แม้นเกิดเป็นปุถุชน หากแต่ประพฤติตนให้เป็นอารยชนได้ก็ไม่เสียทีที่เกิดเป็นคน
Group Blog
 
All Blogs
 
ภัยแล้งและเอลนิโน

บทความจากวารสารโลกพลังงาน
//teenet.chiangmai.ac.th/emac/journal/2002/16/09.php

เอลนิโน (ELNINO) คืออะไร ?

คำว่า “ เอลนิโน” (ELNINO) เป็นคำภาษาอังกฤษที่ออกเสียงเลียนแบบคำว่า”แอลนิญโญ “ ซึ่งเป็นคำมาจากภาษาสเปนแปลว่า พระบุตร หรือพระเยซู

ความหมาย เอลนิโน คือ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออก ที่ส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศทั่วโลก ตั้งแต่ตอนใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา ,เปรู ,พื้นที่เรียบ ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก, ออสเตรียเลีย และประเทศในแถบเอเชียใต้

โดยปรากฏการณ์เอลนิโน จะเกิดขึ้นเมื่อพื้นโลก รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้ไม่เท่ากันบริเวณเส้นศูนย์-- สูตรจะรับความร้อนมากกว่าขั้วโลกเหนือและใต้มากมาย น้ำทะเลและอากาศจะเป็นตัวพาความร้อนออกจากเส้นศูนย์สูตรไปยังขั้วโลกทั้งสองดูรูปที่ 1 จะเห็นว่ามีวงจร การถ่ายเทความร้อนเกิดขึ้นอย่างไร วงจรถ่ายเทความร้อนนี้ ฝรั่งเรียกว่า CONVECTION CELL

ความร้อนเป็นพลังงานที่ทำให้เกิด CONVEC- TION CELL โดยน้ำทะเลที่ผิวมหาสมุทรจะร้อนขึ้นจนระเหยกลายเป็นไอขึ้นไป น้ำอุ่นข้างล่างผิวน้ำและใกล้เคียงจะเข้ามาและกลายเป็นไออีก เป็นเหตุให้มีการไหลทดแทนของน้ำและอากาศจากที่เย็นกว่าไปสู่ที่อุ่นกว่า เกิดเป็นวงจรระบายความร้อนและความชื้นออกไปจากโซนร้อนอย่าง ต่อเนื่อง ในภาวะปรกติ โซนร้อนที่กล่าวถึงนี้คือบริเวณแนวเส้นศูนย์สูตรทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ได้แก่บริเวณหมู่เกาะอินโดนีเซียและออสเตรเลีย ลักษณะนี้ทำให้มีลมพัดจากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิกมาหาแนวเส้นศูนย์สูตรทางแปซิฟิกตะวันตก คนเดินเรือใบในอดีตรู้จักลมนี้ดี โดยเฉพาะชาวจีน เพราะได้อาศัยลมนี้ในการเดินทางมาค้าขายหรือหอบเสื่อผืนหมอนใบมายังเอเชียใต้ ลมนี้คือลมสินค้านั่นเอง

ลมสินค้าได้พัดน้ำให้ไหลตามมาด้วย จากการสำรวจทางดาวเทียมพบว่าน้ำทะเลแถวอินโดนีเซียมีระดับ สูงกว่าทางฝั่งเปรูประมาณครึ่งเมตร ซึ่งทางฝั่งเปรูนั้น เมื่อน้ำทะเลชั้นบนที่ร้อนได้ไหลมาทางตะวันตกตามแรงลมแล้ว น้ำทะเลด้านล่างซึ่งเย็นกว่าก็จะลอยขึ้นมาแทนที่ หอบเอาแพลงตอนซึ่งเป็นอาหารปลาลอยขึ้นมาด้วย ทำให้ท้องทะเลย่านนี้มีปลาเล็กปลาใหญ่ชุกชุม เมื่อมีปลาชุกชุมก็ทำให้มีนกซึ่งกินปลาเป็นอาหารชุกชุมไปด้วย เกิดอาชีพเก็บมูลนกขายอย่างเป็นล่ำเป็นสันขึ้นมา

