Group Blog
 
All blogs
 

ltaly

สาธารณรัฐอิตาลีRepublic of Italy
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อประเทศตามภาษาพื้นเมือง Repubblica Italiana
ที่ตั้ง ตอนใต้ของทวีปยุโรป โดยมีลักษณะเป็นคาบสมุทรยื่นออกไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน พื้นที่ร้อยละ 75 เป็นภูเขาและที่ราบสูง
อาณาเขต ทิศเหนือ จรดสวิตเซอร์แลนด์และออสเตรีย ทิศใต้ จรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลไอโอเนียน ทิศตะวันตก จรดฝรั่งเศส และทะเลไทเรเนียน(Tyrrhenian) ทิศตะวันออก จรดทะเลอาเดรียติก และอยู่ตรงข้ามกับสโลเวเนียโครเอเชีย บอสเนีย มอนเตเนโกร และแอลเบเนีย
พื้นที่ 116,303 ตารางไมล์ หรือ 301,225 ตารางกิโลเมตร นอกจากดินแดนที่เป็นคาบสมุทรแล้ว อิตาลียังประกอบด้วยเกาะซาร์ดิเนียและซิซิลีด้วย พื้นที่ร้อยละ 57 เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ร้อยละ 21 เป็นป่า

ภูมิอากาศ แบบเมดิเตอร์เรเนียน

ประชากร 57.7 ล้านคน (ค.ศ. 2002) ความหนาแน่นของประชากร 200 คน ต่อ
1 ตารางกม. อัตราการเพิ่ม 0.05% มีประชากรในวัยทำงาน (workforce) 23.8 ล้านคน (โดยอยู่ในภาคบริการ 56.7 % ภาคอุตสาหกรรมและพาณิชย์ 28.9 % ภาคเกษตร 4.6% และว่างงาน 9.6%)
เชื้อชาติ ส่วนใหญ่คืออิตาเลียน และมีชนกลุ่มน้อยเชื้อชาติอื่นๆคือ
เยอรมัน ฝรั่งเศส สโลเวเนีย และแอลเบเนีย

เมืองหลวง โรม (Rome/Roma) ประชากร 2.7 ล้านคน

เมืองสำคัญ โรม มิลาน เนเปิลส์ ตูริน เจนัว

ภาษาราชการ อิตาเลียน และมีภาษาเยอรมันเป็นภาษารอง
โดยเฉพาะบริเวณแคว้น Trentino-Alto Adige ที่ติดกับออสเตรีย และภาษาฝรั่งเศสในแคว้น Valle d’Aosta นอกจากนี้ สามารถใช้ภาษาสเปนกับชาวอิตาเลียนได้ อนึ่ง ในอิตาลีมีภาษาท้องถิ่น อาทิ TUSCAN dialect

ศาสนา ส่วนใหญ่โรมันแคธอลิก (98%) แต่ให้เสรีภาพทุกศาสนาอิตาลีรับรอง สถานะพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการตั้งแต่มีนาคม ค.ศ. 2000

สกุลเงิน Euro
วันหยุดราชการ วันขึ้นปีใหม่, วัน Epiphany (6 ม.ค.), วัน Easter Sunday and Monday วัน Liberation Day (25 เม.ย), วันแรงงาน (1 พ.ค.), วัน Assumption
(15 ส.ค.), วัน All Saints Day (1 พ.ย.),วัน Immaculate Conception (8 ธ.ค.), วัน Christmas (25-26 ธ.ค.)

ประธานาธิบดี Mr. Carlo Azeglio Ciampi (นาย คาร์โล อาเซกลิโอ ชัมปี)( เข้ารับตำแหน่ง 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1999)

นายกรัฐมนตรี Mr. Silvio Berlusconi (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 2001)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ Mr. Franco Frattini
(เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002)
การเมืองการปกครอง
บริเวณที่เป็นอิตาลีในปัจจุบันมีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ 800 ปีก่อนคริสตกาล และถูกรวมอยู่ในอาณาจักรโรมันตะวันตกในระหว่างศตวรรษที่ 1-5 จากนั้นกลายเป็นสมรภูมิหลายครั้งในความขัดแย้งอันยาวนานระหว่างสันตปาปาที่กรุงโรม กับจักรพรรดิของอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (the Holy Roman Empire) ดินแดนภาคกลางและภาคเหนือของอิตาลีเริ่มรุ่งเรืองเป็นศูนย์กลางการค้าในศตวรรษที่ 11 และเสื่อมลงหลังศตวรรษที่ 16 แต่ในช่วงศตวรรษที่ 16-17 อิตาลีเข้าสู่ยุค Renaissance และได้เป็นแหล่งกำเนิดศิลปวิทยาการตลอดจน วรรณกรรมชิ้นเอกจำนวนมากที่เป็นพื้นฐานของอารยธรรมตะวันตกยุคต่อมา
อาทิ ผลงานของ Machiavelli, Boccaccio, Petrash, Tasso, Raphael, Botticelli, Michaelangelo และ Leonardo da Vinci ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 เกิดขบวนการชาตินิยมที่นำไปสู่การรวม อิตาลีได้ทั้งหมด ในปี ค.ศ.1870 และจากนั้นมาจนปี ค.ศ. 1922 อิตาลีอยู่ภายใต้ระบบกษัตริย์ที่มีรัฐสภาและการเลือกตั้งแบบจำกัด
ในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่ 1 อิตาลีเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี แต่กลับมาเข้าข้างฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงเกือบสิ้นสุดสงครามในปี ค.ศ. 1915 จึงได้รับดินแดนบางส่วนของออสเตรียมาอยู่ใต้อิตาลี ในปี
ค.ศ. 1922 Benito Mussolini ขึ้นมามีอำนาจกว่า 2 ทศวรรษต่อมา อิตาลีตกอยู่ใต้ระบอบ Fascism ซึ่งเรียกกันว่า “Corporate State” โดยยังมีกษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐเพียงในนาม
ในสงครามโลกครั้งที่ 2 อิตาลีเข้าข้างฝ่ายอักษะ
แต่หลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรยึดเกาะซิซิลีได้ในปี ค.ศ. 1943 มุสโสลินีถูกกษัตริย์ปลดจากตำแหน่ง นายพล Pietro Badaglio ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน และอิตาลีหันไปประกาศสงครามกับเยอรมนี หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระบบกษัตริย์ถูกล้มเลิก และอิตาลีเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นสาธารณรัฐในระบอบ
ประชาธิปไตยตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1946 แลประกาศ
ใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1948 ซึ่งยังใช้มาจนปัจจุบัน

ระบบการเมืองการปกครอง รัฐธรรมนูญอิตาลีกำหนด
ให้อิตาลีมีรูปแบบการปกครอง ฅามระบอบสาธารณรัฐแบบ ประชาธิปไตย โดยมีประธานาธิบดี ดำรงตำแหน่งประมุขของประเทศ มีนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่หัวหน้าฝ่าย
บริหาร และมีฝ่ายตุลาการแยกเป็นอิสระ
ประธานาธิบดี ได้รับเลือกตั้งจาก รัฐสภาและผู้แทนภูมิภาค (Regional Representatives) ดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 7 ปี
ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 10 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ.1999 คือ นาย Carlo Azeglio Ciampi (คาร์โล อาเซกลิโอ ชัมปี) จะครบวาระในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2006
นายกรัฐมนตรี (President of the Council of Ministers) มาจากการเลือกตั้งโดยตรง โดยได้รับแต่งตั้งจากประธานาธิบดี
นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ นาย Silvio Berlusconi เข้ารับหน้าที่เมื่อ 11 มิถุนายน ค.ศ. 2001 นายกรัฐมนตรีเป็นผู้จัดตั้งคณะรัฐบาล (Council of Ministers)
โดยได้รับความเห็นชอบจากประธานาธิบดี

