Decompressive Laminectomy for Spinal Stenosis

Decompressive laminectomy is the most common type of surgery done to treat spinal stenosis. This surgery is done to relieve pressure on the spinal cord camera or spinal nerve roots caused by age-related changes in the spine. It also is done to treat other conditions, such as injuries to the spine, herniated discs, or tumors. In many cases, reducing pressure on the nerve roots can relieve pain and allow you to resume normal daily activities.

Laminectomy removes bone (parts of the vertebrae) and/or thickened tissue that is narrowing the spinal canal and squeezing the spinal cord and nerve roots. This procedure is done by surgically cutting into the back.


Before a doctor can begin treating back pain, he or she may do tests to diagnose what is causing your problem. Unless you are totally immobilized from a back injury, your doctor probably will test your range of motion and nerve function and touch your body to locate the area of discomfort. Blood and urine tests will make sure the pain is not caused by an infection or other systemic problem. X-rays are useful in pinpointing broken bones or other skeletal defects. To analyze soft-tissue damage such...

In some cases, spinal fusion (arthrodesis) may be done at the same time to help stabilize sections of the spine camera treated with decompressive laminectomy. Spinal fusion is major surgery, usually lasting several hours. There are different methods of spinal fusion:
In the most common method, bone is taken from elsewhere in your body or obtained from a bone bank. This bone is used to make a "bridge" between adjacent spinal bones (vertebrae). This "living" bone graft stimulates the growth of new bone.
In some cases an additional fusion method (called instrumented fusion) is performed, in which metal implants (such as rods, hooks, wires, plates, or screws) are secured to the vertebrae to hold them together until new bone grows between them.

There are a variety of specialized techniques that can be used in spinal fusion, although the basic procedure is the same. Techniques vary from what type of bone or metal implants are used to whether the surgery is done from the front (anterior) or back (posterior) of the body. The method chosen depends on a number of factors, including your age and health condition, the location (lower back or neck [cervical]) of stenosis, the severity of nerve root pressure and associated symptoms, and the surgeon's experience. Spinal fusion increases the possibility of complications and the recovery time after surgery.

What To Expect After Surgery

Depending on your health and the extent of the surgery, it may take several months or more before you are able to return to your normal daily activities.


Why It Is Done

Surgery for spinal stenosis is considered when:
Severe symptoms restrict normal daily activities and become more severe than you can manage.
Nonsurgical treatment does not relieve pain, and severe nerve compression symptoms of spinal stenosis (such as numbness or weakness) are getting worse.
You are less able to control your bladder or bowels than usual.
You notice sudden changes in your ability to walk in a steady way, or your movement becomes clumsy.

Most spinal stenosis occurs in the lower (lumbar) back. If you have stenosis in the neck (cervical) area, your doctor may recommend surgery because this condition can cause spinal cord and nerve damage and paralysis.

The decision to have surgery is not based on imaging test results alone. Even if the results of imaging tests show increased pressure on the spinal cord and spinal nerve roots, the decision to have surgery also depends on the severity of symptoms and your ability to perform normal daily activities.

In some cases spinal fusion will be done at the same time to stabilize the spine. Spinal fusion might make it easier for you to move around (improve function) and relieve your pain. It can also help keep the bones from moving into positions that squeeze the spinal canal and put pressure on the spinal cord.

How Well It Works

Surgery for spinal stenosis usually is elective but may be recommended if symptoms cannot be relieved with nonsurgical treatment. In general, experts feel that surgery has good results and relieves pain in the lower extremities for people who have severe symptoms of spinal stenosis and who have few other serious health problems.

Research shows that:
Out of 100 people who had this surgery, up to 80 were satisfied with the results. This means that about 20 out of 100 were not satisfied.1
Out of 100 people who have this surgery, 10 to 20 need to have surgery again after several years because their symptoms come back. This means that 80 to 90 out of 100 don't need a second surgery.1
Surgery may work better than nonsurgical treatments to relieve pain and help you move better. If nonsurgical treatments have not worked well enough, surgery might be able to help you.2
By 3 months, people who had surgery notice more improvement in their symptoms and can be more active than people who did not have surgery.2 This difference continues for at least 4 years after surgery.3
The benefits of surgery appear to last for many years. After 8 to 10 years: People treated with surgery were as satisfied as those treated without surgery.
People who had surgery were generally able to be more active and had less leg pain than those who had nonsurgical treatment.4


But symptoms may return after several years. A second surgery may be needed if:
Spinal stenosis develops in another area of the spine.
An earlier surgical procedure was not effective in controlling symptoms.
Instability develops, or fusion does not occur.
Regrowth of tissue (lamina) presses on the spinal cord or spinal nerve roots.

