กุมภวาปีภาพถ่าย
Group Blog
 
All Blogs
 

รีวิวอำเภอกุมภวาปี

 

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ กุมภวาปีโฟโต้
https://www.facebook.com/photokumphawapi/

SmileySmileySmileySmileySmileySmiley

.SmileySmileySmileySmileySmiley.....บรรยากาศ..บนถนนมิตรภาพขาเข้าอุดรธานี ก่อนเลี้ยวขวา..เข้าสู่เขตพื้นที่ตัวเมืองกุมภวาปี.
Smiley

..SmileySmileySmileySmileySmileyผ่านสามแยก(เขาเรียกทางพาด)เลี้ยวขวาเจอทางรถไฟตัดผ่านถนนเข้าสู่เขตตำบลพันดอนSmiley Smiley Smiley

SmileySmiley..มองไปทางฝั่งซ้ายเจอต้นข้าวลำต้นกำลังเขียวๆอยู่เลย...!!!Smiley
SmileySmiley..ลำห้วยเล็กๆที่ไหลมาจากบ้านกงพานและห้วยกองสี..แต่เดี๋ยวนี้คงถมไปแล้วมั้งทางนั้น...ถ่ายระหว่างสะพานสอง.ผ่านทางเกาะต้นโพธิ์..หลังบ้านพันดอนลงห้วยบ้านน้ำฆ้อง...!!และลงริมปาวในที่สุด..!!!SmileySmileySmiley

Smileyโรงเรียนชุมชนบ้านน้ำฆ้องที่ๆแอดมินเคยเรียนคุณพ่อเป็นครูใหญ่โรงเรียนนี้และอีกหลายโรงเรียนประมาณปี2521-2524...Smiley
!Smiley
เพื่อนๆสมัยเรียนประถม!!😍👍👍💜💛💛💘💌💞🐸🐸🐷🐷 — ที่ โรงเรียนชุมชนบ้านน้ำฆ้อง


 
ประวัติความเป็นมา
ดอนแก้ว เป็นเกาะเล็กๆ กลางหนองหานน้อยกุมภวาปี ซึ่งเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำลำปาว ตำนานเล่าว่า พระอรหันต์กลุ่มหนึ่งจะไปนมัสการพระธาตุพรม ได้มาพักแรมที่ดอนแก้ว พระอรหัตนต์องค์หนึ่งอาพาธหนักถึงนิพพาน พระอรหันต์ทั้งหลายที่เหลื่ออยู่จึงถวายเพลิงท่าน และก่อเจดีย์บรรจุพระธาตุไว้
ต่อมาประมาณ พ.ศ. 11 มีกล่มคนเข้ามาในดอนแก้วแล้วสร้างใบเสมาหินทรายล้อมรอบพระธาตุไว้ และปักรายรอบยริเวณดอนแก้ว จากการศึกษาพบว่าเป็นเสมาสมัยทวารวดี
ต่อมาชุมชนลาวได้อพยพจากเมื่องร้อยเอ็ด เมืองชัยภูมิ เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่ดอนแก้ว มีท้าวชินเป็นหัวหน้าชุมชน ได้ปฏิสังขรณ์พระธาตุเจดีย์ขึ้น (จากจารึกที่ฐานพระธาตุเป็นตัวลาวโบราณ) บอกว่าบูรณะเสร็จสิ้นปี พ.ศ.2441
ประมาณ ปี พ.ศ.2471 มีชุมชนหลายกลุ่มเข้ามาอยู่ในดอนแก้ว ส่วนใหญ่เป็นลางเวียง จึงได้สร้างวัดเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาขึ้นที่ดอนแก้วให้ชื่อว่า"วัดมหาธาตุเจดีย์
พ.ศ. 2513 พระครูสังฆรักษ์ (ชน) เจ้าอาวาส ร่วมมือกับชาวบ้านดอนแก้วปฏิสังขรณ์พระธาตุให้แข็งแรงกว่าเดิม จากการศึกษาของนักโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากรพบว่า อายุของพระธาตุเจดีย์มีอายุไม่ต่ำกว่า 1,500ปี และเสมาที่ปักรายรอบมีอายุประมาณ พ.ศ.11 
ลักษณะทั่วไป
ดอนแก้วมีพื้นที่ลักษณะกลม มีคูน้ำล้อมรอบ ภายในเกาะเป็นที่ดอนสูงๆต่ำๆ ใช้ทำการเกษตรไม่ได้ ชาวบ้านมาอยู่อาศัยบริเวณชายน้ำริมเกาะ
 
