kruaun
Location :
สุรินทร์ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




“อาจารย์ของพระอรหันต์ ยังไม่จำเป็นต้องเป็นพระอรหันต์เลย ดังนั้น อย่ากังวลเลย หากเราคิดว่าเราเก่งไม่พอที่สร้างลูกศิษย์เก่งๆ ขอเพียงแต่เรามีกระบวนการพัฒนา ส่งเสริม และให้โอกาสเขาอย่างเหมาะสม และถูกวิธี ให้เขาเติบโตเต็มศักยภาพที่ดี”---รศ. ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จากหนังสือแด่เมล็ดพันธุ์แห่งอนาคต

****************************

No one can make you feel inferior without your consent. by Eleanor Roosevelt.

ไม่มีใครสามารถทำให้คุณรู้สึกต้อยต่ำได้...
ถ้าคุณไม่ยินยอม (เอลานอร์ รูสเวลต์)

**************************

ครูอั๋น สอนคณิตศาสตร์ จังหวัดสุรินทร์
--------------------------------

"ชีวิตนี้ลูกยกให้พวกเขา...แต่ชีวิตหน้าทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาและพวกมันทำไว้กับลูก ลูกขอเอาคืน!"
---วรดา/ด้วยแรงอธิษฐาน/กิ่งฉัตร

รู้นะว่าถ้าเอาความแค้นนำทางมันไม่ดี...
แต่บางทีถ้าตั้งใจว่าจะต้องดีกว่า ดีกว่า...
มันก็เหมือนเป็นแรงขับให้เราก้าวหน้าได้เช่นกัน

แค่ตั้งใจทำดีก็แล้วกัน

+++++++++++++++++++++++++++++

มีคนเคยถามว่า "ทำไมมาเป็นครู"
คำตอบที่ผมภูมิใจและตอบได้อย่างเต็มปากที่สุด คือ
"ผมอยากเป็นครู เลยเลือกมาเป็นครู"


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

"เจ้าเป็นคนพูดเองนะว่า อำนาจมันมาแล้วมันก็ไป แล้วเจ้ายังจะแสวงหามันทำไมเล่า"
---เศกขรเทวี เพลิงพระนาง

๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗

สัจธรรมง่ายๆ ที่ใครๆ ก็พากันทำไม่ได้

ถ้าอยากมีชีวิตที่เลวลงอย่างคิดไม่ถึง
คุณแค่หมั่นทำเลวที่ไม่เคยแม้จะอยู่ใรความคิด

หากปรารถนาชีวิตที่ดีขึ้นอย่างคิดไม่ถึง
คุณต้องทำดีมากกว่าที่คิดว่าตัวเองจะทำได้

มีชีวิตที่คิดไม่ถึง/ดังตฤณ
----------------เริ่มนับ 30 เม.ย.53----------------- free counters ===== Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Thailand License.
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kruaun's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 
ภาค 7: ปราสาทศีขรภูมิ (อีกทีแล้วกัน)

วันนี้ขอกลับไปเที่ยวปราสาทศีขรภูมิอีกรอบแล้วกันนะครับ
ในรอบสองสามปีนี้กลับไปปราสาทศีขรภูมิไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง

ติดใจแล้วครับ...
วันนี้เอาเกร็ดประวัติศาสตร์มาฝากครับ




จดหมายเหตุปราสาทศีขรภูมิ
(ปรับเปลี่ยนเล็กน้อยจาก //www.thaioctober.com/forum/index.php?topic=578.0 ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยครับ)


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จเยือนปราสาทบ้านระแงง โดยรถไฟ พ.ศ.๒๔๗๒
หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ บันทึกเป็นจดหมายเหตุ



๒๘ มกราคม ๒๔๗๒

วันนี้เวลาเช้า ๙.๐๐ น. เสด็จโดยรถไฟเพื่อทอดพระเนตรปราสาทบ้านระแงง ตำบลยาง จังหวัดสุรินทร์