Spinal fusion may be done at the same time as decompressive laminectomy. Spinal fusion may help to stabilize sections of the spine that have been treated with decompressive laminectomy. In general, fusion is only done if an area of the spine is unstable, which means the small bones can move too much. This extra movement causes wear and tear on the soft tissues, leading to irritation and pain. The goal of fusion is to keep the damaged bones in the spine from moving so that the soft tissues are protected.

Risks

Complications from spinal stenosis surgery may result from the impact of other existing medical problems and the severity of the spinal problem. Also, all surgery poses risks of complications. These complications may be more serious in an older adult.




 

Create Date : 20 กุมภาพันธ์ 2557    
Last Update : 20 กุมภาพันธ์ 2557 18:15:32 น.
Counter : 655 Pageviews.  

อีกทางเลือกของการรักษาภาวะกระดูกสันหลังเสื่อม

การระงับอาการปวดจากกระดูกทับเส้นด้วยการฉีดยาบล๊อคเส้นประสาท
Interventional Selective Nerve Root Block

" การรักษาด้วยวิธี Interventional technique นี้ เป็นวิธีการรักษาแบบไม่ผ่าตัด (Non-surgical treatment) ที่ประสบความสำเร็จ
และทำมานานแล้วในต่างประเทศ แต่ผู้ทำคือ แพทย์ด้านรังสีรักษา(Intervention radiologist) ซึ่งไม่ได้พบผู้ป่วยโดยตรงในคลินิก
หากแต่เป็น Pain consultant ที่ได้รับผู้ป่วยที่มีปัญหาปวด แต่ผ่าตัดไม่ได้ ส่งมาจากศัลยแพทย์ด้านกระดูกสันหลัง จึงทำให้เทคนิคการรักษานี้ยังอยู่ในวงจำกัดในกลุ่ม Pain specialist นอกจากนี้ ยังพบเสมอว่าในกรณีที่การผ่าตัดไม่ประสบความสำเร็จ100%
 ผู้ป่วยยังคงมีอาการปวดเหลืออยู่หลังการผ่าตัด ศํลยแพทย์มักนิยมส่งผู้ป่วยมารับการรักษาด้วยเทคนิคนี้ซ้ำอีกครั้งหนึ่งด้วย "

นี่คือข้อมูลที่ทำเอาเราฝันหวาน ว่าสิ่งที่หายไปจากชีวิตเราจะกลับมาหลังรับการรักษาแบบนี้

การรักษาแบบนี้ ที่จริงแล้วเป็นอีกทางเลือกที่ดี (ถ้าได้ผล) ก่อนที่จะตัดสินใจผ่าตัดรักษาภาวะกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท

เรื่มมีความหวังเรืองรอง

 

คนเราเวลามีความหวังเหมือนเห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ก็มีความสุขแล้ว แต่นี่แสงเรืองรองของอาทิตย์ยามรุ่งอรุณเชียวแหละ

 

วันเข้ารับการรักษาเราจึงได้รู้ว่าการฉีดยาเข้าไปบล๊อคเส้นประสาทเนี่ยเจ็บสาหัสจริงๆ

หลังจากคุณพยาบาลมาอธิบายสิ่งต่างๆจนเข้าใจ ก็ถามหาญาติเพื่อแนะนำเรื่องการดูแล

" ไม่มีญาติโตกว่านี้หรือคะ " คุณพยาบาลสงสัยอีก

" มีคนนี้คนเดียวแหละค่ะ " ญาติหน้าตายังเป็นเด็กชาย แล้วยังเรียนแค่ชั้นมัธยมต้นทำหน้าสงสัยว่า

                                   ว่าผมบกพร่องหรือไม่ดีตรงไหน

" หนูพาคุณแม่กลับบ้านได้นะลูก " คุณพยาบาลยังถามย้ำแล้วย้ำอีกเพื่อความแน่ใจ

กระบวนการรักษาที่เจ็บสาหัสจบสิ้นโดยเราได้ยินแต่คุณหมอหน้าตาสะสวย ใจดี พูดว่า คุณป้าอย่าขยับค่ะก้มชิดเข่า และคุณพยาบาลช่วยล็อคตัวเราไว้ไม่ให้ขยับ

