The power of an authentic movement lies in the fact that
it originates in naming and claiming one's identity and integrity
-- rather than accusing one's "enemies" of lacking the same.
- Parker J. Palmer, The Courage to Teach
Group Blog
 
All blogs
 
จขบ.ขอความเมตตาจากขามุงหน่อยนุ

คือว่าตอนนี้ จขบ. กำลังฝึกงานอยู่ที่ Sage Publishing ซึ่งเป็นสนพ.ที่พิมพ์เจอร์นัลและตำราวิชาการ(Yale ไม่มีีที่ว่างให้เลยต้องย้าย) งานแรกที่เขาให้มาคือ หาโอกาสในการทำธุรกิจในประเทศไทย จะเป็นการขาย translation right ก็ได้ เป็นการ partnership กับสนพ.ไทยเพื่อจัดพิมพ์หนังสือภาษาอังกฤษเอดิชั่นเฉพาะในประเทศไทยก็ได้ (มีการทำอะไรแบบนี้ในประเทศอื่น ๆ หลายประเทศเพื่อลดคอร์ส)

จากการรีเสิร์ชคร่าว ๆ ของจขบ. จขบ.พบว่าหนังสือของเขาที่พอจะมีทางขายในไทยได้ มีรายการทำนองนี้

- ภาษาอังกฤษ - ตำราภาษาอังกฤษของเซจเป็นตำราชั้นค่อนข้างแอดวานซ์มาก เช่นตำราเขียนเรียงความ ตำราเขียนรีวิววรรณกรรม ตำราทำธีสิสภาษาอังกฤษ ไม่แน่ใจว่าระดับสูงขนาดนั้นจะมีลูกค้าในไทยไหม

- วิชาการ - หนังสือวิชาการของเขาส่วนใหญ่เป็น social science มีอื่น ๆ บ้างพอสมควรเช่น methodology (วิธีทำวิจัย) ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์กับวิศวกรรมก็พอจะมีเหมือนกัน แต่หนังสือเรียนพวกนี้ไม่แน่ใจว่าที่ไทยจะมีคนพิมพ์ไหม เพราะปรกติเวลาเรียนจะใช้ซีรอกซ์แจกเอา ไม่ค่อยมีใครคิดซื้อของจริง

มีวิธีแก้ไขคือร่วมกับสนพ.ไทยทำเป็นเอดิชั่นสำหรับนักเรียนให้ถูกลง แต่เท่าที่รีเสิร์ชตอนนี้ ที่ทำกันแบบนี้มีแต่พวกดิกชันนารี ส่วนหนังสือเรียนจริง ๆ มักจะสั่งเอาจากคิโนะ หรือมีเจ้าที่รับเข้ามาขาย (ไม่แน่ใจว่ารับจากไหน อาจจะสิงคโปร์) แล้วไปซีรอกซ์กันต่อไป

- management - ทางเซจทำตำรา management ชั้นสูงหลายเล่ม และเป็นหนังสือขายดีของสนพ. คิดว่าน่าจะเหมาะกับประเทศไทยที่ให้ความสำคัญกับเรื่องพวกนี้ แต่กลัวว่าถ้าชั้นสูงเกินไปก็จะกลายเป็นตำราวิชาการอีก แล้วจะตกไปอยู่ในข้อสอง (กำลังลองเช็คดูว่ามีที่ระดับความลึกต่ำลงมาแบบพอจะขายเป็น trade ได้บ้างไหม)

เรื่องที่อยากขอร้องให้ช่วยคือ

๑. จขบ.อยากรู้ว่าเด็กคณะอื่นทั้ง ป.ตรี ป.โท และ ป.เอก นั้นมีการใช้ และซื้อขายตำรากันขนาดไหน เอาแบบประสบการณ์ตรงเล่าสู่กันฟัง อุดหนุนซีรอกซ์จนร่ำรวยซื้อบ้านได้ทำนองนี้ก็ได้ แค่อยากฟังสถิติคร่าว ๆ จากหลายคณะ เพราะแน่นอนว่าจขบ.รู้แต่เรื่องคณะตัวเอง

๒. มีใครมีข้อแนะนำอะไรบ้างไหม ข้อนี้ถามเพราะอยากฟังความเห็นของคนอื่นบ้าง เนื่องจากไปนั่งคิดเองก็เห็นแต่มุมตัวเองคนเดียวเหมือนข้อหนึ่ง บ่มีประโยชน์ใด ๆ

รบกวนทุกคนด้วยเน้อ > /\ <'


Create Date : 07 พฤษภาคม 2551
Last Update : 7 พฤษภาคม 2551 5:28:39 น. 29 comments
Counter : 1291 Pageviews.

 
เอาเป็นว่าเท่าที่รู้นะคะ
โดยทั่วไปคนที่เรียน mba ร้อยละร้อยต่อคอร์สก็จะมีหนังสือกันเองโดยส่วนมากเพราะว่า คอร์สเรียนที่จ่าย มักจะรวมตำราเรียนไว้ด้วย ปัญหาที่เกิดคือธุรกิจจะเกิดได้เมื่อ อาจารย์ผู้สอนแนะนำหนังสือเล่มนั้นหรือใช้มันในคอร์ส ก็จะทำให้หนังสือเล่มนั้นขายดีเหมือนเทน้ำเทท่า เพราะนอกจากนักเรียนเองจะใช้แล้วเนี่ย เด็กก็จะบอกต่อประมาณว่า ไอ้หนังสือเล่มนี้มันดีน่าจะไปซื้อหา ซีรอกซ์มาอ่านเพื่อเป็นวิทยาธานกะชีวิตต่อไป
ส่วนป.ตรีเนี่ย เอ่อ.. ด้วยงบที่จำกัดก็ร้อยละห้าสิบจะมีหนังสือค่ะ แต่ตัวนี้ก็ขึ้นอีกว่า อาจารย์สั่งหรือไม่ถ้าบางคอร์สอาจารย์และรุ่นพี่บอกว่ามันต้องใช้นะ นักเรียนประมาณ เจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์ก็จะมีค่ะ แต่มักจะเป็นฉบับซีรอกซ์นะคะ