หลักฐานที่พบ
พบเสมาหินทรายสมัยทวารวดี บางทีมีภาพจำหลักมีจารึกที่ลบเลือนอ่านไม่ออก เสมาหินทรายปักรอบพระมหาธาตุเจดีย์ และอีกส่วนปักห่างจากพระมหาธาตุเจดีย์ไปประมาณ 500เมตร พบพระพุทธรุปหินทรายแดง และพระพทธรูปสำริด ฝีมือช่างพื้นบ้าน
พระธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงเหลี่ยม ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลง 2ชิ้น ชั้นแรกกว้างด้านละ 14 ม. สูง 1.25 ม. มีทางขึ้นลงด้านทิศตะวันออก และทิศตะวันตะวันตก ชั้นที่2 กว้างยาวด้านละ 10 ม. สูง1.50 ม. มีทางขึ้นลง 4 ด้าน และฐานขั้นนี้เป็นลานประทักษิณเจดีย์
องค์พระธาตุก่อด้วยอิฐถือปูน ก่อจากฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีประติมากรรมปูนปั้นรูปกลีบบัวหงายประดับที่มุมทั้ง 4 และมีประติมากรรมนูนต่ำ ภาพพระพุทธเจ้าพระสาวก เทวดา และบุคคล ประดับโดยรอบ
เรือนธาตุเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกัน 3ชั้น สูงขึ้นไปตามลำดับ โดยมีบัวคว่ำ บัวหงาย และบัวลูกแก้วคั่น เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมล้านช้าง คล้ายธาตุไม้ของอิสาน เป็นการรับอิทธิพลพระธาตุหลวงเวียงจันทน์ ยอดธาตุเป็นปลีเล็กเรียวแหลมขึ้นไป
พบใบเสมาหินทราย บางหลักเป็นรูปสี่เหลี่ยมแบน บางหลักกลมใหญ่ บางหลักกลมเฉพาะตอนต่ำจากฐาน ตอนหนือฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมหนา ยาวขึ้นไปกว่า 3 เมตร หลักหนึ่งมีภาพจำหลักเป็นฐานกลีบบัว เหนือกลีบบัวเป็นรูปคล้ายช้างคู่คู่หนึ่งถวายความเคารพเทวรูปสตรีที่ประทับกึ่งกลาง แสดงปางพระพุทธเจ้าประสูติหลักหนึ่งมีจารึกที่ลบเลือนอ่านไม่ออก เสมาหลายหลักปรักหักพัง
 
เส้นทางเข้าสู่พระธาตุดอนแก้ว
เดินทางจากจังหวัดอุดรธานีตามทางหลวงหมายเลข 2 อุดรธานี - ขอนแก่น ถึงทางพาดกุมภวาปีเลี้ยวซ้ายเข้าสู่อำเภอกุมภวาปี ระยะทาง 15กิโลเมตร ถึงตัวอำเภอ เดินทางเข้าสู่เกาะดอนแก้วประมาณ 1 กิโลเมตร

"อีกซักภาพเส้นทาง ลัดจาก ดอนแก้วไปเชียงแหว ไม่แนะนำ เพราะตอนไปทางหลุมเยอะมากๆ"
 
พระพุทธบารมีโลกาธิบดีดำรง (พระเจ้าใหญ่) เป็นพระพุทธรูปปางขอฝนภายในบรรจุพระบรม สารีริกธาตุ องค์พระรวมฐานสูง ๓๐ เมตร ประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย บ้านพันดอน ตำบลพันดอน อำเภอกุมภวาปี — ที่ @ วัดโพธิ์ชัย กุมภวาปี
ด้านหน้า..สวนสาธารณะ..ชื่อเต็มสวนธรรมชาติ...ชื่อไทยบ้านเรียกๆกันสวนลิง..
ถนน ตรงไปคือทางไปอำเภอศรีธาตุและวังสามหมอ


"ตลาดนัดคลองถม...แถวๆทางพาดตรงข้าม ทะเบียนขนส่งมีทุกวันอังคาร."
 