คุณหมอขาหัวป้าแทบจะเกยไปบนหัวเข่าแล้ว เจ็บจนน้ำตาร่วง

กลับบ้านได้รับคำแนะนำให้นอนและนอนและนอน  ลุกขึ้นเฉพาะกินอาหารและเข้าห้องน้ำเท่านั้น

หลังจากนั้นอีก 5 วันนัดดูอาการ

วันรุ่งขึ้นสบายดีไม่มีอาการปวด ไปเดินออกกำลังได้ 2.5 km. อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องหยุดพัก

ไชโย

วันนัดดูอาการเราก็บอกคุณหมอเลยว่า 3 เดือน block ครั้งหนึ่ง ปีหนึ่ง จ-- ยอมเจ็บ 4 ครั้งไม่ต้องผ่าตัดแล้ว

กลับบ้านอย่างแสนจะสุขใจ

 

                                  

 




 

Create Date : 06 กันยายน 2555    
Last Update : 6 กันยายน 2555 15:07:20 น.
Counter : 609 Pageviews.  

ใครๆก็อย่ามาห้าม ชั้นจะไปผ่ากระดูกสันหลังให้สิ้นเรื่องสิ้นราว

มันจำเป็นต้องเกิดขึ้น หลังจากมีความสุขกับการเดินแล้วไม่ปวดขาเพียง 9 วัน หลังการฉีดยาบล๊อคเส้นประสาท

ไม่ได้เขียนผิดแม้แต่น้อย เพียง 9 วันเท่านั้นจริง

กับการทนเจ็บขนาดนั้นได้ผลเพียงเท่านี้จริงๆ แต่บางคนทำแล้วหาย ถ้าไม่ทำก็เสียโอกาศในการรักษาสินะ

เอาหล่ะ ถึงเวลา ต้องใช้ตัวเลือกสุดท้าย

ไปพบแพทย์นัดวันผ่าตัด เตรียมบ้านให้พร้อมซุกกายหลังผ่าตัด(หมอบอกว่าหลังผ่าตัดเราควรพัก 8-12 เดือน) เตรียมคนให้อาหารน้องหมา บอกคุณสุภาพบุรุษทั้ง 2 คนของบ้าน เตรียมสมุดบันทึก (เผื่อเราไม่รอดกลับมาบ้าน ได้เดินทางไกลโดยลำพัง 2 คนที่เหลือที่บ้านจะได้ไม่งงๆๆๆ  ว่าเราหนีไปเที่ยวก่อนโดยไม่กล่าวคำอำลา)

" เข้าโรงพยาบาล 26 ตุลา ผ่าตัด 29 ตุลา ครับ " คุณหมอแจ้งให้ทราบ

" มานอนก่อนทำไมคะตั้งหลายวัน โรงพยาบาลนะคะไม่ใช่รีสอร์ทริมทะเล " คนไข้เรื่องมากมันแย้งหมอ

" จ---  เป็นเบาหวาน ต้องมาปรับระดับน้ำตาลก่อน " คุณหมอให้ข้อมูล

" จ--- ลดนำตาลมาเองก็ด้ายยยยย "  คนไข้ยังไม่วายเรื่องมาก

" ตกลงตามนี้นะครับ " คุณหมอสรุป

" ค่ะๆๆๆๆๆ 26 ก็ 26 " รับใบสั่งตรวจแหลกเพื่อเตรียมการผ่าตัด ใบสั่งตรวจเลือด ใบสั่งตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ(อีใบนี้แหละเด๋วผลออกมาก็เป็นเรื่อง) ใบสั่ง x-ray ปอด เซ็นชื่อยินยอมรับการรักษา รับเอกสารแนะนำเรื่องการผ่าตัด และใบนัดเข้าพักในโรงพยาบาล (เป็นการเข้ารักษาในฐานะผู้ป่วยในเป็นครั้งที่4 ต่างโรคและต่างวาระ )

" วันมาอย่าลืมเอา film MRI มาด้วยนะคะ "  เสียงคุณพยาบาลเตือนตามหลัง

 