ส่วนคำถามข้อสอง เห็นด้วยกะที่พี่คิดแล้วนะคะ เพราะว่าหนังสือวิชาการเลยส่วนใหญ่นี่ต้องเจาะตลาดมหาลัยเท่านั้นซึ่งค่อนข้างจะขายไม่ดีสำหรับระดับสูงมากอย่างที่พี่พูดนะคะ แต่ส่วนตำราบริหารถ้าเป็นประมาณอ่านเล่นได้ คือเนื้อหาไม่หนักมาก อย่างเช่น Freakonomic หรือ โลกแบน (เอ่อ จำชื่อไม่ได้ค่ะ ไม่แน่ใจว่าชื่อนี้หรือเปล่าแต่ประมาณนี้แหละค่ะ The World is flat) หรือจะเป็นตำราที่ซีเรียสหน่อยเนี่ย ก็ยังจะพอขายได้ค่ะ สำหรับบุคคลทั่วไปโดยเฉพาะถ้าเป็นทฤษฎีใหม่ๆ

นี่ข้อมูลคร่าวๆที่ทราบ ถ้าตอบไม่ตรงคำถามยังไงลองถามอีกทีนะคะ ถ้าฟ้าช่วยได้จะมาตอบอีกค่ะ


โดย: ฟ้าเคียงดาว IP: 202.57.129.99 วันที่: 7 พฤษภาคม 2551 เวลา:10:08:54 น.  

 
ไม่มีความรู้เรื่องจัดทำตำราอะไรแต่อย่างใด เลยตอบได้แต่ข้อ 1 นะคะ

ที่คณะ
- ซีรอกซ์ : หนังสือที่มีแต่ตัวหนังสือล้วน ๆ หรือมีภาพประกอบแบบไม่ซับซ้อน ไม่จำเป็นต้องดูเป็นรูปสี
- ซื้อ : หนังสือที่เป็นรูป และจำเป็นต้องดูเป็นรูปสีที่คมชัด เช่น Pathology

แต่หนังสือที่ใช้จริง ๆ ก็มีไม่กี่เล่มค่ะ เป็นพวกพื้นฐาน เพราะหลังจากนั้นก็จะใช้ Journal กันแทน


โดย: Carousal IP: 125.25.121.253 วันที่: 7 พฤษภาคม 2551 เวลา:11:02:48 น.  

 
ของที่ภาคหนูส่วนใหญ่ใช้หนังสือไทยกับเอกสารที่อ.แจก ไม่ค่อยมีตัวหนังสือที่ต้องอ่านเป็นเล่มๆ โดยที่เป็นภาษาอังกฤษค่ะ มักจะหาโหลด journal มาอ่านกันเป็นรายๆ วิชาไป ไม่ได้ซื้อ อาศัยว่ามหา'ลัยจ่ายตังค์ค่าสมาชิกให้แล้ว ส่วนใครจะสูบเอาอะไรแค่ไหนแล้วแต่ความสนใจส่วนตัวค่ะ

หนังสือtext ภาษาอังกฤษต่างๆ จะเอาเข้าห้องสมุดเป็นส่วนมาก ถ้าใครสนใจก็ไปยืมอ่านเอาค่ะ ..เหมือนไม่มีใครซื้อ text เลยนะคะ มีแต่คนไปชี้ว่า "อ.คะ เอาเล่มนี้เข้าห้องสมุดดีไหมคะ"


โดย: fayfena IP: 58.9.55.60 วันที่: 7 พฤษภาคม 2551 เวลา:11:42:05 น.  

 
สมัยเรียนส่วนมากก็ถ่ายเอกสารอะ
ส่วน textbook
เราจะซื้อฉบับพิมพ์สิงคโปร์ที่ร้านเขาเอามาลด และเป็นเล่มที่เช็กแล้วว่าไม่ซ้ำกับของที่ห้องสมุดคณะมี (เนื่องจากพวกนี้ก็ถ่ายเอาไว้เรียบร้อยแล้ว 55)

พวกตำราอ่านเสริมนี้ มันเอามาใช้งานจริงตอนสัมมนากับพรีเซนต์ได้เยอะมาก เคสตัวอย่างเยอะ ชอบๆ

*ตำราที่ว่านี่คือตำราการตลาด


โดย: แพนด้ามหาภัย วันที่: 7 พฤษภาคม 2551 เวลา:12:36:54 น.  

 
ตอนเรียนป.ตรี คณะบัญชี
หนังสือส่วนใหญ่เป็นภาษาไทย บางเล่มเช่น การตลาด การวิเคราะห์การเงิน ก็แปลจากภาษาอังกฤษมา (คาดว่าคงขอลิขสิทธิ์แล้ว)
ผสมกับชีทซีร๊อกซ์เป็นเรื่องๆไป มีทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ

ป.โท เรียนเศรษฐศาสตร์
หนังสืออังกฤษมาเป็นตั้งๆ (เอิ๊บส~) จ่ายรวมในค่าเทอมแล้ว อจ.ผู้สอนเป็นคนกำหนดว่าต้องเอาเล่มนี้ๆ แล้วให้โครงการป.โทสั่งซื้อครบจำนวนคนเรียน ดูที่ปกหนังสือTextbook เป็นฉบับพิมพ์แถวๆบ้านเรานี่แหละ ราคาจะได้ถูกกว่านำเข้าจากอเมริกา
แล้วก็ชีท พอมีบ้าง ภาษาอังกฤษล้วนเช่นกัน
เรียนจบแล้วยกให้รุ่นน้องบ้าง เก็บไว้บ้าง

แนว Management .... ไม่ค่อยแน่ใจนักว่าเข้าใจตรงกันรึเปล่านะคะ แหะๆ
สนพ.คบไฟ , มูลนิธิโกมลคีมทอง 2 แห่งนี่จะเห็นหนังสือแปลกึ่งวิชาการกึ่งการจัดการ ปรัชญา การเมืองการปกครอง การพัฒนามนุษย์ หรือบางทีก็เรื่องที่กำลังอยู่ในเทรนด์ เช่น โลกร้อน วิกฤตพลังงาน
จากที่ทั้งเปิดดูทั้งซื้อมา เนื้อหากลางๆค่อนไปทางหนัก ภาษาออกวิชาการ ไม่สามารถอ่านเพื่อความเพลิดเพลินอย่างเดียวได้ (ยกเวินท่านเป็นอัจฉริยะ ) คนอ่านต้องมีพื้นความรู้ของเรื่องที่กำลังอ่านพอสมควร ไม่งั้นงงเต๊ก


ตามนั้นฮับ


โดย: wanderer IP: 125.24.29.219 วันที่: 7 พฤษภาคม 2551 เวลา:13:58:38 น.  

