Articles 2020

1. Assessing the Impact of Job Characteristics on Service Quality of Thai Nurses: Mediating Role of Employee Involvement
Karsira Trirungruanga,
Ananya Banyongpisutb, Kanyamon Kanchanathaveekulc, Wannaporn Buddhapoompitakd, cSuansundha Rajabhat University, Thailand, Shinawatra University, Thailand, International Journal of Innovation, Creativity and Change. //www.ijicc.net Volume 14, Issue 7, 2020
P349-362

2. Exploring Moderating Role of Job Resource Adequacy: The relationship of Supervisor and Coworkers support on Affective Organizational Commitment

Chatchawan Phudthonamochaia,
Noppadol Tiamnarab, Kanyamon Kanchanathaveekulc, Wannaporn Buddhapoompitakd, cSuansundha Rajabhat University, Thailand, Shinawatra University, Thailand International Journal of Innovation, Creativity and Change. //www.ijicc.net Volume 14, Issue 7, 2020
P.363-381

3. The Influence of Synchronous Acceptance of Scientific and Governmental Innovation, Investment in High Scientific Information and R&D Reserve on Production- Oriented Innovation Presentation in SMEs of Thailand

Narumol Limlahapun ,
Jaruaypornpat Leesomsirib , Kanyamon Kanchanathaveekul *
Sys Rev Pharm 2020;11(6):1463-1474

Vol 11, Issue 6, Jun-Jul
Q2


4. The Influence of Advance Unit Centralization, Advance Unit Formalization, and Ecological Competitiveness on the Exploitative Innovation in the Manufacturing in Thailand

Kanyamon Kanchanathaveekula* ,
Jaruaypornpat Leesomsirib , Boonthong Uahiranyanon c , Wannaporn Buddhapoompitak Vol 11, Issue 6, Jun-Jul 2020
SRP. 2020; 11(6): 1475-1486
doi: 10.31838/srp.2020.6.209
Q2

5. The Mediating Impact of High Level of Innovation among the Knowledge and Training of the Employees in SMEs of Thailand

Wannaporn Buddhapoompitaka,
Wuttipong Krobbuabanb, Narumol Limlahapunc, Kanyamon Kanchanathaveekul SRP. 2020; 11(6): 1452-1462
Vol 11, Issue 6, Jun-Jul 2020
Q2


6. The Impact of Technical and Scientific Innovation on the Organizational Innovation in the Private Companies in Thailand

Kanyamon Kanchanathaveekul,

Jaruaypornpat Leesomsiri, Narumol Limlahapun, Wuttipong Krobbuaban
3976 – 3986
Test
Issue Vol. 83: July/August 2020

7.Mediating Role of Organizational Innovation among the Product, Process, Marketing Innovation and Organizational Performance in the Government Organizations in Thailand

Kanyamon Kanchanathaveekul,

Boonthong Uahiranyanon, Tianchai Aramyok, Wannaporn Buddhapoompitak
3987 – 3999

Issue Vol. 83: July/August 2020




Create Date : 30 ตุลาคม 2563
Last Update : 30 ตุลาคม 2563 14:13:27 น.
Counter : 675 Pageviews.

Way of life





Create Date : 18 กุมภาพันธ์ 2562
Last Update : 18 กุมภาพันธ์ 2562 20:21:20 น.
Counter : 437 Pageviews.

0 comment
บทความเผยแพร่2014



การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหมู่บ้านไทย จังหวัดพิษณุโลก
รองศาสตราจารย์ ดร.กัญญามน อินหว่าง 1 อาจารย์สุพจน์ อินหว่าง 2
และรองศาสตราจารย์ ดร.กัญญามน อินหว่าง*

รองศาสตราจารย์ ดร.กัญญามน อินหว่าง
อาจารย์สุพจน์ อินหว่าง
*Kanyamon06@gmail.com;0816864355


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาลักษณะของการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านไทย และศึกษาความสำเร็จจากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ของหมู่บ้านไทย จังหวัดพิษณุโลก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เจาะลึก ประชากรได้แก่ ผู้นำในหมู่บ้านไทย 7 หมู่บ้าน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งประเภท ได้แก่ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้ หมู่บ้านท่องเที่ยว หมู่บ้านผลิตภัณฑ์ชุมชนและหมู่บ้านภูมิปัญญา และเลือกกลุ่มตัวอย่างอย่างเฉพาะเจาะจงกับผู้นำประเภทต่างๆ เพื่อทำการสัมภาษณ์ รวมทั้งสิ้น 35 คน
จากการศึกษาพบว่า ลักษณะการดำเนินชีวิตของผู้อาศัยในหมู่บ้านไทย7หมู่บ้าน มีการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยพบว่ามีการวางแผน จัดตั้งกลุ่มย่อยเพื่อสร้างรายได้ มีการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ประยุกต์จากภูมิปัญญาดั้งเดิม มีการเรียนรู้ร่วมกัน มีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นให้สามารถอยู่รอดได้ สำหรับในด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดีได้แก่การมีส่วนร่วมกิจกรรมด้านเครือข่ายจากภายนอก ด้านคุณธรรมในส่วนของการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในหมู่บ้าน การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมที่อยู่ การอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมอย่างต่อเนื่อง จากการศึกษาพบว่าผู้อาศัยส่วนใหญ่เห็นความสำคัญของการใช้หลักความพอเพียงและการสร้างความรู้จากภูมิปัญญาดั้งเดิมมาปรับใช้เพื่อสร้างรายได้ การคิดค้นสร้างผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำรายได้ให้กับกลุ่ม มีการวางแผนที่ดีและสามารถสร้างเครือข่ายกับชุมชนอื่น

คำสำคัญ : การดำเนินชีวิต หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านไทย



Abstract

Living the philosophy of Sufficiency Economy in the Thai village of
Phitsanulok Province

This research aims to study the nature of the economic life of the Thai village Phitsanulok Province and study the success of philosophy to the village Thai Phitsanulok. Using qualitative research by interviewing. Population are leader and living in 7 Thai village. The sample was selected using stratified random sampling of sufficiency village, village of Learning, tourist village, product village and wisdom village and using simple purposive sampling with leader village groups totaling 35 people for interviewing.
The study found that the lifestyle of the inhabitants of 7 Thai village with the philosophy of sufficiency economy was found to be planned. , forming small groups to generate income. , the application of traditional materials, learning together, the problem is that it is able to survive In the field of immune activities include participation from outside the network , The virtue of helping one another in the village, the preservation of the environment, the preservation of cultural traditions continued. The study found that the majority of residents of the importance of the principle of sufficient knowledge creation and deployment of conventional wisdom to make money to invent a product that can generate revenue for the group, good planning and network with other communities.
Keyword : Living , the philosophy of Sufficiency Economy , Thai village
บทนำ
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลางภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทั้งจากภายนอกและภายใน โดยต้องอาศัยความรู้ ความรอบคอบ ความระมัดระวัง และมีคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อความก้าวหน้าอย่างสมดุล เป้าหมายปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ยั่งยืนสามารถรับการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม โดยผู้ที่นำไปใช้จะต้องมีความชัดเจนในการประยุกต์ สามารถปรับใช้กับบริบทที่แตกต่างกันได้อย่างเหมาะสม มีแนวทางปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน ทำให้การขับเคลื่อนมีพลัง และเมื่อนำไปใช้ในการบริหารพัฒนาทุกระดับ สังคมไทยจะมีวิถีทางการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน (จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา, 2550)
การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินธุรกิจได้กลายเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้คนในสังคม ชุมชนสามารถอยู่รอดได้ โดยให้คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรในการดำเนินการอย่างประหยัด และอย่างมีคุณภาพ และเน้นการบริหารความเสี่ยงต่ำ จากการศึกษาการพัฒนาระบบการจัดการและความสำเร็จจากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ของกัญญามน อินหว่าง และวัลลภา ศรีทองพิมพ์ (2554) พบว่า ความพอเพียงตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจะต้องประกอบด้วยคุณลักษณะ 3 ประการ คือ ความพอประมาณ คือ ความเหมาะสมของการดำเนินกิจการ ทั้งในแง่ของขนาดของธุรกิจที่ไม่เล็กเกินไป หรือไม่ใหญ่จนเกินตัว แต่เป็นไปตามอัตภาพและสภาพแวดล้อม รู้จักทำเป็นขั้นตอนเพื่อให้การดำเนินงานมีความก้าวหน้า ความมีเหตุผล คือ การพิจารณาที่จะดำเนินงาน ด้วยความถี่ถ้วนรอบคอบ คำนึงถึงเหตุและปัจจัยแวดล้อมทั้งหมด เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างถูกต้อง เกิดประสิทธิผล เกิดประโยชน์และความสุข ความมีเหตุผลในหน่วยการผลิตหรือภายในตัวกิจการเองกับความมีเหตุผลระหว่างตัวกิจการกับหน่วยอื่นๆ ในสังคม เช่น การให้ความสำคัญกับตัวชี้วัดด้านพนักงานที่เป็นทรัพยากรสำคัญขององค์กร สำหรับการมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี คือ การจัดองค์ประกอบของการดำเนินงาน ให้มีสภาพพร้อมรองรับต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังพบว่ามีการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงระดับพื้นฐานเป็นจุดเริ่มต้นในการดำเนินธุรกิจ ที่เน้นความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัว สามารถพึ่งพาตนเองได้ สามารถสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงระดับกิจการหรือบริษัท ที่เน้นถึงการดำรงอยู่ของกิจการหรือความอยู่รอดในธุรกิจ สามารถพัฒนาองค์กรให้มีความเข้มแข็ง ดำเนินกิจการโดยอาศัยทรัพยากรที่มีอยู่ภายในองค์กรเองได้ มีรายรับที่เพียงพอต่อการดำเนินกิจการ ปราศจากภาระหนี้สิน หรือมีความสามารถในการชำระหนี้ในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อพิจารณาเทียบกับทุนหรือรายรับของกิจการ
จากการศึกษาแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า หากมีการศึกษาวิถีชีวิต ตลอดจนแนวทางการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากผู้นำและผู้อาศัยในชุมชนว่าใช้หลักการใดที่สามารถสร้างกลุ่มอาชีพที่ยั่งยืน ตลอดจนการเป็นผู้นำตามธรรมชาติ ผู้นำเครือข่ายชุมชน รวมทั้งผู้นำทางภูมิปัญญา นอกจากนี้ ยังพบว่าจังหวัดพิษณุโลกมีความตื่นตัวต่อการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้อย่างต่อเนื่องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ดังจะเห็นได้จากการเปิดหมู่บ้านไทยตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา เช่น หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้ หมู่บ้านท่องเที่ยว หมู่บ้านภูมิปัญญาและผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในจังหวัดพิษณุโลกของหมู่บ้านไทย อำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอนครไทย อำเภอชาติตระการ อำเภอบางระกำ อำเภอบางกระทุ่ม อำเภอพรหมพิราม อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอวังทองและอำเภอเนินมะปรางนี้จะเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การศึกษาอย่างยิ่ง ดังนั้น จึงทำให้เลือกศึกษาลักษณะของการดำเนินชีวิตของหมู่บ้านไทยดังกล่าว โดยเข้าศึกษาสัมภาษณ์ผู้นำกลุ่มและสมาชิกของชุมชนนั้น เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถเห็นเป็นรูปธรรมต่อไป ซึ่งเล็งเห็นว่า ผลจากการวิจัยนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนที่สนใจในการสร้างกลุ่มอาชีพของผู้นำชุมชนต่างๆ นำไปเป็นนำแนวทางการสร้างหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต่อไปได้

วัตถุประสงค์ในการวิจัย
1) เพื่อศึกษาลักษณะของการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านไทย จังหวัดพิษณุโลก
2) เพื่อศึกษาความสำเร็จจากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ของหมู่บ้านไทย จังหวัดพิษณุโลก

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1) สามารถเป็นแนวทางการสร้างหมู่บ้านไทยด้วยการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ได้
2) สามารถนำผลการวิจัยไปวางแผนการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาภูมิปัญญาและผลิตภัณฑ์ชุมชนได้

ขอบเขตการวิจัย

ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
การวิจัยครั้งนี้เลือกศึกษาผู้นำและผู้อาศัยของหมู่บ้านไทย 7 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้ หมู่บ้านท่องเที่ยว หมู่บ้านผลิตภัณฑ์ชุมชนและภูมิปัญญา รวม 7 หมู่บ้าน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้องในด้านกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มแห่งการเรียนรู้ กลุ่มท่องเที่ยว กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและภูมิปัญญา หมู่บ้านละ 5 คน รวมทั้งสิ้น 35 คน

ขอบเขตด้านเนื้อหา
ศึกษาเนื้อหาสาระของ การใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและเอกสารต่างๆ เพื่อจัดทำกรอบแนวคิดและการสร้างแบบสัมภาษณ์
การวิจัยนี้สร้างกรอบแนวคิดจากผลการวิจัย คือ กัญญามน อินหว่างและวัลภา ศรีทองพิมพ์ (2552 ) นรินทร์ สังข์รักษาและคณะ.(2551) เฉลียว บุรีภักดี และคณะ(.2552). มาเป็นแนวทางการสร้างเครื่องมือในการศึกษาครั้งนี้และจากการศึกษาเอกสารงานวิจัยต่างๆ จึงสร้างกรอบแนวคิดการวิจัยเพื่อเป็นแนวทางการศึกษาต่อไปดังภาพที่ 1



กรอบแนวคิดการวิจัย



























ระเบียบวิธีวิจัย






การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการศึกษาโดยการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้นำและผู้อาศัยในหมู่บ้านไทย 7 หมู่บ้านของจังหวัดพิษณุโลก

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร ได้แก่ ผู้นำในหมู่บ้านไทย 7 หมู่บ้าน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งประเภท ได้แก่ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้ หมู่บ้านท่องเที่ยว หมู่บ้านผลิตภัณฑ์ชุมชน และหมู่บ้านภูมิปัญญา และเลือกกลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจงกับผู้นำกลุ่มจากประเภทของหมู่บ้าน เพื่อทำการสัมภาษณ์ หมู่บ้านละ 5 คน รวมทั้งสิ้น 35 คน (ดังตารางที่ 1)

ตารางที่ 1 รายชื่อหมู่บ้านไทย จังหวัดพิษณุโลก
หมู่บ้าน รายละเอียด
บ้านเด่นโบสถ์ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมืองพิษณุโลก
บ้านวังแร่ หมู่ที่ 3 ตำบลมะขามสูง อำเภอเมืองพิษณุโลก
บ้านท่าโรงตะวันตก หมู่ที่ 10 ตำบลวัดพริก อำเภอเมืองพิษณุโลก
บ้านนาไก่เขี่ย หมู่ที่ 7 ตำบลนาบัว อำเภอนครไทย
บ้านชาติตระการ หมู่ที่ 6 ตำบลชาติตระการ อำเภอชาติตระการ
บ้านย่านยาว หมู่ที่ 2 ตำบลโคกสลุด อำเภอบางกระทุ่ม
บ้านวังดินเหนียว หมู่ที่ 3 ตำบลวังยาง อำเภอเนินมะปราง

การสร้างเครื่องมือและการดำเนินการวิจัย
1) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้อง บทความและตำราของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจ เพื่อทำการสังเคราะห์เนื้อหาสาระ และนำมาเป็นแนวทางการสร้างกรอบแนวคิดต่อไป
2) จัดทำแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และทำการสัมภาษณ์เจาะลึก 7 หมู่บ้านไทยในปี พ.ศ. 2555
ตอนที่ 1 สัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้านไทย 7 หมู่บ้าน ตอนที่ 2 สัมภาษณ์ลักษณะการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 3 สัมภาษณ์ความสำเร็จที่ได้จากการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในมิติด้านมนุษย์
3) ทำการสัมภาษณ์ เก็บข้อมูลและทำการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปผลการวิจัย
การวิเคราะห์ข้อมูล
นำผลจากการสัมภาษณ์มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ทำการสรุปผลการวิจัยและรายงานผลการวิจัย ด้วยตารางสรุปเนื้อหาและภาพประกอบของลักษณะของการดำเนินชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละกลุ่มย่อยของหมู่บ้านไทย

