..เพื่อความรู้ทางกฎหมาย และ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม..

anyway justice
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สมาคมหมอความยุติธรรม

เพื่อความรู้ทางกฎหมาย
และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

รับให้คำปรึกษากฎหมายและอรรถคดี
ว่าความดำเนินคดีทุกประเภทในศาล
ทั่วราชอาญาจักร

รับตรวจร่างสัญญาและจัดทำเอกสารทางกฎหมาย

ให้คำปรึกษาในการทำนิติกรรมสัญญา
จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม

รับจดทะเบียนหุ้นส่วน บริษัท
เครื่องหมายการค้าและบริการ ฯลฯ

โดย ทีมงานที่ปรึกษา
และทนายความผู้เชี่ยวชาญ
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add anyway justice's blog to your web]
Links
 

 
เถื่อนมีเกลื่อนเมือง "ใบอนุญาตพกปืน"

จริตชนทั่วไป'มียาก'จากสถานการณ์การเกิดคดีอาชญากรรมต่าง ๆ ในประเทศไทยที่ ผ่าน ๆ มาจนปัจจุบันนั้น จะเห็นได้ว่า “ปืน” เป็นอาวุธ-เป็นเครื่องมือที่ผู้ก่อคดีสามารถมี-สามารถนำมาใช้กันได้แพร่หลาย

ขณะที่สุจริตชนทั่ว ๆ ไป...จะมี “ปืน” ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆไม่เพียงเพราะราคาค่อนข้างสูง...กฎเกณฑ์ก็เข้มงวด !!
จากข้อมูลของศูนย์บริการประชาชน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ระบุถึงคุณสมบัติของผู้จะขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืนไว้ว่า... ต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติไม่ขัดต่อมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490ซึ่งกล่าวโดยสรุปคือ ผู้ยื่นขออนุญาตจะต้องบรรลุนิติภาวะ ร่างกายปกติ ไม่พิการหรือทุพพลภาพ ไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือวิกลจริต มีชื่อในทะเบียนบ้านและมีถิ่นที่อยู่ประจำในท้องที่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน ไม่เคยต้องโทษจำคุกคดีอาญา

การขออนุญาตของประชาชนทั่วไปที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่หรือพนักงานรัฐตามที่กฎหมายระบุ ก็จะมีเอกสารสำคัญ ๆ ที่รู้จักกันดีในวงการปืนไม่กี่แบบ คือ... “ใบ ป.1” สำหรับยื่นคำขอ, “ใบ ป.3” สำหรับซื้ออาวุธปืนจากร้านขายปืน, “ใบ ป.4” สำหรับการอนุญาตให้ครอบครองและใช้งานอาวุธปืน และ “ใบ ป.12” สำหรับการอนุญาตเพื่อพกพาอาวุธปืน โดยในคู่มือปฏิบัติงานอาวุธปืน พ.ศ..2548 ของกรมการปกครอง ระบุขั้นตอนไว้ว่า... เริ่มจากการที่ผู้ต้องการขออนุญาตทำ

การยื่นคำขอตามแบบ ป.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ ผู้ขอมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน พร้อมเอกสารประกอบคำขอที่ต้องระบุว่าเป็นอาวุธปืนชนิดใด ขนาดใด เครื่องกระสุนจำนวนเท่าไหร่ รวมถึงซื้อจากร้านค้าใด เพื่อวัตถุประสงค์อะไร ซึ่งเมื่อคำร้องถูกยื่น เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบจะทำการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขอว่าเป็นผู้ต้องห้ามตามมาตรา 13 ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ หรือไม่

เจ้าหน้าที่จะออกหลักฐานการรับเรื่องให้ผู้ขออนุญาตเก็บไว้ และหากคำขอได้รับการอนุมัติ ผู้ขอก็จะได้ใบ ป.3 อนุญาตให้ซื้ออาวุธปืน จากนั้นผู้ขอจึงนำใบ ป.3 ไปซื้อปืนตามร้านค้าที่ระบุไว้ แล้วนำปืนและใบ ป.3 ไปยื่นต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ร้านค้าปืนตั้งอยู่ จากนั้นก็นำปืนและใบคู่มือประจำปืนไปยื่นต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ยื่นคำขอ ซึ่งหากทุกอย่างถูกต้อง ผู้ขอก็จะได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน หรือใบ ป.4 ในท้ายที่สุดดูแล้วก็เป็นระเบียบปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนที่เป็นหลักการชัดเจน แต่ในความเป็นจริงการขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืนก็มักมีปัญหาเกิดขึ้นตลอด ไม่เว้นแม้แต่ปืนที่ใช้ในการกีฬา ถามว่าปัญหามักเกิดในขั้นตอนใด ถ้าถามคนในวงการปืน ก็มักจะชี้ไปที่ขั้นตอน “การพิจารณาของเจ้าหน้าที่รัฐ” แม้จะมีหลักพิจารณาเป็นแนวทางไว้โดยให้คำนึงถึงความสำคัญของการมีไว้เพื่อป้องกันตัวและทรัพย์สิน เพื่อการกีฬา และเพื่อยิงสัตว์ หากแต่อำนาจสิทธิขาดในการพิจารณาก็ขึ้นอยู่กับ “ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่” ที่มีอำนาจอนุญาต ซึ่งกฎหมายก็เปิดทางไว้เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้ผู้ขอ โดยหากยื่นขอแล้วไม่ได้รับการอนุญาตก็สามารถยื่นอุทธรณ์คำขอได้ โดยนายทะเบียนท้องที่หรือผู้มีอำนาจ พิจารณาที่ไม่อนุญาตจะต้องแจ้งให้ผู้ขอทราบข้อเท็จจริงและเหตุผลอย่างเพียงพอ เพื่อให้มีโอกาสโต้แย้งและแสดงหลักฐานเพิ่มเติม แต่ที่ผ่านมาก็ไม่วายมีปัญหาเกิดขึ้น และก็เคยมีกรณีประชาชนฟ้องร้องเจ้าหน้าที่รัฐในเรื่องนี้