 

คนแถวบ้านที่เรียนแพทย์สาขาต่างๆ ถ้าตำราเรียนที่ต้องใช้อ้างอิงหลังจบ (ซึ่งเยอะนะ) จะซื้อตั้งแต่เรียน หรืออาจหยิบยืม แต่มีเป็นของตัวเองเมื่อเริ่มทำงาน ส่วนมากตำราพวกนี้ จะเป็นรูปแสดงอวัยวะซับซ้อน อย่างที่คุณ carousal บอก หรือตำรายา

ส่วนตัวเราเอง - แนววิชาเดียวกับแพนด้า ก็คล้ายๆ กัน อุดหนุนซีร็อกซ์เป็นบางวิชา เพราะถ้าตั้งใจเก็บเล่มไหน จะไม่ซีร็อกซ์เลย คุณภาพไม่ดีเท่าฉบับพิมพ์

อ่านเสริม กลับซื้อเล่มจริง แต่ไปหาแถวหนังสือลดราคาแทน


โดย: อั๊งอังอา IP: 124.120.120.187 วันที่: 7 พฤษภาคม 2551 เวลา:17:02:25 น.  

 
สำหรับคนเรียนคณะวิทย์ฯ

เท่าที่เห็น ถ้าเป็นวิชาหลักๆ ยากๆ และอาจารย์แนะนำหนังสือโดยชัดแจ้ง ว่าใช้เล่มนี้เป็นหลักนะ ก็มักจะซื้อมาเก็บไว้เป็นเครื่องรางกันค่ะ

ยกตัวอย่างเช่น สมัยเรียนป.ตรี
ปี 1 วิชา Biology ใช้ Campbell (ชื่อคนแต่งน่ะ เวลาเรียกตำราหลัก ไม่รู้สาขาอื่นเค้าเรียกหนังสือด้วยชื่อคนแต่งกันแบบนี้กันหรือเปล่า)
Campbell ไม่ค่อยมีคนซื้อเพราะภาคbioซื้อมาเยอะๆ เป็นหลายสิบก๊อปปี้ใส่ไว้ในห้องสมุด

ปี 2 วิชา Organic chemistry ใช้ Wade
เล่มนี้ที่จริงห้องสมุดก็มี แต่ก็นิยมซื้อมาเก็บไว้

ปี 3-4 วิชา Biochemistry ตอนนั้นใช้ Voet
เล่มนี้หนาหนักมาก ชนิดที่ว่าใช้เป็นอาวุธฟาดคอหักได้สบายๆ แทบจะทุกคนซื้อไว้เป็นสมบัติของตัวเอง เพราะว่าจำเป็นต้องใช้เป็นอุปกรณ์ทำมาหากิน (ก็เรียนสาขานี้นี่หน่า...) ในวิชาบางวิชาที่เรียนตอนนั้น อาจารย์บางท่านก็ให้แบกเอาตำรามาเปิดกางกันในคาบเรียนนั่นเลย

ที่พูดมาทั้งหมดนั่นสั่งมาวางขายที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ขายดิบขายดีพอประมาณ



พอย้ายมาที่มหิดลบ้าง

เนื่องจากปัจจุบันนี้วิทยาการซีร็อกซ์ของร้านเมตตาที่มหิดล และร้านซีร็อกซ์อื่นๆนั้นก้าวหน้ามาก
ซีร็อกซ์หนังสือออกมาเหมือนเด๊ะจนบางทีดูไม่ออกว่าเป็นหนังสือซีร็อกซ์ (จะบอกว่าในห้องสมุดหลายเล่มก็เป็นหนังสือซีร็อกซ์นะ... ละเมิดลิขสิทธิ์กันสนุกสนานเลย...)

ถ้าไม่ใช่วิชาหลักจริงๆ ก็จะไม่ซื้อกันค่ะ

อย่างเช่นวิชาช่วยตัดสินใจ(ว่าตูจะเรียนโทต่อดีมั้ยฟะ หรือจะไปทำงานดี) อย่างวิชา Cell bio
ซึ่งเป็นวิชาประมาณปรับพื้นฐาน เรียนกันหลายคณะหลายภาค ในช่วงซัมเมอร์ก่อนเปิดเรียนจริง
ต้องอาศัยอ่านตำรา แต่เนื่องจากว่าตัวตำราจริงมันหลายพัน แพงเอาเรื่อง ก็อาศัยซีร็อกซ์เอาเกือบทุกคน (ที่จริงมันต้องดูรูปสีด้วย แต่แพงเกินเหตุ ก็ต้องซีร็อกซ์เอา)

วิชา Biochemistry (อีกแล้ว) พอมาที่มหิดลใช้ตำราหลักเป็น Lehninger
ทุกคนมีซื้อเก็บไว้ค่ะ เพราะเป็นอุปกรณ์ทำมาหากิน เช่นว่า ตอนสอบ Qualify สำหรับป.เอกนั้นจำเป็นต้องอ่านทั้งเล่มไปสองสามเดือน มีไว้เองน่าจะดีกว่า

ตำราอื่นๆ ที่ต้องใช้ตามแต่ว่าทำวิจัยกันแง่ไหน (แต่อันที่จริงก็อาศัยพวกonline journalเสียเป็นส่วนใหญ่นะ) ถ้ามันไม่ต้องอาศัยสีสันมาก ก็ซีร็อกซ์กัน หรือถ้าต้องดูรูปมากๆ ก็จะใช้วิธีเชียร์ให้ซื้อเข้าห้องสมุดภาควิชา หรือไม่ก็เชียร์ให้อาจารย์ซื้อมาวางไว้ที่แล็บค่ะ ไม่ค่อยมีใครซื้อเอง นอกจากคนที่ได้ทุนบางอย่างที่เค้าซัพพอร์ตเรื่องอุปกรณ์การเรียนด้วย

เล่าเพลิน รู้สึกเหมือนตอบไม่ตรงคำถาม
แต่เดี๋ยวจะพยายามสรุปอีกที

1.ถ้าเป็นตำราหลัก ที่อาจารย์ recommend มักจะหามาไว้กับตัว ถ้าราคาไม่สูงนัก จะซื้อของจริง ถ้าราคาสูงเกินไป (เกินหนึ่งพันก็ชักคิดหนักแล้ว) จะใช้ซีร็อกซ์เอา (บางเล่ม เล่มละหกพันใครมันจะไปซื้อ....ฟะ...) ตำราที่คนใช้กันเยอะๆ เรียนกันทุกคน ห้องสมุดมักจะมีไม่พอ แต่ถ้าห้องสมุดมีพอ ก็เป็นไปได้สูงว่าจะไม่ซื้อกัน