ผลการวิจัย

1. จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของหมู่บ้านไทย 7 หมู่บ้าน โดยแบ่งประเภทของหมู่บ้านออกเป็น หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้ หมู่บ้านท่องเที่ยว และหมู่บ้านภูมิปัญญาและผลิตภัณฑ์ชุมชน
2. จากการศึกษาพบว่า ลักษณะการดำเนินชีวิตของผู้อาศัยในหมู่บ้านไทย 7 หมู่บ้าน มีการจัดการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงด้านความมีเหตุผลมากที่สุด ได้แก่ มีความสนใจต่อข้อเสนอแนะของการประชุมกลุ่มคนในหมู่บ้านเพื่อนำมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ใช้วัตถุดิบภายในท้องถิ่นมากกว่าการซื้อภายนอก ให้ความสำคัญกับการใช้คนเป็นหลักมากกว่าการใช้เทคโนโลยี รองลงมา คือ การมีภูมิคุ้มกันที่ดี ได้แก่ มีการสนับสนุนส่งเสริมให้คนในชุมชนรักษาสิ่งแวดล้อมหรือทำประโยชน์เพื่อสังคมชุมชน และด้านความรู้ ได้แก่ สามารถนำความรู้ประสบการณ์มาใช้ในการสร้างรายได้ มีการนำความรู้ ความคิดจากการประชุมมาดำเนินชีวิต และสร้างรายได้ สำหรับด้านคุณธรรม ได้แก่ มีโครงการที่ช่วยเหลือชุมชนสิ่งแวดล้อมอย่าง ดังภาพที่ 2



ภาพที่ 2 การบูรณาการการเรียนรู้ของท้องถิ่นกับ
ภูมิปัญญา







ภาพที่ 3 การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของ 7 หมู่บ้าน


3. จากผลการวิจัย พบว่า หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 4 มีความสำเร็จทุกด้านจากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ โดย พบว่า ผู้อาศัยส่วนใหญ่มีความคิดเห็นที่มีความสัมพันธ์กับมิติทั้ง 4 ได้แก่ ความพอประมาณมีความสัมพันธ์ครบทั้ง 4 มิติ โดยมิติด้านมนุษย์ ได้แก่ มีความสามารถและทักษะการดำรงชีวิต มิติด้านสังคม ได้แก่ การสร้างเครือข่ายภายนอก มิติด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม และมิติด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การสร้างรายได้ของกลุ่มอาชีพต่างๆ นอกจากนี้ ความรู้มีความสัมพันธ์กับ4 มิติโดยมิติด้านมนุษย์ ได้แก่ มีการพัฒนาความสามารถและทักษะการผลิตจากภูมิปัญญา มิติด้านสังคม ได้แก่ มีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมต่างๆ การร่วมกลุ่มเพื่อการเรียนรู้การสอนงานให้กับชุมชน มิติด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ มีผลกำไรและไม่ก่อให้เกิดปัญหา สำหรับความมีเหตุผลมีความสัมพันธ์กับมิติด้านสังคมได้แก่ การมีชุมชนเครือข่ายที่ช่วยเหลือเกื้อกูล มีกลุ่มเครือข่ายการตลาด การซื้อวัตถุดิบ มีข่าวสารข้อมูล สำหรับมิติด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การมีส่วนร่วมด้านสิ่งแวดล้อม และมิติด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การมีทรัพย์สินปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้น จากการศึกษายังพบว่า ความมีเหตุผลมีความสัมพันธ์กับมิติด้านมนุษย์ ได้แก่ การรู้จักเลือกสรรอาชีพให้กับกลุ่ม มิติด้านสังคม ได้แก่ การสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มอาชีพ และมิติด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างเข้าใจและประหยัด สำหรับด้านคุณธรรมมีความสัมพันธ์กับมิติด้านมนุษย์ ได้แก่ มีการนำหลักศาสนาประเพณีนิยมมาใช้กับหมู่บ้าน มิติด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มีการทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชน




ตารางที่ 2 ความสัมพันธ์ของความสำเร็จของมิติทั้ง 4

ความสัมพันธ์ มิติด้านมนุษย์ มิติด้านสังคม มิติด้านสิ่งแวดล้อม มิติด้านเศรษฐกิจ
ความพอประมาณ
มีความสามารถและทักษะการดำรงชีวิต -การสร้างเครือข่ายภายนอก
- การสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) -การสร้างรายได้ของกลุ่มอาชีพต่างๆ
ความมีเหตุผล
-การรู้จักเลือกสรรอาชีพให้กับกลุ่ม
-การสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มอาชีพ ใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างเข้าใจและประหยัด
ความมีภูมิคุ้มกัน
-มีชุมชนเครือข่ายที่ช่วยเหลือเกื้อกูล
-มีกลุ่มเครือข่าย การตลาด การซื้อวัตถุดิบ มีข่าวสารข้อมูล -การมีส่วนร่วมด้านสิ่งแวดล้อม
มีทรัพย์สินปัจจัยการผลิตที่เพิ่มขึ้น
ความรู้
มีการพัฒนาความสามารถและทักษะการผลิตจากภูมิปัญญา มีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมต่างๆ การรวมกลุ่มเพื่อเรียนรู้ การสอนงานให้กับชุมชน -จัดกิจกรรมเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม มีผลกำไรที่และไม่ก่อให้เกิดปัญหา
คุณธรรม มีการนำหลักศาสนา ประเพณีนิยมมาใช้กับหมู่บ้าน มีการทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชน


อภิปรายผลการวิจัย

จากการศึกษาพบว่า จากการศึกษาพบว่า ลักษณะการดำเนินชีวิตของผู้อาศัยในหมู่บ้านไทย 7 หมู่บ้าน มีการจัดการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงด้านความมีเหตุผลมากที่สุด เนื่องจากหมู่บ้านไทยทั้ง 7 หมู่บ้านมีการจัดการแบบมีส่วนร่วม ทุกข้อเสนอแนะของการประชุมถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะด้านการ ใช้วัตถุดิบภายในท้องถิ่นมากกว่าการซื้อภายนอก ให้ความสำคัญกับการใช้คนเป็นหลักซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ กัญญามน อินหว่างและคณะ (2554) เฉลียว บุรีภักดีและคณะ (2552) และนรินทร์ สังข์รักษาและคณะ (2551) ในด้านการใช้กระบวนการจัดการมาดำเนินการร่วมกับแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้ยังพบว่า ความพอประมาณมีความสัมพันธ์ครบทั้ง 4 มิติ ได้แก่ มิติมุนษย์ มิติสังคม มิติสิ่งแวดล้อม และมิติเศรษฐกิจซึ่งเป็นไปงานวิจัยของ สหัทยา พลปัถพี (2548:2) ในด้านการดำเนินการตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4 ด้าน คือ 1) กิจกรรมเพื่อสร้างความพอเพียงด้านเศรษฐกิจ 2)กิจกรรมเพื่อสร้างความพอเพียงด้านสังคม 3)กิจกรรมเพื่อสร้างความพอเพียงด้านสิ่งแวดล้อม และ4)กิจกรรมเพื่อสร้างความพอเพียงด้านจิตใจ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการแสดงให้เห็นถึงมิติทั้ง 4 เป็นผลลัพธ์ที่ได้จากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้นั้น จะสามารถก่อให้เกิดประโยชน์เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในหมู่บ้านไทยทั้ง 7 หมู่บ้าน มีการพัฒนาภูมิปัญญาดั้งเดิมมาสู่การสร้างอาชีพใหม่อย่างต่อเนื่อง จึงก่อให้เกิดการสืบทอดอาชีพของชุมชนและการจัดการการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ได้ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีความสอดคล้องกับกระบวนการจัดการทางธุรกิจที่มีการนำหลักความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันที่ดี การมีความรู้ และคุณธรรม โดยเฉพาะประเภทของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงนั้นจะใช้หลักการนำการเรียนรู้ ภูมิปัญญามาใช้ร่วมกันเช่นเดียวกับประเภทของหมู่บ้านแห่งการเรียนรู้ก็นำแนวทางการผลิตด้วยการใช้ภูมิปัญญาไทยเช่นกัน

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะทางวิชาการ
1) จากการวิจัย สามารถนำผลการวิจัยมาเป็นแนวทางการดำเนินกิจกรรมจามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างยั่งยืนในรูปแบบของการสร้างเครือข่ายชุมชนภายนอก เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนต่อไป สร้างเครือข่ายทางการตลาดรวมทั้งด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
2) จากผลลัพธ์ในมิติด้านมนุษย์ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจมีความสอดคล้องกันกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งประเภทหมู่บ้านไทยทั้ง 4 ประเภท ซึ่งสามารถนำผลการวิจัยไปเป็นแนวทางการจัดการชุมชนโดยดูลักษณะการจัดกิจกรรม กลุ่มของหมู่บ้านไทยทั้ง 7 ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างเห็นเด่นชัด สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ โดยจะเห็นได้ว่าหลักการของความพอประมาณ ความมีเหตุผล ความมีภูมิคุ้มกันที่ดี ความรู้และคุณธรรมสามารถก่อให้เกิดความสำเร็จได้ สามารถไปปรับใช้กับการดำเนินชีวิตทั้งในด้านการสร้างกลุ่มอาชีพ การสร้างแหล่งเรียนรู้ การผลิตสินค้าด้วยภูมิปัญญาดั้งเดิมของชุมชนต่างๆได้

ข้อเสนอทางการวิจัยครั้งต่อไป
1) ศึกษาเพิ่มเติมในเรื่อง การพัฒนารูปแบบเครือข่ายของชุมชนจากการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ได้รูปแบบการพัฒนาที่ชัดเจน
2) ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบถึงประเภทของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้ หมู่บ้านท่องเที่ยว และหมู่บ้านภูมิปัญญาและผลิตภัณฑ์ว่ามีความแตกต่างกันในด้านการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เห็นเป็นรูปธรรม

บรรณานุกรม

[1]กัญญามน อินหว่างและคณะ (2556) การดำเนิน ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงหมู่บ้านไทย จังหวัดพิษณุโลก. ทุนสนับสนุนเครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง.
[2]กัญญามน อินหว่างและวัลลภา ศรีทองพิมพ์. (2551) แนวทางการพัฒนาระบบการจัดการของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้วยการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. รายงานการวิจัยทุนสนับสนุนสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
[3]กัญญามน อินหว่างและวัลลภา ศรีทองพิมพ์. (2554) การพัฒนาระบบการจัดการและความสำเร็จจากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. รายงานการวิจัยทุนสนับสนุนสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
[4]จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา (รศ.ดร).(2550) ปาฐกถาพิเศษ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับการบริหาร การพัฒนา. สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (วันพฤหัสบดี ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2550).
[5]เฉลียว บุรีภักดี และคณะ(.2552).การวิจัยและ พัฒนาวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงในภาค เกษตรกรรมพื้นฐาน โดยอิงกรอบ ความคิดเชิงระบบ.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
[6]นรินทร์ สังข์รักษาและคณะ.(2551) .ผลดีของการ ประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงในกระบวนการ เรียนรู้และการ จัดการความรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของ วิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษาจังหวัด ราชบุรี. กรุงเทพมหานคร:สำนักงาน คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
[7]สหัทยา พลปัถพี. (2548). แนวทางการพัฒนาคนให้มีคุณลักษณะตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง.วิทยานิพนธ์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



Create Date : 07 ธันวาคม 2558
Last Update : 13 กุมภาพันธ์ 2562 10:36:44 น.
Counter : 768 Pageviews.

กัญญามน อินหว่าง: การพัฒนาจริยธรรมในองค์การ

การพัฒนาจริยธรรมในองค์การ

แนวคิดด้านจริยธรรม

จริยธรรม (Morality) จริยธรรมเป็นประมวลกฎเกณฑ์ความประพฤติหรือกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่กำหนดขึ้นไว้เป็นแนวปฏิบัติสำหรับมนุษย์ หรือกล่าวได้ว่าจริยธรรม หมายถึง ลักษณะทางสังคมหลายลักษณะของมนุษย์และมีขอบเขตรวมถึงพฤติกรรมทางสังคมประเภทต่างๆที่เป็นพฤติกรรมที่สังคมนิยมชมชอบให้การสนับสนุนและผู้กระทำส่วนมาก เกิดความพอใจว่าการกระทำนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม และลักษณะที่สังคมไม่ต้องการให้มีอยู่ในสมาชิก

จริยธรรมแบ่งได้เป็นหลายประเภท ในที่นี้จะอธิบายถึง จริยธรรมในตัวบุคคลและจริยธรรมในอาชีพ ดังนี้ (พูนฤดี สุวรรณพันธุ์,2550)

1. จริยธรรมในตัวบุคคล ได้แก่คุณธรรมที่มีอยู่ในตัวบุคคลซึ่งบุคคลใช้ในการดำเนินชีวิต เช่น ความรอบคอบความกล้าหาญ การรู้จักประมาณ การมีความยุติธรรม ตลอดจนจริยธรรมที่เกี่ยวกับสุขภาพเช่น การรู้จักวิธีรักษาสุขภาพทางกาย สุขภาพทางจิตจริยธรรมที่เกี่ยวกับการใช้เสรีภาพ เช่น การรู้จักใช้เสรีภาพอย่างถูกต้องการเคารพความคิดเห็นซึ่งกันและกัน จริยธรรมที่เกี่ยวกับความซื่อตรงหรือหลักการในการดำรงชีวิต เช่น การมีปรัชญาที่เหมาะสมในการดำรงชีวิต เป็นต้น

2. จริยธรรมในอาชีพเป็นคุณธรรมหรือหลักปฏิบัติที่ผู้ประกอบอาชีพต่างๆ พึงยึดถือในการประกอบอาชีพของตนผู้ประกอบอาชีพนั้นๆ จำเป็นต้องมีจริยธรรมไม่ว่าจะเป็นงานราชการหรือธุรกิจเอกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาเฉพาะด้านที่มีผลกระทบต่อสวัสดิภาพหรือสิทธิของบุคคลทั่วไปเช่น แพทย์ ทนายความ นักสังคมสงเคราะห์ วิศวกร นักธุรกิจแขนงต่างๆรวมทั้งธุรกิจด้านงานบริการ ซึ่งผู้ให้บริการจำเป็นจะต้องมีจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่เพราะงานบริการมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากธุรกิจด้านอื่น คือการนำเสนอบริการจำเป็นต้องอาศัยบุคคลเป็นผู้นำเสนอโดยตรงต่อผู้รับบริการเป็นส่วนใหญ่ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าจริยธรรมในงานบริการเป็นหลักปฏิบัติที่มุ่งให้บริการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริตมุ่งสร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการด้วยจิตสำนึกในบทบาทของการให้บริการ เช่นการที่พนักงานแผนกบริการส่วนหน้าของโรงแรมพูดเสนอขายห้องพักประเภทต่างๆของโรงแรมแก่ผู้มารับบริการซึ่งหากพนักงานรู้จักใช้วาจาหรือคำพูดที่สุภาพไพเราะเปี่ยมไปด้วยจริยธรรมไม่โกหก หลอกลวงผู้มารับบริการโดยตรง เช่นการผลิตเสื้อผ้าแล้วจัดส่งไปวางขายตามห้างสรรพสินค้าต่างๆซึ่งผู้ผลิตไม่ได้พบปะและเสนอขายเสื้อผ้าที่ตนผลิตกับลูกค้าโดยตรงแต่ดำเนินการโดยอาศัยคนกลางคือ พนักงานของห้างสรรพสินค้าเป็นผู้เสนอขายแทน เป็นต้น

เนื่องจากจริยธรรมมีความสำคัญและจำเป็นต่อการประกอบอาชีพต่างๆในบางอาชีพจึงได้มีการนำจริยธรรมที่ผู้ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพนั้นๆพึงยึดถือปฏิบัติมารวบรวมและประมวลขึ้นเป็นแนวปฏิบัติที่ชัดเจน เรียกว่า“จรรยาบรรณ” หรือ “จรรยาวิชาชีพ” ของอาชีพนั้นๆ ซึ่งมีความหมายครอบคลุมถึงมาตรฐานคุณค่าแห่งความดีงามของการกระทำหรือการแสดงพฤติกรรมของผู้ประกอบวิชาชีพนั้นๆ เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพนั้นๆได้ปฏิบัติหน้าที่ตามเป้าหมายโดยยึดหลักและมาตรฐานเดียวกันอีกทั้งยังเป็นการคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของประชาชนด้วย เช่น จรรยาบรรณของแพทย์จรรยาบรรณของนักสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น

