space
space
space
space

ครั้งหนึ่งนานมาแล้วผมเคยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา...ภาคแรก


         สมัยเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ตอนอยู่ม.ปลายนอกจากทำทีมฟุตบอลแล้วผมก็ไม่ได้ทำกิจกรรมอะไรเป็นชิ้นเป็นอันตอบแทนโรงเรียนที่ผมเรียนมาตลอด5ปีเลย ผิดกับเพื่อนหมอที่เรียนด้วยกันมาตอนม1-3 หมอทำกิจกรรมให้โรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ ทำชมรมเชียร์อย่างทุ่มเทตลอดม.4-5 หมอเป็นคนเงียบพูดน้อย สุภาพ ขี้อายคิดช้ารอบครอบ ละเอียดและจริงจังทำอะไรถ้าตั้งใจแล้วมีความมุ่งมั่น ทุ่มเทเกินร้อยเป็นต้นแบบของเด็กกิจกรรมโดยแท้ หมอขาดอย่างเดียวคือขาดวาทศิลป์และลักษณะการเป็นผู้นำที่โดดเด่นในที่สาธารณะ หมอเลยดูไม่ค่อยเด่นนักเมื่อเทียบกับรุ่นพี่ที่ทำกิจกรรมบางคน แต่ถ้าใครสังเกตซักนิดติดตามซักหน่อยจะชื่นชมและซึ้งในความทุ่มเทของหมอแบบที่ผมรู้สึกมาโดยตลอด
         ต่อมาเมื่อจบม.5ผมจำได้วันหนึ่งตอนเดือนมีนาคม ปิดเทอมอยู่พวกเราที่เรียนม2/8 ห้องเดียวกันที่แยกๆกันเป็น2ห้องตอนม.ปลาย ได้นัดกันมานั่งคุยกันที่โรงเรียนเมื่อพร้อมหน้าพร้อมตากันแล้วหมอก็พูดด้วยเสียงอันเนิบๆสรุปได้ว่า หมอคิดว่าโรงเรียนเรากีฬาก็เด่น เรียนก็ดี รูปก็หล่อ(อันนี้ผมคิดเอง) น่าจะมีสื่ออะไรซักอย่างที่ทำโดยนักเรียนจริงๆเพื่อสื่อสัมพันธ์และเชื่อมความเข้าใจที่ดีในหมู่นักเรียน โดยเริ่มจากกลุ่มของพวกเราก่อนแล้วหาสมาชิกเพิ่ม หมอทำไม่ไหวเพราะปีนี้มีงานใหญ่ต้องแปรอักษรทั้งจตุรมิตรและซีเกมส์ หมออยากให้เพื่อนๆช่วยกันทำงานชิ้นนี้ ผมคิดว่าเอาแล้วไงม.6 ต้องสอบเข้มหาวิทยาลัย หญิงก็ยังไม่มีจะเอาเวลาไหนมาทำละเนี๊ยะ แต่คิดว่างานหนักแบบนี้เราไม่เริ่มแล้วใครจะเริ่ม เอาก็เอาก็เลยตกลงปลงใจร่วมกันเริ่มงานชิ้นนี้
         พอเริ่มทำงานผมในฐานะหัวหน้าห้องในสมัยม.ต้น ก็เริ่มตั้งตัวเป็นคนวางแผนคุยกับเพื่อนๆในกลุ่มซึ่งมีกัน7-8 คนในขณะนั้นโดยตกลงวางกรอบของงานว่าจะออกเป็นหนังสือแต่แบบไหนไม่รู้ ทุกคนไปหาข้อมูลมาแล้วคุยกันและเน้นว่าทำโดยนักเรียนจริงๆคิดเองทำเองทุกอย่างโดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาและทำให้ถูกต้องโดยขอจัดตั้งเป็นชุมนุมและแยกย้ายกันไปหาความรู้อีกอาทิตย์เจอกัน พอได้เวลานัดหมายหมอก็มาแจ้งว่าเรื่องกฏของโรงเรียนไม่มีปัญหาหมอเดินเรื่องเอง เพื่อนอีกคนเสนอรูปแบบหนังสือเป็นวารสารขนาดเท่าหนังสือตามท้องตลาด และเพื่อนอีกคนเสนอเรื่องอาจารย์ที่ปรึกษาว่าถึงเราจะทำเองคิดเองทั้งเล่ม แต่ควรมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาด้วยเพราะท่านมีประสบการณ์มีความรู้ยังไงก็ต้องฟังท่านเราก็เห็นด้วย เรารู้เบื้องต้นแล้วแต่ไม่มีความรู้อย่างเดียวคือไม่มีความรู้ด้านการทำหนังสือเลยแม้แต่คนเดียว เอาแล้วไงไม่มีความรู้แล้วจะทำหนังสือฮ่วย ผมก็เลยสรุปว่าเราต้องไปดูงานการทำหนังสือซัก2-3 ที่แล้วค่อยว่ากันต่อ ก็เลยติดต่อขอดูงานสำนักพิมพ์วิบูลกิจที่ทำการ์ตูนนั้นแหละ และไปดูงานสำนักพิมพ์กรุงเทพธุรกิจของคุณสุทธิชัย หยุ่น ไปเพราะมีคนแนะนำปราบดา หยุ่น ตอนนั้นอยู่ม.3ให้เรารู้จักและให้ปราบดาติดต่อคุณพ่อให้ ไปดูงานที่เนชั่น คุณสุทธิชัย มาพาเราเดินทัวร์ทุกแผนกด้วยตัวเองเลยครับแถมแนะนำโรงพิมพ์ให้คุยกับคุณนิพจน์หัวหน้าโรงพิมพ์สอนเราคิดต้นทุนอีก และยังใจดีบอกว่าฉบับแรกถ้าขาดอุปกรณ์และสถานที่ให้มาใช้ออฟฟิศเนชั่นทำงานในวันหยุดได้ คนอะไรใจดีจังเลยครับผมได้เจอคุณสุทธิชัย หยุ่น ครั้งนั้นครั้งเดียวยังไม่ได้ขอบคุณท่านอย่างเป็นทางการเลยครับ และเรายังได้ปราบดา หยุ่นมาเป็นแนวร่วมในงานนี้อีกแรง