2.ถ้าเป็นตำราที่เป็น "อุปกรณ์ทำมาหากิน" เช่น ตำราหลักของสาขาหลักที่เรียน ก็มักจะซื้อกัน และซื้อตัวจริงด้วย เพราะต้องใช้ไปชั่วลูกชั่วหลาน เอ้ย ใช้เยอะใช้อีกนาน

3.ถ้าเป็นตำราที่ต้องใช้ (ซึ่งอาจจะไม่มีวิชาไหนระบุว่าต้องใช้ตำราตัวนี้ ขึ้นอยู่กับว่าใครวิจัยแง่ไหน ต้องใช้ความรู้อันไหน) อันไหนเล่มไม่หนา ไม่ค่อยมีรูป แต่ใช้บ่อย ก็ซีร็อกซ์บ้าง แต่ส่วนใหญ่จะอาศัยห้องสมุดเอา (เชียร์ให้ห้องสมุดซื้อ เชียร์ให้อาจารย์ซื้อ etc)


กำลังคิดอยู่ว่า ถ้าเป็นแบบมาทำเป็นฉบับที่พิมพ์ขายในไทยเท่านั้น ก็อาจจะทำได้นะ สำหรับสาขาที่เป็นพื้นฐานและคนเรียนเยอะๆ อย่างพวก biology chemistry physics ซึ่งจะมีตำราบางเล่มที่(คิดไปเองรึเปล่าก็ไม่รู้) ใช้เล่มเดียวกันในหลายๆมหาวิทยาลัย เช่นว่า ถ้าตำราเคมีก็ต้องแจ๊กกี้ชาง เอ้ย เรมอนด์ ชาง (ตอนนี้มีคนแปลเป็นภาษาไทยแล้วเนอะ) เป็นต้น

พูดถึง การแปลหนังสือเรียนภาษาอังกฤษที่ใช้กันเยอะๆเป็นภาษาไทย ก้เห็นมีเคมี (อย่างที่เล่า) แล้วก็แคลคูลัส กับ ฟิสิกส์ ไม่รู้มีอีกรึเปล่านะ เหมือนกับจะมีของ Schuam's ด้วยมั้ง
เราคิดว่า สำหรับนักเรียนไทย ถ้ามีฉบับภาษาไทยแล้ว มันคงไม่ลำบากไปอุดหนุนฉบับภาษาอังกฤษกันหรอกมั้งนั่น?


โดย: Philomath IP: 203.118.84.141 วันที่: 7 พฤษภาคม 2551 เวลา:17:44:33 น.  

 
ู^
^
^
เคยใช้หนังสือเหมือนข้างบนเลยแฮะทั้ง Campbell, Vade, Voet แล้วก็ Chang

ของเราตำราที่เห็นคนซื้อกันแบ่งเป็นสองประเภท

1. ตำราที่เด็กปีหนึ่งปีสองใช้ เนื่องจากคนมักเห่อจึงแห่กันไปซื้อมากมาย อย่าง Campbell กับ Changซึ่งสุดท้ายแล้วก็ไม่ค่อยได้ใช้ (เราไม่ได้ซื้อจ้า)

2. ตำราเฉพาะทางแบบครอบจักรวาล เช่น ที่คณะเราจะมีการซื้อ Drug Information Handbook แจกนิสิตปี 5 ทุกคนเพราะมันเป็นคู่มือยาครอบจักรวาล มีสิ่งที่จำเป็นต้องรู้เกือบหมด แถมยังอ่านง่าย
และของจริงน้ำหนักเบา แบบซีร็อกซ์หนักมากกก
นอกจากนั้นก็มีตำราด้านเภสัชวิทยา, คู่มือวินิจฉัยโรคเบื้องต้น (เหมาะกับร้านยา)

ตำราที่มีความชุกในการใช้ต่ำลงมาอย่างคู่มือยาคนท้อง ฯลฯ คนที่ใช้ก็จะซีร็อกซ์เอาทั้งเล่ม แต่ถ้าเป็น Methodology หรืออะไรที่ไม่ค่อยได้ใช้ เช่น Immunology ก็ยืมอ่านไม่ก็ซีร็อกซ์เป็นส่วนๆ

ชีทเรียนอาจารย์มักจะเตรียมเองที่ซีร็อกซ์มามักจะเป็นแค่รูป, แผงผัง และตารางต่างๆ พวกที่ต้องฝังเข้าไปในหัว

สุดท้ายแล้วคิดว่าหนทางการขายตำรามีแต่ต้องเจาะเข้าอาจารย์ให้ได้
ไม่ังั้นก็ต้องเป็นหนังสือแนวตะลุยโจทย์ เช่นรวมโจทย์ฟิิสิกส์อย่างของ Shaum หรือพวกแนะแนว IELT, Toefl, GMAT


โดย: ทินา IP: 210.203.178.146 วันที่: 8 พฤษภาคม 2551 เวลา:0:37:40 น.  

 
ปล. คิดว่าตลาดในไทยยังค่อนข้างแคบ เสนอแผนทำเป็นฮับดีไหม ครอบคลุม SE หรือ Asia ไปเลย ถ้าได้จีน อินเดีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ด้วย น่าจะคุ้ม


โดย: ทินา IP: 210.203.178.146 วันที่: 8 พฤษภาคม 2551 เวลา:0:39:39 น.  

 
ขอบคุณทุกคนนุ ยังคงรวบรวมข้อมูลต่อไป

เขามี headquarter อยู่ที่สิงคโปร์แล้วอะจ้า เพิ่งเปิดปีก่อน แต่ว่าเพิ่งเทสต์ตลาดเจอร์นัลออนไลน์ปีที่แล้ว (มีการเอาตัวอย่างมาโปรโมทกับมหาลัย)

ส่วนตลาดหนังสือใน SE ไม่ชัวร์ คิดว่าคงให้สิงคโปร์เป็น distributor แต่ยังไม่เห็นมีใครทำอะไรกับตลาดไทย (หรือทำแล้วแต่รู้สึกไม่เวิร์คก็ไม่รู้ - -'' )

ส่วนตลาดเอเชียมีศูนย์อีกอันที่อินเดีย อันนั้นเดิมที่ครอบคลุมทั้งเอเชียอยู่ แต่ตอนนี้ก็ยก SE ให้ทางสิงคโปร์ดูแล



โดย: เคียว IP: 128.86.158.253 วันที่: 8 พฤษภาคม 2551 เวลา:2:04:01 น.  