ใน ระหว่างทางเสด็จลงที่ปราสาทบ้านกำแพง
ตรัสสั่งให้ “นายกรูเต” ถ่ายรูป
ได้ ทรงอายัดจารึกที่กรอบประตูไว้กับผู้ว่าราชการจังหวัด
ระวังรักษามิให้ ผู้ใดทำอันตรายได้
โปรดให้นำอิฐขอมเข้ามาพิพิธภัณฑสถาน ๒ แผ่น
เพื่อ ให้แยกธาตุหาวัตถุที่ทำให้แผ่นอิฐติดกันอยู่ได้โดยมิได้สอปูน
ทอดพระ เนตรทั่วแล้ว เสด็จขึ้นรถไฟประทับต่อไป
เวลาเที่ยงวันเศษ ถึงสถานีบ้านระแงง

เสด็จโดยรถยนต์ประมาณ ๑๕ นาที ถึงปราสาทเมืองสุรินทร์
พลับพลาที่ประทับร้อนตั้งอยู่บนเนิน ใกล้ปราสาท
และตรัสสั่งให้ “นายกรูเต” ลงมือถ่ายรูปทีเดียว


สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉายพระรูปหน้าปราสาทประธาน

ที่ปราสาทบ้านระแงงนี้องค์ปรางค์ทั้งใหญ่น้อย ก่อด้วยอิฐ
เครื่อง ประดับองค์ปรางค์ กรอบประตูและทับหลังประตูหน้าต่างและยอด เปนศิลาอย่าง เดียวกันกับที่เมืองต่ำ
เปนของสร้างในพระพุทธศาสนารู้ได้โดยที่ทับ หลังประตูปรางค์องค์ใหญ่มีรูปพระโพธิสัตว์โลเกศวรเปนสำคัญ



และ คำจารึกที่กรอบประตูองค์เล็กข้างใต้ก็บอกว่า...

“สิทธิการิยะบรมนารถชาติภิรมย์
สบชตาปาสิการาชา เจ้าสังฆราชา
และสมเด็จพระอุตมะวรปัญญา
และ หม่อมเจ้าเกตุ เจ้าสมเด็จโคตวงษา
และเจ้าเมืองเทพราชา ขุนไกร ขุนแก้ว ขุนศรีต่างตา ขุนจันทร์
เฒ่าแก่ พ่อแม่ พี่น้อง ลูกหลานทั้งปวง
พร้อมกันสร้างพระมหาธาตุ ๓ ลูกนี้ไว้กับพระศาสนาเจ้า
ตราบต่อห้าพันวัตสานิพพานนะปัจติโย โหตุ ”

นี่คือคำแปลอักษรจารึกที่ตัวปราสาทองค์หนึ่งในจำนวนทั้งหมด ๕ องค์ด้วยกันตามคำแปลว่าสร้าง ๓ ลูก

ตามประวัติศาสตร์ นับแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ กษัตริย์ขอมแห่งกรุงกัมพูชา
ได้เถลิง อำนาจครอบครองแว่นแคว้นแดนขอมทั้งหมด เริ่มแต่ขึ้นครองราชย์สมบัติ พ.ศ. ๑๓๔๕ ถึง พ.ศ. ๑๔๑๒ รวมเวลา ๖๗ ปี
อำนาจอันยิ่งใหญ่ของกษัตริย์พระองค์ นี้ ได้แผ่ขยายกว้างใหญ่ไพศาลคลุมผืนแผ่นดินสุวรรณภูมิ คือแหลมทอง ประมาณ ๑ ใน ๓ ส่วน
ซึ่งในขณะนั้นไทยเรายังไม่รู้จักแผ่นดินส่วนนี้ และนับลำดับต่อเนื่องกษัตริย์แต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ ลงมาราว ๔๐๐ ปี
นัก ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีรับรองต้องกันว่าเป็นยุคที่ขอมเจริญด้วยศิลปกรรม สถาปัตยกรรม วัฒนธรรมและวรรณคดีอย่างสูงยอด