สำหรับจริยธรรมทางธุรกิจหมายถึง กลไกในการจัดการกับองค์ประกอบของการดำเนินการทั้งในด้านมาตรฐานการผลิตสินค้าและการบริการเพื่อประสิทธิผลสูงสุดของธุรกิจและให้เกิดความเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายกล่าวคือ ทั้งเจ้าของกิจการ ผู้บริหาร ผู้ร่วมงาน ผู้บริโภค ผู้รับบริการ รัฐบาลและสังคม ซึ่งมีความสัมพันธ์ร่วมกัน

ดังนั้นในองค์การทั่วไปจะมีบุคลากรที่มีพฤติกรรม 2 แบบ คือ พฤติกรรมคนดีและพฤติกรรมคนเก่ง ซึ่งองค์การใดมีบุคคลที่มีพฤติกรรมดังกล่าวในบุคคลเดียวกันแล้วองค์การนั้นจะมีความเจริญก้าวหน้าและประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน ในทางตรงกันข้าม หากองค์การใดมีบุคลากรที่มีพฤติกรรมคนเก่งอยู่เป็นจำนวนมากแต่ขาดพฤติกรรมคนดีองค์การนั้นย่อมไม่เจริญ และอาจก้าวเข้าสู่ความหายนะในที่สุด ดังนั้นการพัฒนาจรรยาบรรณในบุคลากรจึงเป็นงานหลักประการหนึ่งขององค์การ หากธุรกิจมีจริยธรรมก็ย่อมเป็นที่ยอมรับและได้รับความเชื่อถือ ได้รับโอกาส มีความได้เปรียบเชิงธุรกิจและมีแนวโน้มทางการแข่งขันมากยิ่งขึ้น

ประโยชน์ของจริยธรรม

จากการศึกษาพบว่า จริยธรรมก่อให้เกิดความเชื่อถือ (Credit) โดยธรรมชาติความเชื่อถือนั้นเกิดจากความซื่อสัตย์ ดังนั้นคนที่มีจริยธรรมดีด้วยความซื่อสัตย์เสมอย่อมได้รับความเชื่อถือและความเชื่อถือ นอกจากนี้ ยังพบว่า จริยธรรมก่อให้เกิดการทุ่มเท (Devotion) หากบริษัทนั้นมีผู้ยำและผู้ตามที่มีจริยธรรมผู้บริหารสามารถปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนอย่างมีมนุษยธรรมและมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง พนักงานย่อมทุ่มเทความสามารถต่อการทำงานหรืออย่างเต็มกำลังความสามารถ รวมทั้งก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดี (Good Image) ซึ่งภาพลักษณ์ที่ดีมีผลต่อตำแหน่งทางการค้าของบริษัท (Positioning) และต่อความภักดีที่ผู้บริโภคมีต่อสินค้าและบริการของบริษัท (Brand Royalty) ซึ่งตำแหน่งทางการค้ามีผลโดยตรงต่อการกำหนดราคา (Pricing) และความภักดีต่อสินค้าและบริการมีผลต่อยอดขาย (Sales Volume) ซึ่งราคาขายและยอดขายมีผลโดยตรงต่อกำไร และจริยธรรมก่อให้เกิดการทำงานอย่างมีความสุข เมื่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับบริษัทไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นผู้ร่วมงานในบริษัทคู่ค้า ลูกค้า รัฐบาล และสังคมต่างก็มีจริยธรรมอันดีต่อกันย่อมเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี และความอบอุ่นขึ้นทุกฝ่ายจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสบายใจ และไม่มีปัญหาบาดหมางใจกันเกิดขึ้นหรือหากมีบ้างโดยอุบัติเหตุก็จะแก้ไขได้โดยง่าย การทำงานอย่างมีจรรยาบรรณต่อตนเองและต่อกันและกัน จึงเป็นวิธีการทำงานที่เป็นสุข

จริยธรรมในองค์การธุรกิจ

โดยทั่วไปองค์การธุรกิจมีบทบาทที่สำคัญด้านการผลิตสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของประชาชน เป็นแหล่งรับซื้อปัจจัยทางการผลิตเป็นแหล่งการจ้างงาน เป็นแหล่งรายได้ของรัฐในการเสียภาษีอากรรวมทั้งยังมีบทบาทที่คาดหวังให้ธุรกิจดำเนินการได้ตามความต้องการของสังคมและบทบาทในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในด้านการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้า และบริการอย่างเป็นธรรมต่อผู้บริโภคการเป็นนายจ้างที่ยุติธรรม การเป็นผู้ซื้อปัจจัยการผลิตในราคาที่เป็นธรรมบทบาทที่มีต่อคู่แข่งขัน และบทบาทในด้านการประสานประโยชน์ระหว่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมกับธุรกิจมีหลายฝ่ายด้วยกันทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกองค์การ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องแต่ละฝ่ายต่างก็มีความคาดหวังต่อธุรกิจที่แตกต่างกัน

ความสำเร็จของธุรกิจนั้นส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับว่าธุรกิจของตนจะสามารถตอบสนองได้ดีเพียงใดต่อความคาดหวังและข้อเรียกร้องใหม่ๆของสังคมที่มีต่อธุรกิจ ดังนั้นผู้บริหารธุรกิจขนาดใหญ่จึงเปลี่ยนจากความสนใจเฉพาะการแสวงหาวิธีการผลิตและการจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดมาเพิ่มความสนใจในเรื่องกลยุทธ์ในการปรับนโยบายทางธุรกิจของตนให้เข้ากับความต้องการของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเช่น การสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น เน้นการผลิตสินค้าที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

สำหรับตัวอย่างของนักธุรกิจในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น การอนุรักษ์การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้นั้นก่อให้เกิดผลกระทบหรือเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติหรือไม่

การวางแผนพัฒนารักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของธุรกิจได้มีการจัดตั้งแผนกคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Environmental Quality Control) ขึ้นในหลายธุรกิจมีหน้าที่รับผิดชอบในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งภายในโรงงาน และบริเวณใกล้เคียงตรวจสอบและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติไว้ให้มากที่สุดนับเป็นบทบาทที่สำคัญทางธุรกิจในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

จริยธรรมของนักธุรกิจ

นักธุรกิจเป็นอาชีพที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศชาติดังนั้น นักธุรกิจจึงจำเป็นต้องมีลักษณะที่แสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสและความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการแสดงจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ และสังคมที่อยู่ซึ่งนักธุรกิจควรมีความรับผิดชอบต่อลูกค้า เพราะลูกค้าเป็นกลุ่มบุคคลที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้ธุรกิจดำเนินกิจการต่อไปได้ลูกค้าเป็นผู้ซื้อสินค้าและใช้บริการซึ่งทำให้ธุรกิจต่างๆ ดังนั้น ลูกค้าควรได้รับการปฏิบัติอย่างซื่อสัตย์และเป็นธรรม หากนักธุรกิจไม่สามารถรักษาลูกค้าของตนเองไว้ได้ ก็ไม่สามารถรักษาธุรกิจของตนไว้ได้เช่นกัน นักธุรกิจควรปฏิบัติต่อลูกค้าในด้านการขายสินค้าและบริการในราคายุติธรรมขายสินค้าและบริการให้ถูกต้อง ตามจำนวน คุณภาพ ราคาที่ได้ตกลงกันไว้และมีความรับผิดชอบตามภาระผูกพันของตน ควรดูแลและให้บริการแก่ลูกค้าทุกคนอย่างเท่าเทียมกันละเว้นการกระทำใดๆ ที่จะควบคุมการตัดสินใจของลูกค้าในการซื้อหรือรับบริการ เช่น การกักตุนสินค้าปล่อยข่าวอันเป็นเท็จเพื่อให้ลูกค้าหลงเชื่อและให้บริการอย่างมีน้ำใจไมตรี มีอัธยาศัยที่ดีต่อกัน

ความสำคัญที่สุดของนักธุรกิจ คือ บุคลากรหรือพนักงานถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการประกอบธุรกิจและเป็นทรัพยากรที่มีค่าของธุรกิจอาจกล่าวได้ว่า การมีพนักงานที่ดี รู้งาน มีความซื่อสัตย์ ขยันขันแข็งจะทำให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพในผลงานทำให้นักธุรกิจมีภาระในการแก้ไขปัญหาน้อยลง และสามารถปฏิบัติงานด้านอื่นได้มากขึ้นนักธุรกิจที่ดีจะต้องศึกษาและมีความรู้ว่าควรจะบริหารพนักงานให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นและทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพได้นานที่สุดได้อย่างไรนักธุรกิจจึงควรปฏิบัติต่อบุคลากรโดยยึดหลักการให้ค่าจ้างและผลตอบแทนที่เหมาะสมกับความสามารถและลักษณะงานรวมทั้งการให้รางวัลเมื่อธุรกิจมีกำไรมากขึ้น หรือธุรกิจดีขึ้น ควรเอาใจใส่ในสวัสดิการ สถานที่ทำงานสภาพการทำงาน และสภาพความเป็นอยู่ของพนักงานให้ถูกสุขลักษณะ มีความปลอดภัยและจัดหาเครื่องป้องกันภัยอันอาจเกิดในการทำงานรวมทั้งดูแลสุขภาพของพนักงานให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานด้วยพัฒนาให้ความรู้เพื่อเพิ่มความชำนาญและประสบการณ์ของพนักงานด้วยการให้การฝึกอบรมให้ความรู้ความเข้าใจในงานที่เขาทำเป็นอย่างดีซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิผลของงานสำหรับธุรกิจโดยตรง ให้ความเป็นธรรมในการปกครองและพิจารณาผลตอบแทนไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ให้โอกาสในการแสดงความสามารถเท่าเทียมกันรวมทั้งให้สามารถออกความคิดเห็นได้โดยเสรีควรเคารพสิทธิส่วนบุคคลและความสามารถของพนักงานและเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวไว้เป็นอย่างดี ไม่แจกจ่ายหรือเปิดเผยโดยไม่ได้รับอนุญาต และควรสนับสนุนให้พนักงานได้ประพฤติตนเป็นพลเมืองดีมีโอกาสทำประโยชน์ต่อสังคม

นอกจากนี้ควรมีจริยธรรมกับคู่แข่ง ด้วยการแสดงความมิตรมากกว่าศัตรูซึ่งในปัจจุบันมีการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจมากขึ้นกว่าการใช้หลักการต่อสู้ นักธุรกิจจึงควรปฏิบัติต่อคู่แข่งขัน โดยไม่ใช้การกลั่นแกล้งใส่ร้ายป้ายสี ทับถม ไม่ว่าโดยทางตรงทางอ้อม หรือด้วยการข่มขู่และกีดกันอันจะทำให้คู่แข่งเสียโอกาสอย่างไม่เป็นธรรม เช่น การขายตัดราคาการทุ่มเทสินค้าเข้าตลาดการแย่งขายเมื่อลูกค้าได้ตกลงใจที่จะซื้อจากคู่แข่งขันแน่นอนแล้วการเอาข้อมูลของคู่แข่งขันมาโดยมิชอบ แต่ควรให้ความร่วมมือในการแข่งขันเพื่อสร้างสภาวะตลาดที่ดี เช่น การให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือสร้างสรรค์สินค้าหรือบริการใหม่ๆเป็นการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจที่ดี

นักธุรกิจจะต้องเกี่ยวข้องกับสังคม ชุมชนมากยิ่งขึ้น เช่น หน่วยราชการ เพราะนักธุรกิจมักมีปัญหาจากความไม่เข้าใจการทำงานไม่เข้าใจหลักการและเหตุผลของรัฐหรืออาจเป็นว่านักธุรกิจเองมีความรู้เฉพาะในเรื่องของตนไม่ได้มองเห็นภาพรวมทั้งหมด ดังนั้นจึงควรศึกษาข้อมูลต่างๆทั้งในด้านข่าวสารข้อมูลทางภาษีอากรการจัดส่งข้อมูลให้กับกระทรวงพาณิชย์ หรือหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องทั้งทางกฎหมายและการเงินตลอดจนการผลิตสินค้าที่ต้องเกี่ยวข้องด้านการขอฉลากหรือใบอนุญาตใดๆที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการบริการดังนั้น นักธุรกิจควรปฏิบัติต่อหน่วยราชการ อย่างตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์สุจริตปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายในการทำธุรกิจ ทำบัญชีเสียภาษีให้รัฐอย่างถูกต้องตรงตามลักษณะของธุรกิจไม่เปิดโอกาสให้ข้าราชการประพฤติมิชอบในธุรกิจของตน สิ่งสำคัญคือต้องละเว้นจากการติดสินบนจ้างวานข้าราชการเพื่ออำนวยความสะดวกให้ตนในการประกอบธุรกิจใดๆแม้ว่าธุรกิจนั้นจะไม่ผิดกฎหมายก็ตาม และละเว้นจากการให้ของขวัญ หรือของกำนัลใดๆ ที่แสดงให้เห็นถึงเจตนาไม่ชอบเพื่อความสะดวกสบายในการติดต่อและควรมีมีทัศนคติที่ถูกต้องและมีความเชื่อถือต่อหน่วยราชการเป็นเบื้องต้น เพราะปัจจุบันหน่วยงานราชการได้มีการปรับเปลี่ยนระบบโครงสร้างต่างๆให้เสมือนกับหน่วยงานทางธุรกิจมากขึ้น

จริยธรรมของนักธุรกิจต่อสังคมถือว่าเป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่งที่นักธุรกิจหลีกเลี่ยงมาได้อีกต่อไปเนื่องจากคนในสังคมและบุคคลมีความแตกต่างกันโดยสถานะ อาชีพ ศาสนา เชื้อชาติและความเชื่อในเรื่องต่างๆ การที่ทุกคนที่มีความแตกต่างเหล่านั้นจะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขและพอใจในสภาพความเป็นอยู่ตามสภาวะของตนนั้นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกคนที่เป็นสมาชิกของสังคมช่วยกันสร้างสรรค์สภาพแวดล้อม สภาพธรรมชาติ พัฒนาอนามัยสังคม ทั้งทางวัตถุและจิตใจมีการรับการให้อย่างสมดุลนักธุรกิจควรยึดถือเป็นความรับผิดขอบในอันที่จะมีส่วนร่วมสร้างสรรค์สังคมให้เจริญก้าวหน้าต่อไปโดยหลีกเลี่ยงการทำธุรกิจที่สนับสนุนให้เกิดการทำผิดกฎหมาย เช่น การรับซื้อของโจร การทิ้งน้ำเสียหรือของเสียนอกโรงงานทำลายบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมของชุมชน ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่นการตัดไม้ทำลายป่า การค้าสัตว์และของป่า การรุกล้ำทางน้ำสาธารณะ หรือที่สาธารณะเพื่อประโยชน์ส่วนตน ดังนั้นการประกอบกิจการของตนมิให้เป็นต้นเหตุก่อมลภาวะให้สิ่งแวดล้อมและสังคมเช่น การจัดระบบระบายน้ำทิ้ง การป้องกันน้ำเสียที่จะไหลลงสู่แม่น้ำลำคลองการป้องกันเรื่องเสียงและกลิ่น การเก็บรักษาขนส่งวัสดุมีพิษและวัตถุระเบิดให้เป็นไปตามมาตรการรักษาความปลอดภัยการระมัดระวังในการใช้ภาชนะบรรจุสารปนเปื้อน รวมทั้งระบบป้องกันอัคคีภัยอันเป็นการป้องกันภัยให้ชุมชนได้ รวมทั้งให้ความเคารพในสิทธิทางปัญญาของผู้อื่นหรือธุรกิจอื่นไม่ลอกเลียนความคิดการผลิตลอกเลียนของต้นแบบของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้ความร่วมมือกับทุกฝ่ายในชุมชนเพื่อการสร้างสรรค์สังคมโดยการสละเวลากำลังกาย กำลังทรัพย์ตามความเหมาะสมของตน ในการดำเนินธุรกิจนักธุรกิจควรให้ความสนใจในเรื่องการสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนให้สอดคล้องกับศักยภาพของชุมชนนั้นๆซึ่งจะสามารถทำให้ธุรกิจก้าวหน้าและยังทำให้สังคมมีคนที่มีคุณภาพ มีรายได้และพอใจในชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง

การพัฒนาจริยธรรมในองค์การ

การพัฒนาจริยธรรมในองค์การ เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะบุคลากรและผู้บริหารตลอดจนผู้ประกอบการอาจมีการขัดเกลาทางสังคมที่แตกต่างกัน ดังนั้นหากมีการพัฒนาด้วยการอบรม การให้ความรู้ความเข้าใจอย่างต่อเนื่องรวมทั้งให้เข้าใจถึงวิสัยทัศน์หรือการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นด้านวิสัยทัศน์ของจริยธรรมในธุรกิจนั้นๆอย่างจริงจังก็จะสามารถก่อให้เกิดประโยชน์รวมทั้งหากแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมขององค์การที่เด่นชัดในด้านจริยธรรมความโปร่งใสในการทำธุรกิจ การมีธรรมมาภิบาลในการบริหารงาน เพื่อการตรวจสอบได้ตลอดจนการแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของบุคลากรและธุรกิจที่ถูกต้องเหมาะสมก็จะสามารถทำให้ธุรกิจนั้นยั่งยืน

การพัฒนาจรรยาบรรณในองค์การเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ดังนั้นต้องมีอำนาจหน้าที่ของผู้บริหารที่ชอบธรรมในการดำเนินการจึงจะประสบความสำเร็จได้ผู้บริหารระดับสูงขององค์การจะต้องมีส่วนร่วมและริเริ่ม ซึ่งถ้าผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้นำในการพัฒนาจริยธรรมก็จะประสบความสำเร็จได้ ดังนั้น ผู้ที่จะเป็นผู้นำในการพัฒนาจริยธรรมในองค์การจะต้องเป็นผู้ที่เชื่อถือได้และเป็นแบบอย่างที่ดีซึ่งสามารถเริ่มจากการวางนโยบายด้านจริยธรรมโดยเริ่มจากฝ่ายทรัพยากรมนุษย์เป็นอันดับแรกและต้องทำให้บุคลากรทุกคนเข้าใจว่า การพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่าหรือสภาวะที่ ดังนั้นต้องมีการวางแผน มีขั้นตอนที่ถูกต้องเหมาะสมโดยใช้หลักการทั้งด้านการจูงใจทางพฤติกรรมศาสตร์ ด้านภาวะผู้นำและศาสนามาเป็นเครื่องมือ ผสมผสานกัน จึงจะสร้างสังคมแห่งจริยธรรมทางธุรกิจขึ้นมาได้และเมื่อมีการวางแผนที่ดี มีระบบจัดการและกิจกรรมให้ทุกคนร่วมประโยชน์แล้วต้องนำมาปฏิบัติสม่ำเสมอ จากความเข้าใจให้เป็นการตระหนักจากการตระหนักให้เป็นสำนึกรับผิดชอบ จากสำนึกรับผิดชอบให้เป็นธรรมเนียมปฏิบัติจากธรรมเนียมปฏิบัติให้เป็นระเบียบจากระเบียบให้เป็นวัฒนธรรมอันดีงามขององค์การในที่สุดและต้องใช้กลยุทธ์หลากหลายรูปแบบรวมทั้งการควบคุมที่ถูกต้อง มีมาตรฐานเดียวกันมีประสิทธิภาพอันจะนำไปสู่การบรรลุผลสำเร็จได้

จากการศึกษาด้านจริยธรรมทางธุรกิจในประเทศไทยยังคงเน้นในด้านการนำหลักทางศาสนามาเป็นหลักยึดและยังคงใช้แนวทางจากต่างประเทศ ซึ่งหากองค์การธุรกิจในประเทศมีแนวทางที่ชัดเจนด้านคุณธรรมทางธุรกิจก็จะสามารถเข้าใจและพัฒนาจริยธรรมทางธุรกิจได้ ดังนั้นในส่วนต่อไป จะขอเสนอแนวทางการพัฒนาจริยธรรมในรูปแบบของการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นเครื่องมือการจัดการซึ่งจะเห็นได้ว่า จะประสานสัมพันธ์กันอย่างสอดคล้องทั้งในด้านความพอประมาณความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันที่ดี และเงื่อนไขสำคัญ คือ ความรู้ และ คุณธรรมและการดำเนินธุรกิจจะได้ผลลัพธ์ที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

จริยธรรมทางธุรกิจกับแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

จากหลักการทรงงานข้างต้นในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯจะเห็นว่า พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนโดยทรงให้ความสำคัญกับการสร้างจิตสำนึกในศีลธรรมแก่ประชาชน ให้รู้จักประมาณตนไม่โลภ เสียสละ มีคุณธรรมและความเพียรและซื่อสัตย์สุจริตอยู่เสมอ ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าการพัฒนาคนตามแนวพระราชดำรินั้นจึงเป็นการเสริมสร้างศักยภาพของคนในทุกมิติทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจที่สำนึกในคุณธรรมมีความเพียรและจริยธรรมในการดำเนินชีวิต อันจะเป็นการขยายโอกาสและทางเลือกให้แก่ประชาชนในการดำเนินวิถีชีวิตได้อย่างมั่นคงซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศให้ยั่งยืนตามไปด้วย

แนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงลักษณะกิจกรรมความพอเพียง 6 ด้าน

ตามแนวพระราชดำริ

1. การเพิ่มรายได้

2. การลดรายจ่าย

พอประมาณ 3. การออม

4. การดำรงชีวิต

มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน 5. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ ในตัวที่ดี สิ่งแวดล้อม

6. การเอื้ออาทร

ความรู้ คุณธรรม

จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นและได้ทำการวิเคราะห์พบว่า เศรษฐกิจพอเพียงมีการพัฒนาจากหลักของการพึ่งตนเองให้เข้มแข็งแล้วจึงพัฒนาขึ้นเป็นการแลกเปลี่ยน การรวมกลุ่มช่วยเหลือกัน จนนำไปสู่การสังเคราะห์เกื้อกูล ร่วมมือกัน เพื่อดำเนินกิจการใดกิจการหนึ่งให้บรรลุเป้าหมายรวมทั้งสามารถประสานกับชุมชน สังคมอื่นได้อย่างดี จะเห็นได้ว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย และทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาชนโดยทั่วไป เพื่อให้ประชาชนและประเทศชาติสามารถก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ และเพื่อให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านวัตถุสังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี และเพื่อให้เกิดความสมดุลในทุกมิติคือ มิติด้านทุนมนุษย์ มิติด้านทุนสังคม มิติด้านทุนสิ่งแวดล้อมและมิติด้านกายภาพ ดังนั้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจึงมุ่งเน้นให้ผู้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้สามารถใช้ความรู้และคุณธรรมที่มีอยู่พิจารณาอย่างรอบด้านมีความรอบรู้ รอบคอบระมัดระวังในการดำเนินกิจกรรมเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีดังตัวบ่งชี้ด้านกระบวนการดำเนินงานของธุรกิจที่มีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้

ตารางกระบวนการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้

กิจกรรมหลัก

ความพอประมาณ

ความมีเหตุผล

การมีภูมิคุ้มกันที่ดี

ความรู้

คุณธรรม

ผลิต

บริการ

ค้าส่ง ค้าปลีก

บริหารความเสี่ยงต่ำ

ไม่กู้เงินเกินตัว(อัตราหนี้สินต่อทรัพย์สิน)

ใช้เทคโนโลยีที่ถูกหลักวิชาการแต่มีราคาถูก

กระจายความเสี่ยง

ใช้ภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ

ไม่คิดเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค

ซื่อสัตย์สุจริต

ใช้ทรัพยากรทุกชนิดอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพสูงสุด

จ้างแรงงานเป็นหลัก โดยไม่นำเทคโนโลยีมาทดแทนแรงงาน ยกเว้น ในกรณีที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลิตภัณฑ์

ไม่โลภมากจนเกินไป และไม่เน้นกำไรในระยะสั้นเป็นหลัก

พัฒนาความรู้ทางเศรษฐกิจ

มีการปฏิบัติธรรมในองค์การ/ มีส่วนร่วมช่วยเหลือ

สัง

คม

มีขนาดการผลิตสอดคล้องกับความสามารถในการบริหารจัดการ

ใช้วัตถุดิบภายในท้องถิ่น ตอบสนองระดับของตลาดตามลำดับความต้องการ*ตลาดท้องถิ่น *ตลาดภายนอก* ตลาดต่างประเทศ

ไม่มีหนี้สิน หรือหนี้สินมีขนาดธุรกิจที่พอเหมาะกับตลาดต่ำ

ใช้สติปัญญาแก้ปัญหาทางสังคมได้

ช่วยเหลือผู้อื่นที่ตกทุกข์ได้ยาก

จ้างแรงงานในท้องถิ่น

สร้างรายได้

ให้ค่าตอบแทนที่ยุติธรรม

ใช้พลังงานเหมาะสมกับการผลิต

ใช้พลังงานอย่างเห็นคุณค่า

สร้างพลังงานทางเลือกให้กับธุรกิจ

แยกแยะสิ่งถูกผิดทางวัฒนธรรมได้

ใช้ทรัพยากรแต่พอดี

ไม่ทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

ไม่ปล่อยสารพิษจากการผลิตสู่สิ่งแวดล้อม

มีกระบวนการผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

สร้างและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม

ดูแลสิ่งแวดล้อมร่วมกับ

รับผิดชอบต่อสังคม

(อ้างจาก กัญญามนอินหว่างและคณะ,2551)

จากการศึกษาวิจัยของกัญญามน อินหว่าง และคณะ(2551) ในด้านการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในที่นี้จะยกตัวอย่างผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง ได้ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี และเงื่อนไขสำคัญ คือ ความรู้และ ด้านคุณธรรมจริยธรรมของธุรกิจซึ่งถือเป็นเงื่อนไขที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียงมาเสนอ

จากการศึกษาวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาระบบการจัดการของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้วยการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ได้ทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เลือกจากข้อมูลพื้นฐานของเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงและจากการสัมภาษณ์เบื้องต้นกับผู้ประกอบการที่มีลักษณะการดำเนินธุรกิจในชุมชนและเพื่อผลประโยชน์ของชุมชนเป็นหลักที่มีลักษณะการดำเนินธุรกิจด้วยการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ดำเนินธุรกิจและมีแนวทางความสำเร็จรวมทั้งข้อคิดเห็นจากผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ จากการศึกษาวิเคราะห์เจาะลึกของธุรกิจขนาดกลางและธุรกิจขนาดย่อมด้วยการใช้ตัวบ่งชี้3 ด้านคือ ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิตและด้านผลลัพธ์ มาพิจารณาลักษณะการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ของธุรกิจต่างๆพบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ มีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดการธุรกิจโดยเฉพาะในด้านความมีเหตุผล จากการนำเทคโนโลยีไปใช้อย่างเหมาะสมการมีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า รวมทั้งความพอประมาณในด้านการจัดการด้านการบริหารความเสี่ยงจากการลงทุนซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของการดำเนินธุรกิจ

การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้นั้นจำเป็นต้องมีความเข้าใจอย่างชัดเจนว่าเป็นเรื่องของระบบการจัดการขั้นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งต้องมีปัจจัยนำเข้า (Input) นั่นคือ ทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรทางกายภาพ เทคโนโลยีทรัพยากรด้านการเงิน ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการการจัดการ นั่นคือการจัดการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า กระบวนการจ้างงานที่มีศักยภาพราคาไม่แพง สามารถหาได้ในท้องถิ่นและการจัดการด้านการเงินด้วยการบริหารการเงินให้มีความเสี่ยงต่ำทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือ ความพอประมาณ นอกจากนี้ ยังพบว่ากระบวนการด้านความมีเหตุผล สามารถนำไปเป็นกระบวนการจัดการได้ในด้าน การใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพราคาไม่แพง และเหมาะสมกับธุรกิจ มีการจ้างงานที่ถูกต้องกับงานที่ทำใช้วัตถุดิบในพื้นที่และพัฒนาตนเองและพนักงานให้มีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรวมทั้งการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี คือ การที่สามารถจัดการกับการกระจายความเสี่ยงด้วยการหาผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ตลาด ไม่ทำให้เกินพอดีหรือตามหลักของระบบการบริหารงานของญี่ปุ่นที่เรียกว่า การทำให้พอดี (Just inTime) และการรู้จักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น จะเห็นว่ากระบวนการของความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงก็คือกระบวนการจัดการ (Process)ทางธุรกิจให้สามารถจัดการด้านการตลาด การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดการการเงินการจัดการผลิต การจัดการเทคโนโลยีให้เกิดประสิทธิภาพ

สำหรับผลผลิตและผลลัพธ์ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับมิติด้านสังคม และสิ่งแวดล้อมรวมทั้งด้านเศรษฐกิจซึ่งถือว่าเป็นทุนของมนุษย์ที่จะต้องอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน ผลลัพธ์ที่ได้จากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้นั้น จะสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ในระยะสั้นของธุรกิจ อาจมาจากการดำเนินธุรกิจโดยใช้กลยุทธ์ด้านความพอเพียงในส่วนของราคาใช้วิธีการรณรงค์เรื่องประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน เพื่อการลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่สามารถประหยัดได้
สำหรับประโยชน์ในระยะปานกลาง อาจมาจากการดำเนินธุรกิจโดยใช้กลยุทธ์ด้านลูกค้าเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเป้าหมายและลูกค้า ดูแลรักษาลูกค้าเดิมของกิจการให้คงอยู่
และประโยชน์ในระยะยาว อาจมาจากการดำเนินธุรกิจโดยใช้กลยุทธ์ด้านการพัฒนา เพื่อการสร้างนวัตกรรมในผลิตภัณฑ์ทั้งการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อรองรับความต้องการของตลาดที่จะเกิดขึ้นในอนาคตรวมถึงการแก้ไขและปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิม ให้มีคุณสมบัติเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เนื่องมาจากการใช้หลักความสามารถในการพัฒนาธุรกิจทั้งในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์การพัฒนาเครือข่ายทางธุรกิจการพัฒนาภูมิปัญญาดั้งเดิมมาสู่ผลิตภัณฑ์ที่สร้างนวัตกรรมใหม่อย่างต่อเนื่อง

คุณลักษณะและเงื่อนไขของเศรษฐกิจพอเพียงโดยการแยกแยะให้เห็นถึงคุณลักษณะและเงื่อนไข เป็นการวิเคราะห์แบบแยกส่วนเพื่อทำความเข้าใจในทางวิชาการแต่การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัตินั้น ต้องคำนึงถึงความเกี่ยวข้องของแต่ละคุณลักษณะและเงื่อนไขต่างๆในแบบองค์รวม ทั้งคุณลักษณะด้านความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีควบคู่ไปกับเงื่อนไขด้านความรู้ และคุณธรรม เป็นแต่เพียงว่าองค์กรธุรกิจหนึ่งๆ อาจมีความพร้อมหรือการให้ความสำคัญของคุณลักษณะและเงื่อนไขของเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นเหตุให้การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติใช้นั้นมีระดับหรือขั้นของการปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไปความพอเพียงตามนัยของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในแต่ละองค์กรจึงไม่จำเป็นต้องเท่ากัน มีรูปแบบเดียวกัน