ระบบการเลือกตั้งของอิตาลีในปัจจุบัน เป็นการลงคะแนนเสียงผสมระ หว่างแบบเสียงข้างมาก (first-past-the post) ร้อยละ 75 และกแบบสัดส่วนอีกร้อยละ 25 การเลือกตั้งครั้งล่าสุดมีเมื่อ 13 พฤษภาคม 2001 การเลือกตั้งจะมีขึ้นทุก 5 ปี หรือเร็วกว่านั้นหากประธานาธิบดีไม่อาจ
สรรหานายกรัฐมนตรีที่มีความสามารถในการ จัดตั้งคณะรัฐบาลให้ได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภา และการเลือกตั้งของทั้ง 2 สภาจะมีขึ้นในเวลาเดียวกันผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี

รัฐสภา รัฐสภาอิตาลีประกอบด้วย2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
ประธานรัฐสภาได้แก่ประธานสภา ผู้แทนราษฎร (Chamber of Deputies) การบัญญัติกฎหมายใดๆ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้ง 2 สภาวาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกทั้ง 2 สภาคือ 5 ปี และการเลือกตั้งจะทำพร้อมกันทั้ง 2 สภา โดยจะมีขึ้น ทุก 5 ป
ี หรือเร็วกว่านั้นหากประธานาธิบดีไม่อาจสรรหา
นายกรัฐมนตรีที่สามารถ จัดตั้งคณะรัฐบาลให้ทั้ง 2 สภาให้ความเห็นชอบได้ การเลือกตั้งครั้งสุดท้ายคือเมื่อวันที่13พฤษภาคม 2001สภาผู้แทนราษฎร (Chamber of Deputies/Camera dei Deputati)
ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 630 คน โดย 475 คนมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และอีก 155 คนมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจากแคว้นต่างๆ (regional proportion representation) ผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งจะต้องมีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป
ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนปัจจุบันคือนาย Marcello Pera วุฒิสภา (Senate/Senato della Repubblica) ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 326 คน โดย 315 คนมาจากการเลือกตั้งทั่วไป (popular vote) จากแคว้น (regions) ต่างๆ ทั่วประเทศ
และมีวุฒิสมาชิกตลอดชีพอีกจำนวนหนึ่ง (ปัจจุบันมี 11 คน) ซึ่งจะแต่งตั้งจากบุคคลชั้นนำของสังคม ประธานวุฒิสภาคนปัจจุบันคือนาย Pier Ferdinando Casini โดยได้รับการคัดเลือกเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2001

การปกครองส่วนท้องถิ่น อิตาลีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 แคว้น
หรือภูมิภาค (regions) (และแบ่งเป็น 94 จังหวัด) ได้แก่ Abruzzo, Basilicata, Calabria,Campania, Emilia-Romagna,Fuiuli-Venezia Giulia, Lazio,Liguria, Lombardia, Marche,Molise, Piemonte, Puglia,Sardegna (Sardinia), Sicilia (Sicily)Toscana, Trentino-Alto Adige, Umbria,
Valle d’Aosta, Veneto,โดยมี 5 แคว้นคือ Fuiuli-Venezia
Giulia,Sardinia, Sicily, Trentino-Alto Adige, และ Valle d’Aosta ได้รับสถานะพิเศษตามรัฐธรรมนูญให้ปกครองตนเอง

ในแต่ละแคว้นจะมีองค์กรการปกครองหลักอยู่ 3 องค์กร คือ
- คณะมนตรีแคว้น (Regional Council) ทำหน้าที่ตรากฎหมายและระเบียบข้อบังคับในเขตอำนาจ
- คณะมนตรีกรรมการ (The Junta) ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหาร
- ประธานคณะกรรมการ (The President of the Junta)
ทำหน้าที่คล้ายนายกรัฐมนตรีในเขตอำนาจ แต่ทั้งนี้ ก็จะมีผู้แทนของรัฐบาลคนหนึ่งอยู่ประจำ ณ นครหลวงของแคว้นนั้นๆ คอยควบคุมดูแลการบริหารของรัฐบาลท้องถิ่นและทำหน้าที่ประสานงาน
ระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นกับรัฐบาลกลาง

พรรคการเมืองในอิตาลี
อิตาลีมีกลุ่มพรรคการเมืองใหญ่อยู่ 3 กลุ่ม คือ
1) กลุ่ม Ulivo หรือ Olive Tree ประกอบด้วยพรรค
Democratic Left (Democratici di Sinistra – DS), Italian Popular Party (Partito Popolare Italiano – PPI), Italian Renewal (Rinnovamento Italiano – RI), และพรรค Green (I – Verdi)
2) กลุ่ม Pole for Freedom หรือ Polo (Polo per la Liberta) หรือ Freedom Alliance
เป็นกลุ่มฝ่ายกลาง-ขวา และเป็นฝ่ายค้านในรัฐบาลชุดที่ 56 ประกอบด้วยพรรค Forza Italia, Alleanza Nazionale – AN และ Centro Cristiano Democratico – CCD
3) กลุ่มThe Clover ประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือพรรค Social Democrat (SDI) พรรค Republican และกลุ่มนักการเมืองฝ่ายขวาของอดีตประธานาธิบดี Francesco Cossiga
ส่วนพรรคการเมืองอื่นๆ มีอาทิ
- Union of Democrats for Europe (UDEUR) ซึ่งคือพรรค Unione Democratica per la Republica หรือ UDR เดิม)
- Democrat Party (ก่อตั้งโดยอดีตนรม. Romano Prodi)
- Northern Leaque (Liga Nord)
- Communist Party (Partito dei Comunisti Italiani – PDCI)
- Partito Rifondazione Comunista (PRC)
- Tyrolese Peoples’ Party (SVP)
- Val d’Aosta Union (UDV)
- La Rete

การเมืองภายในของอิตาลี เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2001 ได้มีการเลือกตั้งทั่วไปในอิตาลี ผลปรากฏว่า กลุ่มพรรคฝ่ายขวานำโดยนาย Silvio Berlusconi
ได้รับชัยชนะการเลือกตั้งได้เสียงข้างมากในวุฒิสภาจำนวน
177 ที่นั่ง และได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 368 ที่นั่ง จากทั้งหมด 630 ที่นั่ง ในการเลือกตั้งดังกล่าว นอกจากจะเป็นการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (315) ที่นั่ง และสภาผู้แทนราษฎร (630 ที่นั่ง) แล้ง ยังรวมถึงการเลือกตั้งองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นและเทศบาลด้วย ซึ่งได้แก่ การเลือกตั้งประธานและสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 5 จังหวัด (จาก 20 จังหวัด) และเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลของเมืองต่างๆ รวม 1,266 แห่งทั่วประเทศ
สำหรับการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสภาเทศบาลของเมือง ที่มีประชากรน้อยกว่า 15,000 คน (จำนวน 1,139 แห่ง) จะใช้ระบบเสียงส่วนใหญ่ของบัญชีรายชื่อพรรค (Party List Majority System) คือ ผู้มีสิทธิลงคะแนนครั้งเดียวและผู้สมัครที่ได้รับเสียงสูงสุดจะ ได้รับเลือกรวมทั้งพรรคการเมืองในบัญชีรายชื่อของผู้สมัครดังกล่าว จะได้ที่นั่ง 2/3 ในสภาเทศบาลเมืองนั้นไปโดยอัตโนมัติ ส่วนที่นั่งที่เหลือ 1/3 จะแบ่งตามสัดส่วนของบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง ที่ได้คะแนนเสียงรองๆ ลงไป สำหรับเมืองที่มีประชากรเกิน 15,000 คน (จำนวน 127 เมือง) จะใช้ระบบลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง 2 ครั้ง กล่าวคือ ในการเลือกตั้งรอบแรกวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 หากไม่มีผู้ใดได้รับคะแนนสูงสุดเด็ดขาด (absolute majority) จะมีการลงคะแนนรอบที่ 2 (runoff) ในวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 โดยถือเอาผู้ได้รับเสียงข้างมากปกติเป็นผู้ชนะ ทั้งนี้ ผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีในเมืองสำคัญๆ ในรอบ 2 ส่วนใหญ่ ผู้สมัครจากพรรคฝ่าย Center-Left ได้รับชัยชนะ ไดแก่ กรุงโรม เมืองเนเปิลส์ และเมืองตูริน เป็นต้น สำหรับเมืองมิลาน (เมืองใหญ่อันดับ 2 รองจากกรุงโรม) ผู้สมัครจากพรรค Center-Right ได้รับชัยชนะด้วยคะแนนสูงสุดเด็ดขาดจากการลงคะแนนเสียงรอบแรก