     หลังจากเราดูงานพอมองเห็นภาพกันแล้วก็เริ่มแบ่งงานกันเป็นฝ่ายๆโดยหมอเป็นผู้ดูแลสูงสุด โรงเรียนตั้งอาจารย์ที่ปรึกษามาให้เรา 3 ท่าน เราเชิญมาอีก1ท่าน เพื่อนกลุ่มหนึ่งชอบทำเนื้อหาก็ให้เป็นกองบรรณาธิการ มีหัวหน้า 1 คน ให้ไปหาสมาชิกเพิ่มและไปวางแผนด้านเนื้อหามาเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ในครั้งต่อมา และเน้นว่าไม่ใช่เขียนเรื่องกันเองในกลุ่มไม่กี่คนนะต้องกระจายงานให้คนนอกเขียนเยอะๆจะได้หลากหลาย เพื่อนอีกกลุ่มชอบทำอาร์ตก็มีหัวหน้า 1 คนและไปหาสมาชิกเพิ่มแล้วไปศึกษาวิธีการทำอาร์ตทุกรูปแบบมา ส่วนเพื่อนอีกกลุ่มทำงานประชาสัมพันธ์และงานธุรการ ทุกคนมีกลุ่มหมดเหลือผมคนเดียวไม่รู้จะเข้ากลุ่มไหน เขียนก็ไม่เป็น อาร์ตก็ไม่มีฝีมือธุรการก็ทำไม่เป็น ผมได้แต่คิดว่าไม่เป็นไรไม่มีกลุ่มก็ทำอะไรได้ก็ทำไป จากนั้นเราก็ประชุมเฉพาะหัวหน้าของแต่ละกลุ่ม เจาะลึกในรายละเอียดว่าข้อมูลต้องเอาไง กระจายงานเขียนไปให้น้องๆช่วยๆกันยังไงได้บ้างและเนื้อหาในแต่ละเล่มควรเป็นไง เราจะออกปีนี้ 6 เล่มเทอมละ 3 เล่มต้องทำให้ได้ และฝ่ายเนื้อหาต้องทำงานแข่งกับเวลายังไง ผมนัดฝ่ายข้อมูลไปดูงานที่เนชั่นแบบเจาะลึกอีกรอบเพื่อให้เข้าใจระบบการเตรียมข้อมูลอย่างจริงจัง ฝ่ายอาร์ตต้องเตรียมตัวยังไงทำงานช่วงไหนที่ไหนและต้องการอุปกรณ์อะไรบ้าง  อันนี้เหนื่อยหน่อยสมัยนั้นคอมฯยังไม่ทันสมัยเหมือนตอนนี้ ทุกอย่างใช้มือและความสามารถหมดผมต้องนัดฝ่ายอาร์ตไปดูงานทำอาร์ทที่เนชั่น ไปดูงานทำคอมพิวฯ(ตัวอักษร)ที่ร้านแถวสะพานหัวช้าง ไปดูการทำเพลทที่ร้านแถวอนุสาวรีย์ชัย และไปดูโรงพิมพ์ที่เนชั่นจนฝ่ายอาร์ตเข้าใจในทุกขั้นตอนของการทำรูปเล่มหนังสือ ฝ่ายประชาสัมพันธ์และธุรการก็ต้องเตรียมงานหาสมาชิก หาสปอนเซอร์ เตรียมการขายและเตรียมการประชุมในแต่ละครั้ง  พอเราเริ่มเข้าระบบแล้วผมก็มาดูภาพรวมโดยไม่ได้เข้าไปทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันกับเขาเลย ต่อมาเราก็ประชุมใหญ่อีกรอบแต่ละฝ่ายก็อธิบายและพูดแผนงานของตนเองให้สมาชิกทุกคนเข้าใจโดยพร้อมเพรียง แต่แบ่งความรับผิดชอบกันอย่างชัดเจนและซักซ้อมความเข้าใจ เพื่อการทำงานอย่างลื่นไหลและต่อเนื่องและเหนืออื่นใดต้องไม่เสียการเรียนด้วย
