Group Blog
 
All Blogs
 

ต้นเหตุความยากจนข้นแค้น ของคนส่วนใหญ่

ต้นเหตุความยากจนข้นแค้น ของคนส่วนใหญ่
ภายหลังยุคการปฏิวัติ อุตสาหกรรมเป็นต้นมา องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ค่อยๆได้รับการพัฒนาต่อยอดเพื่อให้เกิดการใช้ ประโยชน์จริงในรูปของ "เทคโนโลยี" การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีต่างๆนั้น ไม่ได้มีอิทธิพลเพียงการเปลี่ยนแปลงในทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่มันยังมีอิทธิพลที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมขึ้นมาด้วย

โลกภายหลัง ยุคศาสนจักรที่องค์ความรู้ต่างๆของมนุษย์พัฒนาขึ้นรวมทั้งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ที่เราเคยเชื่อกันว่า เป็นจุดเริ่มต้นของการปลดแอกมนุษย์จากการเป็นทาสทางความเชื่อที่งมงาย แต่แท้จริงแล้วสิ่งที่ยังไม่เปลี่ยนคือ การที่โลกจะต้องมีบุคคลบางกลุ่มที่มีอิทธิพลชี้นำความคิดคนในสังคม เป็นผู้สร้างนิยามวาทกรรมต่างๆ ที่ทำให้โลกต้องหมุนไปตามระบบที่กลุ่มอภิสิทธิชนเหล่านี้ได้วางโครงสร้าง ต่างๆในสังคมไว้

และดูเหมือนคนส่วนมากบนโลก ก็ไม่เคยตั้งคำถามว่า ความทันสมัยคืออะไร? สิ่งที่เรียกว่าความทันสมัยเป็นเช่นไร? และทำไมต้องเป็นแบบนั้น ? และที่สำคัญ คนที่นิยามวาทกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับความทันสมัยคือ ? นิยามมันขึ้นมาทำไม ?

สิ่ง ต่างๆที่เราใช้เป็นตัวชี้ความเป็นประเทศพัฒนาแล้ว เราแน่ใจได้อย่างไรว่านั่นคือความเจริญที่แท้จริง บนพื้นฐานการพัฒนาที่ดี การที่มุ่งพัฒนาเพียงเฉพาะด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจทุนนิยม การทหาร ฯลฯ เราได้ตั้งคำถามมากน้อยเพียงใดว่า มันส่งผลกระทบต่อสังคมในองค์รวมอย่างไรบ้าง

การชี้วัดความเจริญบน พื้นฐานของตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้ง GDP หรือ GNP การเติบโตทางด้านอุตสาหกรรมหนัก การเกิดเขตเสรีทางการค้าการลงทุน ฯลฯ ล้วนเป็นสิ่งที่ใช้ชี้วัดความเจริญในเบื้องต้น แต่ในทางกลับกัน เราไม่ได้คิดถึงว่า จำนวนรายได้ผลผลิตของประชาชาตินั้นๆ ตกอยู่ที่คนกลุ่มใดบ้าง ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่มีแนวคิดมือใครยาวสาวได้สาวเอา ทำให้เราไม่ได้หันกลับมาดูเรื่องของ "Collectively Consumed Social Wage" (ค่าแรงแบบสังคมที่ประชาชนร่วมกันบริโภค) ใน ฐานะที่คนทั้งโลกร่วมกันผลิต แต่คนเพียงบางกลุ่มกลับมีความชอบธรรมในการจัดสรรทรัพยากรต้นทุนการผลิตและผล ผลิตที่ได้มา

ประเทศที่มีช่องว่างระหว่างชนชั้นสูง ความยากจนจะถูกนิยามด้วยแนวคิดแบบทุนนิยม และความยากจนนั้นแท้จริงก็เกิดมาจากการที่ถูกทำให้ยากจน ตัวอย่างที่ชัดเจนนั้นก็มีในประเทศไทยเราเอง เคยมีสมาชิกคนหนึ่งในกลุ่มสมัชชาคนจนได้สะท้อนเรื่องราวที่น่าสนใจว่า ความยากจนของเขานั้นเกิดจากภาครัฐและนายทุนไม่กี่รายในประเทศทำให้พวกเขายาก จน จากที่เคยมีชีวิตอยู่กันอย่างสุขสบายด้วยการใช้ประโยชน์จากป่า ทำไร่นา เก็บของป่า พอมีการสร้างเขื่อน ที่นาของตนก็โดนน้ำท่วม พอน้ำลดดินก็ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้แล้ว ป่าไม้ที่เคยใช้ประโยชน์ตัดฟืน ตัดไม้สร้างบ้าน มาวันนี้ก็ให้สัมปทานแก่นายทุน แต่ไม่ให้ชาวบ้านที่อยู่มาเก่าก่อนได้ใช้ประโยชน์ นี่เองคือที่มาของความยากจนของประชาชนที่ถูกยัดเยียดความยากจนให้

(ต้อง ขยายความเพิ่มเติมก่อนว่า เหตุผลในการสร้างเขื่อนที่ว่านั้น อ้างว่าเพื่อสร้างระบบพลังงานในประเทศ เพื่อให้คนส่วนใหญ่ของประเทศได้ใช้พลังงานจากเขื่อน เพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมของประเทศ เป็นปร)

นอก จากนี้รูปแบบของความยากจนนั้น ยังถูกนำเข้าสู่ประเทศกำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนาในรูปแบบของการรุกเข้าไปที่ วิถีการประกอบอาชีพดั้งเดิมของประชาชน เช่น การเกษตรสมัยใหม่ที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีทั้งรถไถ ไปจนถึงปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลงจากต่างประเทศ