บทบาทของอิตาลีในเวทีระหว่างประเทศ
บทบาทของอิตาลีทางด้านการเมืองระหว่างประเทศเพิ่มมาก ขึ้นเป็นลำดับ นับตั้งแต่อิตาลีเป็นประธานสหภาพยุโรปในปี ค.ศ. 1996 โดยมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาตะวันออกกลาง การส่งกองกำลังเข้าไปรักษาสถานการณ์ในยูโกสลาเวียและแอลเบเนีย การคัดค้านการเสนอขอให้เยอรมนีและญี่ปุ่นเข้าเป็นสมาชิกถาวร ของคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ การผลักดันให้อิตาลีเข้าสู่สหภาพเศรษฐกิจการเงิน (Economic and Monetary Union - EMU) กลุ่มแรกในปี ค.ศ.1999 นอกจากนี้ อิตาลีได้สนใจภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมากขึ้น โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์ใหม่เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชนของทั้งสองฝ่ายให้มากขึ้น
ในเรื่องการปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ
อิตาลีไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มจำนวนสมาชิกถาวรอีก 2 ประเทศ
(ญี่ปุ่นและเยอรมนี) เพราะจะทำให้กลุ่มประเทศ พัฒนาแล้วมีอภิสิทธิ์ยิ่งขึ้นไปอีก คณะมนตรีความมั่นคงฯ จึงควรปฏิรูปโดยการเพิ่มจำนวนสมาชิก ไม่ถาวรฯ และให้ประเทศเล็กได้เข้าเป็นสมาชิก โดยให้เพิ่มจำนวน 8-10 ที่นั่ง และใช้ระบบหมุนเวียนตามสัดส่วนของภูมิภาค (ถ้าเพิ่ม 10 ที่นั่ง 5 ที่นั่งควรเป็นของทวีปแอฟริกาและเอเชีย 2 ที่นั่งเป็นของกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา 2 ที่นั่งเป็นของยุโรปตะวันตกและ 1 ที่นั่งเป็นของยุโรปตะวันออก) โดยมีวาระดำรงตำแหน่งครั้งละ 2 ปี แต่ไม่เกิน 4 ปีติดต่อกัน ทั้งนี้ สมัชชาฯ จะเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ในการ เลือกสมาชิกไม่ถาวร โดยผู้รับเลือกจะต้องได้รับคะแนนเสียง 2 ใน 3 ของสมาชิกสมัชชาฯ
และห้ามเลือกตั้งซ้ำและลงสมัครติดต่อกัน
-นาย Romano Prodi อดีตนายกรัฐมนตรีอิตาลี เป็นประธานคณะกรรมาธิการยุโรปคนปัจจุบัน อิตาลีมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูบูรณะ Kosovo และคาบสมุทร บอลข่าน โดยให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ชาว Kosovo ในรูปของโครงการพัฒนาต่างๆ รวมทั้งสร้างที่พักและสถานพยาบาล ให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินแก่ผู้ลี้ภัย หรือ Operation Rainbow ซึ่งได้รับเงินบริจาคจากชาวอิตาเลียน นอกจากนี้ยังบริจาคให้การปฏิบัติงานของUNHCR ให้ความช่วย เหลือสำหรับการฟื้นฟูบูรณะโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ผ่านองค์กรกองทุนระหว่างประเทศสำหรับการพัฒนาการเกษตร (IFAD) และ UNOPS และให้กับโครงการอาหารโลก (WFP) สำหรับผู้ได้รับผลกระทบ
วิกฤตการณ์ในคาบสมุทรบอลข่าน นอกจากนั้น รัฐบาลอิตาลียังหาทางให้นักธุรกิจอิตาลีมีช่องทางเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนด แผนงานและกระบวนการประมูลในโครงการฟื้นฟูบูรณะคาบสมุทรบอลข่านตั้งแต่ต้น รวมทั้งกระตุ้นให้ภาคเอกชนเข้าไปมีบทบาทในการสร้างตลาดการค้าที่ทันสมัยในคาบสมุทรบอลข่าน และรัฐบาลยังเพิ่มบทบาทในการสร้างเครือข่ายในภูมิภาคเพื่อการร่วมมือกันพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆ ในภูมิภาค ควบคู่ไปกับการเร่งกระชับความสัมพันธ์
ทวิภาคีกับประเทศในภูมิภาคยุโรปใต้


รายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน
Prime Minister Mr. Silvio BERLUSONI
Deputy Prime Minister Mr. Gianfranco FINI AN
Undersecretary of Presidency of Council of Ministers Mr. Gianni LETTA
Minister of Foreign Affairs Mr. Franco Frattini
Minister of Interior Mr. Claudio SCAJOLA FI
Minister of Justice Mr. Roberto CASTELLI N. League
Minister of Economy Mr. Guilio TRENONTI FI
Minister of Defence Mr. Antonio MARTINO FI
Minister of Education and University Mrs. Laetizia MORATTI
Minister of Infrastructure and Transportation Mr. Pietro LUNARDI
Minister of Agricultural Politics Mr. Giovanni ALEMANNO AN
Minister of Labour & Social Politics Mr. Roberto Maroni N. League
Minister of Cultural Good and Sport Mr. Giuliano URBANI FI
Minister of Environment Mr. Altero MATTEOLI AN
Minister of Productive Activities Mr. Antonio MARZANO FI
Minister of Health Mr. Gerolamo SIRCHIA
Minister of Communications Mr. Maurizio GASPARRI AN

รายชื่อรัฐมนตรีที่ไม่ประจำกระทรวง
Minister of Relations with
Parliament Mr. Carlo GIOVANARDI Biancofiore
Minister of Regional Affairs Mr. Enrico La LOGGIA FI
Minister of Italians in the World Mr. Mirko TREMAGLIA AN
Minister Equal opportunities Mrs. Stefani PRESTAGIACOMO FI
Minister of Technological Innovation Mr. Lucio STANCA
Minister of Public Functions & Security Mr. Franco FRATTINI FI
Minister of Reforms &Devolution Mr. Umberto BOSSI N. League
Minister of European Affairs Mr. Rocco BUTTIGLIONE CDU
Minister of Implementation of Government Program Mr. Giuseppe PISANU FI