 
หนมจีนมาช้าไปรึเปล่าไม่รู้ ^^a
(มัวแต่หลงรูปโอโคฯอยู่ อิอิ)

ที่คณะนิติฯ กลุ่มที่จะใช้ text ภาษาอังกฤษ มีอยู่น้อยมากๆค่ะ เข้าใจว่าที่ มธ. เองก็คงไม่มี ที่จุฬาคนที่จะใช้คือกลุ่มที่เรียน business law มีแค่ไม่ถึงแปดสิบคนต่อปี (ปีหนมจีนมีแค่สามสิบมั้งคะ) กับอีกกลุ่มคือ international law อันนี้มีแค่ไม่ถึงสิบคน แค่นับปริมาณตลาดก็เริ่มเครียดแทน ^^''

จำนวน text ที่ต้องอ่านก็มีแค่ไม่กี่เล่มค่ะ แต่ละเล่มจะแพงเหลือใจ แถมยังใช้ได้ไม่มาก เพราะฉะนั้น... แหะแหะ ร้านซีรอกซ์หน้าคณะคือพระเจ้าค่ะ ^^a นอกนั้น material ส่วนใหญ่จะมาจากเวบไซต์ขององค์กรระหว่างประเทศเสียมากกว่า ซึ่งพวกนี้ต้อง download จากเน็ต หรือไม่ก็เป็นอาจารย์ที่เตรียมมาให้ค่ะ หนังสืออธิบายประกอบพวกนี้มีน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่จะเขียนกันเป็นบทความ ลง journal เสียมากกว่า

แต่ที่น่าสนใจคือ online journal ค่ะ เพราะนอกจากจะใช้ในวงการศึกษาแล้ว ตอนทำงานก็จำเป็นมากๆด้วย เพราะต้องอัพเดทเคสอยู่ตลอดเวลา หนมจีนเคยใช้พวก westlaw ตอนเรียนโทที่โน่น แต่เมืองไทยยังไม่เคยเห็นนะคะ ส่วนใหญ่จะต้องอาศัยดาต้าเบสของที่ทำงาน ซึ่งออกแนวตัวใครตัวมัน บริษัทใครบริษัทมันมาก ถ้ามี online journal เข้ามา พวกเฟิร์มเล็กๆน่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ดีกว่าวงการศึกษาที่ดูแล้วมีแค่ไม่กี่มหาวิทยาลัย แถมกลุ่มนี้ยังมีกำลังซื้อมากกว่าวงการศึกษาด้วยสิคะ

หวังว่าคงเป็นประโยชน์นะคะ



โดย: หนมจีน IP: 58.41.142.134 วันที่: 8 พฤษภาคม 2551 เวลา:8:20:22 น.  

 
ทินา say:
สุดท้ายแล้วคิดว่าหนทางการขายตำรามีแต่ต้องเจาะเข้าอาจารย์ให้ได้
ไม่ังั้นก็ต้องเป็นหนังสือแนวตะลุยโจทย์ เช่นรวมโจทย์ฟิิสิกส์อย่างของ Shaum หรือพวกแนะแนว IELT, Toefl, GMAT


ถูกต้องนะคร้าบบบบบ
อันนี้เห็นด้วยจ้า


โดย: Philomath IP: 202.133.135.104 วันที่: 8 พฤษภาคม 2551 เวลา:11:15:40 น.  

 
เนื่องจากวิทยาการซีร็อกซ์แถวมหิดลก้าวหน้ายิ่งนัก บางเจ้าสามารถทำเหมือนยิ่งกว่าของจริง (เอ๊ะยังไง) คือเอาฉบับซีร็อกซ์กะต้นฉบับมาวางเทียบ สามารถคอนวินซ์คนให้เชื่อว่าไอ้ฉบับซีร็อกซ์น่ะคือต้นฉบับได้ อันนี้ข้อมูลจากเพื่อนที่เรียนสาขาเทคโนฯ ที่อาจารย์เขาสั่งให้ซื้อหนังสือซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และแพงมาก เพื่อนมันก็ยืมรุ่นพี่มาเล่มนึง แล้วซีร็อกซ์กัน ประหยัดไปได้หลายเท่าเลย

ส่วนพวกตำราที่ต้องใช้เรียนทุกคนทุกสาขา เช่นหนังสือ music theory ทางคณะทำฉบับซีร็อกซ์ขายเลยค่ะ

พวก text อื่นๆ ที่ไม่ได้ใช้เรียน คือไม่บังคับว่าต้องมีทุกคน คนที่สนใจก็มักยืมจากห้องสมุดไปซีร็อกซ์ค่ะ

อันที่จริงสาเหตุหลักที่นักศึกษาซีร็อกซ์กันก็เพราะต้นฉบับมันแพงเวอร์ และตำราดนตรีก็ต้องสั่งซื้อเกือบทั้งนั้น (ถ้าไม่สั่งซื้อก็ฝากซื้อ) สำหรับนักศึกษานอกจากแพงแล้วบางทีก็หายากด้วย เลยใช้ซีร็อกซ์กันเป็นหลัก แต่ถ้าอาจารย์ส่วนใหญ่จะมีเล่มจริงกันค่ะ (เอาไว้ให้นักศึกษายืมซีร็อกซ์) อาจารย์คนหนึ่งเคยพูดไว้ว่า ยังเรียนอยู่ก็ใช้พวกของซีร็อกซ์ไปก่อนก็ได้ไม่เป็นไร แต่ถ้าทำงานมีรายได้แล้วก็ควรซื้อของจริง


โดย: LIL IP: 124.120.141.194 วันที่: 8 พฤษภาคม 2551 เวลา:13:44:03 น.  

 
รุ่นพี่บอกว่า..
- น้องไปเรียนแล้วอยากได้เล่มไหน ที่ร้าน(ร้านถ่ายเอกสารอ่ะนะ)แสกนเก็บไว้หมด เพียงร้อยละ35คะ

- มีแจกtextให้สูบกันถล่มทลาย
โหลดโหดกันอย่างสนุกสนาน -"-

- ไม่งั้นก็รับช่วงตำราต่อจากรุ่นพี่คะ

มีเรื่องจะถามพี่เคียวด้วยคะ
ไปอยู่ที่นั่น พี่เคียวเกิดอาการโฮมซิคไหมคะ?


โดย: longata IP: 118.174.147.128 วันที่: 8 พฤษภาคม 2551 เวลา:14:06:53 น.  