ธุรกิจขนาดย่อมและขนาดกลางมีจุดเริ่มของการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นอันดับแรกคือ ความซื่อสัตย์สุจริตในการประกอบการ ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคและไม่เอารัดเอาเปรียบแรงงานหรือลูกค้าตลอดจนไม่เอารัดเอาเปรียบผู้จำหน่ายวัตถุดิบซึ่งเป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานของความพอเพียงในการดำเนินชีวิตทั้งด้านธุรกิจและส่วนตัวดังนั้น ในการสร้างแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้สามารถยั่งยืนได้ ซึ่งจะเห็นว่าเป็นจริยธรรมทางธุรกิจที่สำคัญธุรกิจส่วนใหญ่เน้นความซื่อสัตย์เป็นหัวใจหลัก เพราะหากมีความซื่อสัตย์แล้วความพอประมาณ ความมีเหตุผลในตนเองและการดำเนินธุรกิจก็จะตามมา เพราะในการดำเนินธุรกิจแบบพอเพียงนั้น จะพบว่าผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่าเศรษฐกิจพอเพียงที่ใช้อยู่ คือ เน้นการไม่กู้หนี้ยืมสินเป็นหลักรวมทั้งด้านการไม่เอารัดเอาเปรียบลูกค้าและผู้เกี่ยวข้อง

ตัวบ่งชี้ที่ธุรกิจขนาดย่อมมีมากที่สุดคือ การไม่เอารัดเอาเปรียบลูกค้า ซึ่งตรงกับตัวบ่งชี้ด้านกระบวนการคือ ความซื่อสัตย์หรือความมีเหตุผลในการดำเนินธุรกิจซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่เล็งเห็นว่า การทำธุรกิจด้วยความรับผิดชอบไม่เอาเปรียบลูกค้า ก็จะสามารถอยู่ได้นานกว่า ดังเช่น ธุรกิจเอกชนขนาดย่อม เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่า การเอื้อเฟื้อต่อกันยังเป็นตัวบ่งชี้ที่มีมากกว่าด้านอื่นในส่วนของมิติด้านสังคมและทรัพยากรเพราะเนื่องจากการดำเนินธุรกิจขนาดย่อมส่วนใหญ่จะเป็นทั้งธุรกิจเอกชนและธุรกิจชุมชนและเป็นธุรกิจแบบครอบครัวการเอื้อเฟื้อกับพนักงานและชุมชนจึงมีส่วนสำคัญต่อการร่วมมือกันทำธุรกิจส่วนใหญ่เป็นธุรกิจชุมชนดังตารางที่แสดงให้เห็นถึงธุรกิจและผลลัพธ์ของธุรกิจด้านจริยธรรมเป็นหลักต่อไปนี้

ตาราง ผลผลิตของธุรกิจด้านจริยธรรม

ธุรกิจ

จิตใจ

สติปัญญา

ความเป็นอยู่

ธุรกิจชุมชน

เผชิญภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจได้

ไม่ทำลายตนเอง

ใช้ภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ

พออยู่พอกินไม่เบียดเบียน

เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร

มีความเอื้อเฟื้อต่อกัน

ธุรกิจเอกชนขนาดย่อมที่มีชุมชนมีส่วนร่วม

เผชิญภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจได้

ใช้สติปัญญาแก้ปัญหา

มีความเอื้อเฟื้อต่อกัน

ตระหนักคุณค่าของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร

ใช้ภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ

พออยู่พอกินโดยไม่เบียดเบียน

ธุรกิจเอกชน ขนาดกลาง ประเภทการผลิต /ค้าส่ง*

เผชิญภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจได้

ใช้ภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ

มีความเอื้อเฟื้อต่อกัน

มีจิตสาธารณะ

พัฒนาวัฒนธรรมให้เจริญ

รักษาสิทธิและหน้าที่ของตน

ไม่คิดเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค

คิดค้นวิธีการักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรให้มีความยั่งยืน

ตระหนักคุณค่าของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร

ธุรกิจเอกชน ขนาดย่อม ประเภทการผลิต

ไม่คิดเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค

ใช้ภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ

พัฒนาความรู้ทางเศรษฐกิจได้

มีความเอื้อเฟื้อ

ตระหนักคุณค่าของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร

ธุรกิจเอกชน ขนาดย่อมประเภทค้าปลีก/ค้าส่ง

ไม่คิดเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค

มีความเอื้อเฟื้อ

ธุรกิจเอกชน ขนาดย่อม ประเภทการบริการ

ไม่คิดเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค

พัฒนาวัฒนธรรมให้เจริญงอกงาม คิดค้นวิธีการักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรให้มีความยั่งยืน

มีความเอื้อเฟื้อต่อกัน

สำหรับด้านผลลัพธ์กับธุรกิจที่ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะสามารถก่อให้เกิดทุนที่สำคัญ4 ประการ คือ ทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุนสิ่งแวดล้อม และทุนกายภาพ

จากการศึกษาธุรกิจ จำนวน 27 ราย พบว่าเมื่อมีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้แล้วได้ผลผลิตตามมิติทางเศรษฐกิจมากที่สุดซึ่งจะพบว่ามีลักษณะมิติของการเงินเป็นส่วนสำคัญรองลงมาเป็นมิติด้านสังคมและทรัพยากรสิ่งแวดล้อมซึ่งสอดคล้องกับมิติด้านการดำเนินชีวิตและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรวมทั้งมิติความสุขของการอยู่ร่วมกัน เป็นส่วนหนึ่งของทุนทางสังคมและทุนทางกายภาพเป็นส่วนหนึ่งของมิติทางการเงิน สำหรับผลการวิจัยด้านตัวบ่งชี้ของผลลัพธ์ที่ได้ พบว่าธุรกิจที่มีกระบวนการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้มีผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกัน คือ ด้านทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุนด้านสิ่งแวดล้อมและทุนกายภาพ ครบทุกด้าน จำนวน 19 ธุรกิจจากการวิเคราะห์พบว่า ธุรกิจขนาดย่อม ซึ่งเป็นธุรกิจชุมชน ประเภทการผลิต จะมีผลลัพธ์จากตัวบ่งชี้ในด้านขีดความสามารถและทักษะการดำรงชีวิตและการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นมีกลุ่ม มีชุมชนเครือข่ายที่ช่วยเหลือเกื้อกูล เช่น กลุ่มธุรกิจชุมชนกลุ่มออมทรัพย์ ใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างเข้าใจและประหยัด และมีทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นซึ่งเป็นไปตามลักษณะของการดำเนินธุรกิจชุมชนที่มีการสร้างเครือข่ายระหว่างชุมชนภายในชุมชน มีการจัดกลุ่มการเรียนรู้ร่วมกันอย่างชัดเจนซึ่งแนวทางดังกล่าวนี้สอดคล้องกับแนวคิดของวิสาหกิจชุมชน (กัญญามน อินหว่าง, 2548) กล่าวได้ว่า ธุรกิจชุมชนประเภทการผลิต มีมิติครบทุกด้าน คือ มิติทางด้านความสุข คือ มีทุนทางสังคมมากกว่าธุรกิจประเภทเอกชนสำหรับมิติด้านการเงินนั้นสามารถอยู่รอดได้ด้วย มิติด้านการดำเนินชีวิตและมิติด้านผลกระทบทางสังคมที่อยู่ในลักษณะที่ดี

นอกจากนี้ ยังพบว่าธุรกิจขนาดกลางที่เป็นธุรกิจเอกชนจะมีความสอดคล้องกันทั้ง 8 ธุรกิจ คือ ธุรกิจเอกชนขนาดกลาง ธุรกิจชุมชนประเภทการผลิตทั้งที่ส่งออกต่างประเทศและในประเทศรวมทั้งธุรกิจขนาดย่อมประเภทการผลิตมีการพัฒนาขีดความสามารถและทักษะในการทำงานทางเศรษฐกิจ มีกิจกรรมเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงด้านการช่วยเหลือสังคม การให้ทุนการศึกษา มีการดูแลฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนและมีผลิตภาพทางการผลิตที่สูงขึ้นและไม่ก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจซึ่งแนวทางดังกล่าวนี้จะก่อให้เกิดผลดีด้านการพัฒนาธุรกิจต่อไปทั้งยังสามารถช่วยให้ธุรกิจสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันได้ทั้งนี้เป็นเพราะการดำเนินธุรกิจต่างๆหากมีขีดความสามารถในระดับที่พัฒนาทั้งทรัพยากรมนุษย์ด้านการผลิตด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยแต่ราคาถูกเหมาะสมรวมทั้งสามารถบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วจะสามารถพัฒนาธุรกิจให้ยั่งยืนได้ จากการศึกษาวิเคราะห์ยังพบว่า ธุรกิจเอกชนที่เป็นธุรกิจขนาดย่อมบริหารงานแบบครอบครัว ประเภทธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก มีลักษณะผลลัพธ์ที่แตกต่างจากธุรกิจขนาดกลางประเภทธุรกิจการผลิตกัน คือมีมิติด้านการดำเนินชีวิตที่มีขีดความสามารถและทักษะการดำรงชีวิตและการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้แต่ไม่ถึงขั้นที่สามารถพัฒนาขีดความสามารถและทักษะทางด้านเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้ สำหรับทุนกายภาพ ด้านมิติทางการเงินพบว่ามีทรัพย์สิน หรือปัจจัยการผลิตที่เพิ่มขึ้นและมิติทางด้านผลกระทบต่อสังคมจะเป็นไปในทางบวกที่สามารถรู้จักใช้ทรัพยากรและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่มากขึ้น สามารถอยู่ได้ด้วยการไม่เป็นหนี้สินมีรายได้เลี้ยงชีวิตและครอบครัวได้ และสามารถขยายกิจการได้ในอนาคต เช่นธุรกิจขนาดย่อมระดับพื้นฐานเป็นธุรกิจแบบครอบครัวประเภทการผลิต ค้าปลีกและการให้บริการประเภทสถานที่พัก นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่าธุรกิจขนาดย่อมที่มีการบริหารจัดการแบบครอบครัวนั้นจะขาดเรื่องมิติของความสุขหรือทุนสังคม คือ ด้านการแลกเปลี่ยนผลผลิต การมีกลุ่มชุมชนหรือเครือข่ายในการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจซึ่งเป็นไปตามลักษณะของธุรกิจขนาดย่อมโดยทั่วไปซึ่งหากสามารถรวมตัวกันอย่างธุรกิจชุมชนได้ก็จะเป็นผลดีต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคต ดังตารางต่อไปนี้

ตาราง ข้อมูลตัวบ่งชี้ด้านผลลัพธ์จากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้

ธุรกิจ

ทุนมนุษย์/

มิติการดำเนินชีวิต

ทุนสังคม/

มิติของความสุข

ทุนสิ่งแวดล้อม/

มิติทางสังคม

ทุนกายภาพ/

มิติการเงิน

ธุรกิจชุมชน

มีขีดความสามารถและทักษะการดำรงชีวิตและการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น

มีกลุ่ม มีชุมชนเครือข่ายที่ช่วยเหลือเกื้อกูล เช่น กลุ่มธุรกิจชุมชน กลุ่มออมทรัพย์

ใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างเข้าใจและประหยัด

มีทรัพย์สินปัจจัยการผลิตที่เพิ่มขึ้น

ธุรกิจเอกชนที่มีชุมชนมีส่วนร่วม

มีการพัฒนาขีดความสามารถและทักษะในการทำงานทางเศรษฐกิจ

มีการกิจกรรมเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมต่างๆ การรวมกลุ่มเพื่อเรียนรู้ การสอนงานให้กับพนักงานและชุมชน

มีกลุ่ม ชุมชนที่ช่วยเหลือเกื้อกูล รับซื้อผลิตภัณฑ์จากชุมชน เช่น กลุ่มธุรกิจชุมชนในพื้นที่

มีการดูแลฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม

มีทรัพย์สินปัจจัยการผลิตที่เพิ่มขึ้น

ธุรกิจเอกชน ขนาดกลาง

มีการพัฒนาขีดความสามารถและทักษะในการทำงานทางเศรษฐกิจ

มีการกิจกรรมเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการช่วยเหลือสังคม การให้ทุนการศึกษา

มีการดูแลฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม

มีผลิตภาพที่สูงขึ้นและไม่ก่อให้เกิดปัญหา

ธุรกิจเอกชน ขนาดย่อม ค้าส่ง

มีขีดความสามารถและทักษะการดำรงชีวิตและการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น

มีการดูแลฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม

มีทรัพย์สินหรือปัจจัยการผลิตที่เพิ่มขึ้น

ธุรกิจเอกชนขนาดย่อม การผลิต

มีขีดความสามารถและทักษะการดำรงชีวิตและการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น

การให้ความรู้กับชุมชน

มีการดูแลฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม

มีทรัพย์สินหรือปัจจัยการผลิตที่เพิ่มขึ้น

ธุรกิจเอกชน ขนาดย่อม การบริการ

มีขีดความสามารถและทักษะการดำรงชีวิตและการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น

ใช้แรงงานในพื้นที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชน ร่วมกับวิทยุชุมชน

มีการดูแลฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม

มีทรัพย์สินหรือปัจจัยการผลิตที่เพิ่มขึ้น

สำหรับผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยพบว่า ธุรกิจที่มีกระบวนการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้มีผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกัน คือผลลัพธ์จากการมีขีดความสามารถและทักษะการดำรงชีวิตและการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพในการทำธุรกิจมีกลุ่ม มีชุมชนเครือข่ายที่ช่วยเหลือ และสามารถใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างเข้าใจและประหยัดและมีทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากการที่ผู้ประกอบการมีเหตุผลในการดำเนินธุรกิจด้วยการเข้าใจถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสม รวมทั้งการจ้างงานในชุมชนใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น ซึ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่มาก รวมทั้งสามารถเข้าใจถึงความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศนอกจากนี้ ในด้านความพอประมาณนั้นผู้ประกอบการสามารถบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้ขนาดของการลงทุนใช้ทรัพยากรอย่างพอดีพอประมาณจึงทำให้ได้ผลลัพธ์ของมิติทางด้านการดำเนินชีวิตหรือมีทุนทางมนุษย์ มีมิติความสุขกับการอยู่ร่วมกับผู้อื่นมีการสร้างเครือข่ายและการอยู่กับชุมชนอย่างเอื้ออาทรรวมทั้งมีมิติทางด้านการเงินที่มีทรัพยากรและปัจจัยที่เกื้อหนุนต่อการดำเนินธุรกิจและการใช้ชีวิตได้เพียงพอและยั่งยืน นอกจากนี้การใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินธุรกิจจะมีผลกระทบต่อสังคมในทางบวกเนื่องจากผู้ประกอบการเข้าใจถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมและการดูแลฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมร่วมกันในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะก่อให้เกิดจิตสำนึกของความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนที่อยู่มากยิ่งขึ้นจะสามารถสร้างคุณภาพชีวิตทั้งในการทำงานและการอยู่ร่วมกันได้






Create Date : 07 ธันวาคม 2558
Last Update : 7 ธันวาคม 2558 9:08:42 น.
Counter : 555 Pageviews.