อำนาจของขอมแผ่ขยายไป ถึงที่ใด ขอมก็นำอารยะธรรมของคนโปรยปรายลง ณ ที่นั้นทุกครั้งทุกแห่งไป
โดย เฉพาะศิลปกรรม สถาปัตยกรรม วิจิตรกรรม การแกะสลักลวดลายวิจิตรต่างๆแล้ว ฝีมือขอมนับว่าเป็นเอกยอดเยี่ยม

ขอมได้แบบอย่างมาจากอินเดีย
แต่ ขอมรู้จักยักย้ายดัดแปลงให้ได้รูปได้ทรงอย่างกะทัดรัดงดงามยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง ที่เห็นได้ง่ายก็คือ
“นครธม” ( ธม – ใหญ่ นครธม ก็คือ นครใหญ่ – นครหลงนั่นเอง )
สร้างในสมัยพระเจ้ายโสวรมันที่ ๑ เสร็จเมื่อ พ.ศ. ๑๔๒๒
และนครวัด สร้างเมื่อ พ.ศ. ๑๖๙๐ ในสมัยของ “สุริยวรมันที่ ๒” ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่มหัศจรรย์ วิจิตรพิสดาร ไม่แพ้ศิลปกรรมกรีกสมัยรุ่งเรืองเลย

จังหวัดต่างๆในภาคอีสาน ปัจจุบันรวมทั้งสุรินทร์ด้วยก่อนที่ขอมจะได้มามีอำนาจในแผ่นดินแถบนี้ ก็เป็นภูมิลำเนาเดิมของชนชาติละว้า
หรือลาวมาก่อน (อาณาจักรโคตรบูรหรือพนมของลาวเดิม)
เมื่อละว้าสิ้นอำนาจลง ขอมมีอำนาจได้มาปกครองดินแดนส่วนนี้ทั้งหมดคือ
ได้ตั้งราชธานีอยู่ที่ ละโว้ ๑ ที่สกลนคร ๑ และอยู่ที่พิมาย ๑
จังหวัดสุรินทร์สมัยนั้นขึ้นต่อ พิมาย ฉะนั้นเมื่อขอมมีอำนาจ ก็ได้ใช้อำนาจเกณฑ์ผู้คนพลเมืองสร้างปราสาทหินพิมาย ( อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ) และที่เขาพระวิหาร จังหวัดศรีสะเกษ เป็นต้น
ในจังหวัดสุรินทร์ก็มี
ปราสาทบ้านปราสาท ตำบลเฉนียง อำเภอเมืองสุรินทร์
ปราสาทกำพงสวาย-ปราสาทบ้านจอมพระ อำเภอท่าตูม
และปราสาทบ้านปราสาท ตำบลระแงง อำเภอศรีขรภูมิ ที่จะได้กล่าวถึง ณ ที่นี้เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่สิ่งหนึ่งที่ขอมทิ้งมรดกไว้ ให้เราได้ศึกษาเรียนรู้ในทางประวัติศาสตร์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเทศกาล ตรงกับวันสงกรานต์ทุกๆปี ทางอำเภอศรีขรภูมิได้จัดให้มีการฉลอง
มีการแสดงมหรสพและการละเล่นต่างๆอย่างครึกครื้นถึงจิตใจนักท่องเที่ยวทั้งใกล้และไกลมาเที่ยวงานนี้ปีหนึ่งๆไม่น้อยเลย (ตอนหลังน่าจะเปลี่ยนเป็นช่วงเดียวกับงานช้างฯ)