และยังมีการพัฒนารูปแบบไปสู่การหลอกให้ เกษตรกรซื้อระบบเกษตรพันธะสัญญา ปรับเปลี่ยนวิธีการเกษตรดั้งเดิมมาเป็นวิธีการตามแบบที่บริษัทยักษ์ใหญ่ทาง การเกษตรหลอกขายให้ ทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์ วิธีการ ไปจนถึงการให้กู้ยืมเงินเพื่อให้เกษตรกรนั้นเอามาซื้อระบบต่างๆ ที่บริษัทนั้นเอามาขาย (พูดง่ายๆก็คือ อัฐยายซื้อขนมยายนั่นเอง)

ที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นตัวอย่าง ของการรุกรานโดยประเทศที่เรียกตัวเองว่า "ประเทศพัฒนาแล้ว" ที่นำมา รุกรานประเทศที่ถูกนิยามว่า "ประเทศกำลังพัฒนา" แล้วทำให้เกิดความ เหลื่อมล้ำในสังคมประเทศกำลังพัฒนา นอกจากนี้กลุ่มนายทุนผู้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจยังมีกลวิธีอันแยบยล ในการกุมความชอบธรรม ในการถือทรัพยากรและยัดเยียดความยากจน ด้วยการสร้างระบบ "แรงงาน" ซึ่งในสังคมทุนนิยมนั้น แรงงานมีคุณค่าเพียงเป็นปัจจัยการผลิตในระบบอุตสาหกรรมเท่านั้น มูลค่าของคนอยู่ที่ระดับการศึกษาและความสามารถในการสร้างผลผลิต แรงงานชั้นต่ำด้อยการศึกษา จึงเป็นลูกไก่ในกำมือที่นายจ้างจะเจียดเศษเงินให้ตามพอใจพร้อมสวีสดิการแบบ ลวกๆ ที่เทียบแล้วอาจไม่ถึงครึ่งหนึ่งของผลกำไรที่ได้จากการผลิตเลยด้วยซ้ำ และที่สำคัญมันคือ Collectively Consumed Social Wage ซึ่งคนบนโลกนี้ร่วมกันผลิต แต่ผลที่ได้กลับมีคนเพียงบางคนที่มีความชอบธรรมในการจัดสรร

นอกจากนี้การสร้างระบบ ลิขสิทธิ์ ระบบสิทธิบัตร ก็เป็นอีกหนทางหนึ่งในการตัดตอนการพัฒนาสร้างเทคโนโลยีต้นทุนต่ำของประเทศ กำลังพัฒนา และเป็นการสร้างระบบการมัดมือชกประเทศด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนาด้วย อย่างที่ในช่วงที่ผ่านมาไม่กี่เดือน ข่าวเรื่องการเปิดสิทธิเหนือสิทธิบัตรหรือ CL ยารักษาโรค3ชนิด ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า สิทธิบัตรคือกำแพงทางโอกาสของผู้ยากไร้ ที่จะเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่ดี สะท้อนแนวคิดเรื่องมูลค่าทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญกว่าชีวิตของเพื่อน มนุษย์ คนรวยเลือกได้ว่าจะตายที่ไหน? เมื่อไหร่? ตายยังไง? แต่คนจนไม่มีสิทธิเลือก

ทั้งหมดนี้คือรูปแบบการพัฒนาเชิงเดี่ยวที่ ไม่ได้มองสังคมแบบองค์รวม จะได้ความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็แล้วแต่ ความเป็นประเทศพัฒนาแล้ว / กำลังพัฒนา / ด้อยพัฒนา ได้ถูกสร้างขึ้นมาอย่างเป็นระบบแล้ว ความยากจนที่ยัดเยียดความจำเป็นต้องบริโภคให้แก่ประชากรส่วนมากของโลก ขณะเดียวกันก็ตัดโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรเพื่อความอยู่รอดของคนส่วนมากบน โลกใบนี้ ปัญหาของโลกเราในวันนี้จึงไม่น่าจะอยู่ที่ปริมาณทรัยากร แต่อยู่ที่การจัดสรรมากกว่า โลกเราวันนี้ไม่ได้ขาดแคลนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแล้ว แต่สิ่งที่ขาดคือโอกาสของประชากรส่วนมากในการเข้าถึงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ที่สร้างขึ้นมาได้ต่างหาก

การปฏิวัติที่ผมพูดมาตอนต้นเรื่อง จึงเป็นการปฏิวัติที่ไม่มีอะไรมากไปกว่าการเปลี่ยนสภาพ "เจ้าขุนมูลนายกับไพร่ทาส" ในแบบยุคนครรัฐสมัยเก่า กลายมาเป็น "อภิ สิทธิชนชั้นสูงกับแรงงานชั้นต่ำ" แบบยุครัฐชาติภายใต้ร่มเงาโลกาภิวัฒน์ ที่ว่าด้วยกรอบความเป็นประเทศพัฒนาแล้วกับด้อยพัฒนาเท่านั้น

วรภัทร วีรพัฒนคุปต์
นักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ต้นเหตุความยากจนข้นแค้น ของคนส่วนใหญ่ ---- [กรุณากด]




 

Create Date : 24 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 24 พฤษภาคม 2553 10:41:52 น.
Counter : 404 Pageviews.  


ของเล่นใหม่
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สวัสดีครับ
Friends' blogs
[Add ของเล่นใหม่'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.