0 comment
กัญญามน อินหว่าง:การจัดการเปลี่ยนแปลงองค์การ


ลักษณะของการพัฒนาการเปลี่ยนแปลง

คุณลักษณะของการเปลี่ยนแปลงแล้วสามารถสรุปได้ดังนี้

1.การพัฒนาองค์การเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผน และมีจุดมุ่งหมายเพื่อการแก้ปัญหาขององค์การและมีความเกี่ยวข้องกับการวางแผนกลยุทธ์ เพื่อการพัฒนาและระดมทรัพยากรต่างขององค์การ เพื่อใช้ในการเปลี่ยนแปลง โดยจะเป็นการวางแผนในระยะยาวเพื่อรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นหรือป้องกันปัญหา

2.การการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงเป็นกระบวนการที่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งต้องกระทำอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา และต่อเนื่องเพื่อประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและความก้าวหน้าขององค์การ

3.การพัฒนาองค์การเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ มีลักษณะที่สัมพันธ์และเกี่ยวข้องกัน ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงระบบใดระบบหนึ่งก็จะส่งผลกระทบไปทุกระบบ

4.การพัฒนาองค์การการมุ่งเน้นที่การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การโดยที่องค์การสามารถดำเนินการบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ภายใต้การใช้ปัจจัยการผลิตน้อยแต่ได้ผลผลิตมากโดยเปรียบเทียบจากอัตราส่วนระหว่างปัจจัยนำเข้ากับผลงานที่ออกมา

5.การพัฒนาองค์การเป็นการเปลี่ยนค่านิยมพฤติกรรมและการปฏิบัติงานของกลุ่มต่างๆในองค์การมากกว่าการเปลี่ยนแปลงของแต่ละบุคคล ความเชื่อพื้นฐานสำหรับประสิทธิภาพการทำงานขององค์การคือ องค์การจะดำเนินไปได้ ก็โดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากกลุ่มในองค์การในลักษณะต่างๆและยังเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม กระบวนการสื่อสาร และแนวทางปฏิบัติงานของกลุ่มจะช่วยให้องค์การสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

6.การพัฒนาองค์การต้องมีผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agent ) เพื่อแนะนำแนวทางการเปลี่ยนแปลง และนำทางให้บุคลากรในองค์การมีส่วนรวมในการเปลี่ยนแปลง ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะเป็นตัวแทนการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจมาจากภายนอกและภายใน

7.การพัฒนาองค์การจะต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงที่ให้ความสำคัญและจริงใจต่อการพัฒนาองค์การ ผู้บริหารระดับสูงควรมีความตระหนักถึงความผิดชอบที่ควรมีต่อการพัฒนาองค์การ

8.การพัฒนาองค์การเน้นการให้ความรู้ทางด้านพฤติกรรมศาสตร์และใช้กระบวนการพัฒนาองค์การด้านต่างๆเช่น ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการเป็นแม่แบบกลยุทธ์ของการสอดแทรกโดยตรวจสอบวิธีการทำงานขององค์การ วัฒนธรรมขององค์การที่เป็นอยู่ ภาระหน้าที่ของงานรวมทั้งวิธีการต่างๆซึ่งประยุกต์มาจากพฤติกรรมศาสตร์มาใช้ นอกจากนี้ได้มีการนำเทคนิคการสอดแทรกมาพัฒนาองค์การ

9.การพัฒนาองค์การต้องอาศัยข้อมูลขององค์การในระบบเพื่อผู้บริหารได้นำมาตัดสินใจในเรื่องต่างๆต่อไปการรวบรวมข้อมูลสามารถรวบรวมได้จากสมาชิกในองค์การ และจากภายนอกองค์การ

10.การพัฒนาองค์การเน้นความสำคัญของเป้าหมายการวางแผนเป็นการใช้ความพยายามในการกำหนดกลยุทธ์และกลวิธีต่างๆเพื่อให้องค์การประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้วางแผนไว้

11.การพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการที่ใช้ประสบการณ์ของบุคคลากรในองค์การโดยให้สามารถเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาและหาข้อสรุปโดยใช้ความรู้ทฤษฎีและประสบการณ์เป็นพื้นฐาน และเป็นภารกิจที่สำคัญของทุกคนในองค์การ การพัฒนาองค์การให้สำเร็จได้นั้นจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากสมาชิกทุกคนในองค์การ

ความจำเป็นที่ต้องมีการพัฒนาองค์การ

ในการพัฒนาองค์การนั้นมีความจำเป็นต่อธุรกิจในปัจจุบันอย่างยิ่งเนื่องจากโลกในยุคโลกาภิวัน์และการแข่งขันทางธุรกิจที่สูงขึ้นทำให้เกิดแนวทางการแข่งขันในรูปแบบต่างๆมากมายซึ่งสามารถสรุปความจำเป็นต่อการพัฒนาองค์การได้ดังนี้

1. การแข่งขันทางธุรกิจในโลกธุรกิจไร้พรมแดนและการมีคู่แข่งมากขึ้น

2. องค์การขาดการสร้างบรรยากาศในการทำงาน เช่น สภาพแวดล้อมสถานที่ทำงานไม่เหมาะสมต่อการทำงาน

3. บุคลากรขาดประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่มีความรู้ความเข้าใจในระบบการทำงาน ไม่

พัฒนาตนเอง ล้าสมัย

4. บุคลากรมีการเข้าออกจากงานสูง ขาดขวัญกำลังใจ ขาดความสามัคคี

5. ระบบเทคโนโลยีล้าสมัย ทำให้งานล่าช้า ขาดประสิทธิภาพ

6. ต้องการพัฒนาให้เจริญยิ่งขึ้นกว่าเดิม เพิ่มปริมาณและคุณภาพของงาน

7. ความเปลี่ยนแปลงของยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงตามความเจริญของโลก

วัตถุประสงค์หลักของการพัฒนาองค์การ

โดยทั่วไปวัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การในแต่ละองค์การย่อมมีความแตกต่างกันตามสถานการณ์ซึ่งสามารถสรุปวัตถุประสงค์ต่างๆได้ดังนี้

1. เพื่อเพิ่มการทำงานให้มีประสิทธิภาพโดยมีการพัฒนาการมีส่วนร่วมของบุคลากร การคิดค้นเทคนิควิธีการปรับปรุงองค์การอย่างต่อเนื่อง

2. เพื่อให้องค์การมีบรรยากาศที่เหมาะสมกับการทำงาน พัฒนาปรับปรุงองค์การให้ทันสมัย มีความยืดหยุ่นในการปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพงานทุกลักษณะ

3. เพื่อให้องค์การสามารถวางเป้าหมายในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

4. เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีทัศนคติแบบร่วมมือร่วมใจตอการแก้ปัญหาและการมีส่วนร่วมใน

การตัดสินปัญหาขององค์การร่วมกันและเพื่อขจัดข้อขัดแย้งในด้านการสื่อสารทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ

5. เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพที่ดีในการทำงานมีความมั่นคงและปลอดภัย และเพื่อการสร้างขวัญกำลังใจต่อบุคลากรในองค์การ

6. เพื่อประสานเป้าหมายส่วนบุคคลและเป้าหมายขององค์การร่วมกัน โดยการส่งเสริมให้

บุคคลทุกระดับขององค์การวางแผนปฏิบัติงานโดยมุ่งยึดถือเป้าหมายหลักและวัตถุประสงค์รวมขององค์การเป็นแนวทาง

องค์ประกอบในการพัฒนาองค์การ

1. ผู้บริหารระดับสูงควรให้ความสำคัญอย่างแท้จริง โดยให้การสนับสนุน และพร้อมที่จะเริ่มกระบวนการพัฒนาองค์การ

2. บุคลากรในองค์การควรมีความรู้ความเข้าใจในการทำงานเป็นทีม โดยการให้บุคลากรเข้ารับการอบรม สัมมนา เพื่อความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง ควรสร้างทัศนคติที่ดีต่อการทำงานร่วมกัน

3. บุคลากรควรมีความร่วมมือร่วมใจอย่างแท้จริงในการพัฒนาองค์การ เพราะการพัฒนาองค์การต้องใช้ระยะเวลา ความตั้งใจ และความอดทน

ถึงอย่างไรก็ตามการพัฒนาองค์การเป็นเพียงแนวความคิดทางการบริหารอย่าหนึ่งที่ช่วยให้องค์การกลายเป็นหน่วยงานที่มีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ การพัฒนาองค์การเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ช่วยในการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ การแสวงหาแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างขององค์การแนวใหม่ ให้มีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ เน้นการนำความรู้ความสามารถในการบริหารมาใช้แก้ไขปัญหาให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงองค์การปัจจุบัน

สภาพการณ์ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์การเพื่อการเปลี่ยนแปลง

สภาพการณ์ของแต่ละองค์การย่อมมีความแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมภายนอกและภายในที่เป็นปัจจัยสำคัญ ผู้บริหารควรวิเคราะห์ทำความเข้าใจกับสภาพการณ์ต่างๆเพื่อสามารถนำกลยุธ์ต่างๆมาใช้ให้เหมาะสมกับการพัฒนาองค์การ สภาพการณ์ในองค์การที่ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์การมีดังนี้

1. สภาพการณ์ที่ต้องเปลี่ยนยุทธศาสตร์ในด้านการจัดการ(Managerial strategies) เช่น การปรับปรุงแก้ไขเรื่อง เทคนิค กระบวนการในการปฏิบัติงาน ระบบการสั่งการ การสื่อสารและการจูงใจ เป็นต้น โดยองค์การจำเป็นต้องมีการวางแผนเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ

2. สภาพการณ์ที่ต้องสร้างบรรยากาศขององค์การที่ดีเพื่อสนองความต้องการของบุคลากร และเพื่อสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการพัฒนาองค์การ

3. สภาพการณ์ในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ ซึ่งวัฒนธรรมที่เป็นอยู่เติมไม่สามารถใช้ได้กับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เช่นการบริหารแบบครอบครัวไม่เหมาะสมกับสภาพการแข่งขันในปัจจุบัน แม้ว่าในอดีตจะประสบความสำเร็จก็ตาม หรือการเปลี่ยนแปลงทัศนคติค่านิยมของบุคลากรในด้านการพัฒนาองค์การ

4. สภาพการณ์ในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและบทบาทต่างๆในองค์การ สิ่งที่ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญอีกประการ คือ โครงสร้างและการกำหนดบทบาทที่ไม่เหมาะสมในปัจจุบัน เนื่องจากการแบ่งหน้าที่การทำงานไม่ชัดเจน สับสนซึ่งเป็นปัญหาสำคัญขององค์การ

การนำแนวคิดมาใช้เพื่อการพัฒนาองค์การ

แนวความคิดในการพัฒนาองค์การเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบที่ประกอบขึ้นเป็นองค์การ เป็นการพัฒนาองค์การที่ต่อเนื่องโดยเน้นการฝึกทักษะด้านการกำหนดวัตถุประสงค์และการวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลงโดยใช้แม่แบบของฐานข้อมูลมาอธิบายสภาวะ สถานการณ์ขององค์การและการใช้แม่แบบการวิจัยเชิงแก้ปัญหา นำกระบวนการพัฒนาองค์การสามขั้นมาใช้คือ การวิเคราะห์ การสอดแทรก และการประเมินผล ซึ่งโดยทั่งไปแล้วการพัฒนาองค์การจะเริ่มเมื่อผู้บริหารหรือบุคลากรที่สำคัญที่สำคัญภายในองค์การเชื่อว่าเกิดปัญหาข้อบกพร้องภายในองค์การที่บริหารงานอยู่ นอกจากนี้การพัฒนาองค์การยังให้ความสำคัญกับการป้อนกลับการสำรวจเพื่อประเมินทัศนคติของบุคคล การอบรมร่วมความรู้สึก การฝึกอบรมแบบกริด โครงการคุณภาพชีวิตการทำงาน และการสรางทีมงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งองค์การอาจจะเปลี่ยนแปลงการออกแบบองค์การใหม่ หรือองค์การอาจแปรสภาพ เปลี่ยนระดับการกระจายอำนาจ ขนาดการควบคุม การจัดระบบงาน และนำวิธีการประสานงานใหม่มาใช้เพื่อพัฒนาองค์การ

Wendell L. French and Cecil H.Bell ได้อธิบายถึงองค์ประกอบของระบบย่อยในองค์การที่ต้องพัฒนาระบบย่อยๆทั้งหมดนี้ หากพัฒนาหรือปรับปรุงเพียงระบบใดระบบหนึ่งก็จะทำให้เกิดปัญหาได้ ระบบย่อยต่างๆมีดังนี้

1. ระบบย่อยด้านเป้าหมาย องค์การถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย มีเป้าหมายของตัวเอง เช่น เป้าหมายของบริษัทคือ ความเจริญเติบโต และผลกำไร เป้าหมายของโรงพยาบาลเพื่อ สุขภาพของชุมชน เป้าหมายของสถาบันการศึกษาเพื่อ ให้ความรู้ให้การศึกษาแก่เยาวชน เป็นต้น

2. ระบบย่อยด้านคน ประกอบด้วยทักษะและความสามารถของสมาชิกในองค์การภาวะความเป็นผู้นำในองค์การ ความเป็นทางการในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และความไม่เป็นทางการในองค์การในองค์การพฤติกรรมความขัดแย้ง การรวมกลุ่ม ทัศนคติ วัฒนธรรมองค์การ และสถานภาพของสมาชิกในองค์การ

3. ระบบย่อยด้านเทคโนโลยี ประกอบด้วย เครื่องมือเครื่องจักร วิธีและกระบวนการทำงานรวมถึงความรู้และวิทยาการสมัยใหม่ซึ่งองค์การนำมาใช้แปรทรัพยากรต่างๆให้ออกมาเป็นผลผลิต หรือบริการต่างๆตามความต้องการของระบบย่อยด้านเป้าหมาย

4. ระบบย่อยด้านงาน ประกอบด้วยงานทั้งหมดที่องค์การดำเนินการ จะพบว่าระบบย่อยนี้มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับระบบย่อยด้านเทคโนโลยีเนื่องจากมีการใช้เครื่องมือและเครื่องจักรในการปฏิบัติงาน

5. ระบบย่อยด้านโครงสร้าง ประกอบด้วย แผงผังการปฏิบัติงานขององค์การ ระเบียบต่างๆของระบบ สายการบังคับบัญชา การสื่อสาร การจัดการต่างๆระบบย่อยนี้สัมพันธ์กับระบบย่อยด้านเทคโนโลยีและด้านงาน

6.ระบบย่อยด้านการประสานกับสิ่งแวดล้อมอื่นๆเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูลกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ ซึ่งสิ่งแวดล้อมต่างๆจะมีผลกระทบต่อองค์การ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น องค์การคู่แข่ง ลูกค้า หน่วยงานทางราชการ เจ้าของกิจการ สหภาพแรงงาน วัฒนธรรมของสังคมต่างๆเป็นต้น

แนวความคิดในการพัฒนาองค์การในปัจจุบันให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์การเชิงระบบ เพราะการเปลี่ยนแปลงของโลก และสิ่งแวดล้อมต่างๆย่อมมีผลกระทบต่อองค์การอย่างหลีเลี่ยงไม่ได้ ผู้บริหารจึงต้องวางแผนไว้ล่วงหน้าอย่างมีระบบ เพื่อให้องค์การมีโอกาสปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม โครงสร้าง ทัศนคติ พฤติกรรมต่างๆที่มีอิทธิพลต่อความเปลี่ยนแปลงขององค์การ

นอกจากนี้ได้มีแนวความคิดในเรื่องทฤษฎีการจัดการของ Burns&Stalker (1961)เกี่ยวกับองค์การลักษณะระบบปิดและระบบเดิมมาใช้เพื่อการพัฒนาองค์การโดยเปลี่ยนจากองค์การระบบปิด ซึ่งเป็นองค์การแบบราชการของ Max Weber มีลักษณะการบังคับบัญชาแบบลำดับชั้น มีการแบ่งงานตามความชำนาญ เน้นอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ เน้นหลักการ มีโครงสร้างแบบปิระมิด สื่อสารแบบ One way communication เน้นงานมากกว่าเน้นคน มาสู่องค์การระบบเปิดซึ่งถือว่าตรงข้ามระบบปิด เพราะเป็นองค์การที่ไม่เป็นทางการ ถือความสำคัญของคนเป็นหลัก เน้นการทำงานเป็นทีม ใช้ความชำนาญพิเศษในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ทำงานเป็นทีมเน้นความสำเร็จของงานมีโครงสร้างแบบแนวราบ ความรู้ความสามรถอยู่ที่ผลงาน มีการสื่อสารแบบหลายทาง กล่าวได้ว่าองค์การระบบเปิดเป็นองค์การที่สนองแนวความคิดในด้านการพัฒนาองค์การอย่างมากทั้งยังเป็นองค์การสมัยใหม่อย่างแท้จริง

แนวความคิดในการพัฒนาองค์การนั้นต้องกระทำอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงในทุกระบบย่อยขององค์การพัฒนาปรับปรุงทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพทั้งในด้านจิตใจ ร่างกาย เทคนิควิทยาการ โดยเน้นที่การวางแผน การมีส่วนร่วมของทุกคนในองค์การ มีความรู้ในเรื่องที่ต้องพัฒนา สมาชิกในองค์การมีความสามารถที่จะพัฒนาทีมงานให้มีประสิทธิภาพและสามารถทำงานเป็นทีมได้ ผู้บริหารทุกระดับต้องให้ความร่วมมืออย่างจริงใจและผูที่พัฒนาควรมีความรู้สึกถึงความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาองค์การ เพราะการพัฒนาองค์การต้องอาศัยระยะเวลานานในการพัฒนาองค์การควรเริ่มปรับปรุงพัฒนาด้านจิตใจให้บุคคลในองค์การยอมรับการพัฒนา ผู้ที่ทำการพัฒนาองค์การจะต้องมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานร่วมกับผู้อื่น และพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การสามารถช่วยให้ผู้บริหารแก้ไขปัญหาที่สำคัญในปัจจุบัน3 อย่างคือ