เศรษฐกิจการค้า
โครงสร้างทางเศรษฐกิจทั่วไป อิตาลีมีพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่เหมาะแก่การเกษตรกรรม และมีทรัพยากรธรรมชาติไม่มาก แม้จะมีก๊าซธรรมชาติอยู่บ้าง
จึงเป็นประเทศที่ต้องนำเข้าอาหาร (net food importer) และพลังงาน ปัจจุบันอิตาลีเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาเกษตรกรรมเป็นสำคัญ มาเป็นแบบมีอุตสาหกรรมเป็นพื้นฐาน และมีขนาดใหญ่เป็นลำดับต้นๆ ของโลก
โดยรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรสูงไล่เลี่ยกับอังกฤษและฝรั่งเศส อิตาลีมีจุดแข็งในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
อุตสาหกรรมที่สำคัญมี รถยนต์ เครื่องจักรกล การก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ เภสัชภัณฑ์ เครื่องไฟฟ้า เครื่องเรือน อุตสาหกรรมทอผ้า เสื้อผ้าและแฟชั่น และการท่องเที่ยว อิตาลีเป็นสมาชิกกลุ่ม
G8 และเข้าร่วมสหภาพการเงินของ สหภาพยุโรป (EMU) มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1998 แม้ระบบเศรษฐกิจของอิตาลีเป็นระบบทุนนิยม
ภาคเอกชนสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างเสรี แต่รัฐบาลยังคงเข้ามามีบทบาทควบคุมกิจกรรมที่สำคัญ
อาทิ ด้านสาธารณูปโภค อุตสาหกรรมพื้นฐาน เป็นต้น ซึ่งได้ก่อประโยชน์ให้แก่ภาครัฐบาลในการสร้างฐานอำนาจและแบ่งปัน ผลประโยชน์ระหว่างพรรคการเมืองที่เข้าร่วมรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้มีความพยายามที่จะลด บทบาทของพรรคการเมืองโดยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้ภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการ อย่างไรก็ตาม อิตาลียังมีปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศหลายประการ ที่สำคัญได้แก่ การขาดดุลงบประมาณในระดับสูง การว่างงาน การขาดแคลนทรัพยากรพลังงานในประเทศ และระดับการพัฒนาที่แตกต่าง กันอย่างมากระหว่างอิตาลีตอนเหนือ (Lombardy, Emilia,
Tuscany) ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมและการค้า และมีกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs อยู่หนาแน่น กับอิตาลีตอนกลางและตอนล่าง รวมทั้งเกาะ Sicily และ Sardinia ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรม บริเวณที่พัฒนาน้อยกว่านี้มีพื้นที่รวมกันเป็นร้อยละ 40 ของประเทศ มีประชากรอาศัยอยู่ถึงร้อยละ 35 และมีอัตราการว่างงานสูงถึงกว่าร้อยละ 20

ธุรกิจการค้าปลีก/ค้าส่งในอิตาลี
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจค้าปลีก/ค้าส่ง
บทบัญญัติที่สำคัญๆ เกี่ยวกับ SMEs ในกฎหมายที่ 114
ว่าด้วยการปฏิรูปวินัยในภาคธุรกิจการค้า (Reform of the Disciplines on Commercial Sector) มีดังนี้
1. มาตรา (6) ข้อ (2) บัญญัติว่า รัฐบาลแคว้น (regional authority) จะพิจารณากำหนดเขตพื้นที่การพัฒนาในส่วนที่เกี่ยวกับภาคธุรกิจการค้าต่างๆ อย่างสมดุล
2. มาตรา (6) บัญญัติว่า หน่วยงานของรัฐบาลแคว้นเป้นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งสถานประกอบการขนาดใหญ่ รัฐบาลแคว้นจะจัดทำมาตรฐานผังเมือง (urban planning) เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาอนุญาตให้จัดตั้งสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดใหญ่
3. มาตรา (7) บัญญัติว่า ในการขอจัดตั้งกิจการของผู้ประกอบการรายย่อย
เพียงส่งแบบฟอร์มแจ้งต่อเทศบาล (city council) เท่านั้น มาตรา (8) และ (9) บัญญัติว่า การเปิดกิจการของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดใหญ่ต้องได้รับอนุญาตจากเทศบาลและรับแคว้น
4. มาตรา (8) เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ในการเปิดสถานประกอบการขนาดกลาง ซึ่งระบุว่า เทศบาลและรัฐบาลแคว้นจะรับฟังข้อคิดเห็นจากสมาคมการค้า และองค์กรพิทักษ์ผู้บริโภคในการอนุญาตให้จัดตั้งสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดใหญ่

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจค้าปลีก/ค้าส่งในอิตาลี
- กฎหมายที่ 114 ให้ประโยชน์แก่ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก (พื้นที่ 150-200 ตารางเมตร) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการดำเนินธุรกิจของครอบครัว อาทิ การเปิดกิจการร้านค้าปลีกใหม่ทำได้โดยง่ายโดยไม่ต้องขออนุญาต (แต่เดิมต้องขอใบอนุญาตจากเทศบาล) เพียงแต่จัดส่งแบบฟอร์มแจ้งเทศบาล
- ร้านค้าปลีกขนาดกลาง (พื้นที่ 250-2,500 ตารางเมตร) เช่น supermarket , convenient store, outlet เป็นต้น และร้านค้าปลีก/ค้าส่งขนาดใหญ่ (พื้นที่ 2,500 ตารางเมตรขึ้นไป) จะต้องได้รับการอนุญาตจัดตั้งโดยคำนึงถึงการแบ่งเขตพื้นที่ (zoning) และการตรวจสอบความจำเป็นทางเศรษฐกิจ (economic needs test) ต่างๆ เช่น จำนวนประชากร การกระจายการจัดตั้งรานค้าปลีก/ค้าส่งขนาดใหญ่ ผลกระทบต่อสภาพจราจร
การจ้างงาน และการสร้างงานใหม่ เป็นต้น ซึ่งรัฐบาลแคว้นจะพิจารณาร่วมกับเทศบาลเมือง และหน่วยงานภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในการอนุญาตให้จัดตั้งร้านค้าปลีก/ค้าส่งขนาดใหญ่ ส่งผลให้เกิดการชะลอความเติบโตในภาคการค้าปลีก/ค้าส่งขนาดใหญ่ของอิตาลีในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
- ปัจจุบัน รัฐบาลอิตาลีมีนโยบายสนับสนุนให้ร้านค้าปลีกขนาดเล็กปิดกิจการหรือรวมตัวกัน เช่น ให้เงินชดเชยแก่เจ้าของร้านที่เลิกกิจการก่อนเกษียณอายุ สนับสนุนให้ร้านค้าปลีกขนาดเล็กซึ่งตั้งอยู่ใน บริเวณเดียวกันปิดกิจการ และและรวมตัวเพื่อเปิดกิจการร้านค้าปลีกขนาดกลางในเขตอื่น สนับสนุนร้านค้าปลีกรายย่อยให้จำหน่ายสินค้าเฉพาะประเภทเพื่อลด การแข่งขันระหว่างการค้าปลีกอื่นๆ ในย่านเดียวกัน เป็นต้น ทั้งนี้ รัฐบาล(โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า) ได้ตั้งงบประมาณเพื่อการนี้ไว้ประมาณ 1 แสนล้านลีร์

ข้อกำหนดสำหรับกิจการของต่างชาติ
- ธุรกิจการค้าปลีก/ค้าส่ง ของงอิตาลีมีการแข่งขันกันอย่างเสรี ในสภาพตลาดที่พัฒนาแล้วและไม่มีข้อกีดกันต่อผู้ประกอบการต่างชาติในกิจการค้าปลีก/ค้าส่ง ที่แตกต่างจากมาตรการที่กำหนดไว้สำหรับผู้ประกอบการอิตาลี
- ปัจจุบัน มีร้านค้าปลีก/ค้าส่ง ขนาดใหญ่ของต่างชาติเปิดกิจการ
ในอิตาลี อาท ิ Carrefour (ฝรั่งเศส) Auchan (ฝรั่งเศส) Metro (เยอรมัน)
Lidl (เยอรมัน) Rewe (เยอรมัน) Tenglemann (เยอรมัน) IKE (สวีเดน)
สถิติเศรษฐกิจที่สำคัญ


ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐอิตาลี
ความสัมพันธ์ทางด้านการทูต ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิตาลีมาเป็นเวลานาน โดยไทยและอิตาลีได้ลงนามสนธิสัญญาฉบับแรกคือ
สนธิสัญญาว่าด้วยมิตรภาพ การพาณิชย์ และการเดินเรือ (Treaty of Friendship, Commerce and Navigation) ซึ่งได้ลงนามเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1868
ต่อมาอิตาลีได้แต่งตั้งกงสุลอิตาลีประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1886 (พ.ศ. 2429)
…. กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ….
อิตาลีได้เคยแต่งตั้งกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์อิตาลีประจำจังหวัดภูเก็ต โดยมีเขตอาณาครอบคลุม 13 จังหวัดภาคใต้ของไทย กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ฯ คนสุดท้ายพ้นตำแหน่งเมื่อปี
ค.ศ. 1993 และต่อมาในปี ค.ศ. 1999 รัฐบาลอิตาลีเสนอขอแต่งตั้งรองกงสุลฯ ซึ่งกระทรวงฯได้อนุมัติแล้ว
แต่ฝ่ายอิตาลียังมิได้เสนอตัวบุคคล ปัจจุบันอิตาลีได้เปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์อิตาลีประจำจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเขตอาณาครอบคลุม 14 จังหวัดภาคเหนือ ขณะนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้พิจารณาให้เปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำจังหวัดคาตาเนีย แคว้นซิซิลี เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแห่งความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-อิตาลีโดยทั่วไปดำเนินไปอย่างราบรื่น ทั้งสองฝ่ายไม่มีปัญหาขัดแย้งที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน นอกจากนั้น ได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนทั้งในระดับพระราชวงศ์ บุคคลสำคัญ และเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลทั้งสองประเทศอย่างสม่ำเสมอ (รายละเอียดการเยือนในเอกสารแนบ)

ความสัมพันธ์ทางการค้า
? อิตาลีเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญลำดับที่ 20 ของไทย และเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญลำดับที่ 6 ในกลุ่มสหภาพยุโรป
? ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา ค.ศ. 1999-2002 การค้าระหว่างไทย กับอิตาลีมีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 1,322.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี ค.ศ. 2002 การค้ารวมมีมูลค่า 1,422.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 1.07 ของการค้ารวมของไทย เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.93 โดย
ไทยเสียเปรียบดุลการค้า 19 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
?? สำหรับในช่วงเดือนแรกของปี ค.ศ. 2003 (ม.ค.-พ.ค.) การค้ารวมมีมูลค่า 722.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 31.6 โดยไทย
เป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า 100.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ยานพาหนะอุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์ยาง รองเท้าและชิ้นส่วน เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เครื่องโทรพิมพ์และโทรสาร ปลาหมึกสดแช่เย็นและ แช่เย็นจนแข็ง เสื้อผ้าสำเร็จรูป ยางพารา อัญมณีและเครื่องประดับ เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์โลหะ ผ้าผืน แผงวงจรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชภัณฑ์ เครื่องมือเครื่องมือใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ สินแร่โลหะอื่นๆและเศษโลหะ เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ เป็นต้น

สินค้าส่งออกที่มีศักยภาพ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และ
ส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า ข้าว อาหารทะเลกระป๋อง
ยานพาหนะอุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง อัญมณีและเครื่องประดับ และยางพารา เป็นต้น

สินค้านำเข้าที่มีศักยภาพ ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า น้ำมันดิบ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
ผลิตภัณฑ์โลหะ เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องมือเครื่องมือใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การแพทย์ เครื่องบินและอุปกรณ์การบิน เป็นต้น

ตารางแสดงสินค้ารวม ส่งออก นำเข้า และดุลการค้า ดังเอกสารแนบ

ปัญหาและอุปสรรคทางการค้า อิตาลีเป็นประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป ทำให้เกิดปัญหาการค้าทวิภาคีระหว่างไทยและสหภาพยุโรป กลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการค้าระหว่างไทยและอิตาลีด้วย แต่อิตาลีเป็นประเทศที่มีความเข้มงวดด้านกฎระเบียบการนำเข้ามากกว่า สมาชิกอื่นในสหภาพยุโรป เช่น ห้ามการใช้สาร EDTA ในอาหารทะเลกระป๋อง การระงับการนำเข้าอาหารทะเลแช่แข็งจากไทย เพราะตรวจพบเชื้อ Biotoxin เป็นต้น ผู้ส่งออกไทยจึงต้องระวัง
ในสิ่งเหล่านี้เป็นพิเศษ อิตาลีเคยตรวจพบเชื้อ Vibrium Parahemoliticum ในปลาหมึก กุ้ง และปูสดแช่แข็งนำเข้าจากไทยและได้ใช้มาตรการกักกันสินค้าที่มีปัญหา
เพื่อนำตัวอย่างไปตรวจวิเคราะห์ก่อน (automatic detention)
หากไม่พบเชื้อโรคจะอนุญาตให้นำเข้าได้ การยกเลิกมาตรการดังกล่าวอยู่ในดุลพินิจของหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตรวจสอบ

ความสัมพันธ์ด้านการลงทุน การลงทุนจากอิตาลีในไทยที่ผ่านคณะ กรรมการส่งเสริมการลงทุนมีจำนวนค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในหมวดผลิตภัณฑ์โลหะเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง (อาทิ กิจการผลิตเครื่องจักร หรืออุปกรณ์สำหรับงานอุตสาหกรรมต่อเรือ การผลิตชิ้นส่วน ยานพาหนะ และการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะ ) การลงทุนในหมวดเคมีภัณฑ์กระดาษและพลาสติก และการลงทุนในหมวดอุตสาหกรรมเบา (อาทิ การผลิตเครื่องประดับ การผลิตรองเท้า การผลิตเครื่องกีฬา การผลิตของเด็กเล่น เป็นต้น)
ปัจจุบันโครงการความร่วมมือไทย-อิตาลีที่สำคัญ ได้แก่ โครงการผลิตเหล็กกล้าระหว่างบริษัทสหวิริยากับบริษัท Duferco กลุ่มบริษัท Premier (รถบรรทุก Iveco) บริษัท HMC Polymer บริษัท Euro-Thai Medical Equipment และบริษัท Savio Thailand
บริษัทน้ำมันแห่งชาติอิตาลี (ENI) แสดงความสนใจซื้อหุ้นโรงกลั่นน้ำมันที่ระยองของสตาร์หรือบางจาก และโครงการรวบรวมน้ำมันเครื่องใช้แล้วมาใช้ใหม่ และยังชักชวนให้ปตท. ศึกษาความเป็นไปได้ในการวางท่อก๊าซจากพม่าไปบังคลาเทศและอินเดีย
บริษัท Rubber Flex Sdn. Bhd. ของอิตาลีซึ่งมีฐานการผลิตในมาเลเซีย กำลังอยู่ในระหว่างการเสนอโครงการขอรับการส่งเสริมการลงทุน
โดยมีมูลค่าโครงการ 9.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งโรงงานผลิต extruded latex treads ในไทย (อาจจะเป็นที่ระยอง)บริษัท Pirelli Cables and System แสดงความสนใจที่จะขยายการลงทุนในด้านโทรคมนาคม พลังงาน และยางรถยนต์บริษัท Impregilo ซึ่งมีสาขาในไทย แสดงความสนใจที่จะขยายการลงทุนในด้านการก่อสร้าง สำหรับการลงทุนของไทยในอิตาลีไทยนั้น กระทรวงพาณิชย์มีโครงการจัดทำศูนย์ขายส่งเฟอร์นิเจอร์ไทยที่เมืองฟลอเรนซ์ และมีบริษัท Bianchini ซึ่งเป็นผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้รายใหญ่ของเมืองฟลอเรนซ์สนใจนำเข้าเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราจากไทย และบริษัท La Tancia Firenze สนใจร่วมทุนกับบริษัท Siam Flowers เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตไวน์และวัสดุห่อขวดไวน์ (วัสดุคล้ายต้นกกอบแห้ง)