เช่นที่จังหวัดหนึ่งทางภาคกลางตอนบน ประชาชนรายหนึ่งที่ขออนุญาตมีปืนเพื่อใช้แข่งขันกีฬา ได้ฟ้องร้องเจ้าหน้าที่รัฐต่อศาลปกครอง หลังจากไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีโอกาสได้โต้แย้ง ซึ่งประชาชนชนะคดีนี้ ขณะที่ประเด็น... บุคคลควรมีอาวุธปืนไม่เกิน 2 กระบอก คือปืนยาว และปืนสั้น ที่บางคนอาจจะคุ้น ๆ กับประเด็นนี้ ทางศาลปกครองที่ตัดสินคดีชี้ว่านี่เป็นเพียงแนวทางปฏิบัติภายในเพื่อเป็นแนวทางใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้า ที่ มิได้มีสภาพบังคับเพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชน

แหล่งข่าวในวงการอาวุธปืนรายหนึ่ง ระบุว่า... การฟ้องร้องกรณีการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่เกิดขึ้นมาตลอด ทั้งทางแพ่งและทางอาญา เนื่องจากการใช้ดุลพินิจที่ไม่มีเหตุผลหรือข้อกฎหมายรองรับ ซึ่งหากจะถามว่าเป็นเพราะกฎหมาย พ.ร.บ.อาวุธปืนฯล้าสมัยเกินไปหรือไม่ ส่วนตัวคิดว่าไม่ใช่ เพราะ พ.ร.บ.นี้เป็นเพียงกฎหมายควบคุมอาวุธ แต่วิธีปฏิบัติงาน การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ ที่มีปัญหาฟ้องร้อง เป็นเรื่องของกฎหมายอีกฉบับ คือ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งถ้าผู้ขออนุญาตมีคุณสมบัติไม่ขัดมาตรา 13 พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ และมีเอกสารยืนยันแน่ชัด การที่เจ้าหน้าที่จะปฏิเสธจำเป็นต้องมีเหตุผลชัดเจน-เพียงพอ

“ถ้าไม่อนุญาตจะต้องมี 3 ข้อหลักคือ 1.ข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญที่ไม่อนุญาต 2.ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ และ 3.ข้อกฎหมายอ้างอิง ซึ่งแม้จะมีการระบุว่าเรื่องนี้เป็นดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ แต่หากดุลพินิจนั้นไม่ตรงเกณฑ์ตามที่กฎหมายระบุไว้ ก็จะไม่ชอบด้วยกฎหมาย และอาจทำให้ถูกฟ้องร้องได้” ...แหล่งข่าวระบุ พร้อมทั้งทิ้งท้ายด้วยว่า... “ปัญหาอยู่ที่ตัวบุคคล มากกว่าจะอยู่ที่กฎหมาย” ทั้งนี้ ข้อมูลจากบางแหล่ง ในปัจจุบันปืนที่ถูกต้องตามกฎหมายเฉพาะในส่วนของเอกชน ในไทยมีอยู่ประมาณ 5 ล้านกระบอก มากหรือน้อยคงแล้วแต่มุมมอง ซึ่ง ณ ที่นี้ก็มิใช่เป็นการมาชี้ว่าคนไทยต้องได้รับการเปิดกว้างให้มี “ปืน” กันทั่วเมือง เป็นแต่เพียงสะท้อนอีกข้อเท็จจริง อีกข้อพิพาทระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่การพิจารณาออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนให้แก่บุคคลสำหรับใช้ในการป้องกันตัวและทรัพย์สิน ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้.