 
นึกออกอีกอย่างอันนี้เห็นที่บริษัทยา
พวกเจอร์นัลดังๆอย่าง Lancet,
New England Med, JAMA, Drugs
เขาจะมีรีวิวยาเป็นตัวๆ หรือกลุ่มๆไป

ทีนี้บริษัทยาก็จะไปสั่งพิมพ์เฉพาะบทความเกี่ยวกับยาของตัวเองเป็นรูปเล่มสวยงามมาแจกตามโรงพยาบาล (เข้าใจว่ามีลิขสิทธิ์ถูกต้องเพราะเป็นกระดาษอาร์ทมัน สี่สี แถมมีตราเจอร์นัลแหมะอยู่)

อีกอย่างก็เป็น Application ใช้กับPDA แต่จะเป็นตำราที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เจ้า Handbook ที่ว่านั่น


โดย: ทินา IP: 210.203.179.236 วันที่: 8 พฤษภาคม 2551 เวลา:20:05:40 น.  

 
ตอนนี้มีลิสต์อีกกลุ่มหนึ่งที่น่าจะแปลได้ คือหนังสือฮาวน์ทูสำหรับการศึกษาระดับสูง เช่น วิธีเขียนธีสิส วิธีพรีเซนต์งานให้ได้ผล วิธีเขียนธีสิส proposal ให้ผ่าน การไปเป็นนักเรียนอินเตอร์ในอังกฤษ ก็อปปี้ลิสต์เท่าที่คิดว่าน่าจะเวิร์คในเมืองไทยมาให้ดู กับลิสต์อื่น ๆ ที่คิดว่าน่าจะแปลได้ ใครมีความเห็นยังไงก็บอกได้นุ

Higher Education Companion

- Introduction to International Education (Mary Hayden)
- Essential Study Skills (Tom Burns + Sandra Sinfield)
- The International Student’s Survival Guide (Gareth Davey)
- A Student’s Guide to Presentation (Barbara Chirers)
- Proposal That Work (Lawrence Flocke/ Waneen Wyrick Spirduso/ Stephen J.Silverma)
- Good Essay Writing (Peter Redman)
- Writing Your Thesis (Paul Oliver)
- Writing a Successful Thesis or Dissertation
- Writing and Presenting Research (Angela Thody)
- Teaching at University (Kate Morss + Rowena Murray)
- Internet Research Skills (Niall O Dochartaigh)

Concerning Health/ Children/ Self-Improvement/ Autism and Aspersers Experience

- Food and Health in Early Childhood (Deborah Albon)
- Handbook of Parenting (Masud S. Hoghughi)
- Change for Better (Elizabeth Wilde McCormick)
- Child-centered Education (Christine Doddington)
- I Can’t Do That (John Ling)
- Martian in the Playground (Clave Sainsbury)
- I Can’t Walk but I Can Crawl (Joan Ross)
- Using Microsoft Office to Enhance Student Learning (Allan F.Livers)

Management

- Creative Management and Development (Jane Henry)
- Career Management and Work-life Integration (Douglas T. Hall)
- Managing Change, Creativity and Innovation (Patrick Dawson)
- Entrepreneurship for Everyone (Robert Mellor)

Other
- International Law (Beth A. Simmons)
- The New Asian Power Dynamic (Maharajakrishna Rosgotra)
- The International Relations of Asia-Pacific (Shaun Breslin)


โดย: เคียว IP: 213.52.211.151 วันที่: 8 พฤษภาคม 2551 เวลา:20:12:45 น.  

 
>_<''

ง้า~~~
ไม่อยากจะบอกเลยว่า เพิ่งจะซีร็อกซ์หนังสือ
how to ประมาณอย่างที่ว่าไปเมื่อตอนก่อนสงกรานต์
เห็นวางรอเข้าคิวเชือดอยู่ที่ร้านซีรร็อกซ์ (หนังสือใครก็ไม่รู้) เลยขอแอบฝากไปด้วยเล่มสองเล่ม
หนังสือพวกแนะนำวิธี presentation
การเขียนผลงานตีพิมพ์
การเขียนthesis น่ะ เหอๆๆ

เวลาเอาหนังสือไปวางร้านซีร็อกซ์เนี่ย
มันก็เสี่ยงกับการถูกก๊อปโดยคนอื่นนะคะ (ถ้าเป็นต้นฉบับหรืออะไรที่เป็นความลับไม่อยากให้คนอื่นได้ก๊อปปี้)...
ไปร่วมด้วยช่วยก๊อปหนังสือ(ชาวบ้าน)มาหลายครั้งแล้ว ไม่รู้จะผิดรึเปล่านะเนี่ย (สารภาพ) เพราะว่าที่เห็นหนังสือบางอย่างเป็นหนังสือดีๆ ที่ไม่ใช่หนังสือห้องสมุด (คงมีใครซักคนที่ลงทุนซื้อมา) แล้วอยู่ในแนวที่ต้องใช้ด้วยน่ะค่ะ


โดย: Philomath IP: 202.133.135.111 วันที่: 9 พฤษภาคม 2551 เวลา:10:40:50 น.  

 
ตามความเห็นกลุ่ม Higher Education Companion รายชื่อหนังสือน่าสนใจ และคิดว่าถ้าแปลแล้วคงจะเหมาะกับตลาดไทยมากที่สุด
...- -' โลกที่ต้องการหนทางและความก้าวหน้า

ส่วน เมเนจเมนท์ ที่น่าสนใจเห็นจะเป็น
- Career Management and Work-life Integration (Douglas T. Hall)
- Entrepreneurship for Everyone (Robert Mellor)
...ตัวentreperneurship นั้นดูน่าสนใจดีสำหรับสังคมไทยสมัยนี้

ในไลน์ other ...คร่อก...(ความเห็นส่วนตัวนะครับ)

มีคำถาม... i can't do that เนื้อหาเป็นไง


โดย: เลจัง IP: 58.9.231.117 วันที่: 9 พฤษภาคม 2551 เวลา:23:32:39 น.  

 
Higher Education Companion
น่าแปลดีค่ะ กลุ่มเป้าหมายคงใหญ่ด้วย เพราะรวมทุกคณะได้เลย

พวก Management หรือ Intl Law เนี่ย ส่วนใหญ่น่าจะเรียนเป็นภาษาอังกฤษอยู่แล้ว (รึเปล่า?) คนที่เรียนแบบนั้นคงไม่สนใจอ่านแปลมั้ง (คือ ถ้าเราเรียนอยู่ คงไม่คิดจะหาภาษาไทยมาอ่านหรอก มันไม่ได้ช่วยในการสอบน่ะ)


โดย: ยาคูลท์ วันที่: 10 พฤษภาคม 2551 เวลา:7:41:26 น.  