1. ผลของการเงินที่ๆไม่เป็นไปตามเป้าหมายเนื่องจากการรวมบริษัทการซื้อบริษัทสาเหตุเนื่องจากผู้บริหารไม่สามารถพิจารณาแบบการบริหารและวัฒนธรรมขององค์การนั้นๆได้

2. การตกต่ำและการฟื้นฟูองค์การ ซึ่งเป็นปัญหาจากการที่บริษัทต้องประสบกับปัญหาการขาดแรงจูงใจของบุคลากร การขาดความเชื่อใจ การเข้าออกจากการสูง และระดับของความขัดแย้งที่สูงภายในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ

3. การบริหารความขัดแย้ง ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงพัฒนาองค์การผู้บริหารจะต้องรู้จักวิธการเพื่อไม่ให้มีการขัดแย้งจนทำให้เกิดความเสียหาย

องค์ประกอบของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การเป็นสิ่งที่กระทำอย่างมีระเบียบแบบแผนมีขั้นตอน มีแม่แบบที่จะสามารถศึกษาได้ว่าสภาพขององค์การในขณะนี้เป็นเช่นไร และสภาพที่ต้องการในอนาคตควรจะเป็นในทิศทางใดเพื่อจะสามารถใช้กลยุกธ์ในการบริหารจัดการให้องค์การสามารถอยู่รอดได้ การพัฒนาองค์การจำเป็นต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ3 ด้าน เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาองค์การ ดังนี้

1. การวิเคราะห์ (Analysis) และการตรวจวินิจฉัยปัญหาขององค์การ การพัฒนาองค์การจะเริ่มต้นที่การวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน เละความสนใจไปที่ความเชื่อ ค่านิยมและบรรทัดฐานของบุคคลภายในองค์การ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพปัจจุบันขององค์การ ปัญหาต่างๆตลอดรวมถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จ การวิเคราะห์และการตรวจวินิจฉัยจะต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหาร หรือผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง อาจใช้วิธีการหลายอย่างรวบรวมข้อมูล เช่น การประเมินบันทึก การสัมภาษณ์ แบบสอบถาม สังเกตเอกสารต่างๆ การวิเคราะห์แต่ละอย่างสามารถสร้างความสมดุลระหว่างจุดแข็งจุดอ่อนของวิธีที่แตกต่างกัน การวิเคราะห์และการตรวจวินิจฉัยทำให้เห็นปัญหาที่ซ่อนอยู่ในองค์การได้อย่างดี

2. การสอดแทรก(Intervention) หลังจากที่วิเคราะห์ปัญหาแล้ว การสอดแทรก

ของกลยุธ์การเปลี่ยนแปลงจะถูกวางแผนและดำเนินการ เพื่อมุ่งปรับปรุงแก้ไขปัญหาของกระบวนการต่างๆที่ได้วิเคราะห์เพื่อหาคำตอบในการพัฒนาองค์การต่อไป การสอดแทรกจะมุ่งมี 3 ระดับคือ

1.2.1 มุ่งที่ระดับบุคคลโดยเน้นการฝึกอบรมร่วมความรู้สึก(กลุ่มที เป็นการประชุมที่บุคคลจะเรียนรู้ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและเพิ่มความรู้สึกร่วมกับผู้อื่น) การฝึกอบรมทางบริหาร การเจรจาต่อรองบทบาท หารออกแบบงานใหม่ การวางแผนอาชีพงาน

1.2.2 มุ่งที่กลุ่ม ในการพัฒนาองค์การกลุ่มจะมีความสำคัญมากเพราะกลุ่มเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้บุคคลตอบสนองความต้องการที่สำคัญได้ โดยการสร้างทีมงาน การให้คำปรึกษาเชิงกระบวนการ การสร้างทีมสัมพันธ์

1.2.3 มุ่งที่องค์การ วัฒนธรรมขององค์การจะถูกพิจารณาว่ามีผลกระทบที่สำคัญต่อทัศนคติ และขวัญกำลังใจของบุคคล โครงสร้าง งานจะถูกออกแบบเพื่อรวมบุคคลเทคโนโลยีและระบบเข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้เทคนิคต่างๆ ดังนี้

- การป้อนกลับการสำรวจ มีการรวบรวมข้อมูลอย่างกว้างและเป็นระบบเพื่อศึกษาทัศนคติและความต้องการของบุคคล วิเคราะห์ผลลัพธ์ และวางแผนการกระทำที่เสริมสร้างองค์การ

- การใช้วิธีการประชุมเผชิญหน้า ซึ่งเป็นการรวมข้อมูลของปัญหาวิเคราะห์ผลลัพธ์ และวางแผนการกระทำที่เสริมสร้าง การออกแบบโครงสร้าง เพื่อตอบสนองความต้องการของแรงกดดันทางภาพแวดล้อม

- การบริหารโดยเน้นวัตถุประสงค์ (MBO) เป้าหมายขององค์การ หน่วยงานบุคคลจะถูกเชื่อมโยงระหว่างกันอย่างชัดเจน

- การบริหารในรูปแบบอื่นๆที่เหมาะกับสภาพการณ์ในการพัฒนาองค์การเช่น การทำ 5 / การทำ TOM / การทำ ISO 14000 / ISO 18000 / reengineering การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้(Learning Organization) เป็นต้น

การสอดแทรกของการพัฒนาองค์การจะชี้ให้เห็นว่าการสอดแทรกหลายแบบรวมกันจะทำให้เกิดมีประสิทธิภาพภายในด้านการปรับปรุงทัศนคติและความพึงพอใจของบุคคลมากกว่าการสอดแทรกอย่างเดียว นอกจากนี้การสร้างทีมงานจะเป็นการสอดแทรกที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดภายในองค์การ

3. การประเมินผล ( Evaluation) ผู้บริหารจะต้องจะต้องตรวจสอบประสิทธิภาพ

ของการพัฒนาองค์การ เนื่องจากการพัฒนาองค์การจะมุ่งที่การเปลี่ยนแปลงระยะยาว การประเมินผลทำให้ทราบว่าการพัฒนาองค์การดำเนินไปในทางทิศทางใด ข้อมูลต่างๆที่ต้องการเปลี่ยนแปลงควรจะถูกรวบรวมก่อนที่จะพัฒนาองค์การจะเริ่มต้น และข้อมูลต่างๆต่างๆนั้นจะถูกใช้เป็นมาตรฐาน เพื่อนำมาประเมินประสิทธิภาพของการสอดแทรกภายหลัง

กลวิธีในการสอดแทรกเพื่อการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การที่จะให้เกิดผลสำเร็จได้ ผู้บริหารควรนำกลวิธีการสอดแทรกเข้ามาใช้เพื่อแก้ปัญหาการขัดที่เกิดขึ้น กลวิธีการสอดแทรกเข้ามาใช้เพื่อแก้ปัญหาการขัดแย้งในองค์การมีกลวิธีต่างๆดังนี้

1. การป้อนกลับการสำรวจ( SurveyFeedback)

การป้อนกลับการสำรวจเป็นวิธีการประเมินทัศนคติของบุคคลเป็นการระบุความแตก

ต่างด้านการรับรู้ของบุคคล การป้อนกลับการสำรวจจะดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ

- การรวบรวมข้อมูล จากเรื่องต่างๆเช่น ลักษณะความเป็นผู้นำ ความพึงพอใจ

ในงาน บรรยากาศขององค์การ โดยการใช้การสอบถามสังเกต สัมภาษณ์ กระบวนการนี้มักกระทำโดยที่ปรึกษานอก

- การป้อนกลับ เป็นการรายงานข้อมูลไปยังที่ประชุมกลุ่มโดยทั่วไปเป็นการสรุปทัศนคติที่ถูกประเมิน และมีการอภิปรายกลุ่มย่อยถึงเหตุผลที่ประเมินได้

- การพัฒนาแผนการกระทำ เป็นการวิเคราะห์ปัญหาของการติดต่อสื่อสารการตัดสินใจ และกระบวนการอื่นๆขององค์การเพื่อการวางแผนจดการต่อไป

วิธีการป้อนกลับการสำรวจจะสามารถรวบรวมข้อมูลได้รวดเร็ว คล่องตัว สามารถ

ปรับเข้ากับองค์การที่แตกต่างกันได้ บุคคลภายในองค์การจะได้รับการกระตุ้นให้มีส่วนร่วมการวิเคราะห์ข้อมูล และการวางแผนการกระทำที่เหมาะสม มีการสนับสนุนความสัมพันธ์ที่ดีต่อเป้าหมายขององค์การและกระตุ้นการพัฒนาส่วนบุคคลด้วย การสำรวจวัตถุประสงค์พื้นฐานของการป้อนกลับการสำรวจคือ การปรับปรุงความสัมพันธ์ของสมาชิกทีมหรือระหว่างแผนกให้ดีขึ้น ด้วยการอภิปรายปัญหาร่วมกัน ทุกคนในองค์การจะทราบข้อสรุปของการตอบสนองทั่วทั้งองค์การการอภิปรายแก้ปัญหาจะมีขึ้นเพื่ออภิปรายข้อมูลป้อนกลับ

วิธีการได้รับข้อมูลป้อนกลับของบุคลากรในองค์การ มีดังนี้

ก. ทุกคนได้รับเกือบพร้อมกัน

ข. จากการประชุมทีมผู้บริหารระดับสูง ตามด้วยประชุมระดับต่ำตามลำดับ

ค. การประชุมทีมจากระดับต่ำสุดก่อน วิธีการแบบล่างขึ้นบน

วิธการป้อนกลับจะไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานภายในการออกแบบองค์การ การออกแบบงานเทคโนโลยี วัฒนธรรม หรือกลยุทธ์ แต่จะช่วยนำปัญหาขึ้นมาให้ชัดเจนขึ้น และชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลงในที่สุด

2. การฝึกอบรมร่วมความรู้สึก

การอบรมร่วมความรู้สึก หมายถึง ความรู้สึกไวต่อตัวเองและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นซึ่งผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงสามารถใช้การฝึกอบรมเพื่อช่วยให้บุคคลปรับปรุงทักษะทางเทคนิค การตัดสินใจ การวางแผน หรือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การฝึกอบรมร่วมความรู้สึกเป็นวิธีอย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยเกี่ยวพันระหว่างกันของกลุ่ม มีผู้เชี่ยวชาญนำกลุ่มมีการเปิดเผยความรู้สึกกันโดยการอภิปรายตัวเอง กลุ่มจะมุ่งกระบวนการที่บุคคลต้องเรียนรู้ด้วยการสังเกตและการมีส่วนร่วม ผู้ดำเนินการอบรมจะสร้างโอกาสให้บุคคลได้แสดงความคิด ความ รู้สึก ความเชื่อและทัศนคติของตนเอง

การฝึกอบรมความรู้สึกจะทำให้บุคคลตระหนักถึงตัวเองและสิ่งที่จะกระทบต่อผู้อื่น

มากขึ้น เป็นลักษณะของการเปิดตา เปิดใจให้บุคคลได้มองตัวเองและผู้อื่นว่าอย่างไร แล้วตัดสินใจว่าคุณต้องการเปลี่ยนแปลงอะไร ไปในทิศทางใดต่อไป

3. การสร้างทีม ( TeamBuilding )

การสร้างทีมเป็นการประยุกต์ใช้การอบรมร่วมความรู้สึกกับกลุ่ม เป็นวิธีการที่ให้กลุ่มได้วิเคราะห์ว่าทุกคนจะทำงานด้วยกันอย่างไร การสร้างทีมจะเริ่มต้นเมื่อสมาชิกของกลุ่มยอมรับว่าพวกเขากำลังมีปัญหาอยู่ และทำการรวบรวมปัญหาต่างๆเพื่อความเข้าใจปัญหา ดูจุดอ่อน จุดแข็งของปัญหาปัญหาต่างๆอาจมาจากการอบรมร่วมหรือการป้อนกลับการสำเร็จ ต่อจากนั้นจึงหาวิธีการเปลี่ยนแปลง และดำเนินการเปลี่ยนแปลงตามแผนที่วางไว้ จากนั้นจึงทำการประเมินผลการดำเนินงานเพื่อดูว่าปัญหาต่างๆได้ถูกแก้ไขมากน้อยเพียงใด

การสร้างทีมเป็นการสอดแทรกของการพัฒนาองค์การย่างหนึ่งที่ช่วยให้ทีมดำเนินงานได้

อย่างดี ด้วยการทดสอบและปรับปรุงโครงสร้างของความเป็นผู้นำ การติดต่อสื่อสาร การบริหารความขัดแย้งต่างๆ และความพอใจของสมาชิก การสร้างทีมงานมุ่งที่การแก้ไขปัญหาภายในแผนงานจะเริ่มต้นจากการรับรู้ปัญหา มีการรวบรวมปัญหาเพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของปัญหา มีการวางแผนและกำหนดวิธีการแก้ปัญหา แล้วจึงดำเนินการแก้ไขปัญหา หลังจากนั้นจึงทำการประเมินผลอย่างเปิดเผย

การสร้างทีมงานมุ่งที่ความรู้สึกและทัศนคติของสมาชิกในกลุ่ม มุ่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ระหว่างกลุ่ม เพื่อสามารถปรับปรุงผลการปฏิบัติงานของกลุ่มให้ดีขึ้น ปรับปรุงวิถีทางของการทำงานร่วมกันการสร้างทีมงานสามารถทำให้การขาดงานลดลง ข้อบกพร่องจากชิ้นส่วนการทำงานลดลง ต้นทุนการผลิตลดลงด้วย เช่น ทีมงานของไครสเลอร์ คอร์ปอเรชั่น เป็นต้น การสร้างทีมงานยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องโดยการฝึกอบรมระหว่างกลุ่ม (Intergroup Training ) เพื่อการปรับปรุงผลการดำเนินงานขององค์การด้วยการมุ่งกิจกรรมและผลผลิตร่วมระหว่างหน้าที่ด้วยการประสานงานระหว่างหน้าที่ต่อการบริหารคุณภาพโดยส่วนรวม ถือว่าการฝึกอบรมรมระหว่างกลุ่มเป็นการสอดแทรกอย่างหนึ่งของการพัฒนาองค์การ ที่องค์การสามารถได้ประโยชน์อย่างมากส่วนใหญ่แล้วผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงจะใช้วิธีการอบรมที่เรียกว่าการเป็นกระจกส่องขององค์การ Organizational Mirroring เป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพของกลุ่มที่ขึ้นอยู่ระหว่างกันโดยการค้นหาปัญหาความจริง สำรวจการรับรู้ของบุคคล กลุ่ม เพื่อไปสู่เป้าหมายขององค์การ

4. การฝึกอบรมแบบกริด

การฝึกอบรมแบบกริดมาจากสมมติฐานที่ว่าปัญหาขององค์การส่วนใหญ่จะเกิดจากการติดต่อสื่อสารที่ไม่ดีและขาดการวางแผน โดยนักทฤษฎี เบรกและมูตัน( Bleak and Mouton ) มองลักษณะการบริหารของผู้นำรูปของสถานการณ์ต่างๆการฝึกอบรมแบบกริดทำให้ผู้บริหารวิเคราะห์สไตล์การบริหารของตนเองได้ โดยมีการแบ่งลักษณะการบริหารออกเป็นตาข่ายดังนี้

1.9 9.9

เน้นคน เน้นทีมงาน

5.5

สายกลาง

เรื่อยเฉื่อย เน้นงาน

1.1 9.1

การอบรมแบบกริดจะสามารถช่วยให้ผู้บริหารวิเคราะห์สไตล์การบริหารของตนได้ ทำให้

ผู้บริหารสามารถรู้ได้ว่าตนมีลักษณะการบริหารที่เน้นคน หรือเน้นงาน การฝึกอบรมจะเริ่มต้นด้วยการปรับปรุงการมุ่งงาน โดยใช้ทักษะการวางแผนและการมุ่งคนจะใช้ทักษะการติดต่อสื่อสารเข้ามาปรับปรุง เพื่อจะนำไปสู่การบริหารแบบทีงานในที่สุด( 9.9 ) เน้นทั้งงาน