ความร่วมมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs)
รัฐบาลอิตาลีมีนโยบายสนับสนุนการดำเนินการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ให้มีบทบาทนำในกระบวนการเศรษฐกิจทั้งในระดับภายในและระหว่างประเทศ โดยอิตาลีเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Asia – Europe and Medium Enterprises Conference (AESMEC’98) ณ เมือง Naples ระหว่างวันที่ 28-30 พฤษภาคม ค.ศ.1998 โดยมีผู้แทนจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกระทรวงการต่างประเทศ สนง.คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อมไปร่วมการประชุม
สืบเนื่องจากการประชุมดังกล่าวและจากข้อเสนอของอิตาลีในการประชุม SOM ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1998 ในกรอบ ASEM Trade Facilitation Action Plan (TFAP) กระทรวงการต่างประเทศของอิตาลีได้จัดการประชุม Industrial Districts and International Transfer of Technology as Means to Promote Trade in
Goods and Services ที่เมือง Bari ในระหว่างวันที่ 4-5 ตุลาคม ค.ศ. 1999 ซึ่งไทยส่งผู้แทนไปร่วมการประชุมสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครมิลาน แจ้งว่าโดยทั่วไป SMEs ของอิตาลีจะมีเงินทุนน้อย ไม่สามารถเข้าไปลงทุนในต่างประเทศได้ และเป็นกลุ่มที่ผลิตสินค้าเพื่อส่งให้อุตสาหกรรมใหญ่ของตน ในแง่หนึ่งจึงเป็นคู่แข่งของไทย แต่อาจแสวงหาประโยชน์ในการเพิ่มความร่วมมือกับฝ่ายอิตาลีได้ อาทิ การร่วมทุนกระทรวงการต่างประเทศมีโครงการจะนำคณะผู้แทนภาครัฐและภาคเอกชนด้าน SMEs โดยมีฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการเป็นหัวหน้าคณะ เพื่อหาลู่ทางพัฒนาและขยายความร่วมมือด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็กระหว่างไทยกับยุโรป ซึ่งจะจัดการสัมมนาทางธุรกิจและการจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching) โดยหนึ่งในเมืองที่จะดำเนินโครงการนี้ คือที่มิลาน เนื่องจากภาคตะวันออกของอิตาลีเป็นประเทศที่มีแนวนโยบายส่งเสริม SME ที่เป็นตัวอย่างที่ดีและน่าศึกษาของการพัฒนา SME ในแบบกลุ่ม (clusters)
จนเป็นที่รู้จักกันในนามของ Third Italy โดยมีกำหนดจะ
จัดในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1999 แต่เลื่อนออกไป

กลไกของความร่วมมือ ไทยและอิตาลีได้ลงนามความตกลงพื้นฐานว่า ด้วยความร่วมมือไทย-อิตาลี (the Basic Agreement on Cooperation between the Kingdom of Thailand and the Republic of Italy) ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1983 กำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม (JC) ในระดับของรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ โดยไทยและอิตาลีจะสลับกันเป็นเจ้าภาพการประชุมทุก 2 ปี ซึ่งได้มีการประชุม JC มาแล้ว 4 ครั้ง (ค.ศ. 1984, ค.ศ. 1986, ค.ศ.1989, ค.ศ.1998) โดยการประชุม JC ครั้งที่ 5 กำหนดมีขึ้นที่กรุงเทพฯ ในภาคเอกชนมีกรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจที่สำคัญคือ
ความตกลงว่าด้วย การจัดตั้งคณะมนตรีธุรกิจไทย-อิตาลีระหว่างสภาอุตสาหกรรมไทยกับ CONFINDUSTRIA ของอิตาลีลงนามเมื่อ 14 มีนาคม ค.ศ.1994
และข้อตกลงความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และเทคโนโลยีระหว่างสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยกับสหพันธ์อุตสาหกรรมสิ่งทอ (Federtessile) ของ
อิตาลี ลงนามเมื่อ 27 มีนาคม ค.ศ.1999

การท่องเที่ยว ? นักท่องเที่ยวอิตาลีจัดอยู่ในกลุ่มตลาดหลักของไทยซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 16 และมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.32 มีอัตราการเติบโตโดยรวมในรอบ 13 ปีที่ร้อยละ 6.68 นักท่องเที่ยวอิตาลีมีระยะ พำนักและมีค่าใช้จ่ายต่อการเดินทางประมาณ 980 ดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เกิดรายได้เข้าประเทศปีละ 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากสถิติในปี 2543 (ค.ศ. 2000) 2544 (ค.ศ. 2001) และในปี 2545 (ค.ศ. 2002) ชาวอิตาลีเดินทางไปประเทศไทยจำนวน 119,677, 119,953 และ 126,222 คน ตามลำดับ สำหรับในช่วงเดือนปี 2546 (มกราคม-มิถุนายน (ค.ศ. 2003)) มีนักท่องเที่ยวอิตาลีเดินทางมาไทยจำนวน 42,333 คน ปัจจุบันไทยอยู่ในกลุ่ม 25 ประเทศแรกที่ชาวอิตาลีเลือกเดินทางไปท่องเที่ยว และจำนวนนักท่องเที่ยว จากอิตาลีมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในอนาคต
ไทยมีศักยภาพที่จะรองรับนักท่องเที่ยวอิตาลีทั้งในกลุ่มตลาดแบบเดิมและกลุ่ม
niche market อาทิ กลุ่ม MICE (Meetings, Incentives, Conferences, Exhibitions) เช่นชมรมดำน้ำ โครงการตรวจสุขภาพ (physical check-up) และท่องเที่ยวในไทย ซึ่งเป็นแผนดำเนินกิจกรรมด้านการตลาดของไทยในปัจจุบัน แต่ไทยยังไม่ได้รับประโยชน์จากนักท่อเที่ยวอิตาลีอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากชาวอิตาลีในภาคเหนือที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี
เนื่องจากเรื่องความสะดวกในการเดินทาง ซึ่งแม้จะมีเที่ยวบินตรงในเส้นทาง โรม-กรุงเทพ ถึง 13 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ แต่สายการบิน Alitalia ได้หยุดบินในเส้นทางมิลาน-กรุงเทพ และการบินไทยยังไม่สามารถใช้สิทธิบินในเส้นทางกรุงเทพ-มิลานเนื่องจากเครื่องบินไม่พอ