 
1. ในเชิงคนที่เรียนอักษร คงไม่ต้องบอกอะไร เอาเป็นว่าในเชิงของคนเรียนเสดสาด ตอนนี้เพิ่งเริ่มเรียนแต่รายชื่อ text book มาพอเป็นกระสัย แต่ไม่แน่ใจว่าตอนเริ่มเรียนจริงๆ จะมีแจกไหม แต่เท่าที่รู้ อ่านเยอะมาก (และอยากจะได้ฉบับซี มากกว่าเพราะน่าจะถูกกว่า ^^")

2. ไม่รู้จะแนะนำอะไร แต่ไม่คิดจะเอาดิกเข้ามามั่งเหรอ อยากได้ยี่ห้อใหม่ๆ มาอยู่ใน collection หลังจากที่กลับมาเรียนใหม่อีกรอบ ไฟในการซื้อดิกก็กลับมาใหม่อีกแล้ว

ปล เอาหนังสือวิธีการเขียน thesis กลับมาฝากซักเล่มก็ดีนะ ดูน่าจะได้ใช้ชะมัด ^^"



โดย: Rungyee IP: 58.9.61.251 วันที่: 10 พฤษภาคม 2551 เวลา:22:04:49 น.  

 
ตลาดหนังสือไทยเปิดกว้างพอควรนะครับ

แต่เท่าที่สังเกตดู มันขึ้นอยู่กับการทำรูปเล่มและการตลาดอยู่หลายส่วน ในความเห็นส่วนตัว หนังสือที่ "ออกแนว How to" คนไทยน่าจะชอบ ถ้าหนักเป็นวิชาการและรูปเล่มวิชาการก็ขายยากหน่อย

แต่ก็อีกนั่นละ ผมว่าการขายยากในทีนี้น่าจะดูที่ประเด็นว่า จุดประสงค์ของการขาย ขายทั่วไป ให้ได้ลูกค้าอ่านเยอะๆ หรือขายเฉพาะกลุ่มซึ่งอาจอ่านงานนั้นๆ เช่น คนเรียนกฏหมาย ก็ย่อมที่จะอ่านงานประเภทกฏหมายแน่ๆ (และก็อาจจะเป็นคนกลุ่มน้อย เมื่อเที่ยบกับการจะขายให้คนทั่วไป ~ ยิ่งถ้าเป็นพวกที่คนสนใจน้อยๆ ยิ่งไม่ต้องพูดถึง)

ส่วนประสบการณ์ส่วนตัวในการเรียนด้วยหนังสือวิชาการ เนื่องด้วยต้องอ่านเป็นอังกฤษเสียเป็นส่วนมาก และหนังสือหนังหายังไม่มีขายในบ้าน การทำสำเนาจึงเป็นสรณะไปเลย (และสนิทกับพี่ที่ถายซีร็อกซ์ด้วย)
แต่ถ้าได้แปล คนเรียนหลายคนก็น่าจะเลือกเสพในสิ่งที่ง่ายกว่าอยู่ แต่ก็อีกนั่นล่ะ โดยมากอาจารย์จะ assign มาแล้วว่าคุณต้องอ่านเล่มโน้นเล่มนี้ ถึงจะมีแปลมา แต่อาจารย์ไม่ให้อ่าน ก็...จะหามาอ่านทำไม ...อันนี้คิดตามคอนเซปต์ของเด็กนักเรียนไทยที่ "ไม่ค่อยจะ" หาความรู้เพิ่มเติมนอกจากอาจารย์บอกเท่าไหร่

ปล. จะช่วยได้กี่มากน้อยเนี่ย


โดย: Boyne Byron วันที่: 12 พฤษภาคม 2551 เวลา:10:20:53 น.  

 
- มาทันมั้ยเนี่ย

เรียนวิศวะ สำหรับตำราหลัก ราคา 2-3 พัน ซื้อทุกเล่มครับ แต่วิืชาเสริมนี่ก็มีทั้งซีรอกซ์และหาภาษาไทยอ่าน

กลุ่มหนังสือ management ถ้าในไทย ซีเอ็ดอาจจะสนใจ เพราะมีนโยบายทำตำราระดับมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว อย่างล่าสุดก็พึ่งได้สิทธิขายตำราของออกฟอร์ดแต่ผู้เดียวในเขตอาเซียน

ผมคิดว่าลอง e-mail ติดต่อกับทางซีเอ็ดดู เขาอาจสนใจก็ได้นะ


โดย: house IP: 58.8.79.195 วันที่: 12 พฤษภาคม 2551 เวลา:17:23:21 น.  

 
ขอบคุณทุกความเห็นนะคะ ใครมีความเห็นอะไรยังบอกมาได้เรื่อย ๆ เน้อ ยังเขียนรายงานอยู่อย่างขะมักเขม้น

I can't do that เป็นเรื่องเด็กออทิสติกอะ เห็นมีสนพ เล่นแนวนี้เหมือนกันเลยใส่มาด้วย


โดย: เคียว IP: 213.52.211.151 วันที่: 12 พฤษภาคม 2551 เวลา:18:40:13 น.  

 
อ่า ตอนพี่เรียนป.ตรี(สายวิทย์) เมื่อ 9 ปีก่อน ตอนเรียนไม่มีใครซื้อตำราจริงกันเลยค่ะปัน ใช้ซีรอกซ์กันทั้งนั้นเลยโดยอาจารย์จะแนะนำว่าให้ไปยืมหนังสือเล่มไหนจากห้องสมุดเอาไปซีรอกซ์ใช้เรียนกันน่ะคะ - -"

ณปัจจุบันนี้ไม่ทราบแล้วอะน้อ คิดว่าขึ้นกับอาจารย์ผู้สอนแหละ เพราะปกติเป็นคนระบุเองว่าจะให้ตำราอะไรประกอบ ถ้าตำรานั้นหายาก หรือแพงมาก ก็มักจะใช้ซีรอกซ์กันเป็นส่วนใหญ่
ส่วนพวกตำราดีๆ นี่ถ้านักศึกษาคนไหนถูกใจและมีกำลังซื้อมากพออาจจะซือ้เก็บไว้เองก็อาจจะมีเหมือนกันค่ะ แต่คงน้อยอะ หลักๆก็ติดเรื่องราคานี่ละปัน ทำให้ไม่ค่อยซื้อตำรากันน่ะค่ะ


โดย: romancer IP: 124.121.208.43 วันที่: 12 พฤษภาคม 2551 เวลา:20:34:40 น.  

