ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

…… ที่บอกว่าพูดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อแปลแล้วเป็นภาษาอังกฤษก็ไม่เข้าใจความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง ก็เลย บอกแล้วว่า ถ้าไม่เข้าใจจะอธิบายใหม่ ก็ได้อธิบายใหม่ เมื่อปีที่แล้ว วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑ ก็ได้อธิบาย ก็รู้สึกว่าได้อธิบายอย่างแจ่มแจ้ง ยืดยาว ก็ดูใครต่อใครก็พยักหน้าว่าเออดี ทำไปทำมาก็ถามกันว่า จะทำอย่างไรสำหรับเศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัว ก็มีการสัมมนากัน มีรายการวิทยุ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนถามกันไปถามกันมาว่า เศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัวนี่เป็นอย่างไร เขาบอกว่า ....... ดี จะทำให้ประเทศชาติรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ได้ บางคนก็คัดค้านบอกว่าไม่ดี ไม่ใช่ว่าผู้ที่กล่าวถึง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นคล้ายๆ เป็นทฤษฎีใหม่ จะน้อยใจไม่น้อยใจ ดีใจที่ท่านผู้ที่เป็นนักเศรษฐกิจ ผู้ที่เป็นอาจารย์เศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียง เขาอุตส่าห์ อ้างถึงเอ่ยถึงเศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัว ถ้าเขาไม่เห็นว่า มีดี เขาไม่พูดเลย ถ้าพูดเดี๋ยวหาว่ามาติเตียนพระเจ้าอยู่หัวไม่ดี ….. มีคนหนึ่งพูด เป็นดอกเตอร์ เขาพูดว่า เศรษฐกิจพอเพียง นี่ภาษาอังกฤษว่าอย่างไร แหมคันปากอยากจะพูดที่จริงที่คันปากที่จะพูดเพราะว่าตอบแล้ว อย่างที่เห็นในทีวีรายการใหญ่ เขาพูดถามโน่นถามนี่ เราดูแล้วรำคาญเพราะว่าตอบแล้ว ตอบเสร็จแล้วก็ถามใหม่เมื่อ ตอบอีกก็บอกว่าทำไมพูด คราวนี้เราฟังเขา แล้วเขาถามว่าภาษาอังกฤษจะแปลเศรษฐกิจพอเพียงว่าอย่างไร ก็อยากจะตอบว่า มีแล้วใน หนังสือ ในหนังสือไม่ใช่หนังสือตำราเศรษฐกิจในหนังสือพระราชดำรัส ที่อุตส่าห์พิมพ์ และนำมาปรับปรุงดูให้ฟังได้ และแปลเป็นภาษาอังกฤษ เพราะว่าคนที่ฟังภาษาไทย บางทีไม่เข้าใจภาษาไทย ก็ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ และเน้นว่า เศรษฐกิจพอเพียง แปลว่า Sufficiency Economy โดยเขียนเป็นตัวหนาในหนังสือ เสร็จแล้ว เขาก็มาบอกว่า คำว่า Sufficiency Economy ไม่มีในตำรา เศรษฐกิจ จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่ เป็นตำราใหม่ ถ้ามีอยู่ในตำราก็หมายความว่าเราก๊อปปี้มา เราลอกเขามา เราไม่ได้ลอก ไม่อยู่ในตำราเศรษฐกิจ เป็นเกียรติที่เขาพูดอย่างที่เขาพูดอย่างนี้ว่า Sufficiency Economy นั้นไม่มีในตำรา การที่พูดว่าไม่มีในตำรานี่ที่ว่าเป็นเกียรตินั้นก็หมายความว่า เรามีความคิดใหม่ โดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ ก็หมายความว่า เราก็สามารถที่จะคิดอะไรได้ จะถูก จะผิดก็ช่างแต่ว่าเขาสนใจ แล้วก็ถ้าเขาสนใจ เขาก็สามารถที่จะไปปรับปรุงหรือไปใช้หลักการ เพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศ และของโลกพัฒนาดีขึ้น ..... เศรษฐกิจพอเพียงก็มีเป็นขั้นๆ แต่ว่าต้อง ดูว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี้ที่จะมาบอกว่าให้พอเพียงเฉพาะตัวเอง ๑๐๐ % เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกัน ถ้ามีการช่วยกันแลกเปลี่ยนไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียงแล้ว แต่ว่า พอเพียงในทฤษฎีหลวงนี้คือสามารถที่จะดำเนินงานได้ เมืองไทยไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียงนี้ ไม่ได้ตำหนิ ไม่เคยพูด นี่เพิ่งพูดวันนี้ พูดเวลานี้ ขณะนี้ว่า ประเทศไทยไม่ใช้เศรษฐกิจพอเพียงค่อนข้างจะแย่ เพราะว่าจะทำให้ล่มจม เศรษฐกิจพอเพียง ที่หมายถึงนี้ คือว่า อย่างคนที่ทำธุรกิจก็ย่อมต้องไปกู้เงิน เพราะว่าธุรกิจหรือกิจการอุตสาหกรรมสมัยใหม่ คนเดียวไม่สามารถที่จะรวบรวมทุนมาสร้างกิจกรรมที่ใหญ่ เช่นเรื่องเขื่อนป่าสักคนเดียวทำไม่ได้ หรือแม้หน่วยราชการหน่วยเดียวทำไม่ได้...........ถ้านับดูปีนี้น่าจะมีความเสียหาย หมื่นล้านไม่ต้องเสีย และที่ไม่ต้องเสียนี้ก็ทำให้เกิดมีผลผลิต โดยเฉพาะอย่างเกษตรเขาก็มีผลผลิตได้ แม้จะปีนี้ซึ่งเขื่อนยังไม่ได้ทำงาน ในด้านชลประทาน ก็ทำให้ป้องกันไม่ให้มีน้ำท่วม ทำให้เกษตรกรเพาะปลูกได้ ก็เป็นเงินหลายพันล้านเหมือนกัน ฉะนั้นในปีเดียว เขื่อนป่าสักนี้ได้คุ้มแล้ว คุ้มค่าที่ได้สร้าง 2 หมื่นล้านนั้น …… ก็หมายความว่ากิจการเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน แต่ว่าเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ก็พอเพียงเพราะว่าถ้าทำแล้ว คนอาจจะเกี่ยวข้องกับกิจการนี้มากมาย แต่ว่าทำให้ส่วนรวมได้รับประโยชน์และจะทำให้เจริญ ....... แต่ว่าถ้ากิจการที่ทำไม่มีนโยบายที่แน่วแน่ ที่สอดคล้องกัน มัวแต่ทะเลาะกัน ไม่สำเร็จ ก็ถือว่าไม่ได้ประโยชน์จากกิจการที่คิด เมื่อไม่มีประโยชน์ จากกิจการที่คิด ป่านนี้เราจะจนลงไป เงินสองหมื่นล้านที่ไปลงในการสร้างนั้น เงินสองหมื่นล้านก็หมดไปแล้ว หมดไปโดยไม่มีประโยชน์ หมดไปโดยได้ทำลาย เพราะว่าเดือดร้อน เกษตรกรเดือดร้อน ชาวกรุงเดือดร้อน ฉะนั้นก็ต้องมีเหมือนกันโครงการต่างๆ หรือเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่ต้องมีการสอดคล้องกันดี ที่ไม่ใช่เพียงแต่เหมือนทฤษฎีใหม่ ๑๕ ไร่ ๑๕ ไร่ แล้วก็สามารถที่จะปลูกข้าวพอกิน ไอ้นี่มันใหญ่กว่า แต่อันนี้ก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกันคือ คนที่ไม่เข้าใจว่า กิจการใหญ่ๆ เหมือนสร้างเขื่อนป่าสัก เขานึกว่าเป็นเศรษฐกิจ สมัยใหม่ เป็นเศรษฐกิจที่ไกลจากเศรษฐกิจพอเพียง นี่เราวัด ได้ว่าเป็นเศรษฐกิจพอเพียง อันนี้เป็นตัวอย่างในทางบวก...............เศรษฐกิจพอเพียงอีกอย่างหนึ่งไม่ค่อยอยากพูด เช่นการแลก เปลี่ยนเงิน ค่าแลกเปลี่ยน นี่ได้พูดมา 2 ปี บอกว่าขอให้เงิน ค่าของเงิน จะสูงจะต่ำเท่าไหร่ ก็ไม่ค่อยขัดข้อง แต่ว่าถ้าไม่สมดุลมันไม่ดี

(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา: ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒)


Create Date : 17 กุมภาพันธ์ 2549
Last Update : 3 กรกฎาคม 2552 22:50:44 น. 0 comments
Counter : 496 Pageviews.

สำปั้น
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สำปั้น's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.