ขั้นตอนการอบรมแบบกริด มีดังนี้

1. การสัมมนาเรื่องกริด มีจุดมุ่งหมายเพื่อแนะนำแนวความคิดและเอกสารที่จะนำมาใช้ในการอบรม ในการสัมมนาจะมีโครงสร้างและมุ่งสไตล์ความเป็นผู้นำมากกว่าการเข้าใจตนเอง

2. การพัฒนาทีมงาน เป็นการอรมเพื่อชี้ให้เห็นว่าผู้รับการอบรมจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่9.9 ได้อย่างไร โดยการใช้ประสบการณ์จริงเข้ามาอบรม

3. การพัฒนาระหว่างกลุ่ม เป็นการเริ่มต้นพัฒนาองค์การโดยส่วนรวม เป็นการพัฒนาระดับย่อยของการพัฒนาบุคคลและกลุ่มสู่ระดับการพัฒนาองค์การในขั้นนี้จะมีการนำกรณีศึกษาในด้านความขัดแย้งเข้ามาวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหา

4. การกำหนดเป้าหมายขององค์การ โดยการใช้วิธีการบริหารแบบเน้นเป้าหมายให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์

5. การบรรลุเป้าหมาย ทุกคนจะปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทุกคนจะอภิปรายเรื่องที่สำคัญขององค์การร่วมกัน

6. การสร้างความมั่นคงโดยการประเมินผลจากที่ปฏิบัติในทุกขั้นตอน เพื่อปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น ขั้นตอนทั้ง 6 ขั้นนี้ใช้ระยะเวลาประมาณ 3-5 ปีเพื่อดำเนินการ

จากองค์ประกอบของการพัฒนาองค์การดังที่กล่าวแล้ว ยังพบว่าการพัฒนาองค์การจะ

ประสบความสำเร็จได้ จำเป็นต้องมีปัจจัยต่อไปนี้เพื่อการพัฒนาองค์การที่มีประสิทธิภาพ

1. นักปฏิบัติการ เป็นกลุ่มบุคคลในองค์การ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจกรรมการทำงานด้านการพัฒนาองค์การนักปฏิบัติที่นำมาจากภายในองค์การเรียกว่าผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงภายใน และผู้ที่นำมาจากภายนอกองค์การมาเป็นผู้ช่วยเหลือ เช่น ที่ปรึกษาด้านการบริหาร เป็นต้น

1. ผู้รับบริการ คือ กลุ่มบุคคลหรือหน่วยงานต่างๆในองค์การ ซึ่งต้องการรับบริการจากผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง

3. งานหรือแผนงานพัฒนาองค์การ คือกิจกรรมทั้งหมดในการพัฒนาองค์การ ซึ่งต้องสร้างเป็นแม่แบบขึ้นมา มีการกำหนดรายละเอียดของกิจกรรมต่างๆที่ได้วางแผนระบุไว้ ในส่วนของใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่าง เมื่อไร รวมทั้งงานที่ยังไม่ได้วางแผนด้วย

4. ทฤษฎีการพัฒนาองค์การ คือการที่นักปฏิบัติการพัฒนาองค์การการได้เรียนรู้และนำเอาทฤษฎีการพัฒนาองค์การต่างๆมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบรรยากาศและสภาพแวดล้อมขององค์การของตน

5. ผู้ประเมินผลเป็นเจ้าหน้าที่ชั้นสูงที่ได้รับการแต่งตั้งเข้ามารับผิดชอบในด้านการ

ประเมินผลเพื่อความถูกต้อง เพื่อความเชื่อถือ และเพื่อประโยชน์ในการสนับสนุนให้โครงการพัฒนาองค์การได้บรรลุเป้าหมาย

กระบวนการพัฒนาองค์การ

องค์การต่างๆย่อมมีปัญหาที่แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม สถานการณ์ ผู้บริหารจำ

เป็นต้องหาแนวทางเพื่อทำให้องค์การของตนอยู่รอด และสามารถแข่งขันกับองค์การอื่นได้ ทั้งยังสามารถพัฒนาได้ตามกระแสของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างดี กระบวนการในการพัฒนาองค์การเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาองค์การ เพราะกระบวนการพัฒนาองค์การเป็นขั้นตอนในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อวางแผนการเปลี่ยนแปลงระบบและกระบวนการต่างๆขององค์การ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาขององค์การและเพื่อความเจริญก้าวหน้าขององค์การกระบวนการพัฒนาองค์การมีหลายแบบเพราะองค์การแต่ละองค์การย่อมมีสภาพของปัญหาที่แตกต่างกัน ฉะนั้นผู้บริหารควรเลือใช้กระบวนการพัฒนาองค์การที่แตกต่างกันมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ต่างๆขององค์การกระบวนการพัฒนาองค์การ มีดังนี้

1. กระบวนการพัฒนาองค์การโดยใช้แม่แบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ( Action

Research Model) เป็นการดำเนินการต่อเนื่องกันอย่างเป็นระบบ สามารถลดความรุนแรงของการต่อต้านลงได้เพราะเปิดโอกาสให้บุคคลแต่ละฝ่ายมีส่วนร่วมในกี่พัฒนา มีขั้นตอนการพัฒนา 5 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอน1 การรับรู้ปัญหา เป็นภาระหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงซึ่งมีอำนาจในการตัด

สินใจรับรู้ถึงปัญหาต่างๆในองค์การ และมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนา ปรับปรุงองค์การให้อยู่รอดต่อไป ปัญหาต่างๆเช่น อัตราการลาออกของพนักงานสูง ความขัดแย้งระหว่างพนักงาน พนักงานขาดขวัญกำลังใจในการทำงาน ปัญหางานล่าช้า การบริหารขาดประสิทธิภาพ เป็นต้น

ขั้นตอน2 การเก็บรวบรวมและตรวจวินิจฉัยข้อมูลเบื้องต้น ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง

หรือที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การจะเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบที่เป็นอยู่ในการเก็บรวบรวมอาจใช้การสัมภาษณ์ แบบสอบถาม การสังเกต บันทึกการทำงาน แล้วจึงนำมาตั้งสมมติฐานหาสาเหตุของปัญหาต่างๆเพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติต่อไป

ขั้นตอน3 การให้ข้อมูลป้อนกลับและการวินิจฉัยร่วมกัน ที่ปรึกษาจะเป็นผู้ให้ข้อมูลที่ได้รวบรวมมากับกลุ่มผู้บริหารและผู้ทำการพัฒนา แล้วจึงนำมาการตรวจวินิจฉัยปัญหาร่วมกัน

ขั้นตอน4 การวางแผนและปฏิบัติร่วมกัน ผู้บริหารกับที่ปรึกษาจะทำการตกลงร่วมกันในเรื่องการกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การและแนวทางที่จะทำให้การทำงานบรรลุวัตถุประสงค์แล้วจึงลงมือปฏิบัติตามแผน

ขั้นตอน5 การเก็บรวบรวมข้อมูล และตรวจวินิจฉัยข้อมูลใหม่อีกครั้งหลังจากได้ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้แล้วที่ปรึกษาทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลป้อนกลับสู้กลุ่มบุคคลหรือหน่วยงานย่อยต่างๆภายในองค์การ ซึ่งจะนำไปสู้การวินิจฉัยใหม่ ทำให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงใหม่ขึ้นตลอดเวลา

กระบวนการพัฒนาองค์การโดยใช้แม่แบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ผู้บริหารระดับ

สูงจะต้องเป็นผู้ยอมรับปัญหาแล้วนำไปยังที่ปรึกษาหรือผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีการปรึกษาหารือร่วมกัน และร่วมมือกันวางแผนการดำเนินงานซึ่งถือว่าเป็นหัวใจของกระบวนการพัฒนาองค์การโดยใช้แม่แบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้อย่างมาก

2. กระบวนการพัฒนาองค์การโดยใช้แม่แบบการแก้ปัญหา( Problem –

Solving Model ) มีขั้นตอนในการพัฒนา 6 ขั้นตอน คือ

ขั้นตอน1 การตระหนักรับรู้ปัญหา เป็นการรับรู้และยอมรับว่าเกิดปัญหาขึ้นในองค์

การและจำเป็นต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น

ขั้นตอน2 การรวบรวมข้อมูล เป็นการแสวงหาข้อจริงเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ โดยใช้เทคนิควิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลหลายอย่าง เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม

ขั้นตอน3 การตรวจวินิจฉัยปัญหาองค์การ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆที่รวบรวมมาได้เพื่อชี้ให้เห็นสภาพขององค์การที่เป็นอยู่จริงในปัจจุบัน และสภาพที่องค์การต้องการจะเป็นในอนาคต

ขั้นตอน4 การวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลงองค์การ เป็นการกำหนดเป้าหมายหรือทิศทางที่ต้องการเปลี่ยน การเลือกวิธีที่จะใช้

ขั้นตอน5 การใส่สิ่งสอดแทรก หรือการดำเนินการเปลี่ยนแปลงองค์การ เป็นการนำแผนการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างไปปฏิบัติ

ขั้นตอน6 การประเมินการเปลี่ยนแปลงองค์การ เป็นการตรวจสอบสิ่งที่ทำการเปลี่ยนแปลงว่าเป็นเช่นไร

3.กระบวนการพัฒนาองค์การโดยใช้แม่แบบการสร้างทีมงาน(TeamBuilding

Model) Keith Davidand John W.Newstrom ,1985 :262 ได้กล่าวว่า

ขั้นตอน 1 การวินิจฉัยเบื้องต้น ผู้บริหารระดับสูงและที่ปรึกษาร่วมดำเนินวินิจฉัยกำหนดการพัฒนาองค์การในจุดที่ต้องการเปลี่ยนแปลงทุกระบบ เช่น การวินิจฉัยโครงสร้างหน้าที่ขององค์การ การวินิจฉัยพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ ความสำคัญของการวินิจฉัยอยู่ที่เทคนิคและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความถูกต้อง เชื่อถือได้

ขั้นตอน2 การรวบรวมข้อมูล ที่ปรึกษาต้องเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้ง หมดเพื่อนำมาวินิจฉัยต่อไป ที่ปรึกษาต้องเข้าไปสร้างสัมพันธ์กับบุคคลกลุ่มต่างๆเพื่อรวมรวบคำตอบที่ต้องการโดยการตอบแบบสอบถามการสังเกต และการวิจัย

ขั้นตอน3 การตรวจสอบข้อมูล ที่ปรึกษาจะตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวม

อย่างเป็นระบบ จากขั้นที่ 2เพื่อความมั่นใจ วิธีการตรวจสอบข้อมูลนี้ทำได้โดยวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการหรือด้วยวิธีการสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ ซึ่งจะทำให้ได้ทราบข้อมูลของทั้งสองฝ่ายอันจะกอให้เกิดผลดีในด้านการลดความขัดแย้ง

ขั้นตอน4 การวางแผนปฏิบัติงาน ที่ปรึกษาต้องเลือกข้อมูลที่ได้รับการตรวจสอบแล้วไปใช้ในการวางแผนปฏิบัติงานต่อไป ในการวางแผนปฏิบัติ งานต่อไป ในการวางแผนปฏิบัติงานนี้ผู้บริหารและปรึกษามักจะใช้เทคนิคการสอดแทรกมาเป็นกิจกรรม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยเริ่มตั้งแต่ระดับบุคคล กลุ่มบุคคลและองค์การ เช่น การอบรมแบบไวต่อความรูสึกการวางแผนชีวิตการทำงาน โครงการคุณภาพชีวิตการทำงานโครงการคุณภาพชีวิตการงาน หรือการสร้างทีมงาน

ขั้นตอน5 การสร้างทีมงาน ที่ปรึกษาจะฝึกให้หัวหน้ากลุ่มมีความรู้ในหลักการบริหาร การสื่อสาร การวางแผน การแก้ปัญหาการตัดสินใจ เพื่อฝึกการทำงานเป็นทีมซึ่งการทำงานเป็นทีมนี้อาจฝึกในลักษณะให้ร่วมกันปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง ต้องปฏิบัติตามภารกิจประจำวัน เป็นลักษณะของทีมงานครอบครัวกับการทำงานเฉพาะกิจ ปฏิบัติงานชั่วคราวตามที่ได้รับมอบหมาย เมื่องานเสร็จก็สิ้นสุดทีมนั้น การสร้างทีมงานนี้เป็นการฝึกให้แต่ละกลุ่มนำได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลกัน ซึ่งจะทำให้ลดการขัดแย้งได้อย่างดี

ขั้นตอน6 การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม ผู้บริหารและที่ปรึกษาจะให้การสนับสนุนกลุ่มต่างๆมีความสัมพันธ์กันเพื่อการประสานงานที่ดีต่อกัน ให้ความสำคัญต่อส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว

ขั้นตอน 7การประเมินผลและการติดตามผล เป็นการตรวจสอบสิ่งที่กระทำไปว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและผลงานที่กระทำ

จะเห็นว่ากระบวนการพัฒนาองค์การทั้ง 3 แบบนี้มีลักษณะที่คล้ายกัน ซึ่งองค์การแต่ละองค์การย่อมมีปัญหาที่แตกต่างกันไป ผู้บริหารอาจเลือกใช้รูปแบบใดแบบหนึ่งหรือทั้ง 3 แบบ มาประกอบกันโดยเลือกสิ่งที่เหมาะกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ นอกจากนี้ยังพบว่าการพัฒนาองค์การยังจำเป็นต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านการพัฒนาส่วนบุคคล พัฒนากลุ่ม และการพัฒนาองค์การเพื่อการเตรียมต่อการเปลี่ยนแปลงของยุคโลกาภิวัน์

การพัฒนาองค์การมีพัฒนาการบริหารในรูปแบบต่างๆมากมายเพื่อการพัฒนาองค์การให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นภายในช่วงเวลา50 ปีที่ผ่านมา เกิดนวัตกรรมทางการบริหารขึ้นมากมายผู้บริหารได้นำเทคนิคการบริหารเหล่านี้เข้ามาอย่างรวดเร็วเพราะเนื่องจากต้องการปรับปรุงองค์การ ผู้บริหารต้องทำความเข้าใจต่อเทคนิคการพัฒนาองค์การหลายรูปแบบซึ่งองค์การต่างๆนำไปใช้ในลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น

การวางแผนเชิงกลยุทธ์

การบริหารคุณภาพรวม (Total Quality Management)

การจัดการความสัมพันธ์ของลูกค้า (CustomerRelation Relationship)

การปรับรื้อระบบ (Reengineering)

มาตรฐานอ้างอิง(Benchmarking)

การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้(LearningOrganization)

การจัดการโซ่อุปทาน ฯลฯ

อย่างไรก็ตามในการพัฒนาองค์การนั้นจะต้องอาศัยวิธีการรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับองค์การนั้นๆ โดยผู้บริหารจำเป็นต้องมีทักษะในการใช้ศาสตร์และศิลป์กับบุคคลในองค์การเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุดต่อไปซึ่งแนวคิดทางการบริหารและเครื่องมือทางการบริหารเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญซึ่งในปัจจุบันเครื่องมือทางการบริหารมีมากมาย เช่น การทำรีเอนจิเนียริ่ง , ISO 9000:2000,ISO 14000, ISO18000 การประกันคุณภาพขององค์การการสร้างทีมงาน การจัดการความรู้ การจัดการความสัมพันธ์ของลูกค้าการจัดการโซ่อุปทาน เป็นต้น ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการบริหารงานเพื่อการสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันให้กับองค์การมากยิ่งขึ้นและควรคำนึงถึงนวัตกรรมทางการจัดการที่เหมาะสมกับโลกธุรกิจที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง





Create Date : 07 ธันวาคม 2558
Last Update : 7 ธันวาคม 2558 9:01:28 น.
Counter : 1398 Pageviews.


kanyamon555
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



การเรียนรู้ คือวิถีของมนุษย์