และแล้ววันเข้าพักในโรงพยาบาลก็มาถึง

คุณสุภาพบุรุษทั้ง 2 จำไม่ได้ว่าวันนี้เราต้องไปโรงพยาบาลแล้ว

" แม่จะหิ้วกระเป๋าไปใหนน่ะ " ลูกชายถาม

ท้องฟ้าเหนือหลังคาบ้านมีเมฆครึ้ม ดูอึมครึม เข้ากันได้ดีกับใจหมองๆของเรา เราบอกคนที่บ้านหรือยังหว่า ว่าเราต้องผ่าตัดแล้ว นึกสิๆ

เอาเถอะสุดท้ายเราก็เรียกแท็กซี่ให้ไปส่งที่โรงพยาบาล หลังจากบอกลูกชายว่า แม่จะผ่าตัดวันที่ 29 นะ หลังออกจากห้องผ่าตัดหมอบอกว่าแม่จะลุกทำอะไรเองไม่ได้ประมาณ 4 วัน  อาจต้องให้พ่อและลูกช่วยเหลืออย่างมากในช่วงเวลานั้น และคุณหมอบอกว่าน่าจะใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 5 ชั่วโมง แล้วเราก็มาโรงพยาบาล

ถึงโรงพยาบาลก่อน 7.00 คุณพยาบาล ถามหาญาติเพื่อให้ญาติไปตามผลตรวจที่เราตรวจทิ้งไว้

แฮะๆ งง ฉ้านยังไม่ได้ผ่าตัดยังเดินได้ ไปเอาเองก็ได้นี่นา ญาติฉ้านคนหนึ่งเป็นเด็กนักเรียนเลยไม่ได้ให้หยุดเรียนมาด้วย อีกคนทำงาน ลาบ่อยๆเด๋วก็ได้หยุดงานถาวรดูแลภรรยาที่ป่วยมาราธอน

สุดท้ายเราต้องโทรศัพย์ให้ลูกเอา film ที่ทำ MRI มาให้ที่โรงพยาบาลเพราะเราลืมหยิบมาจากบ้าน เมื่อลูกมาถึงโรงพยาบาล คุณพยาบาลบอกให้ลูกหิ้วกระเป๋าให้เราและเดินตามเราไปเอาผลตรวจต่างๆ

" หนุ่มน้อยหิ้วกระเป๋าให้คุณแม่นะคะ คุณแม่ปวดหลัง " คุณพยาบาลบอกลูกชาย

ลูกชายก็เดินหิ้วกระเป๋าตามแม่ต้อยๆๆ

" ผมดูแม่เดินไม่เหมือนคนป่วยกำลังจะไปผ่าตัดเลย " เสียงเจ้าลูกชายดังอยู่ด้านหลัง

" กรูปวดขาแต่ยังเดินได้ เลยไม่สำออยโว๊ย ไอ้เวร " เราเถียงเจ้าลูกชายในใจ

 




 

Create Date : 21 กรกฎาคม 2555    
Last Update : 19 ธันวาคม 2555 13:57:49 น.
Counter : 1028 Pageviews.  

จบการรักษาแบบอนุรักษ์นิยม

หลังจากการรักษาแบบอนุรักษ์นิยมมายาวนาน (เกือบ 2 ปี ) ก็ทำกายภาพบำบัดนั่นแหละผ่านการทั้ง อบ เผา แล้วยึด และแล้วแพทย์ทางเวชศาสตร์ฟึ้นฟูก็บอกว่าการกายภาพบำบัดได้ผลน้อยมากจนไม่มีนัยสำคัญ(เขียนซะเก๋ไก๋เชียว สรุปว่าไม่มีประโยชน์ นี่แหละตรงไปตรงมาดี)หยุดการทำกายภาพบำบัดและส่งกลับไปแผนกกระดูกและข้อ

เราก็ เดินกับไปอย่างองอาจ ก็ทำใจแล้วน่ะแหละ ผ่าก็ผ่าวะ หลบเลี่ยงมาตั้งหลายปี

เจอหน้าหมอก็บอกหน้าตาเฉยว่า   " ...... ตัดสินใจแล้วค่ะ จะรักษาอาการเดินแล้วปวดขา แบบถอนรากถอนโคน "

คุณหมอบอกว่า "เอาหล่ะไปทำ MRI"

นัดวันทำ MRI แต่เราเป็นคนกลัวการอยู่ในที่แคบการต้องเข้าไปอยู่ในอุโมงค์แบบนั้นนิ่งๆนานๆเราจะรอดมั้ยล่ะ