ที่ตั้งของปราสาท ตั้งอยู่ที่บ้านปราสาท ตำบลระแงง อำเภอศรีขรภูมิ
ห่างจาก ตัวที่ว่าการอำเภอไปทางทิศตะวันออกราว ๒๕ เส้น
มีปรางค์ทั้งหมด ๕ องค์ สร้างบนฐานศิลา แลงที่ ปูซับซ้อนเรียงกัน ๓ – ๔ ชั้น
อาณาเขต ของพื้นฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ ๓๐ เมตร
ศิลาแลง ที่ใช้ปูเป็นพื้นฐานรองรับตัวปราสาทนี้ก้อนหนึ่งๆ
มีขนาดกว้างราว ๕๐ – ๖๐ ซ.ม. ยาว ๑.๒๐ เมตร หนาราว ๔๐ ซ.ม.
ตัวปราสาทสร้างด้วยอิฐ โอบฉาบด้วยหินทรายโบราณ
ปัจจุบันกะเทาะแตกมองเห็นรูปลักษณะอิฐได้เด่น ชัด
ปราสาท ๔ องค์ ตั้งอยู่มุมสุดของพื้นฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส มุมละองค์
ที่ตรงกลางเป็นองค์ใหญ่ ขนาดวัดโดยรอบได้ ๒๖ – ๓๐ เมตร สูงราว ๒๐ เมตรเศษ
องค์นอกนั้นเล็กกว่าองค์ใหญ่ ซึ่งกล่าวแล้ว วัดโดยรอบได้ ๒๐ เมตร เศษสูงราว ๑๘ เมตร
มีประตูองค์ละประตู หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
องค์ใหญ่ที่เหนือประตูมีศิลารูปสี่เหลี่ยมผืน ใหญ่และสลักลวดลายวิจิตร

เป็นรูปต่างๆ แสดงและหมายถึงอะไรบ้างนั้น
ขอยกให้ท่านออกไปทางขวามือด้านตะวันออกสุด
มีอักษรจารึกที่ผนังด้านในทาง ขวามือของตัวปราสาท
แปลได้ตามความที่กล่าวแล้วข้างต้นนี้

เมื่อสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทอดพระเนตร์และถ่ายรูปเสร็จแล้ว
เสด็จเข้าที่ประทับร้อน เสวยเวลากลางวัน
ในระหว่างเวลาเสวย ผู้ว่าราชการจังหวัด จัดให้มีเขมร เป่าใบไม้ น้ำเต้า(ซอสายเดียว) และซอสามสาย ถวาย

เสวยเสร็จแล้วทอดพระเนตรตรุษ เปนการละเล่นชะนิดหนึ่ง เขาเล่นกันในวันขึ้นปีใหม่ และกันทรอบ (คล้ายเพลงปรบไก่) และกันตรึม คือดนตรีเขมร



ที่ที่ประทับร้อนนี้ มีผู้ถวายของหลายอย่างคือ พระธานีพิชัย (ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์) ถวายไหขอม ๓ ใบ คันศรสัมริด ๑ ด้าม มีดสัมริด ๑ ขอสับเครื่องคานหามสัมริด ๑ ขั้ว ลูกพรวนม้าสัมริด ๓ ไม้แดงกลึงและสลักเปนกระถางต้นไม้ ๑ แจกันไม้แดงกลึงและสลัก ๑ คู่
หลวงจรุงจิตร์ประชา นายอำเภอศรีขรภูมิ ถวายไหขอม ๒ ใบ
พระครูวิมลศีลพรต เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ ถวายไหขอมอีก ๒ ใบ

เวลา ๑๔.๓๐ น. เสด็จกลับจากที่ประทับร้อน ขึ้นประทับบนรถไฟที่สถานีบ้านระแงง
เวลา ๑๖.๓๐ น. ถึงจังหวัดขุขันธ์


ที่มา.. จดหมายเหตุเสด็จตรวจโบราณวัตถุสถานมณฑลนครราชสีมา
ของสมเด็จพระเจ้าบรม วงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พ.ศ.๒๔๗๒ (หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ บันทึก)
มูลนิธิ ดำรงราชานุภาพ พิมพ์เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๓๑



สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งในขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตสภา
และทรงเป็นนักโบราณคดี วรรณคดี และนักประวัติศาสตร์ยอดเยี่ยมองค์หนึ่งของไทยเรา
ได้เสด็จไปทอดพระเนตร ปราสาทดังที่กล่าวนี้เป็นเวลา ๕ ชั่วโมงเศษ
แล้วเสด็จไปทอดพระเนตรเขา พระวิหาร จังหวัดศรีสะเกษในวันเดียวกันโดยรถไฟ
ถึงกระนั้นก็ดี แม้จะประทับทอดพระเนตรชั่วระยะเวลาอันสั้น
ทางอำเภอก็ได้จัดพิธีรับ อย่างสมเกียรติ มีการเกณฑ์ผู้คนถากถางที่โดยเสด็จ และกำหราบสิ่งที่รก รุงรังอยู่บริเวณปราสาทให้เตียนสอาดสอ้าน
สร้างปรำรับเสด็จชั่งคราวขึ้น และสร้างซุ้มประตูประดับดอกไม้สดอีก 3 ประตู
ยิ่งกว่านั้นยังจัดให้มี การเล่นพื้นเมืองถวายอีกด้วยโดยให้นายคิด (ไม่ทราบนามสกุล)คนบ้านอนัน ตำบลยาง
เจรียง เขมร และเป่าใบไม้ถวาย โดยเฉพาะอาหารที่จัดไปถวายมี นกเขาถึง 1,000 ตัว

ผลการเสด็จทอดพระเนตรของพระองค์ท่านในครั้งนั้น
พระองค์ได้ทรงวิจารณ์ไว้ในหนังสือ “ปาฐกถา เรื่องสงวนของโบราณ” พ.ศ. 2473 ว่า

“โบราณสถานที่สำคัญในกระบวนแบบอย่างและฝีมือช่างนั้น จะยกตัวอย่างเช่น วิหารพระพุทธชินราชที่เมืองพิษณุโลก เป็นวิหาร โบราณคงบริบูรณ์ตามรูปแบบเดิมแต่ครั้งสุโขทัยอยู่แห่งเดียว
ถ้าไม่มี วิหารหลังนี้เหลืออยู่ ก็ไม่มีใครอาจรู้ได้ว่า ทรวดทรง ของวิหารครั้งพระร่วงเป็นอย่างไร

และประหลาดกว่านั้น ยังมีอีกสิ่งหนึ่งคือ โบราณสถานที่ก่อด้วยอิฐแต่สมัยเมื่อขอมเป็นใหญ่ ดังเช่น พระ เจดีย์ธาตุพนมที่แขวงจังหวัดจังหวัดนครพนม
ปราสาทระแงง ในแขวงจังหวัดสุรินทร์
และปราสาทที่วัดกำแพงใหญ่ ในแขวงจังหวัดขุขันธ์ (ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ) เป็นต้น
ฝีมือก่ออิฐ สนิมไม่มีปูนสอเลย
มีผู้กล่าวว่าก่อด้วยอิฐดินเสร็จแล้วหุ้มด้วยกองพืน เผาไฟให้อิฐสุก
ซึ่งเป็นความจริงอย่างนั้นไม่ได้ ปรางค์ที่ก่ออิฐ เช่นว่านี้ที่ในแดนเขมรก็มี
ฝรั่งเศสก็พยายามพิสูจน์ แต่ก็ไม่ได้ ความรู้ ว่าช่างขอมใช้อะไรเชื่อมอิฐ จึงติดกันแน่นได้ปานนั้น
เขาบอก ข้าพเจ้าว่า เป็นแต่คำบอกเล่าว่า พวกขอมใช้ยางไม้อย่างหนึ่งทาอิฐแล้ว เอาลนไฟ พอ ยางเยิ้ม ก็ก่ออิฐติดกันแน่นด้วยยางนั้น
แต่เป็นยางอะไร เดี๋ยวนี้ไม่มีใครรู้”