ความตกลง
ความตกลงที่เสร็จสิ้นแล้ว
- ความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ (มีผล 15 ธันวาคม ค.ศ. 1955)
- สนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษา ในคดีอาญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอิตาลี (ลงนามเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1984)
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งกำลังบำรุงทหารไทย-อิตาลี ฝ่ายอิตาลีเสนอมาเมื่อปี ค.ศ. 1990 และรื้อฟื้นในปี ค.ศ. 1994
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการเงิน ลงนามเมื่อ 22 เมษายน ค.ศ.1988
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการ ลงทุนไทย-อิตาลี ลงนามเมื่อมีนาคม ค.ศ. 1992 ระหว่าง BOI กับ Italian Trade Commission กระทรวงการค้าอิตาลี
- ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะมนตรีธุรกิจไทย-อิตาลี ลงนามเมื่อ 14 มีนาคม ค.ศ. 1994 ระหว่างสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสมาพันธ์อุตสาหกรรมแห่งอิตาลี (CONFINDUSTRIA)
- ข้อตกลงความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และเทคโนโลยี ระหว่างสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทย กับสหพันธ์อุตสาหกรรมสิ่งทอของอิตาลีเมื่อ 27 มีนาคม ค.ศ. 1999
ความตกลงที่ยังไม่เสร็จสิ้น ร่างความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครอง การลงทุน (Draft Agreement on Promotion and Protection of Investments)
ไทยและอิตาลีเคยเจรจาความตกลงดังกล่าวรอบแรก ณ กรุงโรม ระหว่างวันที่ 20-22 มกราคม 2529 (ค.ศ. 1986) และต่อมาได้เจรจาผ่านช่องทางการทูตหลายครั้งโดยฝ่ายอิตาลีได้เสนอ ร่างความตกลงฯ ฉบับใหม่ให้ฝ่ายไทยพิจารณาใหม่ทั้งหมดแทนร่างความตกลงฯ ที่ทั้งสองฝ่ายเคยเจรจาแล้ว และได้มีการประชุมรอบสองระหว่างวันที่ 13-15 กรกฎาคม 2541 (ค.ศ. 1998) ที่กรุงเทพฯ อย่างไรก็ตาม ยังมีบางประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถตกลงกันได้
สถานะปัจจุบัน ล่าสุดฝ่ายอิตาลีเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเมื่อวันที่ 13-14 พ.ย. 46 ณ กรุงโรม
ร่างหนังสือแลกเปลี่ยนเพื่อการแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญาเพื่อเว้นการเก็บภาษีซ้อน
ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ.1977 และได้แลกเปลี่ยนสัตยาบันเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 โดยเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1998 ฝ่ายอิตาลีได้มีหนังสือแจ้งการแก้ไขกฎหมายภาษีซ้อนของประเทศตนเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1997 และได้ขอให้ฝ่ายไทยแจ้งความพร้อมในการ แลกเปลี่ยนข้อสนเทศเกี่ยวกับผู้ลงทุนชาวอิตาลีในไทย เพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีตามข้อบัญญัติมาตรา 25 ของความตกลงฯ และเรื่องการใช้แบบฟอร์มรับรองการชำระภาษี สถานะปัจจุบัน กระทรวงฯ ได้นำส่งร่างหนังสือ แลกเปลี่ยนเพื่อการแก้ไขเพิ่มเติมความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บ ภาษีซ้อนระหว่างไทยกับอิตาลีให้กระทรวงการคลังพิจารณา
ความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศ ลงนามเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ.1961 ต่อมายกเลิกและทำความตกลงฉบับปัจจุบัน ลงนามเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1974 แทนที่ ทั้งสองฝ่ายได้พบปะหารือกันเป็นระยะเพื่อตกลงกันในรายละเอียดของการบริการด้านการบินระหว่างกัน รวมทั้งมีบันทึกความเข้าใจเพิ่มเติม โดยล่าสุดเป็นฉบับที่ลงนามเมื่อ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1992
สถานะปัจจุบัน
- มีการเจรจาครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1999 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นช่วงที่ทั้งไทยและอิตาลีมีนโยบายเปิดเสรีด้านการบินมากขึ้น และตกลงให้เพิ่มจุดบิน
(ที่มิลานและภูเก็ต) เพิ่มข้อบทว่าด้วยการทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกัน (code share) และให้แต่งตั้งสายการบินที่กำหนดได้มากกว่าหนึ่งสายการบิน
เพื่อรองรับในกรณีสายการบินแห่งชาติสายที่ 2 ของไทยจะมีแผนการบิน ไปอิตาลี และสายการบินอื่นๆ ที่อิตาลีไปร่วมหุ้นสามารถบินมา ไทย อาทิ แอร์ยุโรป (อิตาลีร่วมหุ้นกับสวิส) และเลาด้า (อิตาลีร่วมหุ้นกับออสเตรีย)
- ปัจจุบันการบินไทยบินไปโรมสัปดาห์ละ 6 เที่ยว และสายการบิน Alitalia บินมากรุงเทพฯ สัปดาห์ละ 3 เที่ยว ทั้งนี้แต่ละฝ่ายมีสิทธิ์บินได้สัปดาห์ละ 9 เที่ยว (ปัจจุบันสายการบิน Alitalia งดบินใน เส้นทางมิลาน-กรุงเทพ และการบินไทยยังไม่สามารถใช้สิทธิบินในเส้นทางกรุงเทพ-มิลาน สัปดาห์ละ 2 เที่ยว เนื่องจากเครื่องบินไม่พอ)

ร่างพิธีสารว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Draft Scientific and Technical Agreement)
- ไทยและอิตาลีได้ลงนามความตกลงพื้นฐานว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกันเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1983 ซึ่งครอบคลุมความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจและวิชาการ ต่อมาสถานเอกอัคร ราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทยได้ทาบทามฝ่ายไทยขอจัดทำร่างพิธีสาร ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งกรมเศรษฐกิจได้จัดประชุม ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1995 โดยมติที่ประชุมฯ ไม่ขัดข้องที่จะจัดทำพิธีสารความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับฝ่ายอิตาลี
- กรมเศรษฐกิจได้ยกร่างพิธีสารฯ ซึ่งเป็นผลจากการประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1995 และส่งร่างตอบโต้ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาให้ข้อคิดเห็นก่อนนำส่งให้ฝ่ายอิตาลีพิจารณา ซึ่งกรมเศรษฐกิจกำลังดำเนินการปรับปรุงร่างโต้ตอบตามความเห็นของ ส่วนราชการและจะแจ้งให้ฝ่ายอิตาลีพิจารณาต่อไป
- อย่างไรก็ตาม สถานเอกอัครราชทูตอิตาลีฯ ได้มีหนังสือลงวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1997 นำส่งร่างความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์และวิชาการเพื่อการพิจารณาของฝ่ายไทย ซึ่งในเรื่องนี้ กรมเศรษฐกิจได้นำส่งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาให้ข้อคิดเห็นและ ได้สอบถามสถานเอกอัครราชทูตอิตาลีฯ ด้วยว่า ทางการอิตาลีตั้งใจจะดำเนินการต่อไปอย่างไร เกี่ยวกับร่างความตกลงทั้งสองฉบับนี้สถานะปัจจุบัน กรมเศรษฐกิจได้นำส่งร่างฯ ตามที่ฝ่ายอิตาลีเสนอมาใหม่ให้ส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้องพิจารณา และได้มีหนังสือลงวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 นำส่งร่างพิธีสารว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไทย-อิตาลี ฉบับโต้ตอบของฝ่ายไทยให้สถานเอกอัครราชทูตอิตาลีพิจารณา โดยได้สอบถามด้วยว่าฝ่ายอิตาลีประสงค์จะดำเนินการเช่นใดต่อไปเกี่ยวกับร่างพิธีสารฯ และร่างความตกลงฉบับที่เสนอมาใหม่ ซึ่งในขณะนี้ยังไม่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาจากฝ่ายอิตาลี