ข้อ 1 คุณสมบัติของผู้ขอมีและใช้อาวุธปืน ต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติไม่ขัดต่อมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ

ข้อ2 การสอบสวนคุณสมบัติและความจำเป็น ต้องทำการสอบสวนพิจารณาถึงสภาพความเป็นอยู่หรือสิ่งแวดล้อมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในคำสั่งกระทรวงมหาดไทย และระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดีลักษณะที่ 47 บทที่ 3 ข้อ 16

ข้อ 3 การสอบสวนผู้ขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืน เพื่อให้นายทะเบียนท้องที่ออกใบอนุญาตได้พิจารณากลั่นกรองที่จะอนุญาตให้บุคคลมีและใช้อาวุธปืนได้ถูกต้อง

ข้อ4 ชนิดและขนาดอาวุธปืน ซึ่งจะอนุญาตให้พิจารณาถึงฐานะ และความจำเป็นของผู้อนุญาตเป็นราย ๆ ไป โดยระลึกว่าการอนุญาตให้เอกชนมีอาวุธปืนนั้นเป็นการอนุญาตตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 9 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้มีไว้เพื่อป้องกันตัวหรือทรัพย์สินหรือในการกีฬา หรือในการยิงสัตว์

ข้อ 5 การอนุญาตให้มีอาวุธปืน ตามปกติควรมีได้เพียงคนละ 2 กระบอก คือ สั้นและยาว แต่ในการพิจารณาอนุญาตมากน้อยเพียงใดแล้วแต่หลักฐานความจำเป็นของแต่ละบุคคลอย่าให้มีมากเกินความจำเป็นไม่ซ้ำขนาดกัน

ข้อ 6 การพิจารณาอนุญาตสำหรับข้าราชการ ตำรวจ ทหารประจำการ ให้มีอาวุธปืนให้ถือปฏิบัติดังนี้ (ก) ข้าราชการตั้งแต่สัญญาบัตรขึ้นไป (ข) ข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตรไม่ต้องพิมพ์ลายนิ้วมือ แต่ต้องสอบสวน

ข้อ 7 การขอรับโอนอาวุธปืน (ก)การรับโอนอาวุธปืนระหว่างบุคคลทั่วไป พิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น (ข) การรับโอนปืนมรดก ถ้าผู้รับโอนมีคุณสมบัติครบถ้วน และเป็นทายาทโดยตรงต้องการรับโอนไว้ก็อนุญาตได้

ข้อ 8 นักเรียน นักศึกษา ที่เรียนอยู่ในสถานศึกษา ซึ่งทางการนับเวลาการศึกษานั้นเป็นวันรับราชการ เช่น นักเรียนนายร้อย นายเรืออากาศ นายร้อยตำรวจ ควรมีสิทธิได้รับอนุมัติให้มีอาวุธปืนได้ แต่ควรพิจารณาให้เฉพาะเป็นกีฬา หรือในกรณีรับโอนมรดกซึ่งไม่มีทายาทผู้อื่นที่จะรับโอนไว้ได้ หรือผู้ที่ได้รับปริญญาแล้วยังไม่ประกอบอาชีพแต่กำลังศึกษาต่ออีกควรพิจารณาให้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าข้างต้น

ข้อ 9 การพิจารณาออกใบอนุญาตสำหรับเครื่องกระสุนปืนของบุคคลนั้น ต้องสอบให้ทราบว่าผู้ขออนุญาตมีอาวุธปืน ซึ่งใช้กับอาวุธปืนที่ขออนุญาตหรือไม่ หากไม่มีห้ามออกใบอนุญาตให้

ข้อ 10 ในกรณีพิเศษต่าง ๆ นอกจากนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของนายทะเบียนเฉพาะเรื่องเฉพาะรายที่จะพิจารณาสั่งการ

ข้อ 11 ถ้าเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจท้องที่ มีความสงสัยพฤติการณ์ไม่นาไว้วางใจว่าผู้รับใบอนุญาตคนใดจะเป็นผู้ต้องห้ามในการออกใบอนุญาตตามาตรา 13 (7)(8) หรือ(9) ก็ให้พนักงานสอบสวนท้องที่รายงานพฤติการณ์ไปยังนายทะเบียนท้องที่ เพื่อเรียกตัวผู้รับอนุญาตมาทำประกันทัณฑ์บน หรือพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตเป็นราย ๆ ไป

ข้อ 12 การเพิกถอนใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานตำรวจท้องที่เอาใจใส่ตรวจสอบบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนหากสงสัยพฤติการณ์ของผู้รับใบอนุญาตหรือปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ออใบอนุญาตก็รวบรวมหลักฐานรายงานนายทะเบียนท้องที่โดยมิชักช้า เพื่อดำเนินการเพิกถอนใบอนุญาตต่อไป



Create Date : 26 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 26 พฤศจิกายน 2552 15:08:45 น. 0 comments
Counter : 284 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.