.....ภาษาตระกูลไท เป็นวัฒนธรรมของคนไท สมควรจะเผยแพร่ให้โลกรู้จักอย่างทั่วถึง มากกว่าจะเก็บไว้สอนกันอย่างเร้นลับ ในมหาวิทยาลัย แล้วก็ปล่อยให้หายสาบสูญไปตามกาลเวลา.....
Group Blog
 
All Blogs
 
วิถีไทเขิน เชียงตุง และ ประเพณี 12 เดือน เมืองเชียงตุง

โครงการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาประเทศเพื่อนบ้าน //www.monkchat.net/?name=foundation สำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) วิทยาเขตเชียงใหม่ ได้ออกหนังสือเกี่ยวกับ ไทเขิน มาแล้ว 2 เล่ม คือ
“วิถีไทเขิน เชียงตุง ” กับ “ประเพณี 12 เดือน เมืองเชียงตุง”



วิถีไทเขิน เชียงตุง
ขนาด 5 ¾ x 8 ¼ นิ้ว
หนา 200 หน้า
พิมพ์ พ.ศ.2550 จำนวน 1,000 เล่ม
ราคา 199 บาท (กระดาษอาร์ต)

เสนอบทความวิชาการกึ่งสารคดี เกี่ยวกับสภาพสังคมวัฒนธรรมของเชียงตุง 7 เรื่อง คือ

1. ประวัติความเป็นมาของเชียงตุง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
(บางปี หรือ บางเหตุการณ์ ในตำนานเมืองเชียงตุง ไม่ตรงกับประวัติศาสตร์ล้านนา หรือ ข้อมูลการเดินทางไปเชียงตุงในปัจจุบัน อาจล้าสมัย ผู้ที่จะอ้างข้อมูลเหล่านี้ ควรตรวจสอบอีกครั้ง)

2. ตำแหน่ง “พระครูบา” ของเชียงตุง ต้องมีประกาศแต่งตั้งเป็นทางการจากองค์กรคณะสงฆ์นครเชียงตุง ต่างจากล้านนา ที่ได้จากการยกย่องของประชาชนที่นับถือ

3. ชีวประวัติและผลงานของ สมเด็จอัคคมหาราชาอาชญาธรรมพระเจ้า องค์ประมุขแห่งคณะสงฆ์เชียงตุง

4. บทบาทของพุทธศาสนา ในวิถีชีวิตคนไทเขิน

5. อาหารพื้นบ้านเชียงตุง

6. บทบาทของผู้หญิงเชียงตุง

7. เสิน – ศิลปะการขับขานของเชียงตุง ที่มีลักษณะคล้ายการจ๊อยการซอ ของเชียงใหม่




ประเพณี 12 เดือน เมืองเชียงตุง
ขนาด 5 ¾ x 8 ¼ นิ้ว
หนา 156 หน้า
พิมพ์ พ.ศ.2552 จำนวน 500 เล่ม
ราคา 100 บาท (กระดาษถนอมสายตา)

เสนอ รายละเอียดประเพณี 12 เดือน ที่ชาวเชียงตุง ยึดถือปฎิบัติกันอยู่ ตามเดือนทางจันทรคติ ซึ่งจะนับเร็วกว่าไทยภาคกลาง 1 เดือน และช้ากว่าล้านนา 1 เดือน
ทั้งนี้ ผู้จัดทำ ได้ปริวรรตและพิมพ์เป็นภาษาไทเขิน ส่งกลับไปเผยแพร่และคืนองค์ความรู้สู่ชุมชนไทเขิน เมืองเชียงตุง ด้วย

เดือน 6 (มีนาคม – เมษายน)
ประเพณีสังขานต์ปีใหม่ (สงกรานต์) เปลี่ยน จุลศักราช ใหม่ ชาวไทเขิน ถือเป็น ปีใหม่ เช่นเดียวกับ ล้านนา

เดือน 7 (เมษายน – พฤษภาคม)
ประเพณีขึ้นธาตุเจดีย์ ทำบุญสมโภชพระธาตุสำคัญต่าง ๆ ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในวันขึ้น 15 ค่ำ (ชาวเชียงตุงไม่ได้เรียก วันวิสาขบูชา)
ประเพณีเป๊กข์ตุ๊บวชพระ (ไทเขินและล้านนา เรียก พระ ว่า /ตุ๊/ และ เรียก เณร ว่า /พะ/ )

เดือน 8 (พฤษภาคม – มิถุนายน)
ประเพณีเลี้ยงเมืองเลี้ยงบ้าน จัดในวันข้างแรม เป็นการเซ่นไหว้บวงสรวงดวงวิญญาณเจ้าฟ้าที่คุ้มครองเมือง และเทวดาที่คุ้มครองหมู่บ้าน

