Group Blog
 
All Blogs
 
เมโสโปเตเมีย


เมโสโปเตเมีย (กรีก: Μεσοποταμία : เมโสโปตาเมีย; ภาษาอังกฤษ: Mesopotamia) เป็นคำกรีกโบราณ ตามรูปศัพท์แปลว่า "ที่ระหว่างแม่น้ำ" โดยมีนัยหมายถึง "ดินแดนระหว่างแม่น้ำ แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส" เมโสโปเตเมีย (meso=กลาง,potamia=แม่น้ำ)ดินแดนดังกล่าวนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ "ดินแดนรูปพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์" ซึ่งเป็นดินแดนรูปครึ่งวงกลมผืนใหญ่ ที่ทอดโค้งขึ้นไปจากฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจรดอ่าวเปอร์เซีย




เมโสโปเตเมีย เป็นดินแดนที่อากาศร้อนและกันดารฝน น้ำที่ได้รับส่วนใหญ่เป็น น้ำจากแม่น้ำที่มาจากหิมะละลายในภาคฤดูร้อนบนเทือกเขาในอาร์มิเนีย(Armenia) น้ำจะพัดพาเอาโคลนตมมาทับถมชายฝั่งทั้งสอง ทำให้พื้นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก การเอ่อล้นของน้ำอันเกิดจากหิมะละลายไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนและบางครั้งทำความเสียหายแก่บ้านเมือง ไร่นา ทรัพย์สินและชีวิตผู้คน การกสิกรรมที่จะได้ผลดีในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ต้องอาศัยระบบการชลประทานที่มีประสิทธิภาพ

ความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มแม่น้ำเป็นเครื่องดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาทำมาหากินในบริเวณนี้ แต่ความร้อนของอากาศก็เป็นเครื่องบั่นทอนกำลังของผู้คนที่อาศัยอยู่ทำให้คนเหล่านั้นขาดความกระตือรือร้น เมื่อมีพวกอื่นเข้ารุกรานจึงต้องหลีกทางให้ผู้ที่เข้ามาใหม่ ซึ่งเมื่ออยู่ไปนาน ๆ เข้าก็ประสบภาวะเดียวกันต้องหลีกให้ผู้อื่นต่อไป พวกที่เข้ามารุกรานส่วนใหญ่มักจะมาจากบริเวณหุบเขาที่ราบสูงทางภาคเหนือ และตะวันออกซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขาหินปูนไม่อุดมสมบูรณ์เท่าเขตลุ่มแม่น้ำ และยังมีพวกที่มาจากทะเลทรายซีเรียและอารเบีย เรื่องราวของดินแดนแห่งนี้จึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับอารยธรรมของคนกลุ่มต่างๆ หลายกลุ่มมิได้เป็นเรื่องราวของอารยธรรมที่สืบต่อกันเป็นเวลายาวนานดังเช่นอารยธรรมอียิปต์

คนกลุ่มแรกที่สร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือชาวประวัติชน [ต้องการแหล่งอ้างอิง] ผู้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก อารยธรรมที่ชาวสุเมเรียนขึ้นเป็น พื้นฐานสำคัญ ของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยธรรม ตัวอักษร ศิลปกรรมอื่นๆ ตลอดจนทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวสุเมเรียน ได้ดำรงอยู่และมีอิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ








ลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
เมโสโปเตเมีย เป็นอู่


อารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกสมัยโบราณ โดยตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำ 2 สาย คือแม่น้ำไทกรีส (Tigris) และ แม่น้ำยูเฟรตีส (Euphrates)ซึ่งปัจจุบันนี้ อยู่ในเขตแดนของ ประเทศอิรัก ซึ่งมีกรุงแบกแดด เป็นเมืองหลวง แม่น้ำทั้ง 2 สายมีต้นน้ำอยู่ในอาร์มีเนีย และเอเซียไมเนอร์ไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวเปอร์เซีย

บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ตอนล่างเรียกว่าบาบิโลเนีย (Babylonia) เป็นเขตซึ่งอยู่ติดกับอ่าวเปอร์เซีย มีชื่อเรียกในสมัยหนึ่งว่าชินาร์ (Shina) เกิดจากการทับถมของดินที่แม่น้ำพัดพามากล่าวคือในฤดูร้อนหิมะบนภูเขาในอาร์มีเนียละลายไหลบ่าลงมาทางใต้พัดพาเอาโคลนตมมาทับถมไว้ยังบริเวณปากน้ำทำให้พื้นดินตรงปากแม่น้ำงอกออกทุกปี โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 1 ไมล์ครึ่ง ทุกๆ ศตวรรษ ( ประมาณปีละ 29 นิ้วครึ่ง) อาณาบริเวณที่เรียกว่าเมโสโปเตเมีย มีทิศเหนือจรดทะเลดำ และทะสาบแคสเบียน ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดคาบสมุทรอาระเบีย ซึ่งล้อมรอบด้วยทะเลแดง และมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันตกจรดที่ราบซีเรีย และปาเลสไตน์ ส่วนทิศตะวันออกจรดที่ราบสูงอิหร่าน

เมโสโปเตเมียแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนล่างใกล้กับอ่าวเปอร์เซีย มีความอุดมสมบูรณ์เรียกว่าบาบิโลเนีย (Babylonia)ส่วนบนซึ่งค่อนข้างแห้งแล้งเรียกว่าแอสซีเรีย (Assyria) บริเวณทั้งหมดมีชนชาติหลายเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ มีการรบพุ่งกันอยู่เสมอ เมื่อชาติใดมีอำนาจก็เข้าไปยึดครองและกลายเป็นชนชาติเดียวกัน นักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวว่า ไม่มีแห่งหนตำบลใด จะมีชาติพันธุ์มนุษย์ผสมปนเปกันมากมายเหมือนที่นี่ และยังเป็นยุทธภูมิระหว่างตะวันตก กับตะวันออกตลอดสมัยประวัติศาสตร์ ดังนั้น ประวัติเรื่องราวต่างๆ ของชนชาติเหล่านี้จึงค่อนข้างสับสน





แนวความคิดของอารยธรรมสมัยเมโสโปเตเมีย

1. มนุษย์รวมตัวกันอยู่ในรูปองค์กรทางการเมือง แบบนครรัฐเป็นอันดับแรก และสามารถสร้างสรรค์ความเจริญภายใต้รูปแบบการปกครอง

2. การผลิตจนเหลือกินเหลือใช้ในชุมชนหนึ่งกับความยากไร้และแร้นแค้นในบาง
ชุมชนก่อให้เกิดสงครามซึ่งตามมาด้วยการที่ชุมชนหนึ่ง สถาปนาอำนาจเหนือชุมชนอื่นๆ ที่พ่ายแพ้ในรูปขององค์กรทางการเมืองแบบจักรพรรดิ

3. การขยายตัวทางการเมือง และเศรษฐกิจในรูปแบบของจักรวรรดิในยุคแรกเป็นไปอย่างกว้างขวาง









ปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้เกิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย คือ
1. ความคิดสร้างสรรค์รักษา ปรับปรุงและสืบทอดในอารยธรรมของกลุ่มชน 7 กลุ่มคือ
1.1 สุเมเรียน (Sumerians) เชื่อว่ามาจากที่ราบสูงอิหร่าน และเข้ามาอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำไทกรีส เมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อแรกเริ่มที่ชาวสุเมเรียนอพยพเข้ามาในเมโสโปเตเมียได้รวมกันอยู่เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ต่อมาจึงได้รวมกันในลักษณะนครรัฐ แต่ละนครรัฐเป็นอิสระแก่กัน รัฐสำคัญได้แก่ อิริดู อิรุค นิปเปอร์ นครรัฐเหล่านี้บางครั้งก็จะรบราฆ่าฟันกันเพื่อชิงความเป็นใหญ่ชาวสุเมเรียนนับถือพระเจ้าหลายองค์ แต่ละนครรัฐจะมีพระเป็นเจ้าประทับอยู่ในวัดใหญ่ที่เรียกว่า ซิกกูแรต (Ziggurat) ซึ่งชาวสุเมเรียน สร้างขึ้นเป็นศูนย์กลางของนครรัฐ ในระยะแรกชาวสุเมเรียนมีพระเป็นผู้ดูแลกิจการต่าง ๆ ในนครรัฐ นับแต่การเก็บภาษี ข้าวปลาอาหาร ตลอดจนควบคุมดูแลเกี่ยวกับการชลประทานและการทำไร่ทำนา ต่อมาเมื่อเกิดการแข่งขันและรบกันระหว่างนครรัฐ อำนาจการปกครองจึงเปลี่ยนมาอยู่ที่นักรบหรือกษัตริย์ ซึ่งเป็นผู้เข้มแข็งสามารถสู้รบป้องกันนครรัฐ และทำหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการต่าง ๆ แทนพระ



ชาวสุเมเรียน สามารถประดิษฐ์อักษรรูปลิ่ม (Cuneiform) บันทึกลงในแผ่นดินเหนียว อักษรนี้เองส่งผลให้เกิดวรรณกรรมสำคัญคือ มหากาพย์กิลกาเมช (Epic of Gilgamesh) เป็นเรื่องการผจญภัยของวีรบุรุษนอกจากนั้นยังรู้จักการคูณ การหาร การถอดกรนท์ (Root) เลขยกกำลังสอง เลขยกกำลังสาม การใช้เลขฐาน 60 เช่น นาที วินาที การจัดมุมฉากเป็น 90 องศา วัดมุมรอบจุดเป็น 360 องศา แบ่ง 1 องศา เป็น 60 ลิปดา แบ่ง 1 ลิปดาออกเป็น 60 พิลิปดา แบ่ง 1 วันออกเป็น 24 ชั่วโมง