        พองานเริ่มทุกอย่างก็ไปได้ดีมีปัญหาบ้างเราก็เข้าไปแก้ให้ตามเหตุการ ผมนั่งคิดนอนคิดแล้วว่าปัญหาใหญ่สุดเลยคือเรื่องเงินเพราะฝ่ายหาเงินทุนทำงานไม่ค่อยคืบหาเงินไม่ได้ ผมมาคุยกับหมอว่าเอาไงดีถ้างานเสร็จแล้วไม่มีเงินพิมพ์หนังสือจะทำอย่างไร หมอบอกว่าไม่เป็นไรผมพอมีเงินเก็บอยู่เอาเท่าไหร่ก็ให้บอกมา ผมฟังดังนั้นก็ไม่ได้พูดอะไรเพราะพูดไม่ออก แต่พอดีคิดขึ้นได้ว่าเรามีครูดีอยู่กับตัวทำไมไม่ไปขอคำชี้แนะ ครูคนนั้นคืออ.พรรณี ศรีสุวรรณ อาจารย์ประจำชั้น2/8ของเรานั้นเอง อาจารย์ประจำชั้นเราปีเดียวแต่เรายังแวะไปหาอาจารย์อย่างสม่ำเสมอ พอเอาเรื่องกลุ้มใจนี้ไปปรึกษาอาจารย์ ท่านก็ชี้แนะและช่วยเราหาหนทางเรื่องเงินทุนจนเราหมดปัญหาเรื่องนี้ไป และจากนั้นท่านก็ช่วยงานด้านที่ปรึกษาให้เราตลอดจนเราออกมาแล้วเลิกทำไปนาน ท่านก็ยังทำหนังสือให้เราทั้งแต่ปี 2530 มาจนถึงปี2546 เป็นเวลา17 ปีเต็มถ้าจะมีอีกท่านที่เราต้องกราบขอบคุณอย่างจริงใจก็คือท่านอาจารย์พรรณี ศรีสุวรรณ นี้แหละครับ พอเราหมดปัญหาเรื่องเงินแล้วงานก็เดินตามระบบของมันไปเรื่อยๆ 2 อาทิตย์เนื้อหาเสร็จ หัวหน้ากองตรวจแล้วก็ส่งมาให้ที่ประชุมใหญ่ตรวจและโรงเรียนขอว่าต้องให้อาจารย์ที่ปรึกษาที่โรงเรียนตั้งมาตรวจด้วยทุกครั้ง เราวางกรอบไว้ว่าถ้าเราตรวจว่าผ่านได้ ถึงมืออาจารย์ที่ปรึกษาเราก็ต้องไฟท์ให้ผ่านให้ได้ พอเนื้อหาผ่านหมดกองบรรณาธิการก็ได้พักแล้ววางแผนเตรียมเนื้อหาเล่มสองต่อไปได้เลย เนื้อหาเล่มแรกก็ถูกส่งให้ฝ่ายอาร์ตฝ่ายอาร์ตซึ่งปราบดา หยุ่นก็ร่วมงานในฝ่ายนี้ด้วยก็ไปวางแผนแล้วทำดำมี่(จัดหน้าคร่าวๆ)แล้วส่งคอมพิว(ทำตัวอักษร)แล้วนัดวันมาทำอาร์ตพร้อมๆกันแบบช่วยๆกันทำตามแบบที่ฝ่ายอาร์ตออกแบบไว้ วางแผน5 วันทำคอมพิว 3 วัน นัดทำอาร์ตเสร็จใน3 วันตรวจแก้ไข 3 วัน แล้วฝ่ายอาร์ตก็ว่างแล้วไปพักผ่อนรอทำเล่มสองต่อ แล้วส่งไปร้านทำเพลททำ 2 วันแล้วส่งไปโรงพิมพ์พิมพ์ 2 วัน แล้วนักฝ่านธุรการมาเตรียมงานขาย