ในหนังสือโบราณคดี ของพระองค์อีกเล่มหนึ่ง พิมพ์ครั้งที่ 4 ทรงกล่าวว่า
“ลักษณะที่ก่อสร้างเจดียสถานในสมัยขอมมี 4 อย่างต่างกัน
จะชี้ตัวอย่างที่พึ่งเห็นได้ในเมืองไทยนี้คือ
ก่อ ด้วยหินทรายล้วน เช่น ปรางค์ที่เมืองพิมายอย่างหนึ่ง
ก่อด้วยหินแลง ประกอบหินทราย เช่น ปรางค์สามยอดที่เมืองลพบุรีอย่างหนึ่ง
ก่อด้วยอิฐ ประกอบหินทราย เช่น ปรางค์ระแงงอยู่ริมทางรถไฟอำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ เดี๋ยวนี้อย่างหนึ่ง
ก่อด้วยอิฐล้วน เช่น พระธาตุพนมอย่างหนึ่ง
ทำต่าง ๆ กันเป็น 4 อย่างดังว่ามาทั้งเมืองไทยและเมืองเขมร
เขาใช้ยางอะไรอย่างหนึ่งเชื่อม หน้าอิฐให้สนิทกัน แต่ให้เห็นเป็นรอยต่อ

ซึ่งพอจะเป็นหลักได้ ว่า
ขอมใช้วิชาสถาปัตยกรรมสร้างเทวสถาน ปรางค์ปราสาทต่างๆ ในดินแดนต่างๆ สุดแล้วแต่ทำเลใดถิ่นใดหาหินแลง หินทราย กรวด อิฐ ได้ยากง่ายกว่ากันสร้างด้วยอย่างนั้น เช่น
ดินแดนเขมรมีปราสาทหินถึง ๖๐๐ แห่ง
ในดินแดนไทยและลาวมีประมาณ ๑๓๐ แห่ง
รวมศิลปกรรมในทาง สถาปัตยกรรมของเขมร ๗๓๐ แห่ง ซึ่งมิใช่จำนวนที่น้อยเลย
ขอมต้องใช้เวลา สร้างเป็นระยะเวลาประมาณ ๖๐๐ ปี ( พ.ศ. ๑๑๐๐ - ๑๗๐๐ )
ซึ่งแต่ละสมัย นั้นต้องเต็มไปด้วยอำนาจอันยิ่งใหญ่ที่เขมรครอบครองเป็นระยะเวลาอันยาวนาน และติดต่อกัน

ความมุ่งหมายในการสร้าง
ก็มุ่งหมายจะอวดอ้างเดชานุภาพของกษัตริย์ในสมัยนั้นยุคนั้นประการหนึ่ง
อีกประการหนึ่งอาจเป็น ด้วยต้องการให้เป็นอนุสรณ์ สักขีพยานตราไว้ในแผ่นดิน
ในประวัติให้ทราบ ถึงความเจริญ มีน้ำใจรักในด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม วิจิตรกรรม
และ อารยะธรรมของขอมในยุคนั้นว่าเป็นอย่างไร ขอมจึงลงทุนที่เพียบพร้อมด้วย อำนาจ และฝีมือ

สร้างไว้ตามแบบตามลัทธิที่กษัตริย์องค์นั้นเสื่อมใส นับถือบูชา
เช่น สร้างตามแบบศาสนาพราหมณ์ลัทธิวิษณุเวท และลัทธิหายาน ตามพุทธศาสนาพุทธเป็นต้น

ปราสาทอำเภอศรีขรภูมินี้ จะว่าสร้างตามก็น่าจะถูก
เพราะตามอักษรจารึกก็ได้ปรากฎอยู่ตอนหนึ่ง


“ .....สร้างพระธาตุ ๓ ลูกนี้ไว้กับศาสนาพระเจ้า ,

.......นิพพานะปัจ ติโยโหตุ”
แต่จะสร้างตามลัทธิใดนั้น ขอยกไว้แก่นักโบราณคดีและผู้รู้วินิจฉัย