เดือน 9 (มิถุนายน – กรกฎาคม)
ประเพณีเข้าวัสสา (เข้าพรรษา)
ประเพณีสวดกลางใจศีล เป็นการสวดมนต์สืบชาตาสะเดาะเคราะห์ให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข มักจัดในวันพระที่ 2 หลังเข้าพรรษา แต่บางวัด เช่น วัดหัวข่วง จัดในเดือน 10 ข้างแรม
ประเพณีส่งเคราะห์เมือง เป็นพิธีสืบชาตาเมือง จัดพิธี ณ ใจกลางเมืองเชียงตุง

เดือน 10 (กรกฎาคม – สิงหาคม)
ประเพณีสูตมนต์ไล่ผีปล่อยเผต หรือ พิธีสวดมนต์ขับไล่พวกผีเปรตไม่ให้มารังควานหอเจ้าฟ้า และทำความเดือดร้อนแก่ผู้คน จัดในวันขึ้น 15 ค่ำ ที่หอเจ้าฟ้า โดยมี เจ้าฟ้า เป็นประธาน
ชาวเชียงตุงในปัจจุบัน ไม่รู้จักประเพณีนี้ เนื่องจากทหารพม่ายกเลิกระบบเจ้าฟ้า และรื้อทำลายหอเจ้าฟ้า ไปแล้ว จึงไม่มีการทำพิธีนี้ไปโดยปริยาย

เดือน 11 (สิงหาคม – กันยายน)
ประเพณีตั้งธรรมเวสสันตระ หรือ เทศน์มหาชาติ
ประเพณีทานธรรมค้ำนาม คือ การทานธรรมประจำวันเกิด และปีเกิดของเจ้าภาพ มักจัดพร้อมไปกับการตั้งธรรมเวสสันตระ

เดือน 12 (กันยายน – ตุลาคม)
ประเพณีออกวัสสา (ออกพรรษา)

เดือน 1 หรือ เดือนเกี๋ยง (ตุลาคม – พฤศจิกายน)
ประเพณีตักบาตรวัดพระเจ้าหลวง จัดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน เกี๋ยง (ตรงกับวันลอยกระทง ของไทย) ในงานสมโภชวัดพระเจ้าหลวง โดย นิมนต์พระสงฆ์จากวัดต่าง ๆ ทั้งฝ่ายไทเขิน ไทใหญ่ และพม่า มารับบิณฑบาต จากประชาชน ตามเส้นทางตั้งแต่หน้า วัดหัวข่วง วัดพระเจ้าหลวง วัดพระแก้ว เลี้ยวซ้ายเข้าโรงแรมนิวเชียงตุง กลับมาวัดหัวข่วง
ประเพณีทานซองสลาก เหมือนกับประเพณีตานก๋วยสลาก ของล้านนา แต่ชาวเชียงตุง ไม่นิยมจัด ในช่วงก่อนออกพรรษา เหมือนล้านนา
ประเพณีทานผ้ากฐิน

เดือน 2 หรือ เดือนก๋ำ (พฤศจิกายน – ธันวาคม)
ประเพณีเข้าก๋ำ มี 2 อย่างคือ การเข้าก๋ำหลวง หรือ การเข้าปริวาสกรรม มีกำหนด 10 วัน ระหว่าง วันขึ้น 5 ค่ำ ถึง วัันขึ้น 15 ค่ำ กับ การเข้าก๋ำน้อย หรือ การเข้ารุกขมูลกรรม มีกำหนด 7 วัน ไม่ถือวัตรปฏิบัติเคร่งครัดเหมือนเข้าก๋ำหลวง ส่วนมากจะนิยมจัดการเข้าก๋ำหลวง และชาวเชียงตุง ถือว่าพระสงฆ์ ที่ไม่เคยต้องอาบัติสังฆาทิเสส ก็สามารถเข้าก๋ำหลวงได้ เพื่อชำระศีลให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น

เดือน 3 (ธันวาคม – มกราคม)
ประเพณีเลี้ยงหนองตุ๋ง เป็นพิธีเซ่นไหว้บวงสรวงวิญญาณบรรพบุรุษผู้ปกครองเมืองเชียงตุง นิยมจัดในวันแรม 3 ค่ำ หรือวันที่ตรงกับ วันกาดเท่า

เดือน 4 (มกราคม – กุมภาพันธ์)
ประเพณีทานธรรมน้ำอ้อย สมัยก่อน นิยมแต่งงานกันในช่วงนี้ ซึ่งอ้อยกำลังแก่ และให้น้ำหวานอย่างเต็มที่ จึงมีการทำบุญฟังธรรมและถวายทานน้ำอ้อย เพื่อความเป็นสิริมงคลในการครองเรือน