#งานงิ้วเมืองเก่าปี2557........
"สมัยก่อนนี้...แอดมินชอบมากเลยงานงิ้วไปซื้อตุ๊กตาน้ำตาลด้านหน้าโรงงิ้วแต่เด็กๆสมัยนี้คงไม่ชอบแล้วละยุคสมัยมันเปลี่ยนไป...#งานงิ้วเมืองเก่าปี2557
#กุมภวาปีภาพถ่าย #สวนลิง เช้าๆลิงลงมาอาบแดดอ่อนๆกัน....ทุกๆวัน
#ลำน้ำปาวกุมภวาปีควรไปให้อาหารลิงบ้างอย่าให้เขาอดอยากมาก จะไปรังควานร้านค้าา......
ประวัติการก่อตั้งศาลเจ้าปู่-ย่า เมืองเก่า
ประวัติความของตลาดเมืองเก่า


ตลาดเมืองเก่าตั้งอยู่ที่ หมู่ 15 ตำบลพันดอน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ห่างจากตัวจังหวัดอุดรธานี 37 กิโลเมตรเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ สมัยก่อนเป็นศูนย์รวมการค้าขาย ในแถบหมู่บ้านใกล้เคียง เพราะสมัยก่อนยังไม่มีการตั้งเป็นอำเภอเหมือนในสมัยปัจจุบัน การตั้งที่ว่าการอำเภอในระยะเริ่มแรกทางการได้เลือกเอาตลาดเมืองเก่าเป็นที่ว่าการอำเภอ โดยที่ว่าการอำเภอสมัยนั้นตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนบ้านน้ำฆ้อง ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนอนุบาลกุมภวาปี เพราะเหตุผลทางการเมืองนายอำเภอสมัยนั้นได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปที่ตลาดดงเมือง ซึ่งออกไปจากตลาดเมืองเก่าอีก 6 กิโลเมตร ดังนั้นตลาดดงเมืองจึงได้ถูกเรียกชื่อว่า ตลาดเมืองใหม่ จนถึงปัจจุบันและมีระยะทางห่างจาก จังหวัดอุดรธานี 43 กิโลเมตร

ตลาดเมืองเก่าประกอบไปด้วยหมู่บ้าน ตลาด หมู่ที่ 15 เรียกว่า ตลาดเมืองเก่า หมู่ที่ 16 เรียกว่าบ้านน้ำฆ้อง หมู่ที่ 5 เรียกว่า บ้านดอน รวมทั้งยังมีประวัติเกี่ยวเนื่องกับตำนาน “ผาแดง-นางไอ่” อีกด้วย

สมัยก่อนคนจีน-คนญวน ได้อพยพมาตั้งรกรากที่ ตลาดเมืองเก่า มากพอสมควร ดังนั้นจึงได้ก่อกำเนิดการตั้งศาลเจ้าขึ้นประจำเมือง เพื่อสักการะเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจและปฏิบัติตามประเพณีของ คนจีนและคนญวนในสมัยนั้น

ศาลเจ้าในระยะแรกๆจะเป็นเพิงเหมือนศาลาริมทาง มีเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ ปลูกอยู่ที่ราบลุ่ม ยกพื้นและเชื่อมด้วยสะพานไม้ เทศกาลตรุษจีนและสารทจีน ก็จะมีชาวจีนและชาวญวน ไปเซ่นไหว้ขอพรให้ทำมาค้าขึ้น อยู่เย็นเป็นสุข ส่วนชาวไทยก็จะจัดตั้งศาลไทยขึ้น โดยประกอบไปด้วย ศาลเจ้าพ่อผาแดง ศาลเจ้าหอคำและศาลเจ้าพ่อด่าน รวมอยู่ในบริเวณใกล้ๆกับศาลเจ้าเมืองเก่าด้วย ต่อมาได้จัดซื้อที่ดินเพิ่ม ปัจจุบัน มีเนื้อที่รวมประมาณ 5 ไร่