อิฐที่ใช้สร้างปราสาท สันนิษฐานว่าเอามาจากบริเวณใกล้ๆกับปราสาท
เพราะทิ้งร่องรอยไว้ให้เห็น บ้างในขณะนี้ก็คือ
คูและสระข้างปราสาทที่ด้านใต้และด้านเหนือ
หรือ ไม่ก็สระสี่เหลี่ยมซึ่งอยู่ถัดไปจากทิศตะวันออกประมาณ ๕ เส้น
มาใช้ทำ มูลดินที่นำมาใช้เป็นอิฐก่อปราสาท
ก่อให้เกิดเป็นสระที่ใหญ่โต เรียกว่า
สระสี่เหลี่ยมตราบเท่าปัจจุบันนี้ กว้างด้านละ ๑๐ เส้นเศษ
ขอมคง ได้อาศัยสระที่ขุดนี้อาบกิน ตลอดไพร่พลที่เกณฑ์มาทำ และใช้ทุ่งกุดประทายปลูกข้าวเลี้ยงดูคนงาน
สระสี่เหลี่ยมที่กล่าวนี้ หน้าน้ำ น้ำเต็มฝั่งใสสะอาดไม่มีจอกแหนเลย
รอบๆสระมีกอไผ่เป็นพุ่มครึ้ม เย็นตารื่นรมย์ดี
เมื่อมีสายลมอ่อนโชยมาจะมีละลอกน้อย ๆ เต้นระยิบระยับรับแสงจันทร์และแดดอ่อน
คล้าย ๆ แสงเงินที่โปรยปรายลงมาด้วยน้ำมือนางสวรรค์
หากได้ปรับปรุงเป็นสถาน หย่อนใจ
มีเรือขุดเรือมาดพายเล่นยามเย็นและยามราตรีที่มีเดือนกระจ่าง ฟ้า
ก็กลายเป็นสวรรค์และเป็นสระอโนดาตของมวลหนุ่มสาว

ขอมเป็น มารดาแห่งอารยธรรม วัฒนธรรม ศิลปกรรม
ในดินแดนสุวรรณภูมิหรือแหลมทองมา แล้วในอดีต
มีความเจริญรุ่งเรืองไม่แพ้ความรุ่งเรืองของกรีกในสมัยโบราณ เลย
แต่นั่นแหละ ที่ใดมีความเจริญที่นั่นก็มีความเสื่อม
ขอมเป็นผู้ เจริญหลายร้อยปีแล้วก็ดับรัศมี

บัดนี้พระเจ้านโรดมสีหนุได้นำเขมร ปลุกใจได้ตื่นตัว
จนประชาชนชาวเขมรยอมมอบกายถวายชีวิตแด่พระองค์
เพื่อ กอบกู้เอกราชในครั้งนี้
เราเปิดวิทยุฟังจะได้ยินเสียงร้องเพลงปลุกใจ เร่งเร้า
และกระหื่นกระหายในอิสรภาพของเขมรไม่เว้นแต่ละวัน
เราจะ ได้ดูกันในวันต่อไป “เขมรคือน้องสาวของเรา”
พระเจ้านโรดมตรัสว่าอย่าง นั้น

การสร้างปราสาทศรีขรภูมินี้ ก็เหมือนกับโบราณสถานแห่งอื่น มากแห่ง
คือสร้างไม่เสร็จเรียบร้อย
จะเป็นด้วยองค์ประมุขสิ้นอำนาจ หรือ เป็นด้วยถูกไทยรุกราน จึงถอยร่นลงไปก็ไม่แน่ชัด
หรือจะจงใจ สร้างไม่ให้เสร็จ เพื่อทิ้งไว้เป็นปรัชญา
ดังที่ ดร.คัมนัน ผู้เชี่ยวชาญวัฒนธรรมตะวันออกกล่าวไว้ว่า
“มนุษย์นั้นไม่มีสมบูรณ์เต็มที่ได้เลย ความสมบูรณ์เป็นของพระเจ้า” ก็เป็นได้



ท่านที่รัก ถ้าหากท่านมีโอกาสได้ไปเที่ยวอำเภอศรีขรภูมิ
โปรด อย่าลืมแวะเยี่ยมปราสาทศรีขรภูมิ อันเป็นปูชนียสถานที่สวยงามแห่งหนึ่ง
ซึ่ง ดั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของที่ว่าการอำเภอประมาณ 1 กิโลเมตร



Create Date : 08 พฤษภาคม 2553
Last Update : 8 พฤษภาคม 2553 22:49:25 น. 12 comments
Counter : 5767 Pageviews.