โชคดีเดี๋ยวนี้เป็นระบบเปิดเราก็เลยนอนฟังเพลงอย่างผ่อนคลายซะเกือบหลับแน่ะ

วัยรุ่น กับ วัยทอง ที่รออยู่ด้านนอกก็เกือบหลับเหมือนกัน

หลังจากนั้นก็มาดูผลกันในวันนัดพบหมอ

REPORT

MRI OF THE LUMBOSACRAL SPINES

CLINICAL HISTORY ; LOW BACK PAIN WITH RADIATE TO LAG

TECHNICAL DATA ;SAGITTAL T1W,T2W,GRADIENT, ; AXIAL T1W,T2W ; CORONAL T1W,T2W

FINDINGS ; The study reveals moderately severe degenerative disc at L4-L5, L5-S1 levels with disc space narrowing .

Moderate diffuse bulging of disc at L4-L5 , L5-S1 levels with retrolisthesis of L5 vertebra cause thecal sac indentation and stenosis . The thecal sac is decrease in diameter about 8.1 mm. at L4-L5 , 4.08 mm. at L5-S1 level

At L4-L5 , L5-S1 levels ,moderate diffuse disc bulging and protrusion , broad centrolateral disc herniation , moderate facetal disease with hyperthophy , result  in bilateral foraminal sac stenosis with compression to both L4 and L 5 roots

Loss of nomal Iodotic curve of l-S spine .The remaining disc , conus medullaris vertebral marrow signal and paravertbral soft tissue are unremarkable .

IMPTESSION : moderately severe degenerative disc change at L4-L5 , L5-S1 levels with disc space narrowing ; disc bulging , disc protrusion ,disc herniations ( centrolateral at  L4-L5 , L5-S1 levels) , retrolisthesis of L5 vertebrae , posterior element hypertrophy , resulting in THECAL SAC STENOSES ; FORAMMONAL SAC STENOSES , bilateral at  L4-L5 , L5-S1 with compression on both  ,L5 roots

Loss of Iordotic curve of L-S spine without fracture  is noted

อ่านจนปวดตา เมื่อยมือ (พลิก dictionary ทุก 3 นาที ฮาๆๆๆ)

สรุปว่า กระดูกสันหลังเสียความโค้งจากแนวปกติ มีการกดทับรากประสาท L4 และ L5 ไม่มีการแตกหักของกระดูก สาเหตุที่แท้จริงคือความแก่ ฮาๆๆๆ

ถ้าตัดสินใจผ่าตัด แน่ใจหรือว่านี่คือการแก้ปัญหาจากต้นเหตุ

ต้นเหตุของอาการเหล่านี้คือความแก่ เทคโนโลยีทางการแพทย์ช่วยได้หรือ

ใดๆในโลกเมื่อมีความเกิดในเบื้องต้น ย่อมมีความเปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง และมีความดับสูญในบั้นปลาย มิใช่หรือ

แต่มันปวดนี่หว่า เดินได้แค่ 6-8 นาที ยืนทอดปลายังไม่สุกเลย คุณภาพชีวิตเรื่มตกต่ำ นี่หรือคนที่เคยลงแข่งกรุงเทพฯมาราธอนมาแล้ว

ชีวิตเราเรื่มระทมทุกข์อีกแล้ว ไปดู ดอกไม้ดีกว่า แต่ดูสิ ดูมัน แม้แต่ดอกลั่นทมมันยังเหี่ยวใกล้จะโรยลาอีกแน่ะ




 

Create Date : 09 กรกฎาคม 2555    
Last Update : 9 กรกฎาคม 2555 15:03:29 น.
Counter : 1067 Pageviews.  

กายภาพบำบัดเพราะไม่อยากผ่าตัด ( มีแต่คนพูดถึงการผ่าตัดกระดูกสันหลังในทางน่ากลัว)

พบสาเหตุของการปวดขาแล้วก็รักษาโดยการกายภาพบำบัด

กายภาพบำบัดอย่างยาวนาน 2 ปี ถึงจะไม่ต่อเนื่อง แต่นานไหมล่ะ 2 ปีน่ะ

การกายภาพบำบัดก็ไม่มีอะไรมาก วางแผ่นร้อน ใช้ short wave   และดึงหลัง

ไอ้แผ่นร้อนนี่แหละมันร้อนได้ใจจริง สงสัยจังนักกายภาพเอามันไปซุกใว้ใน maxma หรืออย่างไรมันจึงร้อนได้ขนาดนั้น ความรู้สึกเหมือนเอาไฟมาวาง (ที่จริงเขาเอามันไปแช่ในน้ำร้อนนานมากๆๆๆ) เราต้องขอผ้าขนหนู2ผืนเอามาหุ้มมันก่อน แล้วค่อยเอาผืนนอกออก เหลืออีกผืนพันเอาไว้ นักกายภาพบอกว่าการวางแผ่นร้อนประคบบริเวณที่ปวดจะช่วยบรรเทาอาการ