        ผมก็ไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันอยู่ดี เนื้อหาก็เขียนไม่เป็น อาร์ตก็ทำไม่เป็น เงินก็ไม่ได้หา ตอนขายก็มาช่วยดูแลเรื่องระบบการขายก็เท่านั้น ขนาดวันหนึ่งหมอมาหาผมแล้วบอกผมด้วยเสียงเนิบๆว่า ผมไม่รู้จะให้คุณมีชื่อในตำแหน่งอะไรดี เพราะดูแล้วไม่มีตำแหน่งในงานที่คุณทำเลย ผมบอกว่าไม่เป็นไรเพื่อนอย่าไปคิดมากเอางี้แล้วกันผมอยู่ในตำแหน่งผู้ประสานงานแล้วกัน ตำแหน่งนี้ไม่มีหรอกปกติแต่ให้ผมเป็นก็แล้วกัน ดังนั้นหนังสือเล่มแรกก็เลยมีชื่อผมกับตำแหน่งประหลาดๆที่เห็นนั้นแหละครับ ก่อนเราทำอาร์ตมีเรื่องหนึ่งที่ผมจำได้ว่าเราคิดกันตั้งแต่17.00 น ถึง 24.00 น เลยคือว่าเราจะตั้งชื่อหนังสือว่าอะไรดีเสนอกันมาเยอะมากคนละชื่อสองชื่อเช่นเดิมครับผมไม่ได้เสนอกับเขาซักชื่อเลย สุดท้ายเราต้องลงคะแนนลับและได้ชื่อหนังสือของเราว่า....รั้วรำเพย.... เสียดายผมจำไม่ได้ว่าใครเสนอชื่อนี้เพราะง่วงนอนแล้วตอนนั้น สุดท้ายเราก็คลอดหนังสือขนาด8หน้ายกเล่มนี้ออกมาได้ตอนต้นเดือนมิถุนายน 2530  ขายเล่มละ 2 บาท พิมพ์จำนวน 2500 เล่มขายได้ทั้งหมด2350 เล่ม ที่เหลือให้สปอนเซอร์และเก็บไว้50เล่ม.......ต่อตอนหน้าครับ



Create Date : 01 กันยายน 2548
Last Update : 9 พฤศจิกายน 2561 22:02:12 น. 0 comments
Counter : 771 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

k.j
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 22 คน [?]






space
space
[Add k.j's blog to your web]
space
space
space
space
space