การจัดทำความตกลงใบขับขี่รถยนต์ สอท.อิตาลี ประจำประเทศไทยได้แจ้งผ่านกรมยุโรปว่า กระทรวงการขนส่งของอิตาลีได้ระงับการอนุญาตให้บุคคลสัญชาติไทย
ที่อาศัยอยู่ในอิตาลีเปลี่ยน(conversion) ใบขับขี่รถยนต์ของไทยเป็นใบขับขี่ของอิตาลีเป็นการชั่วคราว เนื่องจากฝ่ายไทยมิได้ปฏิบัติต่างตอบแทนในเรื่องนี้ โดยฝ่ายไทยเพียงแต่ออก ใบขับขี่รถยนต์ประเภทชั่วคราว ให้บุคคลสัญชาติอิตาลีที่อาศัยอยู่ในไทยเพื่อแก้ไขเรื่องนี้ กระทรวงการขนส่งอิตาลีได้เสนอให้มีการเจรจาจัดทำความตกลงใบขับขี่ระหว่างกันปัจจุบัน กระทรวงฯ กำลังรอผลการพิจารณาจากกระทรวงคมนาคม

ความร่วมมือไทย-อิตาลีความร่วมมือทางทหาร
- ไทยสั่งซื้อเรือทำลายทุ่นระเบิดจำนวน 2 ลำจากบริษัท Intermarine ของอิตาลี โดยส่งมอบลำแรกเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1999 และส่งมอบลำที่ 2 (ร.ล. ท่าดินแดง) เมื่อเดือนมิถุยายน ค.ศ. 1999
- บริษัทอู่ต่อเรือ Fincantieri เสนอถ่ายทอดเทคโนโลยี (เฉพาะเรือรบ) ให้บริษัทอู่ต่อเรือของไทย โดยไม่คิดมูลค่า

ความร่วมมือด้านวิชาการ
ความร่วมมือในด้านโครงการ
ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทย-อิตาลี ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985-1994 มีหน่วยงานต่างๆได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอิตาลีจำนวน 11 โครงการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงาน และมีบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร คมนาคม สาธารณูปโภค อาชีวศึกษา และการแพทย์

ความร่วมมือในรูปของทุนฝึกอบรม/ดูงาน
รัฐบาลอิตาลีได้จัดสรรทุนด้านพลังงาน การเกษตร เศรษฐศาสตร์ อาชีวศึกษา การโรงแรมและท่องเที่ยว ให้แก่ไทยค่อนข้างสม่ำเสมอจนถึงปี ค.ศ. 1993 และหยุดไประยะหนึ่งในช่วง ปี ค.ศ. 1994-1997 และเริ่มให้ทุนการศึกษาใหม่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 เป็นต้นมา
- สถานเอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทย มีทุนการศึกษาให้นักศึกษาไทยประมาณปีละ 5 ทุน ในระดับปริญญาตรีและ post graduate โดยให้ในสาขาวิชาต่างๆ ตามแต่จะได้รับมาจากสถาบันอุดมศึกษาของอิตาลี
- มูลนิธิโครงการหลวงได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอิตาลี ในโครงการartichokes

ความร่วมมือด้านวัฒนธรรมไทยและอิตาลียังไม่มีความตกลงทางด้านวัฒนธรรม ไทยและอิตาลีมีความร่วมมือด้านวัฒนธรรมมานาน โดยในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ไทยได้ว่าจ้างสถาปนิก จิตรกร และศิลปินชาวอิตาเลียนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบอาคาร สถานที่สำคัญๆ ของไทย อาทิ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทำเนียบรัฐบาล บ้านพิษณุโลก กระทรวงกลาโหม สถานีรถไฟหัวลำโพง วังบางขุนพรหม พระที่นั่งอภิเษกดุสิต พระที่นั่งสวนอัมพร ห้องสมุดเนลสัน เฮยส์ สำหรับชาวอิตาเลียนที่มีบทบาทในวงการศิลปะของไทยมากที่สุดคือ อาจารย์ศิลป์ พีระศรี (นาย Corrado Feroci) ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม และความร่วมมือในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นความร่วมมือในการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม ระหว่างสอท. อิตาลีประจำประเทศไทยและบริษัทต่างๆ ของอิตาลีในไทย ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ของไทยทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับมหาวิทยาลัยของไทย อาทิ การประชุมอิตาเลียน-ไทย ครั้งที่ 1 เรื่อง “เส้นทางศิลปะวิทยาการอิตาเลียน-ไทย จากศตวรรษที่ 19 สู่ปัจจุบัน” โดยสอท. อิตาลีฯ จัดร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากรเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1997 ความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรมที่เพิ่งผ่านมา มีอาทิ การจัดแสดงดนตรีของวง Rome String Quartet เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใน
โอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ โดยมีสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนคริทร์ เสด็จฯ เป็นองค์ประธาน โดยจัดที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่
1 ธันวาคม ค.ศ. 1999 และในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1999 สอท. อิตาลี ร่วมกับสายการบิน Alitalia หอการค้าไทย-อิตาลี และบริษัทอิตาลีต่างๆ จัดงาน “Italian Memorial Day” ขึ้นที่ถนนปั้น สีลม เพื่อระลึกถึงศิลปินชาวอิตาเลียนที่ได้สร้างสรรค์ผลงานในไทย
โดยมีการแสดงดนตรีอิตาเลียน อาหารอิตาเลียน และการแสดงละครของนักศึกษาไทยในงาน ทั้งนี้สอท. อิตาลีมีโครงการจะจัดงานในลักษณะดังกล่าวเป็นประจำทุกปี
สถานเอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทย ได้มีส่วนร่วมในโครงการบูรณะ วังพญาไท (Phya Thai Palace Restoration Project) ของมูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า (Phra Mongkut Klao Hospital Foundation) โดยได้นำคณะผู้เชี่ยวชาญเชิงอนุรักษ์จากอิตาลีมาชมโครงการ และเสนอให้ความร่วมมือสนับสนุนการบูรณะ และต่อมา สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม ได้ประสานเรื่องนี้ กับทางรัฐบาลอิตาลี ซึ่งได้ขอให้ทางโครงการฯ ประสานรายละเอียดกับฝ่ายอิตาลีโดยตรงต่อไป อนึ่ง จากการหารือของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยกับนาย Valentino Martelli รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลี ในระหว่างการประชุม UNGA สมัยที่ 54 เมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1999 ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะให้มีการส่งเสริมความร่วมมือด้านวัฒนธรรมให้กระชับยิ่งขึ้น ปัจจุบันอิตาลีได้รับรองสถานะพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการ โดยเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 2000 นายกรัฐมนตรีอิตาลีได้ลงนามความตกลงกับประธานสหภาพสมาคมพุทธในอิตาลี เพื่อให้พุทธศาสนามีสถานะเป็นทางการในอิตาลี ทำให้ผู้เสียภาษีสามารถแสดงความจำนงให้แบ่งภาษีในอัตราร้อยละ 0.8 ของภาษีรายได้ส่วนบุคคลที่ต้อง ชำระให้แก่รัฐบาล เพื่อบริจาคให้องค์กรทางพุทธศาสนาได้ ปัจจุบันมี พุทธศาสนิกชนในอิตาลีประมาณ 40,000 คน

ความร่วมมือระหว่างรัฐสภา
รัฐสภาไทยได้จัดตั้งกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-อิตาลี โดยมีสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 77 คน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 26 คน รวมสมาชิกสมทบอีก 16 คน โดยมีคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช เป็นประธาน และนายสุพร สุภสร เป็นรองประธานคณะกรรมการบริหารในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2001 ปัจจุบัน นาย Pier Ferdinando CASINI ดำรงตำแหน่ง President of the Chamber




 

Create Date : 06 สิงหาคม 2551    
Last Update : 6 สิงหาคม 2551 20:43:10 น.
Counter : 355 Pageviews.  


kornzares
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่
GROUP CONFIDENT
Blog นี้จัดทำโดย
นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ
คณะบริหารธุรกิจ สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL BUSINESS MANAGEMENT (IBM)

Friends' blogs
[Add kornzares's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.