หลังจากวางแผ่นร้อนที่แสนทรมานก็มานอนให้ไอ้คลื่นสั้น (short wave) ส่งกระแสคลื่นไปที่บริเวณเดียวกับที่วางแผ่นร้อน นักกายภาพบอกว่า แผ่นร้อนจะมีผลต่อเนื้อเยื่อบริเวณผิวๆ แต่เจ้า short wave เนี่ยจะให้ผลดีกับเนื้อเยื่อในระดับลึกลงไปพอเปิดเครื่องมันก็แค่อุ่นๆ เจ้าหน้าที่ ที่คุมเครื่องก็บอกเราว่าถ้าร้อนเกินไปบอกนะครับ เราหันดู อ้อผิวหนังเรามันห่างจากเครื่อง short wave  นิดหน่อย  จะเรียกเจ้าหน้าที่ก็เดินไปแล้ว ขยับตัวเราเอง ให้ใกล้มันแล้วกัน

จ๊ากๆๆมันร้อนเกินกว่าที่คิดมากแฮะ ขยับออกมาให้ความห่างเท่าเดิมดีกว่า เอาแค่อุ่นๆก็พอ

หลังจากนั้น รวมแล้ว 2 ประเภทของการบำบัด เกือบ 1ชั่วโมง

และแล้วก็ถึงเวลาดืงหลัง หลังจากรัดอุปกรณ์ให้แน่นบริเวณเหนือบั้นเอว(โดยประสพการณ์ส่วนตัว บางวันรัดอุปกรณ์ไม่แน่นการดึงหลังไม่เกิดผลใดๆ) ปลายเท้าถ่วงด้วยน้ำหนัก 1 ใน 3 ของน้ำหนักตัวเรา ถ้าดึงแล้วปวดบอกนะครับ เสียงเจ้าหน้าที่เตือนเรา

เมื่อเครื่องเรื่มทำงาน อุแม่เจ้า เตียงที่เรานอนมันถูกดึงให้ห่างออกจากกันได้มากกว่าคืบ นี่มันร่างกายคนหรือหนังยางรัดของ ทำไมมันยืดได้ขนาดนี้ รวมๆแล้วมันดึงเรายืดเข้ายืดออกประมาณ 25-30 ครั้ง  ที่ประมาณเพราะมันไม่เจ็บแล้วนอนเฉยๆเลยง่วง รู้สึกแต่ว่าตรงเอวมันถูกดึงจนยืดดดดดดด

กระบวนการอบ เผา แล้วเอาไปยืด ก็ดำเนินไป 2 สัปดาห์ แล้วพัก ตามที่แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูสั่ง พออาการปวด กลับมาเยือน ก็ไป อบเผาแล้วยืดอีกเป็นวัฐจักร

จนสุดท้าย อบ เผา ยืด เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ตามความเห็นของศัลแพทย์กระดูก

ว๊าย 4 สัปดาห์ ไม่เอาไม่ทำ( ต่อเนื่อง 4 สัปดาห์ไม่ดีขึ้นก็เป็นข้อบ่งชี้ว่า การกาพภาพบำบัดไม่เป็นประโยชน์   คงต้องรักษาโดยการผ่าตัดซึ่งเราหลีกเลี่ยงมาตลอด)

อาการปวดขาเมื่อเดินก็ยังคงอยู่  เดินได้ระยะทางสั้นมากขึ้นอีกด้วย

" เดินได้ถึง2ป้ายรถเมล์ไหมครับ "  คุณหมอถาม

"  2 ป้ายรถเมล์ ไกลไปค่ะ เดินได้ 6 นาทีเองค่ะ แทบจะลงนอนเหยียดยาว "

แฮะๆ เหลือ ตัวเลือกอะไรอีกล่ะเนี่ย

 




 

Create Date : 02 พฤษภาคม 2555    
Last Update : 3 พฤษภาคม 2555 18:26:53 น.
Counter : 3260 Pageviews.  

1  2  
 
 

majoyka
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add majoyka's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com