เดือน 5 (กุมภาพันธ์ – มีนาคม)
ประเพณีขึ้นธาตุเจดีย์หนองผา หรืองานสมโภชพระธาตุหนองผา จัดในวันขึ้น 15 ค่ำ
ประเพณีเลี้ยงกาด คือการเซ่นไหว้บวงสรวงวิญญาณเทวดาที่รักษาดูแลตลาดเก่า ข้างวัดเชียงจันทร์ จัดในวันแรม ที่เป็นเลขคี่ และตรงกับวันกาดเท่า
ประเพณีรำดอก คือการบูชาพระรัตนตรัยด้วยดอกไม้ต่าง ๆ จัดในวันขึ้น 15 ค่ำ



Create Date : 20 มกราคม 2553
Last Update : 20 มกราคม 2553 13:19:14 น. 9 comments
Counter : 4461 Pageviews.

 


โดย: ผมชอบกินข้าวมันไก่ วันที่: 20 มกราคม 2553 เวลา:16:27:20 น.  

 
ได้มาทั้งสองเล่มละครับผม

หรืออาจจะรวมเป็น สาม เล่ม รวมไปถึง ปาเวณี 12 เดือน เมืองเชียงตุง ฉบับภาษา-อักษร ไทขึน ด้วยครับ



โดย: ศศิศ วันที่: 11 เมษายน 2553 เวลา:0:51:24 น.  

 
หนังสือวิธีไทขืนหาซื้อได้ที่ไหนครับ บอกหน่อยเด้อ


โดย: kongroi IP: 180.180.4.182 วันที่: 14 เมษายน 2553 เวลา:14:54:24 น.  

 
หากว่า อยู่เชียงใหม่ มาหาซื้อได้ที่ร้าน สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์ ได้ครับผม มีวางจำหน่ายที่นั่น

หรือที่ มจร. วิทยาเขตเชียงใหม่ วัดสวนดอก ก็ได้ครับ


โดย: ศศิศ IP: 118.172.22.29 วันที่: 19 เมษายน 2553 เวลา:19:21:51 น.  

 

กรุงเทพฯ ซื้อได้ที่ ศูนย์หนังสือจุฬา

สาขาสยามสแควร์ (อาจไม่สะดวกในระยะนี้) จะอยู่ซ้ายมือสุด ของแถววางหนังสือเกี่ยวกับภาษาไทย

สาขาจามจุรีสแควร์ (ชั้น ๔) อยู่ที่ "ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมไทย"

แต่ที่เป็นภาษาไทเขิน คงต้องไปติดต่อที่เชียงใหม่


โดย: นายช่างปลูกเรือน วันที่: 29 เมษายน 2553 เวลา:10:37:25 น.  

 
มีหนังสือเกี่ยวกับไทขืนอีก2เล่ม อยู่ในระหว่างการจัดพิมพ์
จะแล้วเสร็จประมาณออกพรรษา ชื่อหนังสือวัดไทขืนเมืองเชียงตุง ภาค1และ2


โดย: นางแก้วดี IP: 118.172.10.113 วันที่: 20 กันยายน 2553 เวลา:14:43:28 น.  

 
>> นางแก้วดี

ขอบคุณครับ
ออกวางจำหน่ายเมื่อไร ช่วยประชาสัมพันธ์อีกครั้ง


โดย: นายช่างปลูกเรือน วันที่: 20 กันยายน 2553 เวลา:16:12:55 น.  

 
คิดถึงเจียงตุ๋ง


โดย: สามอ่อน IP: 124.120.229.53 วันที่: 2 กันยายน 2554 เวลา:13:02:50 น.  

 
หนังสือหาซื้อได้จากที่ไหนครับ ขอบคุณครับ


โดย: สมาชิกหมายเลข 4087754 วันที่: 21 พฤศจิกายน 2560 เวลา:13:39:30 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

นายช่างปลูกเรือน
Location :
กาญจนบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 62 คน [?]




ไม่สงวนลิขสิทธิ์

เพื่อเปิดกว้างการศึกษาและเผยแพร่ภาษาตระกูลไท

ข้อมูล "ในส่วนที่ไม่ใช่ลิขสิทธิ์ของผู้อื่น"
ยินดีให้ ลอกเลียน, ทำซ้ำ, เพิ่มเติม, แก้ไขเปลี่ยนแปลง
หรือนำไปใช้

โดยไม่ต้องขออนุญาต หรืออ้างถึงใด ๆ ทั้งสิ้น


Copyleft
Friends' blogs
[Add นายช่างปลูกเรือน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.