 
ขอบคุณที่นำภาพและเรื่องราวดีๆ มาเล่าสู่กันฟัง
วันหนึ่งข้างหน้าจะมาเยี่ยมเยือนที่นี่ให้ได้ค่ะ
เพราะเป็นคนที่รักในการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์อยู่แล้ว



โดย: addsiripun วันที่: 9 พฤษภาคม 2553 เวลา:17:26:52 น.  

 
ขอบคุณคุณครูอั๋นทั้งภาพและเรื่องมีประโยชน์ สำหรับคนที่ไม่ค่อยได้เดินทางไปดูด้วยตัวเองอย่างผมครับ


โดย: panwat วันที่: 10 พฤษภาคม 2553 เวลา:3:00:34 น.  

 
อะโหย ไม่คิดว่าอั่นจะมีบล้อกนะเนี่ย หลงเข้ามา เห็นชื่อมันคุ้นๆ ครูอั๋น เพื่อนชั้นรึเปล่าเน่ย จิงๆด้วย อิอิ


โดย: หนึ่งอ้ะ (GottaBeMary ) วันที่: 10 พฤษภาคม 2553 เวลา:22:34:26 น.  

 
มีบทใหม่มาฝากครับ โหดนิดนึง...

......มันจึงลากปืนไฟยิงใส่ต่อ
มิรั้งรอต่อตีทุกที่ย่าน
ระหว่างรัฐยังประเมินสถานการณ์
พอพ้นผ่านย่านเหย้าเราวอดวาย...


โดย: panwat วันที่: 11 พฤษภาคม 2553 เวลา:2:01:29 น.  

 
บางท่านอาจไม่ชอบครับ...แต่ว่า มันเป็นเพียงสำนวนกลอนกับความรู้สึก มิใช่แยกข้างนะครับ...ไทยต้องใจหนึ่งเดียวครับ


โดย: panwat วันที่: 11 พฤษภาคม 2553 เวลา:14:29:56 น.  

 
ขอบคุณที่แวะมาอวยพรวันเกิดให้นะครับ ขอให้เจ้าของบล็อคมีความสุขมากๆ เช่นกันครับผม


โดย: หมื่นทิพ (เทพบุตรตบะแตก!! ) วันที่: 11 พฤษภาคม 2553 เวลา:14:57:58 น.  

 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


โดย: ปรัชญวนี วันที่: 11 พฤษภาคม 2553 เวลา:16:08:03 น.  

 


โดย: อ่า ... เจ๋งสุดๆ (แม่หญิงละอองดาว ) วันที่: 12 พฤษภาคม 2553 เวลา:21:20:25 น.  

 
7 ปราสาทหินแห่งอีสานใต้

ทริปในฝันเลย สักวันผมจะต้องไปได้ไป

แต่วันนี้ขอนั่งอ่านก่อนแล้วกัน


โดย: VET53 วันที่: 13 พฤษภาคม 2553 เวลา:0:09:34 น.  

 
ทับหลังที่รูปกรมพระยาดำรงฯ ถ่ายรูป ลายชัดมากนะคะ ไม่รู้ถูกหรือเปล่า เป็นรูปพระศิวะร่ายรำ

แต่รูปในกล่องเม้นท์ ไม่ทราบเลยค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 13 พฤษภาคม 2553 เวลา:16:02:53 น.  

 


โดย: panwat วันที่: 13 พฤษภาคม 2553 เวลา:17:48:00 น.  

 
แจ่มคับ บ้านผมอิอิ


โดย: กูยโซะแงง IP: 27.130.84.154 วันที่: 31 กรกฎาคม 2554 เวลา:18:06:42 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.