1.2 อัคคาเดียน (Akkadians) ตั้งศูนย์กลาง การปกครองอยู่ที่นครรัฐเออร์มีความสามารถในวิชาดาราศาสตร์ รู้จักการทำปฏิทิน มีความสามารถในการคำนวณสุริยุปราคาได้ด้วย



1.3 อะมอไรท์ (Amorites) มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครรัฐบาบิโลน มีการเก็บภาษี การเกณฑ์ทหารควบคุมการค้าอย่างใกล้ชิด ในสมัยพระเจ้าฮัมมูราบี ได้รวบรวมกฎหมายฉบับแรกของโลก ซึ่งเรียกว่า ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (Hummurabi’s Code) ยึดหลักตาต่อตา ฟันต่อฟัน (Lex talionis หรือ an eye for an eye, atooth for a tooth) ในการลงโทษให้ใช้การทดแทนความผิดด้วยการ กระทำอย่างเดียวกัน



1.4 คัสไซท์ (Kassites)
1.5 อัสซีเรียน (Assyrians) เป็นชนชาตินักรบ มีวินัย กล้าหาญ มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงนิเนเวห์ (Nineveh) ได้สร้างอารยธรรมการสลักภาพนูนต่ำ ด้านการรบและการล่าสัตว์ มีการสร้างวังขนาดใหญ่ และสร้างห้องสมุดแห่งแรกของโลก โดยพระเจ้าอัสซูรบานิปาลที่เมืองนิเนเวห์



1.6 แคลเดียน (Chaldeans) หรือพวกบาบิโลเนียใหม่ เป็นชนเผ่าฮีบรู ในสมัยพระเจ้าเนบูคัดเดรดซาร์(Nebuchadrezzar) ได้สร้างพระราชวังขนาดใหญ่และสร้างสวนพฤกษชาติ บนพระราชวัง เรียกว่า “สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน (Hanging Gardens of Babylon) นับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก นอกจากนั้นพวก คาลเดีย ยังมีความรู้เรื่องการชลประทาน ดาราศาสตร์ และคำนวณการโคจรของดวงอาทิตย์ ในรอบปีได้อย่างถูกต้อง



1.7 โฟนิเซีย (Phoenicia) ตั้งอาณาจักรอยู่ด้านตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน บริเวณประเทศซิเรียและเลบานอนในปัจจุบัน ชาวโฟนิเชีย เป็นนักเดินเรือที่เก่งกล้า เป็นพ่อค้าที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคนั้นทั้งยังได้นำความรู้จากสุเมเรียนและอียิปต์มาประดิษฐ์ตัวอักษรที่มีทั้งสระและพยัญชนะ เรียกว่า อักษรอัลฟาเบธ (Alphabeth เช่น A เรียกว่า Alpha คือ ? เรียกว่า Beta และอื่น ๆ ได้แก่














www.wikipedia.org/wiki



Create Date : 02 ตุลาคม 2551
Last Update : 3 ตุลาคม 2551 1:16:11 น. 2 comments
Counter : 5409 Pageviews.

 
กำลัง อยากรู้ ข้อมูล พื้นที่บริเวณ นั้นอยู่เลย ครับ


โดย: OFFBASS วันที่: 2 ตุลาคม 2551 เวลา:1:44:26 น.  

 
ชอบมากเลยคะ เรื่องราวยุคโบราณ ชอบอ่าน ยุคเมโสโปเตเมีย
เคยอ่าน การ์ตูนเรื่อง คำสาปฟาโรห์ บ้างไม๊คะ? ที่ชอบก็มีที่มาจากเรื่องนี้แหละคะ เกี่ยวกะลุ่มแม่น้ำไนล์ ดินแดนอียิปต์ เค้าเขียนเรื่องราวอิงประวัติศาสตร์บวกกะใส่ไข่ด้วย สนุกคะเรื่องนี้ เลยทำให้รู้สึกสนุกกะการอ่าน ประวัติยุคเมโสฯ

ขอบคุณสำหรับเกร็ดความรู้จ้า


โดย: ป้าเรย์ วันที่: 2 ตุลาคม 2551 เวลา:10:27:01 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ขุนเขาเมืองน่าน
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




นายสราวุฒิ อินทะนิล รหัส49121257
Friends' blogs
[Add ขุนเขาเมืองน่าน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.