ส่วนทางแปซิฟิกตะวันตกนั้น เมื่อมีนำอุ่นที่ถูกลมพัดพามาสะสมไว้จนเป็นแอ่งใหญ่ จึงมีเมฆมากฝนตกชุก อากาศบริเวณนี้จึงร้อนชื้น ที่บอกว่าน้ำทะเลร้อนและเย็นนั้น ตามปรกติก็จะร้อนและเย็นประมาณ 30 และ 22 องศา--เซลเซียส ตามลำดับ
เมื่อเกิดเอลนิโน ลมสินค้าจะมีกำลังอ่อนลงทำให้ไม่สามารถพยุงน้ำทะเลทางแปซิฟิกตะวันตกให้อยู่ในระดับสูงกว่าอย่างเดิมได้ น้ำอุ่นจึงไหลย้อนมาทางตะวันออก แอ่งน้ำอุ่นซึ่งเปรียบได้กับน้ำร้อนในกระทะใบใหญ่ซึ่งเคยอยู่ชิดขอบตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกจึงเคลื่อนไปทางทิศตะวันออก การลอยตัวของน้ำเย็นจากก้นทะเลจึงมีน้อย มีผลทำให้น้ำด้านแปซิฟิกตะวันออกอุ่นขึ้น ทีนี้ก็เกิดวงจรแบบงูกินหางขึ้นคือ น้ำทะเลยิ่งร้อน ลมสินค้าก็ยิ่งอ่อน ลมสินค้ายิ่งอ่อนน้ำทะเลก็ยิ่งร้อน นี่เป็นปัจจัยให้แต่ละครั้งที่เกิดเอลนิโน แอ่งนำอุ่นจะขยายใหญ่ขึ้นและใหญ่ขึ้นทุกครั้งไปแอ่งนำอุ่นเฉพาะส่วนที่เป็นใจกลางของเอลนิโนที่เกิดขึ้นระหว่างปีก่อนกับปีนี้นั้นมีขนาดใหญ่กว่าประเทศอเมริกา เสียอีก อุณหภูมิที่ใจกลางก็สูงขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้สูงกว่าอุณหภูมิปกติเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 5 องศาแล้ว

การที่ตำแหน่งของแอ่งน้ำอุ่น ขยับออกไปอยู่ กลางมหาสมุทรเช่นนี้ทำให้เกิด CONVECTION CELL ขึ้น 2 วงจร ดังรูปที่ 2 จะเห็นว่ารูปแบบการรวมตัวของเมฆ ไม่เหมือนเดิม ทิศทางลมและการไหลของกระแสน้ำอุ่น แตกต่างไปจากเดิมมีผลให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงผิดไปจากปรกติมาก และเนื่องจากการหมุนเวียนของอากาศในชั้นบรรยากาศเปลี่ยนแปลงไป เอลนิโนจึงมีผลกระทบสภาพภูมิอากาศของโลกทั้งหมด ไม่แต่เฉพาะบริเวณมหาสมุทร แปซิฟิกเท่านั้น

ดังนั้น คำว่า เอลนิโน ที่นักวิทยาศาสตร์ยืมจากชาวเปรูมาใช้จึงมีความหมายขยายวงครอบคลุมบริเวณ น้ำอุ่นทั้งหมดในมหาสมุทรแปซิฟิก มิใช่เฉพาะที่ชายทะเลของเปรู ปรากฏการณ์นี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า “Warm Event” แต่ ชื่อนี้ไม่ติดตลาดเท่าเอลนิโน

ปรากฏการณ์ที่น้ำทะเลร้อนขึ้นผิดปรกตินี้มีขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงความดันบรรยากาศระดับผิว น้ำทะเล ที่บริเวณด้านตะวันออกกับด้านตะวันตกของ มหาสมุทรแปซิฟิกในทศวรรษต้นๆ ของศตวรรษที่ 20 (ค.ศ.2000) เซอร์กิลเบอร์ต วอล์คเกอร์ พบว่า ค่าของ ความดันในบรรยากาศที่ระดับผิวน้ำทะเล ณ เมืองดาร์วินซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลียจะสลับสูง-ต่ำ กับค่าความดันที่ตาฮิติ เมื่อความดันที่ตาฮิติสูง ความดันที่ดาร์วินก็จะต่ำ และถ้าความดันที่ตาฮิติต่ำ ความดันที่ดาร์วินก็จะสูง กลับกันแบบนี้ ปรากฏการณ์นี้มีชื่อว่า Sothern Oscillation หรือ ENSO (เอ็นโซ) ดังนั้น จึงมี นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งเรียกปรากฏการณ์นี้ ว่า “เอ็นโซ” แทนที่จะเรียกเอลนิโน แต่ชื่อนี้ก็ไม่ติดตลาดเช่นกัน และ ก็มีนักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มนำคำทั้งสองมารวมกัน เรียก--เป็น “El Nino Southern Oscillation” ไปเสียเลย อย่างไรก็ตามชื่อนี้แม้จะให้ความหมายชัดเจน แต่ก็รุ่มร่าม คำว่า เอลนิโน หรือ เอลนิลโย จึงเป็นชื่อที่ได้รับความนิยมใช้กันทั่วไป


Create Date : 17 ตุลาคม 2549
Last Update : 17 ตุลาคม 2549 10:06:36 น. 0 comments
Counter : 989 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kwangroong
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add kwangroong's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.