ศาลเจ้าปู่-เจ้าย่า เมืองเก่า แต่ละปีจะมีคณะผู้รับผิดชอบ เรียกว่า “คณะกรรมการศาลเจ้าปู่-ย่า เมืองเก่า” แรกๆจำนวนคณะกรรมการมีจำนวนไม่มากนัก แต่ปัจจุบันมีจำนวน ร่วม 30 คน มีจำนวน 6 ชุดโดยแต่ละปีหลังงานงิ้ว(งานประจำปี)เสร็จลง วันรุ่งขึ้นคณะกรรมการรุ่นใหม่จะรับช่วงแทนรุ่นเก่าทันที สำหรับการคัดเลือกว่าคณะกรรมการชุดใดจะได้เป็นคณะกรรมการนั้น จะมีการจับฉลากเสี่ยงทายต่อหน้า องค์เจ้าปู่-เจ้าย่า บางปีใช้เวลาทำพิธีนี้นานนับชั่วโมงก็มี โดยจะทำพิธีดังกล่าวในงานงิ้วของคืนวันที่หนึ่งตอนหัวค่ำ คณะกรรมการที่จับได้ข้างต้นจะถูกเรียกเป็นภาษาจีนว่า “ซิงเถ่านั้ง” แต่ถ้าผ่านจากการจัดงานงิ้วปีนั้นแล้วก็จะเรียก “เถ่านั้ง” เท่านั้นและอดีตถึงปัจจุบันได้มีคณะกรรมการทั้งสิ้น 59 ชุด ซึ่งเท่ากับคณะกรรมศาลเจ้าปู่-ย่า อุดรธานี คือรุ่นที่ 59

คณะกรรมการจะเลือกหัวหน้า มาเป็นประธานเพื่อบริหารงานต่อไป โดยอำนาจการตัดสินใจในการใช้เงินกองกลางดำเนินกิจการเกี่ยวกับจัดงานพิธิหรือจัดงานงิ้วทั้ง 5 วัน 5 คืน ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งปัจจุบันเงินกองกลางดังกล่าวจำนวนมากกว่า 7 หลักขึ้นไป แต่เมื่อใดที่มีการดำเนินกิจการขนาดใหญ่ เช่น งานก่อสร้างศาลเจ้าใหม่จะต้องนัดประชุมใหญ่ โดยมีคณะกรรมการทุกชุดและหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมด้วย


ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2513 ได้มีการก่อสร้างศาลเจ้าขึ้นใหม่ โดยมี คณะกรรมการก่อสร้างศาลเจ้า จากการแต่งตั้งของที่ประชุมใหญ่มีดังนี้

1. นายเทียมฮก แซ่เอี๊ยบ ร้านง่วนฮวดเส็ง

2. นายจือซัง แซ่แต้ ตัวแทนสุรา สหสันต์

3. นายเซ่งอี่ แซ่อื้อ ร้านซือง้วน

4. นายฮงเจือ แซ่อื้อ ร้านเปงฮะเฮง(ควบคุมการก่อสร้าง)

5. นายวิรัช จารุตระกูลชัย โรงอัดปอตระกูลชัย

สิ้นเงินงบประมาณ 120,000.-บาท

ประธานและผู้ร่วมพิธีเปิดศาลเจ้า

ส.ส. สะไกร สามเสน

ส.ส. สกรรจ์ สามเสน

นายเจริญ ปานทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี

พ่อค้าประชาชนทั่วไป

8ตค.60...งานกฐินวัดป่าปิยธรรม...
ได้มีโอกาสไปทำบุญโรงทาน..งานกฐิน..อนุโมทนาบุญแก่..เพื่อนๆสมาชิกทุกท่านครับ!!




 

Create Date : 04 ตุลาคม 2559    
Last Update : 18 กันยายน 2562 17:00:56 น.
Counter : 5002 Pageviews.  


สมาชิกหมายเลข 1789589
Location :
อุดรธานี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เป็นการรีวิวส่วนตัวบ้างเล็กๆน้อยๆในอำเภอกุมภวาปีจังหวัดอุดรธานีบ้านเกิดตัวเอง ประเพณีและงานสำคัญต่างครับ....!!!
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 1789589's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.