 
ไม่รู้ว่าจะทันมั้ย ถ้าสนใจแปลหนังสือด้านการลงทุน เศรษฐศาสตร์ นี่มีมั้ยครับ

ติดต่อที่ adv_stu@hotmail.com ครับ


โดย: วิทยา IP: 124.120.76.4 วันที่: 12 พฤษภาคม 2551 เวลา:21:29:14 น.  

 
คุณromancerเนี่ย ห่างกับเราแค่ปีสองปีไหงมันต่างกันเยอะนักอะคะ = =''
สมัยเรา (เมื่อ 11-8 ปีก่อน)
ก็เห็นซื้อ text กันนะ (ดูความเห็น 8)


โดย: Philomath IP: 203.118.84.38 วันที่: 12 พฤษภาคม 2551 เวลา:21:35:59 น.  

 
^
^
คห.26
จขบ.เขาไม่ได้ประกาศหาคนแปลหนังสือจ้า
แค่กำลังหาประเด็นทำรายงานเฉยๆ

ดูรายชื่อแล้วคิดว่าหนังสือในกลุ่มแรก
พวก International student guide น่าจะเวิร์ค
แต่พวกบริหารคงต้องเลือกๆหน่อย
เดี๋ยวนี้มีเล่มที่พยายามทำให้อ่านง่ายๆออกมาเยอะแล้ว


โดย: ทินา IP: 210.203.182.115 วันที่: 12 พฤษภาคม 2551 เวลา:22:50:26 น.  

 
น้องสาวพี่กกเรียนแพทย์อะปันปัน เห็นมันก็ซื้อหนังสือซีรอกซ์นะ เพื่อนๆ มันก็ใช้ระบบหนังสือซีรอกซ์เช่นกัน รวยๆ กันอย่างนั้นก็เถอะ นัยว่าที่ร้านซีรอกซ์เขามีเย็บเล่มขายรอไว้แล้ว ถ้าสั่งซื้อจากอาจารย์ก็ต้องรออีก ก็เลยซื้อไปเลยในราคาที่ลดจากของจริงราว 40-50%

แต่ถ้าเป็นพวกคู่มือที่ต้องใช้นานๆ หรือใช้ได้แม้หลังเรียนจบก็จะซื้อเล่มจริงกันซึ่งบรรดาคู่มือแพทย์เหล่านี้เคยไปเดินดูตามร้านแล้วหาซื้อง่าย ประหนึ่งว่าเล่มไหนที่ขายได้ก็มีคนจองขายไว้แล้วอะ

ส่วนตัวพี่กกเคยเรียน IT ตอนปริญญาโท ค่าเทอมเขาจะบวกค่าหนังสือไว้เลย เป็นตำราภาษาอังกฤษด้วยแต่ไม่รู้หรอกว่ามันมีที่มาจากไหน ได้มาทีครบชุด หนังสือสวยๆ ทั้งนั้นด้วย

^^' ช่วยได้แค่นี้ล่ะน้อ (เกาหัว)


โดย: ฯคีตกาล วันที่: 13 พฤษภาคม 2551 เวลา:17:32:07 น.  

 
มาไม่ทันซะละ

ตามปกติแล้ว ตำราที่มีภาพประกอบที่จำเป็นต้องใช้เช่น อาการแสดงของโรคผิดหนัง ก็ซื้อของแท้อ่ะ
แต่ซื้อได้ไม่บ่อยหรอก ของราคาหลักหลายพัน

ตำราที่ช่วยในการวินิจฉัยน่ะจำเป็นมากๆ แล้วเนื้อหามันจะเพิ่มเติ่มอยู่ทุกๆ 5 ปี
ยี่ห้อประจำที่ต้องมี ก็ merge (เรียกหมอนจีน)
เพราะความหนามันมากกว่าความกว้างของตำราอีก

พวกนี้มีบ.นำเข้ามาขายประจำหรือไม่ก็จดรายการทั้งชั้นปีไปซื้อที่ร้านหนังสือ หรือตอนจัดสัมมนา
จบแล้วอาจซื้อของจริง แต่ตอนเรียนแค่ฉบับซีฯ ก็ทำเป็นโรคทรัพย์จางแล้ว
พวกกายวิภาคก็มีคนละ 3-4 เล่มตามชนิดสัตว์
วินิจฉัยโรค อีก 5-6 เล่ม
พวกเจอร์นอล หาเอาตามเวปฯ

ถ้าจะทำโครงการแปล แนะนำตำราวินิจฉัยโรคอ่ะ
พวก internal med. ยังไงก็ต้องมีกันอยู่แล้ว


โดย: moji IP: 58.9.26.234 วันที่: 17 พฤษภาคม 2551 เวลา:15:57:20 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ลวิตร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




ลวิตร์ = พัณณิดา ภูมิวัฒน์ = เคียว

รูปในบล็อค
เป็นมัสกอตงาน Expo ของญี่ปุ่น
เมื่อปี 2005
น่ารักดีเนอะ

>>>My Twitter<<<



คุณเคียวชอบเรียกตัวเองว่า คุณเคียว
แต่ที่จริง
คุณเคียวมีชื่อเยอะแยะมากมาย

คุณเคียวมีชื่อเล่น มีชื่อจริง
มีนามปากกา
มีสมญาที่ได้มาตามวาระ
และโอกาส

แต่ถึงอย่างนั้น
ไส้ในก็ยังเป็นคนเดียวกัน
ไส้ในก็ยังชอบกินข้าวแฝ่ (กาแฟ ) เหมือนกัน
ไส้ในก็ยังชอบกินอาหารญี่ปุ่นเหมือนกัน
ไส้ในก็ยังชอบสัตว์ (ส่วนใหญ่)
ไส้ในก็ยังชอบอ่านหนังสือ ชอบวาดรูป
ชอบฝันเฟื่องบ้าพลัง
และชอบเรื่องแฟนตาซีกับไซไฟ
(โดยเฉพาะที่มียิงแสง )

ไส้ในก็ยังรู้สึกถึงสิ่งต่าง ๆ
และใช้ถ้อยคำเดียวกันมาอธิบายโลกภายนอก

ไส้ในก็ยังคิดเสมอว่า
ไม่ว่าเรียกฉัน
ด้วยชื่ออะไร

ก็ขอให้เป็นเพื่อนกันด้วย




Friends' blogs
[Add ลวิตร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.