม่มีกรอบความคิดอื่นมากำหนด กลอนของกวีกลุ่มนี้จะพิลึกมาก )

จะว่าอีกอย่างคือมันเป็นรูปมีชื่อเสียง

ในชั่วโมงที่คุยกัน มีการถกไปจนถึงปกของหนังสือเล่มนี้ด้วย ถกไปจนถึงตัวหนังสือที่ครึ่งดำครึ่งขาว ว่ามันจะทำให้เราเข้าใจเนื้อเรื่องมากขึ้นไหม ( เพราะวรรณกรรมโนเบลมักอ่านยาก - -'' ) เราฟังถึงตอนนี้ก็หัวเราะ บอกว่าบางทีคนเขียนอาจจะไม่ได้รู้อะไรเกี่ยวกับปกปกนี้เลยก็ได้ อาจจะเป็นสนพ.กำหนดให้ ออกแบบอาร์ตให้ เพราะอย่างนั้นมันเอาตีความเนื้อหาของหนังสือได้แค่ไหนกัน

เราเพิ่งมาคิดอีกทีเกี่ยวกับเรื่องนี้ ว่าที่จริงแล้ว เราคาดหวังอะไรกับปกหนังสือกันแน่ และที่เราพูดแบบนี้ เป็นเพราะเราเอง...ในฐานะที่เคยเห็นขั้นตอนของการพิมพ์มาบ้าง ก็เลยแยกหนังสือออกจากปก และคิดว่าเป็นคนละส่วนกันโดยอัตโนมัติหรือเปล่า

สิ่งที่เราเห็น...และเข้าใจ มันเกิดจากการดิ้นรนระหว่าง "การเข้าใจหนังสือ" กับโลกของธุรกิจหนังสือ สิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา มันทำให้เราคิดว่าก่อนอื่นปกต้องเด่น ต้องขาย

ดังนั้น ตอนเราเห็นปกของอิมเร เราจึงไม่ได้คิดว่ามันเป็นเนื้อเดียวกับหนังสือ เราคิดว่าใครบางคนเลือกรูปนี้มา แล้วก็ใส่มันเข้าไป ตัวหนังสือนั้นก็เหมือนกัน ใครคนอื่นทำ เพื่อจะส่งสัญญาณบางอย่างให้คนมาหยิบไปดู

เรากลัวตัวเองที่ชินแล้วกับการคิดว่าปกเป็นกระดาษห่อ

และพอมาคิดอีกครั้ง มันทำให้เราคิดว่า ที่จริงแล้วปกหนังสือนี่...มันเป็นศิลปะนะ มันสามารถมีความลึกของมันได้ มีความลุ่มลึก ซับซ้อน และอย่างน้อยก็กระซิบบอกอะไรบางอย่างได้

มันทำให้เรานึกถึงเล่มนี้



เล่มนี้ชื่อ An Ocean Apart, a World Away ของลินซีย์ นามิโอกะ เป็นเรื่องเกี่ยวกับคนจีนที่ไปเรียนต่ออเมริกา

ปกมันพรีเซนต์ออกมาเป็นสองเลเยอร์ พื้นหลังเป็นป่าไผ่ และมีรูปของสิ่งก่อสร้างซึ่งเราเข้าใจว่าเป็นมหาวิทยาลัยในอเมริกา

ตรงกลางระหว่างสองสิ่งนั้น คือตัวละคร

ตัวละครคนนี้ไม่ได้เป็นไชนีสอเมริกัน ( แต่คนเขียนเป็น ) เนื้อเรื่องมันเกี่ยวกับการค้นพบโลกสองโลกที่แตกต่างกัน ตัวเองในพื้นที่ของบ้านเกิด ตัวเองในพื้นที่ที่แปลกหน้าแปลกถิ่น การเปรียบเทียบโลก การเข้าใจโลก

ปกมันบอกหมดแล้ว บอกลึกลงไปกระทั่งถึงธีมเรื่อง

บางทีเราอาจจะคิดไปเอง ว่าปกเล่มนี้ "บอก" ดี บางทีคนทำเขาอาจจะไม่ได้คิดอะไรที่มันมากนัก จีนเหรอ อเมริกาเหรอ ก็ปะ ๆ มันเข้าไปก็ได้แล้ว อะไรแบบนั้น

แต่เรายังเชื่อนะว่าคนทำเขาคิดตอนทำ คิดเยอะด้วย เราคิดว่าเขาทำความเข้าใจกับเรื่องในระดับหนึ่ง และพรีเซนต์ออกมา

ใช่ มันคงไม่ถึงเข้าถึงน้ำใจของคนแต่ง แต่เราก็รู้สึกว่า...เออแฮะ เราเข้าใจ เราพอจะเชื่อได้ว่ามันเป็นหนึ่งเดียวกับหนังสือ

ปกเล่มนี้สวยนะ ดูในเว็บอาจจะจืด แต่ดูใกล้ ๆ เห็นจริง ๆ แล้วสวย

แต่ในที่สุดแล้ว ปกสวยก็ได้เปรียบ ปกบางปก ถึงพรีเซนต์ชัดแต่น่าเกลียด ก็ไม่มีใครหยิบ เราเคยเห็นมาแล้ว

นี่...โลกหนังสือกับโลกธุรกิจหนังสือ มันเสริมกันเอง และมันก็ฆ่ากันเองได้เหมือนกันนะ




 

Create Date : 10 มีนาคม 2548    
Last Update : 16 กรกฎาคม 2551 21:09:04 น.
Counter : 859 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  

ลวิตร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




ลวิตร์ = พัณณิดา ภูมิวัฒน์ = เคียว

รูปในบล็อค
เป็นมัสกอตงาน Expo ของญี่ปุ่น
เมื่อปี 2005
น่ารักดีเนอะ

>>>My Twitter<<<



คุณเคียวชอบเรียกตัวเองว่า คุณเคียว
แต่ที่จริง
คุณเคียวมีชื่อเยอะแยะมากมาย

คุณเคียวมีชื่อเล่น มีชื่อจริง
มีนามปากกา
มีสมญาที่ได้มาตามวาระ
และโอกาส

แต่ถึงอย่างนั้น
ไส้ในก็ยังเป็นคนเดียวกัน
ไส้ในก็ยังชอบกินข้าวแฝ่ (กาแฟ ) เหมือนกัน
ไส้ในก็ยังชอบกินอาหารญี่ปุ่นเหมือนกัน
ไส้ในก็ยังชอบสัตว์ (ส่วนใหญ่)
ไส้ในก็ยังชอบอ่านหนังสือ ชอบวาดรูป
ชอบฝันเฟื่องบ้าพลัง
และชอบเรื่องแฟนตาซีกับไซไฟ
(โดยเฉพาะที่มียิงแสง )

ไส้ในก็ยังรู้สึกถึงสิ่งต่าง ๆ
และใช้ถ้อยคำเดียวกันมาอธิบายโลกภายนอก

ไส้ในก็ยังคิดเสมอว่า
ไม่ว่าเรียกฉัน
ด้วยชื่ออะไร

ก็ขอให้เป็นเพื่อนกันด้วย




Friends' blogs
[Add ลวิตร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.